หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิตร(ฝัน)

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย psombat, 18 มีนาคม 2010.

  1. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    [​IMG]

    บรมพุทโธ...
    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=3 width="96%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#e8e3ce>สาระสังเขป (ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล)</TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พุทธสถานบุโรพุทโธในเกาะชวา ลักษณะเป็นฐานสี่เหลียมจตุรัส 4 ชั้นข้างล่าง ฐานวงกลม 3 ชั้นข้างบน และสถูปใหญ่อยู่ตรงกลางบนยอดสุด ที่ผนังฐานทั้ง 5 ชั้นมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ข้างบนทั้งสี่ทิศแสดงปางต่างกันแต่ละทิศ ทิศตะวันออกแสดงปางมารวิชัย คือพระธยานิพุทธอักโษภยะ ทิศใต้ปางประทานพรคือ พระธยานิพุทธรัตนสัมภวะ ทิศตะวันตกปางสมาธิคือพระธยานิพุทธอมิตาภะ ทิศเหนือปางประทานอภัยคือพระธยานิพุทธอโมฆสิทธะ และพระธยานิพุทธองค์ที่ 5 ซึ่งอยู่เหนือฐานชั้นที่ 5 หรือผนังด้านในของระเบียงชั้นที่ 4 ในความเห็นของศาสตราจารย์ฟัน โลฮุยเซน เห็นว่า หมายถึงพระสมันตภัทร ซึ่งแสดงปางวิตรรกะหรือทรงสั่งสอน ถัดขึ้นไปมีพระธยานิพุทธองค์ที่ 6 ประทับอยู่ในสถูปที่เจาะเป็นรู บนลานวงกลมชั้นบน 3 ชั้น ทรงแสดงปางปฐมเทศนาคือพระไวโรจนะ ซึ่งเป็นพระธยานิพุทธองค์ที่สำคัญที่สุด เมื่อการนับถือพระธยานิพุทธ 5 พระองค์ ได้เปลี่ยนไปเป็น 6 พระองค์ พระไวโรจนะหรือพระสมันตภัทรก็มีความสำคัญยิ่งขึ้น ต่อมามักเรียกพระธยานิพุทธองค์ที่ 6 ว่า พระวัชรสัตว์ และในกรณีที่มีการเคารพนับถือ 7 ชั้น ก็มักเรียกพระอาทิพุทธว่าพระวัชรธร พุทธศาสนาที่บุโรพุทโธอาจเป็นขั้นต้นแห่งการเจริญขึ้นของนิกายวัชรธร วัชราจารย์ หรือโยคาจารย์แห่งพุทธศาสนาลัทธิมหายาน.[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    บุโรพุทโธ อลังการณ์ศาสนสถานบนเกาะชวา

    บุโรพุทโธมหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา ห่างจากยอกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กิโลเมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1293 - 1393 โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก

    ในปีพ.ศ. 2534 องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้บุโรพุทโธเป็นมรดกโลก

    [​IMG]

    ประวัติของบุโรพุทโธ

    บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้งด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้งลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป

    แผนผังของบรมพุทโธ

    [​IMG]


    เชื่อกันว่าแผนผังของบุโรพุทโธคงหมายถึง “จักรวาล” และอำนาจของ “พระอาทิพุทธเจ้า” ได้แก่พระพุทธเจ้าผู้ทรงสร้างโลกในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงโดยสถูปที่บนยอดสุดก็ได้แผ่ไปทั่วทั้งจักรวาล ซึ่งจักรวาลนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือชั้นบนสุดได้แก่ “อรุปธาตุ” ชั้นรองลงมาคือ “รูปธาตุ” และชั้นต่ำสุดคือ “กามธาตุ” พระอาทิพุทธเจ้าในพุทธศาสนาลัทธิมหายานเองก็ทรงมี ๓ รูป (ตรีกาย) เพื่อให้ตรงกับธาตุ ทั้งสามนี้” “ธรรมกาย” ตรงกับ “อรูปธาตุ” ส่วน “สัมโภคกาย” (ประกอบด้วยพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายองค์) ตรงกับ “รูปธาตุ” และ “นิรมานกาย” (ประกอบด้วยพระมนุษยพุทธเจ้า) สำหรับ “กามธาตุธรรมกาย” ที่ตรงกับ “อรูปธาตุ” นั้นไม่มีภาพสลักตกแต่งแต่ก็มี “เจดีย์ทึบ” ล้อมรอบไว้โดยเจดีย์ทึบเจาะเป็นรูโปร่งสามแถวและมี “พระพุทธรูปนั่งปางปฐมเทศนา” อยู่ภายใน (ยังถกเถียงกันคือ บางท่านก็ว่าเป็น “พระธยานิพุทธไวโรจนะ” แต่บางท่านก็ว่าเป็น “พระโพธิสัตว์วัชรสัตว์” ประจำองค์พระอาทิพุทธเจ้า)

