พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ(ตอน๕)


    คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน๖)


    คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ(ตอน๗)


    คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน๘)


    คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน ๙)

    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์
    โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
    จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
    นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
    ศรัทธาธรรมส่องโลก
    วิสัชนา : จากการสืบสาว สัมพันธ์แห่งศีล ที่ยกระดับสู่พระวินัยในพระพุทธศาสนา ก็จะพบเห็นความสัมพันธ์อันสืบเนื่องจากรากแก้วอันเดียวกัน อันได้แก่ หลักคุรุธรรม หรือศีล ๕ (สิกขาบท ๕ หรือข้อฝึกหัดความประพฤติ ๕ อย่าง) ที่ได้ถูกกระจายลงรายละเอียดไปในโครงสร้างของพระวินัยอย่างประณีตแยบคาย อันเป็นไปตามความประสงค์ ซึ่งแตกต่างไปตามฐานะดังที่แสดงมานั้น ก็เพื่อความประสงค์ให้มีความสัมพันธ์ในเชิงเกื้อกูลกันในส่วนของการปฏิบัติ ที่มุ่งตรงต่อจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ ความสิ้นทุกข์ หรือความดับทุกข์สิ้น... พระพุทธองค์จึงทรงได้บัญญัติสิกขาบทน้อยใหญ่ขึ้นมา เป็นแบบแผนในการควบคุมพฤติกรรมทางกายวาจา และพัฒนาการสร้างความสำนึกสำเหนียกทางจิตใจ ให้มีความเห็นอันชอบ
    ความดำริอันควร ต่อการยอมรับหลักศีลในระดับธรรม และการพัฒนาศีลสู่ระดับวินัย ได้แก่ ประมวลแห่งสิกขาบททั้งหลายนั่นเอง ซึ่งจะสามารถพัฒนาจิตสำนึกในขั้นประโยชน์แห่งตน ที่มีความก้าวหน้าในคุณธรรมที่ยิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สุขแห่งตนในการดำเนินชีวิตในฐานะสัตว์ประเสริฐ สู่การมองเห็นคุณค่าแห่งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี โดยรู้จักคำนึงถึงประโยชน์ต่อภาคสังคม หรือประโยชน์ของผู้อื่นเป็นสำคัญด้วย โดยเฉพาะในวินัยของพระสงฆ์นั้น จะให้ความสำคัญถึงสัมพันธภาพที่ดี และให้ประโยชน์กับผู้อื่นกับภาคสังคมเป็นสำคัญด้วย นี่คือ ความโดดเด่นเป็นหนึ่งของพระพุทธศาสนา
    เราจึงเห็นข้ออ้างอิง ที่จะทำให้กระบวนการความสำนึกความเห็น ความดำริ เป็นไปอย่างมีคุณธรรม บนวิถีการปฏิบัติตนอันต้องตามพระธรรมวินัย โดยการอบรมจิตให้มีพรหมวิหารธรรม และสื่อสัมพันธ์การกระทำออกไปในรูปสังคหวัตถุ ๔ เพื่อคุณภาพของชีวิตที่ต้องสร้างพลังสร้างสรรค์ ที่เกื้อกูลขวนขวายในความพึงใจต่อการประพฤติความดีโดยตลอด ซึ่งจะต้องสร้างอิทธิบาท ๔ ให้ดำรงอยู่ในจิตวิถีอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มพูนกำลังด้วยพละ ๕ จนสติแกล้วกล้าเป็นมหาสติ สามารถรู้เท่าทันในสังขารธรรมทั้งปวงแห่งโลกขันธ์นี้ได้ เพื่อเป็นบาทวิถีไปสู่ความสำเร็จบนอุปการะธรรมที่เกิดจากสติสัมปชัญญะ ซึ่งจะใช้ดำเนินไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามพระธรรมวินัย เพื่อประโยชน์สูงสุดตามจุดมุ่งหมาย บนเส้นทางการศึกษาปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จึงมีคำกล่าวว่า “สติเป็นพ่อของศีล สัมปชัญญะเป็นแม่ของศีล และศีลมีพรหมวิหารธรรมเป็นอาหาร แสดงคุณภาพออกสู่ความสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ด้วย สังคหวัตถุธรรม...
    ดังนั้น พุทธสาวกจะต้องดำเนินชีวิตอย่างรู้จักการพิจารณาก่อนส้องเสพ รู้จักการพิจารณาก่อนใช้สอย รู้จักการพิจารณาก่อนการบรรเทา หรือรู้จักการพิจารณาก่อนการงดเว้น ทั้งนี้ ต้องมีคติชีวิต ประพฤติปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สูงสุดของมหาชน... เพื่อเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์โลก และเพื่อจะได้เป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่อนุชนรุ่นหลัง ดังที่พระมหากัสสปเถรเจ้า เคยถวายความประสงค์ของการดำรงอยู่ข้อธุดงควัตร ในข้ออยู่ป่าเป็นวัตรของท่าน ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เพื่อต้องการถือการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่กุลบุตรทั้งหลายในภายหลัง ที่จะได้มีความศรัทธาปสาทะ เลื่อมใสในจริยาวัตร และมุ่งประพฤติตามแบบอย่าง... และตั้งมั่นอยู่ในความเคารพธรรม... เคารพวินัย ดังพระอริยบุคคลที่ตั้งเจตนารักษาศีลปฏิบัติอยู่ในเหตุผลอย่างเคร่งคัด ด้วยความเข้าใจในวัตถุประสงค์ คือ ประโยชน์ที่มุ่งหมายของวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแถลง




