เกร็ดประวัติศาสตร์ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ทางสายธาตุ, 3 ตุลาคม 2010.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระราชพิธีอาศวยุช งานบุญออกพรรษา เดือน ๑๑

    <!-- google_ad_section_start -->พระราชพิธีอาสวยุทธ ไม่รู้ควรจะเขียนอย่างไรจึงจะถูกต้องเหมือนกันค่ะ ทีแรกอ่านชื่อพระราชพิธีแล้วคิดว่าเป็นพระราชพิธีที่จัดไว้สำหรับการแสดงแสนยานุภาพทางน้ำของกองทัพกรุงศรีอยุธยาเสียอีก แต่เมื่อมาทราบความจริงจากบอร์ดนิทรรศการในพระราชวังจันทร์เกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงได้ทราบความหมายที่แท้จริงว่า พระราชพิธีอาศวยุชนี้เป็นพระราชพิธีการแข่งเรือเสี่ยงทาย ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับพระอัครมเหสี


    สรุปว่าการแข่งเรือในพระราชพิธีนี้ โดยมากเรือพระที่นั่งไกรสรมุข จะต้องชนะเรือพระที่นั่งสมรรถชัยเสมอ หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เรือพระที่นั่งของพระอัครมเหสีควรจะต้องชนะเรือพระที่นั่งขององค์พระมหากษัตริย์เสมอเพื่อให้ข้าวเหลือกินอิ่ม สุขเกษมเปรมประชา

    โดยเรื่องศักราชมีความเห็นว่าต้องปรับปรุงเพราะดูจากหลักฐานเรื่องการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารถเพื่อการพระราชกุศล(อาจเป็นพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน) ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปีศักราชน่าจะต้องสอดคล้องกันกับหลักฐานของบาทหลวงชาวสเปน คือเป็นปี พ.ศ. ๒๑๓๖

    การพระราชพิธีอาสวยุทธที่กระทำกันใน จ.ศ. ๙๔๕ ปีมะแมเบญจศก (พ.ศ. ๒๑๒๖) นั้นน่าจะผิด เพราะปีศักราชดังกล่าวยังคงอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชผู้พระราชบิดาแต่เมื่อสอบกับ พระราชพงศาวดารฯฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์แล้ว ควรปรับเป็น จ.ศ. ๙๕๕ มะเส็งศก (พ.ศ.๒๑๓๖) ช้ากว่ากัน ๑๐ ปี ดังนั้นการต้อนรับทูตกัมพูชาใน จ.ศ. ๙๔๙ ปีกุนนพศก (พ.ศ.๒๑๓๐) ควรปรับปีศักราชให้ช้าตามไปด้วยอีก ๑๐ ปีเช่นกัน จึงควรเป็น จ.ศ. ๙๕๙ ปีระกานพศก (พ.ศ. ๒๑๔๐) โดยทั้งสองเหตุการณ์จะอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทั้งสิ้นตรงตามที่กล่าวไว้ใน พระราชพงศาวดารฯ พระจักรพรรดิพงศ์ (จาด)

    ในจดหมายเหตุของสเปนยังได้ระบุพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ด้วย แต่มิได้ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินหรือไม่

    ดังนั้นในการพระราชพิธีอาศวยุชหรือพระราชพิธีอาสวยุทธเมื่อ จ.ศ. ๙๕๕ มะเส็งศก หรือ พ.ศ.๒๑๓๖ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงออกงานพระราชพิธีแข่งเรือเสี่ยงทายพร้อมพระอัครมเหสีของพระองค์


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2011
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เรือจำลอง เรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย

    [​IMG]

    เรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย เป็นเรือกิ่ง พื้นดำ เป็นเรือทรงคู่กับเรือไกรสรมุขของพระอรรคมเหสี ถึงฤดูเดือน 11 เชิญลงน้ำแข่งเสี่ยงทาย ถ้าเรือศรีสมรรถชัยชนะจะเกิดภัยพิบัติ ถ้าแพ้จะมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์​
     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    “ลุศักราช ๙๔๕ ปีมะแมศกเบญจศก สมเด็จพระนเรศเป็นเจ้า ครั้นเสด็จการพระราชพิธีอาสวยุทธแล้ว มีพระราชบริหารสั่งให้เกณฑ์ทัพเตรียมไว้ และพลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย กำหนดเดือนอ้ายจะยกไปตีกรุงกัมพูชาธิบดี...”

    พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


    [​IMG]


    ประดิษฐานบริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ ริมเส้นทางหลวงหมายเลข 33 ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอวัฒนานคร การจัดสร้างอนุสาวรีย์นี้ เนื่องมาจากในอดีตกาลอำเภอวัฒนานครเป็นพื้นที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ เคยเสด็จมาประทับในการสงครามแถบดินแดนบูรพา เมื่อปี พ.ศ. 2136 พระบรมรูปประทับยืน มีความสูง 280 เมตร ชูดาบเหนือศิรเศียร แสดงพระราชอำนาจในการปกครอง ปกป้องรักษาพสกนิกรของพระองค์
    "
     
  4. weruwan

    weruwan เวฬุวัน ว.มุจลินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +537
    เราขออนุโมทนาจิตต่อท่านที่จงรักนำพระองค์เหนือหัวนเรศวรมหาราชเจ้ามาเผยแผ่
    ให้ชาวสยามได้รู้จักถิ่นประเพนีแห่งอโยธยาศรีรามเทพนครที่เคยรุ่งเรืองในอดีตเสียยิ่งนัก

