{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. รักษ์สยาม

    รักษ์สยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    707
    ค่าพลัง:
    +1,129
    ข้อมูลสุดยอดครับพี่ Amuletism ขอเพิ่มอีกนิดครับ คราบกรุของ กรุโพธิ์เกรียบเป็นยังงัยครับ ขอบคุณครับ
     
  2. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระสมเด็จ วัดโพธิ์เกรียบ พระที่เปรียบเสมือนคู่แฝดของ เกษไชโย

    บทความพระสมเด็จ วัดโพธิ์เกรียบ พระที่เปรียบเสมือนคู่แฝดของ เกษไชโย
    ให้ข้อมูลสมเด๊จวัดโพธิ์เกรียบไว้ค่อนข้างละเอียด ตามลิงค์ด้านล่างครับ

    พระสมเด็จ วัดโพธิ์เกรียบ พระที่เปรียบเสมือนคู่แฝดของ เกษไชโย
     
  3. prarod

    prarod สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2012
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=cT8aAIEdIiU]พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่(A) อ้วนกรุงไทย. - YouTube[/ame]
     
  4. รักษ์สยาม

    รักษ์สยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    707
    ค่าพลัง:
    +1,129
    ชัดเจนเลยครับ ขอบคุณครับพี่:cool::cool::cool:
     
  5. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ประวัติพระสังกัจจาย หรือพระมหากัจจายนะ

    ประวัติพระสังกัจจาย หรือพระมหากัจจายนะ หรือพระภควัมบดี คำว่า "ภควัมบดี" หรือ "ภควัมปติ" แปลว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า

    พระมหากัจจายน์ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ณ กรุงอุชเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่กำเนิด จึงได้นามว่า "กาญจน" และได้อุปสมบท โดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้) ด้วยความที่ท่าน เป็นผู้ที่มีผิวพรรณวรรณะงดงาม ตามพระบาลีว่า "สุวณฺโณจวณฺณํ" คือมีผิวเหลืองดั่งทองคำ เป็นที่เสน่หานิยมรักใคร่แก่พุทธบริษัท ทั้งชายหญิง มิว่าท่านจะไปในสถานที่แห่งใด เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ต่างก็พากันสรรเสริญว่า ท่านคือ พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้ว

    ด้วยความงดงามแห่งรูปกายนี้เอง เป็นสาเหตุให้เกิดความหลงใหล คลั่งไคล้จากฝูงชน ทั้งชายหญิง จนเกิดเรื่องพิพาทกัน ไม่รู้จักหมดจักสิ้น ทำให้พระมหาสังกัจจายนะ เกิดสลดสังเวชในใจ พิเคราะห์ดูว่าการมีรูปกายงดงาม ทำให้พุทธบริษัทต้องเดือดร้อน ก่อให้เกิดทุกข์มากมาย ท่านจึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่าง กลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น

    แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้ว ผลแห่งกุศลในอดีตชาติ ยังส่งให้พระสังกัจจายน์เป็นที่รักใคร่นิยมยินดี มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญ ตลอดมามิได้ขาด จนได้รับการรับรองจากพระพุทธองค์ว่า ท่านเป็นพระสาวก ผู้มีความเป็นเลิศทางโภคทรัพย์ และ ลาภสักการะ เสมอกันกับพระสิวลี แม้พระองค์จะต้องนำพาคณะสงฆ์ ไปในถิ่นอันทุรกันดารเมื่อใด ก็จะมีรับสั่งให้นิมนต์พระสังกัจจายน์ หรือ พระสิวลี รูปใดรูปหนึ่งตามไปกับหมู่คณะด้วย ก็จะมีญาติโยมมาถวายภัตตาหาร และ เครื่องสักการะต่าง ๆ จนมีเหลือเฟือ มิให้คณะสงฆ์ต้องลำบากเลย

    นอกจากนั้น ท่านยังได้รับคำชม จากพระบรมศาสดาว่า พระสังกัจจายน์นั้นเป็นเอตทัคคะล้ำเลิศในการอธิบายความ แห่งคำ ที่ย่อลงแล้วได้อย่างพิสดาร ด้วยปัญญาอันชาญฉลาดล้ำเลิศ ของพระสังกัจจายน์นั่นเอง

    ๑.เรื่องการอธิษฐานแปลงรูปของพระสังกัจจายน์

    จาก (อรรถกถาธรรมบท) ได้มีเรื่องราวดังนี้ว่า ได้มีบุตรเศรษฐีท่านหนึ่งแห่งเมืองโสเรยยนคร ขื่อ “โสเรยยะ” วันหนึ่งได้เห็น พระสังกัจจายน์ผู้มีรูปงามดุจทองคำ ก็เกิดจิตปฏิพัทธ์หลงใหลรูปกายอันงดงามงามของท่าน จึงคิดอกุศลจิตกำหนดให้ท่านเป็นหญิง แล้วลวนลามทางจิตด้วยความคึกคะนอง ด้วยจิตทีคิดพิเรนทร์ต่อพระอรหันต์สังกัจจายน์มหาเถระเจ้า บุตรเศรษฐีโสเรยยะที่เป็นชาย ก็ได้กลับกลายเป็นเพศหญิง มีอวัยวะของสตรีครบสมบูรณ์ประหนึ่งหญิงแท้ ๆ ด้วยความอับอาย บุตรเศรษฐีโสเรยยะ จึงได้หนีไปอยู่เมืองอื่น จนได้สามีและมีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมาภายหลังได้จึงได้กลับมาขอขมาท่านสังกัจจายน์มหาเถระเจ้า จึงได้กลับรูปเป็น ชายตามเดิม แม้แต่อุบาสิกาที่เป็นหญิง ก็มีไม่น้อยที่หลงไหลในรูปกายอันงดงามของท่าน จนเกิดทะเลาะวิวาทเป็นเนือง ๆ จึงเป็นเหตุให้พระสังกัจจายน์ ต้องตัดสินใจอธิษฐานเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นรูปอ้วนพุงพลุ้ย แต่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา

    ๒.พระสังกัจจายน์ - ทรงเป็นภิกษุที่อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา

    เดิมท่านเป็นบุตรพราหมณ์ปุโรหิต กัจจายนโคตร ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี เมื่อเจริญวัยขึ้นได้เรียนจบไตรเพท ครั้นบิดาเสียชีวิตแล้ว ก็ได้รับตำแหน่ง ปุโรหิตแทนบิดา

    กาลต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า ได้บังเกิดพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ขึ้นในโลกแล้ว และเสด็จไปสั่งสอนพระธรรมอันล้ำค่าแก่ประชาชน ธรรมที่พระองค์สั่งสอนนั้นเป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์ให้สำเร็จ แก่ผู้ประพฤติปฎิบัติตาม จึงทรงมีพระราชประสงค์จะเชิญเสด็จสมเด็จพระบรมศาสดา ไปประกาศพระศาสนาที่กรุงอุชเชนี จึงรับสั่งให้ กัจจายนะปุโรหิต ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เรียนจบไตรเพท ไปทูลเชิญเสด็จ ท่านกัจจายนะปุโรหิต ซึ่งมีความศรัทธาในศาสนาพุทธอยู่เป็นทุนเดิม จึงถือโอกาสทูลลาบวชด้วย ครั้นได้พระบรมราชานุญาตแล้ว จึงออกจากกรุงอุชเชนี พร้อมด้วยบริวาร 7 คน รอนแรมมาถึงยังที่ประทับของพระบรมศาสดา ก็พากันเข้าเฝ้า ฟังพระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาสั่งสอน ในที่สุดทั้ง ท่านกัจจายนะ และบริวารทั้ง 7 ก็ได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมกัน แล้วจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดา ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา

    ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ท่านพระสังกัจจายน์มหาเถระ จึงทูลเชิญอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เสด็จโปรด ชาวอุชเชนี ตามพระประสงค์ของ พระเจ้าจัณฑปัชโชต พระบรมศาสดารับสั่งว่า" ท่านไปเองเถิด เมื่อไปแล้ว พระจัณฑปัชโชต และชาวเมืองจะเลื่อมใส " ด้วยเหตุนี้ พระสังกัจจายน์มหาเถระ จึงถวายบังคมลาเดินทางกลับ สู่กรุงอุชเชนี แล้วจึงได้บรรยายธรรมประกาศพระพุทธศาสนาให้ พระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาวเมืองเกิดความเลื่อมใส ปวารณาตัวเป็นพุทธมามกะ แล้วกลับคืนมายังสำนักพระบรมศาสดา สมดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้ทุกประการ


    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height="100%" vAlign=top width="85%">๓.พระสังกัจจายน์ -ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอกทัคคะในการขยายความธรรมมะ

    ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตร แต่โดยย่อท่ามกลางคณะสงฆ์ โดยแสดงธรรมว่า

    " ผู้มีปัญญาไม่ควรคิดตาม คิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ,ไม่ควรจะมุ่งหาสิ่งที่ยังมาไม่ถึง , เพราะว่าสิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว , สิ่งใดยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็ไม่ได้ไม่ถึง, ผู้ใดเห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้งรู้ธรรมนั้นแล้ว พึงให้ธรรมนั้นเจริญเนือง ๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจักมีต่อพรุ่งนี้ เพราะว่าความผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชที่มีเสนาใหญ่นั้นไม่มีเลย ผู้รู้ที่เป็นคนสงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้ เรียกว่า ผู้มีราตรีเดียว"

    ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จลุกไปสู่วิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายไม่เข้าใจ และไม่มีโอกาสที่จะทูลถาม ความที่พระองค์ตรัสโดยย่อ นั้นให้กว้างขวางได้ จึงอาราธนาขอให้ พระสังกัจจายน์อธิบายให้ฟัง

    ในกาลนั้นพระสังกัจจายน์ท่านอธิบายความว่า "ท่านผู้มีอายุ เรารู้ความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อนั้นตามความพิสดารว่า เมื่อบุคคลคิดว่า ในกาลล่วงแล้ว ตากับรูป ,หูกับเสียง, จมูกกับกลิ่น, ลิ้นกับรส, กายกับสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ,ใจกับอารมณ์ที่เกิดกับใจของเรามีแล้วอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ เพราะวิญญาณ อันความกำหนัดพอใจ ผูกพันแล้ว ผู้นั้นก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ,ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า คิดตามถึงสิ่งทึ่ล่วงมาแล้ว "

    "ไม่คิดอย่างนั้นความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ก็ไม่ผูกพันวิญญาณได้ , ผู้นั้นก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ , ผู้ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่คิดตามถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว"

    "บุคคล ผู้ตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้ ในสิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วว่า ในกาลไกลข้างหน้า นัยน์ตากับรูป เป็นต้น ของเราจะเป็นอย่างนี้ ,เพราะความตั้งจิตอย่างนั้นเป็นปัจจัย ,ผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ , ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า มุ่งหมาย สิ่งที่ยังมาไม่ถึง "

    "บุคคลผู้ไม่ได้ตั้งจิตเพื่อจะหมายสิ่งใด สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วอย่างนั้น ก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ,ผู้ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่มุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้ว"

    "นัยน์ตากับรูปอย่างละสองอันใด เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ,ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ผูกพันวิญญาณไว้แล้ว , บุคคลก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ , ผู้เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดเฉพาะหน้า "

    "ถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ไม่ผูกพันวิญญาณได้ ,บุคคลก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ในสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า "

    "ท่านผู้มีอายุ เราเข้าใจในเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อ ตามความพิสดารอย่างนี้ , ถ้าท่านทั้งหลายประสงค์ ก็จงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามความนั้นเถิด พระองค์ทรงเล่าอย่างไร จงจำไว้อย่างนั้นเถิด " ภิกษุเหล่านั้น ได้พากันลา พระสังกัจจายน์ มาเข้าเฝ้าพระศาสดาทูลความนั้นให้ทรงทราบ พระองค์จึงทรงตรัสสรรเสริญ พระสังกัจจายน์ ว่า "ภิกษุทั้งหลาย กัจจายนะเป็นผู้มีปัญญา , ถ้าท่านถามความนั้นกับเรา แม้เราก็คงเล่าเหมือนกัจจายนะ เล่าอย่างนั้น ความของธรรมที่เราแสดงแล้วโดยย่อนั้น อย่างนั้นแล ท่านทั้งปวงจำไว้เถิด " ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงได้รับ การยกย่องจากพระศาสดาว่า พระสังกัจจายน์ ทรงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย เป็นเอกทัคคะในการอธิบายความย่อให้พิสดาร


    ๔.พระสังกัจจายน์ ทูลขอพุทธานุญาต ให้แก้ไขพระธรรมวินัย

    พระสังกัจจายน์ ผู้ทรงปัญญาและมีความกล้าหาญ - ธรรมวินัยใด ที่ขัดต่อภูมิประเทศ ไม่สะดวกที่สงฆ์จะปฏิบัติตาม ได้ยังความลำบากแก่การปฏิบัติแล้ว ท่านก็จะทูลชี้แจง ขอพุทธานุญาต ให้แก้ไขให้เหมาะสม ให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ

    เช่นครั้งหนึ่งท่านไปพำนักแสวงหาวิเวกอยู่ ณ. ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุธฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท อุบาสกผู้เป็นอุปัฎฐากของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า โสณกุฎิกัณณะ มีความประสงค์จะบวชในธรรมวินัย แต่ก็ยังบวชไม่ได้ ได้แต่เพียงแต่บรรพชาเป็นสามเณรเท่านั้น เวลาล่วงไปถึง 3 ปี จึงมีโอกาสอุปสมบทได้ เพราะในอวันตีทักขิณาปถชนบทนั้น หาภิกษุเป็นคณะครบองค์ไม่ได้ (10 รูปขึ้นไป)

    เมื่อท่านโสณกุฏิกัณณะอุปสมบทแล้ว มีความปรารถนาจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา จึงไปลาพระสังกัจจายน์ ผู้อุปัชฌาย์ ท่านจึงอนุญาตแล้ว สั่งให้ไปถวายบังคมพระบาทตามคำของท่าน โดยให้ทูลขอให้พระพุทธองค์องค์ ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ซึ่งขัดต่ออวันตีชนบท 5 ข้อ ด้วยกันคือ

    ๑.ในอวันตีทักขิณาปถชนบทมีภิกษุน้อย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะน้อยกว่า 10 รูป ซึ่งก็ได้รับการอนุญาตให้เหลือเพียง 5 รูป

    ๒.เนื่องด้วยในชนบททั่วไป มีพื้นที่ขรุขระไม่สม่ำเสมอ ไม่สะดวกต่อการเดินทาง ,พระภิกษุในชนบทได้รับความลำบากมากนัก ขอพุทธานุญาตให้ภิกษุใส่รองเท้าเป็นชั้น ๆ ในชนบทชายแดนได้ พระองค์ก็ทรงอนุญาต

