แจกพระอีก 5 องค์(กติกาตามข้อความข้างในครับผม)

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย aetipp, 30 มกราคม 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. aetipp

    aetipp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    796
    ค่าพลัง:
    +1,505
    แจกพระจำนวน 5 องค์
    ให้ท่านตอบคำถามว่า 1.ศรัทธาคือ......
    2. การทรงอารมณ์คือ................
    3. การควบคุมจิตคือ..................
    เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทางธรรมเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติเพิ่มเติม การหลุดพ้นหลายท่านอาจมองว่าเป็นเรื่องยากแต่ถ้าหลายๆความคิดเห็นก็สามารถสร้างเป็นหนทางนำไปสู่ความหลุดพ้นและถ้ายังไปไม่ถึงก็สามารถยึดติดในเส้นทางธรรมได้ครับผม สาธุ สาธุ สาธุ
    ปิดรับรายชื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 ครับผม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2011
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    เดี๋ยวมาตอบนะคะ ไปกุดชุมก่อน มีงานเลี้ยงต้อนรับผู้บริหาร
    (รางวัลให้ท่านอื่นนะคะ ไม่ใช่พี่ติงไม่อยากได้ แต่ถ้าท่านอื่นได้รับ ท่านคงมีความสุขมาก)

    พี่ติงจะตอบตามความคิดเห็นของพี่ติง โดยไม่ตอบตามตำรานะคะ


    1. ศรัทธา เป็นความเชื่อด้วยใจ มีความลึกซึ้ง มีความเคารพ เชื่อโดยไม่มีข้อลังเลสงสัย ไม่เปลี่ยนใจ ไม่ใช่ความเชื่อแบบทางโลก หรือเป็นความรู้ทางโลก เช่นพี่ติงศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศรัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์

    2.การทรงอารมณ์ คือความสามารถในการรักษาหรือประคองอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นอยู่อย่างนั้น ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยความคิดพี่ติง น่าจะใช้กับอารมณ์ที่เป็นกุศลเท่านั้น

    3.การควบคุมจิตคือ การประคองจิตให้อยู่ในปัจจุบัน มีสติ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสทั้งปวง เป็นการควบคุมจิตตนเอง เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ไม่หมายรวมไปถึงการสะกดจิตผู้อื่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2011
  3. กังหันลม

    กังหันลม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +693
    ลองดูนะครับไม่ค่อยทราบเท่าไหร่

    ๑ ศรัทธาคือ ความเชื่อมั่นความไม่เคลือบแคลงสงสัย เปรียบได้กับเมล็ดพืชของการมีดวงตาเห็นธรรม

    ๒ การทรงอารมณ์คือ ตรงกับบาลีว่าการประคองตั้งจิตไว้ หมายถึงการพยายามรักษาจิตที่ได้สมาธิ(หรือองค์ของการรู้แจ้งอื่นๆคือโพชฌงค์ทั้ง ๗)ให้ทรงเอาไว้คือตั้งอยู่ไม่หวั่นไหว

    ๓ การควบคุมจิตคือ การนำเอาสติมากำกับจิตไม่ให้แส่ส่ายออกจากฐานที่ตั้ง ได้แก่ กาย เวทนา จิต และธรรมนั่นเอง เพราะการส่งจิตออกนอกฐานนี้ เป็นสมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์นั่นเอง

    ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
     
  4. Pooldum

    Pooldum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +406
    1.ศรัทธา คือ ความยึดถือ เชื่อมั่น
    2. การทรงอารมณ์ คือ การทำจิตให้เป็นกลางไม่วอกแวกกับสิ่งรอบข้างที่เกิดขึ้น
    3. การควบคุมจิต คือ การทำจิต ให้มีสัมปชัญญะ ปล่อยวาง และ ละสิ่งต่าง ๆ
     
