หวั่นเศรษฐกิจไทยไปไม่รอด

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 4 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงการคลังว่า วานนี้ (3 เม.ย.) นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง ได้เรียกทีมที่ปรึกษา รมว.คลัง ประกอบด้วยนายอรัญ ธรรมโน, นายขรรค์ ประจวบเหมาะ, นายณรงค์ชัย อัครเศรณี, นายณัฎฐพงศ์ ทองภักดี, นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย, นายนิพนธ์ พัวพงศกร, นางปราณี ทินกร, นายวรพล โสคติยานุรักษ์ และนายสมชัย จิตสุชน มาหารือถึงแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะซบเซาในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพราะเกรงว่า หากปล่อยให้เศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ต่อไป โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ คงเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะความมั่นใจในการลงทุนของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และกำลังการบริโภคของภาคประชาชนที่ลดลงอย่างชัดเจนในเดือน มี.ค.นี้ จะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะเงินฝืด จนส่งผลให้ภาคการผลิตต้องปิดกิจการ เพราะคนไม่จับจ่ายใช้สอย<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หัวข้อหลักเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานรากเป็นอันดับแรก หลังจากพบว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบลดลง โดยเฉพาะสินเชื่อเอสเอ็มอี ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 20,000-30,000 ล้านบาท รวมทั้งหารือการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรากฏว่ายอดการปล่อยสินเชื่อของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เดือน มี.ค.ปีนี้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) มีเพียง 7,000-8,000 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนที่ปล่อยได้ถึง 12,000 ล้านบาท<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    ภายหลังการประชุม นายฉลองภพกล่าวว่า ได้หารือกับทีมที่ปรึกษา 4 แนวทางคือ 1. การเปิดเผยข้อมูลทางคลังที่จะเป็นภาระในอนาคต เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและให้สาธารณชนรับทราบ 2. การช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานรากซึ่งชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้กระทรวงการคลังอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้าไปช่วยเหลือ โดยกำชับให้ทีมที่ปรึกษานำกลับไปพิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความชัดเจน 3. กระทรวงการคลังอาจมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้างด้วยการลดภาษี และ 4. การแก้ไขกฎระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีของรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่บริการสังคม ให้มีการแยกการลงบัญชีระหว่างผลการดำเนินงานทางด้านธุรกิจและบริการสังคมให้มีความชัดเจน<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายฉลองภพได้เชิญธนาคารรัฐมารับทราบนโยบายที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก โดยเฉพาะสินเชื่อเอสเอ็มอี และสินเชื่อประชานิยมที่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน และธอส.ปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ในโครงการธนาคารประชาชน กองทุนหมู่บ้าน บ้านเอื้ออาทร การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และโครงการวิสาหกิจชุมชน มาแล้วครั้งหนึ่ง<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    ส่วนมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะเป็นมาตรการเก่าที่กระทรวงการคลังเคยนำมาใช้แล้วในสมัยที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีต รมว.คลัง เช่น ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3.3% เหลือ 0.1% และค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนองจาก 2% ลดลงเหลือ 0.01%<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มาตรการกระตุ้นสินเชื่อระดับฐานราก และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้เตรียมไว้หมดแล้ว แต่นายฉลองภพไม่ต้องการให้เกิดการเก็งกำไรจากมาตรการของกระทรวงการคลัง เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งสัญญาณให้ รมว.คลังทราบอย่างชัดเจนว่า จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 11 เม.ย.นี้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการกู้ของนักลงทุนและประชาชนลดลง ดังนั้น การประกาศมาตรการใดๆ ก่อน ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เกิดการชะลอการซื้อสินค้าอย่างรุนแรงและไม่ส่งผลดีกับบรรยากาศเศรษฐกิจ โดยคาดว่า มาตรการที่กระทรวงการคลังจะนำออกมาใช้จะมีผลภายหลังจากผ่านพ้นช่วงเทศกาลสงกรานต์ไปแล้ว <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเงินการคลังอาเซียน บวก 3 ประเทศ ซึ่งมีจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (อาเซียนพลัส 3) เห็นด้วยกับรายงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ที่ระบุว่า นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุ่นจะช่วยแก้ปัญหาการแข็งค่าของค่าเงิน ขณะที่นโยบายการเงิน หากมีการสร้างสภาพคล่องในระบบมีมาก และลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างเหมาะสม จะทำให้เงินทุนไหลเข้าชะลอลงได้ โดยการดูแลให้เกิดความแข็งแกร่งของระบบการเงินของประเทศ จะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดได้ และหลายฝ่ายยังคงเป็นห่วงว่า ยังต้องมีความระมัดระวังเงินทุนที่ไหลเข้ามาเพื่อเก็งกำไร โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งดีกว่าการลงทุนโดยตรง.
    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="780"><tbody><tr><td width="300">
    [​IMG]
    </td> <td width="519"> <iframe id="a7c92ede" name="a7c92ede" src="http://203.150.225.168/thairathads/adframe.php?n=a7c92ede&what=zone:19" framespacing="0" frameborder="no" height="60" scrolling="no" width="468">&lt;a href='http://203.150.225.168/thairathads/adclick.php?n=a7c92ede' target='_blank'&gt;&lt;img src='http://203.150.225.168/thairathads/adview.php?what=zone:19&amp;amp;n=a7c92ede' border='0' alt=''&gt;&lt;/a&gt;</iframe> <!--a href="http://www.thairath.co.th/ads.php" target="_blank">[​IMG]</a--></td> </tr> <tr> <td>
    ปีที่ 58 ฉบับที่ 17970 วันพุธ ที่ 4 เมษายน 2550​
    </td></tr></tbody></table>
     
  2. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,860
    วันนี้คงยังไปรอดอยู่ ยังฟัดกันสนุก ลุกนั่งยังสบาย

    รออีกไม่กี่เดือน ไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนข้าราชการเหมือนเหมือนปี 40 ต้องไปยืมแบงก์มาจ่ายก่อน

    วันนั้นท่านผู้เจริญจะได้ทราบว่า "กลียุค" เป็นยังงัย

    ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
     
  3. *44*

    *44* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    528
    ค่าพลัง:
    +1,808
    ทหารมาบริหาร ไม่อยากจะคิดเลยเรา
     
  4. 24

    24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2007
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +160
    สงสารพวกเราคนไทยจังเลย นับวันมีแต่แย่ลง ภาคใต้ก็อันตรายสุดๆ ภัยของผู้หญิงก็มีไปทุกที่ เป็นห่วงลูกหลานเหลือเกิน พึ่งรัฐบาลไม่ได้ตอนนี้ได้แต่ขอพรคุณพระคุณเจ้าคุ้มครอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...