    ๓.พวกมนุษย์ต้องอาบน้ำทุกวัน ขออนุญาตพระภิกษุอาบน้ำเป็นนิตย์เถิด พระองค์ก็ทรงอนุญาติ

    ๔.ในชนบทนั้นมีเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังแพะ หนังแกะบริบูรณ์ดีในชนบทหาได้ง่ายกว่าอย่างอื่น ขอให้ภิกษุใช้หนังแพะ หนังแกะเป็นเครื่องลาดได้ในชนบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตตามนั้น

    ๕.ในการที่มนุษย์ถวายผ้าจีวรแก่ภิกษุก็เช่นกัน เมื่อภิกษุไม่อยู่เขามาถวายฝากไว้ เมื่อเธอกลับมา ภิกษุที่ รับฝากไว้แจ้งให้เธอทราบ เธอรังเกียจไม่ยินดีรับ เพราะล่วง 10 ราตรีแล้ว เข้าใจว่าเป็นอาบัตินิสสัคคิยะ จำต้องสละผ้านั้น เป็นการลำบากสำหรับชนบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตว่า เราอนุญาต ให้พระภิกษุรับผ้าที่เขาถวายลับหลังได้ ผ้ายังไม่ถึงมือเธอเมื่อใด จะถือว่าเธอมีสิทธิ์เต็มที่ไม่ได้ตราบนั้น

    ๕. พระสังกัจจายน์ - เรื่องความเสมอภาคแห่งวรรณะทั้ง ๔

    เมื่อครั้ง พระสังกัจจายน์อยู่ที่คุนธาวัน แขวงมธุรราชธานี พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร เสด็จไปหา แล้วตรัสว่า " ข้าแต่ท่าน พระกัจจายนะ ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ถือว่า พวกเขาเป็นผู้ประเสริฐบริสุทธิ์เกิดจากพรหม ท่านเข้าใจว่าอย่างไร ? "

    พระสังกัจจายน์ ทูลตอบว่า วรรณะสี่เหล่าไม่ต่างกันดังนี้

    "ในวรรณะสี่ เหล่านี้ วรรณะเหล่าใดเป็นผู้มั่งคั่ง ไม่ว่าวรรณะเดียวกันหรือวรรณะอื่น ย่อมเข้าเป็นสาวกของวรรรณะนั้น ,

    วรรณะใดประพฤติ อกุศลกรรมบท เบี้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่ อบาย เสมอกันหมด ไม่มีพิเศษ,

    วรรณะใดประพฤติ กุศลกรรมบท เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เหมือนกันหมด,

    วรรณะใดทำ โจรกรรม ประพฤติล่วงเมียคนอื่น วรรณะนั้นต้องรับ อาชญา เหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น,

    วรรณะใด ออกบวช ตั้งอยู่ในศีลธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับ ความนับถือ และได้รับ บำรุงและได้รับ คุ้มครองรักษาเสมอ กันหมดฯ "

    ครั้นพระเจ้ามธุรราช ได้สดับแล้วก็เกิดความเลื่อมใส แสดงองค์เป็นอุบาสก ถึงพระเถระเจ้า กับ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ , พระเถระทูลห้ามว่า อย่าถึงท่านเป็นสรณะเลย , จงถึงพระผู้มีพระภาคผู้เป็นสรณะ ของอาตมาภาพ เป็นสรณะเถิด.

    พระเจ้ามธุรราช ตรัสถามว่า เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ,พระสังกัจจายน์ท่านทูลว่า พระผู้มีพระภาพเจ้า ปรินิพพานเสียแล้ว ,พระเจ้ามธุรราชตรัสว่า ถ้าพระองค์ได้ทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาพเจ้าประทับอยู่ที่ใด แม้ใกล้ไกลเท่าใด พระองค์คงจักเสด็จไปเฝ้าให้จงได้, แต่เมื่อพระผู้มีพระภาพเจ้าปรินิพพานเสียแล้ว , ข้าพระองค์ ขอถือพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานไปแล้วกับ พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง .

    พระมหากัจจายน์ หรือพระสังกัจจายน์ ท่านเป็นผู้มีบุญญาบารมีอภินิหาร ทรงมีอานุภาพทางเมตตามหานิยมเป็นที่รักใคร่แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย โบราณจารย์ท่านให้สวดคาถาบูชาระลึกถึงบารมีคุณของพระสังกัจจายน์ทุก ๆ วัน จะเกิดสิริมงคล เป็นที่รักใคร่แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีโชคลาภอยู่เสมอมิได้ขาด มีความสุขเจริญรุ่งเรืองด้วยโภคทรัพย์และทรัพย์สมบัติทั้งปวง จึงได้อัญเชิญพระคาถาบูชาพระสังกัจจายน์มาดังนี้

    กัจจายนะจะ มหาเถโร พุทโธ พุทธานัง
    พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะสุภา สิตัง
    พุทธะตัง สะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง

    ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม
    ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง
    สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา

    ราชาภาคินี จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯ

    อ้างอิง ChenXiang


    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR><TR><TD id=modified_4961 class=smalltext vAlign=bottom></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1053.jpg
      1053.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.5 KB
      เปิดดู:
      105
  6. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระสังกัจจายนะมหาลาภ หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน

    พระสังกัจจายนะมหาลาภ หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน อยุธยา พ.ศ.2538
    เนื้อทองเหลืองรมดำ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว สูง 7 นิ้วครึ่ง (เพิ่งเช่ามาครับ)


    เทพเจ้าแห่งโชคลาภ พระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้านั่นเอง พระสังกัจจายน์ มีพุทธลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ โชค ลาภ เป็นหนึ่งในพระสาวกผู้ใหญ่ จัดอยู่ในเอตทัคคะ ลักษณะของพระสังกัจจายน์ โดดเด่นมองเห็นก็รู้ว่า เป็นพุทธสาวกองค์ไหน


    คำบูชาพระสังกัจจายน์ นโม ๓ จบ กัจจานะจะมหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะสุภา สิตัง พุทธะตังสะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.8 KB
      เปิดดู:
      89
    • 02.jpg
      02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76 KB
      เปิดดู:
      91
    • 03.jpg
      03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.6 KB
      เปิดดู:
      102
    • 04.jpg
      04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55 KB
      เปิดดู:
      111
  7. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2012
  8. DHAMMAPHOL

    DHAMMAPHOL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,744
    ค่าพลัง:
    +2,105
    "VS มาจากคำว่า VERSUS = ปะทะ ส่วนใหญ่ผมเคยเห็นเขาใช้เกี่ยวกับการชกมวยต่างๆครับเช่น JOHN CENA VS THE ROCK แต่วันนี้ผมกลับเห็นว่ามีการนำมาใช้กับ พระสังกัจจายน์ ๑.ใน พระอสีติมหาสาวก กับ พระศรีอาริยเมตไตรย์ อนาคตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผมคิดว่า ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงครับ เพราะดูเหมือนว่า คุณกำลังจััดการแข่งขันชกมวยระหว่าง พระอสีติมหาสาวก กับ อนาคตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครับ"
     