    <TABLE class=alt1 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ส่วนฐานที่ถัดลงมาอีกสี่ชั้นได้แก่ “รูปธาตุ” ที่พระอาทิพุทธเจ้าได้สำแดงพระองค์ออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้าห้าพระองค์” คือ “พระอักโษภวะปางมารวิชัยทางทิศตะวันออก, พระรัตนสัมภวะปางประทานพรทางทิศใต้, พระอมิตาภะปางสมาธิทางทิศตะวันตก” และ “พระอโมฆาสิทธะปางประทานอภัยทางทิศเหนือ” ส่วนองค์ที่ห้านี้อยู่เหนือผนังฐานยอดสุดยังเป็นปัญหาเพราะทรงแสดง “ปางแสดงธรรม” (วิตรรกะ) ที่บางท่านเชื่อว่าเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า” องค์สูงสุดคือ “พระไวโรจนะ” แต่พระไวโรจนะโดยปกติทรงแสดงปาง “ประทานปฐมเทศนา” ก็เลยมีบางท่านเชื่อว่าพระพุทธรูปที่ทรงแสดงปาง “ปางวิตรรกะ” บนฐานชั้นยอดสุดหมายถึง “พระสมันตภัทรโพธิสัตว์” เพราะ “พระพุทธศาสนา” ลัทธิมหายานนิกาย “โยคาจารย์” ได้ยกย่องพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขึ้นเสมอเหมือน “พระธยานิพุทธเจ้า” อีกพระองค์อีกทั้งภาพสลักบนผนังระเบียงชั้นที่สี่ก็เกี่ยวกับคัมภีร์ “คัณฑพยุหะ” และ “ภัทรจารี” ที่ยกย่องพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขึ้นเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า” ส่วน “พระธยานิพุทธไวโรจนะ” ก็คือพระพุทธรูปนั่งประทานปฐมเทศนาในเจดีย์รายสามแถวนั่นเองและ “พระธยานิพุทธเจ้า” อีกสี่พระองค์คือ “พระอักโษภยะ, รัตนสัมภวะ, อมิตาภะ, อโมฆสิทธะ” จึงประดิษฐานอยู่ในซุ้มเหนือฐานชั้นที่ ๑-๔ แต่ละทิศตามลำดับ แต่บางท่านก็เชื่ออีกว่าพระพุทธรูปในซุ้มบนยอดฐานชั้นที่ ๑ หมายถึง “พระมนุษยพุทธเจ้าสี่พระองค์” เพราะตรงกับกามธาตุได้แก่ “พระโกนาคมทางทิศตะวันออก, พระกัสสปะทางทิศใต้, พระศรีศากยมุนีทางทิศตะวันตก, พระศรีอาริยเมตไตรยทางทิศเหนือ” ด้วยเหตุนี้เมื่อมีผู้มากระทำประทักษิณโดยเดินเวียนขวารอบ “บุโรพุทโธ” ขึ้นไปแต่ละชั้นก็จะพ้นจากกามธาตุขึ้นไปยังรูปธาตุและอรูปธาตุตามลำดับโดย “พระพุทธรูป” ในซุ้มเหนือฐานห้าชั้นมีทั้งหมด “๔๓๒ องค์” ถ้านับรวมพระพุทธรูปในเจดีย์รายอีก “๗๒ องค์” ก็มีจำนวนทั้งสิ้น “๕๐๔ องค์”

