สอบถามความสงสัยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สราวุธ ลำพูน, 19 ตุลาคม 2010.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ถามมาก ฟุ้งซ่าน

    สงสัยมาก ฟุ้งซ่าน

    เอาเป็นว่า มันจะจับ จะป้อง ก็ช่างมันเถอะ

    เราจะวิตก วิจารณ์ อะไรให้ดำเนินในอาการเดียว สิ่งเดียว ก่อน

    จิตนิ่งก่อน แล้วค่อยไปวิปัสสนา ไม่เช่นนั้นแล้ว มันก็เป็นแบบนี้แหละ

    อีกหน่อย ใบไม้ไหว ก็สงสัย

    จริงแล้ว เรายังมีปัญญา ไม่มากพอที่จะเท่าทัน ตัวสงสัย เราก็ไม่ควรสงสัย

    ควรจะทำใจให้นิ่งก่อน แล้ว ค่อยๆ ศึกษา โดยสังเกตุ ตนเองเป็นหลัก ด้วยสติ ว่า สิ่งที่เราสงสัยนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนใด

    ทีนี้ พวกสงสัยมาก นี่ ต้องระวัง เพราะว่า พอมันสงสัยมากๆ มันถามไปเรื่อยๆ

    มันไม่เข้าสู่ คำตอบในการปฏิบัติ แล้ว ออกทะเลไปหมด

    คนสงสัย ต้องปฏิบัติก่อนแล้วสงสัย มันจะรู้ เห็นชัด ตามความจริง

    เหมือน คนแต่งนิยาย มันแต่งไปได้ร้อยแปด แต่ไม่จริงสักอย่าง
    ถามตรงนั้น รั่วตรงนั้น ถามตรงนี้รั่วตรงนี้ เพราะมันไม่จริง
    แต่ คนไปเจอสถานการณ์จริง มันล็อค ตามความเป็นจริงทั้งหมด ดิ้นไม่ได้

    นั่นแหละ ผลแห่งการปฏิบัติ

    ดังนั้น ให้ปฏิบัติ สมาธิ ให้นิ่งให้ได้ก่อน อย่าสงสัยที่มาจากความคิดไปเรื่อยๆ
     
  2. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,843
    ขอรบกวนถามหน่อยค่ะ เราจะทราบได้อย่างไรว่า การมีสติต่อเนื่องกับการ เฝ้าดู หรือ เพ่งจ้อง ต่างกันอย่างไร ?
     
  3. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    เห็นด้วยกับลุงขันธ์นะว่าการถามมากไป ทำให้เรางงเอง หากเราปฏิบัติและติดขัดบ้าง ก็ควรเรียนรู้ และแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองก่อนการฟังพระก็เป็นอีกวิธีเพือช่วยเสริมสัญญา และมีปัญญาได้ สิ่งที่เจ้าของกระทู้ถาม จริงๆ แล้วถ้าหมั่นทำสมถะ และสติปัฐฐาน 4 ก็คงไม่สงสัยมาก สติปัฐาน 4 อานาปาน ทำให้เรารู้ว่า อะไรที่คิดลอย อะไรคือตั้งใจคิด อะไรที่จงใจทำกริยา อะไรคือกริยาอัตโนมัติ(reflex) ถ้าจะกล่าวแรงไปบ้างไม่ว่ากันนะ คือเจ้าของกระทู้ยังไม่รู้หลักของการภาวนา เพราะดูจากลายเซ็นต์แล้ว ยังเรียงไม่ถูกน่ะ
    เลยอยากให้ไปฟังพระดีกว่า จะได้ไม่เสียเวลามาก


    สำหรับวิตกวิจารณ์นั้น คือกระบวนการใคร่ครวญก่อนจะเข้าสู่วิปัสสนาน่ะ การเข้าสู่วิปัสนานั้นจิตเราต้องได้รับการฝึกฝนดีดี
    ถึงงจะเข้าไปได้ มันจะมีวิตกวิจารณ์ซ้ำ ๆๆ หรือการเห็นซ้ำ เพราะการเข้าวิปัสนา เป็นของยาก แต่วิปัสนาฌานนั้นยากกว่า
    แต่ไม่เกินความสามารถของมนุษย์ที่เกิดมาในพระพุทธศาสนา จริงไหม ทำให้เจริง และตั้งใจตรง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2010
  4. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    "กิเลสเท่ามหาสมุทร ความเพียรเท่าฝ่ามือ"