  9. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ผมคิดว่าทุกอย่างที่โพสต์ในกระทู้นี้ทำด้วยเจตนาที่ดี เพื่อเปรียบเทียบว่ามีความแตกต่างไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกัน และอยากให้เพื่อนสมาชิกได้ข้อมูลทุกแง่มุม หากมีข้อผิดพลาดใดๆ โดยไม่เจตนา ก็ต้องขออภัยเพื่อนสมาชิก แต่ไม่คิดว่าควรเป็นเหตุที่ต้องโพสต์ตำหนิกันนะครับ เพราะชื่อเต็มของกระทู้ยาวเกินที่ระบบกำหนดให้เขียนได้ครับ ส่งข้อความมาบอกกันก็ได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2012
  10. DHAMMAPHOL

    DHAMMAPHOL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,744
    ค่าพลัง:
    +2,105
    [​IMG]
    "ผมไม่ได้มี เจตนา ตำหนิคุณเลยครับ หากคุณไม่พอใจ ผมขออภัยด้วยครับ"
     
  11. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ผมขอบคุณที่แสดงความเข้าใจและเอื้ออาทรครับ
    ผมเพียงแต่อยากให้เพื่อนๆ ทราบว่าที่ผมเข้ามาโพสต์ข้อความต่างๆ
    ทำไปโดยเจตนาบริสุทธิ์ไม่ได้มีเจตนาใดๆ แอบแฝงทั้งสิ้นครับ
    มีอะไรก็พูดคุยกันได้เสมอครับ ถือว่าเป็นเพื่อนกลุ่มที่ชอบอะไรเหมือนๆกัน
    ในฐานะนักสะสม ผมคิดว่าการแลกเปลี่ยนความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดครับ
    วงการพระมีเรื่องให้ศึกษาไม่สิ้นสุดครับ การแสดงความคิดเห็นบางอย่างบางเรื่อง
    หากไม่สอดคล้องกับความเห็นของเพื่อนสมาชิกท่านใด ผมก็ขออภัย ไม่เคยมีเจตนาล่วงเกินครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2012
  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ตำนาน พระนางพญา 

    ตำนาน พระนางพญา 

    ตำนานพระเครื่องชุด เบญจภาคี เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและความเป็นมาของพระนางพญาพระเครื่องสำคัญ ในชุดเบญจภาคีโดยเฉพาะจุดประสงค์ของผู้เขียนต้องการเสนอข้อมูลทางวิชาการแก่ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระนางพญาว่ามีประวัติและความเป็นมาอย่าง ไร มีหลักเกณฑ์ในการดูอย่างไร เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกเป็นอย่างยิ่ง เพราะมุ่งเน้นเรื่อง ราวและประวัติความเป็นการสร้างและแนะนำวิธีการดูลักษณะตลอดทั้งนำภาพมาประกอบให้ดูรูปทรงและศิลปะการสร้างพระสมเด็จนางพญามากมาย ที่มา ของพระชุดเบญจภาคี มีดังนี้ เบญจ แปลว่า ๕ ภาคี แปลว่า ผู้มีส่วนร่วม การนำพระเครื่องสำคัญๆ ๕ องค์ มารวมกันเป็นชุดจึงเรียกว่า เบญจภาคี

    ชุดที่ ๑ ได้แก่พระเครื่องสำคัญๆดังนี้
    พระสมเด็จวัดระฆัง จังหวัดกรุงเทพฯ
    พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี
    พระรอดวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน
    พระนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
    พระซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร

    ชุดที่ ๒ ได้แก่สิ่งศักดิ์สิทธ์ ๕ สมัย
    สมัยทราวดี ( พระรอด )
    สมัยอู่ทอง ( พระผงสุพรรณ )
    สมัยสุโขทัย ( พระซุ้มกอ )
    สมัยอยุธยา ( พระนางพญา )
    สมัยรัตนโกสินทร์ ( พระสมเด็จวัดระฆัง )

    จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า วัดนางพญาสร้างโดยกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา คือ พระวิสุทธิกษัตริย์ เป็นพระราชธิดา ท้าวศรี สุริโยทัย และเป็นพระมารดาขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้สร้างวัดราชบูรณะ คือพระมหาธรรมราชา จากเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในระ หว่างศึกสงครามถูกพม่ารุกราน จึงมีการสร้างพระเครื่องมอบให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบ พระเครื่องรุ่นแรกๆจะมีรูปทรงและองค์พระไม่สวย งาม การทำแม่พิมพ์ก็ทำกันแบบรีบร้อน คือพิมพ์ได้ครั้งละ ๓ องค์ แล้วนำไปตัดแยกออกด้วยตอก เนื่องจากในขณะนั้นเป็นช่วงของสงครามถูกพม่ารุกราน จึงทำกันอย่างรีบร้อนทำให้บางองค์ไม่ได้ตัดแบ่งแยกออกจากกันก็มี คือ ยังติดกันเป็นแผงสามองค์

    หลังจากองค์สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงหันมาพัฒนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดนางพญา วัดราชบูรณะที่พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงสร้างและสร้าง พระเครื่องให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบอีกครั้ง ที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุวัดทั้งสามเพราะมีเขตขัณฑสีมาติดต่อกัน

    พระนางพญาที่สร้างขึ้นมี ๖ พิมพ์ด้วยกัน คือพิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์อกนูนเล็ก

    ยุคแรกสร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์ รูปทรงองค์พระไม่สวยงามนัก ยุคที่สองสร้างโดยองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รูปทรงองค์พระสวยงามกว่ารุ่นแรกมาก พระนางพญาทั้งสองยุคนี้อายุการสร้างใกล้เคียงกัน มีพุทธคุณเหมือนกันคือเน้นหนักในเรื่องแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน โชคลาภ ค้าขายดี และเมตตามหา นิยมเป็นหลัก พิธีปลุกเสกใช้วิธีอัญเชิญเทพฯ เทวดา ฤาษี พระสงฆ์ผู้ทรงศีลและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพิษณุโลกอันได้แก่หลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นต้น ปลุก เสกกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

    มีประสบการณ์เล่าต่อๆกันมาว่า ทหารขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปรบที่ไหนก็ประสบชัยชนะที่นั่น เป็นที่หวั่นเกรงแก่พม่าในขณะนั้น และอีกประสบการณ์หนึ่งคือเมื่อครั้งที่ทหารไทยไปรบในสงครามอินโดจีนมีชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า ต่อมามีนักสะสมพระเครื่องนำพระนางพญามาจัดเข้าชุด เบญจภาคี พุทธศิลป์ศิลปะอยุธยาประเภทเนื้อดินเผา ผสมมวลสารพระธาตุเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ โพรงเหล็กไหล พระธาตุสีขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่าน ใบลาน เกสรดอกไม้ ๑๐๘ ว่าน ๑๐๘ น้ำมนต์ทิพย์ ดินมงคลตามที่ต่างๆ ทรายเงิน ทรายทอง และศาสตราวุธต่างๆ

    ความหมายของมวลสารที่นำมาผสมในพระสมเด็จนางพญามีดังนี้
    ๑. พระธาตุเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน
    ๒. เหล็กน้ำพี้ มีความสำคัญ ด้านแก้เคล็ดและความแข็งแกร่ง
    ๓. โพรงเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน แคล้วคลาด
    ๔. พระธาตุสีขาวขุ่นและพระธาตุสีชมพู มีความสำคัญด้านสิริ มงคลและแก้อาถรรพ์
    ๕. ผงถ่านใบลาน มีความสำคัญด้านอยู่ยงคงกระพัน
    ๖. เกสรดอกไม้ มีความสำคัญด้านเมตตามหานิยม
    ๗. ว่าน ๑๐๘ มีความสำคัญ ทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน
    ๘. น้ำมนต์ทิพย์ มีความสำคัญทางด้านแก้เคล็ดและแก้อาถรรพ์
    ๙. ดินมงคลตามที่ต่างๆ มีความสำคัญทางด้านสิริมงคล
    ๑๐. ทรายเงินทรายทอง มีความสำคัญทางด้านโชคลาภและเงินทอง

