มรดกทางพระพุทธศาสนา-จังหวัดอุดรธานี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Wisdom, 3 ธันวาคม 2006.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    <CENTER>
    [SIZE=+2]มรดกทางพระพุทธศาสนา[/SIZE]</CENTER>
    [SIZE=+1]ศาสนสถาน[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บนไหล่เขาภูพาน ที่บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ อยู่ติดกับอุทยานประวัติศาสตร์ ภูพระบาท[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระพุทธบาทบัวบก แปลตามความหมายว่า รอยพระพุทธบาทพระพุทธเจ้า ที่ประทับไว้ ณ สถานที่ที่มีต้นบัวบกขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก รอยพระพุทธบาท กว้าง ๑.๙๓ เมตร ยาว ๒.๑๗ เมตร ลึก ๐.๓๐ เมตร ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด กล่าวกันว่าเดิมทีรอยพระพุทธบาทมีเพียงมณฑปเล็ก ๆ สร้างครอบไว้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ พระอาจารย์ สีทัต สุวรรณมาโจ ได้ธุดงค์มาพบและทำการปฎิสังขรณ์ สร้างพระธาตุมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ ๘.๕๐ เมตร สูงประมาณ ๔๕ เมตร ครอบเอาไว้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ลักษณะองค์พระธาตุ สร้างเลียนแบบพระธาตุพนมองค์เดิม แต่ส่วนฐานชั้นล่างโปร่ง สามารถเข้าไปนมัสการรอยพระพุทธบาท ที่ประดิษฐานอยู่ภายในได้ ยอดพระธาตุเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่ขุดพบในรอยพระพุทธบาทเดิม และมีวัตถุมงคลอีกมาก เช่น ต้นคำ หนัก ๖ กิโลกรัม ๑๐ องค์ ได้บรรจุรวมไว้ในองค์พระธาตุที่ ๓ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระพุทธบาทบัวบก เป็นที่เคารพสักการะของชาวอำเภอบ้านผือ และประชาชนในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งพุทธศาสนิกชนจากประเทศลาว มีงานเทศกาลในวันขึ้น ๑๓ - ๑๕ ต่ำ เดือนสี่ ของทุกปี[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] พระธาตุดอนแก้ว (พระมหาธาตุเจดีย์) ตั้งอยู่ในวัดมหาธาตุเจดีย์ บ้านดอนแก้ว ตำบลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี เป็นเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม สูงประมาณ ๑๘ วาเศษ กว้างด้านละ ๖ วา ๒ ศอก มีบันไดขึ้นลงสองด้านคือ ด้านทิศตะวันออก และด้านทิศตะวันตก สร้างเป็นลักษณะสองชั้น แต่ละชั้นมีภาพสลักเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ เรื่อง นรก สวรรค์ วัสดุที่ใช้ก่อสร้างเป็นหินทราย รูปทรงเหลี่ยม ยาวประมาณ ๑ ศอก รอบนอกฉาบด้วยปูน ซึ่งน่าจะเป็นการซ่อมแซมภายหลัง[/SIZE]
    [SIZE=-1] มีผู้สันนิษฐานว่า พระมหาธาตุเจดีย์ สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ เพราะวัสดุที่ใช้ก่อสร้างเป็นหินทราย รวมทั้งภาพที่แกะสลักเป็นฝีมือของคนในสมัยทวารวดีตอนปลาย หรือสมัยลพบุรีตอนต้น รอบองค์พระมหาธาตุเจดีย์มีใบเสมา และเสาหินตั้งอยู่ทั้งแปดทิศ มีลักษณะเป็นแปดเหลี่ยมบ้าง แบนบ้าง สูงตั้งแต่ ๒ - ๔ เมตร ปัจจุบันศิลปกรรมเหล่านี้ ตั้งอยู่ห่างจากองค์พระธาตุ ๒ - ๒๐ เส้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] ตามตำนานกล่าวว่า พระเจดีย์องค์สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บอัฐิของพระอรหันต์องค์หนึ่ง ซึ่งเดินทางไปนมัสการพระธาตุพนมแล้ว ผ่านมายังหมู่บ้านนี้เกิดอาพาธดับขันธ์ ณ ที่นี้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ชาวบ้านดอนแก้ว และชาวอำเภอกุมภวาปี จะจัดให้มีงานประเพณีที่วัดพระมหาธาตุเจดีย์ บ้านดอนแก้ว เป็นประจำทุกปี โดยการทำบุญสรงน้ำ ในวันเสาร์-อาทิตย์ แรก หลังวันสรงกรานต์[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>[SIZE=-1] วัดป่าแมว (วัดศรีธาตุปมัญชา) อยู่ในเขตอำเภอศรีธาตุ อยู่ห่างจากตัวอำเภอออกไปประมาณ ๖ กิโลเมตร ภายในวัดมีองค์พระธาตุใหญ่ สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ ๑,๓๐๐ ปี เดิมมีลักษณะเป็นเหลี่ยม ยอดพระธาตุมีลักษณะชะลูดสูงขึ้น สันนิษฐานว่าจะเป็นยอดแหลม แต่ได้หักพังไปก่อนที่ชาวบ้านจะมาพบ มีความสูงประมาณ ๒๐ เมตร[/SIZE]
    [SIZE=-1] ลักษณะองค์พระธาตุส่วนล่างปิดทึบทั้งสี่ด้าน แต่ด้านทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นซุ้มประตู แต่ไม่มีช่องที่จะเข้าออกได้ รอบฐานขององค์พระธาตุมีซากอิฐดินเผา พังรอบฐานขององค์พระธาตุสองชั้น สันนิษฐานว่าเป็นกำแพงแก้ว เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๑ ได้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำ และทองสำริด เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ[/SIZE]
    [SIZE=-1] วัดมัชฌิมาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ อยู่ในตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ ๑๕ ไร่ เป็นวัดที่มี หลวงพ่อนาค ประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ความเป็นมาของวัดมัชฌิมาวาส คือ เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดเก่า เคยเป็นวัดร้างมาก่อนมีเจดีย์ศิลาแลง ตั้งอยู่บนเนินดินใกล้ลำห้วยหมากแข้ง นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงให้สร้างวัดขึ้นมาในบริเวณวัดร้าง แห่งนี้ และให้ชื่อว่า วัดมัชฌิมาวาส ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓[/SIZE]
    [SIZE=-1] หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ทำจากหินขาวเป็นท่อน นำมาประกอบกันเป็นองค์พระ ประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ ไม่ปรากฎว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมหลวงพ่อนาคประดิษฐานอยู่ที่วัดร้าง บนโนนหมากแข้ง ชาวบ้านเดื่อหมากแข้ง และบ้านใกล้เคียงนับถือวว่า เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงได้พร้อมใจกันปลูกศาลาขนาดเล็ก มุงด้วยหญ้าคาเป็นที่ประดิษฐาน มีการทำบุญสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ และทำบุญบั้งไฟบูชาเป็นประจำทุกปี[/SIZE]
    [SIZE=-1] ต่อมาเมื่อ นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงสร้างวัดมัชฌิมาวาสขึ้น ที่วัดร้างโนนหมากแข้งนี้ จึงทรงให้สร้างอุโบสถขึ้นที่โนนหมากแข้ง แล้วอาราธนาพระพุทธรูปปางนาคปรก หินขาว ดังกล่าวมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถนั้น และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙[/SIZE]
    [SIZE=-1] ต่อมาทางวัดได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔ จึงได้รื้อพระอุโบสถหลังเก่า และอาราธนาหลวงพ่อนาค ไปประดิษฐานไว้ที่หน้ามุข ด้านหน้าพระอุโบสถ และได้มีการก่อพระพุทธรูปหุ้มองค์เดิมไว้ ประชาชนถือว่าเป็นพระพุทธรูปมิ่งเมืองอุดรธานี เพราะมีประจำอยู่ที่โนนหมากแข้งก่อนสร้างเมืองอุดรธานี ทางวัดมัชฌิมาวาสถือเอาหลวงพ่อนาคเป็นสัญลักษณ์ของวัดและตราประจำวัด จะมีรูปพระนาคปรกอยู่ตรงกลางหลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส[/SIZE]
    [SIZE=-1] วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดฝ่ายธรรมยุติ มีปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดคือ[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระพุทธรูปทองสำริด เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อพระพุทธรัศมี) หน้าตักกว้าง ๑.๕๕ เมตร สูง ๒.๓๐ เมตร อายุประมาณ ๖๐๐ ปี สมัยสุโขทัย เป็นพระประธานในพระอุโบสถ[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระพุทธรูปศิลาแลง เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร สูง ๙๕ เซนติเมตร กว้าง ๒๔ เซนติเมตร สมัยลพบุรี อายุประมาณ ๑,๓๐๐ ปี[/SIZE]
    [SIZE=-1] ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นโพธิ์ที่รัฐบาลประเทศศรีลังกา มอบให้รัฐบาลไทย ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้นำมาปลูกไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔[/SIZE]
    [SIZE=-1] รอยพระพุทธบาทจำลอง ทำด้วยศิลาแลง อายุประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ตู้พระไตรปิฎกลายทองลดน้ำ สร้างในพระนามเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒[/SIZE]
    [SIZE=+1][/SIZE]

