เรียนคุณเอกอิสโร ช่วยชี้แจงความกระจ่างของเรื่องประเทศต้นกำเนิดศาสนาพุทธด้วยครับ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย มเหนทรวรมัน, 10 มกราคม 2011.

  1. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ขอบคุณครับ คุณวสุธรรม คำอธิบาย ใน คคห. ที่ 22 โอเค อ้างอิง ปีโล ตามกเบื้องจาร แต่ เสียดาย คำอธิบาย ใน คคห. ที่ 23 กลับ ว่าไปตาม ความเห็นของ นักวิชาการรุ่นใหม่

    [​IMG]

    เพราะที่ เจ้าคุณอ่ำ อ่านไว้ มี ๒ บรรทัด บรรทัดที่ ๒ ถูกมือดี ทำลายหลักฐานไปแล้ว เหลือแต่ภาพถ่าย ซึ่ง ๒ บรรทัดนั้น ท่านเจ้าคุณอ่านไว้ว่า

    "ชื่อ บุญวระฤษิงู ครฺ สมาธิคุปต
    พุทธพัสสา ๔๔"

    แปลว่า ชื่อบุญพระฤษีรักษาสมาธิ ณ เขางู พุทธพรรษาที่ ๔๔
     
  2. Amantrai

    Amantrai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +162
    นี่กระมังที่อินเดียยังมีฮินดูอยู่ เพราะด้วยฤทธิ์ของสมณโคดมท่านตามเนื้อหาในพุทธมงคลชัยคาถา ท่านเอาชนะได้หมด แต่ทำไมท่านไม่ไปทำให้พวกพราหมณ์มานับถือพุทธให้หมด

    ;););)
     
  3. Amantrai

    Amantrai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +162
    มีเกี่ยวข้องกับจังหวัดลำปางด้วยหรือ?

    บ้านเกิดผมนะนั่น มิน่าเล่าสิ่งที่ผมสงสัยมานับตั้งแต่ผมได้รับรู้เรื่องราวของตัวเอง

    ทำไมผมถึงถูกเลือก?

    ในเมื่อผมเกิดที่บ้านนอกในต่างจังหวัด คือที่ลำปาง แต่เทพเบื้องบนของผมกลับเป็นเทพสมัยก่อนพุทธกาลในประเทศจีน บางทีเมื่อสมัยโน้นแถบลำปางอาจจะมี แต่หลักฐานถูกทำลายสูญหายไปหมดแล้ว หรือไม่ผมยังไม่ได้พลิกแผ่นดินลำปางค้นหาดู เลยยังไม่รู้

    ;););)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2011
  4. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ก็ไปลองแกะรอยที่ พระธาตุลำปางหลวง กับ พระธาตุซาวหลัง ดูนะครับ
     
  5. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809

    ข้อความ ที่ผมขีดเส้นใต้ อาจจะเป็นการเข้าใจผิด ว่า "ฤทธิ์" จะสามารถทำทุกอย่างได้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งในพุทธชัยมงคลคาถา ก็ไม่ใช่การแสดงฤทธิ์ของพระพุทธองค์ทุกข้อ อย่างน้อย บทนันโทปนันทะ ซึ่ง พระพุทธองค์ให้ "พระโมคคัลลานะ" ไปทรมานนาคที่ชื่อนันโทปนันทะ

    และ การที่ใครจะมานับถือพุทธ หรือ สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ก็ใช่ว่า ฤทธิ์ของพระพุทธองค์จะช่วยได้

    ดังตัวอย่าง สัจจนิครนถ์ ที่เป็นศิษย์ของ นิครนถนาฏบุตร ที่ได้พบและสนทนาธรรมกับพระพุทธองค์ แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ เพราะขาด "อุปนิสัย" ดัง ปรากฏในพระอรรถกถา ว่า..

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ๒ พระสูตรนี้ แก่<o></o>
    นิครนถ์นี้. พระสูตรต้นมีภาณวารเดียว พระสูตรนี้ มีภาณวารครึ่ง ถาม<o></o>
    ว่า นิครนถ์นี้ แม้ฟัง ๒ ภาณวาร ครึ่งแล้ว ยังไม่บรรลุธรรมาภิสมัย ยัง<o></o>
    ไม่บวช ยังไม่ตั้งอยู่ในสรณะ ดังนี้แล้ว เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาค<o></o>
    เจ้า จึงทรงแสดงธรรมแก่เขาอีก ตอบว่า เพื่อเป็นวาสนาในอนาคต. จริง<o></o>
    อยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า บัดนี้อุปนิสัยของนิครนถ์นี้ ยังไม่มี แต่เมื่อ<o></o>
    เราปรินิพพานล่วงไปได้ ๒๐๐ ปี-เศษ ศาสนาจักประดิษฐานอยู่ตัมพปัณ-<o></o>
    ณิทวีป นิครนถ์นี้จักเกิดในเรือนมีสกุลในตัมพปัณณิทวีปนั้น บวชในเวลาถึง<o></o>
    พร้อมแล้ว เรียนพระไตรปิฏก เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต์พร้อมด้วย<o></o>
    ปฏิสัมภิทา เป็นพระมหาขีณาสพ ชื่อว่า กาลพุทธรักขิต พระผู้มีพระภาค<o></o>
    เจ้าทรงเห็นเหตุนี้ จึงทรงแสดงธรรมเพื่อเป็นวาสนาในอนาคต.<o></o>

