รวบรวมคติธรรมดี ๆ มาให้อ่านกัน...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 16 มีนาคม 2009.

  1. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    พระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    ก็บุคคลใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
    ว่าเป็นสรณะ (ที่ระลึก ที่พึ่ง) บุคคลนั้นย่อมเห็น
    อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือ ย่อมเห็นทุกข์
    เหตุเกิดของทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรค
    มีองค์ ๘ ซึ่งเป็นทางให้เข้าถึงความดับทุกข์ สรณะ
    (ที่ระลึก ที่พึ่ง) อย่างนั้นแลจึงจะเป็นสรณะอันเกษม
    เป็นสรณะอันสูงสุด เพราะอาศัยสรณะนั่น บุคคลจึง
    หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอานิสงสผลของการถึงสรณะนั่นแม้ด้วยอำนาจแห่งเหตุมีการไม่เข้าไปยึดถือโดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น.
    สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส (เป็นไปไม่ได้เลย) ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึงเข้าไปยึดถือสังขารอะไรๆ ว่าเที่ยง ว่าเป็นสุข จะพึงเข้าไปยึดถือธรรมอะไรๆ ว่าเป็นอัตตา จะพึงปลงชีวิตมารดา จะพึงปลงชีวิตบิดา จะพึงปลงชีวิตพระอรหันต์ จะพึงเป็นผู้มีจิตชั่วร้ายยังโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ จะพึงทำลายสงฆ์ จะพึงอ้างศาสดาอื่น ฐานะอย่างนี้จะมีไม่ได้.
    ส่วนการถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมมีภพสมบัติและโภคสมบัติเป็นผลเหมือนกัน.
    สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    บุคคลที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ จักไม่ไปสู่อบายภูมิ
    ครั้นละร่างกายที่เป็นมนุษย์แล้วจักยังกายทิพย์ให้บริบูรณ์
    (เกิดในหมู่เทพ).

    แม้เรื่องอื่น ท่านก็กล่าวไว้.
    (คือ) คราวครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นได้เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ. พระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า ขอถวายพระพรพระองค์ผู้จอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เป็นการดีแท้ เพราะการถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เป็นเหตุแล สัตว์บางพวกในโลกนี้ตายแล้ว จึงได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อย่างนี้ สัตว์เหล่านั้น (เกิดเป็นเทวดาแล้ว) ย่อมเด่นล้ำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ คือ ด้วยอายุอันเป็นทิพย์ วรรณะอันเป็นทิพย์ สุขอันเป็นทิพย์ ยศอันเป็นทิพย์ ความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์ รูปอันเป็นทิพย์ เสียงอันเป็นทิพย์ กลิ่นอันเป็นทิพย์ รสอันเป็นทิพย์ โผฏฐัพพะอันเป็นทิพย์.
    ใน (การถึง) พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ก็นัยนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผลอันสำคัญของการถึงสรณะแม้ด้วยอำนาจแห่งสูตรมีเวลามสูตรเป็นต้น.
    พึงทราบผลแห่งการถึงสรณะอย่างนี้.
    ในการถึงสรณะ ๒ อย่างนั้น การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมเศร้าหมองด้วยเหตุทั้งหลายมีความไม่รู้ ความสงสัยและความรู้ (ความเข้าใจ) ผิดเป็นต้นในพระรัตนตรัย เป็นการถึงสรณะที่ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่กว้างไกลมาก.
    (ส่วน) การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้าหมอง.
    การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะมีการหมดสภาพอยู่ ๒ อย่างคือ
    การหมดสภาพ (เภโท) แบบมีโทษ ๑
    การหมดสภาพแบบไม่มีโทษ ๑.
    ในการหมดสภาพทั้งสองนั้น การหมดสภาพแบบมีโทษย่อมมีด้วยเหตุทั้งหลาย มีการมอบตนในศาสดาอื่นเป็นต้น การหมดสภาพแบบนั้นมีผลไม่น่าปรารถนา. การหมดสภาพแบบไม่มีโทษในเพราะการทำกาลกิริยา การหมดสภาพแบบนั้นไม่มีผลเพราะไม่มีวิบาก.
    แต่การถึงสรณะแบบโลกุตตระ ไม่มีการหมดสภาพเลย.
    จริงอยู่ พระอริยสาวก (ตายแล้วไปเกิด) แม้ในภพอื่นก็จะไม่ยอมยกย่องคนอื่นว่าเป็นศาสดา (แทนพระพุทธเจ้า).
    พึงทราบความเศร้าหมองและการหมดสภาพของการถึงสรณะดังพรรณนามาฉะนี้.

    อุบาสก
    บทว่า อุปาสกํ มํ ภวํ โคตโม ธาเรตุ ความว่า ขอพระโคดมผู้เจริญจงจำ. อธิบายว่า จงรู้จักข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นอุบาสก.
    ก็ในที่นี้เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงตนเป็นอุบาสกจึงควรทราบข้อปลีกย่อยนี้ว่า
    อุบาสกคือใคร? เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า อุบาสก?
    อุบาสกนั้นมีศีลเป็นอย่างไร? มีอาชีพเป็นอย่างไร?
    มีวิบัติเป็นอย่างไร? มีสมบัติเป็นอย่างไร?
    ในข้อปลีกย่อยเหล่านั้น ที่ว่า อุบาสกคืออะไร?
    ได้แก่ คฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งผู้ถึงไตรสรณะ.
    สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแลอุบาสกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม (และ) พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ. ดูก่อนมหานาม บุคคลย่อมเป็นอุบาสกด้วยอาการเท่านี้แล.
    ที่ว่า เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า อุบาสก?
    ได้แก่ เพราะเข้าไปนั่งใกล้พระรัตนตรัย.
    จริงอยู่ บุคคลนั้นชื่อว่าอุบาสก เพราะเข้าไปนั่งใกล้พระพุทธเจ้า พระธรรม (และ) พระสงฆ์.
    ที่ว่า อุบาสกนั้นมีศีลเป็นอย่างไร?
    ได้แก่ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น ๕ อย่าง.
    สมจริงดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท (และ) จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือน้ำเมา อันได้แก่สุราและเมรัย.
    ดูก่อนมหานาม อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศีลด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
    ที่ว่า มีอาชีพเป็นอย่างไร?
    ได้แก่ การละการค้าขายผิด ๕ อย่างแล้วเลี้ยงชีวิตโดยชอบธรรม.
    สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้อันอุบาสกไม่ควรทำ
    ๕ อย่างมีอะไรบ้าง คือ การค้าขายศัสตราวุธ ๑ การค้าขายสัตว์ ๑ การค้าขายเนื้อ ๑ การค้าขายน้ำเมา ๑ การค้าขายยาพิษ ๑
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างนี้แล อุบาสกไม่ควรทำ.

    ที่ว่า มีวิบัติเป็นอย่างไร?
    ได้แก่ ความวิบัติแห่งศีลและอาชีวะของอุบาสกนั้นนั่นแลอันใด อันนี้เป็นความวิบัติของอุบาสกนั้น.
    อีกอย่างหนึ่ง อุบาสกนั้นเป็นคนจัณฑาลและเศร้าหมองด้วยมลทินต่างๆ ด้วยวิบัติอันใด แม้วิบัตินั้นก็พึงทราบว่า เป็นวิบัติของอุบาสกนั้นๆ. และความเป็นคนจัณฑาลนั้น เมื่อว่าโดยความหมาย ก็ได้แก่ธรรม ๕ ประการมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น.
    เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างย่อมเป็นอุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกมีมลทิน เป็นอุบาสกมีความเศร้าหมองและเป็นอุบาสกต่ำช้า.
    ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง (คือ) เป็นผู้ไม่มีศรัทธา (ในพระรัตนตรัย) ๑ เป็นคนทุศีล ๑ เป็นคนถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อมงคล (ฤกษ์, ยาม) ไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาทักขิไณยบุคคล นอกจากศาสนานี้ (พุทธศาสนา) ๑ บำเพ็ญกุศลในศาสนานั้น ๑.
    ....

    อรรถกถา ภยเภรวสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นภัยและน่าหวาดกลัว - ประเภทแห่งการถึงสรณะ

    สารบัญอรรถกถา ภยเภรวสูตร

    ภยเภรวสูตร

    <IMG src='http://palungjit.org/attachments/a.2316740/' width=350>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 75.jpg
      75.jpg
      ขนาดไฟล์:
      340.8 KB
      เปิดดู:
      780
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2012
  2. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มาณพ เธอรู้สรณะ ๓ และศีล ๕ หรือ.
    เมื่อมาณพกราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่รู้สรณะ ๓ และศีล ๕ เหล่านั้นว่ามีและเป็นเช่นไร

    ทรงประกาศผลานิสงส์ของการถึงสรณะและการสมาทานศีล ๕ ว่า นี้เป็นเช่นนี้
    แล้วตรัสว่า มาณพ เธอจงเรียนวิธีถึงสรณะก่อน.
    มาณพทูลขอว่า สาธุ ข้าพระองค์จักเรียน ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า.
    เมื่อทรงแสดงวิธีถึงสรณะโดยประพันธ์เป็นคาถา
    สมควรแก่อัธยาศัยของมาณพนั้น ได้ตรัสคาถา ๓ คาถาว่า
    บรรดาผู้กล่าวสอนอยู่ [ศาสดา] ผู้ใดเป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ เป็นศากยมุนี เป็นภควา ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ถึงฝั่งแล้ว
    พรั่งพร้อมด้วยพละและวิริยะ เธอจงเข้าถึงผู้นั้น ผู้เป็นสุคต เป็นสรณะ.
    เธอจงเข้าถึงพระธรรมที่สำรอกราคะ ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก เป็นอสังขตธรรม
    ไม่ปฏิกูล ไพเราะ ซื่อตรง จำแนกไว้ดีนี้ เป็นสรณะ.
    บัณฑิตทั้งหลายกล่าวทานที่ถวายในท่านเหล่าใดว่ามีผลมาก
    ท่านเหล่านั้น คืออริยบุคคลสี่คู่ เป็นบุคคลแปด ผู้แสดงธรรม เธอจงเข้าถึงพระสงฆ์นี้ เป็นสรณะ.