    [SIZE=+1]_________________________________[/SIZE]
    [SIZE=+1][/SIZE]
    [SIZE=+1][/SIZE]
    [SIZE=+1]ศาสนบุคคล[/SIZE]
    <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] พระเทพวิสุทธาจารย์ (หลวงปู่ดีเนาะ) เจ้าอาวาสรูปที่สาม แห่งวัดมัชฌิมาวาส นามเดิมว่าบุญ ปลัดกอง เกิดที่บ้านดู่ ตำบลบ้านดอน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๕[/SIZE]
    [SIZE=-1] เมื่ออายุได้ ๑๙ ปี ครอบครัวของท่านได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านทุ่งแร่ ตำบลหมูม่น อำเภอเมือง ฯ เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านโนนสว่าง และต่อมาอีกหนึ่งปีได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านบ่อน้อย ตำบลเชียงยืน อำเภอเมือง ฯ ได้รับฉายาว่า "ปุญญสิริ" แล้วไปจำพรรษาที่วัดโนนสว่าง อยู่สามปี จึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดมัชฌิมาวาส เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐[/SIZE]
    [SIZE=-1] ท่านเป็นเกจิอาจารย์รูปหนึ่งที่มีผู้เคารพนับถือเป็นจำนวนมากทั้งไทยและต่างประเทศ ท่านชอบอุทานหรือกล่าวคำว่า "ดีเนาะ" และ "สำคัญเนาะ" อยู่เป็นอาจิณ ไม่ว่าเรื่องที่ท่านรับฟังจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เมื่อท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ยังมีคำว่า "สาธุอุทานธรรมวาที" อยู่ด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1] ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๐ - ๒๕๑๓ จึงได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓ รวมอายุได้ ๙๘ ปี[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] พระธรรมเจดีย์ (จูมิ พนฺธโล) เป็นผู้ให้กำเนิดพระวิปัสสนา กรรมฐานและพัฒนาการศึกษาสงฆ์แห่งอีสาน ได้ให้การส่งเสริมผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ให้ที่พักศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา ให้เข้าใจหลักพระธรรม ณ วัดโพธิสมภรณ์[/SIZE]
    [SIZE=-1] ท่านเกิดที่บ้านท่าอุเทน ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๓๑ ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒ แล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดโพนแก้วอยู่สามปี เรียนอักษรธรรม อักษรขอม และภาษาไทย จนรอบรู้ใช้งานได้คล่องแคล่ว ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดอินทรแปลง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ในปี พ.ศ.๒๔๔๖ ได้จำพรรษาที่วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบล ฯ ได้ศึกษาสมถวิปัสสนากรรมฐาน จากพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นเวลาสามปี[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดมหาชัย ตำบลหนองบัวลำภู ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ ได้มาศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดเทพศิรินทร์ กรุงเทพ ฯ พ.ศ.๒๔๖๐ สอบได้นักธรรมตรี พ.ศ.๒๔๖๕ สอบได้นักธรรมโท และเปรียญธรรม ๓ ประโยค[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในด้านการปกครอง ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ เป็นพระอุปัชฌาย์และเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะจังหวัดอุดร ฯ พ.ศ.๒๔๗๐ เป็นเจ้าคณะจังหวัดมณฑลอุดร ฯ พ.ศ.๒๔๙๗ เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุติในสมณศักดิ์พระธรรมเจดีย์[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในด้านศาสนสถาน ท่านได้ให้การสนับสนุนให้มีการสร้างวัดขึ้นในจังหวัดอุดร ฯ ทางฝ่ายธรรมยุติทั้งวัดป่าและวัดบ้าน จำนวน ๑๐๐ วัด[/SIZE]
    [SIZE=-1] ท่านได้มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] [COLOR=#cc0000]พระธรรมบัณฑิต (จันทร์ศรี จนฺททีโป)[/COLOR] เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ รูปที่สาม ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ ที่บ้านโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น[/SIZE]
    [SIZE=-1] ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๔ ปี ที่วัดศรีจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ และอุปสมบท ณ วัดศรีจันทร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ จากนั้นได้ออกปฏิบัติธุดงควัตรปฏิบัติธรรมและวิปัสสนาธุระ ในสำนักพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์เทศก์ เทสรังสี[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ ท่านได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร กรุงเทพ ฯ จนสอบได้นักธรรมเอกและเปรียญธรรม ๔ ประโยค[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในด้านการบริหารการปกครอง ท่านได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ ตั้งปี พ.ศ.๒๕๐๖ เป้นเจ้าคณะจังหวัดอุดร ฯ (ธรรมยุต) รองเจ้าคณะภาค ๘ (ธรรมยุต) เจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต) กรรมการชำระพระไตรปิฎก (พระสูตร) พระอนุกรรมการคณะธรรมยุต กรรมการตรวจข้อสอบสนามหลวง พระธรรมทูตประจำจังหวัดอุดร ฯ รองประธานกรรมการบริหารอุบปบาลีศึกษาอีสาน ธรรมยุต ผู้อำนวยการอุบปศึกาพุทธศาสนาวันอาทิคย์ วัดโพธิสมภรณ์[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปณฺโณ[/COLOR][/B][COLOR=#000099] เดิมชื่อบัว โลหิตนี เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗ ที่บ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง ฯ[/COLOR][/SIZE]
    [COLOR=#000099][SIZE=-1] ท่านได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ ณ วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง ฯ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมและภาษาบาลี จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และนักธรรมเอกในปีเดียวกัน รวมเวลาศึกษาอยู่เจ็ดปี[/SIZE][/COLOR]
    [COLOR=#000099][SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ท่านได้อยู่จำพรรษากับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่บ้านโคก ตำบลตองโศก อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นเวลาสองปี และได้ติดตามพระอาจารย์มั่น ฯ ไปจำพรรษาที่บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นเวลาหกปี จนถึงปีที่พระอาจารย์มั่น มรณภาพ[/SIZE][/COLOR]
    [COLOR=#000099][SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ชาวบ้านตาดได้นิมนต์ให้ท่านจำพรรษาอยู่เป็นหลักแหล่ง ได้มีผู้บริจาคที่ดินสร้างวัดให้ประมาณ ๑๖๓ ไร่ ได้เริ่มสร้างวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ ให้ชื่อว่า [COLOR=#cc0000]วัดป่าบ้านตาด[/COLOR][COLOR=#000099] และท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้มาจนถึงปัจจุบัน[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ปฏิปทาของท่าน เน้นการแสดงธรรมเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อมีผู้มาพบท่านจะได้รับข้อคิดไปใช้ในชีวิตประจำวันเสมอ ท่านฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร ครองผ้าสามผืน ไม่สะสม นอบน้อม ปฏิบัติกรรมฐานเป็นวัตร ถือธุดงควัตร บวชโดยมีเป้าหมายคือ [COLOR=#cc0000]มุ่งมรรค ผล นิพพาน และสงเคราะห์โลก[/COLOR][COLOR=#000099] ธรรมที่ท่านใช้สั่งสอนชาวบ้านเป็นคำพูดที่ฟังง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน ส่วนธรรมะที่แสดงต่อพระสงฆ์ด้วยกันค่อนข้างสูง แต่ก็ไม่ยากต่อการแปลความหมาย[/COLOR][/SIZE][/COLOR] <CENTER>
    [IMG]http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/udonthani37.jpg[/IMG]</CENTER>
