เพราะอะไร จิต จึงไม่ปกติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Ongsathit, 18 มีนาคม 2011.

  1. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    เหตุที่จิตไม่ปกติ เพราะจิตมีอุปทานกับสิ่งที่ปกติ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    จิตมันปกติสิครับ...แต่มันเศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรเข้ามานั่นหละ.....
     
  3. นิดหนึ่ง

    นิดหนึ่ง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +0
    ปกติหรือธรรมชาติของจิต ประภัสสร ผ่องใส
    ที่ไม่ปกติไม่ผ่องใส เพราะอุปกิเลสที่จรมา
     
  4. lightmagician

    lightmagician Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +38
    ลองหาอ่านของหลวงตาบัวดูนะครับที่ท่านสอน
    จิตประภัสสร นั้นก้คืออวิชา หรือนางงามจักวาลที่หลอกเราไห้หลงใหล
    ให้ยึดหลักอนิจจัง ทุขขัง อนัตตาเอาไว้ครับจะเห็นถึงความไม่เที่ยงของมันเอง
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    เดี๋ยวจะแวะมาอ่านใหม่ครับ..
    อนุโทนาด้วยครับ
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    รู้สึกว่าทั้งคุณและผมจะได้ศึกษามาจากแหล่งเดียวกันนะครับ.....

    โมทนาสาธุธรรม.....
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]

    จิตผ่องใสเศร้าหมองได้ หลุดพ้นได้

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองเพราะอุปกิเลส ที่จรมา"

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล หลุดพ้นได้จากอุปกิเลส ที่จรมา."



    เอกนิบาต อุงคุตตรนิกาย ๒๐/๑๑


    __________________________________________________

    อุปกิเลส 16

    ๑. อภิชฌมวิสมโลภะ คือความละโมภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว

    ๒. พยาบาท คือความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็นเพราะอำนาจพยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

    ๓. โกธะ คือความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

    ๔. อุปนาหะ คือการผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวนเรื่องในอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดีกับเราขนาดไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

    ๕. มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น
    ๖. ปลาสะ คือการตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้

    ๗. อิสสา คือความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขาอยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี

    ๘. มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร

    ๙.มายา คือเจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น

    ๑๐. สาเถยยะ คือการโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข

    ๑๑. ถัมภะ คือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง

    ๑๒. สารัมภะ คือการแข่งดี มุ่งแต่จะเองชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้

    ๑๓. มานะ คือความถือตัว ทะนงตน

    ๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น

    ๑๕. มทะ คือความัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ

    ๑๖. ปมาทะ คือความประมาท เลินเล่อ ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา
     
  8. lightmagician

    lightmagician Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +38
    [​IMG]

    ลุ่มหลงประภัสสรจิต
    ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

    แล้วมีอะไรที่คอยป้อนหรือผลักดันสิ่งเหล่านี้ออก มาเรื่อยๆ เดี๋ยวผลักดันสิ่งเหล่านี้และสิ่งเหล่านั้นออกมาหลอกเจ้าของอยู่เรื่อย นี่แหละท่านว่า “ประภัสสรจิต” จิตเดิมแท้ผ่องใส ภิกษุทั้งหลาย แต่อาศัยความคละเคล้าของกิเลส หรือความจรมาของกิเลส มาจากรูปเสียงกลิ่นรส จากเครื่องสัมผัสต่างๆ จรมาจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ความสำคัญมั่นหมายต่างๆ ไปกว้านเอามาเผาลนตัวเองนี่แหละ ที่มาทำให้จิตเศร้าหมอง เศร้าหมองด้วยสิ่งเหล่านี้เอง<O></O>

    ดังนั้นการพิจารณา จึงเพื่อจะถอดถอนสิ่งเหล่านี้ออกเพื่อเปิดเผยตัวจิตขึ้นมาด้วยปัญญาอย่าง ประจักษ์ จึงจะเห็นได้ว่า ในขณะจิตที่ยังไม่ได้ออกเกี่ยวข้องกับอารมณ์ใดๆ เพราะเครื่องมือคืออายตนะยังไม่สมบูรณ์ ยังอ่อนอยู่ จิตประเภทนี้ย่อมสงบตัวและผ่องใส ที่เรียกว่า “จิตเดิมเป็นจิตผ่องใส” แต่เป็นจิตเดิมของ “วัฏจักร” เช่นจิตเด็กแรกเกิดนั้นแล ซึ่งความเคลื่อนไหวต่างๆ ยังไม่สมบูรณ์พร้อมพอรับอารมณ์ต่างๆ ได้เต็มที่ ไม่ใช่จิตเดิมของวิวัฏจักรที่บริสุทธิ์เต็มที่แล้ว<O></O>

