ภัยร้ายแรงที่สุดในการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย คนหลงเงา, 13 กันยายน 2011.

  1. คนหลงเงา

    คนหลงเงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +541
    ภัยร้ายแรงที่สุดในการปฏิบัติธรรม

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม
    <O:p

    .......................................<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขึ้นหัวข้อตอนนี้ไว้ว่า ภัยร้ายแรงที่สุดในการปฏิบัติธรรม คงเป็นอีกตอนหนึ่งที่มีคุณค่าไม่น้อยกว่าทุกตอนที่นำเสนอมาแล้ว พระพุทธพจน์อีกมากมายที่ประทับใจเป็นอย่างมากเช่นโลกนี้ไม่มีใครผิดใครถูก,อยากพ้นกฎของกรรม ก็จงเพียรทำความดีเพื่อชนะความเลว,วิธีพ้นภัยตนเอง,มื่อสิ้นความเบียดเบียนตนเองแล้ว คำว่าจักไปเบียดเบียนบุคคลอื่นนั้นย่อมไม่มี,อย่าปฏิบัติเลื่อนลอยจักไม่ได้ผล,การแนะนำอย่ากระทำตนเป็นผู้รู้ ให้ถ่อมตนเข้าไว้ว่า ที่รู้นั้นรู้ตามพระพุทธเจ้าท่านสอน,ทุกๆ คนย่อมมีบาปเก่า ๆ ท่วมทับใจอยู่ บาปเก่า ๆ เหล่านี้แหละที่จักสามารถดึงทุกท่านลงนรกได้,การเอาชนะอารมณ์ที่เป็นกิเลสนี้ นี่แหละคืองานประจำเป็นต้น พระธรรมชุดนี้ผมนำมาจากหนังสือธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ มิถุนายนตอน ๓ ที่ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน ลองอ่านดูนะครับ
    <O:p</O:p
    ...........................
    <O:p</O:p

    อย่าเอาความเลวไปแก้ความเลว<O:p</O:p


    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shape id=_x0000_i1025 style="WIDTH: 307.5pt; HEIGHT: 45pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\Admin\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.jpg" o:href="http://www.tangnipparn.com/line1.jpg"></v:imagedata></v:shape><O:p</O:p


    <O:p

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอน โดยให้หลักไว้ดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. อย่าเอาความเลวไปแก้ความเลว จงเอาความดีเข้าไปชนะความเลวของจิตตนเองไม่ใช่เอาความเลวของเราไปชนะความเลวของบุคคลอื่น เพราะนั่นไม่ใช่วิสัยของ อริยชน
    <O:p</O:p
    ๒. ที่พวกเจ้าต้องผจญอยู่กับกฎของกรรมเยี่ยงนี้ ก็เพราะเป็นผลแห่งความเลวที่พวกเจ้าได้กระทำกันมาก่อน จึงพึงสร้างความดีลบล้างอารมณ์จิตเลว ที่ยอมรับผลแห่งกฎของกรรม มัวแต่ไปโทษบุคคลอื่นเยี่ยงนี้มันก็ไม่ถูกต้อง
    <O:p</O:p
    ๓. วางอารมณ์เสียใหม่ อยากได้มรรคผลนิพพาน จักต้องเคารพกฎของกรรมให้มาก ๆ ให้จิตมีความอดทนต่อกฎของกรรมเข้าไว้ โลกนี้ไม่มีใครผิดใครถูก มีแต่กฎของกรรมแสดงอยู่ไม่เว้นตลอดกาลตลอดสมัย
    <O:p</O:p
    ๔. อยากพ้นกฎของกรรม ก็จงเพียรทำความดีเพื่อชนะความเลว อันเป็นกิเลสแห่งจิตของตนให้สิ้นซากไปเท่านั้น จึงจักพ้นได้จงหมั่นตรวจสอบสังโยชน์ดูให้ดี ๆ อย่าลืมซิว่า เวลานี้พวกเจ้าต้องการอะไร (ก็ตอบว่า ต้องการพระนิพพาน)
    <O:p</O:p
    ๕. แล้วการมีอารมณ์ไม่พอใจอยู่ในขณะนี้ จักเข้าถึงพระนิพพานได้ไหม (ตอบว่า เข้าไม่ได้)
    <O:p</O:p
    ๖. แล้วจักเกาะทุกข์เหล่านี้อยู่ทำไม ให้จิตเศร้าหมองอยู่อย่างนั้นหรือ อย่างนี้เป็นคุณหรือเป็นโทษ (ตอบว่า เป็นโทษ)
    <O:p</O:p
    ๗. เมื่อเป็นโทษก็พึงอย่าทำ ละวางอารมณ์นี้ลงไปเสีย จงเลือกเอาแต่อารมณ์ที่เป็นคุณมากระทำ จึงจักถูกต้องเพื่อมรรคผลนิพพาน
    <O:p</O:p
    ๘. เมื่อเข้าใจแล้วก็ต้องทำให้ได้ด้วย ทำได้หรือไม่ได้ก็ต้องทำ<O:p</O:p

