{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    หลวงปู่หิน วัดระฆัง

    หลวงปู่หิน วัดระฆัง

    หลวงปู่หินซึ่งถือว่าเป็นพระคู่บารมีกับหลวงปู่นาค วัดระฆัง ในยุคนั้น และท่านได้สร้างพระสมเด็จโด่งดังไม่แพ้กัน

    พระครูสังฆรักษ์ หิน อินทวินโย หรือ หลวงปู่ หิน เรียกตามตำแหน่งฐานานุกรมในพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก ( หลวงปู่นาค)ว่า “พระครูสังฆรักษ์ หิน หลวงปู่ หิน เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่รูปหนึ่งของวัดระฆังโฆสิตาราม

    หลวง ปู่ หิน นามสกุลเดิม สุขเกษม เกิดเมื่อ 9 เดือนพฤศจิกายน 2442 ตรงกับ วันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน เวลา ประมาณ 18.30 น. ที่จังหวัด ปริวแวง ประเทศ กัมพูชา บวชเป็น สามเณร 15ปี ภายหลังได้ลาสิกขาบท มาช่วยโยมมารดาบิดา มาประกอบอาชีพ อยู่พักหนึ่ง และได้ทำการอุปสมบทใหม่อีกครั้ง อายุ 21 ปี ณ...พัทธสีมา วัดธนาคัน ตำบลจาง อำเภอ ตะแบก จังหวัด ปริวแวง ประเทศกัมพูชา โดยมีพระรัตนาวงศาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แรม เป็นพระกัมมวาจา และพระมงคลเถระเป็นพระอนุสาวนา จารย์.....หลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ในทางไสยศาสตร์..ชั้นแรกคือการเรียน ตรีนิสิงเห การเรียนลงเลขยันต์...ยันต์ตรีนิสิงเห มีอุปเท่ห์สารพัดซึ่งหลวงปู่ หิน ใช้ได้ผลมามาก หลวงปู่ หิน ท่านมีความมุ่งมั่นในทางการเรียนวิชาไสยศาสตร์มาก เดินธุดงค์รุกขมูลตามป่าดงดิบ ประเทศพม่า พระตะบอง นครวัด ได้ร่ำเรียน วิชาการต่างๆมากมาย ฝึกฝนกับพระคณาจารย์ต่างๆ การอบรมเสร็จสิ้น เมื่อ เดือน 12 พศ..2465 หลวงปู่ หิน ได้เดินธุดงค์ มาเรื่อยๆ ตามตะเข็บชายแดน ของประเทศไทย มายัง กบินทร์บุรี นครนายก สระบุรี และได้เดินมานมัสการ พระพุทธบาท สระบุรี จากนั้น ใช่ว่า มาอยู่ เมืองไทยนะครับ ...ท่านเดินทางกลับไปประเทศพม่า โดยใช้เส้นทางเดิม กลับวัดธนาคันตามเดิม คือ วัดที่ท่านบวชแต่ครั้งแรก

    ในระหว่างนั้นท่านก็หมั่นปฏิบัตรธรรมกรรมฐาน จนได้ชื่อว่าเป็น พระที่เชี่ยวชาญทางกรรมฐานท่านหนึ่ง ทุกครั้งที่ท่านออกพรรษา ท่านจะออกธุดงค์ตลอดไม่ค่อยอยู่วัด ออกธุดงค์ไปเรื่อยๆ เวียงจันทร์หลวงพระบาง ย้อนกลับมา เมืองไทย แล้วกลับประเทศพม่า ...ครั้งหนึ่งหลวงปู่ หินมีความประสงค์จะเดินทางรุกค์ขมูลไปยังประเทศอินเดียให้ได้ แต่แล้วเป็นจุดหักเห ของชีวิตของท่าน พระเพื่อนที่ร่วมเดินทางของท่านเกิดป่วยกลางป่าลึกในระหว่างทาง จึงได้เดินทางมาที่เมืองไทยทำการรักษาตัว ในที่สุดพระรูปนี้ มรณภาพลงที่ จังหวัด ตาก ...ในเวลานั้น ใกล้เวลาจะเข้าพรรษาหลวงปู่ หิน จำต้องจำพรรษาที่ จังหวัด ตาก 1 พรรษา

    หลังจากนั้น หลวงปู่ ก็เดินธุดงค์ ต่อไป ที่ จังหวัด เชียงใหม่ เลยเข้าไป ประเทศ พม่า และต่อมาท่านเดินทางมาที่ จังหวัด สุโขทัย พักอยุ่ ที่ วัดพุทธปรางค์ อำเภอ สวรรคโลก 2 เดือน และออกธุดงค์มาเรื่อย จนถึง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ได้พบกับพระอุปัชฌาย์ เทพ ซึ่ง เป็นพระเพื่อนมาแต่เดิม เป็นเจ้าอาวาส อยู่ วัดทางหลวง ตำบล ปลายกลัด อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านจึงพำนักที่นั้น และช่วยดำเนินการสร้างเสนาสนะสงฆ์ ตลอดจนวิหารและศาลาฟังธรรมต่างๆ จนลุล่วง ท่านได้อยู่วัดทางหลวงเป็นเวลา 11 พรรษา อยุธยา นั้น ไม่สิ้นคนดี เป็นคำพังเพย โบราณ ที่เราคุ้นๆหูกันอยู่นะครับ หลวงปู่ หิน ได้ร่ำเรียนไสยศาสตร์แถบนี้มาก ต่อมาก แม้กระทั่งหลวงพ่อ จง แห่งวัดหน้าต่างนอก... หลวงพ่อ ต่วน วัด กล้วย ซึ่งต่อมาเป็นพระสหายทางสมิกธรรม ฯลฯ ประวัติการร่ำเรียนวิชาทาง ไสยศาสตร์ของท่าน ว่าร่ำเรียนกับพระอาจารย์ท่านใดนั้นมิอาจบรรยายได้ เพราะ หลวงปู่ หิน ท่านออกธุดงค์ เพียงรูปเดียวในระยะหลัง

