เมื่อประวัติศาสตร์โลก...พลิกหน้าใหม่

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 12 ธันวาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>เมื่อประวัติศาสตร์โลก...พลิกหน้าใหม่</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] ขณะที่ประวัติศาสตร์โลกแบบ "ยุโรปนิยม" หรือการพรรณนาความยิ่งใหญ่นับแต่สมัยเมโสโปเตเมียและอียิปต์โบราณที่เดินทางมาสู่ยุคกรีก โรมัน...กำลังจะสิ้นพลัง พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช


    จักรพรรดิมองโกล เป็นเรื่องที่ค่อยๆ ไกลห่างออกไป ทางเลือกใหม่ในการศึกษาประวัติศาสตร์ได้เริ่มฉายภาพความยิ่งใหญ่ขึ้น บทบาทประวัติศาสตร์โลกจากสหรัฐอเมริกามหาอำนาจยุคปัจจุบัน กำลังจะก้าวเข้ามาเป็นอีกหนึ่งบรรทัดฐาน
    คำถามก็คือ...เราพร้อมที่จะทำความเข้าใจเพื่อการเดินหน้าไปกับศตวรรษใหม่แล้วหรือยัง...คำตอบอยู่ในบางส่วนของการเสวนาเปิดตัวหนังสือจากเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ที่อมรินทร์ คอร์ปอเรท ปาร์ค เมื่อเร็วๆ นี้ กับ "พลิกประวัติศาสตร์โลก" โดยการค้นคว้าของ แพทริเซีย เอส. แดเนียลส์ และ สตีเวน จี. ไฮสลอป แปลเป็นภาษาไทยโดย คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์
    สำหรับ ผศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด เธอเลือกที่จะมองประวัติศาสตร์โลกจากมุมของ "พลังทุนนิยม" โดยให้มุมมองว่า อารยธรรมของโลกเกี่ยวข้องกับระบบทุนนิยมมาโดยตลอด อาณาจักรในอดีตต่างมีพื้นฐานในทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่นประเทศอังกฤษกับการล่าอาณานิคมในอดีต ซึ่งจริงๆ แล้ว อังกฤษก็ไม่ได้ต้องการปกครองประเทศเมืองขึ้นเหล่านั้น แต่จะเข้าไปมีบทบาทของการค้าเสียมากกว่า
    "พลังสำคัญที่สุดที่อยู่เบื้องหลังโลกาภิวัตน์ก็คือพลังทุนนิยม ถ้าเผื่อจะเข้าใจโลกาภิวัตน์แล้ว เราจะต้องตั้งคำถามว่าพลังศูนย์กลางทุนนิยมโลกในปัจจุบันอยู่ที่ไหน สิ่งที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคืออะไร เพราะยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พลังที่ผลักดันมากที่สุดคือพลังของทุนนิยมอุตสาหกรรม ขณะที่ปัจจุบันพลังทุนนิยมสำคัญที่สุดที่มีสหรัฐเป็นผู้นำ คือทุนนิยมทางด้านการเงิน ถ้าเราไม่เข้าใจแนวคิดตรงนี้ก็จะยังไม่เข้าใจปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ที่อยู่ข้างหน้า" ดร.กุลนัดดา กล่าว
    ด้าน ดร.ไมเคิล เจ มอนเตซาโน บอกว่า ตัวเขาเองเมื่อก่อนไม่สนใจประวัติศาสตร์โลก แต่ต้องมาศึกษาเพราะการทำงาน ขณะที่ชาวสหรัฐอเมริกาจะถูกกระตุ้นให้ศึกษาประวัติศาสตร์โลกแนวคิดใหม่ๆ ตั้งแต่ในชั้นเรียน เช่น ความต่อเนื่องของการเปลี่ยนแปลงระดับโลกทั้งสังคม การทูต การค้า ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สาธารณสุข โครงสร้างทางสังคม การเชื่อมโยงทางศาสนาแนวคิดปรัชญาศาสนา ฯลฯ อย่างในหนังสือพลิกประวัติศาสตร์โลกนี้ จะเป็นการมองประวัติศาสตร์โลกแบบอเมริกัน ซึ่งเขาอยากเห็นมุมมองประวัติศาสตร์โลกที่เขียนจากทวีปเอเชียว่าเป็นอย่างไร จะแตกต่างจากที่เป็นอยู่หรือไม่