    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    โดย....พระอาจารย์อารยะวังโส
    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
    จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
    นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
    ศรัทธาธรรมส่องโลก
    วิสัชนา : ก่อนบัญญัติสิกขาบทแต่ละข้อ ซึ่งมีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
    ๑.เพื่อความดีงามที่เป็นไปโดยความเห็นชอบร่วมกันของสงฆ์
    ๒.เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
    ๓.เพื่อคำรามคนหน้าด้าน ไม่รู้จักอาย
    ๔.เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลงาม
    ๕.เพื่อปิดกั้นความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในปัจจุบัน
    ๖.เพื่อบำบัดความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในภายหลัง
    ๗.เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
    ๘.เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
    ๙.เพื่อความดำรงมั่นแห่งสัทธรรม
    ๑๐.เพื่อส่งเสริมความเป็นระเบียบเรียบร้อย สนับสนุนวินัยให้หนักแน่น
    จากที่กล่าวมาทั้งหมดโดยสรุป เพื่อแสดงให้เห็นรากฐานการเกิดเติบโตของพระวินัย ที่มาจากหลักคุรุธรรม หรือศีล ๕ ของโลกที่มีอยู่เป็นปกติแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ชมพูทวีป ซึ่งได้ถูกนำมาปฏิรูปให้เป็นไปตามฐานะความเหมาะสม และเพื่อประโยชน์ทั้งของผู้ปฏิบัติและภาคสังคม หรือบุคคลอื่นๆ ที่จะได้รับผลประโยชน์สุขโดยธรรม จากการรักษาศีล บำเพ็ญวัตร ทำตามระเบียบแบบแผนพิธี อย่างสัตบุรุษผู้รู้ทั้งหลายที่ได้ถือปฏิบัติ ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ แสดงถึงเจตนารมณ์ที่มุ่งเน้นความดีงามและประโยชน์สุข โดยเฉพาะของภาคสังคม ซึ่งนี่เองจึงเป็นจุดเด่นของพระพุทธศาสนา ที่บัญญัติสิกขาบทน้อยใหญ่ไว้อย่างน่าสนใจศึกษา
    มีความลุ่มลึก ละเอียด สวยงาม สานสัมพันธ์กันอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะความเป็นประโยชน์แห่งการดำรงอยู่ของสงฆ์ ซึ่งบทบาทในส่วนของสงฆ์และสังฆกรรมทั้งหลายจะต้องเป็นไปด้วยดี ทั้งนี้ เพราะสงฆ์จะต้องมีความสามัคคี ไม่แตกแยก ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย้ำ ความสำคัญของสังฆเภทและสังฆสามัคคี ดังที่ทรงตรัสไว้ว่า สังฆสามัคคีเป็นธรรมเอก ที่เมื่อเกิดมีในโลกก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของพหูชน หรือดังพระบาลีที่กล่าวว่า “สุขา สังฆัสสะ สามัคคี” แปลว่า ความสามัคคีในหมู่สงฆ์ย่อมนำความสุขมาให้
    ดังนั้น เรื่องของศีลในทางสังคมซึ่งจัดอยู่ฝ่ายวินัยนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่มีเจตนาเพื่อมุ่งจัดความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อให้มีสภาวะที่เกื้อกูล เกิดความเจริญงอกงามของชีวิตในส่วนตนและส่วนรวม อันควรได้รับประโยชน์จากความประพฤติแห่งตนตามสิกขาบทนั้นๆ ดังที่กล่าวมาตามเจตนาแห่งศีลในระดับวินัย “ตนก็มีความสุข... กับคนก็มีความสงบเรียบร้อย ดีงาม...” ตามที่ปรากฏในสิกขาบท ๔ ของปาราชิก ที่เริ่มต้นด้วย สิกขาบทที่ ๑ คือ การเสพเมถุน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงต่อการประพฤติปฏิบัติ เพื่อทำที่สุดแห่งพรหมจรรย์ หรือเพื่อทำความทุกข์ให้สิ้น ซึ่งหากมองย้อนกลับไปที่หลักคุรุธรรม ซึ่งวางศีลขั้นธรรมไว้ในเบื้องต้น เพื่อการควบคุมความประพฤติ มิให้เป็นโทษกับผู้อื่น ก็จะเห็นความปรากฏเกี่ยวเนื่องจัดสัมพันธ์อยู่ในข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจารา...
    คือ ให้งดเว้นความเกี่ยวข้องทางกามคุณในบุคคลที่เขาหวงแหนมิได้ยกให้ ซึ่งรวมถึงการกำกับดูแลสิทธิโดยกฎหมาย เช่น การพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน ซึ่งในข้อดังกล่าวนี้เป็นการวางกฎระเบียบความสืบเนื่องกับกฎแห่งกรรม หากกระทำการอกุศล ล่วงละเมิดบุคคลที่เจ้าของมิได้ยกให้ หรือบุคคลเหล่านั้นไม่ยินยอม เช่น ลูก ภรรยาของผู้อื่น จึงให้งดเว้นความประพฤติในกามอย่างเด็ดขาด เพื่อความไม่ก่อการอกุศล ทำร้าย หรือเบียดเบียนใคร และเมื่อยกสู่ศีลขั้นวินัยของคฤหัสถ์ ซึ่งประณีตละเอียดยิ่งขึ้นในศีล ๘ และอุโบสถศีล ก็จะพบว่า ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น
    เป็นการสมาทานสิกขาบท เว้นจากการประพฤติที่มิใช่พรหมจรรย์ ให้ดำรงอยู่อย่างเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ห่างไกลจากกามคุณ เว้นจากการประพฤติของคนที่อยู่กันเป็นคู่ อันเป็นธรรมของชาวบ้าน ซึ่งในองค์ศีลข้อที่ ๓ ในศีล ๘ และอุโบสถศีล จะมุ่งเน้นการปฏิบัติตนแบบพระอริยเจ้า เพื่อสร้างสมบารมี สืบเนื่องการปฏิบัติ ให้น้อมโน้มไปสู่การประพฤติอย่างสมณะในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีจุดมุ่งมั่นในเจตนาธรรมอยู่ที่การละวาง คลายออก ไม่เข้าไปเกี่ยวพันเกี่ยวเนื่องในกามคุณทั้งปวง เพื่อยกระดับจิตให้ถึงวิราคะธรรม เพื่อการทำให้รู้แจ้ง อันหมายถึง การดับสิ้นถึงกิเลสาสวะ



    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    โดย....พระอาจารย์อารยะวังโส
    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
    จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
    นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
    ศรัทธาธรรมส่องโลก
    “ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน และตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความเป็นคนมักน้อย ความเป็นคนสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร ทรงแสดงธรรมที่สมควรแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย และรับสั่งแสดงเหตุผลแห่งการที่ทรงบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย”
    วิสัชนา : เรื่องดังกล่าว จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของศีลในระดับวินัย โดยเฉพาะของพระสงฆ์ ดังจากการปรากฏในบัญญัติปาราชิกของสิกขาบทที่ ๑ ซึ่งทรงบัญญัติชัดแจ้งว่า “หากภิกษุใดเสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”
    ต้นบัญญัติของปฐมสิกขาบทปาราชิก ก็มาจากกรณีพระสุทินน์กลันทบุตร ชาวราชคฤห์ ได้เสพเมถุนธรรมกับภรรยาเก่า แม้ขณะนั้นยังมิได้ทรงบัญญัติในโทษดังกล่าว และพระสุทินน์ก็ยังมีความเห็นว่า ไม่มีโทษ แต่ด้วยอานุภาพแห่งความเป็นพรหมจรรย์ของพระธรรมวินัยอันบริสุทธิ์ จึงทำให้เกิดผลกรรมฟากอกุศล ส่งผลให้เกิดความรำคาญใจ ความเดือดร้อนใจ บาลีเรียกว่า วิปฏิสาร จนทำให้พระสุทินน์กลันทบุตร มีร่างกายซูบผอม เศร้าหมอง ผิวพรรณเลวทราม ซึ่งต่อมาความทราบถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า
    จึงได้ทรงประชุมสงฆ์ และติเตียนการกระทำของพระสุทินน์ ที่ได้เสพเมถุนธรรมในปุราณทุติยิกา (ภรรยาเก่า) ถึง ๓ ครั้ง เพื่อหวังให้ลูกกับนาง จนสำเร็จความประสงค์ นางได้ตั้งครรภ์เพราะความประพฤติดังกล่าว...ซึ่งพระพุทธองค์ ทรงติเตียนว่า “เป็นการกระทำอันเป็นโทษ ได้ชื่อว่า ต้องอสัทธรรม เป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมารยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ มีน้ำที่สุด...และการกระทำนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของบุคคลที่เลื่อมใสแล้ว...”
    ก่อนจะบัญญัติสิกขาบทที่ ๑ ในโทษปาราชิกดังกล่าว ได้ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน และตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความเป็นคนมักน้อย ความเป็นคนสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร ทรงแสดงธรรมที่สมควรแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย และรับสั่งแสดงเหตุผลแห่งการที่ทรงบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย
    โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ จึงทรงปฐมบัญญัติในเรื่องดังกล่าวขึ้น และต่อมาเมื่อมีผู้ประพฤติผิดในลักษณะทำนองดังกล่าว เกี่ยวกับการเสพเมถุนธรรม แม้จะเปลี่ยนวัตถุไป จากผู้หญิงไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็ยังทรงจัดเข้าเป็นความผิดฐานเดียวกันในปาราชิกของสิกขาบทที่ ๑ ซึ่งทรงบัญญัติว่า “อนึ่ง ในภิกษุใดเสพเมถุน โดยที่สุดแม้กับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็ให้ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้เช่นเดียวกัน...” และเพิ่มเติมเป็นอนุบัญญัติที่ ๒ เมื่อกรณีพระภิกษุไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม โดยที่สุด
    แม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็ให้เป็นโทษปาราชิก หาสังวาสมิได้ เป็นอาบัติร้ายแรงที่สุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งการเสพเมถุนธรรมในมรรคทั้ง ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค และมุขมรรค เป็นเรื่องของชาวบ้านผู้ครองเรือน ไม่ควรแปดเปื้อนในพระพุทธศาสนา ในฐานะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์อย่างพระภิกษุสงฆ์ จึงทรงบัญญัติบทลงโทษไว้ขั้นสูงสุด
    เพื่อจัดระบบองค์กรสงฆ์ให้เข้มแข็ง มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ซึ่งนี้คือความโดดเด่นของพระพุทธศาสนาที่น่าเลื่อมใสยิ่ง เพราะจะต้องมีความอดทน อดกลั้น อันเป็นตบะหรือเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ซึ่งตรงกับหัวข้อธรรมประโยคแรกในพระโอวาทปาฏิโมกข์ ที่ทรงกล่าวว่า “ขันติ ปรมัง ตโป ตีติกขา...”