    ลักษณะพระสมเด็จนางพญามีดังนี้

    ดูด้านข้างทั้งสามด้านจะต้องมีรอยตอกตัดองค์พระแยกออกจากกัน ด้านหลังบางองค์จะมีลายนิ้วมือของพระหรือครูบาอาจารย์ปรากฏอยู่ บางองค์ไม่มีลายนิ้ว มือปรากฏแต่อย่างไร แต่ก็สังเกตเม็ดผดปรากฏนูนขึ้นมาให้สัมผัสได้

    สีขององค์พระมีดังนี้ คือ
    ๑. สีตับเป็ด
    ๒. สีดอกพิกุลแห้ง
    ๓. สีอิฐ
    ๔. สีแดง
    ๕. สีหัวไพลแห้ง
    ๖. สีขมิ้นชัน
    ๗. สีเขียวมะกอกดิบ
    ๘. สีเขียวครกหิน
    ๙. สีดำ
    ๑๐. ดอกจำปี
    ๑๑. สีเขียว

    อ้างอิง chuthatip
     
  13. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระนางพญา พิษณุโลก

    ประวัติพระนางพญา พระสมเด็จนางพญา พิษณุโลก
    ก่อนอื่นก็จะพูดถึงวัดนางพญาเสียก่อน วัดนางพญานี้เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ แต่เดิมวัดนางพญาและวัดราชบูรณะมีอาณาเขตติดต่อกัน แต่พอมีการสร้างสะพานสมเด็จพระนเรศวรและสร้างถนนตัดผ่าน จึงแยกวัดนางพญาและวัดราชบูรณะอยู่กันคนละฝั่งถนน วัดนางพญาจึงเหลืออาณาเขตเล็กๆ เท่านั้น การได้ชื่อว่า “วัดนางพญา”ชื่อของ พระนางพญา น่าจะมาจากสถานที่ที่ค้นพบนั่นเอง วัดนางพญานี้สันนิษฐานว่า ผู้สร้างพระนางพญาคือ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระ มเหสีของพระมหาธรรมราชา และทรงเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงสร้างพระนางพญาขึ้นในคราวบูรณะปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ราวปี พ.ศ. 2090 - 2100 ขณะนั้นพิษณุโลกเป็นเมืองลูกหลวง และพระองค์ดำรงพระอิสริยยศเป็นแม่เมืองสองแคว และพระมหาธรรมราชาทรงพระอิสริยยศที่ พระอุปราช แห่งแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ กรุงศรีอยุธยา

    พระนางพญา ได้รับอิทธิพลทางพุทธศิลปะมาจากสกุลช่างสุโขทัยในพระราชสำนักโดยตรง ด้วยเมืองพิษณุโลกและสุโขทัยมีความใกล้ชิดกันมาตั้งแต่ราชวงศ์พระร่วงเป็น ใหญ่ในดินแดนภาคเหนือ พิมพ์ทรงของพระนางพญา เด่นชัดมากหากเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ในเรื่องสัดส่วน ทรวดทรง ศิลปะ อาจกล่าวได้ว่า การสร้างพระนางพญาเป็นการสืบสานศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ในรูปพระเครื่องที่ ชัดเจนไม่บิดเบือน

    ประวัติพระนางพญา พระนางพญา เป็นพระพุทธปฏิมาแบบนูนต่ำในรูปทรงสามเหลี่ยม ประทับนั่งปางมารวิชัย ไม่มีอาสนะหรือฐานรองรับ ทรวดทรงองค์เอวอ่อนหวานละมุนละไมและงามสง่าในที

    พระเครื่องนางพญา การแตกกรุของ พระเครื่องนางพญาก็คือเมื่อตอนปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทรงทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง และทรงได้เสด็จประพาสวัดนางพญาด้วย สันนิษฐานว่าทางวัดนางพญาก็คงพัฒนาปรับปรุงเคหสถานเพื่อเตรียมรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง และสร้างศาลาที่ประทับไว้ จึงได้พบพระเครื่อง กรุพระนางพญา และมีการคัดเลือกพระองค์ที่งดงามขึ้นทูลเกล้าถวาย และถวายราชวงศ์ใหญ่น้อย ตลอดจนแจกจ่ายข้าราชบริพารที่โดยเสด็จ จากการบันทึกคำบอกเล่าจากพระอาจารย์ขวัญ วัดระฆังฯ ว่าท่านได้รับคำบอกเล่าจากข้าราชการรุ่นเก่าผู้หนึ่ง ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง แต่ท่านจำชื่อไม่ได้แล้ว คุณหลวงผู้นั้นได้เล่าให้ท่านฟังว่า ได้พระนางพญามาจากพิษณุโลก 2-3 องค์ในคราวตามเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงในครั้งนั้นด้วย

    พระนางพญา เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ ปรากฏแร่กรวดทรายผสมผสานคลุกเคล้า กดเป็นองค์พระแล้วเสร็จ จึงนำไปเผา พระส่วนใหญ่จะมีเนื้อผสมว่านน้อยหรืออาจจะไม่มี เนื้อพระจึงดูค่อนข้างหยาบ แกร่งและแข็งมาก ที่เป็นเนื้อละเอียดจะผสมว่านมาก ทำให้เนื้อพระหนึกนุ่มสวยงาม ก็มีแต่พบเห็นน้อย ผู้รู้ได้จำแนกพิมพ์ทรงดังนี้
    พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ได้ทั้งหมด 7 พิมพ์ คือ

    1. พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่พิมพ์หนึ่ง

    2. พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่ โดยเฉพาะพิมพ์เข่าตรง แยกออกเป็น 2 พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์เข่าตรง “ธรรมดา” กับพิมพ์เข่าตรง “มือตกเข่า” แต่ทั้งสองพิมพ์ก็ถือว่าอยู่ในความนิยมเหมือนกันทั้งคู่

    3. พระนางพญา พิมพ์อกนูนใหญ่ ถือเป็นพิมพ์ใหญ่

    4. พระนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก ถือเป็นพิมพ์เล็ก

    5. พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ ถือเป็นพิมพ์กลาง

    6. พระนางพญา พิมพ์อกแฟบ หรือ พิมพ์เทวดา ถือเป็นพิมพ์เล็ก

    7. พระนางพญา พิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เข่าบ่วง หรือ พิมพ์ใหญ่พิเศษ

    พระนางพญา กรุวัดนางพญาทุกพิมพ์ เป็นพระนั่งปางมารวิชัย กรอบตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีด้วยกัน 3 พิมพ์หลัก ได้แก่

    พิมพ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 พิมพ์ย่อยคือ พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์เข่าตรง และพิมพ์อกนูนใหญ่

    พิมพ์กลาง ได้แก่ พิมพ์สังฆาฏิ

    พิมพ์เล็ก แบ่งออกได้ 2 พิมพ์ย่อยคือ พิมพ์อกแฟบ (เทวดา) และ พิมพ์อกนูนเล็ก

    พระเครื่องนางพญา ในด้านความนิยม พระนางพญา กรุวัดนางพญาพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเห็นจะได้แก่ พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง ส่วนพิมพ์ที่นิยมรองลงมาคือ พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง

    พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง มีขนาดใกล้เคียงกับ พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง และมีพุทธลักษณะใกล้เคียงกันมาก จะมีข้อแตกต่างกันก็เพียง พระบาทและพระเพลาของพิมพ์เข่าตรง จะค่อนข้างตรงไม่เว้าโค้งลงด้านล่างแบบพิมพ์เข่าโค้ง

    อ้างอิง แทน ท่าพระจันทร์
     
  14. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง

    พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง

    [​IMG]
     
  15. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง

    พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง

    [​IMG]
     
  16. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พุทธลักษณะของพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง

    พุทธลักษณะโดยทั่วไปของพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง ตำหนิมีดังนี้
    ตำหนิพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง

    พระเกศ เป็นแบบเกศปลี โคนใหญ่ ปลายเรียว กระจังหน้าจะยุบเล็กน้อย

    พระพักตร์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูลบมุมทั้งสี่ด้าน พระส่วนใหญ่จะเรียบร้อยไม่มีหน้าไม่มีตา แต่เฉพาะพระที่ติดพิมพ์ชัดเจนจะปรากฏรายละเอียดของ พระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ ถึงจะเป็นตาตุ่ยๆ แต่จะโปนมากกว่า

    พระนลาฏ หน้าผากจะบุบเล็กน้อย มองเห็นไรพระศกด้านบนเด่นชัด

    ไรพระศก โดยมากจะสังเกตลีลาการทอดไรพระศกกับพระกรรณเป็นสำคัญ ส่วนมากไรพระศกจะเป็นเส้นเล็กมีความคมชัดมาก วาดตามกรอบพระพักตร์ลงมาจรดพระอังสะทั้ง 2 ด้าน

    พระกรรณ เป็นเส้นสลวยสวยงามมาก ตอนกลางของพระกรรณทั้งสองจะมีลักษณะอ่อนน้อยๆ เข้าหาพระศอ พระกรรณซ้ายจะยาวจรดพระอังสะ และเชื่อมต่อกับเส้นสังฆาฏิ

    พระอังสะ และ พระรากขวัญ จะต่อกันเป็นแนวย้อยแบบท้องกระทะ แสดงไหล่ที่ยกสูงทั้งสองด้าน ระหว่างแนวซอกช่อง ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นเสี้ยนเล็กๆ ขนานกันไป รอยดังกล่าวมักปรากฏตามซอกอื่นๆ อีกด้วย

    พระอุระ นูนเด่นชัดมาก พระถันเป็นเต้านูนขึ้นมา โดยเฉพาะพระถันขวารับกับขอบจีวรซึ่งรัดจนเต้าพระถันนูนขึ้นมา ส่วนพระถันซ้ายมีเส้นสังฆาฏิห่มทับอยู่

    พระอุทร นูนเด่นชัด ปรากฏพระนาภีเป็นรูเล็กเท่าปลายเข็มหมุด เหนือพระนาภีปรากฏกล้ามท้องเป็นลอนรวม 3 ลอน

    พระพาหา แขนขวากางมากกว่าแขนซ้าย ปล่อยยาวลงมาจรดพระชงฆ์ พระพาหาซ้ายตรงรับกับส่วนองค์ และจะหักพระกัประแล้วทอดไปตามพระเพลา มีขนาดเล็กเรียวกว่าช่วงบน ทำการโค้งขึ้นงดงามมาก ปลายพระหัตถ์สุดที่บั้นพระองค์

    พระเพลา เป็นเส้นตรงแบบสมาธิราบ โดยเฉพาะพระเพลาขวาเป็นเส้นตรงขนานกับรอยตัดกรอบด้านล่าง ทำให้เห็นว่าแข้งซ้อนห่างกันอย่างเด่นชัด

    บรรดาพิมพ์ทรงของ พระนางพญา กรุวัดนางพญาทั้ง 7 พิมพ์ มีเพียง พิมพ์เข่าตรง เท่านั้น ที่ปรากฏว่ามีแม่พิมพ์อยู่ถึง 2 แบบ คือ พิมพ์เข่าตรง (ธรรมดา) และพิมพ์เข่าตรง (มือตกเข่า) ซึ่งแม่พิมพ์ทั้ง 2 แบบนี้ มีเอกลักษณ์และรายละเอียดตำหนิของแม่พิมพ์แตกต่างกัน
     
  17. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ประวัติการแตกกรุ พระนางพญา

    ประวัติการแตกกรุ พระนางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลก

    พระนางพญา วัดนางพญา เป็นพระยอดนิยมอันดับหนึ่งของเมืองพิษณุโลก และเป็นหนึ่งในชุดพระเบญจภาคีซึ่งเป็นสุดยอดของพระเครื่องเมืองไทย ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด สำหรับพระนางพญาสมควรค่าแก่สมญานาม “ราชินีแห่งพระเครื่อง”

    พระนางพญาเป็นพระพุทธรูปปฏิมากรรมขนาดเล็กรูปทรงสามเหลี่ยม สร้างจากดินนำมาเผาให้สุกเสร็จแล้วบรรจุไว้ในกรุเจดีย์ด้านหลังโบสถ์ “วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก” ภายหลังเจดีย์ได้พังลงมาพระนางพญาที่บรรจุในกรุก็กระจัดกระจายอยู่เต็มลานวัดนางพญา

                   วัดนางพญา เป็นวัดเล็กๆ อยู่ตรงข้ามกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดใหญ่ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธชินราช สำหรับวัดนางพญานั้นถึงแม้ว่าจะเป็นวัดที่ค่อนข้างเล็กแต่ชื่อเสียงของวัดนางพญาเป็นที่รู้จักเลื่องลือของคนไทยทั่วทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักสะสมพระเครื่องต่างรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะเป็นสถานที่ซึ่งค้นพบพระนางพญา ยอดพระเครื่องที่ทุกคนใฝ่หานั่นเอง
      