    เมื่อพระศาสนาประดิษฐานในตัมพปัณณิทวีปนั้สัจจกะแม้นั้น<o></o>
    เคลื่อนจากเทวโลกเกิดในสกุลแห่งอำมาตย์ สกุลหนึ่ง. ในบ้านสำหรับภิกขา<o></o>
    จารแห่งทักษิณาคิริวิหาร บรรพชาในเวลาเป็นหนุ่ม สามารถบรรพชา<o></o>
    ได้เรียนพระไตรปิฏก คือ พระพุทธพจน์ บริหารคณะหมู่ภิกษุเป็นอันมาก<o></o>
    แวดล้อมไปเพื่อจะเยี่ยมพระอุปัชฌาย์ ลำดับนั้น อุปัชฌาย์ของเธอคิดว่า<o></o>
    เราจักท้วงสัทธิวิหารริก จึงบุ้ยปากกับภิกษุนั้น ผู้เรียนพระไตรปิฏกคือพระ<o></o>
    พุทธพจน์มาแล้ว ไม่ได้กระทำสักว่าการพูด ภิกษุนั้นลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง<o></o>
    ไปสำนักพระเถระ ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อกระผมทำคันถกรรมมาสำ<o></o>
    นักของท่าน เพราะเหตุไร ท่านจึงบุ้ยปาก ไม่พูดด้วย กระผมมีโทษอะไร<o></o>
    หรือ. พระเถระกล่าวว่า ท่านพุทธรักขิต ท่านทำความสำคัญว่า ชื่อว่า<o></o>
    บรรพชากิจของเราถึงที่สุดแล้ว ด้วยคันถกรรมประมาณเท่านี้หรือ ท่านพุทธ<o></o>
    รักขิต. กระผมจะทำอะไรเล่าขอรับ. พระเถระกล่าวว่า เธอจงละคณะตัด<o></o>
    ปปัญจธรรมไปสู่เจติยบรรพตวิหาร กระทำสมณธรรมเถิด. ท่านตั้งอยู่ใน<o></o>
    โอวาทของพระอุปัชฌาย์กระทำอย่างนั้น จึงบรรลุพระอรหัตต์พร้อมด้วยปฏิสัม<o></o>
    ภิทา เป็นผู้มีบุญ พระราชาทรงบูชา มีหมู่ภิกษุเป็นอันมากเป็นบริวาร<o></o>
    อยู่ในเจติยบรรพตวิหาร.<o></o>

    ดังนั้น การที่ ใครผู้ใดจะบรรลุธรรมาภิสมัย จึงขึ้นอยู่กับอุปนิสัย หรือนิสัยเก่าแต่หนหลังที่สั่งสมมา ไม่ใช่อุปนิสัยแบบที่ใช้ในภาษาไทยปัจจุบันนะครับ

    จึงจะเห็นว่า เมื่อพระพุทธองค์จะเสด็จไปโปรดผู้ใด ท่านก็เล็งข่ายพระญาณ เพื่อตรวจดูก่อน ว่า ใครจะมีอุปนิสัยถึงพร้อมแล้ว ไกลเพียงใด ท่านก็เสด็จไป

    ส่วนฮินดู ในอินเดีย ก็ไม่ใช่พราหมณ์ ที่ มีอยู่ในพระไตรปิฎก และอรรกถา แต่เป็นศาสนาหรือลัทธิใหม่ ที่ตั้งโดยศังกราจารย์ เมื่อ พ.ศ. ได้ พันปีเศษแล้ว โดยรวบรวม เอาข้อดีของศาสนาต่างๆ มารวมกัน ทำนอง "บริษัทขายตรงแบบหลายชั้น ที่เปิดทีหลัง ก็เอาแผนการตลาดที่ดีๆ ของบริษัท เก่าๆ มารวมกัน" โดยรวมเอาคำสอนของศาสนาพุทธเข้าไปด้วย เพียงแต่ เป็นพุทธที่แปรสถาพไปจากดั้งเดิมไปแล้ว เพราะศาสนาพุทธที่เผยแพร่เข้าไปในอินเดียนั้น เป็นหมู่คณะที่แตกไปจากเถรวาทบ้าง เป็นอลัชชีที่ถูกขับออกไปจากมัชฌิมประเทศ ชมพูทวีป ตั้งแต่ครั้งพระเจ้าอโศกบ้าง จึงไม่มีโอกาสได้ซึมซาบพระสัทธรรมที่แท้ มีแต่สัทธรรมปฏิรูป ดังที่เหลือหลักฐาน ซึ่งอินเดียได้ส่งต่อ พระพุทธศาสนา เข้าไปสู่จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียตนาม นั่นเอง

    พราหมณ์ ก็คือ พราหมณ์
    ฮินดู ก็คือ ฮินดู

    แต่นักการศาสนา กลับ มาเรียกต่อกันว่า พราหมณ์-ฮินดู ให้เข้าใจกันผิดๆ เรื่อยมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2012
  6. Dongky

    Dongky Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +84
    แล้วถ้าหนังสือที่คุณค้นคว้ามาถูกฝรั่งต้มล่ะ


    คุณจะทำไง

    ว่าแต่หลักฐานอื่นๆฝรั่งมันต้ม

    แล้วถ้าหลักฐานที่คุณมีอยู่นะตอนนี้ถูกฝรั่งต้มมั่งล่ะ


    ไม่คิด ไม่คิด
     
  7. Krittikorn

    Krittikorn สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +1
    ประวัติศาสตร์นั้นเราทราบมาจากผู้ที่บันทึกไว้ ซึ่งถ้าไม่มีผู้ใดแย้งเราจะคิดว่าประวัติศาสตร์นั้นถูกต้องเสมอ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...