ข้อธรรมพระอริยสงฆ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อโศ, 12 มกราคม 2012.

  1. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวราราม

    ถาม : ตอนที่หยิบข้อธรรมะขึ้นมาพิจารณา ให้เป็นวิปัสสนานี่ ต้องใช้สมาธิแบบไหน ?

    ตอบ : ต้องออกมาจากสมาธิก่อน มาอยู่ในจิตปกติก่อน

    ถาม : ไม่ใช่อยู่ในอุปจาร ออกมาเป็นปกติเลย ?

    ตอบ : ออกมาเป็นปกติ มารับรู้ภายนอกก่อน แล้วค่อยพิจารณา ต้องพิจารณาตลอดเวลาเลย ในขณะที่ไม่ได้อยู่ในสมาธิ แทนที่จะปล่อยให้จิตเป็นเครื่องมือของกิเลส ต้องดึงเอามาเป็นเครื่องมือของธรรมะ พอออกจากสมาธิปั๊บ ถ้าไม่เคยพิจารณา จะกลับไปคิดตามกิเลสทันที กิเลสให้คิดว่า นั่งมานานแล้ว เมื่อยแล้ว หาอะไรมาดื่มสักหน่อย หรือนอนสักหน่อย หรือเปิดวิทยุฟังสักหน่อย นี่ไปทางกิเลสแล้ว อย่าปล่อยให้มันทำอย่างนั้น ต้องดึงมาพิจารณาเรื่องเกิดแก่เจ็บตาย พิจารณาอาการ ๓๒ ของร่างกาย เป็นต้น

    ถาม : ถอยออกมาแล้วก็พิจารณา พิจารณาแล้วก็กลับไปเข้าสมาธิใหม่ ทำอย่างนี้ตลอดเวลาใช่หรือไม่ ?


    ตอบ : ต้องสลับกันทำ อย่าทำอย่างเดียว ทำอย่างเดียว เหมือนกับเดินขาเดียว ปัญญากับสมาธิเป็นเหมือนเท้าทั้ง ๒ ข้างของเรา เวลาก้าวเท้าซ้าย ก็ใช้เท้าขวายัน เวลาก้าวเท้าขวา ก็ใช้เท้าซ้ายยัน สลับกันไป ถ้าพิจารณาอย่างเดียวจิตจะล้าจะเพลีย จะหมดความสงบ จะไม่เป็นเหตุเป็นผล จะฟุ้งซ่านขึ้นมา เป็นอุทธัจจะขึ้นมา ตอน นั้นต้องกลับไปทำสมาธิให้สงบตัวลง พักจิตให้ได้กำลัง เหมือนกับคนตัดไม้ เวลาตัดใหม่ๆ มีดก็คมคนตัดก็มีแรง พอตัดไปสักระยะหนึ่ง มีดก็จะทื่อ คนตัดก็จะเมื่อยล้าหมดแรง ก็ต้องหยุดพัก กินข้าว พักผ่อนหลับนอน ลับมีดให้คม แล้วค่อยออกไปตัดไม้ต่อ การพิจารณาปัญญาเพื่อตัดกิเลส ก็เป็นเหมือนกับการตัดไม้ ตอนพิจารณาใหม่ๆ ก็เป็นเหตุเป็นผล เพราะจิตมีความสงบ มองอะไรก็มองไปตามความจริง แต่พอความสงบหายไป ความหลงก็จะเข้ามาแทนที่ อารมณ์ก็จะเข้ามาแทนที่ พอจะให้ตัดก็จะเสียดาย ตัดไม่ลง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2012
  2. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    ถาม : ถ้าไม่ได้ถอยกลับไปที่สมาธิ มันฟุ้งไปนี่ ถึงขั้นวิปลาสได้หรือไม่ ?

    ตอบ : ได้ ถ้าไม่เข้าสมาธิ บางคนพอออกทางปัญญาแล้ว ก็ไม่กลับไปทำสมาธิเลย คิดว่าได้สมาธิแล้ว ก็เลยพิจารณาอย่างเดียว จนเกิดอุทธัจจะ

    แม้แต่ขั้นของพระอนาคามีที่บำเพ็ญเพื่อเป็นพระอรหันต์นี้ ก็ยังมีอุทธัจจะอยู่ อุทธัจจะนี้มีอยู่ ๒ ระดับคือ ของปุถุชน ๑ เป็นนิวรณ์ และของพระอนาคามี ๑ เป็นสังโยชน์ เวลาพิจารณาเพื่อทำลายอวิชชา ต้องคุ้ยเขี่ยขุดค้น พิจารณาไม่หยุดไม่หย่อน จนฟุ้งซ่านขึ้นมาในใจ แต่ต่างจากความฟุ้งซ่านของขั้นปุถุชน เป็นความฟุ้งซ่านที่ละเอียด บางทีบำเพ็ญเพียรแบบไม่นอนเลย