    <O:p</O:p



    วิธีพ้นภัยตนเอง
    <O:p</O:p

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนไว้ดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. อยู่ที่การหมั่นตรวจสอบจิต ให้มีอารมณ์ผ่องใสอยู่ในธรรมให้เสมอ ตั้งแต่เช้าลืมตาขึ้นมาพยายามตั้งอารมณ์ให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ และพยายามตั้งอยู่ให้มั่นคง ตั้งแต่เช้าจนกระทั่งหลับตานอนหลับไป หากทำได้จิตจักผ่องใส เจริญอยู่ในธรรมตลอดเวลา เพราะอำนาจของพรหมวิหาร ๔ จักบังคับจิตไม่ให้เบียดเบียนตนเองเมื่อสิ้นความเบียดเบียนตนเองแล้ว คำว่าจักไปเบียดเบียนบุคคลอื่นนั้นย่อมไม่มี
    <O:p</O:p
    ๒. ภัยร้ายแรงที่สุดในการปฏิบัติธรรมเพื่อนำไปสู้ความพ้นทุกข์ ก็คือ ภัยจากอารมณ์จิตของตัวเราเองทำร้ายจิตของเราเอง ดังนั้น หากเราทรงอารมณ์ให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ ได้ครบทั้ง ๔ ประการได้มั่นคงตลอดเวลา จิตเราก็ผ่องใสตลอดเวลา เท่ากับสิ้นความเบียดเบียนตนเองแล้ว หรือพ้นภัยตนเองแล้วอย่างถาวร
    <O:p</O:p
    ๓. ในการปฏิบัติหากจิตมีอารมณ์คิด ก็ให้คิดใคร่ครวญอยู่ในธรรม แม้จักไม่มีคู่สนทนา ก็จงสนทนากับจิตตนเองคือ ใคร่ครวญในพระธรรมวินัย หรือใคร่ครวญในพระสูตรให้จิตตนเองฟัง และเจริญอยู่ในธรรมนั้น ๆ ทำได้เยี่ยงนี้จิตเจ้าจักผ่องใสอยู่ตลอดเวลา ศีล สมาธิ ปัญญาจักเกิดขึ้นได้ด้วยการใคร่ครวญในธรรมนั้น ๆ และจักทำให้จิตจำพระธรรมคำสั่งสอนได้ดีพอสมควร ธรรมเหล่านี้จักเป็นผลพลอยได้ ซึ่งกาลต่อไปเจ้าจักมีโอกาสนำไปสงเคราะห์บอกต่อให้แก่ผู้อื่นได้ศึกษาและเข้าใจถึงธรรมนั้น ๆ ไปด้วย
    <O:p</O:p
    ๔. แต่อย่าลืมหลักสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการอย่าปฏิบัติเลื่อนลอยจักไม่ได้ผล แม้การแนะนำผู้อื่นก็เช่นกัน อย่าทิ้งหลักสังโยชน์ ๓ ประการเบื้องต้นเป็นอันขาด
    <O:p</O:p
    ๕. การแนะนำอย่ากระทำตนเป็นผู้รู้ ให้ถ่อมตนเข้าไว้ว่า ที่รู้นั้นรู้ตามพระพุทธเจ้าท่านสอน ท่านสอนให้ตัดสังโยชน์ ๓ ประการเบื้องต้น เพื่อกันอบายภูมิ ๔ ไว้ก่อน เพราะการไปละเมิดศีล ๕ เข้าข้อใดข้อหนึ่ง กรรมนั้นก็จักถึงให้ตกนรก
    <O:p</O:p
    ๖. นรกขุมแรก สัญชีพนรก๙ ล้านปีของมนุษย์เท่ากับนรกขุมนี้ ๑ วันให้เกรงกลัวบาปเข้าไว้ แต่มิใช่คิดประมาทว่าเป็นไร เราจะพยายามไม่ละเมิดศีล แต่ไม่ต้องรักษาศีลก็แล้วกัน ถ้าบุคคลใดคิดเช่นนั้น ให้ดูตัวอย่าง อานันทเศรษฐี ผู้ไม่มีทั้งกรรมดี คือ ไม่ยอมให้ทานเลย แต่ก็ไม่มีกรรมชั่ว เพราะเขาไม่ได้รักษาศีล แต่ก็ไม่ได้ละเมิดศีล ผลของการไม่ให้ทานทำให้เกิดเป็นลูกขอทานผลที่เขาไม่ได้รักษาศีล ทำให้รูปร่างเขาเหมือนปีศาจคลุกฝุ่น กฎของกรรมมันเป็นอย่างนี้