    [​IMG]
    พระเจดีย์องค์ใหญ่” ที่อยู่บนยอดสูงสุดของ “บุโรพุทโธ” ก็คือสัญลักษณ์แทนองค์ “พระอาทิพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้า “สูงสุด” ในคติพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ส่วน “สถูปเจดีย์” ที่มีรูปทรงโอ่งคว่ำเป็นแบบทึบนั้นก็คือสัญลักษณ์ของ “อรูปธาตุ” (ไม่ปรากฏร่างกาย) และเป็นเพียงสัญลักษณ์พระสถูปเจดีย์ดังกล่าวอันเป็นพลังสากลทั่วไปที่แผ่ไปทั่ว “วสกลจักรวาล” ซึ่งก็คือพุทธานุภาพพุทธบารมีแห่งองค์ “พระอาทิพุทธเจ้า” (อาทิหมายถึงต้นกำเนิดของสรรพสิ่งบนโลก) “พระอาทิพุทธเจ้า” ทรง “นิรมานกาย” (แบ่งพระวรกาย) ออกได้เป็นสามรูปที่เรียกว่า “ตรีกาย” อันได้แก่ “ธรรมกาย” คือเป็นอรูปธาตุ “สัมโภคกาย” ก็คือ “การเนรมิตกาย” ออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า” และ “พระโพธิสัตว์” ผู้เป็นบริวารของพระองค์อันเป็นรูปธาตุของพระอาทิพุทธเจ้า “นิรมานกาย” ก็คือการเนรมิตกายของ พระธยานิพุทธเจ้าออกมาเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” อีกขั้นตอนหนึ่ง (เป็นกายขั้นที่สาม) อันเป็นกามธาตุของพระอาทิพุทธเจ้า ส่วน “ธรรมกาย” หรือ “อรูปธาตุ” ของพระอาทิพุทธเจ้าได้ถูกกำหนดสัญลักษณ์ออกมาเป็น “พระสถูปเจดีย์ทรงโอ่งคว่ำทึบ” ขนาดใหญ่องค์เดียวที่ถือเป็น “ศูนย์กลางของบุโรพุทโธ” ประดิษฐานอยู่บนลานชั้นยอดอันเป็นชั้นบนสุดของบุโรพุทโธ โดยไม่มีภาพสลักตกแต่งรายละเอียดใด ๆ และถัดออกมาเป็น “พระสถูปเจดีย์เจาะสลักเป็นรูโปร่งสามแถว” ที่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชรแสดงปางปฐมเทศนา (จีบนิ้วพระหัตถ์) โดยมีพระสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปประดิษฐานภายในทั้งหมด “๗๒ องค์” และแบ่งออกเป็นแถวชั้นใน ๑๖ องค์ แถวชั้นกลาง ๒๔ องค์ และแถวชั้นนอก ๓๒ องค์ ทางด้านฐานของพุทธศาสนสถานบุโรพุทโธที่ถัดลงมาอีกสี่ชั้นเป็นสัญลักษณ์ของ “รูปธาตุ” หรือ “สัมโภคกาย” ที่ “พระอาทิพุทธเจ้า” ทรงเนรมิตกายของพระองค์ออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้าห้าพระองค์” คือ “พระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้าปางมารวิชัย” ประดิษฐานทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธ “พระรัตนสัมภวะธยานิพุทธเจ้าปางประทานพร” ประดิษฐานทางทิศใต้ “พระอมิตาภะธยานิพุทธเจ้าปางสมาธิ” ประดิษฐานทางทิศตะวันตก “พระอโมฆสิทธิธยานิพุทธเจ้าปางประทานอภัย” ประดิษฐานทางทิศเหนือและ “พระไวโรจนะธยานิพุทธเจ้าปางแสดงธรรม” ประดิษฐานอยู่เหนือผนังชั้นยอดบนสุด
    และในชั้นที่ ๑ มี “พระพุทธรูป” ประดิษฐานในซุ้มบนยอดฐานเป็นพระพุทธรูปของ “พระมานุษิพุทธเจ้า” ซึ่งอยู่ในระดับ “กามธาตุ” หรือระดับของ “โลกมนุษย์” ที่ “พระอาทิพระพุทธเจ้า” คือพระพุทธเจ้าที่สูงสุดในคติของ “พระพุทธศาสนานิกายมหายาน” ได้นิรมานกายคือการ “แบ่งภาค” ของพระองค์ออกมาเป็นพระอาทิพระพุทธเจ้าโดยใน “ภัทรกัปป์” นี้ทรงแบ่งภาคออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า ๕ พระองค์” ด้วยกันคือ ๑. “พระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธและพระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้านี้ทรงนิรมานกายแบ่งภาคออกมาเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” ที่ทรงพระนามว่า “พระกกุสันโธพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน “พุทธันดรที่ ๑” ในภัทรกัปป์ ๒. “พระรัตนสัมภวะธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศใต้ของบุโรพุทโธที่ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระโกนาดมน์พุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน “พุทธันดรที่ ๒” ในภัทรกัปป์ ๓. “พระอโมฆะสิทธิ์ธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศเหนือของบุโรพุทโธทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น “พระมานิษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระกัสสปะพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน “พุทธันดรที่๓” ในภัทรกัปป์ ๔. “พระอมิตภะธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศตะวันตกของบุโรพุทโธทรงนิรมานกายแบ่งภาคออกมาเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระศากยมุนี” ซึ่งเป็น “พุทธันดรที่ ๔” หรือพระพุทธเจ้า “องค์ปัจจุบัน” ของภัทรกัปป์ ๕. “พระไวโรจนะธยานิพุทธเจ้า” ประดิษฐานอยู่ตรงกลางเหนือผนังชั้นบนยอดสุดของชั้นที่ ๕ ของบุโรพุทโธ (เปรียบได้กับการเป็นภาคกลางหรือทิศภาคกลาง) ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระเมตไตรยพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้า “องค์สุดท้าย” เป็น “พุทธันดรที่ ๕” ในภัทรกัปป์และเป็น “พระอนาคตพุทธเจ้า” ที่ยังไม่มาตรัสรู้เพราะศาสนาของ “พระศากยมุนีพุทธเจ้า” (พุทธันดรที่ ๔) ยังไม่อันตรธานหายไปจากโลกนั่นเอง

    ฐานชั้นล่างสุดซึ่งเป็นฐานชั้นที่ ๑ ของ “บุโร พุทโธ” จะมีภาพสลักทั้งหมด “๑๖๐ ภาพ” โดยทุกภาพจะเป็นการเล่าเรื่องราวตาม “คัมภีร์ธรรมวิวังค์” ว่าด้วยเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ซึ่งก็คือเรื่องของ “บาป บุญ คุณ โทษ” นั่นเองแต่ต่อมาภาพเหล่านี้ถูกลานประทักษิณขนาดใหญ่ (ลานที่เดินเวียนขวาตามพุทธสถาน) ทับถมไว้กระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ นักโบราณคดีชาว “ฮอลันดา” ได้ค้นพบภาพเหล่านี้โดยทำการรื้อลานประทักษิณออกและทำการถ่ายภาพ “ภาพสลัก” ทั้งหมดแล้วนำมาประกอบไว้ดังเดิมที่ปัจจุบันมีการเปิดแสดง ให้เห็นภาพสลักประมาณ ๒-๓ ภาพ ตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพราะภาพสลักทั้ง ๑๖๐ ภาพนี้ส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็น “วิถีชีวิตของชาวชวา” ใน “พุทธศตวรรษที่ ๑๔” ได้เป็นอย่างดีและผนังด้านในของของระเบียงชั้นที่๑มีความสูง ๓.๖๖ เมตร ประดับตกแต่งด้วยภาพสลักแนวละ “๑๒๐ ภาพ” และระหว่างภาพจะมีลายก้านขดคั่นส่วนภาพแนวบนแสดงเรื่องราวของ “พระพุทธประวัติ” ฝ่ายมหายานตาม “คัมภีร์ลลิตวิสูตร” หรือ “คัมภีร์ปฐมสมโพธิฝ่ายมหายาน” นับตั้งแต่การ “เสด็จประสูติ, บำเพ็ญบารมี” ไปจนถึงการแสดง “ปฐมเทศนาธัมม จักกัปปวัตนสูตร” ส่วนภาพด้านล่างสลักภาพอธิบายเรื่องราวของ “ชาดก” และ “นิยายอวตาน”