    อย่างหลวงตาท่านเล่าว่า ท่านเคยพิจารณา ๓ คืน ๓ วันไม่หลับไม่นอนเลย จนเลยเถิดไป จึงต้องย้อนกลับเข้ามาทำจิตให้สงบก่อน เพราะพิจารณาไม่ได้ผลแล้ว ต้องย้อนกลับเข้ามาทำจิตให้สงบ ระงับความฟุ้งซ่าน ระงับอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นมา ทำให้ไม่เห็นความจริง พอสงบแล้วค่อยออกมาพิจารณาใหม่ จะเห็นคำตอบของปัญหาที่ติดอยู่


    สมาธิกับปัญญาจึงเป็นของคู่กัน เป็นเพื่อนกัน สนับสนุนกันและกัน สมาธิสนับสนุนปัญญา เพื่อให้แหลมคมและมีพลัง ปัญญาเป็นตัวที่จะตัดกิเลส เพราะสมาธิตัดไม่ได้ ถ้าได้สมาธิแล้วไม่ออกทางปัญญาเลย กิเลสก็จะไม่ตาย

    เวลาทำสมาธิ กิเลสจะถูกกำลังของสมาธิกดเอาไว้ เหมือนกับไม่มีกิเลสเลยในขณะที่อยู่ในสมาธิ แต่พอออกจากสมาธิ ถ้าไม่เอาจิตมาคิดในทางปัญญา มันก็จะไปในทางกิเลสเหมือนเดิม ไปโลภไปโกรธไปหลงเหมือนเดิม ไม่ได้ตัดอุปาทาน ความผูกพันกับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของภายนอก บุคคลภายนอก หรือของภายใน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2012
  3. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    ถาม : การทำสมาธิสลับกับการพิจารณา ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาธิที่จิตรวมเป็นหนึ่ง(เอกัคคตาจิต)ก่อนใช่หรือไม่ ? คือพิจารณาสลับไปสลับมาได้เลย ถึงแม้จิตยังไม่รวมก็ตาม ?

    ตอบ : ถ้าไม่รวมจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร การรวมของจิตนี้ เป็นเหมือนการทำตาชั่งให้อยู่ตรงศูนย์ ตรงอุเบกขา เวลาพิจารณาจะเที่ยงตรงเหมือนกับตาชั่ง ถ้าเอียงไปทางบวกหรือทางลบ เวลาเอาของไปชั่งน้ำหนัก จะไม่ได้น้ำหนักที่แท้จริง ถ้าของหนัก ๑๐ กิโลฯ แต่ตาชั่งเอียงไปทางบวก ๑ กิโลฯ เวลาชั่งจะหนัก ๑๑ กิโลฯ จะไม่ได้ ๑๐ กิโลฯ ถ้าลบ ๑ กิโลฯ เวลาชั่งจะได้ ๙ กิโลฯ ใจก็เหมือนกัน ถ้าไม่รวมเป็นอุเบกขา จะมีอคติทั้ง ๔ คือรักชังกลัวหลงอยู่ เวลาพิจารณาจะถูกอคติทั้ง ๔ นี้หลอกล่อ ทำให้ไม่สามารถตัดได้


    ถาม : ถ้าจิตไม่รวม เราก็จะพิจารณาไม่ได้ ?

    ตอบ :ได้ แต่เป็นเหมือนมีดทื่อ คนตัดก็ไม่มีแรง ตัดได้ทีละนิดทีละหน่อย แต่จะไม่ขาด ต้องทำไปเรื่อยๆ ต้องซ้อมไปก่อน ซ้อมนั่งสมาธิซ้อมใช้ปัญญา ควรบำเพ็ญสมาธิและปัญญาสลับกันไป ช่วงนี้นั่งสมาธิ ช่วงหน้าก็พิจารณา ถึงแม้ยังตัดไม่ได้ พิจารณาเพื่อให้เกิดความชำนาญ พอจิตรวมแล้วปัญญาจะไปได้อย่างรวดเร็ว ต้องทำสลับกันไป


    ถาม ให้พิจารณาไตรลักษณ์ ?