    ทีนี้เวลาพิจารณารอบไปโดยลำดับแล้ว อาการของกิเลสที่เคยเพ่นพ่านจะรวมตัวเข้าสู่จุดนั้น เป็นความผ่องใสขึ้นมาภายในใจ และความผ่องใสนี้แล แม้แต่เครื่องมือประเภท “มหาสติ มหาปัญญา” ก็ยังต้องลุ่มหลงความผ่องใสในระยะเริ่มแรกที่เจอกัน เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่เคยพบมาก่อนเลย นับแต่วันเกิดและเริ่มแรกปฏิบัติ จึงเกิดความแปลกประหลาดและอัศจรรย์ ดูเหมือนสง่าผ่าเผยไม่มีอะไรจะเปรียบเทียบได้ในขณะนั้น

    ก็จะไม่สง่าผ่าเผยยังไง เพราะเป็น “ราชาแห่งวัฏจักร” ทั้งสามโลก คือกามโลก รูปโลก อรูปโลก มาแล้วเป็นเวลานานแสนกัปนับไม่ได้โน่นน่ะ เป็นผู้มีอำนาจเหนือจิต ครอบครองจิตอยู่ตลอดมา ในเวลาที่จิต ยังไม่มีสติปัญญาเพื่อถอนตัวออกจากใต้อำนาจนั้น ก็จะไม่สง่าผ่าเผยยังไง! จึงสามารถบังคับถูไถจิตให้ไปเกิดในที่ต่างๆ โดยไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ แล้วแต่อำนาจแห่ง “วิบากกรรม” ที่ตนสร้างไว้มากน้อย เพราะกิเลสประเภทนางบังเงาเป็นผู้บงการ ความที่สัตว์โลกเร่ร่อนเกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็เพราะธรรมชาตินี้แลทำให้เป็นไป<O></O><!-- google_ad_section_end -->
     
  9. lightmagician

    lightmagician Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +38
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มีนาคม 2011
  10. lightmagician

    lightmagician Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +38
    [​IMG]

    “ความผ่องใส” กับ “ความเศร้าหมอง” เป็นของคู่กัน
    ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน


    เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงต้องพิจารณาให้เห็นชัด ความจริงแล้ว “ความผ่องใส” กับ “ความเศร้าหมอง” เป็นของคู่กัน เพราะต่างก็เป็นสมมุติด้วยกัน ความผ่องใสเพราะการรวมตัวของ กิเลสต่างๆ นี้ จะเป็นจุดให้เราทราบได้อย่างชัดเจนว่า “นี้ คือจุดแห่งความผ่องใส” เมื่อมีความเศร้าหมองขึ้นมา ตามสภาพของจิตหรือตามขั้นภูมิของจิต ก็จะเกิดความ ทุกข์อันละเอียดในลักษณะเดียวกันขึ้นมาในจุดที่ว่าผ่องใสนั้นแล ความผ่องใส ความเศร้าหมอง และความทุกข์อันละเอียด ทั้ง สามนี้เป็นสหายกัน คือเป็นคู่กัน

    เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นความผ่องใสนี้ จึงต้องมีความพะวักพะวนระมัดระวังรักษาอยู่ตลอดเวลา กลัวจะมีอะไรมารบกวนให้กระทบกระเทือน และทำให้จิตที่ผ่องใสนี้เศร้าหมองไป แม้จะเป็นความเศร้าหมองอันละเอียดเพียงใด แต่เป็นเรื่องของกิเลสที่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายไม่ควรนอนใจทั้งนั้น จำต้องพิจารณาด้วยปัญญาอยู่ไม่หยุดหย่อน<O></O><!-- google_ad_section_end -->
     
  11. lightmagician

    lightmagician Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +38
    [​IMG]

    จอมกษัตริย์คืออวิชชา !<O></O>
    ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

    เพื่อให้ตัดภาระกังวลลงไปโดยเด็ดขาด จงตั้งปัญหาถามตัวเองว่า “ความผ่องใสนี้คืออะไร?” จงกำหนดให้รู้ ไม่ต้องกลัวความผ่องใสนี้จะฉิบหายวายปวงไป แล้ว “เราที่แท้จริง” จะล่มจมฉิบหายไปด้วย