    ต่อมาใน พศ....2478 ท่านได้ทราบถึง กิติศัพท์ ของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เกิดมีความศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงตัดสินใจเดินทางมายัง วัดระฆังโฆสิตาราม และเข้ากราบนมัสการ พระเทพสิทธินายก หรือ หลวงปู่ นาค ขณะนั้น หลวงปู่ นาค ดำรงตำแหน่ง พระราชโมฬี เจ้าอาวาส แห่งวัดระฆัง สนทนาธรรมเป็นที่ถูก อัธยาศัย ยิ่งนัก ....หลวงปู่ นาค จึงได้ชักชวนให้อยู่จำพรรษา อยู่ วัดระฆัง เสียที่นี่ คณะ3 ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของวัด ปัจจุบันเป็นโรงเรียนโฆสิตสโมสร ในสมัยนั้นทางสำนัก วัดระฆังได้เปิดอบรม กัมมัฎฐานและวิปัสสนา หลวงปู่ นาค ก็ได้แต่งตั้ง หลวงปุ่ หิน มีหน้าที่ช่วยเหลือในกิจของสงฆ์ทางวัด ตลอดมา ไม่ว่าพัฒนางานก่อสร้างทำนุบำรุงต่างๆ สมัยนั้นมีแต่แรงงานพระในผ้าเหลืองล้วน หลวงปู่ หิน เป็นช่างควบคุมเองทั้งหมด ไม่ว่า ครั้งใด คำปฏิเสธนั้น ไม่เคย หลุดจากปากท่านเลย กับการก่อสร้างวัดวาอารามต่างๆหลายวัด แม้ในบางครั้งท่านได้ไม่มีเงินพอที่จะช่วย ท่านก็นำพระผงของท่าน มามอบให้ประชาชนได้บูชากัน เพื่อนำเงินไปใช้ในการก่อสร้าง นั้นๆ เป็นเจตนาที่บริสุทธิ์โดยแท้

    การสร้างพระผงต่างๆ ของหลวงปู่ หิน แห่งวัดระฆังนั้น ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หลวงปู่ นั้นมีความศรัทธา ต่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต มากๆ หลวงปู่ท่านพยายามเสาะแสวงหา พระสมเด็จมาสะสมไว้ ทั้งที่ แตกหักและชำรุด จนมีจำนวนมากพอแก่ความต้องการ ท่านจึงนำมาโขลกเป็นผง นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ยัดผงปิลันทร์จากกรุ มุมพระอุโบสถ ด้านทิศใต้ .....ผงจากกรุ วัดสามปลื้ม ผงสุริบาตร และผงตรีนิสิงเห ที่ขาดมิได้ ...... การสร้างพระพิมพ์ของหลวงปู่ นั้น เริ่มตั้งแต่ พศ...2482-พศ..2515มีจำนวน 8 รุ่นด้วยกัน อาจารย์ ขวัญ วิสิฎโฐ ( คุ้มประยูร) เป็นผู้ช่วยเหลือโดยใกล้ชิด พระเครื่องที่สร้างแบ่งตาม พศ. พอจำแนก.ได้ ดังนี้

    1...พระสมเด็จ รุ่นแรก พศ..2482 มี5พิมพ์

    1.1พิมพ์อกครุฑ
    1.2พิมพ์แหวกม่าน
    1.3พิมพ์เส้นด้าย
    1.4พิมพ์ทรงเจดีย์
    1.5พิมพ์ทรงเจดีย์พิมพ์เล็ก

    2....พระสมเด็จรุ่น 2 พศ..2484มี 5 พิมพ์

    2.1พิมพ์ทรงพระประธาน
    2.2พิมพ์ทรงพระเกศทะลุซุ้ม
    2.3พิมพ์ทรงชายจีวร
    2.4พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร
    2.5พิมพ์ทรงอกร่องหูยานคู่

    3...พระสมเด็จ รุ่น 3 พศ..2488 มีเพียง 2 พิมพ์

    3.1พิมพ์ทรงนิยม
    3.2พิมพ์ทรงเจดีย์

    4...พระสมเด็จรุ่นที่ 4 พศ..2494 ติดต่อถึงปี 95 จึงเรียกว่า รุ่น 2495

    4.1พิมพ์ทรงพระประธาน พิมพ์นี้มี 2ชนิด คือ เนือ้ผงและเนื้อผงใบลาน
    4.2พิมพ์พระประธานขาโต๊ะ
    4.3พิมพ์ทรงเจดีย์
    4.4พิมพ์สามเหลี่ยมด้านเท่า
    4.5พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่ว
    4.6พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่วพิมพ์เล็ก