    ด้าน คุณากร ผู้แปลหนังสือ แจกแจงว่า เวลาที่เราได้ยินคำว่าประวัติศาสตร์โลก เรามักจะนึกถึงเหตุการณ์ของประเทศต่างๆ ที่เอามารวมกัน แต่ความจริงแล้ว พัฒนาการประวัติศาสตร์โลกสามารถมองได้จากหลายแง่ แม้แต่จากภูมิศาสตร์ โรคร้ายต่างๆ ฯลฯ แต่อย่างที่รู้กันดีว่า เรามักได้รับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความสำคัญในระดับสากล ขณะที่ในหนังสือประวัติศาสตร์อีกหลายเล่ม ไม่ได้กล่าวถึงจักรวรรดิขอม ราชวงส์ซ่ง หรือการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ซึ่งในการพลิกประวัติศาสตร์แบบอเมริกันเล่มนี้ได้ให้น้ำหนักไปถึงสังคมต่างๆ นอกทวีปยุโรปมากขึ้น ทั้งเอเชีย โลกอิสลาม แอฟริกา
    "ประวัติศาสตร์โลก ก็เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์แบบอื่นๆ นั่นคือเป็นเรื่องราวที่เรียบเรียงขึ้นจากการคัดเลือกของตัวผู้เขียนประวัติศาสตร์เอง คำว่าประวัติศาสตร์ หรือ 'history' ก็อาจแปลได้ว่า 'เรื่องของเขา' (his-story) โดย 'เขา' ในเมื่อประวัติศาสตร์ที่เรารู้จักมีรากฐานจากการศึกษาโลกตะวันตกเป็นหลัก จึงไม่น่าแปลกใจที่เนื้อหาหนังสือส่วนใหญ่ที่เราได้อ่าน มักวนเวียนอยู่กับเรื่องตะวันตกมากกว่าสังคมอื่น" คุณากร ให้ความเห็น
    ปิดท้ายกับคำบอกเล่าของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ว่า นักศึกษาและนักวิชาการพวก "โมเดิร์น" เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยรื้อหลักสูตรประวัติศาสตร์คลาสสิกพวกกรีกและโรมันให้กลายมาเป็นการสอนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การเรียนการสอนประวัติใดๆ ก็ตามที่มีวัตถุประสงค์ให้เกิดสำนึกในเอกภาพของความเป็นมนุษย์ ไม่ได้มองว่าใครต่างจากเรา เพียงแค่เขานับถือต่างศาสนา หรือต่างเชื้อชาติต่างเผ่าพันธุ์นั้น ต้องสอนปรัชญาควบคู่ไปด้วย "คุณจะไม่สามารถสอนประวัติศาสตร์โลกโดยขาดวิธีการมองโลกหรือมองชีวิต ขาดคุณค่าหรือขาดความเชื่อใดๆ ว่ามนุษย์คืออะไร ถ้าคุณไม่มีสิ่งนี้ ก็จะไม่รู้ว่าต้องรู้พวกประวัติศาสตร์โลกไปทำไม เพราะมันไม่ได้เกี่ยวกับตัวเรา การเรียนการสอนประวัติศาสตร์โลกในเมืองไทย ผมคิดว่ามันไร้จุดหมาย เพราะเราไม่เคยคิดถึงรากฐานว่ามันต้องประกอบด้วยฐานปรัชญา เป้าหมายและพื้นฐานอะไรบางอย่าง" อ.นิธิ ทิ้งท้าย เพราะประวัติศาสตร์โลก ไม่ได้หมายความถึงแค่เรื่องราวของชาติมหาอำนาจ จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่เพียงเท่านั้น แม้กำมือของชาวนา ชาวไร่ ก็สามารถสร้างความสะเทือนให้มวลมนุษยชาติได้เช่นกัน

    -->[​IMG]
    ขณะที่ประวัติศาสตร์โลกแบบ "ยุโรปนิยม" หรือการพรรณนาความยิ่งใหญ่นับแต่สมัยเมโสโปเตเมียและอียิปต์โบราณที่เดินทางมาสู่ยุคกรีก โรมัน...กำลังจะสิ้นพลัง พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