    หลวงปู่ขาว อนาลโย





    "กิเลสมันกลัวคนจริง
    คนไม่จริงกิเลสมันไม่กลัว
    ต้องหัดเป็นคนจริง
    กิเลสมันถึงจะกลัว"

    ครูบาเจ้าเพรชร วชิรมโน





    http://palungjit.org/threads/ทำความ...ิธีหนึ่งที่ครูบาอาจารย์นิยมปฏิบัติกัน.260117/

     
  5. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    การกล่าวว่าแรงในที่นี้ก็คือแรงด้วยธรรม ธรรมย่อมเป็นธรรมไม่เอนเอียงไปกับคำว่ากิเลสที่หลอกหัวใจให้ผิดกลับเป็นถูก ถูกกับเป็นผิด นี่เหล่ะธรรม นี่แหละสิ่งที่หา คือสิ่งที่ผมถามมานี่ความจริงผมก็ได้ฟังธรรมมามาก แต่สักแต่ว่าฟัง แต่ปฏิบัติข้องข้างน้อยเพราะหน้าที่การงานทางโลก และเป็นภาระคนเดียวของครอบครัว ที่ต้องหา แต่ถว่าหาเท่าไร มันไม่สดวกใจ ไม่สบายใจ ไม่เหมือนทางธรรม พอธรรมเข้าสู่ใจแล้วก็รู้สึก งานทางโลกสะดวกขึ้นตามลำดับ งานทางธรรมนั้น เมื่อเริ่มปฏิบัติตามขั้นของสมาธิ ผมชอบธรรมจิตให้นิ่ง จิตไม่สอดส่ายออกไปไหนได้ตามความต้องการของจิต คือจะให้ไม่ส่ายออกไปก็สามารถทำได้ เป็นเวลาพอสมควร ประมานเล็กน้อย ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง
    ส่วนใหญ่เวลาออกจากสมาธิแล้ว ก็จะทำความรู้สึกและการมองจิตว่ามันออกไปทางไหน เลื่อนเข้าเลื่อออกยังไงทั้งวัน อาจมีเผลอบ้างตอนการงานเข้ามา
    แต่พยายามอยู่ทุกลมหายใจ แต่เรื่องที่มากระตุก ที่กระทู้ตั้งคำถามที่กล่าวมานี้
    ก็ถามว่าเห้นกายมันทำงานของมันอยู่ แต่อยากจะรู้ว่าที่มา หรือมันจะอัตโนมัติ มันเกิดมาจากสิ่งให้ครับ เท่านั้นเอง และท่านทั้งหลายก็ได้เข้ามาตอบ พอเป็นแนวทางให้แล้ว ก็รับฟังและพิจารณาส่วนกระทู้ที่ตอบให้มากครับ และสมาธิก็จะทำให้มาก ได้ผลอย่างไรคงต้องหวังท่านทั้งหลายชี้ทางคนตาบอดด้วยครับ
     
  6. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    วางดาบลงก่อน และ วางดอกไม้ด้วย
    ท่านเจ้าของกระทู้ เงื่อนไขต่างๆ ตั้งมันมากไป
    ตรงตัวสีแดงนั้น เวลาท่านหายใจท่านรู้ไหมว่าหายใจ ต้องใช้เวลาสักเท่าไร
    จะรู้ว่ากำลังหายใจ อืม ..น่าคิดไหม ลมหายใจที่ปลายจมูกนะ ทำไมเราไม่รู้อ่ะ

    ตรงสีเขียวนั้น เวลาคุณนั่งสมาธิ คุณต้องรู้สึกอึดอัดแน่เลย ใช่ไหม
    เพราะไปบังคับกด ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ลองเปลี่ยนไม่กำหนดบังคับ
    แต่มานั่งดูเวทนา ดูลมหายใจ รับรอง 3 ชั่วโมงคุณก็นั่งได้