    5...พระสมเด็จรุ่น5 พศ..2497มีเพียง 2 พิมพ์เท่านั้น

    5.1พิมพ์ทรงเจดีย์
    5.2พิมพ์เจดีย์ทะลุซุ้ม

    6...พระสมเด็จรุ่นที่ 6 พศ..2500

    6.1พิมพ์พระประธาน ขนาดบูชา
    6.2พิมพ์ปรกโพธิ์พิมพ์ใหญ่
    6.3พิมพ์ทรงนาคปรก
    6.4พิมพ์ปรกโพธิ์ฐานแซม
    6.5พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร
    6.6พิมพ์ฐานหมอน
    6.7พิมพ์ทรงนิยม
    6.8พิมพ์ทรงเจดีย์
    6.9พิมพ์ทรงนิยมพิมพ์กลาง
    6.10พิมพ์ทรงนิยม พิมพ์เล็ก
    6.11พิมพ์คะแนนปรกโพธิ์
    6.12พิมพ์คะแนนพระประธาน
    6.13พิมพ์ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
    6.14พิมพ์คะแนนทรงพระประธานขนาดเล็ก
    6.15พิมพ์ทรงเม็ดแตง

    7...พระสมเด็จ รุ่นที่ 7 พศ...2512 เรียกว่า รุ่น เสาร์5 มี6 พิมพ์

    7.1พิมพ์นิยมเสาเอก สร้างด้วยไม้ ทำจากเสากุฎิ สมเด็จโต
    7.2พิมพ์ทรงจุฬามณี
    7.3พิมพ์สังฆาฎิ
    7.4พิมพ์ทรงอกร่องหูยานฐานแซม
    7.5พิมพ์กลีบบัว
    7.6พิมพ์ทรงพระประธาน หูบายศรี

    8... พระสมเด้จ รุ่นที่ 8 รุ่นสุดท้าย พศ..2515 เรียก ว่ารุ่น100ปี การมรณภาพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พิธีมหาพุทธาภิเศก หลวงปู่หิน สร้าง2พิมพ์เข้าพิธีด้วย มี 2พิมพ์

    8.1พิมพ์ทรงนิยม
    8.2พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร
    8.3เหรียญ รุ่นแรก พศ.2516

    นอกจากนี้ยังมีพระนอกพิมพ์อีกจำนวนหลายพิมพ์เช่นกัน เรียกว่า พิมพ์นอก เป็นพระที่สร้างในปีเดียวกัน แต่ไม่ได้ออกเป็นทางการ ท่านจะแจกเป็นการส่วนตัวแต่พิมพ์ทรงจะแตกต่างกันออกไป

    ท่านพระครู สังฆรักษ์ หิน อุปสมบทพระ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พศ...2463พรรษาแห่งการบวช ท่านศีกษาทางกรรมฐานจนแตกฉาน จนเกิดความชำนาญ ต่อมาศึกษาทางด้านคาถาอาคม จนเกิดความแตกฉาน วิชาไสยศาสตร์ ชนิดหาตัวจับยาก ภายหลังค้นคว้าแพทย์แผนโบราณ รักษาผู้คนตกทุกข์ได้ยาก เป็นพันๆคนในขณะนั้น ท่านย้ายมาอยู่ วัดระฆัง พศ...2478 –พศ..2521 ตลอดระยะเวลา 43ปี ภายหลังหลวงปู่ หิน ป่วย ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่ วัดกล้วย จ...อยุธยา เพื่อทำการรักษาตัวเพราะไม่มีเวลาพักผ่อน และท่านมีเวลาไม่นานแล้ว ประกอบกับมีเนื้องอกที่ กระพุ้งแก้มเพราะ เกิดจาการฉันท์หมากมาก ในปีเดียวกันนั้นเอง (พศ..2521) ท่านเดินทางกลับวัดระฆัง 19พฤษภาคม 2521 ...........มรณภาพ21 พฤษภาคม2521 รวมอายุ 79ปี 58 พรรษา @@@ขอขอบคุณข้อมูลนี้จากหนังสือประวัติ หลวงปู่หิน จากวัด พระศรีสุทธิโสภณ (เที่ยง อัคคธัมโม ปธ..9) 3ตค..2521 ซึ่งเป็นผู้เรียบเรียง ประวัติ หลวงปู่ หิน ...และเป็นหนังสือพ็อคเก็ตบุคส์ ภาพ ขาวดำ ..เล่มเล็ก ...ที่ออกมาจากวัดระฆัง..หนังสือเล่มนี้ทำแจกแก่ศิษย์ยานุศิษย์ที่มางานฌาปน กิจ หลวงปู่หิน.
     
  2. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จเกศไชโย พิมพ์ ๗ ชั้น แขนติ่ง

    สมเด็จเกศไชโย พิมพ์ ๗ ชั้น แขนติ่ง

    [​IMG]
     
  3. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ทำอย่างไรจึงจะดูพระสมเด็จเป็นเสียที