    ทางด้านผนังด้านนอกของระเบียงชั้นที่ ๑ นั้น เมื่อแก้ไขให้สูงขึ้นหลังจากที่มีการสร้างลานทักษิณรอบนอกแล้ว ผนังด้านในก็ยังมีการแกะสลักเป็น “ภาพชาดก” อีกโดยมีแนวบนทั้งหมด “๓๗๒ ภาพ” ซึ่งเป็นการแสดงที่นำเค้าโครงเรื่องที่มาจาก “ชาตกมาลา” (ชาดกมาลา) บทนิพนธ์ของท่าน “อารยศูร” และภาพในแนวล่างเล่าเรื่อง “ชาดก” และ “อวตาน” อีกเช่นกันนอกจากนั้นบนยอดฐานแต่ละชั้นจะมีการก่อสลักหินเป็นซุ้มประดิษฐาน “พระพุทธรูป” อยู่ภายในโดยในซุ้มชั้นที่ ๑ สำหรับประดิษฐาน “พระมานุษิพุทธเจ้า” และซุ้มชั้นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจะสลักลวดลายและประ ดับเพชรพลอยบนยอด โดยซุ้มที่อยู่สูงขึ้นไปบนยอดเป็นซุ้มสัญลักษณ์ของ “พระธยานิพุทธเจ้า” โดยใช้รูปสถูปเจดีย์จำลองเป็นสัญลักษณ์แทนและอยู่สูงขึ้นไป

    และในระเบียงชั้นที่ ๒ ด้านในของผนังชั้นนอกอาจจะมีการสลักเรื่อง “ชาดก” ต่อแต่ยังไม่แล้วเสร็จส่วนผนังชั้นในสลักภาพสลักจำนวน “๑๒๘ ภาพ” และเล่าเรื่องราวตาม “คัมภีร์คัณฑพยุหะ” ซึ่งเป็นชาดกที่เล่าเรื่องราว “พระสุธนกับนางมโนราห์” ตอนที่ “พระสุธน” ไปท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้ที่ในตอนแรกได้พบกับ “พระโพธิสัตว์มัญชูศรี” ก่อนแล้วจึงท่องเที่ยวหาความรู้ต่อไปแต่ในที่สุดก็ย้อนกลับมาหา “พระโพธิสัตว์มัญชูศรี” อีกครั้งและ “ระเบียงชั้นที่ ๓” ทั้งผนัง ชั้นนอกและชั้นในสลักเล่าเรื่องราวประวัติ “พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย” ถึงในอนาคตหลังจากที่ “พุทธันดร ที่ ๔” (พุทธันดรในปัจจุบัน) สิ้นสุดลง “พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย” ก็จะเสด็จมาตรัสรู้เป็น “พระพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระเมตไตรยพุทธเจ้า” ซึ่งก็คือ “พระอนาคตพุทธเจ้า” นั่นเอง โดยรอบ ๆ ของ “บุโรพุทโธ” ตามฐานระเบียงชั้นต่าง ๆ มีการสลักภาพรวมแล้วได้ประมาณ “๑,๓๐๐ภาพ” มีความยาวต่อกันเกือบ “๔ กิโลเมตร”

    ทางทิศตะวันออก เป็นประตูทางขึ้นหลักที่สำคัญของบุโรพุทโธที่ปรากฏ “สิงห์ทวารบาล” สลักด้วยศิลาตั้งอยู่ภายนอกทางขึ้นทั้งสองข้าง ส่วนประตูทางขึ้นของแต่ละทิศที่สามารถเดินผ่านตรงไปยังลานชั้นบนได้ประกอบด้วย “ลายหน้าบาล” และ “ภมร” ในแต่ละชั้นจะมีท่อระบายน้ำโดยชั้นล่างจะสลักหินเป็น “รูปกุมาร” มีคนแคระแบกรับไว้และชั้นบนสลักเป็น “รูปหน้ากาล” โดยลายหน้ากาลนี้จัดเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของ “ศิลปะชวา” ที่มีความหมายว่า “กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสิ่ง ดังนั้นสัปปุรุษทั้งหลายพึงไม่ประมาท” จึงจัดเป็น “พุทธปรัชญามหายาน” ได้เป็นอย่างดี

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2011
  2. nontayan

    nontayan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +976
    ผมก็มีพระอุปคุตเป็นเนื้อจุยเจีย (แก้วมณีโชติ) ทั้งที่เสด็จมาทางอากาศ และตามแผงพระ สององค์คือพระปิดตากับพระแก้วมณีโชติเสด็จมาในพิธีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 ที่ผ่านมาครับ (ภรรยาผมเธอเก็บสะสม)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. สาวกธรรม1

    สาวกธรรม1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +173
    คงมีอะไรบางอย่างที่ทำให้ผมได้เข้ามาวันนี้ แปลกครับเข้าเวปอะไรไม่ได้เลย ขนาดเข้า mail ยังไม่ได้เลยแต่เข้ามาหน้าต่างนี้สบายครับ
    พอเข้ามาก็เจอเลยครับ พระแก้วสวยมากครับพระดีย่อมคู่กับคนดี
    ยินดีด้วยครับท่านอาจารย์(ได้อีกแล้ว) 555
     
  4. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    [​IMG] [​IMG]

    ยินดีด้วยนะครับท่านนนต์...:cool:

    จุ๊ยเจียในวงการพระ..เช่น...กรุฮอด,พระแก้วหินแห่งวังหน้า,น้ำประสาน...และพระแก้วมณีโชติ...มีความแตกต่างกันมากพอสมควร...ทั้งนี้ต้องได้ครอบครองทั้งหมด เพื่อจักสามารถแยกแยะกันได้ทางตาใน สูงสุดคือพระแก้วมณีโชตินิแหละครับผม มีน้อย...หายาก...สุดยอดของแท้...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2011
  5. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ยินดีฮับต้อนสู่...หลังกุฏิหลวงปู่แหวนครับท่าน
     
  6. nontayan

    nontayan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +976
    เมื่อวันอาทิตย์ 6 มีนาคมที่ผ่านมา ผมพบกับเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ได้พบญาติธรรม เพื่อนธรรม ผู้มีบุญบารมี ได้ไปบรรยายพระ ได้ร่วมพิธีอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และได้รับพระกริ่งปวเรศรุ่น 1 ปี 2416 (1 องค์) และปี 2434 (3 องค์) ก็เลยนำภาพมาฝากครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2011
  7. nontayan

    nontayan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +976
    ลองดูพิมพ์ เนื้อโลหะ และสีผิววรรณะเอาเองนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    ยินดีและโมทนาสาธุด้วยครับ
     
  9. สาวกธรรม1

    สาวกธรรม1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +173
    ขอบคุณครับจะติดตามทุกวันครับ
     
  10. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    เจดีย์ไจ๊ปุ่น (พระสี่ทิศ)
    ไจ๊ คือ พระ หรือ เจดีย์ ปุ่น คือ 4 ดังนั้น พระเจดีย์ปุ่น คือ พระเจดีย์ที่มีพระ 4 ทิศ โดยพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์ อายุกว่า 500 ปี หันพระพักตร์ไปยัง 4 ทิศ สร้างขึ้นโดย 4 สาวพี่น้อง ที่อุทิศตนแด่พุทธศาสนา จึงสร้างพระพุทธรูปแทนตนเอง และได้สาบานไว้ว่าจะไม่ข้องแวะกับบุรุษเพศ ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันว่า ในที่สุดแล้ว น้องสาวคนสุดท้อง กลับพบรักกับชายหนุ่มและแต่งงานกัน จึงเกิดอาเพศฟ้าผ่าพระพุทธรูปที่แทนตัวของน้องสาวคนส ุดท้องพังทลายลงมา จนต้องมีการสร้างขึ้นมาใหม่ตามที่เห็นในปัจจุบัน โดยพระพุทธรูปองค์นี้จะมีลักษณะแตกต่างจากองค์อื่น ๆ คือ พระพักตร์จะเศร้ากว่าองค์อื่น จากนั้นมีบูรณะ วัดนี้เมื่อ พ.ศ.2019 พระเจดีย็นี้มีพระพุทธรูปปางประทับนั่งโดยรอบทั้ง 4 ทิศ อันได้แก่

    สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ทางทิศเหนือ
    พระพุทธเจ้าโกนาคมโน ทางทิศใต้
    พระพุทธเจ้ากกุสันโธ ทางทิศตะวันออก
    พระพุทธเจ้ามหากัสสปะ ในทิศตะวันตก

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ที่มา โมทนาสาธุครับ
     
  11. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    [​IMG]
    พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า

    พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า भैषज्यगुरु เป็นพระพุทธเจ้าที่สำคัญพระองค์หนึ่งในพระพุทธศาสนาอุตตรนิกาย ทรงมีพระนามอีกหลายพระนามอาทิเช่น พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาส, พระมหาไวทยราชย์, พระทวาทศปณิธานราชย์ ทรงประทับ ณ. ไวฑูรยประภาพุทธเกษตร ในมณฑลหนบูรพทิศ พร้อมด้วยพระอัครสาวก อันได้แก่พระสุริยประภามหาโพธิสัตว์, พระจันทรประภามหาโพธิสัตว์ และเทวบุรุษทั้ง ๑๒

    ใน “ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตมูลปณิธานสูตร” ได้แสดงไว้ว่า “นับพุทธเกษตรแต่สหาโลกธาตุไปทางมณฑลหนบูรพาได้ ๑๐ เมล็ดทรายในมหาคงคานที มีโลกธาตุหนึ่งนามว่าวิสุทธิไวฑูรยะ เป็นที่ประทับแห่งพระผู้มีพระภาคอันมีพระนามว่า พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต พระฉัพพรรณรังสีแห่งพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ยังให้เกิดความสำเร็จขึ้นแล้ว ทั้งในทางโลกียะและโลกุตระ และวิสุทธิเกษตรแห่งนั้นสำเร็จแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์”

    [​IMG]

    ใน “ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชสัปตพุทธมูลปณิธานปูชานิสังสสูตร” ได้พรรณนาลักษณะแห่งพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้าไว้ว่า “พระวรพักตร์แฝงไว้ด้วยพระเมตตา พระวรกายสง่างาม พระฉวีสีคราม พระหัตถ์ซ้ายทรงถือเครื่องพระโอสถหรือแก้วจินดามณี พระหัตถ์ขวาทรงกระทำตรีโลกธาตุมุทรา ทรงประทับสมาธิวัชระ เหนือปัทมอาสน์ ใต้ปัทมอาสน์นั้นแวดล้อมด้วย ๑๒ เทวบุรุษ อันเทวบุรุษทั้ง ๑๒ นี้ จักคอยนำปวงเทวาแลอสูร บริรักษ์ชนผู้รำลึกถึงพระนาม และบูชาพระตถาคตเจ้านาม ไภษัชยคุรุ” นอกจากนี้ยังมีที่แสดงว่า พระหัตถ์ทรงสถูปพระโอสถ พระหัตถ์ขวาทรงกระทำทานมุทรา