    ตอนท้ายๆ นั้นกล่าวได้ตรงแล้ว สังเกตุไปแบบนี้ล่ะ
    ไม่ทิ้งอะไรเลย และไม่เอาอะไรเลย และไม่รู้อะไรเลย หลบภัยทำแบบนี้แระ
    ok ป่ะ

     
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ไปเรื่อยๆ นะครับคุณสราวุธ จากการถาม และ ตอบ ที่คุณแสดงออกมา ก็เหมือน
    คนที่มีปริยัติมาแทบจะครอบแล้ว ปฏิบัติก็ลงมือแล้ว(ถ้าพูดให้เสีย ผมก็จะชื่นชม
    หละว่า น่าจะภาวนาได้อย่างมีกึ๋น) แต่ปฏิเวธนี่ยังไม่เกิด(ถ้าเกิดก็เป็นอริยบุคคล
    ไปแล้วหละ)

    ดังนั้น ตอนนี้ที่คุณกำลังทำนี้คืออะไร ก็คือ การทบทวนปริยัติให้เข้ากับปฏิบัติ เป็น
    การทบทวนแผนการปฏิบัติ แต่ขาดความมั่นใจในการฟันธง ซึ่งก็ถูกแล้วที่จะมีแบบ
    นี้ (หากเป็นพวกมั่นใจฟันธงนี่จะยุ่งกว่านี้)

    ดังนั้น การถามกลับ เวลามีคนมาตอบ คุณอาศัยข้อสงสัยให้เกิดกับคนอื่น แล้วคุณ
    พ้นความสงสัยนั้น จึงออกมาทำหน้าที่ ให้คำตอบเสียเองด้วยคำถาม

    เป็นพวก ให้คำตอบด้วยการถาม ซึ่งน่าจะเป็นจริตอย่างหนึ่ง ตรงนี้เวลาคนที่ไม่
    เข้าใจมาอ่าน คำถามของคุณก็คิดว่า คุณสงสัย แต่เปล่า จริงๆแล้ว คุณกำลังฟัน
    ธงในคำตอบ เป็นแบบนี้ก็ลำบากหน่อย เพราะคนจะงงว่า ตอนไหนคุณถาม ตอน
    ไหนคุณตอบ ก็เนาะ กรรมอย่างหนึ่ง

    * * * *

    มาดูปริยัติแบบบาลีนิดหน่อย ตรงกายขยับ จับ/ปัด อะไรก็แล้วแต่ ตรงนี้ก็ถือ
    ว่าเห็น รูป

    แต่ รูป นี้ยังไม่ใช่ รูปขันธ์ เพราะ รูปนั้นจะต้องเห็นเข้าไปที่ มหาภูตรูป คือ เห็น
    หรือรู้สึกได้ในความเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ นอกเหนือจากนี้ไม่ใช่เห็นรูป

    สิ่งที่คุณเห็นเสมือนรูปตอนนี้ อภิธรรมท่านใช้คำว่า วิญญติรูป เข้ามารองรับ ซึ่ง
    มันก็คือ "อริยาบท" นั้นแหละ เพียงแต่มันยังไม่ขาดสันตติ ฆนสัญญามันไม่แตก
    เพราะสมาธิยังน้อย วิปัสสนาญาณยังอ่อน หรือ สติมีกำลังน้อย ถ้าสติมีกำลังกล้า
    ถึงกล้าเกินความจำเป็น อริยาบทย่อยจะแตกออกเหมือนคนดู ฟิลม์หนัง ที่เป็นช๊อตๆ
    แบบเบรคแด๊นช์ประมาณนั้น ซึ่งความชัดของสติจะมีให้เห็น สมาธิก็มีให้เห็น จิตก็จะ
    แยกออกจากวิญญติรูปนั้น จนเกิดการสงสัยส่วนที่แยกออกมา แล้วมักจะไปจ้องหรือ
    ค้นคว้าตัวจิต หรือใจ ที่มันแยกออกมา .....จริงๆแล้ว ไม่ต้องไปจ้องมัน หากไปจ้อง
    หรือถลำไปดู คุณจะตกจากวิปัสสนาไปเป็นการทำสมถะเข้า ตรงนี้คนอื่นเขาจะเน้น
    ให้ประครองไว้เพื่อทำสมถะ เพื่ออนิสงค์ใหญ่คือฤทธิ์ แต่ผมอยากชักชวนว่า มาเจริญ
    วิปสสนาต่อดีกว่า เจริญสติสัมปชัญญะ(สัมมาสมาธิ)สำคัญกว่า ซึ่งก็แค่รู้ถึงการปรากฏ
    ทุกอย่างห่างๆ ฐานที่ห่างๆไม่มีที่ตั้งนั้นแหละ ฐานจิต ซึ่งจะเห็นชัดเลยว่า รู้อยู่ที่รู้ หรือ
    รู้อยู่ที่จิต(รู้) มันคืออะไร ทำยังไง