    <O:p</O:p
    ๗. และอย่าลืมว่าเรามิใช่เกิดมาแต่เพียงชาตินี้ คือปัจจุบันชาติเท่านั้น หากใช้ปัญญาพิจารณาถอยหลังไป คนแต่ละคนเกิดมาแล้วนับอสงไขยไม่ถ้วนในอดีตชาติที่ผ่านมาอย่างนับไม่ถ้วนนั้นทุกๆ คน ทำกรรมชั่วละเมิดศีล ๕ มาแล้วมากกว่าทำกรรมดีนี่เป็นสัจธรรม เพราะฉะนั้นทุกๆ คนย่อมมีบาปเก่า ๆ ท่วมทับใจอยู่ บาปเก่า ๆ เหล่านี้แหละที่จักสามารถดึงทุกท่านลงนรกได้ถ้า หากจิตไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า คือพระโสดาบันขึ้นไปเป็นอันดับเบื้องต้น เพราะฉะนั้น จุดนี้ทุกคนจึงไม่ควรจักประมาท ให้พยายามตัดสังโยชน์ ๓ เอาไว้ให้ดี ๆ เพื่อป้องกันการไปจุติยังอบายภูมิ ๔ อย่างเด็ดขาด
    <O:p</O:p
    ๘. การพูดต้องพูดตามนี้การปฏิบัติของพวกเจ้า จักต้องกำหนดรู้อยู่ที่สังโยชน์ ๔-๕ จักได้มีการระงับอารมณ์อันเป็นเหตุให้เกิดความพอใจ และไม่พอใจนี่จักต้องมีสติกำหนดรู้ไว้ มิใช่ปล่อยให้กระเจิดกระเจิงไปตามอายตนะสัมผัส เหมือนดังที่ผ่านมานั้นใช้ไม่ได้
    <O:p</O:p
    ๙. เมื่อรู้ว่าพลาดก็จงตั้งต้นใหม่ เพียรต่อสู้เรื่อยไป อย่าท้อถอยมีกำลังใจตั้งมั่นไว้เสมอว่า บุคคลใดจักเข้าถึงพระนิพพานได้ บุคคลนั้นต้องตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการได้ จึงจักเข้าถึงได้เราเองก็จักต้องกระทำตามนั้น จักเดินทางอื่นเพื่อเข้าถึงพระนิพพานไม่ได้เลย
    <O:p</O:p
    ๑๐. การเอาชนะอารมณ์ที่เป็นกิเลสนี้ นี่แหละคืองานประจำ คืองานสำคัญที่เราจักต้องทำให้ได้ ถ้าปราศจากการกระทำงานนี้แล้ว การเข้าถึงพระนิพพานนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เตือนจิตตนเองไว้เยี่ยงนี้ให้ดี ๆ ปฏิปทาใดที่ครูบาอาจารย์สอนแล้ว จงหมั่นเดินตามทางนั้นด้วยกำลังใจที่ตั้งมั่นในความเพียรหนทางใดเป็นทางพ้นทุกข์ จงเดินตามทางนั้น หนทางใดที่ท่านสอนไว้ว่าเป็นทุกข์ ก็จงละอย่าเดินซึ่งทางนั้น
    <O:p</O:p
    ๑๑. ความโกรธ โลภ หลง นั้นไม่ดีทางนี้ทำให้จิตมีอารมณ์ของความทุกข์ จักต้องใช้ปัญญาพิจารณาว่า อเนกชาติแล้วนะที่เราเดินมาตามทางแห่งความทุกข์นั้น ทุกข์เพราะความโกรธ โลภ หลง ทำให้จิตต้องเสวยทุกข์จุติไปตามอารมณ์เกาะทุกข์ เพราะความโกรธ โลภ หลงนั้นๆ
    <O:p</O:p
    ๑๒. เพลานี้พวกเจ้าได้พบแล้วซึ่งธรรมพ้นทุกข์ จงเดินตามมาเพื่อจักได้พ้นจากการจุติในวัฏฏสงสารให้ได้ก่อนตาย ร่างกายนี้ต้องตายแน่ จึงไม่ควรที่จักประมาทยอมแพ้เต้นตามกิเลสอยู่ร่ำไปขณะจิตนี้แพ้แล้วก็แพ้ไป ตั้งสติกำหนดรู้ แล้วรีบตั้งใจต่อสู้กับกิเลสใหม่ อย่าปล่อยเวลาให้เสียไปโดยไร้ประโยชน์ ขอให้หมั่นเพียรจริงๆ เถิด คำว่าเกินวิสัยที่จักชนะกิเลสได้ย่อมไม่มี<O:p</O:p

