สรุปลักษณะของคนที่มีความสันโดษ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ishakti, 11 มิถุนายน 2009.

  1. ishakti

    ishakti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +135
    สันโดษ

    คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ

    โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก



    เรื่องที่คนไทยเข้าใจผิดมากเรื่องหนึ่งในหลายเรื่องคือ สันโดษนี่แหละครับ คนส่วนมากมักเข้าใจกันว่า สันโดษคือความมักน้อย จึงมีคำพูดติดปากว่า "มักน้อยสันโดษ" แล้วก็เข้าใจต่อไปว่า คนที่สันโดษคือคนที่ไม่ทำอะไร ไม่ต้องการอะไร ปล่อยชีวิตไปตามเรื่องตามราว

    เรียกว่า คนไม่เอาไหนนั่นแหละ คือคนสันโดษ

    เมื่อเข้าใจอย่างนี้ก็พาลพาโลหาว่า พระพุทธศาสนาสอนสิ่งที่ขัดต่อการพัฒนาคนและสังคม มีอย่างหรือชาติกำลังต้องการพัฒนาคน ยังมาสอนไม่ให้ต้องการอะไรมากๆ ไม่ให้สร้างสรรค์ สอนให้มักน้อยสันโดษอยู่ได้

    มีอยู่สมัยหนึ่ง คือสมัยท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คุณหลวง (อย่าให้เอ่ยชื่อเลยนะครับ เอาเป็นว่า "คุณหลวง" ก็แล้วกัน) ผู้เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของท่านนายกฯสฤษดิ์ ประกาศว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีมากมายที่ดีๆ แต่บางข้อก็ไม่เหมาะกับสังคมยุคพัฒนาพระไม่ควรนำไปสอนชาวบ้าน เช่น สันโดษ เป็นต้น

    พอคุณหลวงประกาศออกมา พระสงฆ์องค์เจ้า "เต้น" เป็นการใหญ่ มีการเทศนาชี้แจงว่าไม่ใช่อย่างนั้น สันโดษจริงๆ มิใช่ความมักน้อย ไม่อยากได้อะไร ไม่อยากสร้างสรรค์อะไร ทำให้มีการ "ตื่นตัว" หาทางอธิบายธรรมให้ชาวบ้านเข้าใจมากขึ้น ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็เป็นผลดีและน่าขอบคุณคุณหลวงเป็นอย่างยิ่ง หาไม่แล้วพระท่านก็คงไม่ใส่ใจจะมาทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ปล่อยให้เขาเข้าใจผิดๆ ถูกๆ ไปตามเรื่อง

    ว่างๆ ผมอาจจะประกาศอย่างคุณหลวงขึ้นมาบ้างก็ได้ เผื่อจะช่วย "กระตุ้น" ให้พระคุณเจ้าท่านหันมาสนใจอธิบายธรรมะให้ชาวบ้านเขาเข้าใจได้มากกว่านี้ บอกกันตรงๆ ว่าวงการพระศาสนาของเรายังต้องการพระนักเทศน์ นักบรรยาย นักเขียนที่คนอยากฟัง อยากอ่านมากกว่าที่มีอยู่

    กองทัพทั้งกองทัพ มีขุนพลทหารฝีมือดีอยู่เพียงสามสี่คน จะไปสู้รบกับใครได้ครับ

    ความจริง สันโดษกับมักน้อยมันคนละเรื่องกัน ความมักน้อยเป็นคำแปลของคำบาลีว่า "อปปิจฺฉตา" พระพุทธองค์ทรงสอนพระให้ปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ว่าสิ่งเหล่านี้ให้พระต้องการแต่น้อยพออาศัยยังชีพ เพราะชีวิตพระมิใช่ชาวบ้านจะได้สะสมสิ่งเหล่านี้ไว้มากมาย

    ส่วนสันโดษ หรือสนฺตุฏฐี นั้นหมายถึง ความภาคภูมิใจในผลสำเร็จที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยความสามารถ ด้วยความพากเพียรพยายามของตนในทางสุจริตชอบธรรม

    ฟังดูดีๆ จะเห็นว่าคนสันโดษหรือคนที่ขยันหา ขยันสร้างสรรค์ (ยถาลาภ) ทุ่มเทกำลังกาย กำลังสติปัญญาเต็มที่ (ยถาพล) ในสิ่งที่สุจริตถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรม (ยถาสา รูปฺป) เมื่อได้ผลสำเร็จขึ้นมาแล้วก็ภาคภูมิใจในผลสำเร็จนั้น

    ธรรมะที่ตรงข้ามกับสันโดษคือ ความโลภและความเกียจคร้าน คนโลภและขี้เกียจคือคนที่ไม่สันโดษ ท่านเห็นหรือยังว่า สันโดษขัดขวางหรือส่งเสริมการพัฒนาล่ะขอรับ

    ดังนั้น ธรรมะที่สนับสนุนสันโดษ มีอยู่ 2 อย่างคือ ความไม่โลภกับความเพียร

    คนสันโดษจึงมีคุณสมบัติสองประการนั้นคือ เป็นคนไม่โลภและเป็นคนพากเพียรพยายามสูง คนไม่สันโดษคือคนโลภนั้นเอง