    ฉัตตมาณวกวิมาน
    ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในฉัตตมาณวกวิมาน


    อรรถกถาฉัตตมาณวกวิมาน
     
  3. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    การณปาลีสูตร
    [๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กุฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
    ใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้น การณปาลีพราหมณ์ใช้คนให้ทำการงานของเจ้าลิจฉวีอยู่
    ได้เห็นปิงคิยานีพราหมณ์เดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ถามว่า อ้อ ท่านปิงคิยานี
    มาจากไหนแต่ยังวัน (แต่วันนัก) ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า ข้าพเจ้ามาจากสำนัก
    พระสมณโคดม ฯ
    กา. ท่านปิงคิยานีย่อมเข้าใจพระปรีชา (ความฉลาดด้วยปัญญา) ของ
    พระสมณโคดมว่า เห็นจะเป็นบัณฑิตนั้นอย่างไร ฯ
    ปิ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นอะไรจึงจักรู้พระปรีชาของ
    พระสมณโคดม ผู้ใดพึงรู้พระปรีชาของพระสมณโคดม แม้ผู้นั้นพึงเป็นเช่นกับ
    พระสมณโคดมนั้นแน่นอน ฯ
    กา. ได้ยินว่า ท่านปิงคิยานีสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก ฯ
    ปิ. ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นอะไรจึงจักสรรเสริญพระสมณโคดม และ
    ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสรรเสริญแล้วๆ ว่า
    เป็นผู้ประเสริฐที่สุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    กา. ก็ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงเลื่อมใสยิ่งนักใน
    พระสมณโคดมอย่างนี้ ฯ
    ปิ. ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่
    ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น
    โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม
    ย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่น โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น
    เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูกความหิว และความอ่อนเพลียครอบงำ พึงได้รวงผึ้ง เขา
    พึงลิ้มรสโดยลักษณะใดๆ ก็ย่อมได้รสดีอันไม่เจือ ฉันใด บุคคลฟังธรรมของ
    ท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ
    โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ย่อมได้ความดีใจ ย่อมได้ความเลื่อมใส
    แห่งใจ โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษพึงได้ไม้จันทน์แห่งจันทน์
    เหลืองหรือจันทน์แดง พึงสูดกลิ่นจากที่ใดๆ เช่นจากราก จากลำต้น หรือ
    จากยอด ก็ย่อมได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้ ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดม
    พระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์
    หรือโดยอัพภูตธรรม ก็ย่อมได้ความปราโมทย์ ย่อมได้โสมนัส โดยลักษณะนั้น
    ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นายแพทย์ผู้ฉลาดพึง
    บำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น
    โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม
    ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขา
    ย่อมหมดไปโดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น เปรียบเหมือนสระน้ำมีน้ำใสน่าเพลินใจ
    น้ำเย็น น้ำขาว มีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์ บุรุษผู้ร้อนเพราะแดด ถูกแดดเผา
    เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย เดินมาถึง เขาลงไปในสระน้ำนั้น อาบ ดื่ม พึง
    ระงับ ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง ฉันใด
    บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ
    โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ความกระวนกระวาย ความ
    เหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงของเขา ก็ย่อมระงับไป โดยลักษณะนั้นๆ
    ฉันนั้น ฯ
    เมื่อปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว การณปาลีพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง
    ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มี
    พระภาคประทับอยู่ เปล่งอุทานสามครั้งว่า ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แล้วกล่าวต่อไปว่า ท่านปิงคิยานี ภาษิต
    ของท่านแจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านปิงคิยานี
    ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
    บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้
    ฉะนั้น ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุ
    สงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านปิงคิยานีจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
    จำเดิมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