    ทำอย่างไรจึงจะดูพระสมเด็จเป็นเสียที

           การดูพระสมเด็จต่างก็มีท่วงท่าลีลาและแนวทางทฤษฎีที่แตกต่างกันออกไป ตามพื้นฐานองค์ความรู้ที่ได้รับมา สมัยตอนวัยเด็กเคยแอบคิดเหมือนกันว่า ในเมื่อไม่มีใครที่เกิดทันหลวงปู่โตหลงเหลืออยู่ในโลกนี้เลย แล้วรู้ได้อย่างไรว่าพระสมเด็จของหลวงปู่โตสร้างขึ้นด้วยวิธีไหนอย่างไร
    แต่มีอีกมุมหนึ่งให้คิดเหมือนกันว่า หากไม่มีวิธีการดูใด ๆ เลย แล้วทำไมยังมีการเช่าหาพระสมเด็จกันในราคาที่แสนแพงระยับขนาดนี้ นั่นหมายความว่าต้องมีวิธีการดูอะไรสักอย่างหนึ่งในการดูเรื่องของพระสมเด็จ
    เทคนิคของการดูพระสมเด็จ ที่พยายามจะให้ยืดถือกันว่าเป็นเหมือนสูตรโดยว่ากันว่า อันดับแรกต้องดูที่พิมพ์ของพระ ต้องดูที่เนื้อของพระ ต้องดูที่ธรรมชาติความเก่า
    ด้วยหลักแห่งทฤษฎีนี้โดยส่วนตัวเรื่องของข้อแรก คือ พิมพ์พระ คิดว่าน่าจะนำเอาไปใช้กับพระเครื่องบางสำนักที่มีการสร้างไม่นานได้อยู่พอสมควร แต่สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังฯ คิดว่าไม่น่าจะมีความเป็นไปได้เลย
    ตามหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว พระสมเด็จมีอายุการสร้างมายาวนานถึง ๑๐๐ กว่าปีเศษ จะดูกันที่พิมพ์นั้นดูอย่างไรได้ คนโบราณที่เก็บพระสมเด็จ เคยให้ทฤษฎีที่มีความแตกต่างจากคนรุ่นใหม่เอาไว้อย่างชัดเจนด้วยข้อแรก คือ
    ๑. ดูความเก่าของเนื้อพระ
    ๒. ดูความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่ผิวพระ
    นี่เป็นองค์ความรู้ที่คนในยุคเก่านิยมยึดถือกันมาในการศึกษาเรื่องของพระสมเด็จวัดระฆังฯ นักนิยมพระสมเด็จท่านหนึ่งเคยสอนว่า พระเก๊ใหม่ๆแบบพิมพ์ดี แต่ธรรมชาติของเนื้อพระที่ผ่านกาลเวลามาแล้วทำไม่ได้ พระเก๊เก่าๆ แบบพิมพ์ไม่ดี ธรรมชาติมีอยู่บ้างแต่มองออกได้
    ด้วยหลักคิดแบบนี้ทำให้นึกถึงว่า เอาคนวัยกลางคนจับมาแต่งหน้าทำผมให้แก่ชรา มองไกล ๆ ดูเหมือนเป็นคนแก่ แต่พอเข้าใกล้ก็รู้โดยทันทีว่าไม่ใช่...เพราะธรรมชาติอีกหลาย ๆ อย่างนั้นไม่เหมือนคนแก่ชราที่แท้จริงนั่นเอง
    การศึกษาพระเครื่องโดยเฉพาะพระสมเด็จ ต้องเป็นไปในรูปลักษณะอย่างนี้ จึงจะเข้าใจง่าย นั่นคือ เรื่องธรรมชาติของความเก่า หากพระองค์ไหนขาดซึ่งจากสิ่งนี้ ต่อให้มีการเล่าประวัติว่าพระองค์นี้ได้มาจากปู่ยาตาทวดอย่างไรก็หมดความหมาย เพราะความรู้ชนิดแบบนี้เป็นสิ่งที่เรียกว่าพื้นฐานที่ใคร ๆ ก็สามารถฝึกฝนทางสายตากันได้ด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ใช่เคล็ดลับอะไร ๆ อย่างที่เข้าใจกันนั้นเลยทีเดียว
    ธรรมชาติที่จะต้องปรากฏในองค์พระสมเด็จวัดระฆังฯ มีดังนี้
    ๑.เนื้อของพระต้องไม่ตึงเรียบไปทั้งองค์ ไม่ว่าจะด้านหน้าของพระหรือด้านหลังของพระ
    ๒.ที่พื้นผิวของพระจะมีรูยับ ๆ ย่น ๆ รูพรุน ๆ ลึกลงไปถึงเนื้อพระทุกองค์
    ๓.ด้านของข้างขององค์พระนั้นจะมีรอยปริแยกแตกให้เห็น ไม่เรียบเนียน

    ด้วยหลังเพียงแค่ ๓ ข้อนี้ก็สามารถทำให้คุณดูพระสมเด็จเป็นในเบื้องต้นได้แล้ว...
    ทีนี้ปัจจัยเพิ่ม คือ

    หากเป็นรอยไม่เรียบไม่ตึงแบบธรรมชาติ กับรอยที่ไม่เรียบไม่ตึงจากการทำด้วยน้ำมือมนุษย์เป็นสิ่งที่ต้องพยายามศึกษาจดจำและสังเกตให้ดี เพราะมีความแตกต่างกันมาก
    ร่องรอยปริยับย่น ไม่ว่าจะอยู่ที่พื้นผิวพระด้านหน้าหรือด้านหลังก็ตาม ล้วนแต่จะต้องเกิดจากเป็นรอยอันเกิดมาจากข้างใน ด้วยเหตุผลคือ มวลสารที่เป็นอินทรียวัตถุยับตัวเหมือนยางไม้ที่หมดความยืดหยุ่นก็จะหดตัวลงเล็กน้อย ที่หดตัวพร้อมๆกันหลายจุดทั่วทั้งองค์พระ จึงทำให้เกิดรอยปริแยกยับย่นลงไป
    แต่หากเป็นธรรมชาติที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์จะเป็นไปในลักษณะ การแกล้งทำจากข้างนอกไปสู่ข้างใน ซึ่งโดยจุดนี้เราก็สามารถมองออกได้ คือ ลักษณะของการบานการยุบตัวนั้น บริเวณที่ผิวขององค์พระจะมีขนาดใหญ่กว่าร่องรอยของการยับที่มองเห็น
    คิดง่าย ๆ เพื่อให้เห็นภาพ หากเราเอาไม้จิ้มลงไปในก้อนดินน้ำมันแล้วเอาออก จะเห็นได้ว่า เมื่อมองลงไปในรูที่จิ้มแล้วนั้นจะเห็นทันทีว่า รูข้างในนั้นเล็กมาก ๆ แต่รูด้านผิวบน ๆ ของดินน้ำมันจะใหญ่ นี่เปรียบได้เหมือนกับ การทำร่องรอบปริแตกยับย่นจากข้างนอกไปสู่ข้างใน คือ แกล้งทำให้เก่านั่นเอง
    แต่หากเป็นธรรมชาติแท้ ๆ นั้น จะเป็นการยับย่นยุบจากข้างในออกมาสู่ข้างนอก โดยรูข้างในจะใหญ่กว่าที่พื้นผิวด้านนอกนั่นเอง สมมุติให้เห็นภาพได้ว่า เนื้อดินน้ำมันที่ผิวด้านบนมีรูของการยับย่นยุบมีขนาดที่เล็ก แต่เมื่อเอากล้องส่องลงไปจะเห็นได้ว่า ในรูของดินน้ำมันนั้นจะมีขนาดใหญ่ เพราะการยับย่นเริ่มจากข้างในออกมาสู่ข้างนอก
    ทั้งหมดนี้คือ หนึ่งในวิธีการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังฯ ของนักนิยมสะสมพระเครื่องที่ได้แนะนำไว้ และไม่เคยมีใครได้เขียนขึ้นถ่ายทอด อาจจะติดขัดในเรื่องของภาษาในการสื่อก็เป็นได้
    เรื่องราวของการพิจารณาพระสมเด็จนั้นยังมีอีกมากมาย นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นให้ท่านได้ลองไปศึกษาและพิสูจน์ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งใครๆ
     