  5. ballaman

    ballaman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    5,440
    ค่าพลัง:
    +18,746
    1. ศรัทธาคือ ความเชื่อโดยแท้จริง ไม่มีข้อสงสัยเคลือบแคลง เป็นความเชื่อที่บริสุทธิ์
    2.การทรงอารมณ์คือ ความนิ่งทางอารมณ์ ไม่ไหวตามปัจจัยภายนอก
    3.การควบคุมจิตคือ การไม่ส่งจิตออกนอก ทำให้ิจิตมีสมาธิ รับรู้ ปล่อยวาง
     
  6. iddon69

    iddon69 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +177
    * ศรัทธา คือ ความเชื่อ หมายถึงเฉพาะ ศรัทธาที่เชื่อด้วยปัญญา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยเหตุผล ถ้าเชื่อโดยปราศจากปัญญาเรียกว่า อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ หรือ เชื่อตามเขา)
    ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีสี่อย่าง คือ
    กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
    วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
    กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
    ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้
    * การทรงอารมณ์ ถ้าเราภาวนาแล้วอารมณ์ใจมันทรงตัว ความรู้สึกของเราในตอนนั้นก็คือว่า เรารู้ลมหายใจโดยอัตโนมัติ พยายามรักษาอารมณ์รู้ลมหายใจโดยอัตโนมัติเอาไว้ นั่นคือการทรงอารมณ์ แล้วเราพยายามตรวจสอบอยู่เสมอว่า ในขณะที่เรารู้ลมหายใจโดยอัตโนมัติอยู่นี้ สิ่งไม่ดีต่าง ๆ โดยเฉพาะ นิวรณ์ห้า มันเข้ามากินใจเราได้ไหม? ใจของเรามันแลบออกไปในทาง กามฉันทะ คือระหว่างเพศหรือเปล่า? ใน ตัวพยาบาท โกรธ เกลียด อาฆาต แค้น คนอื่นหรือเปล่า? ใน ตัวถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอน ตลอดถึงขี้เกียจหรือเปล่า? ใน ตัวอุทธัจจะ คือฟุ้งซ่านเป็นอารมณ์อื่นหรือเปล่า? ใน วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัยในใจหรือเปล่า?

    ถ้าหากว่านิวรณ์หน้าตัวนี้กินใจไม่ ได้ กำลังใจของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออกอยู่ คือการรักษาอารมณ์ตัวนั้นไว้ ถ้าสามารถเกาะลมหายใจอยู่ในลักษณะนี้ได้นานเท่าไรเราก็จะสุขเท่านั้น เย็นเท่านั้นการรักษาอารมณ์ก็คือการประคับประคองความรู้สติ สัมปชัญญะทั้งหมดของเราให้อยู่กับลมหายใจเข้าออกไว้
    *การควบคุมจิตคือ การมีใจจดจ่ออยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านให้จิตตั้งมั่นอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเป็นนายของจิต ควบคุมมันได้
     