    จบสูตร
    และ
    ตำนานผู้กล่าวคำว่า "นโม"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2012
  4. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    สังคารวสูตร
    [๕๐๐] ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
    ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้
    เจริญ พวกข้าพระองค์ชื่อว่าพราหมณ์ ย่อมบูชายัญเองบ้าง ให้คนอื่นบูชาบ้าง
    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น ผู้ที่บูชายัญเองและผู้ที่ใช้ให้
    คนอื่นบูชาทุกคน ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาเป็นเหตุให้เกิดบุญ อันมียัญเป็นเหตุ
    ซึ่งมีกำเนิดแต่สรีระเป็นอันมาก อนึ่ง ผู้ใดออกจากสกุลใด บวชเป็นบรรพชิต
    ฝึกแต่คนเดียว ทำตนให้สงบแต่คนเดียว ทำตนให้ดับไปแต่คนเดียว เมื่อเป็น
    เช่นนี้ ผู้นั้นชื่อว่ามีปฏิปทาเป็นเหตุให้เกิดบุญอันมีบรรพชาเป็นเหตุ ซึ่งมีกำเนิด
    แต่สรีระอันเดียว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ถ้ากระนั้นเราจักขอถาม
    ท่านในข้อนี้ ท่านจงเฉลยปัญหานั้นตามที่ท่านเห็นควร ดูกรพราหมณ์ ท่านจะ
    สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
    ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
    เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระองค์นั้นได้ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เราดำเนินไปแล้วตามมรรคนี้ ตามปฏิปทานี้ ทำธรรม
    อันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
    สอนประชาชนให้รู้ตาม มาเถิด ถึงท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามอาการที่ท่านทั้งหลาย
    ปฏิบัติได้แล้ว ก็จักทำธรรมอันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ให้แจ้งชัด
    ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนแล้ว เข้าถึงอยู่ พระศาสดาพระองค์นี้ทรงแสดงธรรมไว้
    ดังนี้ ทั้งผู้อื่นต่างปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็ผู้แสดงและผู้ปฏิบัตินั้น มีมาก
    กว่าร้อย มีมากกว่าพัน มีมากกว่าแสน ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น
    เป็นไฉน เมื่อเป็นดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ปุญปฏิปทาซึ่งมีบรรพชาเป็นเหตุนั้น
    ย่อมจะมีกำเนิดแต่สรีระเดียว หรือมีกำเนิดแต่สรีระเป็นอันมาก ฯ
    สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นดังตรัสมาฉะนี้ ปุญปฏิปทาที่
    มีบรรพชาเป็นเหตุนี้ ย่อมมีกำเนิดแต่สรีระเป็นอันมาก ฯ
    เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามสังคารว
    พราหมณ์ว่า ดูกรพราหมณ์ บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบใจปฏิปทาอย่างไหน
    ซึ่งมีความต้องการน้อยกว่า มีความริเริ่มน้อยกว่า แต่ว่ามีผลและอานิสงส์มากมาย
    เมื่อท่านพระอานนท์ถามอย่างนี้ สังคารวพราหมณ์ได้กล่าวว่า ท่านพระโคดมฉันใด
    ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้ เราควรบูชา เราควรสรรเสริญ แม้ครั้ง
    ที่ ๒ ท่านพระอานนท์ได้ถามว่า ดูกรพราหมณ์ เรามิได้ถามท่านอย่างนี้ว่า ท่าน
    ควรบูชาใคร หรือว่าท่านควรสรรเสริญใคร แต่เราถามท่านอย่างนี้ว่า ดูกรพราหมณ์
    บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบปฏิปทาอย่างไหน ซึ่งมีความต้องการน้อยกว่า
    มีความริเริ่มน้อยกว่า แต่ว่ามีผลและอานิสงส์มากมาย ถึงครั้งที่ ๒ สังคารวพราหมณ์
    ก็ได้กล่าวว่า ท่านพระโคดมฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้ เรา
    ควรบูชา เราควรสรรเสริญ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกร-
    *พราหมณ์ เรามิได้ถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านควรบูชาใคร ท่านควรสรรเสริญใคร
    แต่เราถามท่านอย่างนี้ว่า ดูกรพราหมณ์ บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบ
    ปฏิปทาอย่างไหน ซึ่งมีความต้องการน้อยกว่า มีความริเริ่มน้อยกว่า แต่ว่ามีผลและ
    อานิสงส์มากมาย ถึงครั้งที่ ๓ สังคารวพราหมณ์ก็ได้กล่าวว่า ท่านพระโคดมฉันใด
    ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้ เราควรบูชา เราควรสรรเสริญ ลำดับ
    นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า สังคารวพราหมณ์ถูกอานนท์ถามปัญหาที่
    ชอบแล้ว นิ่งเสีย ไม่เฉลยถึง ๓ ครั้งแล ถ้ากระไร เราควรจะช่วยเหลือ จึงได้
    ตรัสถามสังคารวพราหมณ์ว่า ดูกรพราหมณ์ วันนี้ พวกที่มานั่งประชุมกันใน
    ราชบริษัทในราชสำนัก ได้พูดสนทนากันขึ้นในระหว่างว่าอย่างไร สังคารวพราหมณ์
    กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้ พวกที่มานั่งประชุมกันในราชบริษัท
    ในราชสำนัก ได้พูดสนทนากันขึ้นในระหว่างว่า เขาว่าเมื่อก่อนภิกษุที่แสดงอิทธิ-
    *ปาฏิหาริย์ได้มีน้อยมาก และอุตริมนุษยธรรมมีมากมาย ทุกวันนี้ ภิกษุที่แสดง
    ปาฏิหาริย์ได้มีมากมาย และอุตริมนุษยธรรมมีน้อยมาก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
    ทุกวันนี้ พวกที่มานั่งประชุมกันในราชบริษัทในราชสำนักได้พูดสนทนากันขึ้นใน
    ระหว่างว่าดังนี้แล ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ อิทธิ-
    *ปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ ๑ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์ ๑
    อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์ ๑ ดูกรพราหมณ์ ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน
    ดูกรพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ
    คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้
    หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง
    แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไป
    ในไปอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก
    ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรพราหมณ์ นี้เรียก
    ว่า อิทธิปาฏิหาริย์
    ดูกรพราหมณ์ ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน ดูกรพราหมณ์ ภิกษุบาง
    รูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจได้โดยนิมิตว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่าน
    เป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ จิตของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ว่า ถึงหากเธอจะ
    พูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่
    ดูกรพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ก็แต่
    ว่าพอได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ย่อมพูดดักใจได้ว่า ใจของ
    ท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ จิตของท่านเป็นแม้ด้วย
    ประการฉะนี้ ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็น
    เช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไม่ ดูกรพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจ
    โดยนิมิตไม่ได้เลย ถึงได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูด
    ดักใจไม่ได้เลย แต่ว่าพอได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ย่อม
    พูดดักใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ จิต
    ของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่
    เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ ดูกรพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปใน
    ธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ถึงได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์หรือเทวดา
    เข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้ ถึงได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว
    ก็พูดดักใจไม่ได้ ก็แต่ว่า กำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้าสมาธิ อันไม่มีวิตกวิจาร ด้วยใจ
    ของตนว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้ด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิต
    นี้ด้วยประการนั้น ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็
    เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ ดูกรพราหมณ์ นี้เรียกว่าอาเทสนาปาฏิหาริย์ ฯ
    ดูกรพราหมณ์ ก็อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน ดูกรพราหมณ์ ภิกษุบางรูป
    ในธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จง
    มนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่ ดูกรพราหมณ์
    นี้เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ดูกรพราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้แล ดูกรพราหมณ์
    บรรดาปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้ ท่านชอบปาฏิหาริย์อย่างไหน ซึ่งงามกว่าและ
    ประณีตกว่า ฯ
    สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนั้น ปาฏิหาริย์ที่
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดังนี้นั้น
    ผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นี้ได้ แสดงฤทธิ์เป็นอันมาก ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น
    ปาฏิหาริย์ที่ผู้ใดแสดงได้ และเป็นของผู้นั้นนี้ ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือน
    กับรูปลวง ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พูดดักใจได้ยินโดยนิมิตว่า ใจ
    ของท่านเป็นเช่นนี้ ใจของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ จิตของท่านเป็นแม้ด้วย
    ประการฉะนี้ ถึงเธอจะพูดดักใจกะชนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น
    หาเป็นอย่างอื่นไม่ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจ
    โดยนิมิตไม่ได้เลย ... แต่ว่าพอได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์หรือเทวดาเข้าแล้ว
    ก็พูดดักใจได้ ... แม้ว่าได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว พูดดักใจ
    ไม่ได้ แต่ว่าได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ก็พูดดักใจได้ ...
    ถึงได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้ แต่ว่า
    กำหนดรู้ใจของผู้อื่นที่เข้าสมาธิ อันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของตนว่า ท่านผู้นี้ตั้ง
    มโนสังขารด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น ถึงหาก
    เธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่น
    ไปไม่ ผู้ใดแสดงปาฏิหาริย์นี้ได้ ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์ที่ผู้ใด
    แสดงได้ และเป็นของผู้นั้นนี้ ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับรูปลวง
    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บรรดาปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้ ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปใน
    ธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการ
    อย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่ ควรแก่ข้า-
    *พระองค์ ทั้งดีกว่าและประณีตกว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี
    ที่ท่านพระโคดมตรัสดีแล้ว และข้าพระองค์จะจำไว้ว่า ท่านพระโคดมประกอบ
    ด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เพราะท่านพระโคดมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก ฯลฯ ใช้
    อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะท่านพระโคดมกำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้า
    สมาธิ อันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของพระองค์ว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้ด้วยประ
    การใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น เพราะท่านพระโคดมทรง
    พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่า
    มนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่ ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านได้กล่าววาจาที่ควรนำไปใกล้เราแน่แท้เทียวแล
    เออก็เราจักพยากรณ์แก่ท่านว่า เพราะเราแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก ฯลฯ ใช้อำนาจ
    ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรพราหมณ์ เพราะเรากำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้า
    สมาธิ อันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของตนว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้ด้วยประการใด
    จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น เพราะเราพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า
    จงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนี้ จงละสิ่ง
    นี้เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่ ฯ
    สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็แม้ภิกษุอื่นรูปหนึ่งผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓
    อย่างนี้ นอกจากท่านพระโคดม มีอยู่หรือ ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ ไม่ใช่มีร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย
    ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้ภิกษุผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ มีอยู่
    มากมายทีเดียว ฯ
    สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นอยู่ไหน ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ อยู่ในหมู่ภิกษุนี้เองแหละ ฯ
    สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
    พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดย
    อเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้
    หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักมองเห็นรูป ฉะนั้น
    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรมและ
    พระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้
    ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

    จบสูตร
     
  5. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    สรณคมนิยเถราปทาน
    ว่าด้วยผลแห่งการถึงสรณะ

    [๓๐๐] ในกาลนั้น เราเป็นพรานอยู่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ เราได้เห็นพระพุทธเจ้า
    พระนามว่าวิปัสสี เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ได้เข้าเฝ้าพระ
    สัมพุทธเจ้าแล้ว ทำไวยาวัจกร ได้เข้าถึงพระองค์ผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่
    เป็นสรณะ ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้ถึงสรณะใด ด้วยการถึงสรณะ
    นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถึงสรณะ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ
    ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระ
    พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
    ทราบว่า ท่านพระสรณคมนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
    จบ สรณคมนิยเถราปทาน.
     
  6. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ญาณสัญญิกเถราปทาน
    ว่าด้วยผลแห่งการยังจิตให้เลื่อมใสถวายบังคม

    [๑๐๔] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทอง ผู้องอาจดุจม้าอาชาไนย
    ดังช้างมาตังคะตกมัน ๓ ครั้ง ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ ทรงยังทิศทั้งปวงให้
    สว่างไสว เหมือนพระยารัง มีดอกบาน เป็นเชษฐบุรุษของโลก สูงสุด
    กว่านระ เสด็จดำเนินไปในถนน จึงยังจิตให้เลื่อมใสในพระญาณ ประ
    นมอัญชลี มีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค พระ
    นามว่าสิทธัตถะ ในกัลปที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น
    ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระญาณ ใน
    กัลปนี้ ๗๓ แต่กัลปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ พระองค์ มีพระนามว่า
    นรุตตมะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้
    คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว
    พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
    ทราบว่า ท่านพระญาณสัญญิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

    จบ ญาณสัญญิกเถราปทาน
     
  7. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    พระองค์ ก็รุ่งโรจน์เหมือนวางแก้วประพาฬไว้ที่แผ่นทอง.
    เมื่อพระโพธิสัตว์ ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์นั้น วสวัตดีมารเทพบุตร
    คิดว่าสิทธัตถกุมารประสงค์จะล่วงวิสัยของเรา บัดนี้เราจักไม่ให้สิทธัตถะกุมาร
    นั้นล่วงวิสัย จึงบอกความนั้นแก่กองกำลังของมาร แล้วพากองกำลังมารออก
    ไป. ได้ยินว่า ทัพมารนั้น ข้างหน้าของมาร ก็ขนาด ๑๒ โยชน์ ข้างขวาและ
    ข้างซ้ายก็อย่างนั้น แต่ข้างหลัง ตั้งอยู่สุดจักรวาล เบื้องบนสูง ๙ โยชน์.

    ได้ยินเสียงคำราม ดังเสียงแผ่นดินคำราม ตั้งแต่เก้าพันโยชน์.
    สมัยนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงยืนเป่าสังข์ ชื่อวิชยุตตระ เขาว่า
    สังข์นั้น ยาวสองพันศอก. คนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะ ถือพิณสีเหลืองดัง
    ผลมะตูม ยาวสามคาวุตบรรเลง ยืนขับร้องเพลงประกอบด้วยมงคล ท้าว-
    สุยามเทวราช ทรงถือทิพยจามร อันมีสิริดังดวงจันทร์ยามฤดูสารท ยาวสาม
    คาวุต ยืนถวายงานพัดลมอ่อน ๆ. ส่วนท้าวสหัมบดีพรหม ยืนกั้นฉัตรดัง
    จันทร์ดวงที่สอง กว้างสามโยชน์ ไว้เบื้องบนพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้แต่
    มหากาฬนาคราช อันนาคฝ่ายฟ้อนรำแปดหมื่นแวดล้อม ร่ายคาถาสดุดีนับร้อย
    ยืนนมัสการพระมหาสัตว์ เทวดาในหมื่นจักรวาล บูชาด้วยพวงดอกไม้หอม
    และจุรณธูปเป็นต้น พากันยืนถวายสาธุการ.

