สติกับปัญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย oatthidet, 31 สิงหาคม 2011.

  1. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    สติเป็นการระลึกครับ ปัญญาได้จากการที่ได้พบได้เห็นตามความเป็นจริงครับ

    สติสามารถระลึกไปเห็นความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ ฉนั้นสติจึงทำให้เกิดปัญญาครับ
     
  2. banana603

    banana603 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +17
    สติ ก็ อนัตตา
    ปัญญา ก็ อนัตตา
    มันเหมือนกันป่าวเนี่ย ???
     
  3. ให้ทาง

    ให้ทาง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +14
    สติ = กั้น
    ปัญญา = ตัด

    :d
     
  4. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ต่างกันครับ

    สติ ทำให้เรารู้สึกถึงความเป็นไปในอาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับกายและใจ เสมือนกับการเข้าไปรู้อยู่เฉยๆ

    ปัญญา ทำให้เราเข้าใจตามความเป็นจริง คือ กายและใจ เป็นไตรลักษณ์ที่ไม่สามารถยึดมั่นว่ามีตัวตนอยู่จริงได้ แล้วปล่อยวางอุปาทานลงไป ทำให้กายเบา จิตเบา ไม่ทุกข์อีกต่อไปครับ

    สติทำให้เกิดปัญญา ปัญญาทำให้สติมีกำลังกล้าแข็ง...
     
  5. จอยลี่

    จอยลี่ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +0
    กราบขอบพระคุณทุกท่านคะ


    สั้น กะจุ๊ดหลุ๊ด ขยายความหน่อยได้ไหมค่ะ :cool:
     
  6. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    :cool: ลึกนะ!
     
  7. จอยลี่

    จอยลี่ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +0
    นี่ก็อีกท่านหนึ่ง ขยายความหน่อยก็ดีนะคะ ถ้าอธิบายไม่ได้ จอยลี่จะถือว่า สักแต่ว่าจำคำคนอื่นมาโพส หรือไม่ก็เออออไปตามกันเท่านั้น
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    สติ คือการระลึก ระลึกอะไร? ถ้าเป็นสัมมาสติ คือ ระลึกถึงสิ่งที่เป็นกุศล ที่สามารถ ขจัดอกุศลในขณะนั้นให้กลับมาที่กายใจที่มีความรู้ตัวรู้สถานะ...แต่จะแค่ใหนนั้นแล้วแต่ภูมิธรรมของแต่ละคนที่สะสมปัญญามา...ปัญญามี สุตมยปัญญา(ปัญญาจากการฟัง)...จินตามยปัญญา(ปัญญาจากการใคร่ครวญ)...ภาวนามยปัญญา(ปัญญาเห็นจริงจากการปฎิบัติ)...............
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2011
  9. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    .....................:cool:
     
  10. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    สัพเพ ธัมมา อนัตตา คือธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สติก็เป็นอนัตตา
    ปัญญาก็เป็นอนัตตาแต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันเหมือนกัน อย่างมือก็เป็น
    ส่วนหนึ่งของร่่างกาย หัวก็เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่จะบอกว่ามือกับ
    หัวนี่เหมือนกันก็ไม่ได้
     
  11. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    สติ และ ปัญญา เป็นกุศลเจตสิก เกิดกับจิตที่ดี

    ทุกวันนี้ใช้กันมั่ว ว่า ให้มีสติรู้ตัว ถามว่ารู้ตัวอะไร

    ยามคุณประสพอารมณ์ที่ไม่พอใจ

    ขณะนั้นก็รู้ตัวว่าหงุดหงิดขุ่นใจ และก็แสดงออกมาแบบขุ่นใจ

    หรือ ยามคุณประสพอารมณ์ที่พอใจ

    ขณะนั้นก็รู้ตัวพอใจดีใจ และก็แสดงออกมาแบบพอใจ สุขใจ

    พวกนี้ไม่ใช่สติรู้ตัว แต่เป็นโทสะ โลภะที่รู้ตัว

    ไม่ได้ระลึกรู้ใส่ใจในสภาพธรรมที่ปรากฎขึ้นตามจริง

    ไปหลงกับความคิด ความรู้สึก อนุพยัญชนะ จนเป็นเรื่องราวขึ้นมา นั่นก็เป็นอาการของโมหะ

