แคร่ริมคลอง...วันวิสาข์พาไป "พิพิธภัณฑ์สักทอง"

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ณ., 19 สิงหาคม 2008.

  1. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    8 ธันวาคม 2553
    เราออกเดินทางโดยบริการของ ขสมก. เวลา 4 ทุ่มกว่า มุ่งหน้าสู่อิสานบ้านเฮา
    ตามคำบอกกล่าวของผู้ที่เคยไปมาแล้ว ปลายทางของเราคือสถานีภูเวียง จังหวัดหนองบัวลำภู
    ราวตีหนึ่งกว่าๆ ถึงที่พักรถที่โคราช ส่วนคนก็ลงไปรับประทานอาหารรอบดึก
    พอออกจากโคราช เรานั่งคุยกันไปจนตีสองกว่า เห็นป้ายเข้าสู่เขตชัยภูมิ
    เวลาก็ล่วงมามากแล้ว คิดกันว่าเราคงไปถึงปลายทางฟ้าก็คงแจ้งพอดี
    ก็เลยของีบสักหน่อย...
    ตีสี่กว่ารถมาจอดที่สถานีหนึ่ง
    งัวเงียขี้ตา มองป้ายเห็นว่าภูเวียง แต่ยังไม่แน่ใจ
    เพราะมันเพิ่งตีสี่เอง เร็วกว่าเวลาที่คิดตั้งชั่วโมง ไม่ใช่ละม้าง
    จนพนักงานประจำรถ บอกว่าถึงปลายทางภูเวียงแล้ว...
    คราวนี้รีบลุกกันพึบพับ แล้วก็ระเห็ดลงมาจากรถอย่างรวดเร็ว
    นั่งรอเวลากันจน 6 โมงเช้า แล้วก็ว่ารถแมงกาไซค์ให้ไปส่งที่ตลาด
    ก็ท้องมันหิว เรื่องอื่นค่อยว่ากันอีกที่


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01.JPG
      01.JPG
      ขนาดไฟล์:
      34.3 KB
      เปิดดู:
      265
  2. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    พอไปถึงตลาด เราก็ถามแม่ค้าถึงปู่ฤาษีเกศแก้ว
    ถามหลายคน แต่ไม่มีใครรู้จัก บางคนก็บอกว่ามีฤาษีแต่ผมไม่ยาว
    เพราะเพิ่งตัดผม เราก็คิดว่าปู่ไม่เคยตัดผม แล้วจะตัดทำไม
    ใช่ตนเดียวกันหรือเปล่า... ก็ไล่ถามไปเรื่อย
    จนมาถึงร้านกาแฟ ก็แนะนำให้ไปถามแม่ค้าขนมจีนในตลาด
    พอบอกชื่อบอกลักษณะ แม่ค้าขนมจีนก็บอกว่าให้ไปหาผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง
    ซึ่งท่านเป็นลูกหลานปู่ฤาษี...นึกว่าจะไม่มีที่ลงซะแล้วสิ
    ซดกาแฟกับปลาท่องโก๋รองท้องกันก่อน ก่อนจะมุ่งหน้าไปตามคำแนะนำ


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 02.JPG
      02.JPG
      ขนาดไฟล์:
      37.1 KB
      เปิดดู:
      348
  3. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    [​IMG]

    [​IMG]

    ภูเวียงเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณหลายพันปีมาแล้ว
    มีการขุดพบกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้ โลหะสำริด พระนอนสมัยทวาราวดี
    รวมทั้งภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำ(หลืบเงิน)บนเทือกเขาภูเวียง
    ในปี 2519 มีการค้นพบรอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์อายุเกือบ200ล้านปีด้วย
    จึงมีการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง (Phu Wiang Dinosaur Museum)ขึ้น
    และมีอุทยานแห่งชาติภูเวียงซึ่งกินเนื้อที่ประมาณ 325 ตารางกิโลเมตร หรือ 203,125 ไร่
    เสียดายที่คราวนี้เราไม่ได้มาเที่ยว จึงต้องปล่อยไป มุ่งหน้าไปหาปู่ฤาษีเกศแก้วอย่างเดียว
    เอาไว้คราวหน้ามีโอกาสดีๆ จะไม่พลาดแน่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 03.JPG
      03.JPG
      ขนาดไฟล์:
      45.9 KB
      เปิดดู:
      267
    • 04.JPG
      04.JPG
      ขนาดไฟล์:
      36.1 KB
      เปิดดู:
      290
  4. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    หลังจากกาแฟปลาท่องโก๋นอนสงบนิ่งอยู่ในพุงเรียบร้อย
    เราก็พากันเดินจากตลาดไปอีก 2 กิโลฯ เพื่อจะไปพบผู้ใหญ่ท่านนั้น
    พอเราไปถึงคนที่ดูแลบ้านบอกว่าท่านไปทำธุระ
    เอ...แล้วเราจะเอายังไงดีกันล่ะ เลยเล่าวัตถุประสงค์ให้ฟัง
    ป้าคนดูแลก็ใจดีเมตตาโทรไปตามให้
    15 นาทีต่อมาเราก็ได้เจอกับผู้ใหญ่ท่านนั้น ท่านแทนตัวเองว่าแม่
    เราก็เลยเรียกแม่ตาม ท่านน่ารักมากพูดคุยเป็นกันเอง แนะนำเรื่องต่างๆ ให้เราเป็นอย่างดี
    บอกทางให้เราไปหาปู่ฤาษีได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเอาเข้าจริงๆ จากจุดที่เราอยู่
    อยู่ห่างจากอาศรมปู่ฤาษี เกือบ 100 กิโลฯ
    ราว 10 โมง เราอำลาจากแม่มุ่งหน้าสู่อำเภอศรีบุญเรือง
    แม่ก็เมตตาให้คนขับรถ ช่วยมาส่งเราให้ขึ้นรถอย่างอย่างสะดวก