  7. ตวงธันยา

    ตวงธันยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +910
    ศรัทธา คือ ความเชื่อ หมายถึงเฉพาะ ศรัทธาที่เชื่อด้วยปัญญา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยเหตุผล ถ้าเชื่อโดยปราศจากปัญญา เรียกว่า อธิโมกข์ ( ความน้อมใจเชื่อ หรือ เชื่อตามเขา )<O:p</O:p
    ประเภทของศรัทธา มี ๔ ประเภท คือ<O:p</O:p
    ๑. กัมมสัทธาเชื่อกรรม<O:p</O:p
    ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม<O:p</O:p
    ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์โลกมีกรรม เป็นของ ๆ ตน<O:p</O:p
    ๔. ตถาคตาโพธิสัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า <O:p</O:p
    การทรงอารมณ์คือ จงตั้งใจสงบอารมณ์ให้เป็นสมาธิคือ ในอันดับแรก ขณะที่รับฟังเสียงตั้งใจฟังเสียงให้รู้เรื่องทุกถ้อยคำ
    การตั้งใจฟังเสียงทุกถ้อยคำแสดงว่าจิตทรงสมาธิเพราะว่า สมาธิแปลว่าตั้งใจไว้ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะเวลาที่เราตั้งใจฟังเสียง ถ้าหูได้ยินเสียง จิตรู้เรื่องตามก็ชื่อว่าอารมณ์เป็นสมาธิถ้าหากว่าท่านใช้ปัญญาพิจารณาไปตามกระแสเสียงด้วยหรือตามถ้อยคำและเนื้อความที่กล่าว ก็ชื่อว่าเป็นการใช้ปัญญาในด้านวิปัสสนาญาณนี่มีความสำคัญ
    หลังจากพยายามทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิโดยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้าเวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก หายใจยาวหรือสั้น หายใจเข้ายาวหรือสั้นหายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ อย่างนี้ จัดว่ามีอารมณ์เป็นสมาธิถ้าจะใช้คำภาวนาก็ให้ใช้ว่าพุทโธเวลาหายใจเข้านึกพุทเวลาหายใจออกนึกว่าโธอย่างนี้เป็นอารมณ์สมาธิขณะใดการรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก รู้คำภาวนานั่นเป็นสมาธิ
    สมาธิจัดไว้หลายระดับคือขณิกสมาธิเรียกว่า สมาธิเล็กน้อยอุปจารสมาธิสมาธิใกล้เข้าถึงปฐมฌาน แล้วขึ้นไปเป็นฌานคือ ฌานที่ 1 ฌานที่ 2 ฌานที่ 3 และฌานที่ 4 และอารมณ์ที่เป็นสมาธิจะอยู่ในระดับใดก็ตามก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของความดีเพราะจิตเราตั้งอยู่ในกุศล
    อีกประการหนึ่งพยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ในพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ คือว่าเราจะมีความรักในคนอื่นและสัตว์อื่นนอกจากตัวเราเสมอด้วยตัวเรา เราจะมีความสงสารเกื้อกูลเขาให้เป็นสุขตามกำลังที่เราพึงจะทำได้เราไม่มีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เห็นใครได้ดีพลอยยินดีตามถ้าสิ่งใดเป็นเหตุเกินวิสัยด้วยอำนาจกฎของกรรมหรือกฎของธรรมดาเกิดขึ้นเราจะไม่มีความหวั่นไหวในจิต นี่อารมณ์อย่างนี้ทรงไว้ได้ก็จัดว่าเป็นศูนย์กำลังใจที่มีความสำคัญที่สุดอันจะพึงก้าวเข้าไปสู่ความดี
    <O:p</O:p
    การควบคุมจิตคือการทำสมาธิโดยวิธีนี้นั้นมีหลักการนับอยู่หลายวิธีและแต่ละวิธีก็ล้วนแต่มีจุดหมายเดียวกันคือเป็นอุบายหลอกล่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเป็นนายของจิต ควบคุมมันได้
     
  8. stgamecom

    stgamecom สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอตอบมั่งนะ
    1.ศรัทธา คือ ความเชื่อ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยเหตุและผล
    2.การทรงอารมณ์คือ การกำหนดอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ให้อยู่กับเรานานที่สุด ที่จะทำได้
    3.การควบคุมจิตคือ ฝึกสมาธิ การกำหนดจิตไม่ให้ไปสนใจในสิ่งอื่นสิ่งใดรอบข้างนอกจากเรื่องที่กำละงทำอยู่ ไม่ให้จิตไปฟุ้งซ่าน
     
  9. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ยังสามารถตอบได้นะคะ ..........
     