    [​IMG]

    สมัยเมื่อพระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีนั้น ทรงตั้งมหาปณิธาน เพื่อโปรดสรรพชีวิต ๑๒ ประการ ดังนี้

    ๑. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ กายาจงทอแสง สาดส่อง อนันตโลกธาตุ ทั้งยังกอปรด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ และ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ สง่างาม ทั้งสรรพชีวิตทั้งปวงจงเป็นเช่นดั่งเรา

    ๒. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ วรกายดุจแก้วไพฑูรย์ นอกในสุกใส บริสุทธิ์ไร้มลทิน โอภาสยิ่งใหญ่ บุญกุศลสูงล้ำ กายามั่นคง ข่ายระฉัพพรรณรังสีเรืองรองเหนือตะวันจันทรา อันจักยังให้สรรพชีวิต สมปรารถนาในสรรพกิจทั้งปวง

    ๓. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จงถึงพร้อมด้วยปัญญาอันไร้ประมาณ อันจักยังให้สรรพชีวิตถึงพร้อมด้วยเครื่องอุปโภคอันมิรู้สิ้น

    ๔. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต มีมิจฉาทิฐิ โพธิญาณแห่งเราจะเปลี่ยนให้เป็นสัมมาทิฐิ หรือ มาตรว่าสรรพชีวิต เดินทางสาวกยาน โพธิญาณแห่งเราจะเปลี่ยนให้เป็นมหายาน

    ๕. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต อาศัยธรรมแห่งเราประพฤติพรหมจรรย์ จักยังให้ศีลบริบูรณ์ ไร้ความด่างพร้อย ทั้งเมื่อสดับนามแห่งเรา จักบริสุทธิ์ ไม่ตกสู่อบาย

    ๖. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต กายาไม่บริบูรณ์ สติปัญญาไม่ถึงพร้อม วิกลวิการ บ้าใบ้บอดหนวก หรือเจ็บป่วยด้วยปวงสรรพโรคา เมื่อสดับนามแห่งเรา กายแลจิตจักบริบูรณ์ พ้นแล้วจากปวงโรคา

    ๗. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต โรคร้ายกลุ้มรุม ไร้ที่พึ่งพิง ไร้หมอไร้ยา ไร้ญาติขาดมิตร ยากจนข้นแค้น เพียงสดับนามแห่งเราแม้เพียงครั้งเดียว สรรพโรคสลาย สุขกายสุขใจ ทุกสิ่งบริบูรณ์ ตราบจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ๘. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันว่าสตรีต้องพบกับความทุกข์นานาประการ มาตรว่าปวงสตรีเพศ ปรารถนาจะสละแล้วซึ่งอิตถีเพศ (หมายถึงอยากจะเป็นชาย) สดับนามแห่งเรา เปลี่ยนหญิงเป็นชาย ถึงพร้อมมหาบุรุษลักษณ์ ตราบจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ๙. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จักยังสรรพชีวิต พ้นแล้วจากบ่วงแห่งมาร ปราศแล้วจากปวงเดียรถีย์ มาตรว่าตกอยู่อยู่ในป่าอันรกชัฏแห่งมิจฉาทิฐิ (เรา) จักชักนำให้เข้าถึงสัมมาทิฐิ บำเพ็ญโพธิธรรม เพื่อเข้าถึงพระโพธิญาณโดยเร็ว

    ๑๐. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต ต้องราชภัย ถูกจองจำ ต้องพันธนาการ ขื่อคา โซ่ตรวน ต้องเครื่องทัณฑกรรม หรือต้องพบกับความทุกข์และภยันตรายทั้งปวง ทุกข์ทรมานทั้งกายและใจ สดับนามแห่งเรา ด้วยกุศลาภินิหาริย์แห่งเรา จักยังให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง

    ๑๑. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต อดอยากอาหาร หิวและกระหาย ก่อบาปสร้างกรรม สดับนามแห่งเรา หมั่นกระทำการสวดรำลึก เราจักกระทำให้อิ่มแล้วด้วยโอชาโภชนาหารอันประณีต จากนั้นจักให้ยังเกิดปีติ อันเกิดแต่การแจ้งในธรรมรส

    ๑๒. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต ขาดแคลนเครื่องนุ่มห่ม ยุงไต่ไรตอม ร้อนหนาวเป็นกำลัง ไร้ที่พักแรม สดับนามแห่งเรา หมั่นกระทำการสวดรำลึก สิ่งอันงามทั้งปวง เช่นอาภรณ์อันวิเศษ รัตนาภรณ์ พวงมาลา เครื่องหอม คีตดุริยางค์ นักฟ้อน จักบังเกิดขึ้น ตามแต่มโนรส บริบูรณ์ทุกสิ่งอัน

    ในพระศาสนาแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า อันมีพระนามว่า “พระอสนีประภาสตถาคตพุทธเจ้า” มีชายผู้หนึ่งพร้อมด้วยบุตรทั้ง ๒ ได้เห็นภัยในวัฏฏะทุกข์ จึงตั้งจิตปรารถนาพระโพธิญาณ เพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิต ณ. กาลนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงกระทำการสาธุการ จากนั้นจึงทรงมีพระพุทธพยากรณ์ว่า สืบไปชายผู้นั้นจักกระทำให้แจ้งแล้วซึ่งกองทุกข์ ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มีพระนามที่ “พระไวทยราชย์ตถาคตพุทธเจ้า” ผู้บุตรทั้ง ๒ จักเป็นพระมหาโพธิสัตว์ มีพระนามที่ “พระสุริยประภามหาโพธิสัตว์” และ “พระจันทรประภามหาโพธิสัตว์” ประทับ ณ. ไวฑูรยโลกธาตุวิสุทธิเกษตร ในมณฑลหนบูรพทิศ