    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
    จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
    นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
    ศรัทธาธรรมส่องโลก
    “ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตรา อันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่อให้ตาย... ดังนี้ เธอมีจิตใจอย่างนี้ มีความหมายหลายอย่าง อย่างนี้ พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนั้นก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”
    วิสัชนา : โดยความอดทน ในความหมายของ “ตีติกขาขันติ” นี้ เป็นความงามเลิศของพระสงฆ์ เพราะเป็นความหมายของความอดทนอดกลั้นต่อความยั่วยวน เย้าใจ กับสภาพแห่งอารมณ์ที่เร้าใจให้ถูกใจ (อิษฐารมณ์) หรือไม่ถูกใจ (อนิษฐารมณ์) หรือความชอบ ความไม่ชอบ ที่เกิดจากอารมณ์ที่ถูกใจ ไม่ถูกใจ ซึ่งขันติประเภทนี้ต้องใช้กำลังการอดทนสูงมาก เพราะเป็นสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นทางจิตใจ การใช้มโนธรรมขั้นนี้สูงมาก ในฐานะของผู้มีอุดมการณ์ขั้นสูง ที่ต้องการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้ถึงความสิ้นทุกข์ ดังเช่น พระภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    การควบคุมการประพฤติการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับพระพุทธศาสนา จึงทรงบัญญัติปรับโทษหนักที่สุด ซึ่งภิกษุต้องเข้าแล้ว ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ
    แม้ในสิกขาบทที่ ๓ ของปาราชิก ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งว่าด้วยการฆ่ามนุษย์ หรือการพรากกายมนุษย์จากชีวิต ก็เป็นโทษปาราชิก จากความเดิมก่อนเกิดปฐมบัญญัติขึ้น พระภิกษุได้ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกรรมฐาน สรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกรรมฐาน เมื่อภิกษุทั้งหลายพากันเจริญอสุภกรรมฐานแล้ว ก็ให้อึดอัดระอา เกลียดชังร่างกายของตน สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดโดยลำพังตลอดกึ่งเดือน ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าถึงอารมณ์แห่งความเบื่อหน่ายในธาตุขันธ์
    จึงได้ปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกันปลงชีวิตบ้าง ตลอดจนว่าจ้างให้ผู้อื่นช่วยปลงชีวิตบ้าง จนภิกษุได้ล้มตายกันไปเยอะ ต่อมาครบกึ่งเดือน พระพุทธองค์ทรงเสด็จออกจากที่หลีกเร้น และทราบความดังกล่าวจากพระอานนท์ จึงทรงสั่งให้ประชุมสงฆ์ในนครเวสาลี แล้วทรงแสดงอานาปานสติกรรมฐาน สรรเสริญคุณของอานาปานสติ หลังจากปรับสภาพจิตใจของภิกษุให้สมบูรณ์ด้วยธรรมปฏิบัติดังกล่าวแล้ว จึงได้ทรงสอบถามความจริงในเรื่องดังกล่าวจากภิกษุ ซึ่งกราบทูลเล่าเรื่องตามความเป็นจริงทุกประการ
    พระพุทธองค์ทรงติเตียนเป็นอันมาก แล้วมีพระบัญญัติว่า “ภิกษุใด จงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต เป็นปาราชิก”
    และมีพระอนุบัญญัติเกิดขึ้น จากกรณีพระฉัพพัคคีย์ ซึ่งมีจิตปฏิพัทธ์ในภรรยาของอุบาสกผู้เป็นไข้คนหนึ่ง จึงมีเจตนาแสร้งพรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกนั้น เพื่อโน้มน้าวให้อุบาสกเข้าใจผิด สำคัญว่าตายเสียดีกว่าอยู่ ตายจากโลกนี้แล้วจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ซึ่งอุบาสกก็ได้เห็นจริงตามนั้น จึงได้รับประทานโภชนะที่แสลง จนเกิดป่วยหนักถึงแก่ความตาย ต่อมาภรรยาของอุบาสกดังกล่าวได้เพ่งโทษว่า พระสมณะนี้ไม่ละอาย พูดเท็จ ปราศจากความเป็นสมณะ พรรณนาคุณแห่งความตายแก่สามีของเรา สามีเราถูกสมณะนี้ทำให้ตาย
    เรื่องดังกล่าวได้ถูกแพร่กระจายไปยังคนกลุ่มอื่นๆ และได้เพ่งโทษติเตียน จนความทราบถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงมีพระอนุบัญญัติในข้อสิกขาบทดังกล่าวว่า
    “อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตรา อันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่อให้ตาย... ดังนี้ เธอมีจิตใจอย่างนี้ มีความหมายหลายอย่าง อย่างนี้ พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนั้นก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”
    จากสิกขาบทที่ ๓ ในปาราชิกตามที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า มาจากพื้นฐานของคุรุธรรม หรือศีล ๕ เรื่องห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในข้อที่ ๑ แต่ประณีตและละเอียดตรงที่มุ่งไปสู่ “การห้ามการฆ่ามนุษย์” เป็นวัตถุหลัก เพื่อเป็นการป้องกันสังคม เพื่อให้ดำรงสืบเนื่องไปอย่างปกติ หรือไม่ทำให้สังคมของมวลมนุษย์เกิดความพินาศ ในสิกขาบทข้อนี้ จึงมุ่งเน้นรักษาและปกป้องให้มนุษย์ดำรงวิถีชีวิตไปอย่างมีความปกติ โดยการจัดให้มีวินัยหรือศีลขึ้นมาควบคุมดูแลในเรื่องดังกล่าว




    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัยว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ถึงขั้น ปาราชิก คือ ขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
    จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วยผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
    นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
    ศรัทธาธรรมส่องโลก
    วิสัชนา : เพื่อปกป้องสังคมอย่างเต็มที่ พิจารณาลดหลั่นโทษลงไป ในกรณีพรากกายจากชีวิตอันเป็นไปตามหลักเจตนาเป็นเครื่องบ่งชี้ รวมถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมทั้งหลายเข้าประกอบด้วย เพื่อพิจารณาน้ำหนักของการกระทำ ซึ่งนำไปสู่การทำมนุษย์ให้ตาย
    หากเรามองย้อนกลับไปดูความจริงในสมัยพุทธกาล ก็จะพบว่ามีหลายลัทธิที่สามารถกระทำการฆ่ามนุษย์ บูชายัญตามความเชื่อของพราหมณ์ได้ การเสพเมถุนในหมู่นักบวชบางลัทธิ การขโมยของหรือการลักทรัพย์ตามการสอนของครูอชิตเกสกัมพล ซึ่งเป็นหนึ่งในหกครูที่มีชื่อเสียงมากในขณะนั้น มีพฤติกรรมดังกล่าวกันมาก อันกลายเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจของชาวเมืองที่มีความรู้ความเข้าใจในหลัก ศีลธรรมเบื้องต้น ซึ่งได้กล่าวโทษ เพ่งติเตียนในเรื่องดังกล่าวที่น่ารังเกียจกันมาก
    พระพุทธศาสนาได้พิจารณาเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว เพื่อต้องการปกป้องพหูชน จึงได้บัญญัติโทษแด่ภิกษุที่ละเมิดปฏิบัติถึงขั้นปาราชิก คือ ให้ขาดจากความเป็นภิกษุทันที เพื่อการจำแนกแจกแจงให้เห็นความต่างฐานะ และต่างการกระทำระหว่างภิกษุกับผู้ครองเรือน ว่ามีความประณีต ละเอียดต่างกัน ดังที่ปรากฏในพระโอวาทปาฏิโมกข์ที่กล่าวไว้ในอุดมการณ์ ๔ ว่า
    “...น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต...”
    แปลว่า ผู้เข้าไปฆ่าผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย...”
    ดังนั้น ความตามบัญญัติในปาราชิก ซึ่งมีสิกขาบท ๔ จึงมีความชัดเจนยิ่งต่อการแสดงเจตนาสอดรับกับพระโอวาทปาฏิโมกข์ และสอดคล้องกับหลักคุรุธรรมของโลกที่ปรากฏอยู่ในศีล ๕ เพียงแต่ความประณีตนั้นถูกขยายความละเอียดจนต่างกันตามความมุ่งหมายของฐานะ
    อันบ่งชี้ถึงจุดมุ่งหมาย ด้วยความต่างระดับของศีล จึงทำให้อาจจะมองได้ว่า ระหว่างผู้ออกบวชกับผู้ครองเรือนเป็นคนละเรื่องกันก็ว่าได้ แต่หากพิจารณาให้ละเอียดก็มาจากเรื่องเดียวกันอย่างแท้จริง เพียงแต่ต่างระดับความประณีตลุ่มลึก ซึ่งศีล ๕ หรือคุรุธรรม จัดวางรูปแบบให้เห็นความจริงของศีลขั้นธรรม อันอาศัยอ้างอิงกฎแห่งกรรมเป็นที่ศึกษา แต่ในขณะที่ศีลขั้นวินัยนั้น เราสามารถเห็นปัจจัยสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลกับสภาพสิ่งแวด ล้อมในสังคมนั้นๆ ซึ่งส่งผลต่อสังคมมาก.