    ขอความจำเริญพึงมีต่อท่านทุกคราเถิด
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตำนานทัพองค์ดำ และเขาฉกรรจ์

    ตำนานมีอยู่ว่าสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชครองกรุงศรีอยุธยา ได้มีสัมพันธไมตรีกับเขมร แต่เขมรไม่ซื่อตรง คราวใดที่ไทยติดศึกสงครามกับพม่า เขมรมักจะยกทัพเข้ามาริบทรัพย์ และกวาดต้อนชาวไทยไปเป็นเชลยเสมอ แต่เมื่อใดที่ไทยสุขสงบดี เขมรก็จะทำตัวเป็นมิตรที่ดี เมื่อเป็นเช่นนี้บ่อยเข้า สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงไม่พอพระทัย ครั้นว่างจากศึกก็ยกกองทัพเล็กๆ ไปปราบเขมรให้สำนึก แต่เมื่อยกกองทัพถึงบริเวณชายแดนก็เห็นว่าเขมรมีกำลังอยู่มาก พระองค์จึงให้ทหารในกองทัพไปฝึกปรือชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆ ในบริเวณจังหวัดสระแก้ว ให้ใช้อาวุธปืนเพื่อจะได้เป็นกำลังไปรบกับเขมร และเป็นกำลังสำหรับสู้กับเขมรในภายหน้า เมื่อฝึกเสร็จในคืนวันพระจันทร์เต็มดวง เช้ารุ่งขึ้นให้แม่ทัพนายกองนำชาวบ้านที่ฝึกมาพบกันที่ภูเขารูปร่างประหลาด ส่วนพระองค์ประทับอยู่ที่เส้นทางระหว่างภูเขารูปร่างประหลาดกับชายแดนไทย-เขมร ซึ่งต่อมาภายหลังเรียกที่นั่นว่า "ทับองค์ดำ" ทหารที่มารวมกันอยู่ที่ลานนั้นล้วนเป็นชายหนุ่มที่อยู่ในวัยกำยำหรือวัยฉกรรจ์ จึงเรียกเขานั้นว่า "เขาฉกรรจ์" แต่นั้นมา (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2545:120)

    [​IMG]
    เขาฉกรรจ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาฉกรรจ์ ติดกับวัดถ้ำเขาฉกรรจ์ ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 317 (สระแก้ว-จันทบุรี) ระหว่างกิโลเมตรที่ 131-132 และแยกซ้ายไปอีกเล็กน้อย ตัวเขาเป็นเขาหินปูน สันเขาด้านยาวทำมุม 90 องศากับทิศเหนือและทิศใต้ จุดสูงสุดของยอดเขาสูงประมาณ 240 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางลักษณะเป็นเขา 3 ลูกเรียงกัน โดยมีเขาฉกรรจ์เป็นลูกใหญ่ที่สุดและอยู่ตรงกลาง มีภูเขามิ่งอยู่ด้านซ้าย และเขาฝาละมีตั้งอยู่ด้านขวา เขาทั้ง 3 ลูกได้จัดให้เป็น สวนรุกขชาติเขาฉกรรจ์ของกรมป่าไม้และเป็นที่อยู่ของลิงป่าและฝูงค้างคาวนับล้านๆ ตัว บินออกมาในตอนเย็นเป็นสายยาว ส่วนเชิงเขาเป็นที่ตั้งของวัดถ้ำเขาฉกรรจ์ มีบันไดขึ้นไปถึงยอดเขา ในเขาฉกรรจ์มีถ้ำเล็กถ้ำน้อยอยู่ถึง 72 ถ้ำ เช่นถ้ำมืด ถ้ำหนุมาน ถ้ำเขาทะลุ ถ้ำมหาหิงส์ ถ้ำน้ำทิพย์ และถ้ำแก้วพลายชุมพล จุดที่น่าสนใจคือถ้ำเขาทะลุ มีรอยพระพุทธบาทจำลองและจุดชมวิวสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล



    ตำนานทัพองค์ดำและเขาฉกรรจ์ - Mahidol Cultural Mapping Project
     
  6. weruwan

    weruwan เวฬุวัน ว.มุจลินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +537
    อันเจ้าละแวกกับเจ้าพม่ารามัญ
    ศรัตรูผู้คิดคด
    ทรยศในน้ำมิตรที่พึงประสงค์
    แม้นในกาลนี้
    มันก็ยังหาสำนึกไม่
    ในแผ่นดินถิ่นของมัน
    อกุศลกรรมที่พวกมันได้ก่อเกิด
    จักสนองต่อประชาราษฎร์ของมันทุกเมื่อ
    หาจักจำเริญสู้อริยะชาวสยามได้หาไม่

    ขอเจ้าชาวสยามพึงสังวร
    อย่าได้ทุรยศหน่อเชื้อพระวงศ์
    ต่อแผ่นดินที่เหยียบย่างดำรงชีพ
    ความจำเริญจักมาทุกกาล
    ต่อเจ้าผู้จงภักดี
    หากมันผู้ใดทุรยศ
    ต่อแผ่นดินซึ่งที่กอบกู้รู้รบด้วยเลือดชีพ
    ละเลงนองเนืองดังสายธารที่หลั่งริน
    มันผู้นั้นจักหามีแผ่นดินกลบหน้า
    เหยียบอยู่ดำรงชีพจำเริญจำเริญไม่