    [​IMG]

    ใน “ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชสัปตพุทธมูลปณิธานปูชานิสังสสูตร” ได้แสดงนามแห่งพระผู้มีพระแห่งมณฑลหนบูรพาทั้ง ๗ พระองค์ รวมเป็น “พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชสัปตตถาคตพุทธเจ้า” ดังนี้

    ๑. พระสุนามศิริมังคลตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. โอภาสวิชัยโลกธาตุ

    ๒. พระมณีจันทรปรัชญาประภาสัททอิศวรตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. วิเศษมณีโลกธาตุ

    ๓. พระสุวรรณรัตนประภาวิเศษสิทธิตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. ไวปูลยคันธเกษตรโลกธาตุ

    ๔. พระอนาลยมหาชินศิริมังคลตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. อนาลยโลกธาตุ

    ๕. พระธรรมสมุทรอัสนีสัททตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. ธรรมคทาโลกธาตุ

    ๖. พระธรรมสมุทรชินปรัชญากรีฑาฤทธิ์ตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. สุสถิตมณีสมุทรโลกธาตุ

    ๗. พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. ไวฑูรยวิสุทธิเกษตรโลกธาตุ

    แต่ทั้งนี้ใน “ไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้ามูลปณิธานสูตร” กลับแสดงนาม “พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า” ไว้เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น จึงทำให้ผู้มีสันนิษฐานว่า พระผู้มีพระแห่งมณฑลหนบูรพาทั้ง ๗ พระองค์ ที่แสดงมาข้างต้นนั้น อาจเป็นนิรมาณกายแห่งพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้าก็เป็นได้ ซึ่งพระผู้มีพระแห่งมณฑลหนบูรพาทั้ง ๗ พระองค์ ทรงมีพระมหาปณิธานรวมกันทั้งสิ้นได้ ๔๔ ประการ ทรงเป็นที่พึ่งเทวดาและมนุษย์ ตลอดจนสรรพชีวิตทั้งหลาย

    [​IMG]

    ไวฑูรยวิสุทธิเกษตรโลกธาตุ ก็มีความเป็นเลิศไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า สุขาวดีวิสุทธิเกษตรโลกธาตุ อันเป็นที่ประทับแห่ง พระผู้มีพระภาคอันมีพระนามว่า “อมิตาภ” แต่อย่างใด ใน “ไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้ามูลปณิธานสูตร” ได้พรรณนาลักษณะแห่งไวฑูรยวิสุทธิเกษตรโลกธาตุไว้ความว่า “โลกธาตุแห่งนี้ล้วนแล้วบริสุทธิ์ ไร้ซึ่งอิตถีเพศและมลทินทั้งปวง แม้แต่คำว่า “ความทุกข์” การที่จักได้สดับก็หามีไม่ อันพื้นปฐพีสำเร็จแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ อันกำแพง, แผ่นพื้น, ประตู, หน้าต่าง, ขื่อคาน, เสา, อาคาร นั้นเล่า ก็สำเร็จแล้วด้วยแก้วมณีทั้ง ๗ ประการ อันโลกธาตุแห่งนี้ เป็นที่ประทับแห่งพระผู้มีพระภาคอันมีพระนามว่า พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสุริยประภามหาโพธิสัตว์แลพระจันทรมหาโพธิสัตว์ ทั้งยังพร้อมด้วย ๘ พระมหาโพธิสัตว์และเทวบุรุษทั้ง ๑๒ อันจักปกปักษ์บริบาลผู้หมั่นบูชาและรำลึกถึงพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า ทั้งจักชักนำให้สรรพชีวิตทั้งมวลไปอุบัติ ณ. พุทธเกษตรแห่งนี้”

    ใน “ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชสัปตพุทธมูลปณิธานปูชานิสังสสูตร” แสดงว่า “มาตรว่าพุทธบริษัท ๔ อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา กุลบุตร กุลธิดา สมาทานรักษาศีล ๘ เป็นเวลา ๑ ปีหรือ ๓ เดือน ได้สดับเรื่องสุขาวดีโลกธาตุแห่งพระอมิตาภตถาคตพุทธเจ้าแล้ว ทว่ายังมีคติไม่แน่นอน ต่อมาได้สดับพระนามแห่งพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า เมื่อถึงกาลกิริยา พระมหาโพธิสัตว์ทั้ง ๘ อันกอปรไปด้วย พระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์ , พระเมตไตรยมหาโพธิสัตว์, พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์, พระสถามปราปต์มหาโพธิสัตว์, พระรัตนอาสน์มหาโพธิสัตว์, พระอนันตมนสิการมหาโพธิสัตว์, พระไภษัชยราชย์มหาโพธิสัตว์, พระไภษัชยาธิราชมหาโพธิสัตว์ จักสำแดงฤทธิ์ นำทางไปอุบัติยังดอกไม้แก้วหลากสี (หมายถึงไปอุบัติยังไวฑูรยวิสุทธิเกษตรโลกธาตุ) หรือไปบังเกิดยังสุคติโลกสวรรค์ หรือไปบังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชปกครองนิกรชนทั้ง ๔ ทวีป ด้วยเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ (แห่งพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า) จักยังให้สรรพชีวิตอันประมาณมิได้ (ที่เลื่อมใสศรัทธา) ตั้งมั่นในสุคติภูมิ มาตรว่าสตรี ได้สดับนามแห่งพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า ปรารถนาจะเป็นชาย จะไม่มีทางกลับกลายเป็นหญิงอีก”