    ตอบ พิจารณาไตรลักษณ์ของสิ่งภายนอกก่อน รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ว่ามีการเปลี่ยนแปลง ไม่อยู่กับเราไปตลอด อย่าไปยึด อย่าไปติด อย่าไปเสียดาย ได้อะไรมาแล้วสักวันก็ต้องจากเราไป คนบางคนไม่มีลูก ก็ไปซื้อหมามาเป็นลูก พอหมาตายก็ร้องห่มร้องไห้ กินไม่ได้นอนไม่หลับ สักพักหนึ่งก็ลืมไป ก็ไปซื้อตัวใหม่มาเลี้ยงอีก ไม่จดจำ ไม่พิจารณาว่าเป็นไตรลักษณ์ ไม่เห็นอนิจจังไม่เที่ยง ไม่ได้พิจารณา ถ้าพิจารณาเห็นชัดแล้ว ก็จะไม่ซื้อหมามาเลี้ยงอีก คนเราเวลาเหงาก็อยาก จะมีเพื่อน มีอะไรทำ อยู่เฉยๆไม่ได้ ถ้าทำสมาธิได้ ก็ไม่ต้องมีเพื่อนแก้เหงา เพราะสมาธิเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด อยู่คนเดียวก็นั่งสมาธิไป พอจิตสงบก็มีความสุขพอ มีสมาธิแล้วจะตัดง่าย จะเห็นโทษ จะเห็นทุกข์ จิตกระเพื่อมขึ้นมาก็จะเห็นชัด เวลาทุกข์กับอะไรจิตจะกระเพื่อมขึ้นมาทันที ถ้าไม่มีสมาธิจะไม่เห็น เพราะกระเพื่อมตลอดเวลา จึงไม่เห็นความแตกต่าง ระหว่างความกระเพื่อมและไม่กระเพื่อม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2012
  4. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    ถาม : การพิจารณานี้เป็นการซ้อมจินตนาการ เรื่องเกิดแก่เจ็บตาย ให้คิดอยู่เรื่อยๆใช่ไหม ถึงแม้จะไม่มีพื้นฐานทางสมาธิก็ทำได้ ?

    ตอบ : ใช่ แต่จะทำไม่ได้ต่อเนื่อง ทำไม่ได้มากพอ

    ถาม : แต่ก็ต้องทำไปเรื่อยๆ?

    ตอบ : ทำไป แต่จะไม่ได้ผลเป็นกอบเป็นกำ เหมือนกับที่ได้สมาธิแล้ว เพราะจะทำได้อย่างต่อเนื่องจนฝังลึกอยู่ในใจ ถ้ายังไม่มีสมาธินี่จะทำได้แป๊บเดียว แล้วก็ไปทำอย่างอื่น พอจะพิจารณาก็ไปดูทีวีเสียก่อน แล้วก็มาสารภาพ เพราะไม่มีสมาธิ ถ้ามีสมาธิจะไม่ไปทางรูปเสียงกลิ่นรส ถ้ามีใครว่าพิจารณาได้มรรคผลโดยไม่ต้องมีสมาธิ แสดงว่าคนนั้นยังไม่มีสมาธิ ยังไม่เห็นคุณค่าของสมาธิ


    หลวงปู่มั่นเวลาสอนหลวงตาครั้งแรก ตอนที่หลวงตาไปขออยู่กับท่าน หลวงปู่มั่นก็สอนว่า ความรู้ต่างๆที่ท่านมหาฯได้ศึกษามาถึงระดับมหาเปรียญนี้ ยังไม่มีประโยชน์กับจิตใจ ยังตัดกิเลสไม่ได้ ยังทำให้จิตสงบไม่ได้ ต้องพยายามทำจิตให้สงบให้ได้ก่อน เอาความรู้ที่เรียนมาวางไว้บนหิ้งก่อน ไม่ได้ประมาทความรู้นี้ มีประโยชน์ แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ ถ้าจิตมีความสงบเมื่อไหร่แล้ว ความรู้นี้จะเข้ามาประสานเอง จะทำหน้าที่ของมันทันที ถ้าไม่มีความรู้นี้ มันก็จะไม่มา เราจึงต้องเตรียมไว้ก่อน แต่ตอนนี้ยังขาดความสงบอยู่ พอมีความสงบแล้ว ความรู้ที่เรียนมาจะไหลเข้าไปในใจทันที เข้าไปปราบกิเลส ปราบสมุทัยที่มีอยู่ในใจทันที ถ้าไม่มีก็จะไม่ไหลเข้าไป ตอนที่ทำจิตให้สงบต้องลืมความรู้ที่ได้เรียนมา ให้มีสติรู้อยู่กับกรรมฐาน จะเป็นอานาปานสติ อสุภกรรมฐาน มรณานุสติ หรืออาการ ๓๒ กายคตาสติ ก็ได้ทั้งนั้น แต่จะเป็นการทำจิตให้สงบนิ่ง ให้ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างชั่วคราว พอออกมาจากความสงบแล้ว ควรคิดทางปัญญาเพื่อดับกิเลส อย่าคิดเรื่องอื่น

    สมาธิจะเป็นบาทฐาน ของอริยสัจ ๔ จะทำให้เห็นอริยสัจ ๔
    ถ้าจิตสงบแล้วพอกิเลสเริ่มทำงาน ทุกข์จะปรากฏขึ้นมาทันที ความสงบที่มีอยู่จะหายไปทันที จะรู้ในใจทันทีเลย