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]หลวงปู่พิบูลย์[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ท่านมีนามเดิมว่าพิบูลญ์ แซ่ตัน เกิดที่บ้านพระเจ้า ตำบลมะอี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เคยรับราชการทหารอยู่หลายปีและเคยแต่งงาน แต่ไม่มีบุตร ท่านเป็นผู้ที่ชอบทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ชอบทำบุญ ฟังธรรม และสนทนาธรรมอยู่เป็นประจำ[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ ๔๕ ปี เมื่ออุบสมบทได้หนึ่งพรรษาก็ได้เดินธุดงค์ไปยังประเทศลาว โดยไปที่ภูอากและภูเขาควาย เพื่อบำเพ็ญสมณธรรมอยู่หลายพรรษา ได้ไปเรียนกรรมฐานกับอาจารย์ผู้หนึ่งเป็นเวลาสามปี และได้ผ่านการทดสอบจากอาจารย์แล้ว อาจารย์จึงได้ส่งมาประกาศพุทธศาสนายังประเทศไทย โดยให้ท่านไปประกาศศาสนาที่ภาคอีสาน ท่านได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงมาทางนครพนม นมัสการพระธาตุพนมแล้วได้เดินทางไปยังอำเภอกุมภวาปี มาตั้งวัดอยู่ที่เกาะแก้วเกาะเกศ ซึ่งเดิมเป็นที่อาถรรพ์ไม่มีใครกล้าเข้าไป เมื่อท่านเข้าไปบุกเบิก ผู้คนจึงพากันาเลื่อมใสศรัทธา[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ท่านได้สร้างวัดแล้วจึงเดินธุดงค์ขึ้นไปหาอาจารย์ที่ประเทศลาว อาจารย์บอกว่าวัดที่ต้องการให้สร้างอยู่ทางทิศเหนือของหนองหานติดกับห้วยหลวง ท่านจึงเดินทางกลับมาบอกญาติโยมตามนั้น แล้วจึงเดินทางไปหาวัดตามที่อาจารย์บอก เมื่อเดินทางไปถึงบ้านเชียงงาม ชาวบ้านขอให้จำพรรษาที่วัดเชียงงามก่อน เพราะวันที่ไปถึงเป็นวันเข้าพรรษา ท่านจึงรับนิมนต์แล้วจำพรรษาอยู่ ณ วัดเชียงงาม มีชายคนหนึ่งชื่อนายเถิก เป็นคนหัวดื้อเรียนวิชาอาคมมา เป็นคนเกะกะระรานชาวบ้าน ท่านจึงได้ว่ากล่าวตักเตือน นายเถิกไม่พอใจคิดทำร้ายท่านแต่ไม่สำเร็จและตัวเองถึงแก่อันตราย แต่ท่านได้ช่วยไว้ นายเถิกจึงได้ขอบวชกลับท่านและเป็นผู้ติดตามท่านไป[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านได้เดินทางไปทางทิศเหนือของอำเภอหนองหาน จนถึงห้วยดานแล้วถามทางไป[COLOR=#cc0000]บ้านไท[/COLOR] เมื่อไปถึงแล้วก็ถามชาวบ้านว่ามีวัดเก่าอยู่ในละแวกนี้บ้างหรือไม่ ชาวบ้านก็พาไปดูวัด ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดอกไม้สีแดง ภายในวิหารมีแท่นพระใหญ่ แต่ไม่มีพระพุทธรูป มีแต่ต้นไม้แดงต้นใหญ่อยู่ใกล้ ๆ ท่านจึงตั้งชื่อว่า [COLOR=#cc0000]วัดพระแท่น[/COLOR][COLOR=#000099] ชาวบ้านได้ช่วยกันแผ้วถาง พื้นที่ได้ ๖ ไร่ แล้วสร้างที่พักชั่วคราวให้ท่าน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ และได้ชักชวนชาวบ้านไทให้มาอยู่ที่แห่งใหม่ โดยให้ชื่อว่า [COLOR=#cc0000]บ้านแดง[/COLOR][COLOR=#000099] ตามนามต้นไม้แดงใหญ่และหนองแดง มีผู้อพยพเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้นตามลำดับ[/COLOR][/COLOR][/SIZE]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ท่านได้ทำธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ ไว้คอยช่วยเหลือคนยากจน และบอกชาวบ้านว่าบ้านแห่งนี้จะเป็นเมืองในอนาคต การกระทำต่าง ๆ ของท่านทำให้ทางราชการบ้านเมืองและคณะสงฆ์เข้าใจผิด คิดว่าท่านเป็นกบฎซ่องสุมผู้คนและอาวุธ จึงนำท่านไปที่วัดโพธิสมภรณ์ และอยู่ที่นั่น ๑๕ พรรษา[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] เมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีน ทางฝรั่งเศสได้ใช้เครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่นาเกลือ ท่านก็สามารถบอกเหตุการณ์ที่จะเกิดได้หมด[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ท่านนถึงแก่มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ สิริรวมอายุได้ ๑๓๕ ปี[/SIZE][/COLOR][/FONT] <CENTER>
    [IMG]http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/udonthani38.jpg[/IMG]</CENTER>
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]พระธรรมปริยัติโมลี[/COLOR][/B][COLOR=#000099] นามเดิมว่า บุ่น เอกรัตน์ นามฉายา โกวิโท เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ ที่บ้านสบเปือย ตำบลเสอเพลอ อำเภอกุมภวาปี[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ท่านได้ศึกษาวิชาสามัญสอบได้ชั้นประถมบริบูรณ์ นักธรรมสอบได้นักธรรมเอก บาลีสอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ในด้านหน้าที่การงาน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๕ ได้เป็นครูสอนนักธรรมชั้นโท ปี พ.ศ.๒๔๘๖ เป็นครูสอนบาลี และได้สอบติดต่อกันมาเป็นเวลาถึง ๓๐ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๔๕๓ ท่านได้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับคือเป็นเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดอุดร ฯ เป็นสาธารณูปการ จังหวัดอุดร ฯ เป็นพระวินัยธร จังหวัดอุดร เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดอุดร ฯ รูปที่ ๒ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส เป็นรองเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส เป็นผู้รักาการแทนเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส เป็นผู้รักษาราชการแทนเจ้าคณะจังหวัดอุดร ฯ เป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส เป็นรองเจ้าคณะภาค ๘ เป็นเจ้าคณะภาค ๘[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ในด้านสมณศักดิ์ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระปริยัติเวที เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ เป็นพระราชปริยัติเมธี (พ.ศ.๒๕๑๗) เป็นพระเทพปริยัติสุธี (พ.ศ.๒๕๓๐) เป็นพระธรรมปริยัติโมลี (พ.ศ.๒๕๓๕)[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ท่านได้มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗[/SIZE][/COLOR][/FONT] <CENTER>
    [IMG]http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/udonthani39.jpg[/IMG]</CENTER>
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]หลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร [/COLOR][/B][COLOR=#000099] ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๐ ที่บ้านนาหมี ตำบลนายูง แต่งงานเมื่ออายุ ๒๕ ปี มีบุตรสองคน เมื่อภรรยาและบบุตรสาวถึงแก่กรรมท่านจึงได้ออกบวช โดยได้ไปอุปสมบทที่วัดพระเจ้าองค์ตื้อ เมืองเวียงจันทน์ และออกเดินทางไปศึกษาธรรมในสถานที่ต่าง ๆ[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๑๔๓๙ ท่านได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ได้ธุดงค์มาที่บ้านนายูง จึงได้อยู่ปฎิบัติธรรมกับ พระอาาจารย์มั่น ฯ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๗ ท่านได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ จนเกือบทั่วราชอาณาจักรไทย จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๙ จึงได้กลับมายังวัดเทพสิงหารอีก และได้อยู่จำพรรษาที่วัดนี้ตลอดมา จนถึงมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ สิริรวมอายุได้ ๑๑๒ ปี[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ท่านมักจะปรารภกับลูกศิษย์เสมอว่า พระอาจารย์มั่น ฯ เป็นพระผู้มีแนวทางเป็นพระบริสุทธิ์ พบกันก็ได้รู้ความจริงต่อกันมาก จุดมุ่งหมายปลายทางของท่าน และนักปฎิบัติทุกท่านจะเอาพระนิพพาน เป็นจุดสุดท้าย จิตมนุษย์มีพลังมหาศาล จะทำอะไรก็มักสำเร็จ ก็เพราะมีดวงจิตเป็นกำลังสำคัญ จิตดวงเดียวสำคัญที่สุด จิตมักบอกลักษณะไม่ได้ แต่มันก็มีความรู้สึกอยู่ภายใน เว้นแต่ว่ามนุษย์เกิดมาแล้วจะเอาดี หรือเอาชั่วเท่านั้น[/SIZE][/COLOR][/FONT] <CENTER>
    [IMG]http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/udonthani40.jpg[/IMG]</CENTER>