    ขอท่านทั้งหลายจงเพียรพราก
    ให้พ้นจากจิตที่มัวหมอง
    เข้าสู่ทางสายธรรมธารา
    ก่อนมีน้ำมหานทีเป็นธรรมรมณ์เถิด


    ด้วยเกล้าปกกระหม่อมขอเดชะ
    ด้วยจิตสื่อแห่งจงรักต่อเหนือหัวเจ้า
    ข้ารองบาทจากอโยธยาศรีรามเทพนคร
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ทหารพระนเรศวร
    คำร้อง: ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์

    ภูเขาสูง แผ่นดินกว้าง ทางรก เรายกทัพฝ่ากล้าหาญ
    ใครขวางฟันฟาดแหลกลาญ ล้างผลาญปี้ป่นวอดวาย
    ชีวิตอุทิศเพื่อชาติ เราต่อสู้เพื่อราษฎร์ทั้งหลาย
    ชาติเสือเราต้องไว้ลาย ชาติชายแล้วต้องต่อกร
    เปรี้ยง เปรี้ยง ดั่งเสียงฟ้าฟาด
    โครม โครม พินาศพังสลอน
    เปรี้ยง เปรี้ยง ลูกปืนกระเด็นกระดอน
    โครม โครม ดัสกรกระเด็นไกล
    ถ้าสิ้นชาติสิ้นแผ่นดินสิ้นกษัตริย์ เห็นสุดจะยืนหยัดอยู่ได้
    จะเป็นตายร้ายดีก็เป็นไป ขอป้องกันเอาไว้ให้สุดฤทธิ์
    เปรี้ยง เปรี้ยง ดั่งเสียงฟ้าฟาด
    โครม โครม พินาศพังสลอน
    เปรี้ยง เปรี้ยง ลูกปืนกระเด็นกระดอน
    โครม โครม ดัสกรกระเด็นไกล
    -------------------------------------------
     
  8. jirarad

    jirarad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +487
    อยากทราบพระนามพระอัครมเหสีของพระนเรศวรมหาราชค่ะ
     
  9. a-pin-ya

    a-pin-ya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    314
    ค่าพลัง:
    +672
    คน อยุธยา พวกชอบ อบายมุข จงรู้เถิดว่า
    การเอาไก่ไปถวาย พระนเรศวร
    มันหาได้ ยกยอ พระเกียรติ ตรงไหนไม่

    ให้ ชาวฝรั่ง ต่างชาติ นึกหัวเราะเยาะ ดูหมิ่นคิดว่า
    พระมหากษัตริย์ไทย
    วัน ๆ คงเอาแต่ เล่นชนไก่ กระนั้นหรือ

    ควรเปลี่ยนเป็น ถวายช้างศึก ม้าศึก ทหารกล้า
    จะเหมาะกว่า
    พระนเรศวร ท่านเปนกษัตริย์นักรบ
    ท่านมิใช่ผีพนัน

    จริง ๆ แล้ว พระองค์ท่านไม่ต้องการอะไรแบบนี้เลย
    เอาของไปวาง เกะกะ รก ป่าว ๆ

    ไหว้พระองค์ท่าน เสร็จ กลับไปบ้าน ก็ทะเลาะกันต่อ
    ยุยงให้แผ่นดินแตกสามัคคี เผาบ้าน เผาเมืองกันต่อ
    ส่งเสริมนักการเมืองโกงกินประเทศชาติบ้านเมือง
    ส่งเสริมนักการเมืองที่บ่อนทำลายความสามัคคี และสถาบันฯ
    ลักโขมยเอาทรัพยกรของแผ่นดิน มาเปนของตน
    ทำให้ประเทศชาติเสียผลประโยชน์ เสียโอกาส ..
    แบบนี้มาเสียเที่ยว จะมีประโยชน์อะไร
    พระองค์ท่านจะปลื้มไหม?

    ชาว อยุธยา น่าจะหัดใช้ สมองคิดสักนิด
    สิ่งที่พระองค์ท่านต้องการ คือ สืบต่อพันธกิจจากพระองค์ท่าน
    ให้ทำนุบำรุงประเทศชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์
    แทนคุณแผ่นดิน
    ทำแค่นี้ ท่านก็อำนวยพร ให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานแล้ว
    ไม่ต้อง เอาไก่ หรือ อะไร มาถวาย ให้มัก รก

    น้ำจึงท่วม แผ่นดิน อยุธยา ให้เดือดร้อนมากที่สุด
    สิ่งศักดิ์สิทธฺ ท่านเปิดทาง
    เพราะความซกมก ไม่รู้จักรักษาสมบัติชาติ

    แถม วิหาร มงคลบพิตร อันเป็นมิ่งขวัญ ดูดโชค ลาภ เข้าสู่จังหวัด
    ก็รายล้อม ไปด้วย ร้าน ของที่ระลึก ดูแล้วสกปรก รก ราวกับกองขยะ ไปตั้งตรง หิ้งพระ
    ไม่ได้ให้ เกียรติ ศักดิศรี แก่บรรพชน เลย