    ที่มา โพสต์ทูเดย์
    โพสต์ทูเดย์ ธรรมส่องโลก


    .



    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ(ตอน ๑๐)


    คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน ๑๑)


    คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน๑๒)


    คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน ๑๓)


    คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (จบ)

    ปุจฉา นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
    ปุจฉา นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    ได้อ่านธรรมส่องโลกในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
    จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
    นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
    ศรัทธาธรรมส่องโลก
    “การกล่าวโอ้อวดสำนัก โอ้อวดครูบาอาจารย์ว่าเก่ง ว่ามีธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ หรืออวดอุตริมนุสสธรรมนั้น เป็นเรื่องมีกันมากในอินเดีย หรือชมพูทวีปในยุคนั้น แม้ถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นอยู่อย่างนี้ ปัจจุบันจะพบกันมากในบ้านเรา ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับในชมพูทวีป เราจะพบเห็นการโปรโมตพระอาจารย์ เกจิอาจารย์ทั้งหลายกันอย่างน่ากลัว โดยการใช้สื่อทุกรูปแบบเป็นเครื่องมือ ดังเช่น มีการออกหนังสือ เล่าเรื่องราวปาฏิหาริย์ต่างๆ กันมากมาย มีการชักชวนกันไปหาอาจารย์องค์นั้น องค์นี้ เพราะมีความเก่งด้านนั้น ด้านนี้ ก็มีเยอะ เรียกว่า เริ่มเข้าสู่ยุคอาจารวาท”
    วิสัชนา : ดังนั้น จุดมุ่งหมายของศีลขั้นวินัยจึงประสงค์ให้มีการควบคุมลงลึกไปในรายละเอียดของ องค์ประกอบ ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางสังคม จึงต้องสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลต่อกัน ดังการจัดรูปพระวินัยในพระพุทธศาสนา เช่นที่ปรากฏในสิกขาบทที่ ๔ ในบทปาราชิก ที่ทรงบัญญัติว่า ...การกล่าวอวดอุตริมนุสสธรรมอันไม่มีอยู่จริง ในภิกษุผู้แสดงเจตนาการกล่าวอวดนั้นเป็นปาราชิก... และทรงมีพระอนุบัญญัติเพิ่มเติมในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ นี้อีกว่า “อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะกล่าวอวดอุตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถน้อมเข้ามาในตัวเองว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยหนึ่งแต่นั้น ผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว เพื่อมุ่งความหมดจดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แนะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ข้าพเจ้าไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ เว้นไว้แต่สำคัญว่า ได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้...”
    ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า การกล่าวโอ้อวดสำนัก โอ้อวดครูบาอาจารย์ว่าเก่ง ว่ามีธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ หรืออวดอุตริมนุสสธรรมนั้น เป็นเรื่องมีกันมากในอินเดียหรือชมพูทวีปในยุคนั้น แม้ถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นอยู่อย่างนี้ ปัจจุบันจะพบกันมากในบ้านเรา ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับในชมพูทวีป เราจะพบเห็นการโปรโมตพระอาจารย์ เกจิอาจารย์ทั้งหลายกันอย่างน่ากลัว โดยการใช้สื่อทุกรูปแบบเป็นเครื่องมือ ดังเช่นมีการออกหนังสือ เล่าเรื่องราวปาฏิหาริย์ต่างๆ กันมากมาย มีการชักชวนกันไปหาอาจารย์องค์นั้น องค์นี้ เพราะมีความเก่งด้านนั้น ด้านนี้ ก็มีเยอะ เรียกว่า เริ่มเข้าสู่ยุคอาจารวาท หรือมีอาจารย์เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการเข้าสู่ยุคปิดทับพุทธศาสน์ ปิดปังพระรัตนตรัย ดังเช่นในปลายสมัยก่อนล่มสลายของศาสนาพุทธในอินเดียก็ว่าได้
    ดังนั้น เราจึงเห็นการจัดวางโทษสูงสุดไว้เพียง ๔ ข้อ ต่อการควบคุมอย่างเข้มแข็งและเป็นไปตามหลักคุรุธรรมอย่างชัดเจน ซึ่งในสิกขาบททั้ง ๔ ในปาราชิก โดยเฉพาะในสิกขาบทข้อที่ ๔ นับว่ามีความโดดเด่น เป็นความสวยงามของพระพุทธศาสนา ที่ทรงบัญญัติให้เห็นวินัยสำหรับพระภิกษุสงฆ์ อันแสดงเจตนารมณ์ที่มุ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยให้ความสำคัญของสงฆ์มากกว่าบุคคล จึงมีพุทธบัญญัติมิให้ภิกษุอวด “อุตริมนุสสธรรม” อันได้แก่ การบรรลุธรรมอย่างสูงที่เกินปกติของมนุษย์สามัญ เช่น ฌานสมาบัติ มรรคผล ซึ่งถ้าอวดโดยที่ตนไม่มีคุณวิเศษนั้นจริง ก็เข้าข่ายหลอกลวง... ย่อมต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ และถึงแม้จะมีคุณวิเศษอยู่จริง หากนำไปพูดอวดหรือบอกกล่าวชาวบ้านก็ยังมีโทษ เพียงแต่เบาบางลงเป็น อาบัติปาจิตตีย์



    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัยว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือ ขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
    จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
    นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
    ศรัทธาธรรมส่องโลก
    วิสัชนา : จากต้นเหตุของพุทธบัญญัตินี้ เกิดจากในคราวทุพภิกขภัย ภิกษุพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา ในเขตวัชชีชนบท คิดหาอุบายจะให้พวกตนมีอาหารฉันโดยไม่ลำบาก จึงกล่าวสรรเสริญกันและกันให้ชาวบ้านฟังตามที่เป็นจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง ว่าท่านรูปนั้นได้ฌาน ท่านรูปนั้นเป็นโสดาบัน ท่านรูปนั้นเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ชาวบ้านจึงเลื่อมใสพากันบำรุงเลี้ยงภิกษุกลุ่มนั้นอย่างสมบูรณ์ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงทรงพุทธบัญญัติสิกขาบทขึ้นห้าม โดยทรงติเตียนว่าไม่สมควรที่จะอวดอ้างคุณความดีพิเศษ เพราะเห็นแก่ความต้องการขบฉัน หรือหวังลาภปัจจัย ดุจดังมหาโจรที่เลวร้ายที่สุดในโลก เพราะบริโภคอาหารของชาวบ้านดุจขโมย เปรียบเทียบดุจมหาโจร ๕ จำพวก
    จำพวกที่ ๑ นั้น มหาโจรบางคนในโลกนี้ ย่อมปรารถนาให้บุรุษร้อยหนึ่ง พันหนึ่ง แวดล้อมแล้วเที่ยวเบียดเบียน คามนิคม ราชธานี ดังภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ที่เลวทราม “ย่อมปรารถนาว่า เมื่อไรหนอ เราจักมีภิกษุ ร้อยหนึ่ง พันหนึ่ง แวดล้อม เที่ยวจาริกไปให้คฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพบูชา ถวายปัจจัย มีประการต่างๆ”
    จำพวกที่ ๒ ภิกษุผู้เลวทรามบางพวกในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว “ย่อมยกตนขึ้นว่า ตนเองรู้ ไม่มีศาสดาสอน” นี่เป็นมหาโจรพวกที่ ๒
    จำพวกที่ ๓ ภิกษุผู้เลวทรามบางพวกในธรรมวินัยนี้ “ย่อมตามกำจัดเพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด” ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่ ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อันหามูลมิได้ นี่เป็นมหาโจรพวกที่ ๓
    จำพวกที่ ๔ ภิกษุผู้เลวทรามบางพวกในธรรมวินัยนี้ “ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขารของสงฆ์...” นี่เป็นมหาโจรพวกที่ ๔
    จำพวกที่ ๕ ภิกษุผู้อวดอุตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่จริง อันไม่เป็นจริง นี้ “จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์นั้น” ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร “เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย”
    นอกจากนั้น ในประมวลเรื่องราวเกี่ยวกับการห้ามอวดอุตริมนุสสธรรม เช่น ในเชิงอิทธิปาฏิหาริย์ทั้งหลาย ก็ทรงติเตียน และมีพุทธบัญญัติให้มีสิกขาบท ที่ห้ามมิให้ภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่ชาวบ้าน ภิกษุใดแสดง ภิกษุนั้นมีความผิด หรือมีอาบัติต้องทุกกฎ
    จากสิกขาบทบัญญัติตามที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ศาสนจักรนั้น พระพุทธเจ้าทรงยกพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ และให้ความสำคัญกับพระสงฆ์มากกว่าตัวบุคคล เพื่อหวังความพร้อมเพรียงของสงฆ์ จะได้เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อมหาชนและอนุเคราะห์โลก ซึ่งองค์คุณแห่งพระธรรมวินัยนั้น จะต้องสืบทอดด้วยคณะสงฆ์ ดังนั้นการกระทำการใดๆ ที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งสงฆ์ และไม่ทำให้เกิดความบริสุทธิ์ในพระพุทธศาสนา อีกทั้งไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงสนับสนุน แต่ในทางกลับกัน ยังได้ทรงกล่าวติเตียน พร้อมทั้งทรงพุทธบัญญัติวางพระวินัยไว้ เพื่อควบคุมดูแลกิจการของคณะสงฆ์ ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนในพระธรรมวินัย ที่พระองค์ตรัสแสดงไว้ดีแล้ว เพื่อทรงอนุเคราะห์แก่ชนหมู่มาก
    นอกจากจะทรงบัญญัติปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบทไว้เป็นโทษอาบัติขั้นสูงสุดแล้ว ก็ยังได้ทรงบัญญัติสิกขาบทน้อยใหญ่ไว้อีกหลายหมวด เช่น สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ สิกขาบท นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท และอธิกรณสมถะอีก ๗ สิกขาบท
    โดยในสิกขาบทน้อยใหญ่ ก็จะแยกย่อยไปตามลักษณะของแต่ละเรื่อง ที่แตกกระจายมาจากปาราชิก ๔ สิกขาบท โดยมีเงื่อนไขอันเป็นเหตุให้เกิดการปรับโทษอาบัติหนักเบา ไล่เรียงกันไปตามน้ำหนักของเรื่อง ซึ่งหากพิจารณาให้ชัดเจนก็คงสามารถจัดแยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะของแต่ละสิกขาบท ซึ่งสามารถจัดให้สัมพันธ์สอดคล้องเข้ากับจตุราปาริสุทธิศีลได้ โดยมีจุดมุ่งหมายของพระวินัยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาศัยประโยชน์ ๑๐ ประการ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย และได้ทรงแสดงอานิสงส์ที่บุคคลผู้ทรงวินัย