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 05.JPG
      05.JPG
      ขนาดไฟล์:
      45.7 KB
      เปิดดู:
      568
    • 06.JPG
      06.JPG
      ขนาดไฟล์:
      36.1 KB
      เปิดดู:
      558
    • 07.JPG
      07.JPG
      ขนาดไฟล์:
      37.2 KB
      เปิดดู:
      558
  5. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    พอถึงสถานีศรีบุญเรือง ความหิวไม่เคยปราณีใคร
    ได้ก๋วยเตี๋ยวแถวท่ารถรองท้อง ก่อนจะต่อรถไปหนองบัวลำภู
    เพื่อจะต่อรถไปบ้านโนนสัง
    เพราะรถที่จะไปบ้านโนนสังจากศรีบุญเรืองหมดแล้ว
    พอถึงหนองบัวลำภู ตรงจุดนี้เราถามถึงปู่ฤาษีเกศแก้ว แถวนี้รู้จักกันเป็นอย่างดี
    เราเลยเหมารถสามล้อเครื่องราคา 170 บาท มุ่งหน้าสู่อาศรมปู่ฤาษีเกศแก้ว


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 08.JPG
      08.JPG
      ขนาดไฟล์:
      34.8 KB
      เปิดดู:
      701
  6. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    จริงๆ มันก็มีรถสองแถวนะ แต่รถสองแถวจะผ่านบ้านโนนสัง
    แล้วให้เราไปลงที่บ้านโนนคูณ จากนั้นต้องต่อมอเตอร์ไซค์เข้าไปที่อาศรม
    แต่รถที่จะต่อเข้าอาศรมค่อนข้างหายาก หากไม่ได้มีการนัดแนะไว้ล่วงหน้า
    เราเลยเหมารถ 170 บาท สะดวกกว่า แล้วได้ขอเบอร์ไว้ เผื่อขากลับด้วย...
    อันที่จริง หากเราตีรถจากกรุงเทพฯ มาลงที่หนองบัวลำภูแต่แรก
    การเดินทางคงสะดวกกว่านี้ แต่ก็ถือว่า แม้คราวนี้ระยะเวลาเดินทางจะเพิ่มขึ้น
    แต่เราก็ได้พบกับลูกหลานปู่ฤาษีรุ่นแรกๆ ได้พบผู้ใหญ่ที่มีเมตตามากๆ
    นับว่าเป็นโชคดีของเราจริงๆ


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 09.JPG
      09.JPG
      ขนาดไฟล์:
      33.2 KB
      เปิดดู:
      581
    • 10.JPG
      10.JPG
      ขนาดไฟล์:
      30.4 KB
      เปิดดู:
      550
    • 11.JPG
      11.JPG
      ขนาดไฟล์:
      38.6 KB
      เปิดดู:
      559
  7. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    เรามาถึงอาศรมราวบ่ายโมง เห็นมีการตั้งเต้นท์โรงทาน ไม่รู้ว่างานอะไรสิ
    พอเข้าไปถึงได้ทราบว่า มีงานทำขวัญข้าว
    ซึ่งทุกปีในช่วงวันที่ 9-10 ธันวาคม ปู่ฤาษีจะจัดงานขึ้น
    มีเตาหลอมเตรียมหล่อพระด้วย ซึ่งเป็นการหล่อพระประจำวัน 8 องค์
    และแถมด้วยงานเปิดถนนตัดใหม่จากในหมู่บ้านออกมาที่อาศรมปู่ฤาษี
    ซึ่งเป็นการร่วมใจกันของบรรดาลูกหลานปู่ฤาษี


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12.JPG
      12.JPG
      ขนาดไฟล์:
      48.6 KB
      เปิดดู:
      568
    • 13.JPG
      13.JPG
      ขนาดไฟล์:
      45.9 KB
      เปิดดู:
      546
    • 14.JPG
      14.JPG
      ขนาดไฟล์:
      55.3 KB
      เปิดดู:
      547
  8. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    บรรดาลูกหลานช่วยกันเตรียมงานกันอย่างขะมักขะเม้น
    เพื่อให้ทันเวลาที่จะทำการแห่ข้าวเปลือกไปตามถนนตัดใหม่


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 15.JPG
      15.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78.3 KB
      เปิดดู:
      546
    • 16.JPG
      16.JPG
      ขนาดไฟล์:
      52.8 KB
      เปิดดู:
      546
    • 17.JPG
      17.JPG
      ขนาดไฟล์:
      53.6 KB
      เปิดดู:
      555
  9. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    เราเอากระเป๋าสัมภาระไปเก็บบนศาลาพัก
    จริงๆ เราก็แทบจะไม่มีที่นอน แต่ด้วยความเมตตาของพี่ท่านหนึ่ง
    เราจึงได้ที่พักบนศาลา ซึ่งศาลานี้ถ้าไม่ใช่ลูกหลานที่มาประจำก็จะไม่รู้
    ส่วนมากก็จะนอนกันตามมุมต่างๆ ที่พอจะหานอนได้
    ซึ่งปู่ฤาษีก็ให้นอนกันตามสะดวก
    ตลอดทั้งงานเราแทบจะไม่ได้ใส่รองเท้ากันเลย
    ขนาดห้องน้ำก็ยังอยู่ในอาคาร แถมยังสะอาดน่าใช้