    เสมือนประเทศไทยมี ฮวงซุย บรรพบุรุษ อยู่ ณ ตรงนี้
    ถ้าทำดี ๆ งาม ๆ ก็ มั่งมีศรีสุข
    ดันปล่อยให้ รกเปน สลัม
    บ้านเมือง มันก็ วอด วาย กันหมด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2010
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เสมือนประเทศไทยมี ฮวงซุย บรรพบุรุษ อยู่ ณ ตรงนี้
    ถ้าทำดี ๆ งาม ๆ ก็ มั่งมีศรีสุข
    ดันปล่อยให้ รกเปน สลัม
    บ้านเมือง มันก็ วอด วาย กันหมด<!-- google_ad_section_end -->



    กล่าวได้ถูกต้องและโดนใจมากค่ะ เห็นด้วยค่ะว่า การบูชาบรรพบุรุษเป็นมงคลแก่ตัว ครอบครัว และประเทศชาติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2010
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระนางมณีรัตนา(เจ้าขรัวมณีจันทร์) พระนามแห่งสมเด็จพระอัครมเหสีในพระองค์ดำ

    อ้างอิงวิกีพิเดีย มาดังนี้ค่ะ

    ชีวิตส่วนพระองค์

    พระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชส่วนใหญ่ได้จากพงศาวดารอยุธยา ซึ่งมักมีการจดบันทึกในพระราชกรณียกิจ ซึ่งส่วนใหญ่บันทึกถึงการทำสงครามกับอาณาจักรเพื่อนบ้านเป็นอันมาก จนมองข้ามเกี่ยวกับเจ้านายฝ่ายในหรือพระมเหสีของพระองค์ แต่อย่างไรก็ตามได้มีการปรากฏพระนามของเจ้านายฝ่ายใน ในเอกสารของต่างชาติ 5 ฉบับด้วยกัน ซึ่งได้แก่ จดหมายเหตุสเปน (History of the Philippines and Other Kingdom) ของบาทหลวงมาร์เชโล เด ริบาเดเนย์รา (Marchelo de Ribadeneira, O.F.M), จดหมายเหตุวันวลิต, พงศาวดารละแวก, คำให้การขุนหลวงหาวัด และพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว ซึ่งปรากฏพระนามพระนามพระมเหสี 3-4 พระองค์ โดยมีพระนามดังนี้<SUP id=cite_ref-41 class=reference>[42]</SUP>
    1. พระมณีรัตนา จากคำให้การขุนหลวงหาวัด
    2. เจ้าขรัวมณีจันทร์ จากจดหมายเหตุวันวลิต
    3. โยเดียมี้พระยา พระราชธิดาในพระเจ้านรธามังสอ กับพระนางเชงพยูเชงเมดอ<SUP id=cite_ref-42 class=reference>[43]</SUP> ปฐมวงศ์พม่าที่ปกครองอาณาจักรล้านนา จากพงศาวดารพม่า
    4. พระเอกกษัตรีย์ พระราชธิดาในพระเจ้าศรีสุพรรณมาธิราช เจ้าแผ่นดินเขมร จากพงศาวดารเขมร
    อย่างไรก็ตามก็มีการกล่าวถึง พระมณีรัตนา และเจ้าขรัวมณีจันทร์ อาจเป็นบุคคลเดียวกัน และถือว่าเจ้าขรัวมณีจันทร์ มีบทบาทสูงกว่าพระมเหสีจากเชียงใหม่และเขมร<SUP id=cite_ref-43 class=reference>[44]</SUP> โดยมีการสถาปนาพระนางเป็นอัครมเหสีดังที่ปรากฏในคำให้การขุนหลวงหาวัดที่กล่าวถึงเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นเสวยราชย์สมบัติต่อจากพระราชบิดา ความว่า



    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20>[​IMG]</TD><TD>
    ส่วนพระนเรศวรนั้น ก็เข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา ก็เสด็จเข้าสู่พระราชฐานอันอัครเสนาบดีและมหาปุโรหิตทั้งปวง จึงทำการปราบดาภิเษกแล้วเชื้อเชิญให้เสวยราชสมบัติ จึงถวายอาณาจักรเวนพิภพแล้วจึงถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ และเครื่องมหาพิไชยสงครามทั้ง ๕ ทั้งเครื่องราชูปโภคทั้งปวงอันครบครัน แล้วจึงถวายพระนามใส่ในพระสุพรรณบัตรสมญา แล้วฝ่ายในกรมจึงถวายพระมเหษีพระนามชื่อพระมณีรัตนา และถวายพระสนมกำนัลทั้งสิ้น แล้วครอบครองราชสมบัติเมื่อจุลศักราช ๙๕๒ ปีขาลศก อันพระเอกาทศรถนั้นก็เปนที่มหาอุปราช
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20>[​IMG]</TD></TR><TR><TD style="TEXT-ALIGN: right; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-RIGHT: 2em; FONT-SIZE: 90%" vAlign=top colSpan=3>— คำให้การขุนหลวงหาวัด</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1> <!-- google_ad_section_start -->[​IMG][​IMG]

    หาเจอแต่ปกหนังสือแต่ไม่เจอหนังสือ น่าหามาอ่านนะคะ คิดว่าน่าจะมีพระราชประวัติของพระนางในหนังสือเล่มนี้บ้าง