    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    โดย....พระอาจารย์อารยะวังโส
    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
    จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
    นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
    ศรัทธาธรรมส่องโลก
    “จะต้องเป็นไปตามพุทธประเพณี เป็นไปตามพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ เป็นการใช้อำนาจตามธรรม เรียกว่า ธรรมาธิปไตย จึงต้องให้ทุกอย่างเคลื่อนไหวไปตามธรรม สมควรแก่ธรรม”
    วิสัชนา : จะพึงได้รับจากการประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบแห่งสิกขาบทน้อยใหญ่ ซึ่งจะพึงได้รับนั้นมี ๕ ประการ คือ
    ๑.สีลขันธ์ของตนเป็นอันคุ้มครองมีแล้ว
    ๒.เป็นที่พึงของภิกษุผู้มักระแวงสงสัย
    ๓.เป็นผู้กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
    ๔.ข่มเหล่าคนผู้เป็นข้าศึกได้ราบคาบดีโดยสหธรรม
    ๕.เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
    หากจะมีคำถามต่อเนื่องว่า “เอ๊ะ! แล้วทำไม พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ให้สมบูรณ์เสียเลยทีเดียว จะได้ไม่ต้องรอให้มีผู้ประพฤติปฏิบัติผิดเกิดขึ้น จนนำมาเป็นปฐมเหตุในการบัญญัติสิกขาบทนั้น” ก็คงจะตอบได้ว่า การที่ทรงปฏิบัติในเรื่องใดๆ ของพระองค์นั้น “จะต้องเป็นไปตามพุทธประเพณี เป็นไปตามพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ เป็นการใช้อำนาจตามธรรม เรียกว่า ธรรมาธิปไตย จึงต้องให้ทุกอย่างเคลื่อนไหวไปตามธรรม สมควรแก่ธรรม”
    ต่อไปเบื้องหน้า ซึ่งจะได้ไม่มีใครมาว่าได้ว่า พระธรรมวินัยนี้ เป็นไปตามความต้องการของพระองค์ เป็นสำคัญ อันจะถูกครหาดังกล่าวได้ว่า พระองค์มิได้รับฟังเสียงจากภายนอกเลย ประการสำคัญ ซึ่งทรงแสดงพุทธจริยาดังกล่าว เพื่อแสดงให้หมู่สาวกและชนทั้งหลายได้ประจักษ์ว่า แม้พระองค์ก็ยังให้ความเคารพในพระธรรมเป็นใหญ่ ดุจดังพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ดังพระบาลีที่ว่า “เย จ พุทฺธา อตีตา จ เย จ พุทฺธา อนาคตา ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทฺธา อหํ สทฺธมฺม ครุโย” ไม่ว่าจะเป็นบัณฑิตในกาลไหนๆ แม้แต่ในอนาคต หากเป็นสัตบุรุษ มีการเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับในสัจธรรม
    ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงมีพระสัพพัญญู แม้จะรู้แจ้งในทุกๆ เรื่องได้ตามพระประสงค์ และแม้ว่าจะทรงทราบอยู่ที่ย่อมตรัสก็มี และทรงทราบอยู่ที่ย่อมไม่ตรัสก็มี ทรงทราบแล้วตรัสถาม ทรงทราบแล้วไม่ตรัสถาม ย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี่เป็นพุทธจริยาอันสวยงามและบริสุทธิ์ ซึ่งพระองค์ทรงจำกัดด้วยข้อปฏิบัติ




    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัยว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ถึงขั้น ปาราชิก คือ ขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
    จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วยผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
    นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
    ศรัทธาธรรมส่องโลก
    วิสัชนา : ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ซึ่งย่อมสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสงฆ์สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง ซึ่งมีเจตนาเป็นไปเพื่อต้องการสงเคราะห์พระสงฆ์สาวก และเพื่อทรงมีพระประสงค์ให้คณะสงฆ์ได้สงเคราะห์มหาชน อนุเคราะห์โลกสืบต่อไป ดังปรากฏอยู่ในพระโอวาทปาฏิโมกข์ อันควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง เพื่อความเข้าใจในความเป็นหนึ่งเดียวของพุทธศาสนา ที่จะน้อมโน้มไปสู่ความบริสุทธิ์ และเป็นไปได้จริงๆ ตามที่ทรงแสดงและบัญญัติไว้ ซึ่งจะรู้แจ้งได้และถึงประโยชน์ได้จริงก็เมื่อจะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระ ธรรมวินัยดังกล่าว



    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
    ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
    ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัยว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือ ขาดจากความเป็นพระสงฆ์ การบัญญัติวินัยหรือศีลไว้อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง
    นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
    ศรัทธาธรรมส่องโลก
    วิสัชนา : อย่างถูกต้อง ตรงธรรม สมควรแก่ธรรม... นี้คือความสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา ซึ่งมุ่งเน้นการปฏิบัติบูชาเป็นสำคัญที่สุด เหนือการบูชาทั้งปวง พระพุทธศาสนาจึงมีพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ ซึ่งแสดงคุณสมบัติของความเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ดังคำกล่าวที่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม (พระธรรมวินัย) ผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นจะถึงซึ่งพระนิพพาน”
    พระพุทธศาสนาจึงมีพระธรรมวินัยเป็นพระบรมศาสดา เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จปรินิพพานแล้ว ดังที่ทรงตรัสกับพระอานนท์ เป็นภาษาบาลีว่า “โย โว อานนฺท ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โสโว มมจฺจเยน สตฺถา” แปลว่า ดูกรอานนท์ ธรรมวินัยที่เราแสดงบัญญัติไว้แก่พวกเธอ นั่นแหละจะเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายเมื่อเราสิ้นไป
    ดังนั้น เราทั้งหลายที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า จงมาทำความพร้อมเพรียงกัน ในการปฏิบัติบูชาพระธรรมวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแสดงและบัญญัติไว้ดีแล้ว เพื่อเป็นการแสดงความเคารพสักการะแด่พระพุทธองค์อย่างแท้จริง เพื่อจะได้เข้าถึงแก่นธรรมแท้ในพระศาสนาของพระองค์ อันได้แก่ พระนิพพาน เทอญ
    ขอเจริญพร

    ที่มา โพสต์ทูเดย์
    โพสต์ทูเดย์ ธรรมส่องโลก

    .