  4. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จเกศไชโย พิมพ์ใหญ่เอ ๖ ชั้น

    [​IMG]
     
  5. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ประวัติของวัดเกศไชโย อ่างทอง

    วัดเกศไชโย ตั้งอยู่ที่ ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่จากหลักฐานที่พบเป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่จากหลักฐานทราบเพียงว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาแค่นั้น เริ่มแรกเลยวัดไชโยไม่มีผู้คนรู้จักกันมากนัก มาเริ่มรู้จักกันแพร่หลาย เมื่อครั้งสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆัง ธนบุรีตอนนั้นท่านสละตำแหน่ง เจ้าอาวาส... เดินทางมาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น ในสมัย รัชกาลที่ ๔  ซึ่งหลังจากนั้น ต่อมา (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) รัชกาลที่ ๕   ทรงโปรดเกล้าให้  เจ้าพระยาบดินทร(บุญรอด) สำเร็จราชการกรมมหาดไทย ทำการปฎิสังขรณ์ วัดเกศไชโย ขึ้นใหม่ทั้งอาราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ และได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ แทนองค์เดิม เนื่องจากชำรุดเสียหาย หน้าตัก กว้าง ๘ วา  ๗ นิ้ว และสูงถึงยอดเกศรัศมี ๑๑ วา ๑ ศอก ๗นิ้ว  การสร้างพระหลวงพ่อโต นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าสมเด็จโต ท่านชอบสร้างพระองค์ใหญ่ๆ และการที่สร้างไว้ที่วัดเกศนั้น ท่านสร้างเพื่ออุทิศให้กับโยมมารดา แต่เนื่องจากโครงสร้างและรากฐานไม่ดีนัก จึงทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน และการสร้างตั้งแต่ครั้งแรกๆ ก็มีการบรรจุ พระพุทธพิมพ์ลงไป ทุกครั้งเมื่อชำรุดลงอีก มีการบูรณะ ก็มีการบรรจุ พระพิมพ์ลงไปอีก  พระที่บรรจุลงไปนั้นจึงพบว่ามีการบรรจุลงหลายครั้ง โดยนำพระที่สร้างจากวัดระฆัง แล้วนำมาบรรจุไว้ที่วัดเกศไชโย พระที่พบในวัดเกศไชโยนั้นเป็นพระที่บรรจุไม่นาน บรรจุราวๆปี 2406 พระที่บรรจุ ก็บรรจุ ที่สูง จึงไม่พบคราบกรุ มากนัก บางองค์จะไม่พบเลย หรือแทบไม่มีเลย....พระที่บรรจุก็ยังพบว่ามีหลายๆพิมพ์ด้วยกัน.......!
     
  6. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    การสร้างสมเด็จเกศไชโย

    เชื่อกันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุในพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ท่านสร้าง ณ วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง เพื่อสืบทอดพระศาสนา ศิลปสกุลช่าง เป็นช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยได้รับคำแนะนำ วิธีการสร้างให้พระออกมาสวยงามคงทน โดยขุนวิจารณ์เจียรนัย

    จากการสันนิษฐานทราบว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างพระพุทธพิมพ์สี่เหลี่ยมบนฐานต่างชั้นกัน ที่เรามาเรียกภายหลังว่า พระสมเด็จเกศไชโยนี้ ประมาณปี พ.ศ.๒๔๐๔ เพื่อบรรจุลงในพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ณ วัดไชโยวรวิหาร แต่พระพุทธรูปเกิดพังทลายขึ้นมาก่อนที่จะบรรจุพระเครื่อง จึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาใหม่ แล้วบรรจุพระเครื่องลงไป เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๐๖ - ๒๔๐๗ หากการบรรจุครั้งนั้น ไม่ครบจำนวนตามที่ตั้งความประสงค์ไว้ จึงมีการนำพระสมเด็จวัดระฆังมารวมบรรจุด้วย แต่มีจำนวนน้อยมาก