  10. พดด้วง2

    พดด้วง2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +97
    ตอบตามความคิดนะค่ะ

    ศรัทธา ความเชื่อมั่น เชื่อถือในสิ่งที่เราเชื่อ
    การทรงอารมณ์ การคุมอารมณ์ ควบคุมจิตใจอารมณ์ให้มั่น นิ่ง สงบ
     
  11. monokatimo

    monokatimo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +139
    1.ศรัทธาคือ......
    เชื่อมั่น มั่นใจอย่างเด็ดเดี่ยว เช่น ศรัทธาในพระพุทธเจ้า

    2. การทรงอารมณ์คือ................
    รู้ในสิ่งที่ทำอย่างจดจ่อมีสมาธิ
    ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งที่มากระทบต่อจิต จิตก็จะสงบ

    3. การควบคุมจิตคือ..................
    มีสติรู้เท่าทัน ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามากระทบ ตา หู จมูก ปาก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ไหวเอนไปตามสิ่งที่มากระทบ แต่ทำแค่รู้แล้วละเท่านั้น จิตก็จะไม่ปรุงแต่งไปตามสิ่งที่มันมากระทบ


    ขอบคุณสำหรับคำถามดีดีครับ ;37
     
  12. nontawat_ya

    nontawat_ya Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +37
    1.ศรัทธาคือ คือ ความเชื่อ หมายถึงเฉพาะ ศรัทธาที่เชื่อด้วยปัญญา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยเหตุผล ถ้าเชื่อโดยปราศจากปัญญา เรียกว่า อธิโมกข์( ความน้อมใจเชื่อ หรือ เชื่อตามเขา )
    ประเภทของศรัทธา มี ๔ ประเภท คือ
    ๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
    ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
    ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์โลกมีกรรม เป็นของ ๆ ตน
    ๔. ตถาคตาโพธิสัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

    2.การทรงอารมณ์ คือ ความสามารถในการรักษาหรือประคองอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นอยู่อย่างนั้น ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยความคิดพี่ติง น่าจะใช้กับอารมณ์ที่เป็นกุศลเท่านั้น

    3. การควบคุมจิต คือ การประคองจิตให้อยู่ในปัจจุบัน มีสติ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสทั้งปวง เป็นการควบคุมจิตตนเอง เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ไม่หมายรวมไปถึงการสะกดจิตผู้อื่น<!-- google_ad_section_end -->



     
  13. เหมียว_วัฒ

    เหมียว_วัฒ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2011
    โพสต์:
    272
    ค่าพลัง:
    +106
    อนุโมทนา สาธุ
    1. ศรัทธา คือ ความเชื่อ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อในสิ่งที่ทำและทำในสิ่งที่เชื่อ
    การศรัทธา ต้องกระทำด้วยกายดี วาจาดี ใจดี ถึงจะบรรลุผล
    และต้องเชื่อในกรรม เชื่อในผลของกรรม เชื่อในพระพุทธศาสนา เชื่อในการกระทำของตนเอง

    2. การทรงอารมณ์ คือ การทรง หรือประคองอารมณ์ให้ตั้งมั่นในสิ่งที่ปฏิบัติ ทำใจให้เป็นสมาธิ ทำอารมณ์ให้ตั้งมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง ให้กำหนดรู้ว่าตัวเองกำลังทำอไรอยู่

    3. การควยคุมจิต คือ การฝึกจิตให้มีสติ มีสามาธิ อยู่ทุก ๆเวลา กำหนดให้อยู่ที่ปัจจุบัน กำหนดให้รู้ว่ากำลังทำอะไร และเป็นอะไรอยู่ไม่ฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อ
     
  14. tippaway

    tippaway Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +28
    ขอตอบค่ะ...เผื่อว่าจะได้กับเค้าบ้าง ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไรค่ะ อนุโมทนากับคนที่ได้ด้วยค่ะ

    1.ศรัทธาคือ....ความเชื่อมั่น เชื่อถือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งของแต่ละบุคคล มักเชื่อมั่นในสิ่งที่ดี เราเรียกว่า ศรัทธา
    2. การทรงอารมณ์คือ......การควบคุมอารมณ์ไม่ให้มากไปหรือน้อยไปค่ะ ให้อารมณ์คงที่
    3. การควบคุมจิตคือ......ไม่ให้จิตใจหวั่นไหวกับสิ่งรอบข้าง หรือ การระงับจิตใจไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง ไปตามอารมณ์ของตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 มกราคม 2011
  15. yaka

    yaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2010
    โพสต์:
    647
    ค่าพลัง:
    +1,384
    ย่องๆเข้ามาขอตอบด้วยคนนะค่ะ