    .



    .
     
  3. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    สวัสดียามเช้าครับพี่หนุ่ม วันนี้พี่หนุ่มนำธรรมะมาให้อ่านประดับสติปัญญาเพียบเลยนะครับ โมทนาสาธุครับพี่
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ชาวกาฬสินธุ์เจอ แบงก์ปลอม ระวังระบาดปีใหม่



    [​IMG]


    ชาวกาฬสินธุ์เจอ แบงก์ปลอม ระวังระบาดปีใหม่(ไอเอ็นเอ็น)


    แม่ ค้าร้านชำเมืองกาฬสินธุ์ เจอดีแก๊งแบงก์ปลอม ฉวยโอกาสตอนเช้ามืด ใช้แบงก์ 20 ปลอม หลอกซื้อของ ด้านผู้การเมืองน้ำดำ เตือน ระมัดระวังการรับเงินช่วงเทศกาลปีใหม่

    นางสายใจ ถิตย์กุล อายุ 50 ปี เจ้าของร้านขายชำ บ้านสุขสวัสดิ์ ม.14 ต.หลุบ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ที่กำลังขายสินค้าอย่างขมักเขม้น พร้อมกับการตรวจสอบธนบัตร หลังมีผู้นำธนบัตรปลอมมาใช้ซื้อของภายในร้าน โดยก็ไม่รู้ว่าเป็นธนบัตรปลอม นางสายใจ กล่าวว่า ได้นำเงินที่ขายของได้ภายในร้าน ไปซื้อของที่ตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จนกระทั่งแม่ค้าในตลาดสดสังเกตเห็นว่า เป็นธนบัตรปลอม พร้อมนำธนบัตรคืนให้ ตนจึงได้กลับมาตรวจสอบพบว่า มีธนบัตรปลอมฉบับละ 20 บาท อยู่ถึง 4 ฉบับ สำหรับ ธนบัตรปลอมที่ได้ น่าจะมีชาวชุมชนบ้านกุดอ้อมาซื้อของ โดยตนก็ไม่รู้ โดยสังเกตให้ดีที่ธนบัตรจะไม่มีรูปพระบรมฉายาลักษณ์ และเนื้อของกระดาษ เมื่อถูกน้ำสีของธนบัตรจะลบเลือน

    ด้านพล.ต.ต.คณิสร น้อยนารถ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ขอ เตือนประชาชนในจังหวัด ให้ตรวจสอบให้ดีก่อนรับเงิน อาจมีแบงก์ปลอมปะปนมากับเงินที่ใช้จ่ายในพื้นที่ก็ได้ และขณะนี้ทราบว่าตามชนบทมีผู้นำเงินไปใช้แล้ว และเวลารับธนบัตรมา ต้องดูให้ดี เนื่องจากขณะนี้แบงก์ปลอมกำลังระบาด อีกทั้งการทำปลอมเลียนแบบก็ทำได้ค่อนข้างเหมือน แต่หากใช้เครื่องตรวจเงินดู จะพบว่าเป็นแบงก์ปลอม เพราะฉะนั้นพ่อค้าแม่ค้าจะต้องระวังเป็นพิเศษ และอีกไม่กี่วันก็จะถึงเทศกาลปีใหม่แล้ว ช่วงนี้จะต้องระมัดระวังเช่นกัน เพราะแก๊งมิจฉาชีพจะนำเงินออกมาใช้จ่ายในช่วงนี้ โดยจะใช้แบงก์ปลอมซื้อสินค้า แล้วเอาเงินทอน ซึ่งเป็นเงินจริงไป

    ที่มา INN

    [​IMG]

    http://hilight.kapook.com/view/54539

    .



    .



    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 17 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 14 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> sithiphong, :::เพชร:::+, nongnooo+</td></tr></tbody></table>
    สวัสดีครับ

    มาครบเลยครับ vb vb

    แบบว่า อศจร ววอพ

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    ผมส่งให้แล้วนะครับคุณ:::เพชร::: ตามคำขอครับ

    ผมว่าจะถ่ายรูปใหม่ เนื่องจากเดิมถ่ายไม่ค่อยชัดครับ



    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 21 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 18 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> sithiphong, ปฐม+, มูริญโญ่</td></tr></tbody></table>

    สวัสดีตอนค่ำๆ วันจันทร์ แจ่มใส ครับ

    วิตามินซี ที่ผมทานอยู่ทุกวัน ยี่ห้อ C-Naturel(ซี-แนเทอเรล) เป็นกล่องสีส้ม ด้านบนเขียนว่า NUTRAKAL ครับ

    หายจากหวัดเร็วๆนะครับคุณมูริญโญ่

    น่าอิจฉาน้องปฐม ที่อยู่บ้าน อิอิ

    .
     
  9. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    สวัสดีครับพี่ท่านทั้ง2 อย่าอิจฉาเลยครับพี่หนุ่ม เวลางานเข้าแทบไม่ได้หลับได้นอน ช่วงนี้บ้านผมก็อากาศเปลี่ยนบ่อยต้องดูแลสุขภาพกันดีๆนะครับพี่ทุกท่าน
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ปภ. ประกาศเขตภัยพิบัติหนาว 20 จังหวัด



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ปภ.ประกาศพื้นที่ภัยหนาวแล้ว 20 จังหวัด แพทย์แนะประชาชนรักษาสุขภาพ หลังพบคนป่วยไข้หวัด-โรคทางเดินหายใจแห่รักษาตัวเพียบ

    วานนี้ ( 19 ธ.ค.) นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวถึงสถานการณ์ภัยหนาวในประเทศไทยว่า ขณะ นี้ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินภัยหนาวแล้ว 20 จังหวัด 262 อำเภอ 1,966 ตำบล 22,913 หมู่บ้าน ประกอบด้วยภาคเหนือ 10 จังหวัด คือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน ลำพูน เชียงราย เพชรบูรณ์ ตาก ลำปาง แพร่ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด คือ อุดรธานี สกลนคร เลย ขอนแก่น นครพนม หนองคาย กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม และอุบลราชธานี

    ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยหนาว ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแล้ว และให้จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยหนาวสามารถนำเงินทดรองของราชการ 1 ล้านบาท ไปบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นได้

    [​IMG]


    สำหรับสถานการณ์ภัยหนาวในจังหวัดต่าง ๆ นั้น ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีหมอกหนาในตอนเช้า ทำให้ประชาชนต้องออกมานั่งผิงไฟเพื่อคลายความหนา โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่อาศัยติดเทือกเขาภูพาน สภาพอากาศหนาวเย็นมากกว่าจุดอื่น ขณะที่ประชาชนจำนวนหนึ่งได้เกิดอาการเจ็บป่วยจากโรคไข้หวัด พากันเดินทางไปรับการรักษาตามโรงพยาบาลชุมชน 13 แห่ง โดยนายแพทย์สมคิด สุริยเลิศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ประกาศเตือนให้ประชาชนสวมหน้ากากภายในบ้าน โดยเฉพาะเด็กเล็ก เพื่อป้องกันการติดต่อของเชื้อไวรัส เนื่องจากขณะนี้แต่ละวันพบผู้ป่วยจากโรคระบบทางเดินหายใจมากถึงวันละ 200 คน

    ด้านนายวิโรจน์ ศิวรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ในฐานะประธานหน่วยแพทย์ พอ.สว. จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า นอกจากความต้องการเครื่องห่มกันหนาว กว่า 270,000 คน ซึ่งยังคงรอรับการช่วยเหลือ กาฬสินธุ์ยังมีหน่วยแพทย์ พอ.สว. ที่จะทำหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชน เนื่องจากอากาศหนาวเฉียบพลัน โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดาร ขอให้ประชาชนรักษาสุขภาพ ทั้งนี้ หน่วยแพทย์จะเคลื่อนที่ไปทุกแห่งที่ต้องการรับการช่วยเหลือ


    [​IMG]


    เช่นเดียวกับที่จังหวัดร้อยเอ็ด อุณหภูมิลดต่ำอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ 15 องศาเซลเซียส ตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค. ชาวบ้านทั้งในตัวเมืองและชนบท ต้องออกมาก่อไฟเพื่อให้ไออุ่นกับร่างกาย ขณะที่ยังมีลมกรรโชกแรงตลอดทั้งกลางวันกลางคืน

    ด้านจังหวัดเชียงราย มีสภาพอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้อยู่ที่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย วัดได้ 16.3 องศาเซลเซียส ลดลงจากวานนี้ 3 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิตามยอดดอยอยู่ที่ 5-6 องศาเซลเซียส ทำให้ชาวเขาที่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มกันหนาว ต้องก่อไฟ เพื่อบรรเทาความหนาวเย็นในยามเช้า นอกจากนี้ ทัศนวิสัยในการมองเห็น ตามท้องถนนอยู่ที่ประมาณ 300 เมตร เนื่องจากมีหมอกลงหนาในยามเช้า


    [​IMG]


    ขณะที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 11-13 องศาเซลเซียส ซึ่งยังถือว่าไม่หนาวจัด แต่ทางอำเภอได้เตรียมมาตรการรับมือภัยหนาวไว้แล้ว และทางจังหวัดได้นำผ้าห่มไปมอบให้กับชาวบ้าน เพื่อบรรเทาความหนาว

    อย่างไรก็ตาม จากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปท่องเที่ยวในหลาย ๆ จุด เช่น ดอยตุง ดอยแม่สลอง ภูชี้ฟ้า ผาตั้ง วัดพระขี่ม้า แม่สาย เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ดอยปุย พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ในจังหวัดเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นต้น



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ไอ.เอ็น.เอ็น. และ ข่าวสด


    [​IMG] [​IMG]


    http://hilight.kapook.com/view/54559


    .