    ตามบันทึกคำกล่าวของพระธรรมถาวร (ลูกศิษย์สมเด็จโต) กล่าวว่า "เนื้อที่ใช้สร้างพระสมเด็จนั้น แต่เดิมใช้ผงวิเศษ 5 ประการ ผงเกสรดอกไม้ ปูนขาวและข้าวสุกเท่านั้น

    ผงวิเศษ 5 ประการ มีอิทธิคุณดังนี้

    1. ผงอิทธิเจ มีอานุอิทธิเจ มีอานุภาพทางเมตตามหานิยม ใครเห็นใครเมตตา ให้ความรักและเอ็นดู
    2. ผงปัถมัง มีอานุภาพทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี จังงัง ตลอดจนการพรางตัว(หายตัว) ได้อย่างมหัศจรรย์ยิ่ง
    3. ผงมหาราช มีอานุภาพทางเสน่ห์ ชายเห็นชายทัก หญิงเห็นหญิงรัก เหมาะสำหรับการค้าขาย และเข้าหาผู้ใหญ่ จะได้รับการเอ็นดูให้การส่งเสริมได้ดีในราชการและธุรกิจ
    4. ผงพุทธคุณ มีอานุภาพป้องกันสิ่งอัปมงคล อาถรรพณ์และไสยศาสตร์สายดำ ป้องกันทำคุณไสย มีอิทธิพลล้ำเลิศทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัย ครอบคลุมไปถึงด้านเมตตามหานิยมและมหาอำนาจ
    5. ผงตรีนิสิงเห มีอิทธิคุณทางด้านมหาอำนาจ สามารถล้างอาถรรพณ์ น้ำมันพราย สยบอิทธิฤทธิ์ของภูติผีปีศาจได้ดียิ่ง

    ซึ่งเมื่อถอดพิมพ์และตากแห้งแล้ว ปรากกฏว่าเนื้อพระจะร้าวและ แตกหักเป็นจำนวนมากเพราะความเปราะ

    ต่อมาเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทดลองใช้ กล้วยหอมจันทน์ และกล้วยน้ำว้าทั้งเนื้อและเปลือกผสมโขลกลงไปด้วย เมื่อเนื้อพระแห้งแล้วก็มีสีเหลืองนวลขึ้น การแตกร้าวลดลงแต่ก็ยังไม่ได้ผลทีเดียว

    ต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทดลองใช้น้ำมันตังอิ้ว ตามคำแนะนำของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนัก สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ผลดีขึ้นจริง

    ลักษณะวรรณะพระสมเด็จวัดเกศ เป็นพระที่มีวรรณะหลายสี เช่น ขาวแป้ง ขาวนวล สีเทา และมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด

    การสร้างพระวัดเกศนั้นมีการสร้างที่วัดระฆังฯ แล้วนำมาบรรจุไว้ที่วัดเกศ เนื้อพระวัดเกศนั้นจะต่างกับเนื้อวัดระฆัง แต่ก็ไม่แตกต่างมากนัก เนื้อวัดเกศจะเป็นเนื้อที่ละเอียดเพราะบดด้วยเครื่องบดยาในสมัยนั้นเนื้อพระจึงเป็นเ นื้อที่ละเอียด   แต่ถึงจะเป็นวัดเกศก็จริงแต่ผู้ที่สร้างนั้นเป็นองค์สมเด็จพุฒาจารย์โตเช่นกันฉะนั้น มวลสารต่างๆ และส่วนผสมที่ผสมลงไปในเนื้อพระนั้นย่อมไม่ต่างกันมากนัก เนื้อพื้นของ วัดระฆังนั้นมีมากมายหลายชนิด แต่เนื้อพื้นของวัดเกศ เท่าที่พบจะเป็นเนื้อที่ละเอียดเท่านั้น แต่จะต่างกันบ้างก็เรื่องของวรรณะสี คือ มีขาว ขาวอมเลือง และออกน้ำตาลเลย ขึ้นอยู่กับส่วนผสม ของน้ำมันตั้งอิ้วที่มากบ้างน้อยบ้างนั่นเอง...สรุปง่ายๆก็คือ เนื้อพื้นของวัดเกศ จะต้องเป็นเนื้อปูนหอยที่ละเอียดเพราะผ่านการบดนั่นเอง.... เมื่อบดเนื้อปูนหอยได้ละเอียดแล้วจึงนำผงพุทธคุณ ผงกฤติยาคมต่างๆผสมลงไป รวมถึงมวลสารต่างๆที่เป็นมงคล ที่ได้เตรียมไว้ ผงใบลานเผา ผงธูป เกสรบัว เกสรดอกไม้มงคล และยังอีกหลายๆอย่างผสมลงไป แต่ที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นคือ ก้อนมวลสารเก่า ที่ได้จากพระที่ชำรุดแตกหัก แบบวัดระฆัง ซึ่งในพระวัดระฆังมักจะมีให้เห็น  อาจเป็นไปได้ว่า มีการบดไปพร้อมกับปูนหอยด้วยเครื่องบด จึงไม่ค่อยพบ แบบชิ้นใหญ่ๆ จะมีให้เห็นบ้างก็เล็กๆเท่านั้น....ธรรมชาติและกาลเวลา ของพระวัดเกศ จะไม่ต่างอะไรกับวัดระฆังฯ เลยนะครับ ยังคงมีให้เห็น เช่น การยุบตัว การแตกลาน หลุม บ่อต่างๆ เนื่องจากการย่อยสลายของมวลสาร หรือส่วนผสมที่ไม่ต่างไปจากวัดระฆังฯ มากนักแต่จะพบ ได้น้อยกว่าวัดระฆัง เท่านั้นเองครับ...เนื้อวัดเกศเป็นเนื้อที่มีความละเอียด เมื่อนำมากดเข้ากับแม่พิมพ์ ที่ทำด้วยหินลับมีดโกน ซึ่งมีความละเอียดสูง พระที่ถอดออกจากแม่พิมพ์จึงมีความสวยงามเรียบร้อย และเมื่อแห้งดีแล้วจะทำการฝนตกแต่ง  สังเกตุได้ว่า ที่ด้านข้างนั้นจะมีการตกแต่งฝนให้สวยงาม  ไม่มีรอยปริแตกเหมือนกับวัดระฆัง และ ด้านหลัง มักพบรอยนิ้วมืออีกด้วย เมื่อกาลเวลาที่ผ่านไป...  เนื้อพระที่ละเอียด เมื่อมีการสัมผัส ก็จะเกิดการขึ้นมันจะยิ่งทำให้เนื้อพระดูนุ่มยิ่งขึ้น
     
