"ปัญญาในพระพุทธศาสนา" คืออย่างไร ? เกิดขึ้นจากเหตุไหน? เพื่ออะไร ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 5 มกราคม 2012.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    [​IMG]

    "ปัญญาในพระพุทธศาสนา"

    คืออย่างไร ? เกิดขึ้นจากเหตุไหน? เพื่ออะไร ?


    (ตอบตามความรู้สึก ตามทัศนะ ความเห็นส่วนตนได้เต็มที่ครับ จะขอรับไปพิจารณา)




    ขอถือโอกาสนี้ ขอขมาลาโทษต่อเพื่อนๆ พี่ๆ ทุกๆท่านครับ
    กรรมใดๆที่เกิดขึ้นด้วยกายวาจาใจ ที่ได้ประมาทพลาดพลั้งไป ผมขอขมาลาโทษ
    อย่าได้ถือโทษโกรธเคืองและอภัยต่อความประมาทพลาดพลั้งเผลอหลงลืมสติของผม
    ณ.ที่นี้โอกาสนี้ ด้วยครับ

    และผมมีเจตนาเข้าบรรพชา อุปสมบทในพระพุทธศาสนา เพื่อขัดเกลา กาย วาจา จิตใจให้ยิ่งขึ้นไป
    ในระยะเวลาอันใกล้ที่จะถึงนี้ ขอเพื่อนๆพี่ๆ ร่วมยินดีโมทนา
    และมีส่วนร่วมในกุศลผลบุญที่บังเกิดขึ้นแล้วก็ดี จะบังเกิดขึ้นต่อไปก็ดี ตราบสิ้นทุกข์ดับเชื้อทุกประการฯครับ

    ขอบคุณทุกๆท่านที่เป็นกัลยาณมิตรที่ให้ประโยชน์ต่อกันเสมอมาครับ
    สาธุ ขอโมทนาครับ


    ,,,,,,
    ^ ^) .....ขอพรพระ...ให้ทุกท่านเจริญยิ่งในธรรม ถึงซึ่งสิ่งปราถนาในกุศลทุกประการครับ
    _/|\ )
    __)__)
     
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย ถ้า ธรรมชาติ3อย่างเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก ธรรมชาติ สามอย่างนั้น คือ อะไรเล่า? คือ ชาติ ชรา มณะ(ทุกขอริยสัจ) ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติสามอย่างเหล่านี้แล ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุใดแล ที่ธรรมชาติธรรมชาติสามอย่างเหล่านี้ มีอยู่ในโลก เพราะเหตุนั้น ตถาคตจึงต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงต้องรุ่งเรืองไปในโลก-----ทสก.ยํ.24/154/76.:cool:...ขอยกพระวจนะมาแสดงครับ....และขออนุโมทนาต่อความตั้งใจในการบวชเรียน ของท่าน จขกท...(y) :)(y)
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ปัญญาในทางพุทธนั้น เป็นความเงียบ สงบ ระงับ รู้เฉพาะตน และเป็น
    สิ่งเดียวที่เป็นภาษาใจของตน

    ส่วน

    ปัญญาในทางศาสนานั้น เป็นสันติ เป็นความสุข เป็นประโยชน์ รู้ได้ทุกคน
    และเป็นสิ่งเดียวที่เป็นจะต้องออกมาจาก วจนะของตถาคตเท่านั้น

    * * * *

    สมมติว่า มีสาวกคนใด อ้างไว้ ไม่จริง คำสอนที่สอนผู้อื่น หรือ สาสนัง ศาสนา
    นั้นเป็น วจีอันวิจิตรที่ตนประดิษฐขึ้น มีความเป็นลูกทุ่ง สอนได้ชัดเจน ก็ลองถามสาวก
    คนนั้นว่า เวลากล่าวธรรม คำพูดเหล่านั้นออกมาจากธรรมใช่ไหม

    ถ้าเขาพึงตอบว่าใช่ อย่างเลี่ยงไม่ได้

    ก็ถามเขาต่อว่า "ธรรม" นั้น ใครเป็นเจ้าของหรือ ?