    อริยสัจ ๔ ไม่ได้อยู่ที่ไหน อยู่ที่ใจของเรานี่เอง แต่ตอนที่จิตไม่สงบนี้จะไม่เห็น

    เพราะมีเรื่องอื่นมากลบหมด เหมือนกับเสียงนกนี้ ถ้าเอาเครื่องปั่นไฟมาปั่น เอาเครื่องขยายเสียงมาเปิด เสียงนกเหล่านี้จะหายไปหมด ความจริงมีอยู่ แต่เราไม่ได้ยิน เพราะถูกเสียงอื่นกลบไปหมด พอปิดเครื่องปั่นไฟปิดเครื่องขยายเสียง ก็จะได้ยินเสียงนกทัน
    ที


    จิตก็เช่นกัน ที่ไม่เห็นอริยสัจ ๔ ก็เพราะรูปเสียงกลิ่นรสต่างๆมากลบมาบังไว้หมด
    เรื่องราวต่างๆที่สังขารความคิดปรุงแต่งแต่งขึ้นมา จะมาบดบังไว้หมด จนไม่เห็นอริยสัจ ๔ พอจิตสงบแล้ว ถ้ามีสติดูที่จิตอยู่เรื่อยๆ จะเห็นอริยสัจ ๔ ที่ปรากฏอยู่ เวลาเกิดความอยากขึ้นมา จะรู้เลยว่าทุกข์แล้ว ทุกข์เพราะความอยาก ก็จะตัดความอยากทันที ถึงจะเป็นปัญญา

    ปัญญาที่ตัดกิเลสได้ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องมีสมาธิเป็นพื้นฐานก่อน
    แต่การพิจารณาไว้ล่วงหน้าก่อนก็ต้องทำ เพื่อเตรียมรับกับเหตุการณ์จริงที่จะเกิดขึ้น เหมือนเวลาทำงาน ต้องสอนเราก่อนว่า ในกรณีถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ จะต้องทำอย่างไร พอเกิดเหตุการณ์จริงจะได้ทำได้ทันที ก็เหมือนกับในกรณีที่เราเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วหมอรักษาเราไม่ได้ จะทำอย่างไร ต้องซ้อมไว้ก่อน ซ้อมวิธีปฏิบัติทุกขเวทนา ความเจ็บปวดของร่างกาย ซ้อมทำจิตให้สงบนิ่ง จะเจ็บจะปวดอย่างไรก็ปล่อยมันไป อย่าไปสนใจ อย่าไปอยากให้มันหาย ถ้าไม่อยากให้หายแล้ว ความทุกข์ใจจะไม่เกิดขึ้น ใจจะสงบ จะรับความเจ็บของร่างกายได้อย่างสบาย แบบไม่ต้องทน เพียงแต่รับรู้เท่านั้นเอง ความตายก็เช่นเดียวกัน ซ้อมตัดคอตัดแขนตัดขา เอาไปเผา

    ถาม : หลังจากนั้นมันจะเฉยๆ ?


    ตอบ : จะไม่กลัวเหมือนเมื่อก่อน ขั้นต่อไปก็ไปหาที่ท้าทายต่อความตาย ดูว่ายังกลัวอยู่หรือเปล่า ถ้าใจนิ่งก็แสดงว่าหมดปัญหา ต้องหาที่ทดสอบจิตใจ ทดสอบปัญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2012
  5. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    ถาม : งูเข้ามาในกุฏิในวันสุดท้าย ยาว ๒ เมตร ตอนที่ไม่รู้ รู้สึกไม่กลัว แต่พอรู้แล้วก็กลัว ...

    ตอบ : แสดงว่ายังไม่ปล่อยวาง ยังกลัวความตาย ยังกลัวงูอยู่

    ถาม : แต่พอพิจารณาว่าตายก็ตาย ก็จะไม่กลัว งูตัวอื่นก็จะไม่กลัว เพราะรู้ว่างูต้องมีอยู่ทั่วไป ความกลัวก็หายไปเอง แต่กว่าจะหายก็ นานมาก หลายนาที ทำให้รู้ว่า ถ้าไม่ปรุงแต่งมันก็แค่นั้นเอง


    ตอบ : คืบหน้าไปมาก แสดงว่าได้เอาไปปฏิบัติจริง สมาธิ นี้สำคัญมาก อย่ามองข้ามสมาธิ อย่าไปเชื่อคนที่บอกว่าสมาธิไม่จำเป็น ในมรรค ๘ จะมีสัมมาสมาธิไว้ทำไม ในไตรสิกขาศีลสมาธิปัญญา จะมีสมาธิไว้ทำไม ในทานศีลภาวนา ก็มีสมถภาวนาวิปัสสนาภาวนา จะไปลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้าทำไม หลวงปู่มั่นก็สอนหลวงตามหาบัวให้ทำจิตให้สงบก่อน ยืนยันกันอยู่อย่างนี้ ไม่รู้จะหักล้างไปทำไม อย่าไปสนใจ คนที่ทำสมาธิไม่ได้ ก็จะบอกว่าไม่ต้องทำ ให้ทำวิปัสสนาไปเลย