    รายละเอียด: ผลงานของ ศรีกาญจา
    ประเภทปก แข็ง
    กระดาษ ธรรมดา
    พิมพ์ครั้งที่ 1
    ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2472
    สำนักพิมพ์ หลักเมือง
    จำนวนหน้า 243 หน้า
    ขนาด 125x185 มม.
    ราคาจำหน่าย ๗๕ สตางค์<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2010
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พ.ศ.๒๑๒๑ กองเรือราชบรรณาการสยามปะทะกับโจรสลัดลิ้มโต๊ะเคี่ยม

    อ้างอิง:

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH>Wan-li: Year 6, Month 9, Day 11</TH><TD>(11 Oct 1578)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    Guang Mao, a supervising secretary in the Office of Scrutiny for War, memorialized: "The pirate Lin Dao-qian has brought his ships and anchored in He-du-men Port in Chao-yang, and the bandit followers were instructed to prepare reports. Some persons who had escaped after having been carried off said that they had been taken in the sixth year of the Wan-li reign (1578), and that the pirates had attacked the "black-crow" ships of the country of Siam but were unsuccessful. A large number of the pirate forces were killed and the remainder were driven off by the fan. As they lacked silver and lacked men, they proposed returning to their old haunt at He-du-men to recover the silver and goods previously buried there. They also proposed attacking the various battalions under Hai-men, and when the Eastern wind changed, returning to the foreign yi. This bandit's plans are cunning. If he surrenders and delays our troops he will be able to easily use his old haunts. If he wishes to be brought to negotiated pacification and does not engage in pillage, he will be able to move secretly and seek out opportunities for trouble. It is feared that the officials in charge, being anxious to put an end to the disorders, will be willing to accept the surrender plan. If they fall for his trick, it will lead to no small disaster. It is requested that the Ministry of War be Imperially ordered to send an urgent courier with instructions for transmission to the supreme commander and other officials, requiring them to make plans by which to completely eliminate this scourge and to set a date on which to combine their forces. They should be required to make secure plans so that success can be achieved at the beat of the drum. When the chief rebels are eliminated, careful arrangements should be made so that the pirate followers are swayed and dispersed. Thereby, the region will return to peace." The ministry re-submitted a memorial supporting the proposals.



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1578 (พ.ศ. ๒๑๒๑) กวงเหมา เลขาธิการส่วนงานพิจารณาความในกระทรวงสงคราม (กระทรวงกลาโหม) บันทึกเข้ามาว่า โจรสลัด หลินเต้าเฉียน (ลิ้มโต๊ะเคี่ยม) ได้นำเรือของเขามาเทียบที่ ท่าเหอตู๋เหมิน ในเมืองเฉาหยาง พวกลูกน้องที่เป็นสมุนโจรได้เขียนสารภาพไว้ว่า บางคนที่หนีออกมาได้เล่าถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า เกิดขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ ปีที่ 6 พวกโจรสลัดได้เข้าโจมตีเรือบรรทุกเครื่องราชบรรณาการจากประเทศสยาม กองเรือ "อีกาดำ" แต่โจมตีไม่สำเร็จ พวกโจรสลัดถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือรอดชีวิตก็ถูกขับไล่ไปโดย the fan.(แปลไม่ออก)

    เหตุการณ์นี้ทำให้พวกโจรขาดแคลนทั้งเงินและคน ซึ่งพวกโจรคิดจะกลับไปกบดานที่ท่าเรือเหอตู่เหมิน เพื่อที่จะสะสมเงินและเสบียงเพิ่มเติมทดแทนที่เสียหายไปเพราะถูกเผา พวกโจรสลัดเตรียมจะต่อสู้กับกองกำลังทหารหลากหลายนั้น (เข้าใจว่ามีทหารหลายเชื้อชาติบนเรืออีกาดำ) ซึ่งอยู่บริเวณแถวปากอ่าว (Hai men ไฮ่เหมิน ประตูทะเล) เมื่อสายลมตะวันออกเปลี่ยนทิศ จึงเป็นทีให้ฝ่ายกองเรือเครื่องราชบรรณาการจากต่างประเทศนี้ได้เปรียบ ทำให้แผนของพวกโจรเสียหายไป หากกองทัพจีนเชื่องช้าไม่ส่งกองกำลังมาช่วยอย่างทันท่วงที ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโจรสลัดครั้งนี้จะใหญ่โตมาก (คาดว่ากองเรือสยามคงจะทำลายกองเรือโจรสลัดจนสูญสิ้นหากจีนส่งทหารมาควบคุมสถานการณ์ไม่ทัน...ทางสายธาตุ)

    รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม (ท่าน จาง จวี เจิ้ง ดูแลเองโดยตรง) ได้ส่งคำสั่งด่วนซึ่งเป็นพระบัญชาขององค์พระจักรพรรดิ ให้ถ่ายโอนอำนาจการจัดการพวกโจรสลัดไปให้กับผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดวางแผนเพื่อยุติความเสียหายครั้งนี้ และให้กำหนดวันที่จะยกพลไปร่วมกับกองทหารที่กำลังปฎิบัติงานอยู่ แผนที่วางต้องเป็นแผนที่รัดกุมปลอดภัยเพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนเฉกเช่นเดียวกับจังหวะของกลอง เมื่อหัวหน้าโจรกบฎถูกกำจัดแล้ว พวกลูกสุมนโจรก็จะแตกกระสานไปเอง ภูมิภาคนี้ก็จะกลับมาสงบสุข ท่านรัฐมนตรีกลาโหมส่งบันทึกความจำถวายองค์พระจักรพรรดิสนับสนุนฏีกานี้ด้วย<!-- google_ad_section_end -->