    <O:p</O:p



    ธัมมวิจยะหรือ ธัมมวิจัย
    <O:p</O:p

    (บุคคลใดที่ใคร่ครวญพระธรรมวินัยอยู่เสมอ บุคคลนั้นจักไม่เสื่อมจากพระธรรม หรือไม่เสื่อมจากสัจธรรมบุคคลใดเห็นธรรม บุคคลนั้นเห็นเราตถาคต ความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่พระธรรม หรือจิตที่ทรงธรรม มิใช่อยู่ที่ร่างกาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพระพุทธพจน์ทั้งสิ้น)
    <O:p</O:p
    จากการศึกษาพระไตรปิฎกว่าด้วยพระธรรมวินัย แล้วนำมา ธัมมวิจยะ พอสรุปได้ดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. ภิกษุอาทิกัมมิกะ (ภิกษุประพฤติชั่วโดยไม่รู้ก่อนที่จะบัญญัติศีล) เป็นผู้ทำให้เกิดศีล ๒๒๗ เพราะเหตุใด ต้นเหตุทั้งหมดเกิดจากอารมณ์โลภ โกรธ หลง และโลกธรรม ๘
    <O:p</O:p
    ๒. โลกธรรม ๘ กับศีล เกี่ยวข้องกันอย่างไร
    <O:p</O:p
    ๓. โลกธรรม ๘ กับอารมณ์ ๓ คือ โลภ - โกรธ - หลง ก็เกี่ยวเนื่องกันหมด
    <O:p</O:p
    ๔. ธรรมหรือกรรมทั้งหลาย ล้วนมาแต่เหตุทั้งสิ้น
    <O:p</O:p
    ๕. กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย
    <O:p</O:p
    ๖. พระองค์สอนหรือแสดงธรรมไปในทางเดียวกัน เกี่ยวเนื่องกัน เดินไปในทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกันเลย ถ้าผู้รับฟัง ฟังแล้วเข้าใจ
    <O:p</O:p
    ๗. ที่เกิดการขัดแย้งกัน มีความเห็นแตกต่างกัน ( มีทิฏฐิต่างกัน) เพราะจิตของบุคคลผู้นั้นยังเจริญไม่ถึงจุดนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์พอใจ และไม่พอใจขึ้นหมายความว่ามีบารมีธรรมแค่ไหน ย่อมรู้ธรรมได้แค่นั้น เมื่อบารมีธรรมถึงแล้ว ก็จะเข้าใจ และไม่ขัดแย้งกันอีกต่อไป
    <O:p</O:p
    ๘. ในการปฏิบัติทั้งๆ ที่รู้ๆ อยู่นี่แหละ ก็ยังอดเผลอไม่ได้ เหตุจากโมหะ ความหลง หลงใหญ่ที่สุด คือ หลงคิดว่าร่างกายนี้เป็นของเราเป็นตัว สักกายทิฏฐิ (ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย เรียกว่า สักกายทิฏฐิ) เมื่อหลงคิดว่าตัวกูเป็นของกูแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย จึงเหมาเอาว่าเป็นของกูทั้งหมด
    <O:p</O:p
    ๙. ในการปฏิบัติสำหรับคนฉลาดมีปัญญาสูง พระองค์ทรงให้ตัดหลงใหญ่ตัวเดียวคือ สักกายทิฏฐิข้อเดียว หลงเล็กๆ ก็หลุดจากจิตหมด สามารถจบกิจในพระพุทธศาสนาได้
    <O:p</O:p
    ๑๐. กฎของกรรมคืออริยสัจตัวเดียวกันกรรมใดที่เราไม่เคยก่อไว้ทำไว้ในอดีต วิบากกรรมหรือผลของกรรมย่อมไม่เกิดกับเราในปัจจุบัน ทั้งฝ่ายดี (กุศลกรรม) และฝ่ายชั่ว (อกุศลกรรม)
    <O:p</O:p
    ๑๑. ใครหมดความหลงจึงจบกิจในพุทธศาสนาเพราะหลงเป็นเหตุ จึงทำให้เกิดอารมณ์ไม่พอใจ (ปฏิฆะหรือโทสะ) และพอใจ (ราคะหรือ โลภะ)
    <O:p</O:p
    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง เพื่อให้เห็นประโยชน์อันหาประมาณมิได้ ของธัมมวิจัย ซึ่งทำให้เกิดปัญญาในทางพุทธใครทำใครได้ ใครเพียรมากพักน้อย เดินทางสายกลางก็จบเร็ว แต่ส่วนใหญ่มักเพียรน้อย พักมาก ยังหาทางสายกลางไม่พบก็จบช้า
    <O:p