    หากผู้นั้นเป็นพวกลามกแล้วไซร้ เขาก็อาจจะตอบว่า ตัวเขาเป็นเจ้าของธรรม

    แต่ถ้าเขาตอบเป็นอย่างอื่น ก็ถามว่า ไอ้ความเป็นลูกทุ่ง สอนได้ชัดเจนตะกี้
    ตกลงเป็น บารมีของใคร เป็น วจนะของใคร
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ขออโหสิกรรมซึ่งกันและกัน

    อนุโมทนาในเจตนาเข้าบรรพชา อุปสมบทในพระพุทธศาสนา
    เพื่อขัดเกลา กาย วาจา จิตใจให้ยิ่งขึ้นไป

    _/l\_
     
  5. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +1,073
    ปัญญาในพุทธศาสนา ก็ความดำริชอบ นั่นไง เพราะเห็นโทษเห็นภัย

    อภัยซึ่งกันและกัน

    อนุโมทนา ไปให้ถึงฝั่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2012
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    "ปัญญาในพระพุทธศาสนา"

    คืออย่างไร ? เกิดขึ้นจากเหตุไหน? เพื่ออะไร ?

    คือคำสอนของพระพุทธเจ้า

    เกิดจากพระสัพพัญญุตญาณ

    เพื่อเวไนยสัตว์ได้พบทางแห่งการพ้นทุกข์
     
  7. มนุสสเทโว

    มนุสสเทโว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +30
    ผมอย่างนี้นะ

    ปัญญาคือ สิ่งที่รู้ได้ด้วยจิต เช่น ญาณ,อภิญญา เป็นต้น
    เกิดขึ้นได้จาก ........มรรคมี 8 ข้อ,8 องค์
    เพื่อให้เป็นไปตามสภาพเดิมตามที่จิตได้เป็นมาก่อนก็คือ อนัตตา

    อนุโมทนาด้วยครับ
     
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ปัญญา ที่เห็นธรรมชาติตามจริง เห็นกฏธรรมชาติอิทัปปัจจยตา และกฏกรรม(ตัวตน ตัวกูของกู..)
    เกิดขึ้นเมื่อต้องการหลุดไปจากทุกข์ (คือขันธ์ห้า)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2012
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนุโมทนาในจิตกุศลคิดออกจากกาม ^^

    การตรึก พิจารณาคุณโทษของกาม แต่คิดจะออกจากกาม ขณะนั้น

    มีกุศลจิตเกิด สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา เกิดอยู่

    ทันทีที่ปลงใจ ใจมันก็สบายแล้วหนอ ^^

    ปัญญา คือความสว่าง

    โมหะ คือความมืด
     
  10. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ปัญญา คือ ความรู้เห็นรูปนามตามความเป็นจริง

    เหตุให้เกิดปัญญา คือ บำเพ็ญไตรสิกขาให้ถึงพร้อม

    เพื่อ ดับอวิชชา ดับทุกข์ มุ่งนิพพาน...
     
  11. ภูตัง

    ภูตัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +187
    สหายธรรม

    เหตุแห่งปัญญา มี 2
    ทางแห่งปัญญา มี 3
    ทางแห่งการรู้แจ้ง มี 3
    ทางแห่งการรู้แจ้ง และ เห็นเจ้ง มี 1

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่าน
     
  12. ภูตัง

    ภูตัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +187
    สหายธรรม

    เหตุ แห่งปัญญา มี 2 คือ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    1.ศิล คือ การสำรวมในอินทรีย์ <o:p></o:p>
    2.สมาธิ เกิดได้ง่ายกับผู้มีศิล<o:p></o:p>
    ศิล + สมาธิ เป็นเหตุแห่งปัญญา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทางแห่งปัญญา มี 3<o:p></o:p>
    1 การเห็น ฟัง อ่าน ค้นคว้า (ต้องอาศัย กายที่สำรวม และมีสมาธิ) เป็นเหตุให้เกิด ปัญญา คือ รู้แจ้ง<o:p></o:p>
    2 การคิดวิเคราะห์ (ต้องอาศัย กายที่สำรวม และมีสมาธิ) เป็นเหตุให้เกิด ปัญญา คือ รู้แจ้ง<o:p></o:p>
    3 ภาวนา (ต้องอาศัย กายที่สำรวม และมีสมาธิ) เป็นเหตุให้เกิด ปัญญา คือ รู้แจ้ง และ เห็นแจ้ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ** รู้แจ้ง กับ เห็นแจ้ง ขอสหายธรรมทั้งหลายได้พิจารณาดูให้เข้าใจด้วยดี <o:p></o:p>
    คำสอนของพุทธทั้งหลาย ก็มี จุดประสงค์เพียงข้อเดียว คือยกพวกเราข้ามขึ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด<o:p></o:p>
    (หลวงปุ่ดูลย์ อตุโล)<o:p></o:p>
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่าน<o:p></o:p>
     