    ลำดับนั้น เทวบุตรมารขึ้นช้างที่กันข้าศึกได้ เป็นช้างที่ประดับด้วย
    รัตนะ ชื่อคิริเมขละ งามน่าดูอย่างยิ่ง เสมือนยอดหิมะคิรี ขนาดร้อยห้าสิบ
    โยชน์ เนรมิตแขนพันแขน ให้จับอาวุธต่าง ๆ ด้วยการจับอาวุธที่ยังไม่ได้จับ.
    แม้บริษัทของมารมีกำลังถือดาบ ธนู ศร หอก ยกธนู สาก ผาล เหล็กแหลม
    หอก หลาว หิน ค้อน กำไลมือ ฉมวก กงจักร เครื่องสวมคอ ของมีคม มี
    หน้าเหมือนกวาง ราชสีห์ แรด กวาง หมู เสือ ลิง งู แมว นกฮูก และมี
    หน้าเหมือนควาย ฟาน ม้า ช้างพลายเป็นต้น มีกายต่าง ๆน่ากลัว น่าประหลาด
    น่าเกลียด มีกายเสมือนมนุษย์ยักษ์ปีศาจ ท่วมทับพระมหาสัตว์โพธิสัตว์ ผู้
    ประทับนั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ เดินห้อมล้อม ยืนมองดูการสำแดงของมาร.
    แต่นั้น เมื่อกองกำลังของมาร เข้าไปยังโพธิมัณฑสถาน บรรดาเทพ
    เหล่านั้น มีท้าวสักกะเป็นต้น เทพแม้แต่องค์หนึ่ง ก็ไม่อาจจะยืนอยู่ได้.

    เทพทั้งหลายก็พากันหนีไปต่อหน้า ๆ นั่นแหละ ก็ท้าวสักกะเทวราช ทำวิชยุตตร-
    สังข์ไว้ที่ปฤษฎางค์ ประทับยืน ณ ขอบปากจักรวาล. ท้าวมหาพรหม วาง
    เศวตฉัตรไว้ที่ปลายจักรวาลแล้วก็เสด็จไปพรหมโลก. กาฬนาคราชก็ทิ้งนาค-
    นาฏกะไว้ทั้งหมด ดำดินไปยังภพมัญเชริกนาคพิภพลึก ๕๐๐ โยชน์ นอนเอา
    มือปิดหน้า ไม่มีแม้แต่เทวดาสักองค์เดียว ที่จะสามารถอยู่ในที่นั้นได้. ส่วน
    พระมหาบุรุษ ประทับนั่งอยู่แต่ลำพัง เหมือนมหาพรหมในวิมานว่างเปล่า. นิมิต
    ร้าย ที่ไม่น่าปรารถนาเป็นอันมากปรากฏก่อนทีเดียวว่า บัดนี้ มารจักมา ดังนี้.

    เมื่อเวลาการยุทธของพระยามาร และของพระ-
    ผู้เผ่าพันธุ์แห่งไตรโลก ดำเนินไปอยู่ อุกกาบาตอัน
    ร้ายกาจก็ตกลงโดยรอบ ทิศทั้งหลายก็มืดคลุ้มด้วยควัน.
    แผ่นดินแม้นี้ไม่มีใจ ก็เหมือนมีใจ ถึงความ
    พลัดพราก เหมือนหญิงสาวพลัดพรากสามี แผ่นดิน
    ที่ทรงสระต่าง ๆ พร้อมทั้งสาครก็หวั่นไหว เหมือน
    เถาวัลย์ต้องลมพัดแรง.
    มหาสมุทรก็มีน้ำปั่นป่วน แม้น้ำทั้งหลายก็ไหล
    ทวนกระแส ลำต้นไม้ต่าง ๆ ก็คดงอแตกติดดินแห่ง
    ภูผาทั้งหลาย.
    ลมร้ายก็พัดไปรอบ ๆ มีเสียงอึกทึกครึกโครม
    ความมืดที่ปราศจากดวงอาทิตย์ ก็เลวร้าย ตัวกะพันธ์
    ก็ท่องไปกลางหาว.
    เขาว่า ลางร้ายอันพิลึก ดังกล่าวไม่น่าเจริญใจ
    ไม่น่าปรารถนา ทั้งที่อยู่ในอากาศและที่อยู่ภาคพื้นดิน
    เป็นอันมาก ก็มีโดยรอบในขณะที่มารมา.

    ส่วนหมู่เทพทั้งหลาย เห็นมารประสงค์จะประ-
    หารพระมหาสัตว์ ผู้เป็นเทพแห่งเทพนั้น ก็เอ็นดู
    พร้อมด้วยหมู่เทพก็พากันทำเสียงว่า หา หา.
    แม้ภายหลัง ก็เห็นมารนั้น พร้อมทั้งกองกำลัง
    เป็นอันมาก ที่ฝึกมาดีแล้ว พากันหนีไปในทิศใหญ่
    ทิศน้อย อาวุธในมือก็ตกไป.
    พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ผู้แกล้วกล้า ปราศจาก
    ภัย ประทับนั่งอยู่ท่ามกลางกองกำลังของมาร เหมือน
    พระยาครุฑอยู่ท่ามกลางฝูงวิหค เหมือนราชสีห์ผู้ยิ่งยง
    อยู่ท่ามกลางฝูงมฤคฉะนั้น.


    ครั้งนั้น มารคิดว่า จักยังพระสิทธัตถะให้กลัวแล้วหนีไป แต่ไม่อาจ
    ให้พระโพธิสัตว์หนีไปด้วยฤทธิ์มาร ๙ ประการ คือ ลม ฝน ก้อนหิน เครื่อง
    ประหาร ถ่านไฟ ไฟนรก ทราย โคลน ความมืด มีใจขึ้งโกรธ บังคับ
    หมู่มารว่า พนาย พวกเจ้าหยุดอยู่ไย จงทำสิทธัตถะให้ไม่เป็นสิทธัตถะ จง
    จับ จงฆ่า จงตัด จงมัด จงอย่าปล่อย จงให้หนีไป ส่วนตัวเองนั่งเหนือ
    คอคชสารชื่อคิรีเมขละ ใช้กรข้างหนึ่งกวัดแกว่งศร เข้าไปหาพระโพธิสัตว์
    กล่าวว่า ท่านสิทธัตถะ จงลุกขึ้นจากบัลลังก์. ทั้งหมู่มารก็ได้ทำความบีบคั้น
    ร้ายแรงยิ่งแก่พระมหาสัตว์.
    ครั้งนั้น พระมหาบุรุษตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนมาร ท่านบำเพ็ญ
    บารมีเพื่อบัลลังก์มาแต่ครั้งไร แล้ว ทรงน้อมพระหัตถ์ขวาสู่แผ่นปฐพี. ขณะนั้น
    นั่นเอง ลมและน้ำที่รองแผ่นปฐพี ซึ่งหนาหนึ่งล้านหนึ่งหมื่นสี่พันโยชน์ ก็ไหว
    ก่อนต่อจากนั้น มหาปฐพีนี้ ซึ่งหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ก็ไหว ๖ ครั้ง. สายฟ้า
    แลบและอสนีบาตหลายพันเบื้องบนอากาศ ก็ผ่าลงมา.

    ลำดับนั้น ช้างคิรีเมขละก็คุกเข่า.
    มารที่นั่งบนคอคิรีเมขละ ก็ตกลงมาที่แผ่นดิน. แม้พรรคพวกของ
    มารก็กระจัดกระจายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย เหมือนกำแกลบที่กระจายไปฉะนั้น.
    ลำดับนั้น แม้พระมหาบุรุษ ทรงกำจัดกองกำลังของมารพร้อมทั้งตัว
    มารนั้น ด้วยอานุภาพพระบารมีทั้งหลายของพระองค์ มีขันติ เมตตา วิริยะ
    และปัญญาเป็นต้น ปฐมยามทรงระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยมาแต่ก่อน มัชฌิมยาม
    ทรงชำระทิพยจักษุ ปัจจุสมัยใกล้รุ่ง ทรงหยั่งญาณลงในปัจจยาการที่พระพุทธ-
    เจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ทรงยังจตุตถฌานมีอานาปานะเป็นอารมณ์ให้เกิด
    แล้ว ทรงทำจตุตถฌานนั้นให้เป็นบาทแล้ว ทรงเจริญวิปัสสนา ทรงยังกิเลส
    ทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยมรรคที่ ๔ ซึ่งทรงบรรลุมาตามลำดับมรรค ทรงแทงตลอด
    พระพุทธคุณทั้งปวง ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา
    ทรงเปล่งพระพุทธอุทานว่า

    อเนกชาติสสาร สนฺธาวิสฺส อนิพฺพิส
    คหการ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุน
    คหการก ทิฏฺโสิ ปุน เคห น กาหิสิ
    สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏ วิสงฺขต
    วิสงฺขารคต จิตต ตณฺหาน ขยมชฺฌคา.

    เราแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา เมื่อ
    ไม่พบ ก็ต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก
    การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้สร้างเรือน
    คือตัณหา เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนแก่เรา
    อีกไม่ได้แล้ว โครงสร้างเรือนของท่าน เราก็หักหมด
    แล้ว ยอดเรือนคืออวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว จิตเราถึง
    วิสังขาร ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เพราะเราบรรลุธรรมที่
    สิ้นตัณหาแล้ว.


    ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 720-725
     
  8. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    คาถาธรรมบท จิตตวรรค
    กุลบุตรทราบกายนี้ว่า
    เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร
    พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา
    ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว

    อรรถกถา เรื่องภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา
     
  9. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    กึสุกสูตร

    [๓๓๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
    ได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ
    เพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอัน
    หมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความ
    เป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไป
    หาภิกษุอีกรูปหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอัน
    หมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะ
    ของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งอุปาทาน-
    *ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของ
    ภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของ
    ภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มี
    อายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับ
    แห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์
    ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
    ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด ตามความ
    เป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ
    ไปเป็นธรรมดา ฯ

    [๓๔๐] ที่นั้นแล ภิกษุไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึง
    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอ
    ประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้า-
    *พระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด
    เหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์
    ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้ว
    ได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร
    เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
    ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่ง
    อุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์
    ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มี
    อายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถาม
    อย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ
    เป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตาม
    ความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
    จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ
    เป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้
    กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ
    ที่ภิกษุรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
    ทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการ
    พยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ขอทูลถาม
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วย
    เหตุเพียงเท่าไรหนอแล ฯ

    [๓๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุรุษยังไม่เคยเห็นต้นทอง-
    *กวาว บุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้ว
    ถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูกร
    บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอไม้ไหม้ ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็น
    ดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น
    พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามว่า ดูกรบุรุษ
    ผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้น
    เนื้อ ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดี
    ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาว
    ถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้น
    พึงตอบอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือนต้นซึก ก็
    สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วย
    การพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึง
    ที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึง
    ตอบว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนาแน่น มีร่มทึบ
    เหมือนต้นไทร ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น แม้ฉันใด ดูกร
    ภิกษุ ทัศนะของสัตบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้ว เป็นอันหมดจดดีด้วยประการ
    ใดๆ เป็นอันสัตบุรุษทั้งหลายผู้ฉลาด พยากรณ์แล้วด้วยประการนั้นๆ ฉันนั้นแล ฯ

    [๓๔๒] ดูกรภิกษุ เหมือนอย่างว่า เมืองชายแดนของพระราชาเป็น
    เมืองที่มั่นคง มีกำแพงและเชิงเทิน มีประตู ๖ ประตู นายประตูเมืองนั้นเป็น
    คนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่ตน
    รู้จักเข้าไปในเมืองนั้น ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน มาแต่ทิศบูรพา พึงถามนาย
    ประตูนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นตอบว่า แน่ะ
    ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่
    นั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปตามทางที่มา
    แล้ว ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศปัจจิม... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมา
    แต่ทิศอุดร... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศทักษิณ แล้วถามนายประตูนั้น
    อย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นพึงตอบว่า แน่ะ
    ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่
    หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปทางตาม
    ที่มาแล้ว ดูกรภิกษุ อุปมานี้แล เรากระทำแล้วเพื่อจะให้เนื้อความแจ่มแจ้ง ก็ใน
    อุปมานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ คำว่าเมือง เป็นชื่อของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหา-
    *ภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาและบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มี
    อันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์ มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา
    คำว่าประตู ๖ ประตู เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ คำว่านายประตูเป็นชื่อของสติ
    คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา คำว่าเจ้าเมือง
    เป็นชื่อของวิญญาณ คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ
    ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง เป็น
    ชื่อของนิพพาน คำว่าทางตามที่มาแล้ว เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
    สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ

    จบสูตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2012
  10. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    คาถาธรรมบท สหัสสวรรค

    อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
    จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ.

    ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
    เจริญแก่ บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ
    ผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญ เป็นนิตย์.

    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สหัสสวรรค
    เรื่องอายุวัฒนกุมาร
     
  11. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    เทวธาวิตักกสูตร
    ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน
    เรื่องวิตก
    [๒๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
    เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

    [๒๕๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายัง
    เป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียว ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยก
    วิตกให้เป็น ๒ ส่วนๆ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสา
    วิตก นี้ออกเป็นส่วนหนึ่ง และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็น
    ส่วนที่ ๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้
    กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า
    มันย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียด-
    *เบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
    เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเรา
    พิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อ
    เราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้
    บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งกามวิตก
    ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียร
    เครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ วิหิงสาวิตกย่อมบังเกิด
    ขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า มันเป็นไปเพื่อ
    เบียดเบียนตนบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสอง
    บ้าง ทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
    เราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณา
    เห็นว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มัน
    เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า
    มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความ
    ดับสูญไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ
    ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2012
  12. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    [๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
    *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

    [๒๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบ
    อธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
    เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจาก
    นิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง
    โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่า
    นั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เหมือนช่าง
    ไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก แม้ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่ออาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
    เป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิด
    ขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อ
    เธอมนสิการนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล อันประกอบด้วยฉันทะบ้าง
    โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
    เพราะละวิตกอัน
    เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
    นั้นแล.

    [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อัน
    ประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
    ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตก
    เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วน
    แต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป
    อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้ง
    อยู่ไม่ได้
    เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอก
    ผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว
    รู้สึกอึดอัด ระอา เกลียดชังต่อซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ [ของตน]
    แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่
    วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้
    อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้
    ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
    โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
    บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
    นั้นแล.

    [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
    อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตก
    เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ อันเธอย่อมละเสีย
    ได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
    เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการ
    จะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสีย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หาก
    เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ
    เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.

    [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น
    อยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
    ขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้น เมื่อ
    เธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
    ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก
    อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
    นั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษพึงเดินเร็ว เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเดินเร็วทำ
    ไมหนอ ถ้ากระไร เราพึงค่อยๆ เดิน เขาก็พึงค่อยๆ เดิน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราค่อยๆ
    เดินไปทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรยืน เขาพึงยืน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า เราจะยืน
    ทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนั่ง เขาพึงนั่ง เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอ
    ถ้ากระไร เราควรนอน เขาพึงลงนอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษคนนั้น มาผ่อนทิ้งอิริยาบถ
    หยาบๆ เสีย พึงสำเร็จอิริยาบถละเอียดๆ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น หากว่า
    เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
    ด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.

    [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
    วิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
    ขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต เมื่อเธอ
    กัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล
    ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
    เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าไว้ได้แล้ว
    บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอ
    มนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
    ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วย
    ลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตไว้ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น
    บังคับจิตอยู่ได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ
    ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้ง
    อยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.

    ผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก​


    [๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกอัน
    เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการ
    นิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
    โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
    บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
    นั้นแล เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
    ด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่
    ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรม
    เอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
    อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อม
    ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น
    ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
    วิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน
    เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม
    ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นกัดฟันด้วยฟัน
    ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
    โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
    บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนง วิตกใด
    ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลาย
    สังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ [ได้มารู้ยิ่งซึ่งธรรมของ
    ท่านที่เป็นพระอรหันต์โดยชอบ]
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ
    ผู้มีพระภาค แล้วแล.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2012
  13. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    [๓๙๕] ฤาษีมีชื่อตามโคตรว่า ปัณฑรสะ ได้เห็นภิกษุเป็นอันมาก ที่น่าเลื่อมใส
    มีตนอันอบรมแล้ว สำรวมด้วยดี จึงได้ถามพระปุสสเถระว่า ในอนาคต
    ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จักมีความพอใจอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร
    กระผมถามแล้วขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด?

    พระปุสสเถระจึงกล่าวตอบด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
    ดูกรปัณฑรสฤาษี ขอเชิญฟังคำของอาตมา จงจำคำของอาตมาให้ดี
    อาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถามถึงอนาคต คือในกาลข้างหน้า ภิกษุ
    เป็นอันมากจักเป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ
    โอ้อวด ริษยา มีวาทะต่างๆ กัน จักเป็นผู้มีมานะในธรรมที่ยังไม่รู้ทั่วถึง
    คิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบา ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพ
    กันและกัน ในกาลข้างหน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก
    ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้
    ให้เศร้าหมอง ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว โวหารจัด แกล้วกล้า มี
    กำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล
    ภิกษุทั้งหลายในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่
    เนื้อความ มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมีกำลังน้อย

    ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา
    ที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษ
    ผู้อื่น ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแก่การทะเลาะ
    วิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียวแดง เป็นคนลวงโลก
    กระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล เที่ยวชูเขา คือมานะ ทำตนดั่งพระ
    อริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่ เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด
    เหลาะแหละ ให้ยาหยอดและทาตา มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสี
    งา สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่ จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำ
    ฝาดเป็นของไม่น่าเกลียด พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วยินดียิ่งนัก
    เป็นธงชัยของพระอรหันต์ พอใจแต่ในผ้าขาวๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล
    เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็น
    ความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉา-
    ชีพ จักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น (เที่ยวคบหา
    ราชสกุลเป็นต้นเพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์ เที่ยวไป

    อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จัก
    ไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาว
    มิลักขะชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย บางพวก
    ก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์ อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุ
    เหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย
    บริโภคผ้ากาสาวะ เมื่อทุกข์ครอบงำ ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่
    พิจารณาโดยแยบคาย แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา มีแต่เสียงโอด
    ครวญอย่างใหญ่หลวง เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์ ได้เห็นผ้ากาสาวะ
    อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่นายโสณุตระพราน นุ่งห่มไปในคราว
    นั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์มากมาย
    ว่า ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งผ้ากาสาวะ
    ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้ว
    ตั้งมั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคง ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นจึงสมควรจะ
    นุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์
    กระทำตามความใคร่อย่างเดียว มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควร
    ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจาก
    ราคะ มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ
    โดยแท้ ผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มีจิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟูขึ้นเหมือน
    ไม้อ้อ ย่อมสมควรจะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้น จักควรนุ่งผ้าห่มผ้ากาสาวะ
    อย่างไร

    อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักเป็นผู้มีจิตใจชั่ว
    ร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่ มีเมตตาจิต แม้ภิกษุ
    ทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำ
    ตามความใคร่ ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวร ก็จักไม่เชื่อฟัง
    พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือน
    อย่างนั้น จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์
    จักเป็นเหมือนม้าพิการไม่เอื้อเฟื้อนายสารถี ฉะนั้น ในกาลภายหลังแต่
    ตติยสังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้.