  7. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาสมเด็จเกศไชโย 7 ชั้นนิยม

    วิธีพิจารณาสมเด็จเกศไชโย 7 ชั้นนิยม

    1. พระเกศปลายแหลม ตรงกลางจะโปนออกแผ่วๆ
    2. พระกรรณเป็นหูบายศรี พระกรรณซ้ายจะเชิดสูงกว่า
    3. พระพักตร์และพระศอ ดูรวมๆคล้ายหัวไม้ขีด
    4. พระสภาพเดิมๆติดคมชัด จะเห็นโคนแขน แทงเข้าไปที่หัวไหล่
    5. อกพระจะนูน ส่วนล่างถัดลงมาจะเป็นเส้นคู่พลิ้ว
    6. ตรงกลางกรอบกระจก ด้านซ้ายมือเราส่วนใหญ่ มักเป็นแอ่งท้องช่างเบาๆ
    7. ขอบกระจกด้านล่างขวามือของเราส่วนใหญ่ มักจะเป็นแอ่งท้องช่าง
    8. ปลายฐานชั้นล่างสุดทั้งสองข้าง จะเป็นเดือยวิ่งชนเส้นครอบแก้ว
    9. เนื้อหาพระละเอียด บางองค์เป็นมันลื่นคล้ายหินสบู่ ถ้าพลิกด้านหลังจะเห็นชัด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2012
  8. สากลนิยม

    สากลนิยม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2012
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +36
    ขอดันกระทู้นี้หน่อยมวลสารเมื่อฝังตัวอยู่ในเนื้อพระทำให้เก่ายากมากปัจจุบันนี้ยังไม่มีใครทำได้ เนื้อพระทำให้เก่ายาก เเม้จะฝังหรือด้วยวิธีใดๆก็ตามธรรมชาติกับการเร่งมันไม่เหมือนกันอยู่เเล้ว ถ้าคนดูเป็น เเต่พิมพ์ทรงยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก ขอบคุณครับ
     
  9. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาสมเด็จเกศไชโย 6 ชั้นอกตัน


    วิธีพิจารณาสมเด็จเกศไชโย 6 ชั้นอกตัน

    1 .พระเกศยาวแหลม ในองค์ชัด ติดเต็มๆตรงกลางจะโปร่งเล็กน้อย
    2. ลำคอจะเล็กและอาจบิดได้ ถือเป็นเรื่องปกติ
    3. พระอุทร พลิ้วเล็กน้อย แต่ดูแข็งกว่าพิมพ์ 7 ชั้นนิยมเล็กน้อย
    4. แขนทั้งสองข้างจะหักศอกน้อยๆ
    5. เข่าจะอิ่มและปลายจะเชิดงอนขึ้น
    6. รอยเหนอะที่ข้างฐาน
    7. รอยแตกรานบนผิวเป็นเหลี่ยมเป็นมุม

     
  10. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พุทธลักษณะและเนื้อพระสมเด็จเกศไชโย


    พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็นพระ 1ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )โดยได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง 

          พระสมเด็จเกศไชโย ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั่นคือจะต้องมีลักษณะของ อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจก เกือบทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องในปัจจุบันให้ความนิยมเป็นอย่างสูงและจัดรวมพระสมเด็จวัดเกศไชโยให้อ ยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม อีกด้วยครับ
     
          การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)มาสร้างพระหลวงพ่อโตหรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ขึ้นไว้ที่นี่ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงโยมมารดาซึ่งได้ร่วงลับไปแล้วและเป็นอนุสรณ์สถานความผ ูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากมารดาเคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยเมื่อตอนท่านยังเล็กๆ ซึ่งตามประวัตินั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)ท่านมักสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับชีวิตของท่านไว้ตามสถานที่ต่างๆ ไว้มากมาย


      พระสมเด็จวัดเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นสมเด็จอีกตระกูลหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์    (โต) พรหมรังษี ทั้งในด้านการปลุกเสก และบรรจุกรุ ส่วนผสมในการสร้างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของดีของวิเศษซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี นำมาผสมกันเป็นเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่ใช้สูตรเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จบางขุนพรหม 

             เนื้อพระสมเด็จวัดเกศไชโย อาจแบ่งได้  3  ลักษณะคือ... เนื้อนุ่ม เนื้อนุ่มปานกลาง และเนื้อแกร่ง
          พระเนื้อนุ่มมีมวลสารและน้ำมันตั้งอิ้วผสมอยู่มาก เรียกว่า เนื้อจัด ส่วนใหญ่มีสีขาวขุ่นอมน้ำตาล (ไม่ใช่คราบเปลื้อนที่ผิว)
         ส่วนพระเนื้อนุ่มปานกลาง มีส่วนผสมที่ได้สัดส่วนลงตัว ส่วนใหญ่สีขาวอมเหลือง
          และพระเนื้อแกร่ง เป็นพระเนื้อแก่ปูน ผิวแห้ง แกร่ง คล้ายเนื้อหินอ่อน มวลสารปรากฏให้เห็นในปริมาณน้อย
            