    * * * * *

    สำหรับ คำตอบที่เป็นคำถามที่ว่า

    อันนี้ ถ้าเป็น กังขาทัศนวิสุทธิ(ได้จากปฏิบัติ) ก็จะแจ่ม หากเป็น สงสัยธรรมดาเนื่อง
    จากระลึกได้ว่าเคยฟังมา ก็เสียคะแนนนิดหน่อย(จริงๆ ไม่ตัดหลอก สุตตมาก จะตัดทำไม)

    ไหนๆ ก็ไหนๆแล้ว ขอใส่ไฟ โหมเข้าไปอีก เพื่อให้ระงับฝุ้งซ่าน ดังนี้

    ใช่ ที่ขันธ์5นั้น เป็นเอกเทศน์ แยกจากกัน หากภาวนาได้ถึงกึ๋น ฆนะสัญญาแตก
    ออกจากกันเมื่อไหร่ ก็จะเห็นว่า ทำไมจึงเรียกมันว่าเป็น กองๆ กองอันนี้ก็คือ
    กองทัพ หรือ มันทำงานของมันเองได้ แยกเป็น กรม เป็น กอง ว่างั้น

    คราวนี้จะเสริมไฟว่า ในแต่ละกองนั้นยังแยกออกเป็น ขันธ์5 ได้อีก คือมีขันธ์5
    ซ้อนทำงานใน ขันธ์แต่ละกองนั้นๆ มีอีก ......ตรงนี้ คนที่ภาวนาไม่ใช่แค่มีกึ๋น
    แต่มีความเพียร(ใส่ใจ--บ้างก็ใช้คำว่า เพ่ง) ก็จะเห็น ขันธ์แต่ละกองเสมือนรูป

    เช่นเห็น สัญญาเป็นรูป หรือเห็น วิญญาณเป็นรุป(วิญญติรูปไง) ...และอื่นๆ

    จะเห็นว่าเกิดจากการเพ่งเข้าไป ใส่ใจใคร่ครวญเข้าไป ซึ่ง จริงๆ มันเกินความ
    จำเป็น ในเบื้องต้นนั้นไม่ต้องดูเข้าไปขนาดนั้น เพราะดูเข้าไปแล้วในทาง
    หนึ่งเขาถือว่าไม่ได้เห็นอะไรเพิ่ม ไม่เกี่ยวกับงานภาวนาด้วย มันเป็นเรืองความ
    ละเอียดละออในการค้นคว้าเพื่อสอน(เป็นงานของพุทธิจริต) ซึ่งของแบบนี้
    มาดูเอาภายหลังก็ได้ ยิ่งได้ฌาณเป็นลาภละก้อ ของแบบนี้ก็ไม่มีอะไรเลย หยิบ
    จับ จับต้องได้ไม่ยาก ดังนั้น ควรมุ่งหน้าทำลายด่านหน้าให้แตกก่อนเป็นพอ

    นั้นคือ สังโยชน์3 ซึ่งจะไม่จำเป็นต้องดูละเอียดเข้าไปใน กองขันธ์แต่ละกอง

    แค่แยกออกเป็นกอง แล้วน้อมไปสู่การเห็น ธาตุ4(รูป)เนืองๆ เป็นอย่างต่ำ ก็พอแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2010
  8. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Sriaraya5 [​IMG]
    สัญชาตญาณในการปกป้องรู้รักษาตัว