    ครั้นพระปุสสเถระแสดงมหาภัยอันจะบังเกิดขึ้น ในกาลภายหลังอย่างนี้แล้ว เมื่อจะ
    ให้โอวาทภิกษุที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า

    ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้
    ก่อน ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย
    มีความเคารพกันและกัน มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีล
    ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอท่าน
    ทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย และจงเห็นความไม่
    ประมาทโดยความเป็นของปลอดภัย แล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อ
    ทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย.

     
  14. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความ
    ประมาท
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อ
    ความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

    [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม เหมือนความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ประมาท ย่อม
    เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม ฯ

    [๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็น
    ผู้เกียจคร้าน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อความ
    เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

    [๑๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม เหมือนการปรารภความเพียร ดูกรภิกษุทั้งหลาย การปรารภความเพียร
    ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม ฯ

    [๑๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็น
    ผู้มักมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
    เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

    [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มักน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักน้อย
    ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม ฯ

    [๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้
    ไม่สันโดษ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
    เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

    [๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษ
    ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม ฯ
    [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการใส่ใจ
    โดยไม่แยบคาย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อ
    ความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

    [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดย
    แยบคาย
    ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่
    อันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

    [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็น
    ผู้ไม่รู้สึกตัว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
    เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

    [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม ฯ

    [๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็น
    ผู้มีมิตรชั่ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
    เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

    [๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดี
    ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม ฯ

    [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการประกอบ
    อกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบ
    อกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
    เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

    [๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม เหมือนการประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม
    ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
    สัทธรรม ฯ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2012
  15. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
    เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑
    เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
    เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑
    เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑
    เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม
    เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
    จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น
    ความแก่ไปได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวมีอยู่แก่สัตว์
    ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขา
    พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวนั้นได้โดย
    สิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์
    นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามี
    ความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วง
    พ้นความเจ็บไข้ไปได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความไม่มีโรคมีอยู่แก่
    สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
    เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความไม่มีโรคนั้นได้โดย
    สิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์
    นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามี
    ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น
    ความตายไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่ง
    เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะ
    นั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลง
    ได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น
    ความตายไปได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของ
    ชอบใจทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์
    ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขา
    พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความพอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิง
    หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล
    สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้อง
    พลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง
    กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
    ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต
    วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ
    ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต
    จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
    มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจัก
    เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่
    ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์
    ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดา
    ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรค
    ย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ
    อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

    อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่มีความเจ็บไข้เป็น
    ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา
    การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้
    ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวก
    นั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค
    นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็น
    ดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตาย
    ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วน
    มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะ
    นั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่ง
    มรรคนั้น
    เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้
    อนุสัยย่อมสิ้นไป

    อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น
    ที่จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวง
    บรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของรักของ
    ชอบใจทั้งสิ้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น

    อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้
    มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อม
    พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาท
    แห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
    ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดา
    ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง
    กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
    ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะ
    นั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่ง
    มรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บไข้
    เป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา สัตว์ทั้งหลายย่อม
    เป็นไปตามธรรมดา พวกปุถุชนย่อมเกลียด ถ้าเราพึงเกลียด
    ธรรมนั้น ในพวกสัตว์ผู้มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ข้อนั้นไม่
    สมควรแก่เราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ ทราบ
    ธรรมที่หาอุปธิมิได้ เห็นการออกบวชโดยเป็นธรรมเกษม
    ครอบงำความมัวเมาทั้งปวงในความไม่มีโรค ในความเป็น
    หนุ่มสาว และในชีวิต ความอุตสาหะได้มีแล้ว แก่เราผู้
    เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน บัดนี้ เราไม่ควรเพื่อเสพกามทั้งหลาย
    จักเป็นผู้ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติพรหมจรรย์ ฯ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2012
  16. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ชีวิตน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ
    [๔๙] คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่า เป็นของน้อย มีความว่า ชีวิต
    ได้แก่ อายุ ความตั้งอยู่ ความดำเนินไป ความให้อัตภาพดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความ
    เป็นไป ความเลี้ยง ความเป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์. ก็ชีวิตน้อยโดยเหตุ ๒ ประการ
    คือ ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อย ๑
    ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อย ๑.

    ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยเป็นอย่างไร?
    ชีวิตเป็นอยู่แล้วในขณะจิตเป็นอดีต ย่อมไม่เป็นอยู่ จักไม่เป็นอยู่.
    ชีวิตจักเป็นอยู่ ในขณะจิตเป็นอนาคต ย่อมไม่เป็นอยู่ ไม่เป็นอยู่แล้ว.
    ชีวิตย่อมเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นปัจจุบัน ไม่เป็นอยู่แล้ว จักไม่เป็นอยู่.
    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งมวล เป็นธรรมประกอบกันเสมอด้วยจิต
    ดวงเดียว ขณะย่อมเป็นไปพลัน เทวดาเหล่าใดย่อมตั้งอยู่ตลอดแปด-
    หมื่นสี่พันกัป เทวดาเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้ประกอบด้วยจิตสองดวง
    ดำรงอยู่เลย ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ผู้ตายหรือของสัตว์ที่เป็นอยู่ในโลก
    นี้ดับแล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงเทียว เป็นเช่นเดียวกันดับไปแล้ว มิ
    ได้สืบเนื่องกัน ขันธ์เหล่าใด แตกไปแล้วในอดีตเป็นลำดับและขันธ์
    เหล่าใดแตกไปแล้วในอนาคตเป็นลำดับ ความแปลกกันแห่งขันธ์ทั้ง
    หลาย ที่ดับไปในปัจจุบันกับด้วยขันธ์เหล่านั้น ย่อมมิได้มีในลักษณะ
    สัตว์ไม่เกิดแล้วด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมเป็นอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์ สัตว์
    โลกตายแล้วเพราะความแตกแห่งจิต นี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์ ขันธ์
    ทั้งหลาย แปรไปโดยฉันทะ ย่อมเป็นไป ดุจน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น
    ย่อมเป็นไปตามวาระ อันไม่ขาดสายเพราะอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย ขันธ์
    ทั้งหลายแตกแล้ว มิได้ถึงความตั้งอยู่ กองขันธ์มิได้มีในอนาคต ขันธ์
    ทั้งหลายที่เกิดแล้วย่อมตั้งอยู่ เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ตั้งอยู่บนปลาย
    เหล็กแหลม ฉะนั้น ก็ความแตกแห่งธรรมขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วนั้น
    สกัดอยู่ข้างหน้าแห่งสัตว์เหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายมีความทำลายเป็นปกติ
    มิได้รวมกับขันธ์ที่เกิดก่อน ย่อมตั้งอยู่ ขันธ์ทั้งหลายมาโดยไม่ปรากฏ
    แตกแล้วก็ไปสู่ที่ไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป เหมือนสายฟ้า
    แลบในอากาศ ฉะนั้น.

    ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยอย่างนี้.
    ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อยอย่างไร? ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจออก ชีวิตเนื่องด้วยลม
    หายใจเข้า ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจออกและลมหายใจเข้า ชีวิตเนื่องด้วยมหาภูตรูป ชีวิตเนื่อง
    ด้วยไออุ่น ชีวิตเนื่องด้วยอาหารที่กลืนกิน ชีวิตเนื่องด้วยวิญญาณ. กรัชกายอันเป็นที่ตั้งแห่ง
    ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพอันเป็น
    เหตุเดิม แห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี ปัจจัยทั้งหลายก็ดี ตัณหาอันเป็นแดน
    เกิดก่อนก็ดี รูปธรรมและอรูปธรรมที่เกิดร่วมกันแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี
    อรูปธรรมที่ประกอบกันแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี ขันธ์ที่เกิดร่วมกันแห่งลม
    หายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี ตัณหาอันประกอบกันก็ดีก็มีกำลังทราม ธรรมเหล่านี้มี
    กำลังทรามเป็นนิตย์ต่อกันและกัน มิได้ตั้งมั่นต่อกันและกัน ย่อมยังกันและกันให้ตกไป เพราะ
    ความต้านทานมิได้มีแก่กันและกัน ธรรมเหล่านี้จึงไม่ดำรงกันและกันไว้ได้ ธรรมใดให้ธรรม
    เหล่านี้เกิดแล้ว ธรรมนั้นมิได้มี ก็แต่ธรรมอย่างหนึ่งมิได้เสื่อมไปเพราะธรรมอย่างหนึ่ง ก็ขันธ์
    เหล่านี้แตกไปเสื่อมไปโดยอาการทั้งปวง ขันธ์เหล่านี้อันเหตุปัจจัยมีในก่อนให้เกิดแล้ว แม้เหตุ
    ปัจจัยอันเกิดก่อนเหล่าใด เหตุปัจจัยเหล่านั้นก็ตายไปแล้วในก่อน ขันธ์ที่เกิดก่อนก็ดี ขันธ์ที่
    เกิดภายหลังก็ดี มิได้เห็นกันและกันในกาลไหนๆ ฉะนั้น ชีวิตจึงชื่อว่าเป็นของน้อยเพราะมีกิจ
    น้อยอย่างนี้.