    การพิจารณาจงกำหนดลงไปในจุด นั้นให้เห็นชัดเจน ความผ่องใสนี้ก็เป็น “อนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะ อนัตตลักขณะ” เหมือนกันกับสภาพธรรมทั้งหลายที่เราเคยพิจารณามาแล้วไม่มีอะไรผิดกันเลย นอกจากมีความละเอียดต่างกันเท่านั้น

    จึงไม่ควรไว้ใจกับอะไรทั้งสิ้นขึ้นชื่อว่า “สมมุติ” แล้ว ปัญญาให้ฟาดฟันลงไป กำหนดลงไปที่ตัวจิตนี่แหละ สิ่งจอมปลอมแท้ๆ มันอยู่ที่ตัวจิตนี้เอง ความผ่องใสนั่นแหละคือตัวจอมปลอมแท้ ! และเป็นจุดเด่นที่สุดในเวลานั้นแทบไม่อยากแตะต้องทำลาย เพราะเป็นสิ่งที่รักสงวนมากผิดสิ่งอื่นใด ในร่างกายนี้ไม่มีอะไรที่จะเด่นยิ่งไปกว่าความผ่องใสนี้ จนถึงกับให้เกิดความอัศจรรย์ ให้เกิดความรักความสงวนอ้อยอิ่งอยู่ภายใน ไม่อยากจะให้อะไรมาแตะต้อง นั่นน่ะ จอมกษัตริย์คืออวิชชา !<O></O>

    เคยเห็นไหม? ถ้าไม่เคยเห็น เมื่อปฏิบัติมาถึงจุดนี้ ก็จะหลงเองแล้วก็จะรู้เอง ไม่มีใครบอกก็รู้เมื่อสติปัญญาพร้อมแล้ว นี่แหละท่านเรียกว่า “อวิชชา” คือตรงนี้ที่เป็นอวิชชาแท้ ไม่ใช่อะไรเป็นอวิชชาแท้ อย่าพากันวาดภาพ “อวิชชา” เป็นเสือโคร่งเสือดาว หรือเป็นยักษ์เป็นมารไป ความจริงแล้วอวิชชา ก็คือนางงามจักรวาลที่น่ารักน่าหลงใหลใฝ่ฝันของโลกดีๆ นี่เอง อวิชชาแท้กับความคาดหมายผิดกันมากมาย เมื่อเข้าถึงอวิชชาแท้แล้ว เราไม่ทราบว่าอวิชชาคืออะไร? จึงมาติดกันอยู่ที่ตรงนี้ ถ้าไม่มีผู้แนะนำสั่งสอน ไม่มีผู้ให้อุบาย จะต้องติดอยู่เป็นเวลานานๆ กว่าจะรู้ได้พ้นได้ แต่ถ้ามีผู้ให้อุบายแล้วก็พอเข้าใจและเข้าตีจุดนั้นได้ ไม่ไว้ใจกับธรรมชาตินี้ การพิจารณาต้องพิจารณาเช่นเดียวกับสภาวธรรมทั้งหลาย<O></O><!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  12. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -ใช่ครับ จิต เดิมมันปกติ เหตุที่ไม่ปกติคือจิตมันไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ปกติ
    -ยกตัวอย่าง จิต ผมมีความปกติ เหตุที่ไม่ปกติคือ ยาก ให้คุณเป็นคนดี เเต่ปกติคุณก็เป็นอย่างนั้น(เป็นคนไม่ดี) เมื่อจิตผมไม่สมประสงค์จึงไม่ปกติ เพราะคุณไม่ได้เป็นคนดีอย่างที่ผมต้องการ (ขออภัยนะ แค่ยกตัวอย่าง ความคุณเป็นคนดี)
     
  13. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572

    -ใช่แล้ว จิตประภัสสร ผ่องใส แต่ก็ไม่จิต บริสุทธิ์
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    โมทนาสาธุธรรมกับคุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->praputsorn<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4495517", true); </SCRIPT> นะครับ.....ได้ความรู้มากนะ.....

    มีอยู่วรรคหนึ่งที่หลวงตากล่าวไว้ คือ

    หลวงตาท่านแบ่งเป็นสองอย่างคือ จิตเดิมเป็นจิตที่ผ่องใส และ จิตเดิมของวิวัฏจักรที่บริสุทธิ์เต็มที่แล้ว.