    ข้อ 1.ศรัทธาคือ..มีความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    ข้อ 2. การทรงอารมณ์คือ..การทำอารมณ์ให้เป็นสมาธิ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน

    และข้อ 3. การควบคุมจิตคือ ..การมีสติรับรู้อยู่ตลอดเวลา



    โมทนากับทุกท่านค่ะ



     
  16. Pichetchan

    Pichetchan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +726
    1.ศรัทธาคือ หมายถึง ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ไม่งมงายไร้เหตุผล เป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ศรัทธาที่มั่นคง หมายถึง ศรัทธาที่มีความรู้กำกับ ไม่หวั่นไหวเอนเอียงไปเพราะความไม่รู้ ความหลงงมงาย
    ศรัทธา ความเชื่อ มีหลายระดับชั้น แต่ในที่นี้จะพูดถึงหลักความเชื่อ 4 ประการ ที่ควรศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความสุข คือ<O:p</O:p
    ความเชื่อกรรม คือ เชื่อเรื่องการกระทำที่เกิดขึ้นทางกาย วาจา ใจ ว่ามีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว การทำชั่วทางกายเรียกกายทุจริต ทางวาจาเรียกวจีทุจริต ทางใจเรียกมโนทุจริต ส่วนการทำดีทางกายเรียกกายสุจริต ทาง วาจาเรียกวจีสุจริต ทางใจเรียกมโนสุจริต เป็นความมั่นใจในการกระทำอย่างชัดเจน เหมือนเข็มทิศสำหรับนำพาไปสู่ทิศต่างๆ ความเชื่อด้านนี้ก็จะนำไปสู่การกระทำต่อไป<O:p></O:p>
    ความเชื่อผลแห่งกรรม คือ เชื่อว่าการกระทำทั้งกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว จะต้องมีผลจากการกระทำนั้นอย่างแน่นอน และไม่มีอะไรสามารถเปลี่ยนแปลงผลของมันได้ กล่าวคือ ถ้าทำไม่ดี ก็ย่อมได้รับผลกรรมจากความทุกข์ ความลำบากเดือดร้อน ความอึดอัดคับแค้น แต่ถ้าทำดี ก็ย่อมได้รับผลเป็นความสุข ความสบาย ไม่เดือดร้อน ไม่อึดอัดวุ่นวาย มีผลทั้งในชาตินี้และชาติหน้า<O:p></O:p>
    ความเชื่อว่าทุกคนมีการกระทำเป็นของตนเอง คือ ความเชื่อที่ตอกย้ำลงไปว่า เมื่อทำดีย่อมได้รับผลดี เมื่อกระทำชั่วก็ย่อมได้รับผมชั่วนั้นตอบสนอง คือ ย่อมจะได้รับผลกรรมนั้นเป็นของตนเองแน่นอน เปรียบกับหว่านพืชผลเช่นใด ก็ได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำดีย่อมได้ดี ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว โดยที่ไม่มีผู้ใดสามารถทำกรรมแทนกันได้ ทุกคนล้วนได้รับผลกรรมที่ตนทำขึ้นทุกอย่าง ไม่มีงดเว้น เบี่ยงเบนออกไป<O:p></O:p>
    เชื่อในความรู้ของพระพุทธเจ้า คือ เชื่อในพระปัญญาของพระองค์ที่ทรงค้นพบหลักธรรมแล้วนำมาประกาศให้ชาวโลกรู้ ตาม มีความมั่นใจในพระองค์ว่าทรงเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะ ตรัสธรรมบัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า หากทุกคนฝึกฝนตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดและหลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง<O:p></O:p>