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]พระอาจารย์ ศรีทัตถ์ สุวรรณมาโจ [/COLOR][/B][COLOR=#000099] เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ ท่านได้เดินธุดงค์มาจากอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พร้อมด้วยสามเณรอีกสองรูป ได้มาพำนักอยู่ที่ถ้ำนกเขายูงทอง ต่อมาชาวบ้านหนองกบ ได้นิมนต์ท่านพร้อมกับสามเณรทั้งสองรูป ให้มาจำพรรษาที่[COLOR=#cc0000]พระพุทธบาทบัวบก[/COLOR] เพื่อให้ท่านเป็นประธานนำชาวบ้านทำการปฎิสังขรณ์พระพุทธบาทบัวบก ท่านก็รับดำเนินการโดยได้เริ่มงานรื้อมณฑปเก่าออก เพื่อสร้างขึ้นใหม่[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] เมื่อรื้อมณฑปเก่า ท่านได้พบศิลารูปกลมก้อนหนึ่ง ใหญ่ขนาดเท่าลูกนิมิตรอยู่ภายในมณฑป เมื่อผ่าออกดูข้างในก็พบตลับเงินอันหนึ่ง เป็นรูปเจดีย์ เมื่อเปิดตลับเงินออกก็พบตลับทองคำ ภายในตลับทองคำพบ[COLOR=#cc0000]พระบรมสารีริกธาตุ[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ในช่วงแรกเนื่องจากมีความยากลำบากในการนำวัสดุก่อสร้างมาใช้สร้าง จึงได้สร้างเจดีย์ขนาดย่อมสูงกว่าใบเสมาเพียงเล็กน้อย ใช้เวลาสร้าง ๓ ปี ก็เกิดวาตะภัยพัดเอาสิ่งก่อสร้างพังทลายไป ท่านก็ได้สร้างองค์พระเจดีย์ขึ้นมาใหม่ โดยต้องใช้เวลาการรือ้ถอนเจดีย์องค์เก่า เป็นเวลาถึงหนึ่งปี[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] เจดีย์องค์ใหม่ใหญ่กว่าเดิมมาก ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างด้านละ ๘ เมตร สูง ๔๐ เมตร มีกำแพงล้อมรอบยาว ๒๐ เมตร ลักษณะคล้ายพระธาตุพนม ฐานทรงสี่เหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น มีลายบัวหงายอยู่ด้านบนของฐานทั้งสี่ด้าน องค์เจดีย์เป็นทรงเจดีย์แต่ช่วงสั้นกว่า พระธาตุพนม มีลายปูนปั้นทั้งองค์ ยอดสุดทำด้วยฉัตรเงิน โคนทำด้วยทองบริสุทธิ์หนัก ๕๕๕ บาท มีประตูหลอกสามด้าน ประตูจริงอยู่ด้านหน้าเป็นประตูไม้ ใช้เวลาสร้าง ๑๔ ปี สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๑,๕๐๐.๕๔ บาท เมื่อสร้างเสร็จท่านได้นำพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาจากตลับทองคำมาบรรจุไว้[/SIZE][/COLOR][/FONT] <CENTER>
    [IMG]http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/udonthani41.jpg[/IMG]</CENTER>
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]หลวงปู่ อ่อน ญาณสิริ[/COLOR][/B][COLOR=#000099] เดิมชื่อ อ่อน กาญจนวิบูลย์ เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ ที่บ้านดอนเงิน ตำบลแชแล อำเภอกุมภวาปี เมื่ออายุได้ ๑๑ ขวบ พ่อแม่ได้นำไฝากเป็นลูกศิษย์วัดใกล้บ้าน เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาขอม[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] เมื่ออายุ ๑๖ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดจอมศรี บ้านเมืองเก่า อำเภอกุมภวาปี ได้ศึกษาพระธรรมวินัย เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายมหานิกาย ที่วัดบ้านปะโค ตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี ในปี พ.ศ.๒๔๖๕ ได้ออกธุดงค์ไปอยู่กับพระอาจารย์สุวรรณ วัดป่าอรัญญิกาวาส อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ปี พ.ศ.๒๔๖๖ ได้ออกธุดงค์ และได้ถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ เสาร์ กันตสีโล และพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต ที่วัดบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ ได้รับญัตติเป็นธรรมยุต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ แล้วกลับไปจำพรรษาที่วัดป่าอรัญญิกาวาส อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ ท่านได้ไปจำพรรษา และปฎิบัติธรรม กับพระอาจารย์ สิงห์ ขนฺตยาคโป ที่วัดป่าอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ในปีต่อมาได้ไปจำพรรษา ที่เสนาสนะป่า อำเภอหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบล ฯ ปีต่อมาได้ไปจำพรรษาที่ป่าช้าบ้านหัวงัว ตำบลไผ่ช้าง อำเภอยโสธร ปีต่อมาไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านพระคือ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น และในปีต่อมาคือปี พ.ศ.๒๔๗๔ ได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าวิเวการาม บ้านเหล่างา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ได้มีบัญชาให้พระกรรมฐานทุกรูป ที่อยู่ในจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับทางราชการไปอบรมประชาชนที่จังหวัดนครราชสีมา ท่านได้ไปร่วมในครั้งนั้นด้วย ได้มีผู้ยกที่ดินของตนเอง ๘๐ ไร่ ถวายพระกรรมฐานที่มาชุมนุม เพื่อสร้างสำนักปฎิบัติธรรม อบรมศีลธรรม ตั้งชื่อว่า [COLOR=#cc0000]วัดป่าสาละวัน[/COLOR] ท่านพร้อมด้วย พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ได้ไปสร้างวัดป่าบ้านใหม่สำโรง อำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ชื่อวัดสว่างอารมณ์ ท่านได้ปฎิบัติศาสนกิจอยูที่ วัดป่าสาละวัน เป็นเวลา ๑๒ ปี[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ปี พ.ศ.๒๔๘๘ ท่านได้ไปนมัสการพระอาจารย์มั่น ฯ ที่วัดบ้านหนองผือ ได้สร้างวัดขึ้นที่บ้านหนองโคก อำเภอพรรณานิคม เพื่อให้เป็นวัดคู่กับวัดบ้านหนองผือ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ปี พ.ศ.๒๔๙๓ หลังจากพิธีถวายเพลิงศพ พระอาจารย์มั่น ฯ แล้ว ท่านได้ออกธุดงค์ที่เขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ๑ พรรษา แล้วกลับมาวัดป่าสาละวัน ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสาละวัน อยู่ประมาณ ๑ ปี ก็ลาออก เพราะเห็นว่าขัดต่อการรุกขมูลวิเวก[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ปี พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านได้มาสร้างวัดบ้านหนองบัวบาน ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ท่านเริ่มอาพาธ และได้มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ สิริรวมอายุได้ ๘๐ ปี[/SIZE][/COLOR][/FONT] <CENTER>[IMG]http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/udonthani42.jpg[/IMG]</CENTER>

    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]หลวงปู่หล้า เขมปัตโต[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๔ ในตำบลกุดสระ อำเภอหมากแข้ง เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร อยู่ที่วัดบัวบาน บ้านกุดสระ บวชได้ ๓ พรรษา สอบนักธรรมตรีได้ ต่อมาได้สึกออกมาเพื่อรับการเกณฑ์ทหาร แต่ไม่ถูกเกณฑ์จึงกลับไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดเดิม แล้วลาสิกขาออกมา แต่งงานกับภรรยาคนแรกแล้วเลิกกัน ท่านได้แต่งงานกับภรรยาคนที่สอง อยู่ด้วยกันมา ๙ ปี ภรรยาป่วยถึงแก่กรรม ท่านจึงได้กลับไปบวชอีก และจำพรรษาอยู่ที่วัดดงยาง และสอบได้นักธรรมโท[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๔๘๘ ท่านได้ไปปฎิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่น ฯ และไปเข้าญัญิติเป็นธรรมยุต ที่วัดโพธิสมภรณ์ ต่อมาท่านได้ออกธุดงค์ และปฎิบัติธรรม ที่ถ้ำพระเวส อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เป็นเวลาหลายเดือน ต่อมาได้มาจำพรรษาปฎิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่น ฯ ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อยู่ ๔ ปี จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๓ จึงได้ไปจำพรรษากับพระอาจารย์เทศก์ เทสรังสี ที่ภูเก็ต ๑ พรรษา แล้วกลับมาจำพรรษากับพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ที่วัดวิเวกวัฒนาราม ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร อยู่ ๔ ปี ท่านก็ออกวิเวกที่ภูเก้า หลังจากนั้นชาวบ้านได้นิมนต์ให้ท่านมาจำพรรษาที่ วัดภูจ้อก้อ จนถึงปัจจุบัน[/SIZE][/COLOR][/FONT] [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/COLOR][/FONT][/FONT][/FONT]
     
  2. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    <TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร

    "ธรรมชาติของดีทั้งหลายนั้น ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี มีอุปมาดังดอกปทุมชาติอันสวยงาม ก็เกิดขึ้นมาจาก โคลนตม อันเป็นของสกปรก ปฏิกูล น่าเกลียด แต่ว่า ดอกบัวนั้นเมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งสะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชา อุปราช อำมาตย์ เสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้นก็มิกลับคืนไปยังโคลนตมอีก -ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ -ได้สมบัติทั้งปวงไม่เท่าได้ตน เพราะตัวตนนั้นเป็นที่เกิดแห่ง สมบัติทั้งปวง"
    นามเดิม
    กำเนิดในสกุล แก่นแก้ว กำเนิด 20 ม.ค. 2413 สถานที่เกิด บ้านคำบง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

    อุปสมบท
    อุปสมบท ณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 12 มิถุนายน 2436 โดยมีพระอริยกวี เป็นพระอุปัชฌาย์

    มรณภาพ
    11 พ.ย. 2492 อายุ 80 ปี 56 พรรษา