    จักรพรรดิมองโกล เป็นเรื่องที่ค่อยๆ ไกลห่างออกไป ทางเลือกใหม่ในการศึกษาประวัติศาสตร์ได้เริ่มฉายภาพความยิ่งใหญ่ขึ้น บทบาทประวัติศาสตร์โลกจากสหรัฐอเมริกามหาอำนาจยุคปัจจุบัน กำลังจะก้าวเข้ามาเป็นอีกหนึ่งบรรทัดฐาน
    คำถามก็คือ...เราพร้อมที่จะทำความเข้าใจเพื่อการเดินหน้าไปกับศตวรรษใหม่แล้วหรือยัง...คำตอบอยู่ในบางส่วนของการเสวนาเปิดตัวหนังสือจากเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ที่อมรินทร์ คอร์ปอเรท ปาร์ค เมื่อเร็วๆ นี้ กับ "พลิกประวัติศาสตร์โลก" โดยการค้นคว้าของ แพทริเซีย เอส. แดเนียลส์ และ สตีเวน จี. ไฮสลอป แปลเป็นภาษาไทยโดย คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์
    สำหรับ ผศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด เธอเลือกที่จะมองประวัติศาสตร์โลกจากมุมของ "พลังทุนนิยม" โดยให้มุมมองว่า อารยธรรมของโลกเกี่ยวข้องกับระบบทุนนิยมมาโดยตลอด อาณาจักรในอดีตต่างมีพื้นฐานในทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่นประเทศอังกฤษกับการล่าอาณานิคมในอดีต ซึ่งจริงๆ แล้ว อังกฤษก็ไม่ได้ต้องการปกครองประเทศเมืองขึ้นเหล่านั้น แต่จะเข้าไปมีบทบาทของการค้าเสียมากกว่า
    "พลังสำคัญที่สุดที่อยู่เบื้องหลังโลกาภิวัตน์ก็คือพลังทุนนิยม ถ้าเผื่อจะเข้าใจโลกาภิวัตน์แล้ว เราจะต้องตั้งคำถามว่าพลังศูนย์กลางทุนนิยมโลกในปัจจุบันอยู่ที่ไหน สิ่งที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคืออะไร เพราะยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พลังที่ผลักดันมากที่สุดคือพลังของทุนนิยมอุตสาหกรรม ขณะที่ปัจจุบันพลังทุนนิยมสำคัญที่สุดที่มีสหรัฐเป็นผู้นำ คือทุนนิยมทางด้านการเงิน ถ้าเราไม่เข้าใจแนวคิดตรงนี้ก็จะยังไม่เข้าใจปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ที่อยู่ข้างหน้า" ดร.กุลนัดดา กล่าว
    ด้าน ดร.ไมเคิล เจ มอนเตซาโน บอกว่า ตัวเขาเองเมื่อก่อนไม่สนใจประวัติศาสตร์โลก แต่ต้องมาศึกษาเพราะการทำงาน ขณะที่ชาวสหรัฐอเมริกาจะถูกกระตุ้นให้ศึกษาประวัติศาสตร์โลกแนวคิดใหม่ๆ ตั้งแต่ในชั้นเรียน เช่น ความต่อเนื่องของการเปลี่ยนแปลงระดับโลกทั้งสังคม การทูต การค้า ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สาธารณสุข โครงสร้างทางสังคม การเชื่อมโยงทางศาสนาแนวคิดปรัชญาศาสนา ฯลฯ อย่างในหนังสือพลิกประวัติศาสตร์โลกนี้ จะเป็นการมองประวัติศาสตร์โลกแบบอเมริกัน ซึ่งเขาอยากเห็นมุมมองประวัติศาสตร์โลกที่เขียนจากทวีปเอเชียว่าเป็นอย่างไร จะแตกต่างจากที่เป็นอยู่หรือไม่
    ด้าน คุณากร ผู้แปลหนังสือ แจกแจงว่า เวลาที่เราได้ยินคำว่าประวัติศาสตร์โลก เรามักจะนึกถึงเหตุการณ์ของประเทศต่างๆ ที่เอามารวมกัน แต่ความจริงแล้ว พัฒนาการประวัติศาสตร์โลกสามารถมองได้จากหลายแง่ แม้แต่จากภูมิศาสตร์ โรคร้ายต่างๆ ฯลฯ แต่อย่างที่รู้กันดีว่า เรามักได้รับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความสำคัญในระดับสากล ขณะที่ในหนังสือประวัติศาสตร์อีกหลายเล่ม ไม่ได้กล่าวถึงจักรวรรดิขอม ราชวงส์ซ่ง หรือการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ซึ่งในการพลิกประวัติศาสตร์แบบอเมริกันเล่มนี้ได้ให้น้ำหนักไปถึงสังคมต่างๆ นอกทวีปยุโรปมากขึ้น ทั้งเอเชีย โลกอิสลาม แอฟริกา