    วิญญาณธาตุเป็นอย่างไร คืออะไร
    <O:p</O:p

    หลวงพ่อฤๅษี ท่านเมตตามาสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. วิญญาณธาตุ หมายถึง ระบบประสาทสัมผัสทั้ง ๖ อายตนะ ๖ หรือประตูทั้ง ๖ ของร่างกายอันมีระบบประสาทรับรู้ของตา - หู - จมูก - ลิ้น - กาย โดยมีใจหรือจิตเป็นผู้รับรู้ (สมองเป็นหนึ่งในอาการ ๓๒ ของร่างกาย เป็นศูนย์รับระบบประสาทสัมผัสของร่างกาย ซึ่งทำงานของมันอยู่เป็นปกติ เกิดดับๆ อยู่เป็นสันตติธรรมผู้ที่ไปรับรู้เรื่องของสมองก็คือจิต จะเห็นได้ชัดเจนตอนร่างกายถูกดมยาให้สลบ หรือใช้ยาสลบ ร่างกายทุกส่วนก็สลบ รวมทั้งสมองด้วย แต่จิตไม่สลบ ยังคงรู้อยู่เป็นปกติ มิได้สลบตามร่างกาย จุดนี้ผู้ปฏิบัติธรรมได้ขั้นสูงเท่านั้น จึงจะรู้และเข้าใจได้)
    <O:p</O:p
    ๒. วิญญาณธาตุตัวนี้แหละเป็นตัวสร้างอารมณ์สุข (พอใจ) สร้างอารมณ์ทุกข์ (ไม่พอใจ) ให้เกิดแก่ร่างกาย
    <O:p</O:p
    ๓. บุคคลใดเอาจิตไปเกาะอารมณ์ทั้งสองแล้วหลงคิดว่า สุข-ทุกขเวทนาของกายนี้มีในเรา เป็นของเรา (เราคือจิตไม่ใช่กาย) มีในเขา เป็นของเขา แต่พอร่างกายมันตาย อารมณ์เหล่านี้ซึ่งเกิดจากวิญญาณธาตุ ก็ตายไปพร้อมกับกาย
    <O:p</O:p
    ๔. แต่จิตไม่เคยตาย จิตเป็นอมตะ ผู้ตายคือร่างกาย พร้อมวิญญาณธาตุ อันตรายอันใหญ่ยิ่งอยู่ที่จิตไปยึดเกาะติดวิญญาณธาตุ เกาะอารมณ์สุข-ทุกข์ว่าเป็นเราเป็นของเรา เอาเวทนาของกายมาเป็นเวทนาของจิต นี่แหละคือตัว สักกายทิฎฐิ ตัวอวิชชา
    <O:p</O:p
    ๕. เพราะแยกกาย - เวทนา - จิต - ธรรม ให้ออกจากจิตไม่ได้ สักกายทิฎฐิก็ตัดไม่ได้เช่นกัน
    <O:p</O:p
    (ขออธิบายสั้นๆ ว่า กาย - เวทนา ๒ ตัวแรก เป็นเรื่องของร่างกาย กายหรือรูปกายปกติของมันก็ เกิดดับๆ เป็นสันตติธรรม เป็นปกติของมันเวทนาอาศัยกายอยู่ เมื่อกายเกิดดับๆ เวทนาก็ย่อม เกิด - ดับๆ ตามกาย๒ ตัวนี้ต้องมีสติกำหนดรู้อยู่เสมอ หากไม่กำหนดรู้ มันก็ไม่รู้ว่ามันเป็นทุกข์ของกายไม่เกี่ยวกับจิต ต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา)
    <O:p</O:p
    ส่วนจิต หมายถึง เจตสิก คือ อารมณ์ของจิต ซึ่งปกติไม่เที่ยง เกิด - ดับๆ ๆ อยู่เป็นสันตติธรรมเช่นกัน สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่ควรยึดว่ามันเป็นเราเป็นของเรา
    <O:p</O:p
    ส่วนธรรมก็ เกิด - ดับ ๆ ๆ ไม่เที่ยง ใครยึดเข้าก็เป็นทุกข์ทันที แบบเดียวกันกับเจตสิก
    <O:p</O:p