    ทีนี้เมื่อสติระลึกรู้ถูกต้อง ตามสภาพธรรมในขณะนั้น ที่รู้นั้นเป็นจึงปัญญา ที่เข้าไปพิจารณา

    จะสังเกตุได้ว่า ทั้งหมดเป็นปัจจัยต่อกัน สิ่งหนึ่งเกิดสิ่งหนึ่งจึงเกิด สิ่งหนึ่งดับสิ่งหนึ่งจึงดับ

    ลักษณะนี้ เป็นของเคยมีแล้วไม่มี ไม่มีแล้วมี ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนันตา
     
  12. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    เหมือนกัน
    ๑เป็นกุศลเจตสิก ปรุงแต่งเฉพาะกุศลจิต
    ๒เกิดในญาณสัมปยุต (ประกอบด้วยปัญญา)
    ๓ผลทำให้เกิดเวทนาเป็นโสมนัส หรืออุเบกขา

    ต่างกัน
    สติ
    ๑เป็นสติปัฏฐาน๔
    ๒เป็นสตินทรีย์
    ๓เป็นสติพละ
    ๔เป็นสติสัมโพชฌงค์
    ๕เป็นสัมมาสติ
    ๖เป็นการนึกออกระลึกรู้เท่าทันอารมรณ์ทาง๖ทวาร
    ๗เป็นการสกัดอกุศลเจตสิกไม่ให้ปรุงแต่งอกุศลมูลจิต ยับยั้งการเกิดอกุศลจิต
    ๘มีกุศลธรรมเป็นอุดมคติ
    ๙เป็นเหตุ ยังให้เกิดสมาธิ ยังให้เกิดปัญญา

    ปัญญา
    ๑เป็นปัญญิณทรีย์
    ๒เป็นปัญญาพละ
    ๓เป็นอุเบกขา
    ๔เป็นสัมมาทิฐิ
    ๕รู้เหตุ และผลตามความเป็นจริง ตามสภาพปรมัตถธรรมที่ปรากฏ
    ๖สัมปชัญญะก็ใช่
    ๗ทำลายความเห็นผิด(มิจฉาทิฐิ)
    ๘ขจัดความไม่รู้ (อวิชชา, โมหะ)
    ๙เป็นผล ที่เกิดจากสติ และสมาธิตามลำดับ
     
  13. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    สติที่เข้าไปรับรู้ แล้วไหลตามพอใจ ไม่พอใจ เีรียกว่าหลง คนทั่วๆไปก็เป็นเช่นนั้น

    สติที่ถูกต้อง คือต้องแยกออกมาจากอาการเหล่านั้น เป็นเพียงผู้รู้ผู้ดู ดูแบบวางใจเป็นกลาง ไม่ใช่ให้เข้าไปเป็น ผู้เป็น...ซึ่งเป็นอาการของคนหลงทั่วๆไป

    การที่สติ = กั้น คือสกัดกั้นจากการปรุงสังขารต่อออกไป ให้หยุดที่ตรงนี้
    ปัญญา = ตัด คือ รู้เท่าทันหมด ไม่ว่าจะโดนกระทบด้วยผัสสะใดๆ ก็มีปัญญาที่จะเข้าใจว่ายึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ไร้สาระทั้งนั้น นี่คือการ ตัด
    ตัดกิเลสออกไปจากจิตใจได้
     
  14. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    อนุโมทนา (y)
     
  15. ให้ทาง

    ให้ทาง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +14
    สติ คือ รู้ผิดชอบชั่วดี
    สติ ระลึกได้ ในสิ่งที่เคยทำ หรือคำที่เคยพูด แม้นานก็ระลึกได้พร้อมเหตุผลว่า ทำไมจึงพูดหรือทำอย่างนั้น
    สติ เป็นเครื่องระวัง ป้องกัน เหมือนยาม คอยเฝ้าระวังประตู(ใจ) ไม่ให้โจรผู้ร้ายเข้ามาทำความวุ่นวาย
    สติ เป็นเครื่องกั้น เหมือนเขื่อนกั้นน้ำ(กิเลส) ไม่ให้ไหลท่วมบ้าน(ใจ)ได้ ท่านจึงให้ฝึกสติและสมาธิเพื่อเป็นบาทของปัญญา