     
  11. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จเกศไชโย พิมพ์ใหญ่บี ๖ ชั้น

    สมเด็จเกศไชโย พิมพ์ใหญ่บี ๖ ชั้น

    [​IMG]
     
  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาสมเด็จเกศไชโย 6 ชั้นอกตลอด (อกร่อง)



    วิธีพิจารณาสมเด็จเกศไชโย 6 ชั้นอกตลอด (อกร่อง)

    1. พระเกศเป็นลำยาว ในพระสวยจัดๆตรงกลางโป่งออกบางๆคล้ายเปลวเทียว
    2. พระพักตร์ และพระศอคล้ายหัวไม้ขีดในองค์ชัดๆ ตรงกลางพระพักตร์ จะเห็นเป็นสันนูน
    3. วงแขนหักโค้งเบาๆพองาม แลคล้ายถ้วยไวน์
    4. พระอุระและพระอุทร มองรวมๆคล้ายซี่ฟัน สังเกตให้ดี พระอุทรแลคล้ายรากฟันแต่จะไหวพริ้ว อ่อนช้อย
    5. กรอบกระจกด้านข้างองค์พระ โดยมากจะไม่เรียบ แต่จะเป็นแอ่งท้องช้างบางๆ
    6. ใต้กรอบกระจก ในองค์ชัดๆจะเห็นเส้นทิว ยาวบางๆ 2-3 เส้น
    7. การแตกลายงา จะเป็นเหลี่ยมมากกว่าการแตกยิบแบบชามสังกะโลก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2012
  13. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    ยืมหลวงปู่หินไปลงในกระทู้บ้างได้มั้ยครับ
     
  14. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ด้วยความยินดีครับ ผมเชื่อว่าความรู้มีไว้เพื่อการแบ่งปันอยู่แล้วครับ
    เมื่อเรามีข้อมูลมากพอ ความผิดพลาดในการเช่าหาก็จะลดลงครับ
     
  15. แบมบางบ่อ

    แบมบางบ่อ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +26
    องค์นี้ไม่แน่ใจว่าใช่หลวงปู่หินหรือเปล่าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_8125.JPG
      IMG_8125.JPG
      ขนาดไฟล์:
      56 KB
      เปิดดู:
      72
    • IMG_8126.JPG
      IMG_8126.JPG
      ขนาดไฟล์:
      64.2 KB
      เปิดดู:
      63
  16. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ขอบคุณ คุณทิพย์มงคลและคุณพระธาต
    ต้องถือเป็นเกียรติที่ท่านเข้ามาอ่านกระทู้
    และขอบคุณยิ่งสำหรับคำชมครับ
    หวังว่าท่านทั้งสอง จะได้พระแท้ พระดี
    ที่ท่านปรารถนาครับ

    และต้องขอบคุณ คุณ Captainzire
    สำหรับความเสียสละและข้อมูลดีๆ มากมาย
    ที่ทำให้กระทู้นี้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ด้วยการ update
    ข้อมูลให้อย่างสม่ำเสมอครับ
     
  17. แบมบางบ่อ

    แบมบางบ่อ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +26
    เนื้อหามวลสารแบบนี้ถึงยุควัดระฆังหรือเปล่าครับ (ถ่ายไม่ค่อยชัดครับเลยเอามาให้ชมหลายๆภาพนะครับ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_8172.JPG
      IMG_8172.JPG
      ขนาดไฟล์:
      109.2 KB
      เปิดดู:
      88
    • IMG_8173.JPG
      IMG_8173.JPG
      ขนาดไฟล์:
      814.7 KB
      เปิดดู:
      108
    • IMG_8174.JPG
      IMG_8174.JPG
      ขนาดไฟล์:
      785.1 KB
      เปิดดู:
      80
    • IMG_8045.JPG
      IMG_8045.JPG
      ขนาดไฟล์:
      67.2 KB
      เปิดดู:
      110
  18. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นเลื่อนสมณศักดิ์ พ.ศ.2535

    เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นเลื่อนสมณศักดิ์ พ.ศ.2535
    เนื้อทองแดง บล็อคธรรมดา

    เอามาคั่นอารมณ์ พระสมเด็จ สักหน่อย
    เพิ่งเช่ามา เห็นทีไรเป็นต้องเช่า
    อยากเลื่อนสมณศักดิ์กับเขาบ้างมั้งครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.2 KB
      เปิดดู:
      79
    • 02.jpg
      02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.4 KB
      เปิดดู:
      93
  19. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระปิดตา หลวงพ่อคูณ รุ่นบุญญาบารมี

    พระปิดตา หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ รุ่นบุญญาบารมี
    พ.ศ. 2536 เนื้อเงิน พร้อมภาพกล่องเดิมจากวัด
    เช่ามาร้อนๆ เช่นกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.4 KB
      เปิดดู:
      82
    • 02.jpg
      02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.8 KB
      เปิดดู:
      84
    • 04.jpg
      04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.9 KB
      เปิดดู:
      98
  20. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จเกศไชโย พิมพ์ล่ำ ๖ ชั้น

    สมเด็จเกศไชโย พิมพ์ล่ำ ๖ ชั้น

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...