  13. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,562
    ค่าพลัง:
    +2,128
    ผมขนลุกเลยนะเนี่ย... ยินดีด้วยนะครับ
    ขอให้สิ่งที่พี่เสขะปราถนา สำเร็จดังใจปราถนาทุกประการครับ..
     
  14. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,562
    ค่าพลัง:
    +2,128
    ในพระพุทธศาสนาแบ่งปัญญาเป็น3อย่าง สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา

    แต่ปัญญาในความหมายของพระพุทธ คือปัญญาที่นำพาให้ออกจา่กทุกข์ได้ คือภาวนามยปัญญา เกิดขึ้นจาก จิตมยปัญญา>>สุตมยปัญญา>>พระพุทธเจ้า>>ทุกข์
     
  15. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +1,073
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค​


    ปัญญาวรรค มหาปัญญากถา

    [๖๕๙] อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญา
    อย่างไหนให้บริบูรณ์ ทุกขานุปัสสนา ... อนัตตานุปัสสนา ... นิพพิทานุปัสสนา...
    วิราคานุปัสสนา ... นิโรธานุปัสสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ
    อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญา
    (ปัญญาเร็ว) ให้บริบูรณ์ ทุกขานุปัสสนา ... ย่อมยังนิพเพธิกปัญญา (ปัญญาทำลาย
    กิเลส) ให้บริบูรณ์ อนัตตานุปัสสนา ... ย่อมยังมหาปัญญา (ปัญญามาก) ให้
    บริบูรณ์ นิพพิทานุปัสสนา ... ย่อมยังติกขปัญญา (ปัญญาคมกล้า) ให้บริบูรณ์
    วิราคานุปัสสนา ... ย่อมยังวิบูลปัญญา (ปัญญากว้างขวาง) ให้บริบูรณ์ นิโรธานุ-
    *ปัสสนา ... ย่อมยังคัมภีรปัญญา (ปัญญาลึกซึ้ง) ให้บริบูรณ์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา
    ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญา (ปัญญาไม่ใกล้)
    ให้บริบูรณ์ ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังความ
    เป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา ๘ ประการนี้ ... ย่อมยังปุถุปัญญา (ปัญญาแน่น
    หนา) ให้บริบูรณ์ ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    ยังหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) ให้บริบูรณ์ หาสปัญญา เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    อรรถปฏิสัมภิทาเป็นคุณชาติ อันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว
    ด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถแห่งหาสปัญญานั้น ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณ-
    *ชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนด
    ธรรมแห่งหาสปัญญานั้น นิรุติปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้
    แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุติแห่งหาสปัญญานั้น
    ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว
    ด้วยปัญญา โดยการกำหนดปฏิภาณแห่งหาสปัญญานั้น ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้
    เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะ
    หาสปัญญานั้น ฯ

    [๖๖๐] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้
    มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืน
    ในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ
    การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป ที่บุคคล
    เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา ๗
    ประการ
    นี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์
    ปัญญา ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปุถุปัญญาให้
    บริบูรณ์ ปัญญา ๙ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังหาส-
    *ปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา ... ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้
    เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะ
    หาสปัญญานั้น ฯ
    การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ
    ฯลฯ ชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหน
    ให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญ
    แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ
    การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำ
    ให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืน
    ในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญา
    ให้บริบูรณ์ ปัญญา ๗ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง
    ความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก
    แล้ว ย่อมยังปุถุปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา ๙ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำ
    ให้มากแล้ว ย่อมยังหาสปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ... ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
    ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น ฯ