    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    หวั่นอีก 3 ปี โลกเจอภัยพิบัติใหญ่ เหตุระบบสุริยะเปลี่ยน

    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ภาพประกอบไม่เกียวข้องกับข้อมูล

    วง สัมมนาหวั่นโลกเจอภัยพิบัติในปี 2556 หลังนาซ่าพบระบบสุริยะเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ความร้อนสูงขึ้น ด้าน ดร.สมิทธ ไม่เห็นด้วยย้ายเมืองหลวง แนะให้ความรู้ประชาชนเอาตัวรอดจากภัยพิบัติ

    วานนี้ ( 19 ธ.ค.) หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ร่วมกับมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และเว็บไซต์พลังจิต จัดงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "เจาะลึกภัยพิบัติ...พลิกวิกฤตให้เป็นทางรอด" เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และให้ประชาชนสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต

    ทั้ง นี้ ตอนหนึ่งของการสัมมนา ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรชาวไทยที่ทำงานในองค์การนาซ่า สหรัฐอเมริกา เปิดเผยข้อมูลว่า ระบบสุริยะจักรวาลได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปีหลังมานี้ ส่งผลให้ดาวต่าง ๆ มีความร้อนและแสงสว่างเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับ "โลก" ที่มีรังสีคอสมิกมากขึ้น ฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น และชั้นบรรยากาศลดลง โลกจึงไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนอกโลกมากขึ้น

    ดร.ก้องภพ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ต้องเฝ้าภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของดวงอาทิตย์ที่จะส่ง ผลกระทบต่อโลก เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กของโลก จนทำให้โลกเกิดความร้อนเพิ่มสูงขึ้นได้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงต้นปี ค.ศ.2013 หรือ พ.ศ.2556 ดังนั้น ควรเตรียมรับมือภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นตลอดเวลา

    ขณะที่ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า โลก เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ดูจากอุณหภูมิของประเทศไทยพุ่งสูงที่สุดถึง 42.5 องศาเซลเซียส จากอดีตที่อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 37.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตได้

    ส่วนประเด็นที่ว่า ควรจะย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพมหานครไปอยู่ภาคอื่นนั้น ดร.สมิทธ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วย เพราะหากย้ายไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็มีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ หากย้ายไปภาคเหนือ ก็ต้องเฝ้าระวังแผ่นดินไหว หากย้ายไปภาคใต้ฝั่งตะวันออกก็เสี่ยงเจอกับสตอร์มเซิร์จ ดังนั้น จึงควรเร่งให้ความรู้ประชาชนในการปรับตัว และเอาตัวรอด รับมือจากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นให้ได้

    ทั้งนี้ ดร.สมิทธ ยังฝากเตือนศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติว่า ให้ตรวจสอบดูแลระบบอุปกรณ์เตือนภัยสึนามิให้ดี เพราะหากเกิดสึนามิขึ้นในทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย แล้วเครื่องเตือนภัยไม่ทำงาน ประชาชนที่อยู่ใน 6 จังหวัดภาคใต้จะมีเวลาเพียงแค่ 10 กว่านาทีเท่านั้นในการหลบภัย



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก เดลินิวส์


    [​IMG]


    http://hilight.kapook.com/view/54556
    .



    .
     
  12. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2010
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [FONT=Tahoma,]พระเกจิฯ'จาด-จง-คง-อี๋'(2) โด่งดังยุคสงครามอินโดจีน

    คอลัมน์ มุมพระเก่า

    อภิญญา

    [/FONT][​IMG]
    [FONT=Tahoma,]
    [/FONT][FONT=Tahoma,]นัก สะสมวัตถุมงคล ไม่มีใครไม่รู้จัก "หลวงพ่อจง พุทธสโร" วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแก่กล้าในพลังจิตพุทธาคม ในยุคสงครามอินโดจีน โดยที่มีชื่อเรียกกันติดปากว่า 4 รูปด้วยกัน "จาด-จง-คง-อี๋"

    "หลวงพ่อจง" ได้สร้างวัตถุมงคลไว้มากมายหลายอย่างและได้สร้างแจกทหาร ตำรวจ ในสงครามอินโดจีน ในช่วงปี 2483-2485 เป็นต้นมา เช่น เสื้อยันต์แดง ตะกรุดชุด จนทำให้ทหารที่รอดชีวิตมา ต่างพูดเสียงเดียวกันว่า "วัตถุมงคลของหลวงพ่อจงสุดยอดจริงๆ"

    เมื่อไม่นานมานี้ได้มีโอกาสไปเที่ยววัดหน้าต่างนอก เจอกับ "หลวงพ่อแม้น" เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ท่านเล่าให้ฟังว่าสังขารของหลวงพ่อจง ได้ฌาปนกิจไปเมื่อปี 2509 ก่อนเผาลูกศิษย์ 2 คน ได้แอบใช้ปากกัดนิ้วชี้ทั้งซ้ายและขวาของหลวงพ่อจงเก็บไว้ หลังจากนั้นก็นำไปเลี่ยมบูชาในคอ ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น ผ่านมาหลายปี เจ้าคนทั้ง 2 เดินทางมาที่วัดหน้าต่างนอก นำนิ้วทั้งซ้ายและขวามามอบให้ที่วัดเก็บรักษา

    "นิ้วมือข้างซ้ายของหลวงพ่อจง" นั้น หลวงพ่อแม้นนำไปบรรจุไว้ในมณฑปเจดีย์ ส่วน "นิ้วมือข้าวขวา" บรรจุไว้ในผอบแก้ว ตั้งบูชาไว้ด้านหลังรูปเหมือนหลวงพ่อจง เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาบูชาขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล

    น่าอัศจรรย์นิ้วมือหลวงพ่อจงยังคงสดใสเหมือนนิ้วมือคนธรรมดา

    แถมเล็บงอกยาวออกมาด้วย

    เหตุนี้เองกลายเป็นแรงบันดาลใจ ทำให้ผมอยากจะเขียนถึง วัตถุมงคลยอดนิยม "เหรียญหลวงพ่อจงรุ่นแรก" ในครั้งนี้

    ท่านมีนามเดิมว่า "จง" สำหรับวันเดือนปีเกิดนั้น เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ล่วงเลยผ่านพ้นมานาน อีกทั้งการบันทึกก็มิได้มีหลักฐานที่เด่นชัด แต่ระบุไว้พอรู้ความว่า ท่านได้เกิดในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี วันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีวอก ตรงกับวันที่ 6 มีนาคม 2415 อย่างไรก็ตาม ด้วยเวลานั้นยังไม่มีการใช้ชื่อสกุล จึงไม่มีการระบุชื่อนามสกุลเดิมของท่านไว้<table align="right" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"><tbody><tr bgcolor="#400040"><td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>

    ท่านถือกำเนิดในท้องที่ ต.หน้าไม้ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดา-มารดา ชื่อว่า นายยอดและนางขลิบ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา ชีวิตหลวงพ่อจง ในวัยเยาว์ เป็นผู้มีความชอบวัด ติดวัด เข้าวัดฟังธรรมอยู่เป็นนิจ มากกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่ชอบเที่ยวเตร่หาความสนุกสนานไปวันๆ

    ดังนั้นเมื่ออายุครบอุปสมบทในปี 2435 โยมบิดามารดาจึงจัดพิธีอุปสมบทให้ได้เป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดหน้าต่างใน โดยมี หลวงพ่อสุ่น เจ้าอาวาสวัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์อินทร์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โพธิ์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "พุทธสโร"