    ถ้าอย่างนี้แสดงว่า จิตเดิมของวิวัฏจักรที่บริสุทธิ์เต็มที่แล้ว มันไม่มีสภาพที่ผ่องใสใช่หรือไม เมื่อบริสุทธิ์แต่ไม่ผ่องใสหรือ.....


    ถ้าตัดตรงวรรคล่าง ความผ่องใสของจิตก็ดี ความเศร้าหมองของจิตก็ดี ล้วนแต่เป็นสิ่งสมมุติ คือขึ้นอยู่ในอำนาจ ของพระไตรลักษณ์ ..... คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา..... ท่านแยกจาก จิตเดิมของวิวัฏจักรที่บริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ... คำถามก็ย่อมกลับไปที่เดิม คือ จิตเดิมของวิวัฏจักรที่บริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ในความบริสุทธินั้น มันไม่มีสถาพที่ผ่องใส แต่เป็นสถาพที่บริสุทธิอย่างเดียวแต่ไม่ผ่องใสอย่างนั้นหรือ....

    จิตที่บริสุทธิ์ ไม่ยึดในความผ่องใส หรือเศร้าหมอง จิตที่ละวางที่หมดไปจากกิเลสแล้ว.....เป็นไปได้ไมที่จะมีความผ่องใส(บริสุทธิแล้วจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองคืออุปกิเลสนั้น ตามพุทธพจน์) ที่เหนือความผ่องใส(แบบที่ยังอยู่ในกฏของพระไตรลักษณ์)... ตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนไว้ข้างบน.....ถ้ามิใช่ตามความหมายนี้ หลวงตาท่านไม่สอนผิดจากพระพุทธเจ้าท่านโดยตรงหรือ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2011
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    <TABLE id=threadslist class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY id=threadbits_forum_4><TR><TD id=td_threadstatusicon_281271 class=alt1>[​IMG] </TD><TD class=alt2> </TD><TD id=td_threadtitle_281271 class=alt1 title="">[​IMG] [/RIGHT]
    </TD><TD class=alt1 align=middle>13</TD><TD class=alt2 align=middle>1,044</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    จิตที่ผ่องใสด้วยกำลังสมาธิ


    จิตผ่องใสนี้ที่พิจารณาจนเห็นไตรลักษณ์ในทุกสิ่ง
    จิตนี้จึง เป็น จิตตัวรู้ สติ ที่ยึดไว้



    จิตตัวรู้ ที่ถูกละ แล้วตัวรู้ที่รู้แจ้ง อีกตัวก็เกิด จิตจึงหลุดพ้น
     
  17. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จิตปกติ เป็น มัชฌิมาปฏิปทา
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075

    ไม่ต้องไปให้ความสำคัญกับจิตรู้

    มันรู้ตั้งแต่หลับตา ลืมตามันก็รู้ ถ้ามีสติไม่ลืมรู้อยู่เป็นปกติ

    สนใจธรรมตรงหน้าปัจจุบันขณะดีกว่า ว่ารู้อะไร นั่นแหละปัญญารู้แจ้งแทงตลอด

    จิตรู้ เป็นแค่ วิญญาณขันธ์ ไม่จีรัง ไม่เที่ยงไม่พ้นอำนาจไตรลักษณ์ไปได้

    อย่าไปหลงจิตรู้เลยพี่น้อง
     
  19. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -ใช่เลยครับ มัชฌิมาปฏิปทา จิตปกติ เป็นทางสายกลาง
    -แต่ จิตไม่ปกติก็คือ ซ้ายมั้ง ขวามั้ง จิตเลยไม่ปกติ
    -เหมือนกับที่ได้เห็นก็สักแต่ว่าเห็น นี้คือ จิตปกติ แต่ถ้าเห็นแล้วปล่อย จิต เป็นเจตสิก จนเป็นอารมณ์ จิต จึงไม่ปกติ
     
  20. lightmagician

    lightmagician Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +38
    อนุโมทนาคุน หลงเข้ามา ท่าไม่ได้อ่านกระทู้ สำหรับผู้ที่ยังตั้งหลักไม่ได้<!-- google_ad_section_end --> คงเสียเวลาในการค้นหาจิตกันอีกนานเหมือนกันต้องขอกราบหลวงตาอย่างมากที่กรุณาเอาธรรมแท้ของท่านมาสอน
     

แชร์หน้านี้

Loading...