    ที่บางคนไม่ต้องทำสมาธิก่อนเพราะเขามีแล้ว เช่นพระปัญจวัคคีย์ เวลาพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม แสดงอริยสัจ ๔ ก็เจริญวิปัสสนาตามได้เลย เพราะมีสมาธิกันทุกคนอยู่แล้ว สิ่งที่ยังไม่ได้ก็คือปัญญา ไม่ได้อริยสัจ ๔ จึงทรงสอนอริยสัจ ๔ เลย พอสอนเสร็จก็บรรลุเลย เพราะมีศีลมีสติมีสมาธิแล้ว แต่ไม่มีปัญญาที่จะเห็นอริยสัจ ๔ ที่มีอยู่ในใจ ความทุกข์นี้อยู่ในใจ เกิดจากสมุทัย ดับได้ด้วยมรรค เวลา ที่ได้ยินได้ฟังว่าท่านเหล่านั้นบรรลุธรรมได้โดยไม่ต้องทำสมาธิเลย ก็อย่าไปคิดว่าเขาไม่มีสมาธินะ เขามีอยู่แล้ว เขาทำมาแล้ว อย่างองคุลีมาลนี้ ฆ่าคนตั้ง ๙๙๙ คนยังบรรลุได้เลย พวกเราลองไปฆ่าดูสิ จะบรรลุได้หรือไม่ เอาคนอื่นเป็นตัวอย่างได้อย่างไร ไม่ได้ เป็นเรื่องเฉพาะตัว แต่ละคนมีความเป็นมาไม่เหมือนกัน ต้องดูตัวเราเป็นหลัก

    เราไม่มีอะไร ก็ต้องทำให้มี ศีลเราครบถ้วนหรือยัง? จาคะหรือทานเราทำเต็มที่หรือยัง? หรือยังหวงยังเสียดายสมบัติอยู่ ทั้งๆที่ไม่จำเป็นต้องมีไว้เลย เก็บไว้ทำไม? ส่วนที่จำเป็นก็ต้องเก็บไว้ ส่วนที่ไม่จำเป็นเก็บไว้ให้เกะกะทำไม ต้องสำรวจตัวเรา

    อย่าให้กิเลสหลอกว่ามีทานมีศีลมีสมาธิแล้ว วิปัสสนาเลย จะกลายเป็นวิปัสสนูไป ได้ขั้นนั้นได้ขั้นนี้แล้ว เป็นอรหันต์นกหวีดไป เกิดจากความคิดปรุงแต่ง จินตนาการไปเอง ไม่ใช่ความจริงของจิต

    วิธีที่จะวัดความจริงของจิต ให้ดูว่าจิตนิ่งไหม กระเพื่อมไหม เวลาสัมผัสอะไร จิตกระเพื่อมหรือเปล่า ตกใจหรือเปล่า หวาดกลัวหรือเปล่า ยังหิวยังอยากหรือเปล่า ตัวนี้ต่างหากเป็นตัววัด ไม่ใช่ตัวจินตนาการ

    ที่คิดว่าศีลก็มีแล้ว สมาธิก็มีแล้ว ปัญญาก็มีแล้ว ได้โสดาฯแล้ว ไม่สงสัยแล้ว ว่าไปตามจินตนาการ เป็นโสเดา หลวงปู่แหวนท่านว่าเป็น”ธรรมเมา” ไม่ใช่ธรรมะ เถียงกันปากเปียกปากฉีก หน้าดำคร่ำเครียด เอาแพ้เอาชนะกัน

    ต้องเอานิโรธเป็นตัววัด เอาความสงบนิ่งของจิตเป็นตัววัด นิโรธก็คือความสงบนิ่งของจิตนั่นเอง ไม่ทุกข์ ไม่หวั่นไหว ไม่วิตกว้าวุ่นขุ่นมัว ว่างเหมือนท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก ต้องว่างอย่างนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2012
  6. ปอ มัชฌิมา

    ปอ มัชฌิมา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +13
    หยิบข้อธรรมะขึ้นมาพิจารณา ให้เป็นวิปัสสนา ต้องใช้สมาธิแบบไหน ?