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 18.JPG
      18.JPG
      ขนาดไฟล์:
      43.3 KB
      เปิดดู:
      549
    • 19.JPG
      19.JPG
      ขนาดไฟล์:
      46.3 KB
      เปิดดู:
      536
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2010
  10. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    จากนั้นเราก็เดินสำรวจสถานที่กันสักหน่อย
    ด้านหน้าอาศรมจะเป็นจุดพระพุทธเจ้า 5 พระองค์
    ภายในอาศรมใหญ่ จะมีพระพุทธรูปตามจุดต่างๆ
    จุดที่สำคัญอีกจุดคือจุดของแม่ย่าศรีแก้ว
    จากประวัติที่ทราบคือท่านเป็นจิตของแม่ชี
    ที่มาเชิญปู่ฤาษีเกศแก้วให้มาสร้างอาศรมอยู่ตรงนี้
    ซึ่งในตอนแรกปู่ฤาษีจะปฏิบัติอยู่ใต้ต้นมะค่าขนาดใหญ่

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 20.JPG
      20.JPG
      ขนาดไฟล์:
      70.7 KB
      เปิดดู:
      805
    • 21.JPG
      21.JPG
      ขนาดไฟล์:
      87.2 KB
      เปิดดู:
      546
    • 22.JPG
      22.JPG
      ขนาดไฟล์:
      59 KB
      เปิดดู:
      537
    • 23.JPG
      23.JPG
      ขนาดไฟล์:
      51.1 KB
      เปิดดู:
      557
    • 24.JPG
      24.JPG
      ขนาดไฟล์:
      51.7 KB
      เปิดดู:
      539
    • 25.JPG
      25.JPG
      ขนาดไฟล์:
      42.8 KB
      เปิดดู:
      537
    • 26.JPG
      26.JPG
      ขนาดไฟล์:
      50.5 KB
      เปิดดู:
      529
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2010
  11. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    คุยมาตั้งนานยังไม่เห็นปู่ฤาษีเลย...มีใครแอบบ่นหรือเปล่าเนี่ย
    งั้นเอารูปที่ถ่ายจากรูปมาอีกทีดูไปก่อนละกันเนอะ...อิอิ


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 27.JPG
      27.JPG
      ขนาดไฟล์:
      38.3 KB
      เปิดดู:
      527
    • 28.JPG
      28.JPG
      ขนาดไฟล์:
      88.2 KB
      เปิดดู:
      529
    • 29.JPG
      29.JPG
      ขนาดไฟล์:
      48.2 KB
      เปิดดู:
      542
  12. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    ราวบ่าย 3 โมง หลังจากที่เรากล่อมท้องให้อิ่มแปล้
    ปู่ฤาษีสั่งตั้งขบวนแห่ มุ่งหน้าสู่ทางแยกที่ตัดถนนเส้นใหม่เข้ามาที่อาศรม
    ระหว่างทางน่าจะกิโลฯกว่า จะได้ยินเสียงสาธุ สาธุ สาธุ ไปตลอดทาง

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 30.JPG
      30.JPG
      ขนาดไฟล์:
      66.6 KB
      เปิดดู:
      518
    • 31.JPG
      31.JPG
      ขนาดไฟล์:
      91.7 KB
      เปิดดู:
      540
    • 32.JPG
      32.JPG
      ขนาดไฟล์:
      51.3 KB
      เปิดดู:
      516
    • 33.JPG
      33.JPG
      ขนาดไฟล์:
      52.5 KB
      เปิดดู:
      519
    • 34.JPG
      34.JPG
      ขนาดไฟล์:
      36.5 KB
      เปิดดู:
      518
    • 35.JPG
      35.JPG
      ขนาดไฟล์:
      49.6 KB
      เปิดดู:
      528
  13. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    พอถึงสถานที่ทำพิธีเปิดงาน พระสวดมนต์ให้พร
    ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภูมาเป็นประธานเปิดงานด้วย


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 36.1.JPG
      36.1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      72.5 KB
      เปิดดู:
      516
    • 36.JPG
      36.JPG
      ขนาดไฟล์:
      51.5 KB
      เปิดดู:
      525
    • 37.JPG
      37.JPG
      ขนาดไฟล์:
      53 KB
      เปิดดู:
      514
    • 38.JPG
      38.JPG
      ขนาดไฟล์:
      85.6 KB
      เปิดดู:
      512
    • 39.JPG
      39.JPG
      ขนาดไฟล์:
      44.4 KB
      เปิดดู:
      530
    • 40.JPG
      40.JPG
      ขนาดไฟล์:
      39.6 KB
      เปิดดู:
      520
    • 41.JPG
      41.JPG
      ขนาดไฟล์:
      42.9 KB
      เปิดดู:
      503
    • 42.JPG
      42.JPG
      ขนาดไฟล์:
      52.4 KB
      เปิดดู:
      521
  14. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    จากนั้นก็ช่วยแห่ ช่วยกันลากราชรถข้าวเปลือก
    ราชรถโลหะที่ใช้หล่อพระกลับอาศรม

    ระหว่างทางปู่ฤาษีก็โปรยข้าวเกลือเหรียญเปิดทางตลอด

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 43.JPG
      43.JPG
      ขนาดไฟล์:
      46 KB
      เปิดดู:
      514
    • 44.JPG
      44.JPG
      ขนาดไฟล์:
      40.6 KB
      เปิดดู:
      512
    • 45.JPG
      45.JPG
      ขนาดไฟล์:
      57.8 KB
      เปิดดู:
      503
    • 46.JPG
      46.JPG
      ขนาดไฟล์:
      44.2 KB
      เปิดดู:
      504
    • 47.JPG
      47.JPG
      ขนาดไฟล์:
      43.8 KB
      เปิดดู:
      498
  15. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    พอขบวนกลับมาถึงอาศรม มีการรำถวาย มีการจุดพลุ
    และมาร่วมกันสวดมนต์ที่กองข้าวเปลือกขนาดใหญ่
    ซึ่งมีผู้นำมาร่วมบุญมากมาย
    ปู่ฤาษีได้กล่าวนำระลึกถึงคุณแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อแม่โสภพ
    ...วันนี้ก็จบลงที่ตรงนี้ พรุ่งนี้ค่อยมาต่อของวันที่ 10 ละกันนะ