    คิดดูให้ดีจะเห็น คนที่อยากได้อะไรด้วยอำนาจความโลภมักจะไม่ชอบทำงาน เช่น คนโลภอยากได้สองขั้น (แค่ขั้นละไม่กี่ร้อย อยากกันจริง) ก็คอยดูว่าเจ้านายชอบอะไร เช่น ชอบเอ๊าะๆ ชอบอาบ อบ นวด ก็พาเจ้านาย (เฮงซวย) ไปลงอ่าง บริการให้เสร็จ ถ้าคนอยากได้สองขั้นเป็นเอ๊าะๆ เสียเอง ก็ยอมพลีกายแลก อย่างนี้งานการไม่ต้องทำหรือทำบ้างไม่ทำบ้าง ถึงเวลาเจ้านายเฮงซวยก็ให้สองขั้นเอง คิดเอาก็แล้วกัน เมื่อคนโลภก็มักจะขี้เกียจ ไม่ทำงาน เมื่ออยากได้แต่ไม่อยากทำงาน ก็ต้องหาโอกาสโดยทางลัดหรือโดยวิธีที่ทุจริตผิดกฎหมายบ้านเมืองและศีลธรรม

    คนชนิดดังกล่าวมานั้นแหละ ทางพระท่านเรียกว่า คนไม่สันโดษ ส่วนคนที่มีลักษณะตรงข้ามเรียกว่า คนสันโดษ คิดเอาก็แล้วกัน (อีกแล้ว) ว่า คนประเภทไหนที่สังคมต้องการ

    เพื่อความเข้าใจที่แจ่มชัดชนิดแจ้งจางปาง ขอสรุปลักษณะของคนที่มีความสันโดษดังต่อไปนี้

    1.คนสันโดษ จะต้องเป็นคนทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยสติปัญญาเท่าที่มีและโดยวิธีการอันชอบธรรม

    2.คนสันโดษ จะไม่อยากได้ของของคนอื่นหรือของที่ไม่ชอบธรรม จะไม่ทุจริตเพราะปากท้องหรือผลประโยชน์ส่วนตัว

    3.คนสันโดษ เมื่อหามาได้ก็ใช้สอยเท่าที่จำเป็น และใช้ด้วยสติปัญญา ไม่เป็นทาสของวัตถุ

    4.เมื่อไม่ได้ เมื่อสุดวิสัยที่จะได้ ก็ไม่เดือดร้อนกระวนกระวายยังคงปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อไป ไม่ยอมให้ความผิดหวังครอบงำใจ

    5.หาความสุขได้จากสิ่งที่เป็นของตน หรือเป็นสิทธิของตน สามารถดำรงชีวิตที่มีความสุขตามฐานะ

    6.มีความภูมิใจในผลสำเร็จอันเกิดจากกำลังของงาน มีความอดทน สามารถรอคอยผลสำเร็จอันจะพึงเกิดขึ้นจากการกระทำของตน

    7.มีความรักและภักดีในหน้าที่ของตน มุ่งปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าของงาน เรียก "ทำงานเพื่องาน" อย่างแท้จริง

    8.ไม่ถือเอาสิ่งที่ตนหามาได้ สมบัติของตนหรือความสำเร็จของตนมาเป็นเหตุยกตนข่มผู้อื่น

    คุณสมบัติที่กล่าวมา เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศชาติใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ก็อยากอภิปรายไม่ไว้วางใจ เอ๊ย ! อยากเรียนถามว่า ที่ประเทศชาติไม่ค่อยพัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น เพราะมัวแต่สอนสันโดษ หรือเพราะไม่สอนสันโดษกันแน่

    [FONT=Tahoma,]หน้า 6[/FONT]

    ˹ѧ
     
  2. ฐานิฏฐ์กัญญารัต

    ฐานิฏฐ์กัญญารัต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +258
    ตอนนี้กำลังหัดเป็นคนสันโดษอยู่ แต่คำว่าสันโดษที่เข้าใจคือ

    1.ไม่ยุ่งวุ่นวายกับคนอื่นมากนัก ( ไม่อยากรู้อยากเห็นเรื่องชาวบ้าน )
    2.ใช้เวลาในชีวิตส่วนมากนอกจากการทำงาน เพียงลำพัง กินอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่วิ่งตามความอยากมากเกินไป มีความสมถะสูง
    3.ไม่ชอบปาร์ตี้ ไม่ใช้เวลาไปในการจับกลุ่มขาเมาส์
    4. รักษาศีล 5 แบบเหนี่ยวแน่น
     
  3. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ?
    ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้องเธอจะไปทางทิสาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรมหาบพิตร นกมีปีกจะบินไปทางทิสาภาคใดๆก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิสาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง
    ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    หน้าที่ ๖๘ข้อที่ ๑๒๔
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! สมชีวิตา เป็นอย่างไรเล่า ?
    พ๎ยัคฆปัชชะ !กุลบุตรในกรณีนี้ รู้จักความได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่งโภค
    ทรัพย์แล้วดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก โดยมีหลัก
    ว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วย
    อาการอย่างนี้”
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนคนถือตาชั่ง หรือลูกมือของเขายกตาชั่งขึ้นแล้ว ก็รู้ว่า “ยังขาดอยู่เท่านี้ หรือเกินไปแล้วเท่านี้” ดังนี้ฉันใด;
    กุลบุตรนี้ ก็ฉันนั้น : เขารู้จักความได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์ แล้วดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก
    โดยมีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! ถ้ากุลบุตรนี้ เป็นผู้มีรายได้น้อย แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือยแล้วไซร้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า กุลบุตรนี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ (อย่างสุรุ่ยสุร่าย) เหมือนคนกินผลมะเดื่อ ฉันใดก็ฉันนั้น
    พ๎ยัคฆปัชชะ !แต่ถ้ากุลบุตร เป็นผู้มีรายได้มหาศาล แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นแล้ว
    ไซร้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า กุลบุตรนี้จักตายอดตายอยากอย่างคนอนาถา.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อใด กุลบุตรนี้ รู้จักความได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์ แล้วดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนักโดยมีหลักว่า "รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่ท่วมรายรับด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้; พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า สมชีวิตา (ความเลี้ยงชีวิตอย่างสม่ำเสมอ).
     

แชร์หน้านี้

Loading...