    ดูตัวอย่าง การพิจารณาในสมัยพุทธกาล ก็ได้ ค่ะ อย่างเช่น
    นางปฏาจาราเถรี ที่พิจารณาน้ำ ขณะเอาน้ำล้างเท้า
    สุภัททปริพาชก มองดวงจันทร์ แล้วนำมาไคร่ครวญ
    หรือ พระพาหิยะ ที่น้อมคำสอน มาพิจารณา

    ฉะนั้นการพิจารณา สามารถทำได้ ในทุกโอกาส เพราะใช้อารมณ์ เพียงแค่อารมณ์อุปจารสมาธิ ก็ทำได้แล้ว
     
  7. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    หลวงพ่อชาว่า "ทำให้มันสุด ขุดให้มันถึง"


    ทำให้สุดสิ นั่งสมาธิครั้งสองครั้ง ห้าครั้งสิบครั้ง จะเลิกแล้ว

    มันก็ไม่พบความสงบสิ ทำจนมันพบความสงบเลย

    ทำให้มันพบกับความสงบ วันนี้ไม่พบความสงบ พรุ่งนี้ทำอีก พรุ่งนี้ไม่พบ มะรืนทำอีก

    ทำมันจนเจอความสงบเลย

    ไม่ใช่.. จะทำยังไง จิตไม่ค่อยสงบ
    อยากจะหากรรมฐานที่ลัดหน่อย อยากจะหากรรมฐานที่ถูกจริตหน่อย หาง่ายๆ



    โฮ้!กรรมฐานที่เป็นกลางมีอยู่แล้ว กำหนดลมหายใจพุทโธเป็นกลางแล้ว


    "แต่เรามีความขยันหมั่นเพียรพอมั้ย? มีความอดทนพอมั้ย?"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2012
  8. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    วัดบูรพาราม


    การศึกษาธรรมด้วยการอ่านการฟัง สิ่งที่ได้ก็คือ สัญญา (ความจำได้)
    การศึกษาธรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ สิ่งที่เป็นผลของการปฏิบัติคือ ภูมิธรรม



    แม้อ่านจบพระไตรปิฎกหมดแล้ว จำพระธรรมได้มากมาย มีคนเคารพนับถือมาก
    สามารถอธิบายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างละเอียดแค่ไหนก็ตาม

    ถ้ายังประมาทอยู่
    ก็ยังว่าไม่ได้รสชาดของพระพุทธศาสนาแต่ประการใด
    เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของภายนอกเท่านั้น เมื่อพูดถึงประโยชน์ ก็เป็นประโยชน์ภายนอก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2012
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    โมทนาสาธุธรรมนะครับ...ท่าน <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->อโศ..ผมเอาของครูบาอาจารย์อีกท่านมาร่วมแสดงด้วย....ว่าด้วยเรื่องสมถะและวิปัสสนา...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2012
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]




    สมาธิขั้นอุปจาระก็ดี ขั้นสมถะก็ดี เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภาวนาจะต้องรีบเร่งเอาให้ได้ เมื่อเรามีสมาธิขั้นอุปจาระ หรือขั้นอัปปนา ได้ขื่อว่าเรามีสมาธิที่ดำเนินเข้าไปสู่ การทำจิตของตนเองให้เป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในตอนนี้จิตเป็นตัวของตัวเองโดยเด็ดขาดอัตตา ทีปะ มีตนเป็นเกราะคือเป็นที่ยึด อัตตะ สะระณา มีตนเป็นที่พึ่ง อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ มีตนเป็นที่พึ่งของตนนี่ถึงแล้ว อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตนมันอยู่ที่ตรงนี้ ในตอนแรก เราพยายามทำจิตของเราให้เป็นที่พึ่งของตนให้ได้เสียก่อน ในเมื่อจิตมีสมาธิ จิตมีความเป็นที่พึ่งของตนได้โดยเด็ดขาด แม้ว่าจิตนั้นจะมีแต่ความสงบ นิ่ง อยู่เรื่อย ๆ ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องไปเดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ต้องไปนึกว่า เมื่อไรจิตมันจะเกิดวิปัสสนา เมื่อไรจะเกิดภูมิความรู้ เมื่อไรจะได้ฌาน เมื่อมีสมาธิมันก็มีฌานจิตสงบลงเป็นอุปจารสมาธิ มีภาวนาอยู่ก็มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ก็ได้ฌานที่ ๑ แล้ว เมื่อจิตหยุดภาวนา จิตนิ่ง สว่างไสว มีปีติ มีสุข มีความเป็นหนึ่ง ก็ได้ขื่อว่าฌานที่ ๒ เมื่อปีติหายไปมีแต่สุขกับเอกัคคตา ก็ได้ฌานที่ ๓ เมื่อสุขหายไปเพราะกายหายไปหมดแล้วมีแต่เอกัคคตากับอุเบกขาจิตก็ได้ฌานที่ ๔ นี่ภาวนาได้ฌานแล้วจะไปเดือดเนื้อร้อนใจอะไรกันในเมื่อเรามีสมาธิก็มีฌาน ในเมื่อมีฌาน ญาณมันก็มีขึ้นมาเอง เมื่อมีญาณมันก็มีปัญญา เมื่อญาณแก่กล้าก็บันดาลให้จิตเกิดภูมิความรู้ขึ้นมา ภูมิความรู้ที่เกิดกับจิตก็คือความคิดนั่นเอง ความคิดที่มันผุดขึ้นมา ๆ ผุดขึ้นมาเป็นเรื่องของธรรม บางทีมันก็ผุดขึ้นมาว่า อ้อ! กายของเรามันก็เป็นอย่างนี้หนอ มันมีแต่ของปฏิกูลน่าเกลียด โสโครกสกปรก มีแต่ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันนี้ปัญญามันบังเกิดขึ้นมาเพราะมีญาณ<O:p</O:p