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 48.JPG
      48.JPG
      ขนาดไฟล์:
      56.3 KB
      เปิดดู:
      492
    • 49.JPG
      49.JPG
      ขนาดไฟล์:
      53.3 KB
      เปิดดู:
      496
    • 50.JPG
      50.JPG
      ขนาดไฟล์:
      53.7 KB
      เปิดดู:
      496
    • 51.JPG
      51.JPG
      ขนาดไฟล์:
      12 KB
      เปิดดู:
      510
    • 52.JPG
      52.JPG
      ขนาดไฟล์:
      46.4 KB
      เปิดดู:
      490
  16. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    [​IMG]

    พี่ชานคนไทย ยิ้มหวานนนนนนนน ดีจังเลย ^____^

    ขอบคุณพี่ ณ. ที่ถ่ายภาพมาฝาก พี่ ๆ น้อง ๆ ค่ะ ^-^
    ขอกราบอนุโมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านด้วยในทุก ๆ ประการค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2010
  17. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    เรื่องผมประทับใจมาก...คือความพูดตรงๆของพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่ฤษีเกศแก้วที่ท่านบอกให้สมมุติสงฆ์อยู่ในความเรียบร้อยเรียงแถวรับบาตรตามลำดับพรรษาไม่ให้แย้งกันรับและแซงคิวกัน...ท่านว่าตรงๆแม้กระทั้งโยมแย้งผลไม้กันในงานท่านว่า...ไม่กลัวเป็นเปรตหรึอ...ทำใหคิดถึงตอนที่ไปกราบหลวงตามหาบัวเมื่อปี41...ได้มีโยมผู้หญิงมาวัดแต่แต่งตัวไม่เรียบร้อยใส่ขาสั้น...เสื้อคอกว้าง...ท่านเทศสอนว่าไม่ควรถ้ามาแบบนี้ให้แก้ผ้ามาจะดีกว่า...ความหมายของท่านคือไม่รู้จักให้เกรียติสถานที่และยังเป็นสถานที่วัดปฏิบัติธรรมยิ่งไม่สมควร...ผมจึงคิดเสมอๆว่าการที่เราจะให้คนอื่นให้เกรียติเรา...เราก็เป็นฝ่ายให้เกรียติผู้อื่นก่อน...ความหมายคือถ้าเราคิดจะเป็นผู้ให้...เราจะต้องไม่คิดหวังว่าเราจะได้สิ่งนั้นตอบแทน(คำชม)...สวัสดีครับ
     
  18. ck256

    ck256 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2010
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +48
    พี่ค่ะไก่ถามหน่อย ระหว่างวัดบ้านกับวัดป่าทำไมต่างกันไก่เคยเห็นแต่วัดป่า
    แม้แต่เสียงเดินยังต้องค่อยๆเดิน แต่วัดบ้านแห่สนุกสนานเชียว
    เวลาไปเห็นวัดบ้านแล้ว.....ก็พระเหมือนกันแต่ทำไมไม่เหมือนกัน
     
  19. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    พระสงฆ์ในประเทศไทยเป็นพระนิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงค่ะ
    ในสมัยรัชกาลที่ 3 นิกายเถรวาทแยกออกเป็น 2 คณะ
    1.มหานิกายคือคณะพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่มีอยู่แล้วดั่งเดิม
    2.ธรรมยุติคือคณะพระสงฆ์ที่แยกออกมาในสมัยรัชกาลที่ 3

    ความแตกต่างระหว่างธรรมยุตกับมหานิกาย
    นายธนวรรธน์ มานะทัต ( ทิดแทน )

    ธรรมยุติกับมหานิกาย เหมือนต่างกันอย่างไร ? '
    คำถามนี้ยาก เพราะมันมีหลายระดับครับ ถ้าตอบแบบธรรมดาก็

    1. สีจีวรต่างกัน มหานิกายจะห่มสีส้มทอง แต่ธรรมยุติจะห่มสีเข้ม ที่เรียกว่า สีแก่นขนุน แต่เดี๋ยวนี้ แยกออกมาอีกหลากหลาย มีทั้งแก่นทอง แก่นกรัก แก่นแดงพระป่า ฯลฯ แต่ความต่างอันนี้ก็ไม่จำเป็น อีกแล้วครับ เพราะอย่างสายหลวงพ่อชา พระอาจารย์สุรศักดิ์ เองก็เป็นมหานิกาย ที่ห่มจีวรสีธรรมยุติ อีกประการหนึ่งที่ทำให้สังเกตุยากในพิธีหลวง คือ สงฆ์สองนิกาย จะใช้จีวรสีพระราชนิยม (ที่เรียกบิดเบือนไปว่า สีพระราชทาน) เป็นสีกลางระหว่างสองนิกายครับ เพื่อความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันเมื่อประชุมพร้อมกัน และไม่ทำให้เกิดความแตกแยกด้วยครับ
    เกร็ด : เล่า ว่าสายพระป่าใช้สีจีวรออกแดง เพราะหลวงปู่มั่นท่านสงสัยว่าในสมัยพุทธกาล พระครองจีวรสีอะไรกัน และสีนี้ก็ปรากฏในสมาธิของท่าน จึงใช้ต่อๆกันมาเป็นอาจาริยวาสครับ
    ประสบการณ์ : ขณะ ที่บวชอยู่ทราบว่าพระป่าท่านจะไม่ค่อยซักจีวรกัน เพราะใช้ด้วยความระมัดระวัง และด้วยข้อจำกัดของการอยู่ป่า ท่านจึงมักครองซักระยะ แล้วใช้ต้มจีวร พร้อมแก่นขนุน หรือสีสังเคราะห์ครับ สีย้อมจีวรนี่คนนึกไม่ถึงกัน จึงไม่ค่อยได้ถวาย ขอแนะนำสีตรากิเลนครับ เพราะจะติดดี ใช้อัตราส่วน สีเหลืองทอง 2 กระป๋อง ต่อสีกรัก(สีอัลโกโซน) 1 กระป๋อง และบวกด้วยสีแดงนิดหน่อย ต่อจีวรหนึ่งผืนครับ ใครอยากถวายของหาได้ยาก งานนี้ได้เลย โมทนาด้วยครับ

