(ชาดก)อนุภาพของเนรุบรรพต

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย ~!ปราบไตรจักร!~, 30 ธันวาคม 2010.

  1. ~!ปราบไตรจักร!~

    ~!ปราบไตรจักร!~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +265
    อรรถกถา เนรุชาดก
    <CENTER class=D>ว่าด้วย อานุภาพของเนรุบรรพต</CENTER><CENTER class=D> </CENTER><!--อรรถกถา เนรุชาดกที่ ๔ -->[​IMG]พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาโกลา กากสงฺฆา จ ดังนี้.

    [​IMG]ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเรียนพระกรรมฐาน ในสำนักของพระศาสดา แล้วได้ไปยังหมู่บ้านชนบทตำบลหนึ่ง. คนทั้งหลายเลื่อมใสในอิริยาบทของท่าน ให้ท่านฉันแล้ว รับปฏิญญาท่าน สร้างบรรณศาลาในป่าให้ท่านอยู่ที่บรรณศาลานั้น และพากันถวายสักการะท่านอย่างเหลือเฟือ.

    [​IMG]ครั้งนั้น ภิกษุอื่นซึ่งเป็นพวกสัสตวาทะได้มา ณ ที่นั้น. คนเหล่านั้นได้ฟังคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว พากันสละเถรวาททิ้ง เชื่อถือสัสสตวาท ถวายสักการะท่านเหล่านั้นเท่านั้น.

    [​IMG]ต่อมา พวกอุจเฉทวาทมา พวกเขาก็พากันสละสัสสตวาททิ้ง เชื่อถืออุจเฉท<WBR>วาท.

    [​IMG]ต่อมา พวกอื่นที่เป็นอเจลกวาทมา พวกเขาก็พากันสละอุจเฉทวาททิ้ง เชื่อถือ<WBR>อเจลก<WBR>วาท.

    [​IMG]ท่านอยู่อย่างไม่สบายในสำนักของพวกคนเหล่านั้นผู้ไม่รู้จักคุณและมิใช่คุณ ออก<WBR>พรรษา<WBR>ปวารณาแล้ว จึงไปยังสำนักของพระศาสดา เป็นผู้ที่พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารแล้ว เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า เธอจำพรรษาที่ไหน? ทูลว่า อาศัยหมู่บ้านชายแดน พระเจ้าข้า.

    [​IMG]ถูกตรัสถามว่า อยู่สบายดีหรือ? จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่อย่างเป็นทุกข์ในสำนักของผู้ไม่รู้คุณและไม่ใช่คุณ.

    [​IMG]พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตทั้งหลาย ในสมัยก่อน แม้เกิดในกำเนิดเดียรฉาน แม้เพียงวันเดียว ก็ไม่อยู่กับคนทั้งหลายผู้ไม่รู้คุณและมิใช่คุณ เหตุไฉน เธอจึงอยู่ในสำนักของคนที่ไม่รู้จักคุณและมิใช่คุณของตน. ทรงเป็นผู้ที่ภิกษุนั้นทูลอ้อนวอน จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

    [​IMG]ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิ<WBR>สัตว์<WBR>อุบัติในกำเนิดสุวรรณหงส์ แม้พี่ๆ น้องๆ ของเขาก็มี. พวกเขาพากันอยู่ที่เขาจิตกูฏ จิกกินข้าวสาลีที่เกิดเองในท้องที่หิมพานต์.

    [​IMG]อยู่มาวันหนึ่ง พวกเขาพากันเที่ยวไปในท้องถิ่นหิมพานต์นั้น แล้วกำลังกลับมายังเขาจิตกูฏ เห็นภูเขาทองลูกหนึ่งชื่อว่า เนรุ ในระหว่างทางจึงได้พากันเกาะอยู่บนยอดเขานั้น. แต่สัตว์ที่อาศัยอยู่ภูเขานั้นมีทั้งนก ทั้งกระต่าย และสัตว์ ๔ เท้านานาชนิดในทำเลหากิน ตั้งแต่เวลาเข้าไปสู่ภูเขาจะกลายเป็นมีสีเหมือนทอง เพราะต้องแสงภูเขานั้น. พวกสุวรรณหงส์พากันเห็นแล้ว น้องสุดท้องของพระโพธิสัตว์ไม่รู้เหตุนั้น สงสัยว่า นั่นเป็นเหตุอะไรหนอ?
    [​IMG]เมื่อจะสนทนากับพี่ชาย จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

    [​IMG]กาป่าก็ดี ฝูงกาธรรมดาก็ดี และพวกเราผู้ประเสริฐกว่านกทั้งหลายก็ดี มาถึงภูเขานี้แล้ว เป็นเหมือนกันหมด.


    [​IMG]
    ทั้งสิงห์โต ทั้งเสือ ทั้งนก ทั้งหมาไน ก็เป็นเหมือนกันหมด ภูเขานี้ชื่ออะไร?

    [​IMG]บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโกลา ได้แก่ กาป่า นกกาเหว่า. บทว่า กากสงฺฆา ความว่า หรือฝูงกาปกติ. บทว่า ปตฺตํ วรา ความว่า ประเสริฐสุดกว่านกทั้งหลาย. บทว่า สทิสา โหม ความว่า เป็นผู้มีสีเหมือนกัน

    [​IMG]พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
    [​IMG]
    คนทั้งหลายรู้จักภูเขาลูกนี้ว่า ชื่อว่า เนรุ เป็นภูเขาชั้นยอดกว่าภูเขาทั้งหลาย สัตว์ทุกชนิดอยู่ในภูเขานี้ สีสวยหมด.