    ไม่ใช่ตัวสติ

    ตัวสติ รู้อะไร ก็โน้มมาไว้ที่ใจ

    ละที่ใจ สำเร็จแล้วที่ใจ

    ทุกอย่างดีหมด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ท่าเราไม่มีสติสัมปชัญญะ แล้วจะรู้ว่าจิตกับกายทำงานยังไงที่ไปกระทบกับรูป และผลจะเป็นยังไงตอมาได้อย่างไร ถ้าจะละได้คือการที่เบื่อหรือไม่เบื่อหรือไม่ส่งจิตไปหาอีกที่จะดูในสิ่งที่เกิด เพียงแต่รู้เท่านั้น เท่านี้คือคำว่าละใช่หรือไม่ครับ<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->สติสัปชัญญะ-อายตน-ละสังขารขันธ์-ไตลักษณะ-มรรคมีองค์8<!-- google_ad_section_end -->


    ตอบคุณ สราวุธ ลำพูน

    ทานคือการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ อบรมตนให้รู้จักการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ศีล คือการรักษาจิตตนให้สำรวมมีกุศลถึงพร้อมในใจ
    สวรรค์ เป็นอณิสงค์ ของผู้มีศีลสำรวมตนตั้งมั่นในการรักษาจิตที่เป็นกุศลที่ถึงพร้อม

    กามคุณ คือสิ่งที่น่าปราถนา ชวนให้รักใคร่กำหนัดยินดีต่อการบำเพ็ญตนมัวเมาให้ลำบากเปล่า ด้วยวัตรปฏิบัติ ที่ไม่เป็นกลาง ตรึงมากเกินไป
    เคร่งมากไป หย่อนยานมากเกินไป ไม่ใช่หนทางของการตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    อริยสัจ 4
    ทุกข์เป็นสิ่งที่พึงกำหนดรู้
    สมุทัย เหตุของทุกข์ทั้งมวลพึงละ
    นิโรธ คือความดับทุกข์
    มรรค คือหนทางดำเนินไปสู่หนทางแห่งความดับทุกข์
    เราเรียกว่านิโรธ

    พระอริยสาวกย่อมเห็นอยู่อย่างนี้
    อายตนภายใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ไม่เที่ยง เกิด แล้ว ดับไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรเป็นของๆเรา
    หรือ ของๆใคร เป็นธรรมชาติ ที่เกิด และ ดับ ไม่เที่ยง
    ข้อที่ว่าไม่เที่ยง เพราะมีความแปลปวนอยู่เป็นนิจ
    พระอริยสาวก เมื่อมาเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในความเกิด และ ดับ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับ ไปในที่สุด
    ย่อมมีจิตที่คายจากความยึดมั่นถือมั่นนั้น เมื่อคายจากความยึดมั่นถือมั่นนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้นย่อมหลุดพ้น เมื่อพ้นแล้วก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว

    อายตนภายนอกทั้ง ๖ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส(โผฏฐัพพะ) ธรรมารมณ์

    รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส(โผฏฐัพพะ) ธรรมารมณ์
    เป็นอนัตตา ไม่เป็นตัว ไม่ใช่ตน ไม่เป็นของๆใคร
    ไม่อยู่ในอำนาจของๆใคร หาตนในตัว ตนในตนไม่มี

    สังขารทั้งหลาย มีอันแตกดับ ไปเป็นของธรรมดา
    พระอริยสาวก เมื่อมาเห็นอยู่อย่างนี้ สังขารที่มีภายในและสังขารที่อยู่ภายนอกก็ดี ย่อมพุพัง เสื่อมสลายไปในที่สุด
    เป็นอนัตตา เพราะเป็นสิ่งไม่มีแต่แรกแล้ว พระอริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ตนของตนไม่มีภพใหม่

    บุคคลจะประเสริฐ ไม่ใช่มาจากตระกลูที่สูง ไม่ใช่การศึกษาที่ดี หรือรู้มาก ไม่ใช่มาจากการมีทรัพย์มาก

    บุคคลจะประเสริฐ ก็ด้วยการ รู้จักให้แบ่งปัน รักษาศีล เจริญภาวนา<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  9. ดินหอม

    ดินหอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +187
    1.ทุกการเคลื่อนไหวย่อมเกิดจากการสั่งของจิต หากสติอ่อนกำลังย่อมตามจิตไม่ทัน ลำดับไม่ถูกว่าจิตสั่งให้จับก่อนหรือมองก่อน ความจริงต้องมองก่อนแล้วถึงจับ มิเช่นนั้นคงจับไม่ถูกใบไม้
    2.จิตรับเสียงนกร้องจากหู สั่งให้ตามองหา เห็นนกมองตามเจอแสงเข้าตาจิตสั่งให้ยกมือป้องแสงเพื่อตาได้เห็นนกชัด เป็นคำสั่งของจิตอย่างมีขั้นตอนมีสัญญาจำได้หมายรู้จึงทำซ่ำๆจนกลายเป็นระบบอัตโนมัติ หากมีสติจะตามเห็นคำสั่งของจิตได้ทุกขณะที่จิตเคลื่อนไหว
    จิตเราเคลื่อนไหวทุกเวลา รวดเร็ว สติตามบ่อยๆจะเหนื่อยล้าอ่อนแอ ควบคุมไม่ได้ จิตจะฟุ้งซ่านยากแก่การระงับ
    การฝึกกรรมฐาน อย่าฝืนสังขาร จะทำให้จิตถูกกดทับ จะอึดอัดเคลียดซึมเศร้า ไม่เบิกบาน หากสบสนให้หันกลับมาใช้ อานาปาณสติ ตามดูลมหายใจเข้าออก
    เมื่อจิตมัวตามลมอยู่ จนอยู่กับปัจจุบัน ไม่มีอดีต อนาคต รู้ไปตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ตามไปสร้างอุปาทาน สติจะแข็งแรงตามจิตได้ควบคุมได้ ไม่ต้องฝืนหรือบังคับให้เหนื่อย ลองเอาวิธีท่าน อ.Goenka ไปฝึกดูอาจง่ายกว่าที่เคย

    ลองโหลดไปฟังสัก2ตอน อาจถูกจริต
    1-2.rar
     
  10. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ��ѧ�Ե� palungjit.org > ��ѡ�ٵ� �����Է��

    มหาสติปัฏฐานสูตร

    จากพระพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒


    ทีฆนิกาย มหาวรรค


    (คัดลอกเพียง"พระสูตร"ธรรมที่กล่าวตรงจากพระสัมมาสัมพุทธองค์)


    อุทเทสวาร



    <DL><DD>[ ๒๗๓ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- <DD>สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุ <DD>นิคมของหมู่ชนชาวกุรุ ชื่อ กัมมาสทัมมะ <DD>ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า <DD>ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนี้ <DD>ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลรับพระพุทธพจน์ <DD>ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระเจ้าข้า ดังนี้ <DD>พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า </DD></DL>

    <DL><DD>ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย <DD>ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก <DD>เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย <DD>เพื่อความก้าวล่วงซึ่งความโศกและความร่ำไร <DD>เพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส <DD>เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง <DD>ทางนี้คือสติปัฏฐาน ( ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ ) ๔ อย่าง <DD>สติปัฏฐาน ๔ อย่างเป็นไฉน </DD></DL><DL><DD><DD>ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ <DD>ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ <DD>มีความเพียร(อาตาปี) มีสัมปชัญญะ(สมฺปชาโน) มีสติ(สติมา) <DD>นำอภิชฌาและโทมนัส(ความยินดียินร้าย)ในโลกเสียให้พินาศ <DD><DD>เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ <DD>มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ <DD>นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ <DD><DD>เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ <DD>มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ <DD>นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียให้พินาศ <DD><DD>เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ <DD>มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ <DD>นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ </DD></DL>