    สันนิษฐาน(เป็นส่วนตัว)ว่า กองเรือราชบรรณาการมีธง "อีกาดำ" อาจหมายถึงธง "ครุฑดำ" ก็เป็นได้ ท่านอ่านแล้วมีความเห็นอย่างไรบ้างค่ะ

    จากบันทึก หมิงสือลู่ Entry - Southeast Asia in the Ming Shi-lu สามารถกดปุ่ม Previous เพื่อย้อนหลัง และ Next เพื่อไปข้างหน้า อ่านได้ทั้งเล่มค่ะ <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2010
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจ้าชายแห่งสยามได้เสด็จนำกองทัพเรือออกปราบปรามโจรสลัดฮกเกี้ยนจนหมดสิ้น

    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ในพงศาวดารหมิงได้ยืนยันถึงเหตุการณ์ที่ไม่ได้ปรากฏในพงศาวดารไทยก็คือ ในรัชกาลจักรพรรดิหมิงเสินจง รัชศกว่านลี่ ปรากฏหลักฐานว่า เจ้าชายแห่งสยามได้เสด็จนำกองทัพเรือออกปราบปรามโจรสลัดฮกเกี้ยนจนหมดสิ้น สร้างความพึงพอใจให้กับราชสำนักจีนเป็นอย่างมาก ซึ่งเมื่อมีการตรวจสอบศักราชแล้ว พบว่าตรงกับรัชกาลสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่ ๑ หรือสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ซึ่งเจ้าชายแห่งสยามพระองค์นั้นก็คือ สมเด็จพระนเรศวรของเรานี่เองครับ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ้างอิงข้อความนี้จากบทความตำนานศาสตราวุธ ตอนที่ 58 กองเรือโจรสลัด

    ധ??մͷ?́ > Writer > ?ӹҹȒʵÒǘ? > ?͹?ը 58 : ?ͧ?͢?Êő?#<!-- google_ad_section_end -->
     
  14. kamomros

    kamomros เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +153
    ขอญาณบารมีของพ่อนี้ไซ้ จงเพิ่มพูนยิ่งๆขึ้นไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า
     
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ได้รับดวงตราพระราชลัญจกรจากราชสำนักจีน เพราะความดีความชอบในการปราบโจรสลัด

    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH>Wan-li: Year 6, Month 10, Day 8</TH><TD>(6 Nov 1578)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    A seal for the king of the country of Siam was cast and supplied.


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1578 (พ.ศ. ๒๑๒๑)

    พระราชลัญจกร (ดวงตราประทับ) สำหรับพระมหากษัตริย์แห่งสยามประเทศได้ถูกแกะสลักขึ้นและส่งไปถวายยังพระราชสำนักสยาม

    คิดว่าด้วยความดีความชอบที่กองเรือเครื่องราชบรรณาการจากสยาม ได้ช่วยราชสำนักจีนในการป้องกันและปราบปรามกลุ่มโจรสลัด หลินเต้าเฉียน (ลิ้มโต๊ะเคี่ยม) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1578 ทำให้ในอีกหนึ่งเดือนต่อมา ทางราชสำนักจีนจึงจัดทำตราพระราชลัญจกร (ดวงตราประทับ) ให้กับพระมหากษัตริย์แห่งประเทศสยามขึ้นใหม่ในทันที ทั้งๆที่ได้นำเสนอเรื่องขอดวงตราพระราชลัญจกรอันใหม่ทดแทนอันเก่าที่เสียหายในสงครามกับพม่า ซึ่งขอไปที่ราชสำนักจีนตั้งแต่ปีแรกแห่งรัชสมัยว่านลี่ ตอนนี้ก็กว่า 6 ปีแล้ว ทางราชสำนักจีนเพิ่งจะยอมทำดวงตราพระราชลัญจกรให้ใหม่ เพราะเหตุการณ์ช่วยปราบโจรสลัด หลินเต้าเฉียน (ลิ้มโต๊ะเคี่ยม) ในครั้งนี้นี่เอง<!-- google_ad_section_end -->

    ป.ล. ดวงตราพระราชลัญจกรอันเก่าถูกพม่ายึดไปทำลายทิ้งตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๒๑๑๒...ทางสายธาตุ
    ป.ล. ๒ ดวงตราประทับที่อ้างถึงนี้ ต้องใช้ประทับเอกสารการค้าที่ไปกับเรือสำเภาค้าขายทุกครั้ง ประเทศใดไม่มีตราประทับ(ตราคำหับ)จะเข้าไปค้าขายในจีนไม่ได้ ...ทางสายธาตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2010
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    บันทึกอีกฉบับหนึ่งถึงประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๒๑