    [​IMG]

    คาถา “พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้าอภิเษกสัจพจน์” เป็นพระคาถาที่สำคัญมากที่สุดคาถาหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายอุตตรยาน พระคาถานี้จักยังให้สรรพชีวิตทั้งปวงพ้นแล้วจากปวงโรคาพาธ, ภยันตราย, ความยากจน, ความเข็ญใจ, ความยากไร้, ความขาดแคลน, ความขับแค้นใจ, ความทุกข์กายความทุกข์ใจทั้งปวง ในท้ายที่สุดจักยังให้สรรพชีวิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์เข้าถึงฝั่งพระนฤพาน โดยพระคาถานั้นเป็นภาษาสันสกฤตดังนี้


    นะโม ภะคะวะเต ไภษัชฺยะคุรุ ไวฑูรยะ ประภาราชายะ ตะถาคะตายะ อะระหะเต สัมมา สัมพุทธายะ ตะทะยะทา โอม ไภษัชเย ไภษัชเย มหาไภษัชเย สมุทะคะเต สะวาหา

    โดยออกเสียงเป็นภาษาจีนกลางดังนี้

    นำมอ ปอเจปาตี พีซาเซอ จฺวีลูปีลิวลี ปอลาปอ เฮอลาเซเย ตาทอเจตอเย อะลาเฮอตี ซำเมียวซำปอทอเย ตาจือทา อม พีซาซือ พีซาซือ พีซาเซอ ซำมอเจตี โซฮา

    คาถา “พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้าอภิเษกสัจพจน์” นี้ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ

    ท่อนแรกคือ บทนมัสการพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า คือ นะโม ภะคะวะเต ไภษัชฺยะคุรุ ไวฑูรยะ ประภาราชายะ ตะถาคะตายะ อะระหะเต สัมมา สัมพุทธายะ (นำมอ ปอเจปาตี พีซาเซอ จฺวีลูปีลิวลี ปอลาปอ เฮอลาเซเย ตาทอเจตอเย อะลาเฮอตี ซำเมียวซำปอทอเย)

    และ

    ท่อนหลังคือ ตัวคาถา หรือที่เรียกว่า “หฤทัยคาถา” คือ ตะทะยะทา โอม ไภษัชเย ไภษัชเย มหาไภษัชเย สมุทะคะเต สะวาหา (ตาจือทา อม พีซาซือ พีซาซือ พีซาเซอ ซำมอเจตี โซฮา)

    หรือ

    โอม ไภษัชเย ไภษัชเย มหาไภษัชเย สมุทะคะเต สะวาหา (อม พีซาซือ พีซาซือ พีซาเซอ ซำมอเจตี โซฮา)


    [​IMG]


    เมื่อจะสวดพระคาถา “พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้าอภิเษกสัจพจน์” นี้ ให้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่ง พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า จินตนาการว่าพระองค์ทรงปรากฏกายท่ามกลางท้องนภา พระฉวีสีดั่งท้องนภา พระรัศมีสาดส่องไปทั่ววัฏฏะสงสาร ไปยังร่างกายของสรรพชีวิตทุกภพภูมิ ยังให้ปวงสรรพชีวิต พ้นแล้วจากปวงโรคาพาธ, สรรพภยันตราย, ความยากจน, ความเข็ญใจ, ความยากไร้, ความขาดแคลน, ความขับแค้นใจ, ความทุกข์กายความทุกข์ใจทั้งปวง และในที่สุดจักยังให้สรรพชีวิต กระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือเข้าถึงฝั่งพระนฤพาน

    ที่มา โมทนาสาธุครับ
     
  12. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    [​IMG]

    ช้างเผือกเมืองพม่า...น่าเอ็นดู...
     
  13. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    [​IMG]

    สวยมากๆ...อยู่ใกล้ๆกันแต่เวลาจะเดินทางไปต้องไปไกลถึง กท.
     
  14. nontayan

    nontayan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +976
    ช่วงที่ผมไปพม่าประมาณปี 2551 พระเจดีย์ยังซ่อมแซมอยู่ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. nontayan

    nontayan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +976
    พระธาตุเขี้ยวแก้วที่กรุงย่างกุ้ง และพระบรมสารีริกธาตุในพม่ามีอยู่หลายแห่งมากมายครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. nontayan

    nontayan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +976
    กรุงหงสาวดี เมืองหลวงเก่าของพม่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. nontayan

    nontayan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +976
    เมืองพุกาม อาณาจักรล้านเจดีย์ พลังแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันยังคงเหลือเจดีย์ที่สมบูรณ์ประมาณ 4,000 องค์ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2011
  18. nontayan

    nontayan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +976
    ดูอาณาจักรพุกาม ประเทศพม่า พลังแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนาในอดีตและปัจจุบันต่อครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. nontayan

    nontayan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +976
    รูปหล่อหลวงตามหาบัว เนื้อโลหะ ไม่ทราบประวัติการสร้าง ผมพึ่งได้รับมาครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. nontayan

    nontayan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +976
    เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิจิตร พิมพ์จอบเล็กแข้งตรง เป็นหนึ่งในหลายๆองค์ที่ผมมีครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...