    ภายหลังอุปสมบท ท่านได้อยู่พำนักเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดจนวิชาการต่างๆ ที่วัดหน้าต่างใน ได้มาศึกษาหาความรู้ในด้านพระปริยัติธรรมและธรรมสิกขา พร้อมทั้งฝึกฝนด้านการเขียนอ่านอักษรทั้งไทยและขอมจาก "พระอาจารย์โพธิ์" เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์

    การแสวงหาความรู้ของพระภิกษุจงมิได้หยุดยั้งอยู่แต่เพียงภายในวัดหน้าต่างใน เท่านั้น ท่านยังคงเสาะแสวงหาที่เรียนต่อไป อย่างเช่นการไปเรียนวิชาฝ่ายกัมมัฏฐานกับ "หลวงพ่อปั้น วัดพิกุล" ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง ด้วยภูมิธรรมความรู้ อันเกิดจากความวิริยะพากเพียร ทำให้ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของญาติโยมทั้งหลาย

    ในขณะนั้นปฏิปทาของหลวงปู่เอี่ยม วัดหน้าต่างนอก เป็นที่เลื่องลือกันมาก ในสมัยนั้นท่านเป็นพระปฏิบัติในด้านพระกัมมัฏฐาน น้ำมนต์ของท่านศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้คนเลื่อมใสศรัทธาไปมาหาสู่เพื่อสักการะไม่ขาดสาย ครั้นต่อมาหลวงปู่เอี่ยมมรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้อาราธนา "หลวงปู่อินทร์" ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนหลวงปู่เอี่ยม ต่อมาหลวงปู่อินทร์ได้ลาสิกขาบท ทางคณะสงฆ์จึงได้อาราธนานิมนต์ "หลวงพ่อจง" ซึ่งบวชอยู่ "วัดหน้าต่างใน" มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก

    เมื่อ "หลวงพ่อจง" ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก ท่านก็ได้บูรณะอุโบสถหลังเก่า ซึ่งเดิมทีเป็นเรือนไม้ บูรณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตลอดทั้งวิหารคู่กับอุโบสถนั้น แล้วก็ได้สร้าง "พระพุทธฉาย" ขึ้นที่หน้าวัด เพื่อเป็นอนุสรณ์ และได้สร้าง "เรือหงส์" ขึ้นอีกหนึ่งลำ จากนั้นได้ซ่อมแซมเสนาสนะ เช่น กุฏิซึ่งมีสภาพทรุดโทรมให้อยู่ในสภาพที่ดี เป็นต้น

    ท่านเป็นพระเถราจารย์ที่มีวิทยาคมแก่กล้า ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจาก หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อ.บางบาล และหลวงพ่อปั้น วัดพิกุล จ.พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ ยังเป็นสหายธรรมกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นอันมาก เนื่องจากมีพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน

    เนื่องจากคุณธรรมอันวิเศษ ที่หาได้ยากของหลวงพ่อจง ทำให้กิตติศัพท์แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง งานปลุกเสกเครื่องมงคลในกรุงเทพฯ ที่จัดพิธีใหญ่ทุกงาน หลวงพ่อจงจะต้องได้รับนิมนต์มาร่วมพิธีด้วยทุกครั้งไป ถือว่าเป็นพระเถราจารย์ที่ขาดเสียมิได้

    ด้วยคุณธรรมอันสูงส่งของท่านดังนี้ วิทยาคมที่ปรากฎชัดส่วนมากคือ แคล้วคลาด คงกระพัน เมตตามหานิยม และมหาลาภ แม้กระทั่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) จะสร้างเครื่องมงคลครั้งใด ต้องมีบัญชาให้ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) นิมนต์หลวงพ่อจงมาร่วมปลุกเสกด้วยทุกครั้งไปมิเคยขาด

    เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2508 เวลา 01.55 น. หลวงพ่อจงได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ท่ามกลางความโศกสลดของคณะศิษย์ที่นั่งเฝ้าโดยใกล้ชิดทั้งหลาย หลังจากนั้น 1 ปี คณะศิษย์จึงได้จัดงานฌาปนกิจสังขารของท่านที่วัดหน้าต่างใน

    "หลวงพ่อจง" ได้สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลไว้มากมายหลายชนิด มีทั้งเหรียญ ผ้ายันต์ ตะกรุด แผ่นยันต์มหาลาภ และกันไฟ แต่ที่มีชื่อเสียงมากคือ เสื้อยันต์แดง ผ้ายันต์สิงห์มหาอำนาจ แผ่นยันต์พิมพ์ด้วยกระดาษสอง และปลาตะเพียนเงิน-ตะเพียนทอง

    สำหรับเหรียญหลวงพ่อจงรุ่นแรก สร้างเมื่อปี 2484 เพื่อแจกลูกศิษย์ในการร่วมสร้างหอสวดมนต์ เป็นเหรียญปั๊มแบบโบราณเนื้อเงินลงยา และเนื้อทองแดง ทรงข้าวหลามตัด ด้านหน้าโหนกนูนมาก เป็นรูปหลวงพ่อจง ริ้วจีวรคมชัด มีชื่อ "หลวงพ่อจง" อยู่ข้างล่าง ด้านหลังเป็นท้องกระทะ มีข้อความ "ที่รฤกในการสร้างหอสวดมนต์ พ.ศ.๒๔๘๔" อักขระยันต์คมชัด ขอบเหรียญปลิ้น

    เหรียญรุ่นนี้ปัจจุบันหายาก สนนราคาเล่นหาสูงมาก ของปลอมมีระบาดหนัก

    คนสมัยก่อนให้พรไว้ว่า "ใครมีเหรียญหลวงพ่อจง ขอให้จงรวย"

    ตกถึงทุกวันนี้รวยสมใจไปหลายราย!!!
    [/FONT]

    ที่มา ข่าวสด

    http://www.khaosod.co.th/view_news....nid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1DMHhNaTB5TUE9PQ==


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 3 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีตอนเช้าวันอังคารเบิกบานครับ


    ให้เบิกบานกันทั้งวันครับ


    .
     
  15. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    nongnooo สวัสดียามบ่ายครับพี่
     
  16. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    มองได้หลายมุม

    ในมุมมองอีกมุมของผมคือ เพื่อจะตีของแท้ ให้กลายเป็นของเก๊โดยทั้งมวลโดยการสั่งทำพระวังหน้าเก๊ออกมา ทั้งเหมือนบาดคอและตั้งใจเก๊ ด้วยทุนนิดหน่อย ผสมของจริง ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง
    ...เขาหากินกับคนไม่รู้1 ก็แม้กระทั่งคนรู้ยังถูกหลอกได้เลย และเพื่อให้พระวังหน้าตายให้ได้2

    เรียนรู้ความพอ.. จะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับกับดักเหล่านี้ครับ

    (เป็นความคิดเห็นนะครับท่าน)
     
  17. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    การผสม คือการผสมมวลสารจริงๆ1 กับการผสมพระเก๊+พระแท้ให้อยู่ในถุงเดียวกัน ปนๆกันไป ถ้าคิดว่าแน่ก็ลองแยกแยะดูครับ มีเป็นพันๆองค์ ท่านคิดว่าพวกเราจะกล้าขอความเมตตาผู้ทรงอภิญญา กรุณาถามพระได้ทุกพิมพ์หรือไม่หล่ะครับ?

    ผมคิดว่าคำว่าพอดี จะเหมาะสมที่สุดในตอนนี้ ปล่อยให้กระบวนการเก๊วิวัฒน์กันไป ประเดี๋ยวก็ตายไปเอง สาธุ

    แต่หมายเหตุ...พระพิมพ์วังหน้า ท่านเลือกคนเป็นครับ :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2010
  18. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    สำหรับพระกริ่งปวเรศ พิมพ์ที่อยู่ในกระแสดังทะลุโลก ดังข้ามปี ก็เลิกตามหาได้แล้ว เพราะเชื่อว่า ไม่ฟลุคแน่และ ...
    อยู่ในคณะพระวังหน้า มากที่สุด
    คนรอบนอก (ที่ได้มาตั้งนานและไม่รู้ว่าเก่าจริงหรือไม่)
    และคนที่รู้และตามเก็บมาในตอนหลัง

    ถ้าตามหา TOP4 ยังพอจะหาได้อยู่ แต่ต้องมีบุญ+ฟลุคพอสมควร หุหุ
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

แชร์หน้านี้

Loading...