    ในเมื่อปัญญามันบังเกิดขึ้นมาอย่างนี้ เรามีสติสัมปชัญญะตามรู้ปัญญาที่มันเกิดขึ้น ไอ้เจ้าปัญญานี่ มันก็ไปของมันเรื่อยไป ไอ้ตัวสติก็ตามรู้ของมันเรื่อยไป ควบคุมกำกับกันไปอยู่ จิต อารมณ์ สติ ไม่พรากจากกัน นั่นคือจิตได้ภูมิวิปัสสนาขึ้นมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นเรื่องอะไรที่เราจะไปกลัวว่าจิตมันจะติดสมถะ ไม่มีทางถ้าหากว่าจิตมันจะไปติดสมถะกันจริง ๆ ครูบาอาจารย์ท่านก็ไม่สอน แต่ถ้าจิตจะติดสมถะ ติดสมาธิในขั้นฌานก็ดีนี่ ดีกว่ามันไม่ได้อะไรเลย! ถ้ามันได้แต่ความคิดโดยความตั้งใจภูมิปัญญาความรู้ไม่เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ ถ้าไม่คิดก็ไม่มีความรู้เมื่อตั้งใจคิดจึงเกิดความรู้อันนี้มันเป็นสติปัญญาธรรมดา แต่ถ้าอยู่ ๆ มันคิดของมันขึ้นมาเอง ปรุงขึ้นมาเอง เป็นเรื่องของธรรม ปรุงขึ้นมาแล้วก็มีปีติ มีความสุขควบคู่กันไป มีความสงบควบคู่กันไป<O:p</O:p



    จิตมีความคิดอยู่สงบได้อย่างไร มันสงบอยู่กับหน้าที่ที่มันพิจารณาอารมณ์อยู่ในปัจจุบันนั้น มันไม่เอาเรื่องอื่นเข้ามาแทรกมาแซง ธรรมะที่เกิดขึ้นมา ผุด ๆ ขึ้นมา สติก็รู้ รู้อยู่ที่จุดที่มันผุดขึ้นมานั่น แล้วมันไม่ได้แส่ไปทางอื่น กำหนดรู้อารมณ์จิตตลอดเวลา นี่คือความสงบจิตในขั้นวิปัสสนา


    ที่มา..เข้าถึงพระไตรลักษณ์ โดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)<O:p</O:p
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]



    อาจาริยวาท
    หลวงพ่อพุธ ธานิโย



    " เมื่อจิตไม่มีความสงบ สมาธิก็ไม่มี สมาธิไม่มี ฌานไม่มี
    ในเมื่อไม่มีฌานก็ไม่มีญาณ
    ไม่มีญาณก็ไม่มีปัญญา
    ไม่มีปัญญาก็ไม่มีวิชชา
    นี่ กฎธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนี้ "

    ที่มา.
    ฟุ้งซ่าน สมาธิสั้นมาก ขอคำแนะนำค่ะ<!-- google_ad_section_end -->
     
  12. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    หลวงปู่เทสก์

    (ธรรมเทศนาเรื่อง หลักการปฏิบัติธรรม)
    วิปัสสนาจริงแล้ว ไม่ต้องคิดต้องนึกไม่ต้องปรุงแต่ง มันเป็นเอง มันเกิดของมันต่างหาก เมื่อมันเกิดแล้วจะต้องชัดแจ้งประจักษ์ในพระไตรลักษณญาณด้วยตัวของตนเองต่างหาก



    (ธรรมเทศนาเรื่อง ธัมมจักกัปปวัตรนสูตร)
    เมื่อปัญญาวิปัสสนาเกิดขึ้นในขณะจิตเดียวนั้นสิ้นสงสัยในธรรมทั้งหลาย เห็นสรรพสัตว์ในโลกเป็นสภาพอันเดียวกันหมดเลย ไม่มีต่ำ ไม่มีสูง ไม่มีน้อย ไม่มีใหญ่ ไม่มีหญิง ไม่มีชาย มีแต่ธาตุ 4 เกิดขึ้นแล้วดับไปเท่านั้น

    ปัญญาวิปัสสนา คือเห็นสิ่งทั้งปวงหมด เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งเหล่านั้นเป็นของไร้สาระ เป็นโทษเป็นทุกข์ เป็นภัยอันตรายแก่จิตใจ จึงปล่อยวางทอดธุระในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น อันนี้เป็นปัญญาอันวิเศษสูงสุด เพราะคนจะพ้นจากโลกได้ก็เพราะเห็นที่สุดของโลก คือ ได้แก่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2012
  13. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    สาธุ...ในธรรมของพระอริยะเจ้า ที่นำมาแสดงให้เข้าใจง่าย !