    อนึ่ง เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ชีวิตมนุษย์ก็น้อยคือ เล็กน้อย
    นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ไม่ดำรงอยู่
    นาน. เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นยามา ... เพราะ
    เทียบชีวิตของเทวดาชั้นดุสิต ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นนิมมานรดี ... เพราะเทียบชีวิตของ
    เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม ชีวิตมนุษย์น้อย
    คือ เล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า
    ดำรงอยู่ไม่นาน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายุของพวกมนุษย์นี้น้อย
    จำต้องละไปสู่ปรโลก มนุษย์ทั้งหลายจำต้องประสบความตายตามที่รู้กันอยู่แล้ว ควรทำกุศล ควร
    ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีมนุษย์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมเป็นอยู่นาน
    ผู้นั้นก็เป็นอยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือที่เกินกว่า ๑๐๐ ปี ก็มีน้อย.

    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
    จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

    อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดี พึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนี้
    พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ
    ฉะนั้น เพราะภาวะความตาย จะไม่มาถึงมิได้มี วันคืนย่อมล่วงเลยไป
    ชีวิตก็กระชั้นเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป
    เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยย่อมสิ้นไป ฉะนั้น.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2012
  17. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ว่าด้วยปริญญา ๓ ประการ​


    ญาตปริญญาเป็นไฉน?
    ธีรชนย่อมรู้ซึ่งผัสสะ คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่านี้จักขุสัมผัส
    นี้โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส นี้ชิวหาสัมผัส นี้กายสัมผัส นี้มโนสัมผัส
    นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆสัมผัส นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
    นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา
    นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต
    นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต
    นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต
    นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ
    นี้ผัสสะเป็นโลกิยะ นี้ผัสสะเป็นโลกุตตระ
    นี้ผัสสะเป็นอดีต นี้ผัสสะเป็นอนาคต นี้ผัสสะเป็นปัจจุบัน
    นี้เรียกว่าญาตปริญญา.

    ตีรณปริญญาเป็นไฉน?
    ธีรชนทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาซึ่งผัสสะ
    คือ ย่อมพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
    เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น
    เป็นของไม่มีอำนาจ เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์
    เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน
    เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง
    เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ
    เป็นของมีความแปรไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความลำบาก

    เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ
    เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา
    เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิเป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา
    เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส
    เป็นธรรมดา เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรม เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์
    เป็นของดับไป เป็นของชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ
    นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา.

    ปหานปริญญาเป็นไฉน?
    ธีรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป
    ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในผัสสะ
    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในผัสสะใด ท่านทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้น
    ฉันทราคะนั้นจักเป็นของอันท่านทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว
    ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง
    มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา โดยประการอย่างนี้.
    นี้เรียกว่า ปหานปริญญา.

    คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่งผัสสะด้วยปริญญา ๓ นี้.
    คำว่า ไม่เป็นผู้ตามติดใจ มีความว่า ตัณหาเรียกว่าความติดใจ
    ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ
    อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.
    ความติดใจนั้นอันบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว
    ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
    บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้ไม่ติดใจ.

    บุคคลนั้นไม่ติดใจ คือ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล
    ไม่หมกมุ่นในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
    คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ
    กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ

    เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ
    อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบันกาล ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม
    คือ เป็นผู้คลาย ปราศจาก สละ สำรอกปล่อย ละ สละ สละคืนความติดใจแล้ว
    คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืน
    ความกำหนัดแล้ว หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยความสุข
    มีตนเป็นดุจพรหมอยู่เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว
    ไม่เป็นผู้ตามติดใจ.

    [๖๓] คำว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้น
    มีความว่า กรรมใด คือ ธีรชนย่อมติเตียนกรรมใดด้วยตน
    ธีรชนย่อมติเตียนตนเพราะเหตุ ๒ ประการ
    คือ เพราะกระทำ และเพราะไม่กระทำ.

    ธีรชนติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำ อย่างไร?
    ธีรชนย่อมติเตียนตนว่า เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต
    ไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต.
    เราทำปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำอทินนาทาน
    ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน
    เราทำกาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
    เราทำมุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท
    เราทำปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา
    เราทำผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา
    เราทำสัมผัปปลาปะ ไม่ทำความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ.
    เราทำอภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา
    เราทำพยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท
    เราทำมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ

    ธีรชนย่อมติเตียนตน เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง ธีรชนย่อมติเตียนตนว่า

    เราไม่ทำความบริบูรณ์ในศีล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์
    ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่
    ไม่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔
    ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ไม่เจริญอิทธิบาท ๔
    ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ไม่เจริญพละ ๕
    ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗ ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
    ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญมรรค ไม่ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ

    ธีรชนย่อมติเตียนตน เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้.
    ไม่ทำกรรมที่ตนติเตียนอย่างนี้ คือ ไม่ยังกรรมนั้นให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม
    ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่กระทำกรรมนั้น.

    [๖๔] คำว่า ธีรชนย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์
    มีความว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง
    คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ
    นี้ชื่อว่าความติดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ
    คำว่า ธีรชน คือ บุคคลผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรง ผู้ดำเนินด้วยปัญญา (บัณฑิต)
    ผู้มีปัญญา ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทำลาย
    กิเลส. ธีรชนละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ติด
    คือไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว
    เป็นผู้ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้วในทิฏฐารมณ์ สุตารมณ์ มุตารมณ์
    วิญญาตารมณ์ เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่

    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธีรชนย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์.
    เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

    ธีรชนพึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่
    เป็นผู้ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้น ย่อมไม่ติดใน
    ทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์.

    [๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้าม
    โอฆะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาทประพฤติอยู่ ย่อม
    ไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า.

    [๖๖] คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ... พึงข้ามโอฆะได้
    มีความว่าสัญญา ได้แก่ กามสัญญา พยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญา
    เนกขัมมสัญญา อัพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา
    รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา

    สัญญาใดเห็นปานนี้ คือ ความรู้พร้อม ความเป็นคืออันรู้พร้อม นี้เรียกว่า สัญญา.

    คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว มีความว่า กำหนดรู้สัญญาด้วยปริญญา ๓
    คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.

    ญาตปริญญาเป็นไฉน?
    มุนีย่อมรู้สัญญา คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า นี้กามสัญญา
    นี้พยาปาทสัญญา นี้วิหิงสาสัญญา นี้เนกขัมมสัญญา นี้อัพยาปาทสัญญา
    นี้อวิหิงสาสัญญา นี้รูปสัญญา นี้สัททสัญญา นี้คันธสัญญา นี้รสสัญญา
    นี้โผฏฐัพพสัญญา นี้ธัมมสัญญา นี้เรียกว่า ญาตปริญญา.

    ตีรณปริญญาเป็นไฉน?
    มุนีทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาสัญญาโดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก
    เป็นอาพาธ เป็นของอื่น (เป็นของไม่มีอำนาจ) เป็นของชำรุด เป็นเสนียด
    เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง ฯลฯ
    เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็นของชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ
    เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา.

    ปหานปริญญาเป็นไฉน?
    มุนีพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไปให้ถึงความไม่มีในภายหลัง
    ซึ่งฉันทราคะในสัญญา.

    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะ ในสัญญาใด ท่านทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้นเสีย
    ฉันทราคะนั้นจักเป็นของอันท่านทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว
    ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง
    มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา ด้วยประการอย่างนี้.
    นี้เรียกว่า ปหานปริญญา.

    คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว คือ กำหนดรู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ นี้.
    คำว่า พึงข้ามโอฆะได้ คือพึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วงเลย
    ก้าวล่วงกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้สัญญาแล้วพึงข้ามโอฆะได้.

    [๖๗] คำว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย
    มีความว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง
    คือ ความยึดถือด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ
    นี้เรียกว่า ความยึดถือด้วยตัณหา ฯลฯ นี้เรียกว่าความยึดถือด้วยทิฏฐิ.

    คำว่า มุนี มีความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ
    ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ
    บุคคลประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือ ผู้ถึงญาณที่ชื่อว่า โมนะ.

    โมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) มี ๓ อย่าง
    คือ โมเนยยธรรมทางกาย ๑ โมเนยยธรรมทางวาจา ๑ โมเนยยธรรมทางใจ ๑.

    โมเนยยธรรมทางกายเป็นไฉน?
    การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย.
    กายสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์ กายปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา
    การละฉันทราคะในกาย ความดับแห่งกายสังขาร ความบรรลุจตุตถฌาน
    ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย.
    นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย.

    โมเนยยธรรมทางวาจาเป็นไฉน?
    การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา.
    วจีสุจริต ๔ อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ วาจาปริญญา มรรคอันสหรคด้วยปริญญา
    การละฉันทราคะในวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌาน
    ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา.
    นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา.