    ปัญญา คือ ความรู้แจ้งเห็นจริง ตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง อันมี ไตรลักษณ์เป็นเครื่องตัดสิน
    เหมือนมีมีดดาบหรือขวานอันคม ใช้ตัดต้นไม้อันหมายถึงกิเลสทั้งหลายทั้งปวง(เพราะรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ย่อมปล่อยวางได้)

    ถ้าจะเปรียบสติกับปัญญา ก็คล้ายบุรุษร่างกายแข็งแรง ล้ำสัน(สมาธิ)พร้อมโล่ห์(สติ) ถือมีดดาบอันคมกริบ(ปัญญา)
    เข้าต่อสู้กับศัตรู(กิเลส) ย่อมประสบชัยชนะเสมอแล..

    จึงเปรียบสติกับปัญญาสั้นๆ ว่า
    สติ = กั้น
    ปัญญา = ตัด

    แหะ..แหะ..เดียวหาว่า ดำน้ำมาตอบ :d
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ในอนัตตลักขณสูตรที่ว่าด้วยเรื่องอนัตตาล้วนๆ

    ไม่มีตรงไหนในพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

    สติ-ปัญญาเป็นอนัตตา มีแต่ขันธ์๕เท่านั้นที่เป็นอนัตตา

    ขาดสติ ปัญญาย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ขาดปัญญา จะมีสติได้อย่างไร?

    ประการสำคัญต้องรู้จักวิธีสร้างสัมมาสติให้เกิดขึ้นมาเป็นก่อน

    อย่าไปกังวลกับเรื่องปัญญา เพราะสติมาปัญญาเกิดขึ้นนั่นเอง

    ในอริยมรรคมีองค์๘ หมวดปัญญานั้น มีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ

    ความเห็นชอบ คือรู้เห็นอริยสัจ๔ตามความเป็นจริง

    ความดำริชอบ คือดำริในการออกจากกาม ดำริในความไม่พยาบาทฯลฯ

    ปัญญาในอริยมรรคนั้น ล้วนเกิดจากสัมมาสมาธิทั้งสิ้น(อ้างจากมหาจัตตารีสกสูตร)
     
  17. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    ใช่ๆ อันนี้แหละ อนุโมทนากับคุณ oatthidet ด้วยนะครับ

    ฉะนั้น สติไม่ใช่ปัญญา ปัญญาไม่ใช่สติครับ แต่อาศัยซึ่งกันและกัน:cool:
     
  18. จอยลี่

    จอยลี่ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +0
    กราบขอบพระคุณทุกท่านนะค่ะ ขอบคุณ คุณซัวเจ๋ง คุณให้ทาง ที่มาช่วยขยายบทความให้เข้าใจกระจ่างขึ้น สาธุคะ..

    จอยลี่ รู้สึกเห็นด้วยกับคุณธรรมภูติ ที่ว่า
    "ไม่มีตรงไหนในพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า สติ-ปัญญาเป็นอนัตตา มีแต่ขันธ์๕เท่านั้นที่เป็นอนัตตา"

    อยากจะตั้งคำถามใหม่เพื่อให้ท่านทั้งหลาย ช่วยแสดงความเห็นด้วยคะ

    "สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ" ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
    ประโยคนี้มีมาในประไตรปิฎก หลายท่านอธิบายเหมือนหนึ่งเข้าใจ และยกเอา "สติ จิต ปัญญา" ว่าเป็นธรรม
    แม้แต้ "นิพพาน" ก็คือ ธรรม เลยเหมารวมเอาว่า เป็น "อนัตตา"