    "ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ" หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  14. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


    ฝึกหัดทำสมาธิภาวนา
    จงทำเหมือนชาวนาเขาทำนา เขาไม่รีบร้อน เขาหว่านกล้า ไถคราด ปักดำ โดยลำดับ ไม่ข้ามขั้นตอน แล้วรอให้ต้นข้าวแก่ ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังไม่เห็นเมล็ดไม่เห็นรวงข้าวเลย แต่เขาก็มีความเชื่อมั่นของเขาว่าจะมีเมล็ดมีรวงวันหนึ่งข้างหน้าแน่ๆ เมื่อต้นข้าวแก่แล้วออกรวงมาจึงเชื่อแน่ว่าจะได้รับผลแน่แล้ว เขาไม่ไปชักดึงต้นข้าวให้ออกรวงเอาตามชอบใจ ผู้กระทำเช่นนั้นย่อมไร้ผลโดยแท้


    การฝึกหัดสมาธิภาวนาก็เช่นเดียวกัน จะรีบร้อนข้ามขั้นตอนย่อมไม่ได้
    ต้องตั้งจิตให้เลื่อมใสศรัทธาแน่วแน่ว่าอันนี้ละเป็นคำบริกรรมที่จะทำให้จิตของเราเป็นสมาธิได้อย่างแท้จริง แล้วอย่าไปลังเลสงสัยว่า คำบริกรรมนี้จะถูกจริตนิสัยของเราหรือไม่หนอ คำบริกรรมอันนั้น คนนั้นทำแล้วมันเป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้ เราทำแล้วจิตไม่ตั้งมั่น อย่างนี้ใช้ไม่ได้


    ถ้าจิตตั้งมั่นแน่วแน่ในคำบริกรรมที่ตนภาวนาอยู่นั้นแล้วเป็นใช้ได้ทั้งนั้น
    เพราะภาวนาก็เพื่อต้องการทำจิตให้แน่วแน่เท่านั้น ส่วนนอกนั้นมันเป็นตามบุญวาสนาของแต่ละบุคคล
     
  15. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    หลวงปู่แหวน

    ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ
    กายก็เป็นเหตุอันหนึ่ง วาจาก็เป็นเหตุอันหนึ่ง ใจก็เป็นเหตุ อันหนึ่ง

    ถ้าเหตุเราทำไว้ดีแล้ว ผลมันก็ดีตามเหตุ
    ถ้าเหตุเรา ทำไว้ไม่ดีแล้ว ผลไม่ดีตามเหตุ
    เหตุและผลต้องสัมพันธ์กันเสมอ เป็นแต่ว่าคนเราจะยอมรับ หรือไม่ยอมรับเท่านั้น


    สิ่งใดที่มันล่วงมาแล้ว เลยมาแล้ว เราไม่สามารถจะไปตัดไปแปลงมันได้อีกแล้ว
    สิ่งที่เราทำไป นั้น ถ้ามันดี มันก็ดีไปแล้ว ผ่านไปแล้ว พ้นไปแล้ว ถ้ามันชั่ว มันก็ชั่วไปแล้ว พ้นไปแล้วเช่นกัน


    อนาคตยังไม่มาถึง สิ่งที่ยังไม่มาถึง เราก็ยังไม่รู้ ไม่เห็นว่า มันจะเป็นอย่างไร
    อย่างมากก็ เป็นแต่เพียงการเดา การคาดคะเนเอาว่า ควรเป็นอย่างนั้น อย่างนี้
    ซึ่งมันอาจจะไม่เป็นอย่างที่เรา คาดคะเนก็ได้


    ปัจจุบันคือสิ่งที่มันเกิดขึ้นจริง เราได้เห็นจริงไ้้ด้สัมผัสจริง


    สิ่งที่ผ่่านไปแล้ว ก็ให้เขาผ่านไป สิ่งใดที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นสิ่งที่ยังไม่มี ยังไม่เกิด

    ถ้าปัจจุบันดี อดีตมันก็ดี อนาคตมันก็ดี
    เพราะปัจจุบันเมื่อผ่านไป มันก็กลายเป็นอดีต
    ถ้ามัน ยังไม่ผ่านไป มันก้เป็นทางดำเนินไปสู่อนาคต เป็นเข็มชี้บอกอนาคต

    ดังนั้น เราต้องทำเหตุให้สมบูรณ์บริบูรณ์ เราจึงจะได้สิ่งที่เราปรารถนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...