    การเชื่อในความรู้ของพระพุทธเจ้า ก็เท่ากับการเชื่อต่อเหตุผลนั่นเอง เพราะพระองค์จะทรงสอนอะไร ก็ล้วนแต่มีเหตุมีผล ซึ่งผู้ฟังทุกคนสามารถนำไปตรึกตรองพิจารณาให้เห็นได้ด้วยตนเอง พระองค์จะคอยตักเตือนเสมอว่า อย่าเชื่อโดยไร้เหตุผล หรือเชื่ออย่างงมงายโดยไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ สอนให้ใช้ความสังเกตในที่ทั่วไป<O:p></O:p>
    ศรัทธาจึงเป็นเรื่องน่ากลัว เพราะถ้าศรัทธามัวเมา ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็จะนำพาให้ปฏิบัติผิด ทำให้ชีวิตได้รับแต่ความทุกข์ ผู้ที่มีศรัทธาตั้งมั่น มีหลักความเชื่อที่ถูกต้องเป็นแกนยึดนั้น ย่อมปฏิบัติตามได้อย่างสอดคล้อง ระมัดระวัง ไม่บุ่มบ่ามย่ามใจ
    2. การทรงอารมณ์คือ. ถ้าเราภาวนาแล้วอารมณ์ใจทรงตัว ความรู้สึกของเราในตอนนั้นก็คือว่า เรารู้ลมหายใจโดยอัตโนมัติ ให้พยายามรักษาอารมณ์รู้ลมหายใจโดยอัตโนมัตินี้เอาไว้ นั่นคือการทรงอารมณ์ <O:p></O:p>
    แล้วเราพยายามตรวจสอบอยู่เสมอว่า ในขณะที่เรารู้ลมหายใจโดยอัตโนมัติอยู่นี้<O:p</O:p
    สิ่งไม่ดีต่าง ๆ โดยเฉพาะนิวรณ์ห้าเข้ามากินใจเราได้ไหม ใจของเราแลบออกไปในทางกามฉันทะ คือมีอารมณ์ระหว่างเพศหรือเปล่า ในตัวพยาบาท โกรธ เกลียด อาฆาต แค้น คนอื่นหรือเปล่า <O:p</O:p
    ในตัวถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอน ตลอดถึงขี้เกียจหรือเปล่า ในตัวอุทธัจจะ คือ ฟุ้งซ่านเป็นอารมณ์อื่นหรือเปล่า ในวิจิกิจฉาคือ ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติหรือเปล่า
    ถ้าหากว่านิวรณ์ห้าตัวนี้กินใจไม่ได้ กำลังใจของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออกอยู่ คือการรักษาอารมณ์ตัวนั้นไว้ได้ ถ้าสามารถเกาะลมหายใจอยู่ในลักษณะนี้ได้นานเท่าไร เราก็จะมีความสุขเท่านั้น เยือกเย็นเท่านั้น การรักษาอารมณ์ก็คือการประคับประคองความรู้ สติ สัมปชัญญะทั้งหมดของเรา ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออกไว้
    3. การควบคุมจิต คือการรักษาจิต หรือการควบคุมจิต ( สัมมาสมาธิ )คุมจิต ไม่ให้คิดเรื่องราวอะไรไปตามแต่กิเลส ตัณหา คือสัมมาสมาธิ..ความตั้งจิตมั่นในทางที่ชอบ
    นั่นคือ การควบคุมจิตให้มีความสงบ ที่เรียกว่า..สมาธิ จนบาป อกุศล สงบไปจากจิต คือ ไม่สามารถ ทำให้จิตใจเร่าร้อน กระวนกระวาย จนกลายเป็น คนมีสุขภาพ..จิตดี เป็นต้นไป<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2011
  17. fullner