    หลวงปู่บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 15 ปี ณ วัดบ้านคำบง เมื่อบวชได้ 2 ปี ท่านจำต้องสึกตาม ความประสงค์ของบิดา พออายุได้ 22 ปี หลวงปู่จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้เข้าฝึกปฏิบัติธรรม ในสำนักวิปัสสนากับ ท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ณ วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี
    หลวงปู่เป็นอาจารย์สอนธรรมทางวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงมีผู้เคารพนับถือมาก หลวงปู่มีศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระเถระซึ่งเป็นที่เครารพของผู้คนทั้งประเทศ อาทิเช่น
    [​IMG] หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    [​IMG] หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    [​IMG] หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    [​IMG] หลวงปู่ขาว
    [​IMG] หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
    [​IMG] หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นต้น

    หลวงปู่ได้รับ การเรียกขานจากบรรดาศิษย์ว่า "พระอาจารย์ใหญ่" เป็นผู้มีประวัติงดงาม เป็นฐานที่พึ่งอันมั่นคงตลอดจนเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจของเหล่าศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ตลอดเวลาในเพศบรรพชิต หลวงปู่ปฏิบัติตนจนกระทั่งเป็น แบบอย่างที่ดี อันจะหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยากยิ่ง


    ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ >> http://www.luangpumun.org

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top><HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD><HR SIZE=1></TD><TD width=33>[​IMG][​IMG][​IMG]</TD><TD><HR SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    บุคคลสำคัญ
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระองค์เป็นผู้สถาปนาเมืองอุดร ฯ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๕ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙ ได้รับพระราชทานนามว่า พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงเป็นต้นราชนิกูล ทองใหญ่ ทรงเริ่มการศึกษาภาษาไทย (อักษรสมัย) และภาษาบาลี จากพระอาจารย์ชาวไทย ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ จาก นางแอนนา เลียวโนเว็น และนายแพเตอร์สัน อย่างแตกฉาน จนสามารถตรัส และเขียนได้ดี
    [SIZE=-1] พระองค์ได้ทรงพิธีโสกันต์ (โกนจุก) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๐ และได้ทรงผนวชเป็นสามเณรแล้ว เสด็จไปประทับที่วัดบวรนิเวศ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๑ ขณะทรงผนวชได้ตามเสด็จ พระบรมราชชนกไปทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบ ฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระองค์ได้เปลี่ยนฐานันดรเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ทรงผนวช เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๘ และประทับอยู่ ณ วัดราชประดิษฐ์ ฯ อยู่หนึ่งพรรษาจึงลาสิกขา เพื่อเข้ารับราชการเป็นนักเรียนศาลฎีกา รับราชการในพระบรมมหาราชวัง จนพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ โดยได้ทรงบังคับกรมวังนอก และเป็นผู้ช่วยราชการกรมวังในอีกตำแหน่งหนึ่ง ทรงตั้งกรมดับเพลิงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และได้ริเริ่มกรมทหารล้อมพระราชวัง ซึ่งต่อมาคือ กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๔๒๘ พระองค์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้นายพันเอก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ ด้านมณฑลลาวพวน แถบเมืองหนองคาย ยกทัพขึ้นไปปราบพวกจีนฮ่อ ที่เข้ามาปล้นสะดมราษฎรในบริเวณมณฑลลาวพวน หัวพันทั้งห้าทั้งหก กองทัพไทยฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ประสบความยากลำบากในการปราบฮ่อ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าเขา แต่ในที่สุดก็สามารถปราบได้ จึงได้ทรงสร้างอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ขึ้นที่เมืองหนองคาย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๙ เพื่อบรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตเพื่อชาติในครั้งนั้น
    [SIZE=-1] หลังจากไทยได้ปราบฮ่อเรียบร้อยแล้ว ฝรั่งเศสได้ฉวยโอกาสเข้ายึดแคว้นสิบสองจุไทย โดยอ้างว่าจะคอยปราบพวกโจรจีนฮ่อ ทำให้เกิดกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ฝรั่งเศสบังคับให้ไทยลงนามในสนธิสัญญายอมรับสิทธิของฝรั่งเศส เหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และให้ไทยถอยกองกำลังทหารให้ห่างจากชายแดนแม่น้ำโขงในรัศมี ๒๕ กิโลเมตร เป็นเหตุให้นายพลตรีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ ศิลปาคม ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวน ต้องย้ายที่บัญชาการมาตั้งที่บ้านเดื่อหมากแข้ง ในวันที่ ๑๘ มกราคม หพ.ศ.๒๔๓๖ พระองค์ได้ทรงรับราชการต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอุดร (ลาวพวน) และสถาปนาเมืองอุดรธานี และวางระเบียบแบบแผนการปกครองหัวเมืองชายแดนอยู่ ๗ ปี เศษ จึงเสด็จกลับกรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒[/SIZE]
    [SIZE=-1] ต่อมาพระองค์ได้ประชวรด้วยโรคพระอันตะพิการและสิ้นพระชนม์ ณ วังตรอกสาเก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ สิริรวมพระชันษาได้ ๖๘ ปี[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] มหาอำมาตย์พระยาอดุลยเดช สยาเมศรภักดี พิริยพาหะ (อุ้ย นาครทรรพ) นามเดิมอุ้ย นาครทรรพ เป็นบุตรคนโตของนายร้อยโทหลวงโยธีอภิบาล และนายละม่อม เกิดที่บ้านบางจากบน จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๔ เริ่มรับราชการในกรมมหาดเล็กวรสิทธิ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับพระราชทานเบี้ยหวัดเดือนละ ๘ บาท[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๔๓๔ ได้ตามเสด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคม ไปภาคอีสาน รับราชการเป็นเสมียนกองข้าหลวงต่างพระองค์ มณฑลอุดร พ.ศ.๒๔๓๗ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงโยธา มณฑลอุดร พ.ศ.๒๔๔๔ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองกุมภวาปี และนายอำเภอเมืองอุดรธานี พ.ศ.๒๔๕๐ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองหนองคาย พ.ศ.๒๔๕๔ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการ จังหวัดนครพนม พ.ศ.๒๔๖๙ - ๒๔๗๒ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้รั้งสมุหเทศาภิบาล มณฑลอุดร[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระยาอดุลยเดชา ได้รับพระราชทานความชอบตอบแทน และได้ทำความชอบพิเศษ คือ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ไปปราบฮ่อที่ยกมาจากจังหวัดหนองคาย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๘[/SIZE]
    [SIZE=-1] - เป็นนายกองในราชการทัพ ในคราวที่ฝรั่งเศสรุกรานที่แก่งเจ๊ก (แก่งเกียด) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ไปตรวจจับผู้ร้ายฆ่าคนตาย ในเขตอำเภอท่าอุเทน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ไประงับเหตุที่ราษฎรแตกตื่นเรื่องผีบุญ ในเขตเมืองอุดรธานี สกลนคร และนครพนม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ไปตรวจจับพวกเงี้ยว ที่ทุ่งหมากเท่า เขตเมืองหนองสูง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ไปตรวจสืบราชการที่มีข่าวลือว่า พวกเงี้ยวจะปล้นเมืองบ่อแตน ท่าลี่ เขตเมืองเลย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ไปจับกุม องเด้ และพรรคพวกเวียดนาม ที่สงสัยว่าเป็นกบฎ ต่อรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาอาศัยอยู่ใน เขตอำเภออากาศอำนวย แขวงเมืองนครพนม[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ไปประชุมราชการที่กรุงเทพ ฯ แทนสมุหเทศภิบาล มณฑลอุดร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗[/SIZE]