    ต่อมา พ.ศ.๒๑๒๑ สมเด็จพระมหาธรรมราชามีพระชนมายุ ๖๓ พรรษา (ได้จากข้อมูล ที่คำนวณตามพงศาวดารฉบับพิสดารและประวัติศาสตร์สังเขปฯ ) ส่วนสมเด็จพระนเรศวรฯทรงมีพระชนมายุ ๒๓ พรรษา
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ปกติพระองค์ประทับที่เมืองพิษณุโลก แต่ปีนั้นได้เสด็จมาเยี่ยมพระราชบิดาที่กรุงศรีอยุธยา พอดีกับกษัตริย์เขมรซึ่งตามพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐว่าตั้งใจจะมาตีเมืองเพชรบุรี ได้ทรงให้พระทศโยธากับพระสุรินทรราชา คุมกองทัพเขมรเข้ามากวาดต้อนราษฎรไทยแถบเมืองนครราชสีมาปรากฏว่าสามารถทำได้โดยง่าย จึงถือโอกาสยกต่อมาทางเมืองสระบุรี อ่านแล้วก็นึกขำอยู่ว่า กษัตริย์กัมพูชากับสมเด็จพระนเรศวรฯนี่ทรงมีดวงสมพงษ์กันเหลือเกิน ยกมาทีไรทรงเจอกันทุกที
    <O:p></O:p>
    เมื่อสมเด็จพระนเรศวรฯทรงทราบข่าว จึงเสด็จพร้อมด้วยพระอนุชา ทรงจัดกำลังช้างเร็ว ม้าเร็วกับทหาร ๓,๐๐๐ คน ยกขึ้นไปดักทัพเขมรที่เมืองไชยบาดาล โดยทรงให้พระยาไชยบุรี กับพระศรีถมอรัตน์ เจ้าเมืองท่าโรง (วิเชียรบุรี) คุมทัพม้า ๕๐๐ เป็นกองหน้ารีบรุดขึ้นไป และดักซุ่มอยู่สองข้างทางในดงใหญ่ ตามทางที่กองทัพเขมรจะยกมา ฝ่ายกองทัพเขมรเห็นว่าตลอดทางไม่มีการต่อสู้ขัดขวาง และระยะทางยังไกลจากกรุงศรีอยุธยา จึงเคลื่อนทัพมาแบบสบายๆไม่มีการระแวดระวังนัก
    <O:p></O:p>
    เมื่อกองหน้าของทัพเขมร เดินทัพเข้ามาในพื้นที่ที่ฝ่ายไทยซุ่มอยู่ จึงถูกลอบโจมตีแบบไม่รู้ตัวจนแตกพ่าย กองหน้าของทัพไทยตามติดไปจนถึงทัพหลวง เหตุการณ์คงกะทันหันมาก และเดาว่าทางเขมรคงไม่มีข่าวกรองมาก่อนว่าไทยมีกำลังแค่ไหน เมื่อแม่ทัพเขมรเห็นทัพหน้าแตกจึงถอยกลับไปทางนครราชสีมา แต่ก็ถูกทัพไทยที่ดักรอท่าอยู่ก่อนแล้วเข้าโจมตีซ้ำอีก ทัพเขมรทั้งหมดจึงต้องถอยกลับกรุงกัมพูชา
    <O:p></O:p>
    ครั้งนั้น พระยาจีนจันตุซึ่งก่อนหน้านั้นเคยหนีจากเมืองละแวกมาสวามิภักดิ์ ตั้งแต่ปี๒๑๑๓ เมื่อคราวยกพลเขมรร่วมกับพระยาอุเพศราชมาตีเมืองเพชรบุรีแต่ไม่สำเร็จ แล้วอ้างว่ากลัวทัณฑ์บนที่ให้ไว้กับพระยาละแวก จึงขอมาสวามิภักดิ์สมเด็จพระมหาธรรมราชา คราวนี้จู่ๆก็หนีกลับไปอีก
    <O:p></O:p>
    ไม่ทราบเป็นแผนไส้ศึกหรือเปล่า ถ้าใช่ก็ถือว่าศึกครั้งนี้ทำงานข่าวกรองได้แย่มาก แต่มองอีกทีถ้าแผนไส้ศึกนี้เป็นจริง การที่สมเด็จพระนเรศวรฯ เสด็จมากรุงศรีอยุธยาในคราวนี้ ก็คงไม่น่าจะเป็นเรื่องบังเอิญและการที่พระยาจีนจันตุพาครอบครัวหนีกลับเมืองละแวกครั้งนี้ก็อาจเป็นได้ว่าเพราะแผนแตกเสียแล้ว
    <O:p></O:p>
    การ “นึกจะไปก็ไป นึกจะมาก็มา” ของพระยาจีนจันตุนี้ ก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน คือเป็นโอกาสให้สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงแสดงพระอุปนิสัยการเป็นผู้นำทางทหาร เสริมบารมีของพระองค์ไปในตัว ด้วยการตามตีพระยาจีนจันตุไปถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ถูกพระยาจีนจันตุใช้ปืนนกสับยิงต้องรางพระแสงปืนแตกคาพระหัตถ์ ก็ยังทรงไม่ยอมหลบเลี่ยง จนพระอนุชาราเมศวร (พระเอกาทศรถ) ต้องทรงสั่งให้เรือลำที่ทรงอยู่ แล่นเข้าบังองค์สมเด็จพระนเรศวรไว้ <O:p></O:p>


    ถ้าเหตุการณ์ที่มีการบันทึกไว้นี้เป็นจริง ก็แสดงว่า “พระราชาไฟ” พระองค์นี้ทรงเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญ น่ากลัวสมกับที่ในเวลาต่อมา มีการบันทึกไว้ว่าทหารกรุงศรีอยุธยาเกรงกลัวพระองค์มากกว่ากลัวพม่าหรือกลัวความตาย ผู้นำทัพที่มีลักษณะเช่นนี้ ย่อมนำพาความเข้มแข็งและขวัญกำลังใจมาสู่กองทัพได้สูงมาก มีกำลังน้อยก็เหมือนกำลังมาก ลักษณะที่เด็ดเดี่ยวและ “กล้าตาย” เช่นนี้

    ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงเคยมีวีรกรรมลักษณะเดียวกันนี้ เมื่อตอนที่ทรงขี่ช้างพังคีรีบัญชรเข้าชนประตูเมืองจันทบุรี มีบันทึกไว้ว่าพระยาพิชัยดาบหักนั้น ไม่อาจบังคับช้างให้เดินหน้าต่อไปและกำลังจะเบนช้างหนีอยู่แล้ว เพราะถูกระดมยิงออกมามากเหลือเกิน สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงตัดสินพระทัยชักพระแสงแทงเข้าที่คอพระคชาธารให้คงวิ่งเข้าหาประตูเมืองต่อไป ครั้งนั้นจึงสามารถตีเมืองจันทบุรีได้สำเร็จ.

    ตัวหนังสือสีน้ำเงินเป็นความเห็นของผู้เขียนบทความตามลิงค์ข้างล่างนี้ค่ะ

    http://www.moomkafae.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538978127&Ntype=11
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2010
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    แม้สยามจะตกเป็นประเทศราชของพม่า แต่ทรงเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศแบบรัฐอิสระ

    [​IMG]

    ช่วงปีนี้มีบันทึกจากเอกสารจีนเล่าว่า ทางทะเลนั้นเกิดมีโจรสลัดหลินเต้ากาน มีฐานปฏิบัติการที่กวางตุ้ง ปีนั้นประเทศสยามส่งทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการที่เมืองจีน โจรสลัดพวกนี้ได้เข้าปล้นกองเรือบรรณาการของราชสำนักสยาม แต่กลับถูกโจมตีกลับและเสียหายอย่างหนัก ชัยชนะของสยามเหนือโจรสลัดรายนี้ สร้างความประทับใจแก่ราชสำนักหมิงมาก จนจักรพรรดิจีนพระราชทานตราคำหับมาแทนของเก่าที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองทรงยึดไปตอนเสียกรุง

    มีผู้สันนิษฐานว่า เรื่องนี้เป็นหลักฐานว่าพระนครศรีอโยธยาได้เริ่มแสดงตนเป็นรัฐอิสระในการติดต่อกับราชสำนักราชวงศ์หมิงอีกครั้ง แม้จะยังอยู่ในรัชกาลพระเจ้าบุเรงนองก็ตาม ทั้งที่พม่าเพิ่งจะตีเมืองชายแดนของจีนไปอยู่หยกๆเมื่อปี๒๑๑๖ เรียกได้ว่าแม้จะตกเป็นประเทศราช แต่นโยบายการเมืองระหว่างประเทศนี่ออกจะสวนทางกัน

    กลับไปถึงการที่เขมรยกมาตีบ่อยๆก็เป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้ทางหนึ่ง คือเป็นการเปิดทางให้กรุงศรีอยุธยาใช้เป็นข้ออ้างแก่พม่าในการดำเนินการเสริมกำลังป้องกันเมือง อีกประการหนึ่งทำให้ราษฎรที่กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆครั้งเสียกรุงหนีภัยเขมรที่ขยันยกพลมากวาดต้อนคนตามหัวเมือง ให้กลับเข้ามารวมกันอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ทำให้ฝ่ายไทยมีกำลังขึ้น ซึ่งประจวบเหมาะกับเป็นเวลาที่พระเจ้าบุเรงนองเองทรงกำลังวุ่นวายกับการเตรียมพิชิตอาระกันหรือยะไข่ด้วย
     
  18. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    ขอน้อมกราบบูชาแทบเบื้องพระบาทองค์สมเด็จพ่อพระนเรศเป็นเจ้าผู้ทรงเป็นจอมอัคนิราชผู้ทรงกฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้พระพุทธเจ้าข้า
     
  19. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    ขอน้อมกราบบูชาแทบเบื้องพระบาทองค์สมเด็จพ่อพระนเรศเป็นเจ้าผู้ทรงเป็นจอมอัคนิราชผู้ทรงกฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้พระพุทธเจ้าข้า
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,918
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ราชาอาปี

    <TABLE><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]


    ดังปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2182 ซึ่งบันทึกโดยเจเรเมียส ฟานฟลีต
    (วันวลิต) ชาวดัตช์ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักงานของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (V.O.C.) ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองความว่า

    ...ชาวมลายูขนานนามพระองค์ว่า “ราชาอาปี” (Raadje Apij เป็นภาษามลายูแปลว่า พระเจ้าอัคคี) และชาวสยามขนานพระนามว่า “องค์ดำ” รัชสมัยของพระองค์เป็นสมัยที่ปกครองแบบทหารและเข้มงวดที่สุดเท่าที่เคยมีมาในสยาม...
    ซึ่งสิ่งที่วันวลิตบันทึกไว้คงเป็นเรื่องที่ไม่ผิดไปจากความเป็นจริงเท่าใดนัก เนื่องจากในเวลานั้นเป็นช่วงที่กรุงศรีอยุธยาต้องรับศึกจากกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรจึงจำเป็นต้องทำการปกครองอาณาจักรอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่กรุงศรีอยุธยา และความเข้มงวดของพระองค์นี่เองที่ได้ทำให้อาณาจักรอยุธยาฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...