    เต็มๆได้ที่
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=9683&Z=10089
     
  16. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    อนุโมทนา

    ขอให้ท่าน เสขะ บุคคล ได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติพรหมจรรย์ให้ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย

    ให้สามารถรักษาศีลได้โดยง่าย ไร้ความติดขัด

    เจริญด้วยสัมมาสมาธิอันสะดวก ในการเพียรเพ่งธรรมะอยู่ทุกอิริยาบทและประกอบไปด้วยสุขเวทนา พร้อมทั้งอาจหาญและร่าเริงในธรรมอยู่เสมอ

    เกิดธรรมะจักษุด้วยปัญญา ดั่งท่านอัญญาโกณฑัญญะเถระ

    และขอให้ท่านได้รับมรดกธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    สำเร็จเป็น อเสขะ บุคคล ด้วยเทอญ....สาธุ...สาธุ...สาธุ...



    ปัญญาที่ถูกต้องนั้นต้องเกิดจาก
    การมีศีลที่ดีและถูกต้อง และเมื่อมีศีลที่ดีและถูกต้องจะเจริญสมาธิได้โดยง่ายไม่ลำบากเลย
    แล้วธรรมะที่เคยสงสัยก็จะปรากฏขึ้นในดวงจิต ถ้าในขณะนั้น มีสัมมาสมาธิเพ่งดูอยู่(ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใดๆก็ตาม)
    ธรรมะจักษุจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ทันที!
    แล้วจะทำลายความสงสัยและกิเลสไปได้เป็นขั้นๆ ไปทีละอย่าง ทีละอย่าง ปฏิบัติอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
    ศีล สมาธิ ปัญญา ที่รวมกำลังปฏิบัติการศึกษาธรรมะและทำลายกิเลส ศีล สมาธิ ปัญญา นี้จะสลับกันสนับสนุนกันเองจนแข็งแกร่งขึ้น แข็งแกร่งขึ้น ตามลำดับ

    ปัญญาที่ถูกต้องคือธรรมะจักษุนี้นี่เอง (เป็นภาวนามยปัญญาที่มี ศีล สมาธิ ปัญญา กำกับอยู่อย่างถูกต้องตามพระพุทธประสงค์)

    สุดท้ายนี้
    ขอให้ท่าน เสขะ บุคคล สำเร็จเป็น อเสขะ บุคคล ในเร็ววันด้วยทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2012
  17. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ปัญญาคือความสว่าง กระจ่าง โล่ง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ

    เกิดขึ้นเมื่อมีเหตุและปัจจัยพร้อม เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ด้วยหลายหลายกลวิธี หมายถึงเกิดได้ทุกเมื่อ หากมีความพร้อมด้านเหตุและปัจจัยนั้นๆ

    เพื่อความ "รู้" อันเปรียบเสมือน สว่าง ชัดเจน รู้แจ้ง หมดสิ้น ถึงที่สุดแห่งทุกข์

    อนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ
     
  18. ไร้นา

    ไร้นา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +108
    ขออโหสิกรรมซึ่งกันและกัน

    อนุโมทนาในเจตนาเข้าบรรพชา อุปสมบทในพระพุทธศาสนา
    เพื่อขัดเกลา กาย วาจา ใจ ใหบริสุทธิ์ เป็นปกติ
     
  19. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ถ้าพี่เจ้าของกระทู้บวชแล้วเป็นพระอริยเจ้า ได้มรรคผลนิพพาน ในอนาคต ขอให้พี่สั่งสอนพระธรรมให้กับคนที่ยังมีอวิชชามีกิเลศหนาด้วยนะครับ
     
  20. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ขออนุโมทนาในกุศลจิตด้วยค่ะ

    ปัญญาหมายถึงสัมมาทิฎฐิ คลำหาหนทางเองยังงัยก็ไม่เจอ
    ต้องเรียนจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์
    ที่ทรงเมตตาสั่งสอนไว้ ซึ่งก็คือพระอภิธรรม ธรรมที่ยิ่ง
    การเรียนพระอภิธรรม ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญา
    เรียนแล้วต้องนำมาโยนิโสมนสิการกับตนเอง จึงจะเกิดปัญญา
    ไม่เช่นนั้นก็เป็นแค่สัญญา


     

แชร์หน้านี้

Loading...