    2. ครองจีวรต่างกัน มหานิกายมักจะห่มดอง โดยสังเกตุได้ว่าจะพันผ้ารัดอกทับสังฆาฏิ และมือสองข้างเป็นอิสระ โดยเฉพาะในงานพิธีการ นอกจากนั้น ก็ จะมีการห่มมังกร โดยหมุนผ้าลูกบวบทางขวาเวลาออกนอกวัด ส่วนเมือถึงเวลาทำสังฆกรรมจะคาดผ้าที่หน้าอก และมีผ้าสังฆาฏิพาดที่ไหล่ซ้าย แต่เหลือน้อยวัดแล้ว เช่นที่วัดสะเกศ เป็นต้น ส่วนธรรมยุติ จะห่มลูกบวบ โดยม้วนๆๆ ใส่ไว้ใต้รักแร้ข้างซ้าย เวลางานพิธีก็เพียงพันผ้ารัดอกทับไปเลย บางทีเรียกกันลำลองว่าห่มดองธรรมยุติ แต่เดี๋ยวนี้ความต่างน้อยลงเพราะ มีพระบัญชาของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ให้พระภิกษุทั่วสังฆมณฑลห่มผ้าตามแบบของธรรมยุติกนิกายทั้งหมด อีก ประการที่เหมือนกันคือ พระไทยจะห่มคลุมไหล่ทั้งสองข้างเมื่ออยู่นอกวัด และลดไหล่ซ้ายยามอยู่ในวัด ซึ่งแตกต่างจากของพม่าที่ทำตรงข้ามกัน

    3. ปัจจัย อย่างที่ทราบกันว่า พระธรรมยุตินั้นจะไม่จับปัจจัย แต่สามารถรับใบโมทนาบัตรได้ ส่วนพระมหานิกายนั้น ไม่ถือในข้อนี้ ในหนังสือบูรพาจารย์เล่าว่า หลวงปู่มั่น เคยออกปากไล่พระอาคันตุกะ เพราะนำอสรพิษติดตัวมาด้วย ตอนแรกพระท่านก็งง แต่นึกออกภายหลังว่านำเงินติดใส่ย่ามมาด้วย ดร. สนอง วรอุไร ท่านสรุปว่าสองนิกายรับเงินได้ เพียงแต่มีวิธีคนและแบบเท่านั้นครับ แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นนะครับ พระบางรูปท่านถือเรื่องเงินว่า เป็นเรื่องที่ท่านจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเลย อย่าง ที่วัดมเหยงคณ์มีพระอาจารย์ที่ผมและทิดทั้งหลายนับถือมากท่านหนึ่ง ท่านไม่รับถวายปัจจัย ไม่ว่าในรูปแบบใดและข้าวของใดๆทั้งสิ้น นอกจากจำเป็นจริงๆ ท่านเป็นมหาเปรียญ ๗ ประโยค ผู้แตกฉานในพระไตรปิฏก แต่เร่งความเพียรในการภาวนา และอยู่อย่างเรียบง่ายยิ่งนัก เป็นพระสุปฏิปัณโณที่แท้จริง และสอนจริงทั้งทฤษฏี และ ปฏิบัติ แต่จะหาตัวยาก เพราะท่านมักออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆโดยเดินไป และไม่อาจติดต่อได้ ขอออกนามท่าน 'พระอาจารย์มหาสุชาติ สุชาโต' ด้วยความเคารพเหนือเกล้า (จิตตอนนี้นึกถึงพระมหากัสปะผู้เป็นเลิศในธุดงควัตร) แต่ การจับปัจจัย รับปัจจัยหรือไม่ ไม่อาจบ่งชี้ว่าท่านใดบริสุทธิ์หรือไม่นะครับ เพราะเป็นเพียงการแสดงออกของกายบัญญัติ มิใช่เจตนาปรมัตถ์ เช่นที่หลวงปู่แหวนเอาแบ๊งค์ห้าร้อยมามวนบุหรี่สูบ พระธรรมยุติสายป่าเองก็ปรับท่านอาบัติมิได้ โดยหลวงตามหาบัวท่านรับรองไว้

    4. ฉันในบาตร กริยานี้บางท่านก็ว่าเป็นข้อต่างของสองนิกาย เพราะธรรมยุติมักจะฉันในบาตร แต่พระมหานิกายรับบาตรแล้วแยกฉันในจาน ข้อนี้ก็ตอบยากเพราะมีวัดธรรมยุติที่ไม่ใช่สายป่าบางวัดก็ฉันในจาน และพระมหานิกายบางรูปที่ถือธุดงควัตรข้อนี้ก็ฉันแต่ในบาตร
    เกร็ด : ถ้าจะนำบาตรไปถวายพระป่า ควรเลือกปากกว้างซัก 9 นิ้ว และไม่มีขอบเพื่อกันเศษอาหารเข้าไปติดบูดเน่าได้นะครับ