    fullner เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    287
    ค่าพลัง:
    +239
    ตอบตามความเข้าใจหลังจากที่ได้เรียนรู้ทางโลกทางธรรมมาบ้างเล็กน้อย
    ศรัทธา....น่าจะตรงกับลักษณะที่ว่า เชื่อมั่น มั่นใจ หลังจากที่เราได้รู้จักหรือสัมผัสกับบุคคลหรือสิ่งนั้น สถานที่นั้นฯลฯ ส่วนมากจะเน้นด้านความดี เก่ง อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์ ฯลฯ
    ทรงอารมณ์...น่าจะหมายถึง ทรง ตั้งไว้ หยุด การทำอารมณ์ให้นิ่งอยู่กับที่
    ควบคุมสติ.....น่าจะหมายถึง ควบคุม คือมีการกำหนด มีกติกา กฎเกณฑ์ ให้อยู่ให้ทำตาม เช่น พื้นที่ บริเวณ ฯลฯ
    ประมาณนั้น
    ..............ผู้รู้น้อย:'(
     
  18. korry2008

    korry2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +252
    ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
    ศรัทธาคือการยึดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความจิตใจที่ไม่เสื่อมถอย จนวันตาย
    ทรงอารมณ์คือ การดำรงค์ไว้ซึ่งลักษณะใดลักษณะหนึ่งของอารมณ์นั้นๆตลอดระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่กำหนดก็ได้
    การควบคุมสติ คือการใช้จิตดูว่าสติของเราอยู่ลักษณะใหนและมีอารมณ์กับความรู้สึกภายนอกที่ผ่านเข้าหรือเปล่า และสติมีการรับรู้และตอบสนองกับอารมณ์ภายนอกเช่นไรหลังจากนั้นเราควรบังคับให้ระลึกรู้ว่าสิ่งใหนดีหรือไม่ดีและใช้จิตระลึกรู้ทันอารมณ์หรือสิ่งยั่วยุภายนอกตลอดเวลา
     
  19. joeenok1418

    joeenok1418 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +73
    1. ศรัทธา คือ ความเชื่อ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อในสิ่งที่ทำและทำในสิ่งที่เชื่อ
    การศรัทธา ต้องกระทำด้วยกายดี วาจาดี ใจดี ถึงจะบรรลุผล
    และต้องเชื่อในกรรม เชื่อในผลของกรรม เชื่อในพระพุทธศาสนา เชื่อในการกระทำของตนเอง

    2. การทรงอารมณ์ คือ รู้ในสิ่งที่ทำอย่างจดจ่อมีสมาธิ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งที่มากระทบต่อจิต จิตก็จะสงบ

    3. การควบคุมจิต คือ มีสติรู้เท่าทัน ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามากระทบ ตา หู จมูก ปาก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ไหวเอนไปตามสิ่งที่มากระทบ แต่ทำแค่รู้แล้วละเท่านั้น จิตก็จะไม่ปรุงแต่งไปตามสิ่งที่มันมากระทบ
     
  20. nopalak

    nopalak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +1,209
    1. ศรัทธา คือ ความเคารพ นับถือ และเชื่อมั่น ต่อสิ่งๆ นั้นอย่างจริงใจโดยไม่ระแวงหรือสงสัยใดๆ
    2. การทรงอารมณ์ คือ การกำหนดอารมณ์ที่ำได้รับรู้ให้อยู่ในสภาวะ เนิ่นนาน ตามต้องการ เช่น รับรู้ว่าว่าง ก็ ให้กำหนดการรับรู้การว่างนั้นไว้ให้นาน จนพร้อมจะวาง หรือ รับรู้ว่าสุข ก็กำหนดการรับรู้สุขนั้นไว้ ให้นาน จนพร้อมจะวาง หรือ รับรู้ว่านิ่ง ก็กำหนดการรับรู้การนิ่งไว้ จนพร้อมจะวาง
    3. การควบคุมจิต คือ การกำหนดจิตใจ ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามสภาวะอารมณ์ เช่น เมื่อเกิดอารมณ์โกรธก็ห้ามโกรธ เมื่อเกิดอารมณ์โลภก็ห้ามโลภ เมื่อเกิดอารมณ์หลวงก็ห้ามหลง
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...