    [SIZE=-1] - เป็นผู้ไปปักปันเขตแดนที่หาดดอนแตง พร้อมด้วย เมอซิเออร์ ดรูโอ ข้าหลวงเมืองท่าแขก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๒[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ไปรักษาราชการแทนสมุหเทศาภิบาล มณฑลอุดร อยู่ ๕ เ ดือน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๕[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ตามเสด็๋จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชร ฯ ที่มณฑลอุดร กาฬสินธ์ ร้อยเอ็ด และได้สำรวจทางที่จำรางรถไฟ ตั้งแต่เขตจังหวัดกาฬสินธ์ ถึงจังหวัดขอนแก่น ทำเลสร้างสะพานข้ามลำน้ำพอง[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ไปรักษาราชการแทนสมุหเทศาภิบาล มณฑลอุดร อยู่ ๘ เดือน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖[/SIZE]
    [SIZE=-1] - เป็นผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ในคณะฑูตพิเศษ พร้อมพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ หม่อมเจ้าอมรฑัต นายกียอง พระบวรเสน่หา และหลวงลักกวาท เพื่อทำหนังสือสนธิสัญญา ระหว่างไทยและอินโดจีน - ฝรั่งเศส ที่เมืองฮานอย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระยาอดุลยเดช ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ หรือโพธิ โต๊ะกาทอง) เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๙ ได้เป็นผู้นำในการสร้างวัดโพธิสมกรณ์ ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดใหม่[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระยาศรี ฯ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลอุดร นั้น มณฑลอุดรแบ่งเป็น ๕ บริเวณ คือ บริเวณหมากแข้ง ปกครองเมืองอุดร ฯ บริเวณพาชี ปกครองเมืองขอนแก่น เมืองชนบท เมืองภูเวียง บริเวณธาตุพนม ปกครองเมืองนครพนม เมืองไชยบุรี เมืองท่าอุเทน เมืองมุกดาหาร บริเวณสกลนคร ปกครองเมืองสกลนคร บริเวณน้ำเหือง ปกครองเมืองเลย เมืองบ่อแตน เมืองแก่นท้าว[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระยาศรี ฯ สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลอุดร พร้อมกับกรมการเมือง ข้าราชการ ประชาชน ได้จัดพิธีตั้งเมืองอุดรธานี ณ สนามกลางเมือง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>[SIZE=-1] พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (สุข ดิษยบุตร) ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลอุดร ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๕๖ - ๒๔๖๔ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสืบสานการสร้างบ้านแปงเมืองอุดร ฯ หลังจากที่ท่านได้ไปศึกษาดูงานที่ ประเทศฝรั่งเศสแล้ว ท่านได้นทำเอาแนวความรู้ และประสบการณ์มาพัฒนาบ้านเมือง มีการวางผังเมืองแบบยุโรป กำหนดพื้นที่สำหรับสร้างอาคารสถานที่ ส่วนราชการต่าง ๆ สร้างบ้านพักให้ข้าราชการที่สังกัดทุกแผนก ทุกกรมกอง วางโครงการกำหนดพื้นที่สร้างอาคาร ร้านค้าย่านธุรกิจต่าง ๆ เป็นผู้นำข้าราชการร่วมกันตัดถนนขึ้นหลายสาย ได้วางผังเมืองอุดร โดยสร้างถนนที่สำคัญขึ้น ๑๖ สาย คือ ถนนหมากแข้ง ถนนหลวง (ปัจจุบีนคือ ถนนโพธิศรี) ถนนข้างจวน ถนนเทศา ถนนเสือป่า (ถนนมุขมนตรี) ถนนเจ้าเมือง (เจ้าพระยามุขมนตรี) ถนนพานพร้าว ถนนโพนพิสัย ถนนเบญจางค์ ถนนอุดรดุษฎี ถนนอำเภอ ถนนตำรวจ ถนนวัฒนานุวงศ์ ถนนอธิบดี ถนนศรีสุข ถนนรังสรรค์ และสร้างสะพานไม้ข้ามห้วยหมากแข้งขึ้น ๖ แห่งคือ สะพานเริ่ม สะพานเสริมศิริ สะพานธิติพาน (สะพานเทศบาล ๔) สะพานสำราญทวยราษฎร สะพานจตุรัส (สะพานเทศบาล ๑๑) สะพานจำนงค์ประชา (สะพานเทศบาล+เผดิมชัย) ได้นำพันธุ์ไม้มะฮอกกานี จากต่างประเทศมาปลูกสองฝากถนนทุกสาย โดยปลูกสลับกับต้นก้ามปู (จามจุรี)[/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
     
  4. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    <CENTER>
    [SIZE=+2]มรดกทางวัฒนธรรม[/SIZE]</CENTER>
    [SIZE=+1]โบราณวัตถุ[/SIZE]
    [SIZE=-1] จากการค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมากในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ซึ่งแสดงถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ของบ้านเชียง แบ่งออกเป็นสามสมัยคือ ยุคต้น (ประมาณ ๕,๖๐๐ - ๓,๐๐๐ ปี) ยุคกลาง (ประมาณ ๓,๐๐๐ - ๒,๓๐๐ ปี) และยุคปลาย (ประมาณ ๒,๓๐๐ - ๑,๘๐๐ ปี) แบ่งโบราณวัตถุออกเป็นสามประเภทคือ เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับ ซากมนุษย์และซากสัตว์ กับศาสนวัตถุ[/SIZE]
    [SIZE=-1] เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับ ทำจากหิน ดินเผา โลหะ เหล็กและสำริด และพวกเส้นใย ซึ่งได้แก่ไม้ เชือก และผ้า แบ่งกลุ่มตามวัสดุที่ใช้ดังนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1] เครื่องปั้นดินเผาพบตามแหล่งหลุมฝังศพ ในยุคปลายพบภาชนะเต็มใบ บนลำตัวศพ ยุคกลางพบภาชนะดินเผาถูกทุบกระจายเต็มตัว และในยุคต้นจะพบเศษภาชนะดินเผาวางอยู่ที่เท้าหรือศีรษะศพ จากการศึกษารูปแบบภาชนะดินเผา พบในหลุมฝังศพสมัยต่าง ๆ ของบ้านเชียง สรุปได้ว่า วัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์บ้านเชียง มีภาชนะดินเผาแบบเด่นเฉพาะตัวของแต่ละสมัย แตกต่างกันไปคือ[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ภาชนะดินเผาสมัยต้น ประกอบด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ภาชนะฐานเตี้ย ๆ ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบและลายขีด[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ภาชนะดินเผาขนาดใหญ่บรรจุศพเด็ก และภาชนะรูปทรงต่าง ๆ ที่ตกแต่งด้วยลายขีด มีปริมาณหนาแน่นบริเวณไหล่ภาชนะ[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ก้นภาชนะกลม ตกแต่งด้วยลายขีด ผสมการเขียนสีที่บริเวณไหล่ภาชนะ[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ภาชนะดินเผาสมัยกลาง ประกอบด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ภาชนะมีสว่นไหล่หักมุมเป็นสัน ก้นภาชนะแหลม ตกแต่งด้วยลายขีด และลายเขียนสี[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ภาชนะสีขาวส่วนไหล่หักมุม ก้นภาชนะแหลม และภาชนะก้นกลมผาย ตกแต่งส่วนปากภาชนะด้วยการเคลือบน้ำโคลนสีแดง[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ภาชนะดินเผาสมัยปลาย ประกอบด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ภาชนะเขียนสีแดงบนพื้นสีแดง[/SIZE]
    [SIZE=-1] - ภาชนะทาน้ำโคลนสีแดง และขัดผิวมัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] เครื่องดินเผาที่พบ นอกจากเป็นภาชนะพวกหม้อรูปทรงต่าง ๆ แล้วยังมีช้อน ทัพพี เบ้าดินเผา (ใช้เป็นเบ้าหลอมโลหะ) และแวดินเผา ลูกปัดดินเผา ฯลฯ เครื่องประดับ นอกจากทำจากดินเผาแล้วยังมีที่ทำจากหินและแก้วด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1] เครื่องโลหะ มีอยู่ประมาณ ๑,๔๐๐ รายการ จากการศึกษาพบว่าการโลหกรรมของบ้านเชียง เริ่มต้นโดยการใช้สำริด เมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ต่อมาจึงเริ่มมีการใช้เหล็ก เมื่อประมาณ ๒,๗๐๐ - ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] เครื่องสำริด เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก ซึ่งเป็นโลหะที่ไม่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในบรนิเวณบ้านเชียง จึงเชื่อว่ามีการนำมาจากชุมชนอื่น วัตถุโบราณ เครื่องสำริด ได้แก่หอก ขวาน ทัพพี กำไลข้อมือ กำไลข้อเท้า ปล้องแขน เบ็ดตกปลา ห่วงคอ ลูกกระพรวนและกระดิ่ง[/SIZE]
    [SIZE=-1] วัตถุสำริดที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงคือใบหอก ที่ปลายหอกงอพับ มีอายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว[/SIZE]
    [SIZE=-1] เครื่องเหล็ก ทำจากเหล็กที่ได้จากการถลุงเหล็ก เครื่องเหล็กส่วนใหญ่จะเป็นใบหอก หัวขวานและหัวลูกศร นอกจากนั้นก็มีเคียวและมีด[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในช่วงแรกที่มีการใช้เหล็ก พบว่ามีวัตถุหลายชิ้นทำจากทั้งเหล็กและสำริด เช่น กำไลสำริด ที่มีเหล็กเส้นพันประดับโดยรอบตัวกำไล ใบหอกที่ปลายทำด้วยเหล็ก และปล้องแขนทำด้วยสำริด[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] เส้นใย เป็นเทคโนโลยีการทอผ้าที่พัฒนามาจากการทำเชือก เสื่อ และเครื่องจักรสาน (จากหลักฐานที่พบว่าชาวบ้านเชียงรู้จักการทำเชือกมาไม่ต่ำกว่า ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว) ส่วนใหญ่พบผ้า และรอบประทับของผ้าตามเครื่องโลหะและเศษดินเผา[/SIZE]