    "ประวัติศาสตร์โลก ก็เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์แบบอื่นๆ นั่นคือเป็นเรื่องราวที่เรียบเรียงขึ้นจากการคัดเลือกของตัวผู้เขียนประวัติศาสตร์เอง คำว่าประวัติศาสตร์ หรือ 'history' ก็อาจแปลได้ว่า 'เรื่องของเขา' (his-story) โดย 'เขา' ในเมื่อประวัติศาสตร์ที่เรารู้จักมีรากฐานจากการศึกษาโลกตะวันตกเป็นหลัก จึงไม่น่าแปลกใจที่เนื้อหาหนังสือส่วนใหญ่ที่เราได้อ่าน มักวนเวียนอยู่กับเรื่องตะวันตกมากกว่าสังคมอื่น" คุณากร ให้ความเห็น
    ปิดท้ายกับคำบอกเล่าของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ว่า นักศึกษาและนักวิชาการพวก "โมเดิร์น" เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยรื้อหลักสูตรประวัติศาสตร์คลาสสิกพวกกรีกและโรมันให้กลายมาเป็นการสอนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การเรียนการสอนประวัติใดๆ ก็ตามที่มีวัตถุประสงค์ให้เกิดสำนึกในเอกภาพของความเป็นมนุษย์ ไม่ได้มองว่าใครต่างจากเรา เพียงแค่เขานับถือต่างศาสนา หรือต่างเชื้อชาติต่างเผ่าพันธุ์นั้น ต้องสอนปรัชญาควบคู่ไปด้วย "คุณจะไม่สามารถสอนประวัติศาสตร์โลกโดยขาดวิธีการมองโลกหรือมองชีวิต ขาดคุณค่าหรือขาดความเชื่อใดๆ ว่ามนุษย์คืออะไร ถ้าคุณไม่มีสิ่งนี้ ก็จะไม่รู้ว่าต้องรู้พวกประวัติศาสตร์โลกไปทำไม เพราะมันไม่ได้เกี่ยวกับตัวเรา การเรียนการสอนประวัติศาสตร์โลกในเมืองไทย ผมคิดว่ามันไร้จุดหมาย เพราะเราไม่เคยคิดถึงรากฐานว่ามันต้องประกอบด้วยฐานปรัชญา เป้าหมายและพื้นฐานอะไรบางอย่าง" อ.นิธิ ทิ้งท้าย เพราะประวัติศาสตร์โลก ไม่ได้หมายความถึงแค่เรื่องราวของชาติมหาอำนาจ จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่เพียงเท่านั้น แม้กำมือของชาวนา ชาวไร่ ก็สามารถสร้างความสะเทือนให้มวลมนุษยชาติได้เช่นกัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. spiderwolf

    spiderwolf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +88
    เห็นด้วยครับ แต่สำหรับผม ประวัติศาสตร์ ก็ เรื่องราวที่ ผู้ชนะหรือบุคคลที่ยอมรับในขณะนั้นเป็นคนกำหนดบางทีก็ใส่เวอร์ก็มี เห็นมาหลาย แล้ว ลองศึกษาจิงๆๆ ไม่เห็น ตรงกันซักที แต่ถ้าเราลองรับแต่สิ่งดีๆๆที่อยู่ในเรื่องนั้นๆๆก็ ถือ ว่าเป็นการพัฒนาตนเอง และแก้ไข ในสิ่งนั้นๆๆได้
    *ปวดหัวจิงๆๆกับประวัติศาสตร์อินเดีย เอิ้ก
     
  3. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    การใช้ฟืนดับไฟ ไม่เข้าการ
    ถูกเผาผลาญจนสิ้น มีขึ้นใหม่
    จะเกิดโจรราวี อัคคีภัย
    การแก้ไขให้พากเพียร บำเพ็ญธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...