    สำหรับจิต คือ เรานั้นเป็นผู้รู้ เป็นผู้รับรู้เรื่องของธรรม ๔ ตัวนั้น คือ กาย - เวทนา - จิต - ธรรม มันเกิด - ดับๆ อยู่ตลอดเวลาคนละส่วนกับเราคือจิต ในการปฏิบัติที่ถูก จึงต้องรู้สักเพียงแต่ว่ารู้ รู้แล้ววางๆ ๆ ไม่ยึด - ไม่เกาะ - ไม่ปรุงแต่งไปตามสิ่งที่ตนรู้นั้นๆ ขอเขียนไว้สั้นๆ แค่นี้)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    ......................................
    <O:p</O:p
    ที่มาของข้อมูล<O:p</O:p
    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ มิถุนายนตอน ๓<O:p</O:p
    หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น ทุกเล่ม<O:p</O:p
    หาข้อมูลศึกษาได้จาก.......<O:p</O:p
    http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html<O:p></O:p>
    ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ผลงานของพระพุทธเจ้าหรือหลวงพ่อในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ตขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ<O:p</O:p
    …………………………………
    <O:p
     
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่านเพื่อเป็นธรรมทาน

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่www.tangnipparn.com<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  3. CHOLPRATAN

    CHOLPRATAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +184
    สาธุ ข้าพเจ้าขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    ด้วยกุศลผลบุญการอนุโมทนาบุญในครั้งนี้
    ขอให้ข้าพเจ้าได้มีดวงตาเห็นธรรมและปัญญาเห็นธรรมโดยฉับพลัน
    ด้วยกุศลผลบุญนี้ขอจงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าสู่พระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด
    ภพภูมิอื่นใด ไม่ว่าจะเป็น อบายภูมิ โลกมนุษย์ สวรรค์ พรหม หรืออรูปพรหมก็ตาม ข้าพเจ้าไม่ปรารถนา...
    ข้าพเจ้าปรารถนาเพียงพระนิพพานเป็นที่สุด..ตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเมื่อนั้น..
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ

    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลายที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
    และข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพและพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ขอจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดีมิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้เถิด<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...