    [SIZE=-1] ผ้าส่วนใหญ่ทอจากเส้นใยป่าน กัญชา เป็นผ้าเนื้อหนาและหยาบ บางส่วนทอจากใยฝ้าย ซึ่งมีเนื้อที่ละเอียดและบางกว่า ส่วนเครื่องจักรสานนั้น มักพบตามรอยประทับบนเครื่องดินเผา[/SIZE]
    [SIZE=-1] จากการพบภาชนะดินเผาที่มีการผลิตด้วยฝีมือระดับสูง และการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะ เป็นการประดิษฐคิดค้นด้วยวิธีการของวัฒนธรรมบ้านเชียงเอง โดยไม่ได้รับอิทธิพลของจีน หรืออินเดีย รวมทั้งมีการพัฒนาการทอผ้ามาเป็นลำดับ แสดงให้เห็นถึงความเจริญทางเทคโนโลยีของคนในสมัยนั้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] ซากมนุษย์และสัตว์ จากการขุดค้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ - ๒๕๑๘ พบโครงกระดูกคนประมาณ ๑๓๐ โครง ผลการวิเคราะห์พบว่ามีโครงกระดูกผู้ชาย ๕๔ โครง และของผู้หญิง ๓๙ โครง พบข้อมูลการวิเคราะห์ดังนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ผู้ชายสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของบ้านเชียง มีความสูงเฉลี่ยประมาณ ๑๖๕ - ๑๗๕ เซนติเมตร ผู้หญิงมีความสูงเฉลี่ยประมาณ ๑๕๐ - ๑๕๗ เซนติเมตร มีรูปร่างล่ำสัน แข็งแรง มีช่วงขายาว ใบหน้าค่อนข้างใหญ่ หน้าผากกว้าง สันคิ้วโปน กระบอกตาเล็ก โหนกแก้มใหญ่ อายุไม่ยืน โดยที่คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ระยะสมัยต้นมีอายุเฉลี่ย ๒๗ ปี สมัยปลายมีอายุเฉลี่ย ๓๔ ปี[/SIZE]
    [SIZE=-1] จากการขุดพบกระดูกสัตว์ชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะการขุดพบกระดูกควาย ทำให้ทราบว่า คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง มีการทำนาในที่ลุ่ม และมีการไถนาเมื่อประมาณเกือบ ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว รวมทั้งมีการเลี้ยงสัตว์ และการล่าสัตว์ ทั้งสัตว์ป่า และสัตว์น้ำ[/SIZE]
    [SIZE=-1] เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้ขุดพบซากไดโนเสาร์และเปลือกหอย ที่เทือกเขาภูพาน อำเภอหนองวัวซอ[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ศาสนวัตถุ ส่วนใหญ่เป็นศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส หลวงพ่อนาค วัดโพธิชัยศรี หลวงพ่อตื้อ วัดโพธิชัยศรี หลวงพ่อศิลาแดง หลวงพ่อพระพุทธรัศมี พระพุทธโพธิทอง พระพุทธรูปทองคำ วัดโพธิศรีทุ่ง พระพุทธรูปทองคำ และทองสำริด วัดป่าแมว และธรรมาสน์ วัดพระแท่น เป็นต้น[/SIZE]
    [SIZE=+1]โบราณสถาน[/SIZE]
    [SIZE=-1] แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อยู่ในตำบลบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นหลักฐานแสดงการตั้งถิ่นฐาน และอารยธรรมของชุมชน ก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุด ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดพัฒนาการ กระบวนการศึกษา ค้นคว้าทางโบราณคดีครั้งสำคัญที่สุดของไทย[/SIZE]
    [SIZE=-1] การขุดค้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ - ๒๕๑๘ ทำให้พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมากที่สำคัญ ได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ในหลุมฝังศพ ภาชนะดินเผาลายเขียนสี เครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับที่ทำด้วยสำริด และเหล็ก ผลการศึกษาโดยวิธีการวิทยาศาสตร์ ทำให้ทราบว่า มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์บ้านเชียง เป็นสังคมที่สืบเนื่องยาวนานมาเมื่อ ๕,๖๐๐ - ๑,๘๐๐ ปี มาแล้ว เป็นสังคมเกษตรกรรม มีเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง และมีชีวิตที่สงบสุข[/SIZE]
    [SIZE=-1] แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ขุดค้นที่วัดโพธิศรี ได้รับการปรับปรุงให้เป็น พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานหลุมขุดค้นโบราณคดีวัดโพธิศรีใน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๒ งาน[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่ที่บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ มีพื้นที่ประมาณ ๓,๔๓๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขือน้ำ ซึ่งอยู่บนเทือกเขาภูพาน (ภูพานคำ) ซึ่งเป็นเทือกเขาหินทราย สูงประมาณ ๓๒๐ - ๓๕๐ เมตร จากระดัวบน้ำทะเล[/SIZE]
    [SIZE=-1] จากหลักฐานทางธรณีวิทยาพบว่า เมื่อหลายล้านปีมาแล้ว ภูพระบาทปกคลุมไปด้วยธารน้ำแข็ง เมื่อธารน้ำแข็งละลาย ได้เกิดการกัดกร่อนขนาดใหญ่ บนภูพระบาท ทำให้เกิดเพิงหิน โขดหิน รูปร่างแปลก ๆ เป็นจำนวนมาก และเมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ ปี มาแล้ว มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้มาล่าสัตว์ และเก็บของป่าบนภูแห่งนี้ และได้แต่งแต้มเพิงหินทรายต่าง ๆ ด้วยการเขียนเป็นภาพฝ่ามือ ภาพคน และภาพสัตว์ และภาพรูปทรงเรขาคณิตด้วยสีแดง ภาพเหล่านี้บางภาพ สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงชีวิตของคน และสัตว์ในสมัยนั้นด้วย[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ ได้มีการดัดแปลงเพิงหินทราย เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู มีการปักใบเสมาหินทรายล้อมเพิงหิน และแกะสลักพระพุทธรูป และเทวรูปลงบนเพิงหินทรายด้วย และต่อมาเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ ได้มีการสลักรอยพระพุทธบาท และสร้างโบราณสถานขนาดเล็ก บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนภูพระบาทด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1] โบราณสถานในกลุ่มภูพระบาท ปัจจุบันประชาชนในท้องถิ่นเรียกชื่อสถานที่ต่าง ๆ ไปตามเรื่องนิทานพื้นบ้านอีสาน เรื่อง นางอุสา - ท้าวบารส เช่น หอนางอุสา วัดพ่อตา วัดลูกเขย คอกม้าท้าวบารส ถ้ำฤาษี เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า แหล่ง ฯ ภูพระบาท เป็นกลุ่มโบราณสถานที่สำคัญ และใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของอีสานตอนบน[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] กรมศิลปากร ได้สำรวจแหล่งโบราณคดี และโบราณสถานในแหล่ง ฯ ภูพระบาท มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๕ ได้พบโบราณสถาน ๖๘ แห่ง เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบว่ามีภาพเขียนสีตามเพิงหินต่าง ๆ ๔๕ แห่ง และสิ่งก่อสร้างที่ดัดแปลง เพิงหินธรรมชาติให้เป็นศาสนสถาน ๒๓ แห่ง กระจายอยู่ทั่วไปบนภูพระบาท เป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้ ๙ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ กลุ่มโนนหินเกลี้ยง และถ้ำสูง กลุ่มที่ ๒ กลุ่มถ้ำเพียงดิน กลุ่มที่ ๓ กลุ่มวัดพ่อตา และวัดลูกเขย กลุ่มที่ ๔ กลุ่มวัดพระพุทธบาทบัวบก [COLOR=#cc0000]กลุ่มที่ ๕[/COLOR][COLOR=#000099] กลุ่มถ้ำห้วยหินลาด [COLOR=#cc0000]กลุ่มที่ ๖[/COLOR][COLOR=#000099] กลุ่มโนนสาวเอ้ [COLOR=#cc0000]กลุ่มที่ ๗[/COLOR][COLOR=#000099] กลุ่มห้วยด่านใหญ่ [COLOR=#cc0000]กลุ่มที่ ๘[/COLOR][COLOR=#000099] กลุ่มพระบาทหลังเต่า [COLOR=#cc0000]กลุ่มที่ ๙[/COLOR][COLOR=#000099] กลุ่มเจดีย์ร้าง อุโมงค์ และถ้ำพระเสี่ยง[/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานบริเวณภูพระบาท เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ ปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๒ ทำพิธีเปิดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]พุทธศาสนสถาน[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ได้แก่ พระพุทธบาทบัวบก พระธาตุดอนแก้ว (พระมหาธาตุเจดีย์) วัดป่าแมว วัดมัชฌิมาวาส วัดกู่แก้วรัตนาราม วัดป่าแมว กุฎิใหญ่โบราณวัดจอมศรี มีรายละเอียดอยู่ในมรดกทางพระพุทธศาสนา[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]แหล่งโบราณคดีวัดพระธาตุบ้านหมาด[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ตั้งอยู่ที่บ้านหมาด ตำบลนาบัว อำเภอเพ็ญ วัดบ้านหมาด เป็นวัดร้าง ปรากฎอยู่เพียงร่องรอยของซากโบราณสถานคือ เจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐ โดยหลังหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัด ส่วนด้านหน้า หรือด้านทิศตะวันออก มีซากฐานอาคารอิฐบนฐานศิลาแลง อยู่สองหลัง โดยหลังหนึ่งพบว่า มีร่องรอยการปักใบเสมาหินทรายอยู่โดยรอบ[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๐ ได้มีการตั้งวัดพระธาตุบ้านหมาด ขึ้น และได้สร้างอาคารขึ้นสองหลัง บนซากอาคารเดิม ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของซากเจดีย์ก่ออิฐ โดยหลังหนึ่งที่อยู่ทางทิศเหนือ ได้สร้างเป็นอุโบสถ แล้วใช้ใบเสมาหินทรายเดิมบางส่วน ที่ยังคงเหลืออยู่เป็นพัทธสีมา ส่วนอีกหลังหนึ่งสร้างเป็นอาคารศาลาโถง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานอยู่สามองค์ โดยองค์กลางเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นประธานที่มีมาแต่เดิม โบราณสถานและโบราณวัตถุ ที่สำคัญดังนี้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [U][COLOR=#cc0000]ซากโบราณสถานพระเจดีย์ก่ออิฐ[/COLOR][/U][COLOR=#000099] สูงประมาณ ๘ - ๑๐ เมตร กว้างด้านละประมาณ ๕ - ๗ เมตร ส่วนใหญ่หักพังหมด ตั้งแต่ชั้นฐานขึ้นไป คงเหลือแต่เพียงส่วนที่สันนิษฐานว่าเป็นองค์เรือนธาตุเดิม ซึ่งก่อด้วยอิฐไปฉาบปูน ในลักษณะเรือนธาตุรูปแปดเหลี่ยม สูงประมาณ ๓ เมตรเศษ[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [U][COLOR=#cc0000]ศิลาจารึกหินทรายสีแดง[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ตัวอักษรเลอะเลือนไปมาก สันนิษฐานว่าเป็นอักษรขอมหรืออักษรไทยน้อยโบราณ มีความกว้างประมาณ ๓๐ - ๔๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๖๐ - ๗๐ เซนติเมตร[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [U][COLOR=#cc0000]พระพุทธรูปประธานองค์กลาง[/COLOR][/U][COLOR=#000099] มีพุทธลักษณะ มีลักษณะทางศิลปะในสกุลช่างล้านช้างหรือเวียงจันทน์ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๔[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [U][COLOR=#cc0000]ใบเสมาหินทรายแดง[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ยังคงเหลืออยู่บริเวณอุโบสถหลังใหม่[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] วัดพระธาตุบ้านหนาด ได้รับการประกาศเป็นวัด เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๓๒[/SIZE][/COLOR][/FONT] <CENTER>
    [IMG]http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/udonthani17.jpg[/IMG]</CENTER>[FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]อาคารราชินูทิศ[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ตั้งอยู่ในตำบลหมากกว้าง อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๖๓ เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนของโรงเรียนอุปถัมภ์นารี เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน รูปทรงตะวันตก หลังคาทรงปั้นหยา มีมุขยื่นไปด้านหน้า ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นรูปโค้งสวยงาม มีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๔๑ มีพื้นที่ ๑๑ ไร่ ๒ งาน และจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอุดรธานี[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]เมืองโบราณหนองหาน[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ตั้งอยู่ที่บ้านหนองหาน ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน เป็นเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑,๐๕๐ เมตร ยาว ๑,๒๕๙ เมตร พื้นที่ประมาณ ๘๓๐ ไร่ ลักษณะเมืองเป็นแบบเมืองสมัยลพบุรี บริเวณรอบเมืองเป็นที่ราบลุ่ม หล่อเลี้ยงด้วยลำน้ำเล็ก ๆ หลายสายสลับกับที่เนินสูง บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเหมาะแก่การเพาะปลูก ด้านตะวันออกของเมืองเป็นที่ลุ่มต่ำมาก มีลำห้วยบ้านและห้วยนทรายไหลผ่าน ส่งน้ำเข้าไปหล่อเลี้ยงคูเมืองด้านทิศตะวันออก ด้านทิศตะวันตก มีหนองน้ำใหญ่อยู่ในเขตบ้านหนองบ่อ ห่างจากตัวเมือง ๑,๕๐๐ เมตร ลำน้ำเล็ก ๆ สายต่าง ๆ จากทางใต้ไหลมาลงหนองน้ำนี้ ซึ่งปัจจุบันเป็นอ่างเก็บน้ำ มีการขุดคลองตรง รับน้ำจากคูเมืองด้านทิศตะวันตกและยังมีลำห้วยไหลแยกจากมุมเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รับน้ำเหนือจากคูเมืองออกไปทางเหนือ ลงลำน้าห้วยด่าน หลักฐานทางวัฒนธรรมมีดังนี้[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [U][COLOR=#cc0000]เขตวัดสามัคคีบำเพ็ญผล[/COLOR][/U][COLOR=#000099] มีโบราณสถานค่อนมาทางกลางเมือง[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [COLOR=#cc0000]ซากสถูป [/COLOR][COLOR=#000099]ก่อด้วยอิฐและศิลาแลง เดิมเป็นศิลปะแบบลพบุรี ต่อมาดัดแปลงเป็นเจดีย์[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [COLOR=#cc0000]เสมาหินทรายสีแดง[/COLOR][COLOR=#000099] ปักอยู่รอบ ๆ ฐานเจดีย์ เป็นเสมาขนาดเล็กและบางกว่าแบบทวารวดี ตรงกลางมีรอยสลักนูนออกมาเป็นเส้นตรงคล้ายรูปสถูป คติการทำเสมาเช่นนี้สืบทอดมาจากวัฒนธรรมทวารววดี[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [COLOR=#cc0000]พระพุทธรูปหินทราย[/COLOR][COLOR=#000099] ตั้งอยู่ริมฐานเจดีย์ทางด้านเหนือ สูงประมาณ ๑.๓ เมตร เดิมเป็นพระพุทธรูปแบบลพบุรี ต่อมาได้มีการพอกปูนทับเป็นแบบล้านช้าง[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [U][COLOR=#cc0000]วัดธาตุดูกวัว[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเมือง มีเจดีย์ฐานรูปสี่เหลี่ยม ก่อด้วยอิฐแบบล้านช้าง[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [U][COLOR=#cc0000]วัดธาตุโข่ง[/COLOR][/U][COLOR=#000099] อยู่ทางด้านทิศใต้ของเมือง มีโบราณสถานในสมัยหลังแบบล้านช้าง ได้มีการสร้างเจวดีย์ครอบใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยม มีพระพุทธรูปนั่งประดิษฐานอยู่ทั้งสี่ทิศ[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] จากหลักฐานข้างต้นแสดงว่า เมืองโบราณแห่งนี้มีอายุอยู่ในสมัยลพบุรี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]วัดกู่แก้วรัตนาราม[/COLOR][/B][COLOR=#000099] เดิมชื่อวัดกู่ ชาวบ้านเรียกวัดกู่แก้ว ตั้งอยู่ที่บ้านกู่แก้ว ตำบลบ้านจืด กิ่งอำเภอกู่แก้ว ส่วนในบริเวณกู่โบราณสมัยขอม สันนิษฐานว่าเป็นอโรคยาศาล สร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลบายน โดยมีพระโพธิสัตว์ไภวสัชยคุร ฯ เทพแห่งการแพทย์ ซึ่งเป็นปฏิมากรรมที่สำคัญของศาสนสถานแห่งนี้[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] อาคารโบราณสถานสร้างด้วยศิลาแลง ประกอบด้วยปราสาทประธาน และมีวิหารตั้งอยู่ภายใน กรอบกำแพงแก้วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทางเข้าเป็นซุ้มประตูโคปุระ ทางด้านทิศตะวันออก ภายในวิหารมีทับหลังรูปนารายณ์ทรงครหุฑ อยู่บนฐานปัทม์ของพระประธาน ด้านหลังวิหารมีสถูป หรือกู่ที่เป็นที่เก็บศพของนักรบโบราณ ที่ได้นำกองทัพมา แล้วทำพิธีเสี่ยงทายหาที่พัก เสี่ยงได้บริเวณหนองน้ำ จึงได้ชื่อว่าหนองเสี่ยง (ปัจจุบีนเรียกหนองค้างคาว) แล้วย้ายมาพักที่บริเวณวัดกู่แก้ว เมื่อเสียชีวิตจึงได้สร้างสถูปเป็นอนุสรณ์สถานชื่อว่ากู่แก้ว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ภายในวัดประกอบด้วยอุโบสถคอนกรีตทรงไทย สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ ศาลาการเปรียญหอสวดมนต์ วิหาร ศาลาบำเพ็ญกุศล และเจดีย์เก่า ซึ่งเป็นกรุเก็บพระพุทธรูปสมัยขอมโบราณ[/SIZE][/COLOR][/FONT] [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]
    [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/COLOR][/COLOR]
    [/SIZE]
     
  5. pittayac

    pittayac Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2006
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +78
    ยอดเยี่ยมเลยน้องนิก เที่ยวจังหวัด.อุดรฯ ภายในไม่กี่นาทีทั่วทั้งจังหวัดเลยนะจ๊ะ
    โมทนาสาธุ...
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...