    [​IMG]บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ วณฺเณน ความว่า สัตว์ทั้งหลายในเนรุบรรพตนี้ เป็นผู้มีสีสวย เพราะรัศมีภูเขา.

    [​IMG]น้องชายได้ยินคำนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

    [​IMG]ณ ที่ใด มีแต่ความไม่นับถือกัน การดูหมิ่นสัตบุรุษ หรือการนับถือคนเลว ณ ที่นั้น คนมีอำนาจไม่ควรอยู่.

    [​IMG]
    คนเกียจคร้านกับคนขยัน คนกล้าหาญกับคนขลาด มีผู้บูชาเสมอกันในที่ใด สัตบุรุษ<WBR>ย่อมไม่อยู่ในที่นั้น ซึ่งเป็นภูเขาที่ไม่สามารถจะแบ่งคนให้แปลกกันได้. <!--เนื้อความ คาถาที่ [๘๕๓]อ่านแล้ว เกิดความสับสนว่า สัตบุรุษจะไปอยู่ที่ดังกล่าว หรือไม่ จึงนำเนื้อความในพระไตรปิฎก มาแทน ดังนี้.เนื้อความในพระไตรปิฎก สยามรัฐ :- คนเกียจคร้านกับคนขยัน คนกล้าหาญกับคนขลาด มีผู้บูชาเสมอกันในที่ใด สัตบุรุษย่อมไม่อยู่ในที่นั้น ซึ่งเป็นภูเขาที่ไม่สามารถจะแบ่งคนให้แปลกกันได้.เนื้อความในพระไตรปิฎก มหามกุฏ:- [๘๕๓] แต่ในภูเขาใด เขาบูชาทั้งคนเกียจคร้าน ทั้งคนขยัน คนกล้าหาญ ทั้งคนขลาด สัตบุรุษ ทั้งหลาย จะไม่อยู่บนภูเขานั้นที่ไม่ทำให้แตก- ต่างกัน. เนื้อความในอรรถกถา มหามกุฏ:- แต่ในที่ใด เขาบูชาทั้งคนเกียจคร้าน ทั้งคนขยัน ทั้งคนกล้าหาญ ทั้งคนขลาด สัตบุรุษทั้งหลาย จะไปอยู่ในที่นั้นที่ไม่ทำให้ไม่แปลกกัน.เนื้อความในพระไตรปิฎกบาลี :- [๘๕๓] ยตฺถ อลโส จ ทกฺโข จ สูโร ภีรุ จ ปูชิยา น ตตฺถ สนฺโต วสนฺติ อวิเสสกเร นเค ๓ ฯ#๓ ม. นเร ฯเนื้อความในพระอรรถกถาบาลี :- [๘๕๓] ยตฺถ อลโส ทกฺโข จ สูโร ภีรุ จ ปูชิยา(๔) น ตตฺถ สนฺโต วสนฺติ อวิเสสกเร นเค(๕) ฯ# ๓. ม. วสตึ ฯ ๔. ส. ปูชยา ฯ ๕. ม. นเร ฯ ๖. ส. ม. อวิเสสกโร ฯ -->
    [​IMG]
    เขาเนรุนี้ จะไม่คบคนที่เลว คนชั้นสูง และคนขนาดกลาง เขาเนรุทำให้สัตว์ไม่แตกต่างกัน เชิญเถิด พวกเราจะละทิ้งเขาเนรุนั้นเสีย.

    [​IMG]บรรดาบทเหล่านั้น คาถาที่หนึ่งมีเนื้อความว่า ณ ที่ใด มีทั้งการไม่นับถือ ทั้งการดูหมิ่น หรือการปราศจากความนับถือ ด้วยอำนาจการดูหมิ่น เพราะไม่มีความนับถือสัตบุรุษ คือบัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล หรือมีการนับถือคนเลวหรือคนทุศีล ณ ที่นั้น ผู้มีอำนาจไม่ควรอยู่. บทว่า ปูชิยา ความว่า คนเหล่านี้เป็นผู้ที่เขาบูชาแล้ว ด้วยการบูชาที่เป็นเช่นเดียวกัน คือได้สักการะเสมอกันในที่นั่น. บทว่า หีนฺมุกฺกฏฺฐมชฺฌิมเม ความว่า ผู้นี้จะไม่คบทั้งคนเลว ทั้งคนปานกลาง และคนชั้นสูง โดยชาติ โคตร ตระกูล ท้องถิ่น ศีล อาจาระ และญาณเป็นต้น. ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตใช้ในอรรถแห่งอุปสรรค. บทว่า ชหามเส ความว่า ย่อมสลัดทิ้ง.

    [​IMG]ก็แลหงส์ทั้ง ๒ ตัวนั้นครั้นพูดกันอย่างนี้แล้ว ได้พากันบินไปยังเขาจิตกูฏนั่นเอง.

    [​IMG]พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ แล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจจะ ภิกษุนั้นได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
    [​IMG]หงส์ตัวน้องในครั้งนั้น ได้เป็น พระอานนท์ ในบัดนี้
    [​IMG]ส่วนหงส์ตัวพี่ คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.


    .. อรรถกถา เนรุชาดก จบ.


    ที่มา:
     

แชร์หน้านี้

Loading...