    5. การรับบาตร และเก็บอาหาร พระสายป่าท่านจะเคร่งเรื่องนี้ครับ ว่ารับเฉพาะของที่ฉันได้ทันที ดังนั้นจะไม่รับของแห้งพวกข้าวสาร หรือของที่ฉันไม่ได้เช่น แปรงสีฟัน ใส่ในบาตร แม้เป็นเพียงการรับเชิงสัญลักษณ์ เช่นตักบาตรปีใหม่ ท่านจะเสี่ยงให้ถวายกับมือแทน หรือ ถวายเป็นสังฆทานกองรวมไป และ ก็จะไม่เก็บอาหารพ้นกาล เช่น อาหารทั่วไป ถึงเที่ยง น้ำปานะ หนึ่งวัน เภสัชห้า (น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล เนยใส เนยข้น)เจ็ดวัน พ้นนี้ไปท่านไม่เก็บในกุฏิ แม้ไว้ให้ญาติโยม และไม่มีการนำมาประเคนใหม่ แต่ก็ไม่ใช่พระทั้งหมดที่ทำตามข้อวัตรนี้ และผู้ที่ถือตามนี้ก็มีทั้งสองนิกายด้วยเช่นกัน
    เกร็ด : พระอาจารย์เปลี่ยนท่านห่วงโยมว่าจะไม่เข้าใจเรื่องนี้ เลยเมตตาเขียนไว้เป็นคู่มือการถวายของพระครับพุทธศาสนิกชนควรอ่านทำความเข้าใจนะครับ หนังสือมีคุณค่ามากๆเล่มนึง

    6. พระธรรมยุติไม่ทำสังฆกรรมร่วมกับพระมหานิกายครับ เช่น การลงอุโบสถ อย่างที่หลวงปู่มั่นให้หลวงปู่ชาทำ คือ มาบอกบริสุทธิ์ กับท่านหลังจากพระธรรมยุติรูปอื่นๆ ชำระศีลผ่านขั้นตอนปาฏิโมกข์เรียบร้อยแล้วจึงเห็นได้ว่า ลูกศิษย์ที่เคยเป็นสายมหานิกาย ต้องทำการญัตติ หรือบวชเป็นพระ เริ่มนับพรรษาใหม่

    สรุป
    การ มองอย่างผิวเผินโดยการนำข้อวัตรของสองนิกายนี้มาเปรียบหาแต่ความแตกต่างกัน ทำได้ยากขึ้นทุกทีๆ เพราะมีการโน้มเข้ามาหากันมากขึ้น หรืออาจจะเกิดจาก perception ที่ตั้งไว้ผิดตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว และ อีกอย่างการคิดในการหาข้อต่างอย่างเดียวอาจเสี่ยงให้เกิดการยึดมั่นในศรัทธา ต่อนิกายหนึ่งนิกายใด จนลืมไปว่าธรรมะของพระองค์ไม่มีแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เพราะการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายก็คือการมีตัวตนอยู่ในนั้น และสุดยอดของคำสอนคือการละตัวตนเพือมิให้มีกิเลสมาอาศัยเกาะได้ถึงตรงนี้ต้องกราบหลวงปู่มั่นงามๆที่เล็งเห็นในอันตรายนี้จึงห้ามมิให้ลูกศิษย์บางส่วนเช่น หลวงปู่ชาญัตติเข้าธรรมยุติครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2010
  20. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    http://kai1981.multiply.com/reviews/item/4

    เป็นบทความดี ๆ ของคุณ muangkaew ที่เขียนเมื่อปี พ.ศ. 2548 เกี่ยวกับประวัติของคณะสงฆ์ในธรรมยุตินิกายครับ เป็นบทความที่แยกแยะความแตกต่างในด้านวัตรปฏิบัติ การนุ่งห่มและระเบียบในคณะสงฆ์ของธรรมยุตและมหานิกายไว้อย่างละเอียดครับ

    บทความนี้ผมเขียนขึ้นเอง จากการศึกษาเอกสารหลักฐานต่างๆประกอบกับประสบการณ์ของตนเอง ได้ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว จึงได้เอามาฝากให้อ่านกันเป็นความรู้ครับ ต่อไปจะมีบทความอื่นที่เป้นประโยชน์ทยอยมาเรื่อยๆ ถ้ามีใครสงสัยอะไรก็ถามมาได้ครับ จะตอบให้เท่าที่ภูมิความรู้อันน้อยนิดนี้จะอำนวย