    กายานุปัสสนา

     
  11. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    วันนี้ทั้งวันผมขออนุญาติลองของอีกครั้งหนึ่ง โดยมีความคิดว่า ถ้าวันนี้ไม่รู้เห็นการเคลือนไหวของกายทุกวันของร่างกาย ก็คงจะทบทวนใหม่กลับมาตั้งหลักใหม่ ตามคำแนะนำ(แต่ก็แอบเอาคำแนะนำนี่หล่ะลองมาใช้)
    คือ ทั้งวันวันนี้ ผมสักเกตุเห็นการขยับของกาย เช่น การลุก การนั่ง เหยีดมือ หาว ก้ม เงย คัน ส่วนนี้ ล้วนมาจากกาย หรือรูปส่วนหยาบ เกิดจากการเกิดเวทนาของรูปนั่นเอง
    บางครั้งเช่นอาการเกาจมูก เวทนาเกิด สัญญาเกิดว่าตรงจมูกนะคัน มันก็เกา เป็นต้น บ้างก็เหยีดขาบ้าง หรืออะไรในประเภทข้างต้น ก็เลยทำให้ผม นึกขำขึ้นในใจเจ้าของ
    เมื่อรู้ว่าเวทนาเกิดในทีใด ในแต่ละวันนั้น ก็เห็นแล้ว ว่ามัน ทุกข์ ประหนึ่งว่ามันก็ปลงบ้าง
    เล็กน้อย แต่ไม่ได้ปลงในการเห็นตอนเช้าที่ทำ แต่ที่ผมจ้องทั้งวันนั้น มันก็ไม่หนีไปจากนี้ ก็เห็นแล้วว่ามันปลงไปบ้าง ว่า ทุกขเวทนา ใจหนึ่งก็เกิดพูดกับตัวเองว่า นี่ไง อนัตตา อนิจจัง
    นี่ มันลอยออกมาแบบนี้ครับ
    ส่วนที่2. ส่วนนี้ผมเฝ้าดูแล้ว เช่นอาการที่ว่า หันไปมอง จากใครเรียกชื่อ เมื่อได้ยินเสียงแล้ว ตาก็หันไปมอง ส่วนนี้อาการคือ ได้ยินแล้ว จิตไปก่อน แล้วข่อยหันไปมอง แล้วอากับกริยาของกายที่เห็นข้างต้น จากการนั่งหันข้างให้ กายก็เอามือไปค้ำเก้าอี้ไว้ เพื่อไม่ให้มันปวดเอว จากการเหลียวมองตามเสียง นี่กายมันขยับอย่างนี้ ผมก็ประจักแล้ว ว่ามันอัตโนมัต ตามความจำเดิมว่า ถ้าไม่ค้ำกายมันจะเจ็บนะ แต่ก็ใช่ว่าเมื่อค้ำกายแล้ว เวทนาจะไปที่เดียว มันดันมาที่ขาอีก เป็นประมานว่าอย่างนี้ทั้งวัน นั่น อันนี้ยิ่งขำ จากการที่ขำ แฟนก็เลยถามว่า ขำอะไร ผมเองก็ไม่รู้ว่าจะตอบยังไง ไม่อยากตอบ ได้แปต่ยิ้ม แต่นั้นแหละ แฟนผมคงคิดว่าผมบ้า
    สรุปทั้งวันของผม ถ้าเกิดจากเวทนาร้อยละ70 จากกายมันขยับ
    ส่วนร้อยละ30 มันขยับจากการได้ยิน ได้เห็น เป็นส่วนมาก และเป็นสิ่งที่ผมรู้สึกว่าต้องระวังมากที่สุดในบันดาการรับรู้ และอากับกิริยาการเคลือนไหว หรืแม้กระทั่งจิตที่ไปข้างนอกมันเอาอะไรกลับมาบ้าง..
     
  12. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ตรงส่วนนี้ ผมขอตอบว่า การจับลมหายใจของผมนั้น ก็จากการเพ่งกสินดินหรือไฟมาแล้ว ผมรู้สึกว่าอึดอัด แต่พอมาภาวนาพุทธ โธ ก็อึดอัดเล็กน้อน เรียกได้ว่าน้อยกว่า เพ่งกสินครับ เริ่มจากการภาวนาพุทธ โธ ผมต้องขออภัยด้วย ว่าการจับลมเข้าออกนั้น ทำให้ผมเวียนหัว วูปเข้าวูปออก หรือ ไปจับที่จมูก ทำให้ผมเจ็บปลายจมูกที่เพ่งอยู่ แต่ผมไปถูกกับมองจับให้เต็มใบหน้าทั้งใบ แล้วประคองลมหายใจเข้าออก เบาๆไม่ให้เผลอ สามารถทำได้ และจะหยุดภาวนาเมื่อไรก็สามารถทำได้ โดยไม่อ้างเวลาว่าเท่าไร แต่ที่ทำนี้ ผมเอามันอิ่มใจและสงบใจได้หายเหนื่อย แล้วผมก็ลุยมองกายต่อ สลับกันทั้งวันครับ
     