    ท่านกล่าวไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่าเข้าไปยึดเอา ถือเอา มันเป็นของไม่มีสาระ
    ถ้าอย่างนั้น "พระนิพพาน" ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาด้วย คือ อย่าไปยึดเอา ถือเอา เช่นกัน
    "ธรรม" ที่พระองค์ตรัสรู้ก็ไม่ยิ่งใหญ่อย่างที่คุยละสิ แม้ "พระนิพพาน" ก็ไม่ใช่ธรรมอันยอดเยี่ยมแต่อย่างใด
    เพราะท่านไม่ให้ยึดสิ่งที่เป็น "ไตรลักษณ์"

    "นิพพานัง ปรมัง สุขัง" พุทธพจน์นี้ก็ผิด เพราะ "นิพพานเป็นทุกข์ไม่เที่ยงและเป็นอนัตตา"

    อยากเรียนถามท่านผู้รู้ เราศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร เพื่อ "นิพพาน" หรือ "ไตรลักษณ์"

    สาธุ.. ขอโมทนากับทุกท่านทุกคำตอบคะ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2011
  19. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ^ ^ เป็นคำถามที่ดีครับ
    พระพุทธเจ้า ตรัสว่า สรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สรรพสิ่งล้วนตั้งอยู่เป็นธรรมดา
    และดับไปเป็นธรรมดา

    ธรรมอันประกอบไปด้วย กามคุณทั้งหลาย คือ รูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัส และ ธรรมารม
    ล้วนเป็น อนัตตา คือ ไม่สามารถคงรูปอยู่ได้ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง

    แต่ สภาวะของพระนิพพาน คืออะไร
    นิพพานคือ สภาวะของการสิ้นกิเลส สิ้นความไม่รู้
    สภาวะของ นิพพานนั้นไม่ได้ เจือไปด้วย กามคุณ แต่อยู่เหนือกามคุณ คือได้ละแล้ว
    สภาวะที่เจือไปด้วยกามคุณ เรียกว่า โลกียะ
    แต่สภาวะที่พ้นจาก กามคุณ เรียกว่า โลกุตระ

    สภาวะของนิพพาน ไม่ได้ เข้านิพพาน แล้วไปเมืองนิพพาน แล้วกลับออกมา
    อย่างนั้นไม่ใช่นิพพาน นิพพานไม่มีเข้าๆออกๆ
    นิพพาน เกิดแล้ว จบเลย
    พระพุทธเจ้า ตรัสว่า กิจนี้ทำครั้งเดียว

    นิพพานคือ สภาวะธรรมที่เกิดในการหลุดพ้นระดับ สมุทเฉทปหาน คือครั้งเดียวจบเลย
    อย่างเช่น บางคนเห็นว่ากายนี้ไม่ใช่เรา แต่สักพัก ก็บอกว่ากายนี้เป็นเรา อย่างนี้
    ไม่เรียกว่า สมุทเฉทปหาน อย่างนี้เรียกว่า ยังมีความหลงผิดอยู่ ไม่ได้เรื่อง

    เมื่อเข้าสภาวะนิพพาน คือ ละกายว่ากายนี้ไม่ได้เป็นเรา และ จิตนี้ก็ไม่ได้เป็นของเรา
    จิตจะละจิต คืนจิตออกไปเพราะแม้แต่จิตก็ไม่ยึดถือ
    เมื่อทุกอย่างดับลง ก็ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีก
    นิพพาน ไม่เป็น อนัตตาอย่างที่ คุณเข้าใจ
    และนิพพาน ก็ไม่ได้เป็นอัตตาด้วย เพราะเมื่อดับไปแล้วก็ไม่ได้มีตัวตนถาวร
    ก็ไม่ได้เรียกว่า อัตตา
    ด้วยประการละฉะนี้ (ขอขยายอีกที เพื่อกันความสับสน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2011
  20. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    หากจะเห็นด้วยกับประโยคนี้

    "ไม่มีตรงไหนในพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า สติ-ปัญญาเป็นอนัตตา มีแต่ขันธ์๕เท่านั้นที่เป็นอนัตตา"



    อย่าไปกังวลกับเรื่องปัญญา เพราะสติมาปัญญาเกิดขึ้นนั่นเอง

    ประการสำคัญต้องรู้จักวิธีสร้างสัมมาสติให้เกิดขึ้นมาเป็นก่อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...