    นับแต่อดีตพระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแพร่และประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยเกินกว่าพันปีแล้ว โดยเข้ามาทั้งสายอาจริยวาท(มหายาน)และเถรวาท(หินยาน) แต่ในปัจจุบันสายอาจริยวาทนั้นมีผู้นับถือเพียงส่วนน้อย เป็นกลุ่มๆไปในแต่ละแห่ง เช่น คณะสงฆ์จีนนิกาย คณะสงฆ์อนัมนิกาย เป็นต้น มีเพียงสายเถรวาทที่ยังคงเจริญรุ่งเรืองแพร่หลายและนับถือสืบทอดกันมาในทุกภูมิภาคและยังได้แพร่หลายไปในต่างประเทศด้วย โดยคณะสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยนั้น แบ่งย่อยเป็น2 นิกายด้วยกัน คือ มหานิกาย ซึ่งมีพระสงฆ์อยู่จำนวน 80 กว่า% ของพระสงฆ์ทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีก 10กว่า% คือพระสงฆ์ในธรรมยุติกนิกาย
    คณะสงฆ์มหานิกาย คือ คณะสงฆ์ที่นับถือและปฏิบัติสืบมาแต่นิกายลังกาวงศ์ คือ ประเทศลังกา อันเป็นแบบดั้งเดิม ส่วนคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายไว้ว่า “ธรรมยุติกนิกาย คือ พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย สืบสายต่อกันลงมา” คำว่า “ธรรมยุต” แปลว่า “ผู้ประกอบด้วยธรรม” หรือ “ชอบด้วยธรรม” หรือ “ยุติตามธรรม” หมายถึง คณะสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่าข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติในข้อนั้น โดยเว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นข้อปฏิบัติที่ประพฤติตามกันมาแต่ผิดธรรมวินัยก็ตาม
    คณะสงฆ์ธรรมยุตกำเนิดขึ้นจากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 แต่ครั้งยังมิได้ทรงครองราชย์และได้ทรงผนวชเป็นภิกษุในคณะสงฆ์มหานิกายอันนับถือมาแต่ดั้งเดิม เมื่อ พ.ศ.2367 มีพระนามว่า “วชิรญาโณ” เสด็จประทับ ณ วัดมหาธาตุ และได้เสด็จไปทรงศึกษาวิปัสสนาธุระที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) และวัดราชสิทธาราม จนทรงเข้าใจเจนจบสิ้นความรู้ของพระอาจารย์ที่จะสอนได้ เมื่อทรงสงสัยไต่ถาม พระอาจารย์ก็มิสามารถตอบได้ ทูลแต่ว่าครูอาจารย์เคยสอนมาอย่างนี้เท่านั้น เป็นเหตุให้ทรงท้อถอยในวิปัสสนาธุระ จึงเสด็จกลับมาประทับที่วัดมหาธาตุเพื่อศึกษาด้านคันถธุระ เพื่อให้สามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ด้วยพระองค์เอง ทรงศึกษาด้านภาษาบาลีจนแตกฉาน จนครั้งหนึ่งได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมต่อหน้าพระที่นั่งตามที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอให้แปลให้ฟัง จึงทรงแปลพอเฉลิมพระราชศรัทธาเพียง 5 ประโยค ทั้งที่ทรงภูมิความรู้สูงกว่านั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก 9 ประโยค ให้ทรงถือเป็นสมณศักดิ์
    เมื่อทรงศึกษาพระไตรปิฎกโดยละเอียด ก็ทรงพบว่าข้อปฏิบัติทางพระวินัยของภิกษุบางหมู่ในเวลานั้นมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากพระธรรมวินัยมาช้านานแล้ว จึงสลดพระทัยในการจะทรงเพศบรรพชิตต่อไป วันหนึ่งเสด็จเข้าสู่พระอุโบสถวัดมหาธาตุ ทรงอธิษฐานขอให้ได้พบวงศ์บรรพชาอุปสมบทที่บริสุทธิ์สืบเนื่องมาแต่พระพุทธเจ้าแต่ดั้งเดิมภายใน7วัน มิฉะนั้นจะทรงเข้าพระทัยว่าพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์สิ้นแล้ว ก็จะสึกเป็นฆราวาสไปรักษาศีลห้าศีลแปด ครั้นผ่านไปได้สักสองสามวัน ก็ได้ทรงได้ยินข่าวพระเถระชาวรามัญ(มอญ)รูปหนึ่ง ชื่อ ซาย พุทธวํโส บวชมาจากเมืองมอญ ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระสุเมธมุนี อยู่ที่วัดบวรมงคล(อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงกันข้ามกับวัดสมอราย) เป็นผู้ชำนาญในพระวินัยปิฎก และประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงเสด็จไปทรงศึกษาด้วย พระสุเมธมุนีได้ทูลอธิบายถึงวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณีที่ท่านได้อุปสมบทมาให้ทรงทราบอย่างละเอียด ชี้ให้เห็นชัดว่าวงศ์บรรพชาอุปสมบทนี้มีเชื้อสายมาจากพระอนุรุทธเถระ เชื่อมโยงมาจนถึงพระอุปัชฌาย์ของพระสุเมธมุนีได้ 88 ชั่วคนแล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามพระพุทธพจน์ที่ทรงศึกษาจากพระไตรปิฎก จึงมีพระราชศรัทธาที่จะประพฤติตามแบบพระมอญ และเนื่องจากทรงพิจาณาเห็นว่าอุปสมบทวิธีตามแบบรามัญน่าจะถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติมากที่สุดในเวลานั้น จึงทรงทำทัฬหีกรรม คือ ทรงอุปสมบทซ้ำในคณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณีอีกครั้งหนึ่ง ณ วัดสมอราย โดยมีพระสุเมธมุนี (ซาย พุทธวํโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ. 2368 อันเป็นปีที่ทรงผนวชได้ 2 พรรษา และเสด็จกลับไปประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุตามเดิม
    การที่คณะสงฆ์ไทยได้แยกออกเป็น 2 นิกายนี้ มีคนจำนวนมากที่ไม่เข้าใจว่าเหตุใดต้องตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตขึ้นเป็นนิกายใหม่ บางคนถึงขั้นติเตียนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงทำสังฆเภท คือ ทำให้สงฆ์แตกกัน อันเป็นอนันตริยกรรม คือ กรรมอันชั่วช้าที่สุดในทางพระพุทธศาสนา บางคนมีความคิดที่จะพยายามรวมคณะสงฆ์มหานิกายและธรรมยุตเข้าด้วยกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตขึ้น โดยยึดพระธรรมวินัยเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ เป็นผลให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติตนทางด้านพระวินัยของคณะสงฆ์ทั่วประเทศ ตลอดถึงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ เป็นผลให้พระพุทธศาสนาเจริญมั่นคงสืบมาถึงปัจจุบัน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุตด้วย ได้ทรงกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “....การที่ภิกษุสงฆ์แยกออกเป็นนิกายต่างๆ ไม่ใช่เป็นการแปลก มีในทุกๆประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และการที่แยกกันออกไปนี้ อาจกล่าวได้ตามประวัติศาสตร์ว่าต้องมีเป็นธรรมดา ถึงพยายามรวมให้เป็นหนึ่งสักเท่าไรก็ไม่สำเร็จ อาจสำเร็จได้ชั่วคราว แต่ต่อมาไม่นานก็กลับแยกกันออกไปอีก ในศาสนาอื่นๆก็มีแยกเป็นลัทธินิกายต่างๆเหมือนกัน การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามิใช่อยู่ที่การพยายามเพื่อรวมนิกายสงฆ์ แต่อยู่ที่การพยายามให้พระสงฆ์ทุกนิกายตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย ส่วนการรวมกันนั้น เมื่อดีเสมอกันหรือเสื่อมเสมอกัน ก็รวมกันเข้าได้เอง...”