    ประวัติการแตกกรุ
    พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระที่อยู่ในกรุเจดีย์วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เริ่มมีการค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2444 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลองเพื่อนำมาเป็นพระประธานที่วัดเบญจมบพิตร
    ในครั้งนั้นล้นเกล้าฯ รัชกาลที่5 ได้เสด็จประพาสวัดนางพญาด้วย ซึ่งทางจังหวัดได้เตรียมการรับเสด็จที่วัดนางพญา โดยทำการจัดสร้างปะรำพิธีเพื่อรับเสด็จ เมื่อคนงานได้ขุดหลุมเสาก็ได้พบพระนางพญาเป็นจำนวนมาก ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงได้เก็บรวบรวมพระไว้ได้เป็นจำนวนหนึ่ง
    ในการเสด็จประพาสต้นหัวเมืองฝ่ายเหนือของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นไปยังวัดนางพญา ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสวัดนางพญาจึงได้นำพระนางพญาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแจกจ่ายให้แก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จกันถ้วนหน้า และได้นำพระนางพญาบางส่วนลงมายังกรุงเทพฯ
    เหตุที่มีการค้นพบพระนางพญาอยู่ทั่วบริเวณวัดนางพญานั้น สันนิษฐานว่า เจดีย์หลังโบสถ์พระประธานวัดนางพญาล้มลง พระนางพญาจึงกระจัดกระจายเต็มลานวัด ทางวัดได้นำเศษอิฐปูนอันเป็นซากพระเจดีย์ที่ล้มลงไปเทถมในสระน้ำกลางวัด
    นอกจากนี้ก็ยังขุดพบบางส่วนในกรุวัดต่างๆ ในจังหวัดพิษณุโลกอีกด้วย แต่มีไม่มากนัก เจดีย์ละองค์สององค์ ส่วนใหญ่เก็บไว้บนยอดพระเจดีย์เป็นส่วนใหญ่ แม้แต่คราวบูรณะพระประธานในโบสถ์วัดนางพญาซึ่งเป็นพระประธานปูนปั้นชำรุด ทางวัดได้กระเทาะเอาปูนฉาบที่เสื่อมคุณภาพออก ช่างที่ซ่อมแซมองค์พระประธานได้พบพระนางพญาบนยอดพระเกศองค์พระประธาน เป็นพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ พระนางพญา พิมพ์ทรงเทวดา และพระนางพญา กรุโรงทอ ซึ่งเป็นพระที่ล้วนแล้วแต่พุทธลักษณะสวยงามทั้งสิ้น
    พระนางพญา ฝากกรุในกรุงเทพมหานคร
    นอกจากค้นพบพระนางพญาจากกรุในจังหวัดพิษณุโลกแล้ว ยังได้มีการค้นพบพระนางพญาในกรุงเทพฯ มีลักษณะพิมพ์ทรงและเนื้อหาแบบเดียวกันกับพระนางพญาจากกรุวัดนางพญาทุกประการ สันนิษฐานว่าเป็นพระนางพญา กรุวัดนางพญานำมาฝากกรุไว้ตั้งแต่คราวปี 2444 นั่นเอง ซึ่งการค้นพบพระนางพญาในกรุต่างๆ ในกรุงเทพฯ มีหลายกรุด้วยกัน ได้แก่
    พระนางพญา กรุวัดอินทร์
    ประมาณปี พ.ศ.2479 ได้มีการพบพระนางพญาที่วัดอินทรวิหาร โดยมีคนเจาะเจดีย์องค์หนึ่งพบพระนางพญาบรรจุอยู่ในบาตรผุ มีพระนางพญาบรรจุอยู่จำนวนหนึ่งประมาณ 700 องค์ มีคราบสีน้ำตาลไหม้ของสนิมเหล็กจับอยู่ ซึ่งพระนางพญาที่พบในเจดีย์วัดอินทรวิหาร ปรากฏมีครบทุกพิมพ์ แต่จะพบพิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา และพิมพ์อกนูนเล็กมากกว่าพิมพ์อื่นๆ และที่สำคัญได้มีการค้นพบแผ่นลานเงิน ลานทอง และลานนาก ขนาดเท่าฝ่ามือ มีจารึกข้อความบอกเรื่องราวการบรรจุพระนางพญากรุนี้ไว้ว่า เป็นพระที่รับพระราชทานในคราวที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกเพื่อนมัสการพระพุทธชินราชและทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง มีผู้นำพระนางพญาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระองค์
    พระนางพญา กรุวัดราชบูรณะ(วัดเลียบ) กทม.
    นอกจากได้พบพระนางพญา ที่เจดีย์วัดอินทรวิหารแล้ว ก็ได้มีการพบพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกที่กรุวัดราชบูรณะ(วัดเลียบ)กรุงเทพฯ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายพันธมิตรได้มาทิ้งระเบิดโรงไฟฟ้าวัดเลียบ และสะพานพุทธ เจดีย์ในวัดเลียบโดนระเบิดพังลงมาจึงได้พบพระขรัวอีโต้ และพระนางพญา วัดนางพญา รวมอยู่ด้วยแต่มีจำนวนน้อยมาก ลักษณะสำคัญของพระกรุนี้จะมีการลงรักปิดทองแทบทุกองค์
    พระนางพญา ที่กรุวังหน้า กทม.
    พบเมื่อปี พ.ศ.2502 ขณะที่มีการบูรณะพระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้าข้างโรงละครแห่งชาติ ได้มีการค้นพบพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ที่บนเพดานพระอุโบสถ ใต้ฐานชุกชีและตามพื้นพระอุโบสถซึ่งเต็มไปด้วยเศษอิฐ ดิน ทรายที่ทับถมกันอยู่ พระนางพญา วัดนางพญา พิษณุโลก ที่พบจากกรุนี้จะมีเนื้อแห้งสนิทและลงรักปิดทองทุกองค์ รักทองแห้งสนิท มีจำนวนไม่มากนัก
    พระนางพญา ที่กรุวัดสังข์กระจาย
                   พระนางพญาที่พบเป็นครั้งสุดท้ายคือ พระนางพญา จากกรุวัดสังข์กระจาย กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2509 พบขณะที่ทางวัดกำลังรื้อเจดีย์อยู่ พระนางพญาที่พบมีเนื้อแห้งจัด พระจากกรุนี้พบน้อย แต่ส่วนมากจะสวย และไม่ปรากฏการลงรักปิดทองเหมือนกับวัดอื่นๆ
    พระนางพญา วัดนางพญา กรุน้ำ
    พระนางพญา วัดนางพญา กรุน้ำ หรือที่เรียกว่า“กรุบางสะแก กรุเหนือ หรือกรุตาปาน”เป็นพระนางพญาที่ขุดค้นพบภายในจังหวัดพิษณุโลก เมื่อราวต้นปี พ.ศ.2487 ที่ตำบลบางสะแก ณ บริเวณลานบ้านนายปาน ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ใกล้กับวัดชีปะขาวหาย สาเหตุของการค้นพบก็เนื่องมาจากตาปานเจ้าของบ้านต้องการย้ายเสาเรือนใหม่ และขณะขุดหลุมเสาอยู่นั้นก็ได้พบหม้อดินซึ่งภายในบรรจุพระนางพญาไว้ เมื่อขุดขยายหลุมจนทั่วแล้วก็ได้พระนางพญาอีกจำนวนหนึ่ง ประมาณพันกว่าองค์ พระนางพญากรุนี้ผิวจะเสีย ทำให้เห็นเม็ดแร่ผุดพรายจากในเนื้อ เพราะหม้อดินถูกน้ำท่วมขังจนซึมเข้าไปเป็นเวลานาน ทำให้ผิวพระเสียสภาพไป
    นอกจากนี้แล้วยังมีการขุดค้นพบพระนางพญาทั้งจากกรุวัดนางพญา และบริเวณใกล้เคียงอีกหลายครั้ง พบพระจำนวนมากบ้าง น้อยบ้าง ครั้งล่าสุดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2530 ได้มีการพบพระนางพญา อยู่ภายในเจดีย์องค์หนึ่งซึ่งตั้งอยู่นอกวัดนางพญาที่สร้างติดกับถนนทางหลวง ตามกระแสข่าว กล่าวกันว่าเป็นพระนางพญาที่หลวงตาที่วัดนางพญาได้เก็บพระซึ่งตกเรี่ยราดอยู่ตามโคนพระเจดีย์ไว้ แล้วนำไปบรรจุในพระเจดีย์ซึ่งสร้างใหม่ พระชุดนี้มีไม่มากนัก แต่เป็นพระที่ค่อนข้างสวยงามและสมบูรณ์มาก มีพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์อกนูนใหญ่  ที่ปรากฏหู ตา จมูกอย่างชัดเจน

    อ้างอิง ไทยพระ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2012
  18. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พุทธลักษณะ พระนางพญาเข่าโค้ง


       
    พระนางพญา กรุวัดนางพญา "พิมพ์เข่าโค้ง"
               พระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก มีทั้งหมด 7 พิมพ์ด้วยกัน แต่ละพิมพ์มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป ในตอนนี้ขอนำเสนอเรื่องราวของพิมพ์เข่าโค้งก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งการศึกษาพระนางพญา ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม ปรมาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางพระเครื่องท่านแนะนำว่า อันดับแรกควรจะต้องดูที่สัณฐานของพิมพ์ทั้งหมดก่อน คือดูภาพรวมทั้งองค์แล้วจึงแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ขององค์พระ สุดแล้วแต่ผู้ศึกษาจะแบ่งส่วนตรงไหนก่อน แต่โดยทั่วไปก็มักดูส่วนหน้าก่อนแล้วจึงไล่ลงมาถึงส่วนขององค์พระ ดูรอยตัดข้างของพระ แล้วดูพิมพ์ด้านหลังขององค์พระทั้งหมด
    อีกส่วนหนึ่งที่ใคร่ขอกล่าวไว้ในที่นี้คือ ให้ดูร่องรอยในแม่พิมพ์ที่อยู่ส่วนลึกที่สุดขององค์พระว่ามีตำหนิอะไรบ้าง ดูลายเส้นที่จะประกอบเป็นองค์พระทั้งหมด ลายเส้นที่ว่านี้ เช่น เส้นหูทั้งสองข้าง เส้นเอ็นคอทั้งสองข้าง เส้นสังฆาฏิขององค์พระ เส้นอังสะลำแขน และเส้นตวัดของปลายแขน เส้นลำขาขององค์พระ เส้นเหล่านี้จะเป็นเส้นนูนตั้งคมชัดมาก บางเส้นจะเว้าลึกชอนเข้าตรงส่วนติดกับพื้นขององค์พระ สภาพเหล่านี้เกิดจากการมีอายุอันยาวนานขององค์พระนางพญา จึงเกิดการหดตัวของเนื้อพระ ในขณะที่ของปลอมก็พยายามทำเลียนแบบแต่ยังขาดความเป็นธรรมชาติ
     
    พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง จัดเป็นพิมพ์ที่สวยงามและได้รับความนิยมสูงสุด ในอดีตมีผู้รู้พูดกันว่า พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก มี 2 พิมพ์คือ พิมพ์หน้านาง และพิมพ์ศิลปะวัดตะกวน แต่จากการศึกษาโดยละเอียดถึงตำหนิของแม่พิมพ์ทุกจุดแล้ว ทำให้มั่นใจได้ว่า พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก มีเพียง 1 พิมพ์เท่านั้น ไม่มีการแบ่งแยกเป็นพิมพ์อื่นๆ เพราะตำหนิรายละเอียดของแม่พิมพ์ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์หน้านาง หรือพิมพ์ศิลปะวัดตะกวนจะเหมือนกันทุกจุด จึงถือว่าเป็นพิมพ์เดียวกัน เพียงแต่ว่าตอนกดพิมพ์ ถ้ากดพิมพ์ได้ลึกพระจะติดลึก และดูสูงนูนมาก ศิลปะจะดูลึกคม และบอบบางมากขึ้น แต่ถ้ากดพิมพ์เบากว่า พระจะติดตื้น และดูรู้สึกอ้วน ล่ำสันขึ้นทุกจุด กลายเป็นศิลปะหน้าตะกวนไป แต่รายละเอียดตำหนิส่วนลึกของแม่พิมพ์จะเหมือนกันทุกจุด จึงควรจะเป็นพิมพ์เดียวกัน
     
    การสังเกตจดจำรูปลักษณะของพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง ก่อนอื่นต้องเริ่มต้นดูภาพลักษณ์ทั้งองค์ของพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้งก่อน พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง เป็นพระดินเผา รูปสามเหลี่ยม ตัดขอบด้วยตอกทั้ง 3 ด้าน มีขนาดใกล้เคียงกันทุกองค์ จะมีขนาดใหญ่ เล็กแตกต่างกันบ้างตามสีของเนื้อพระ
    ขนาดของพระนั้นเป็นจุดสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ขนาดใหญ่เกินไป หรือเล็กเกินไปต้องสงสัยไว้ก่อน ถ้าเนื้อพระเขียวมีขนาดใหญ่กว่าพระเนื้อแดงทั้งที่เป็นพิมพ์เดียวกันละก็ “ไม่แท้” แน่นอน ขนาดที่ว่านี้ต้องดูขนาดขององค์พระ มิใช่ดูขนาดของกรอบนอกสามเหลี่ยม เพราะพระนางพญาบางองค์ตัดขอบชิดมาก พระนางพญาบางองค์ก็ตัดขอบไม่ชิดนัก ขนาดขอบของสามเหลี่ยมจึงดูใหญ่ เล็กแตกต่างกัน นำมาเป็นบรรทัดฐานไม่ค่อยได้นัก
     
    พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง เป็นพระเครื่องที่มีพุทธศิลป์งดงาม องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาจะพาดที่หัวเข่า พระหัตถ์ซ้ายจะวางบนหน้าตัก หน้าตักหรือส่วนขาที่วางซ้อนจะมีลักษณะโค้งเล็กน้อยคล้ายเรือสำเภา วงการพระจึงขนานนามว่า “พิมพ์เข่าโค้ง” จัดเป็นพิมพ์ที่สวยงามที่สุด และได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาพระนางพญาทั้ง 7 พิมพ์
     
    การตัดขอบทั้ง 3 ด้าน จะตัดค่อนข้างชิดกับองค์พระท่าน และส่วนใหญ่จะตัดปลายหูขององค์พระ และหัวเข่าขององค์พระขาดหายไปบ้าง เนื้อที่บริเวณปีกด้านข้างขององค์พระท่านส่วนใหญ่จะเป็นพระที่มีศิลปะเกลี้ยงๆ ไม่มีหน้า มีตาชัดนัก ลักษณะของตา จมูก และปากของพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง จะมีแผ่วบางเท่านั้น ไม่ชัดเจนเหมือนพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง อย่างไรก็ตาม หากศึกษาเรื่องพระนางพญาแล้วก็จะต้องพิจารณาถึงศิลปะบนพระพักตร์ของพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ในทุกๆ พิมพ์ ถึงจะมีตา จมูก และปาก แต่ศิลปะของพระนางพญาจะเป็นลักษณะให้เห็นรางๆ หรือนูนขึ้นมาบ้างเท่านั้น มิได้เป็นเส้นชัดเจนเหมือนพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ หรือพระในสกุลขุนแผน
    นอกจากลักษณะการตัดขอบของพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง ตลอดจนเอกลักษณ์ศิลปะพระพักตร์ของพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง เอกลักษณ์ทางศิลปะของพระนางพญา ซึ่งไม่เฉพาะพิมพ์เข่าโค้งเท่านั้น แต่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของพระนางพญาทุกพิมพ์ คือ เส้นปลายพระกรรณ เส้นปลายอังสะ เส้นปลายพระหัตถ์ โดยเฉพาะพระหัตถ์ข้างซ้ายจะมีลักษณะหนึ่งก็คือ ที่เราเรียกว่าเม็ดผด จะขึ้นอยู่ทั่วไปทั้งด้านหน้า และด้านหลังของพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก

     
     
  19. คนตาก

    คนตาก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    275
    ค่าพลัง:
    +13
  20. prarod

    prarod สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2012
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=cT8aAIEdIiU]พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่(A) อ้วนกรุงไทย. - YouTube[/ame]
     

แชร์หน้านี้

Loading...