    โมเนยยธรรมทางใจเป็นไฉน?
    การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ.
    มโนสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ จิตตปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา

    การละฉันทราคะในจิต ความดับแห่งจิตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
    ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ.
    นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ.

    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    บัณฑิตทั้งหลาย ได้กล่าวบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา
    เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ว่า เป็นมุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้
    เป็นมุนี เป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง. บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวบุคคลผู้เป็น
    มุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ว่า เป็น
    มุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว.

    ชนผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ๓ อย่างนี้ ชื่อว่ามุนี
    มุนีมี ๖ จำพวก คือ
    อาคารมุนี อนาคารมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี มุนิมุนี.

    อาคารมุนีเป็นไฉน?
    ชนเหล่าใด เป็นผู้ครองเรือน
    มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่าอาคารมุนี.

    อนาคารมุนีเป็นไฉน?
    ชนเหล่าใดออกบวช
    มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่าอนาคารมุนี.

    พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี.
    พระอรหันต์ทั้งหลายชื่อว่าอเสขมุนี.
    พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี.
    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่ามุนิมุนี.
    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    บุคคลไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง แต่เป็นผู้เปล่า ไม่ใช่ผู้รู้
    ส่วนบุคคลใด เป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ ละเว้นบาปทั้งหลาย
    เหมือนคนที่ถือเครื่องชั่งตั้งอยู่ ฉะนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นมุนี เรียก
    ว่าเป็นมุนี โดยเหตุนั้น และบุคคลใด ย่อมรู้โลกทั้ง ๒ บุคคลนั้น
    เรียกว่าเป็นมุนี โดยเหตุนั้น. บุคคลใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรม
    ของสัตบุรุษ ในโลกทั้งปวง ทั้งภายในภายนอก ก้าวล่วงธรรมเป็น
    เครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่าย ดำรงอยู่ เป็นผู้อันเทวดาและ
    มนุษย์บูชา บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี.

    คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง
    คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ
    นี้ชื่อว่าความติดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ.

    มุนีละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ติด คือไม่ติดพัน
    ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออก สละเสีย
    พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้วในความยึดถือทั้งหลาย
    เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย.

    [๖๘] คำว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่
    มีความว่า ลูกศร ได้แก่ลูกศร ๗ อย่าง
    คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ
    ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือความโศก ลูกศรคือความสงสัย.

    ลูกศรเหล่านี้ อันผู้ใดละได้แล้วตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
    ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาแล้วด้วยไฟคือญาณ
    ผู้นั้นเรียกว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว คือ ถอน ชัก ดึง ฉุด กระชาก สละ สำรอก
    ปล่อย ละ สละคืน ลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก ดับ เย็นแล้ว
    เสวยสุข มีตนดุจพรหมอยู่
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว.

    คำว่า ประพฤติอยู่ คือ ประพฤติอยู่ เที่ยวอยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป.

    คำว่า เป็นผู้ไม่ประมาท
    คือ เป็นผู้ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน
    ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.
    ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ความพยายาม
    ความอุตส่าห์ ความเป็นผู้ขยัน ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ
    ความเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ
    ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด ความตั้งใจ
    ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท ในกุศลธรรมนั้นว่า
    เราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
    หรือพึงอนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้.

    ความไม่ประมาท
    คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้สมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
    หรือเราพึงอนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้.

    ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า
    เราพึงให้ปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
    หรือพึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้.

    ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า
    เราพึงให้วิมุติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
    หรือพึงอนุเคราะห์วิมุติขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้.

    ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า
    เราพึงให้วิมุติญาณทัสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
    หรือพึงอนุเคราะห์วิมุติญาณทัสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญาโดย
    อุบายอย่างไร ดังนี้.

    ความไม่ประมาท คือ ความไม่พอใจ ความพยายาม ความอุตส่าห์ ความ
    เป็นผู้ขยัน ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ
    ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด ความตั้งใจ
    ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท ในกุศลธรรมนั้นว่า
    เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ พึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้
    พึงเจริญมรรคที่ยังไม่เจริญ หรือพึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้งแล้ว โดยอุบายอย่างไร ดังนี้

    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทประพฤติอยู่.

    [๖๙] คำว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า
    มีความว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้ คือ อัตภาพของตน
    ไม่หวังโลกหน้า คือ อัตภาพในปรโลก.
    ไม่หวังโลกนี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของตน
    ไม่หวังโลกหน้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณของผู้อื่น.
    ไม่หวังโลกนี้ คือ อายตนะภายใน ๖
    ไม่หวังโลกหน้า คือ อายตนะภายนอก ๖.
    ไม่หวังโลกนี้ คือ มนุษยโลก
    ไม่หวังโลกหน้า คือ เทวโลก
    ไม่หวังโลกนี้คือ กามธาตุ
    ไม่หวังโลกหน้า คือ รูปธาตุ อรูปธาตุ.
    ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ รูปธาตุ
    ไม่หวังโลกหน้าคือ อรูปธาตุ.
    ไม่หวัง ไม่อยากได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่รักใคร่ ไม่พอใจ
    ซึ่งคติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า.

    เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

    มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้าม
    โอฆะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาทประพฤติอยู่ ย่อมไม่
    หวังโลกนี้ และโลกหน้า ดังนี้.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2012
  18. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    วิธีแก้นิมิตสมาธิ

    เหตุจำเป็นที่จะต้องแก้นิมิตสมาธิ เพราะเหตุว่าเรื่องของนิมิตสมาธิทั้งหมด เป็นเรื่อง
    ของโลกีย์ ไม่ใช่โลกุตตระ จัดว่าเป็นเบญจมาร ๕ ประการ คือ
    กิเลสมาร ๑ เทวบุตรมาร ๑ ขันธมาร ๑ อภิสังขารมาร ๑ มัจจุมาร ๑
    บันดลบันดาลให้บังเกิดมีนิมิตขึ้น หลอกล่อให้หลงติดข้องอยู่ในวัฏฏสงสารตลอดไป
    คือให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้ง ๓ ประการ คือ กามภพ ๑ รูปภพ ๑ อรูปภพ ๑
    นักปฏิบัติผู้ต้องการพ้นทุกข์ คือต้องการโลกุตตระ ไม่ต้องการข้องอยู่ในวัฏฏสงสาร จึงจำเป็น
    ต้องแก้นิมิตทั้ง ๓ ประการให้หลุดพ้นไป

    บัดนี้จะกล่าว วิธีแก้นิมิต ตามหนทางพระพุทธศาสนา ท่านสอนไว้มี ๓ ประการ

    วิธีที่ ๑ เจริญญาตปริญญาวิธี แปลว่า ทำความกำหนดรู้ทั้งจิตทั้งนิมิตอยู่เฉยๆ หรือ
    มีสติกำหนดจิตนิ่งเฉยต่อนิมิต

    วิธีที่ ๒ เจริญตีรณปริญญาวิธี แปลว่า พิจารณาตรวจค้นเหตุผลของนิมิตให้รอบคอบ

    วิธีที่ ๓ เจริญปหานปริญญาวิธี คือสละลงซึ่งนิมิตนั้นใหข้ าดหรือถอนตัณหาเสียทั้งโคน
    ในความรู้ความเห็นเหล่านั้น

    วิธีเจริญญาตปริญญา, วิธีเจริญญาตปริญญา, วิธีเจริญปหานปริญญา เป็นไฉน ?



    จากหนังสือ
     
  19. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561



    เรื่องนี้ สรุปได้ใจความว่า นายโคฆาตก์ ผู้ทำอกุศลกรรม
    อันเป็นอาจิณกรรม ฆ่าวัวอยู่เป็นนิตย์ และโดยได้ตัดลิ้นโคนำมาปิ้งกิน
    เมื่อทำกาละแล้ว ได้ลงสู่นรกอเวจี

    ส่วนบุตรของนายโคฆาตก์
    เมื่อกาลล่วงไป บุตรของนายโคฆาตก์นี้ ได้มีครอบครัว
    แต่กระนั้นแล้ว จนล่วงสู่วัยชรา ก็มิได้มีศรัทธาเลื่อมใสในบุญกุศล
    ต่างจากบุตรธิดา ที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสดา

    บุตรของบุตรของนายโคฆาตก์(ผู้เป็นหลาน)
    จึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้า มารับภัตกิจ เหตุก็เพื่อต้องการทำบุญให้พ่อ
    เพราะไม่มีศรัทธาในการประกอบกุศลอะไรเลย เสมือนกับผู้เป็นตา ที่ทำกาละไปนานแล้ว

    จากนั้น พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรม
    ในบทแรก บุตรนายโคฆาตก์ผู้ล่วงสู่วัยแก่ชราแล้วนี้ ได้บรรลุพระโสดาบัน
    พอหลังจากจบธรรมเทศนาในบทที่สอง ได้บรรลุซึ่งพระอนาคามี

    จึงเป็น "เรื่องของบุตรของบุตรนายโคฆาตก์" ผู้เป็นหลาน
    เสมือนชักนำเพื่อให้ไปพบกับกัลยาณมิตร คือ พระศาสดาผู้บอกทาง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 76.jpg
      76.jpg
      ขนาดไฟล์:
      387.7 KB
      เปิดดู:
      150
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2012
  20. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    <IMG src='http://image.free.in.th/z/ir/p6c77.jpg' width=700>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 77.jpg
      77.jpg
      ขนาดไฟล์:
      560.4 KB
      เปิดดู:
      197

แชร์หน้านี้

Loading...