    สำหรับความแตกต่างกันของพระพระมหานิกายและพระธรรมยุตนั้น นอกจากจะมีที่มาต่างกันดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อปฏิบัติหลายประการที่ต่างกันอย่างมาก เนื่องจากคณะธรรมยุตยึดถือพระธรรมวินัยเป็นหลักปฏิบัติ จึงเคร่งครัดในด้านพระวินัยเป็นอย่างยิ่ง เช่น การอุปสมบท นาคจะต้องกล่าวคำขออุปสมบทให้ได้ด้วยตนเอง โดยจะต้องถูกต้องตามสำเนียงภาษามคธ ซึ่งออกเสียงค่อนข้างยากสำหรับผู้ไม่คุ้นเคย จะไม่มีการบอกให้นาคพูดตาม หากไม่สามารถกล่าวคำขออุปสมบทด้วยตนเอง จะไม่ได้รับอนุญาตให้อุปสมบท การสวดมนต์ก็จะสวดด้วยสำเนียงภาษามคธด้วยเช่นกัน นอกจากนี้พระธรรมยุตจะไม่จับเงิน เนื่องจากปฏิบัติตามพระวินัยซึ่งมีมาในพระปาฏิโมกข์ข้อที่ห้ามจับเงินจับทอง หากคฤหัสถ์จะถวายปัจจัย (คือเงิน) จะต้องถวายด้วยใบปวารณาแทน ส่วนปัจจัยให้มอบต่อไวยาวัจกรหรือโยมวัดจัดการแทน การห่มผ้าของพระธรรมยุตจะเหมือนกันหมดทั้งหมด คือ ห่มแหวก โดยใช้ผ้าสีแก่นขนุน (คล้ายสีน้ำตาล) และผ้าสังฆาฏิจะเป็นผ้า 2 ชั้น คือ เหมือนผ้าจีวร 2 ผืนเย็บติดกันนั่นเอง การฉันภัตตาหารก็เช่นกัน พระสงฆ์ในธรรมยุตจะเทอาหารทั้งคาวหวานลงในภาชนะใบเดียวกันแล้วจึงฉัน หรือที่เรียกว่า "การฉันอย่างสำรวม"เป็นต้น
    การประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดนี้มิได้มีแต่ในคณะสงฆ์ธรรมยุตเท่านั้น แต่ในคณะสงฆ์มหานิกายบางกลุ่มก็มีการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดด้วยเช่นกัน เช่น กลุ่มพระมหานิกายศิษย์พระอาจารย์ชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง เนื่องจากพระอาจารย์ชา สุภทฺโท เป็นหนึ่งในพระมหานิกายหลายรูปที่ได้ไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต โดยมิได้อุปสมบทใหม่เป็นพระธรรมยุต เช่นเดียวกับ พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล พระอาจารย์กินรี จนฺทิโย พระอาจารย์บุญมี ญาณมุนี ด้วยพระอาจารย์มั่นประสงค์จะให้มีผู้นำในการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในฝ่ายมหานิกายด้วย จึงไม่อนุญาตให้ศิษย์เหล่านี้อุปสมบทเป็นพระธรรมยุต โดยท่านให้เหตุผลว่ามรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ และต่อมาก็ได้ปรากฏพระมหานิกายผู้ที่มีหลักฐานและเหตุผลอันควรเชื่อถือได้ว่าเป็นพระอริยเจ้าผู้ทรงมรรคผลจริง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีความสำคัญเหนือนิกายและสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น และเป็นเหตุนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง

    บรรณานุกรม
    สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช. พุทธศาสนวงศ์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2543.
    พระพรหมมุนี (อ้วน ติสฺโส). ที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาและฉลองพระอุโบสถ วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2479.
    คณะศิษยานุศิษย์. พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, 2546.
    คณะศิษยานุศิษย์. บูรพาจารย์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, 2545.
    พระอาจารย์อุเทน กลฺยาโณ. มณีรัตน์ อัญมณีแห่งไพรสณฑ์ ประวัติและธรรมหลวงปู่ครูบาจารย์เฒ่าทองรัตน์ กนฺตสีโล. กรุงเทพฯ : ปาปิรุสพับลิเคชั่น, 2546.
    สุเชาวน์ พลอยชุม. ประวัติคณะธรรมยุติกนิกาย. (ม.ป.ท.) : (ม.ป.พ.), 2542.


    ที่มา บทความเรื่อง "ประวัติพระสงฆ์ธรรมยุตนิกาย" โดยคุณ muangkaew จากเว็บไซต์ http://www.bkkonline.com/scripts/dhammayut/detail.asp?id=12
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...