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    มันส์จริงๆ

    คนอื่น หรือแม้แต่นักทำสมถะ เขาก็จะว่า บ้า แต่เราบ้าแบบวิสามัญ(ไม่ได้ตั้งใจจะบ้า)

    ทีนี้ จะเห็นว่า เราไปหัวเราะ หัวเราะขำๆนี่ แรกๆมันหัวเราะอาสวะบางอย่าง(ใน
    ตำราเรียกว่าหัวเราะเยาะมาร)

    แต่อย่าไปหัวเราะบ่อย มันจะสร้างสภาวะ จิตยิ้ม มาลวงเราเอาได้

    ดังนั้น ควรใคร่ครวญให้เห็น ทุกขัง เพิ่มจากอนิจจัง อนัตตา ไม่งั้นมันลอย
    ไปข้างนอก จะไม่อยู่ที่กาย ....อันนี้ลองสังเกตดู หากมันออกไปข้างนอก
    มากๆ ก็จะเหมือนที่คนทัก แค่ใบไม้ไหวเราก็จะหัวเราะ มันจะสะดุ้ง มันจะเสียว
    มันจะตื่นรู้เกินไป ....แต่ถ้าเห็นสภาวะกระเดิดของจิต พุ่งไปของจิตอยู่ ก็ไม่
    เป็นไร ตรงนี้แล้วแต่ความว่องไวในการ อยู่ที่รู้ หรือ รู้อยู่ที่จิต

    แล้วจะค่อยเห็น ความั่นคง ตั้งมั่น เป็นกลางในการรู้ สวนกระแสเข้ามา

    อ้อ หลังจากตรงนี้ ก็จะมีอาการ ลืมนู้นลืมนี่ อย่าตกใจนะครับ มันเป็นช่วงตื่นรู้
    สนุกในการดู มันจะละเสียตะพึด ทำให้ลืมนู้นลืมนี่ได้ อย่าไปตกอกตกใจคิด
    ว่าสมองเสื่อม ...ตรงนี้จะมั่นใจว่าอยู่บนทาง ก็ต่อเมื่อ เราตอบสนองต่อโลก
    ด้วยศีลให้เราเห็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2010
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    แบบนี้แสดงว่า เราเป็นคนคิดมาก

    เพราะว่า จิตคอยแต่จะวิ่งออกไปในทาง เอาจิตไปจับสิ่งๆต่างๆ แล้วคิดไปทั้งหมด

    ก็จะกลายเป็นคนประเภท มีปัญญา แต่ ฟุ้ง

    คนแบบนี้ เวลาไปนั่งสมาธิ มันข่มไม่ลง เพราะจิตมันสอดส่าย มาจนมีกำลังแต่จะพุ่งออก

    ประเภทเดียวกับ นายเอกวีร์ นั่นแหละ

    คนแบบนี้ เวลา ไปนั่งสมาธิ มันนั่งไม่ค่อยจะได้ผล เพราะเห็นอะไรนิด จิตก็ไปจับ

    แล้ว วิพากษ์ ไปเสียทั้งหมด

    การปฏิบัติธรรม ได้ผล นั้น สิ่งต่างๆ แม้เห็น ก็เห็นผ่าน ไม่มีความหมาย เพราะมันเป็นสภาพธรรม หรือ ตถตา ทั้งสิ้น

    ซึ่ง จิตนี้ ต้องอบรม ทั้งปัญญา และ ทั้งกำลังสมาธิ ทั้งวัตร ทั้งนิสัย ให้วางเฉย ๆ อะไรมองแล้วผ่านไป ทั้งสิ้่น
    ้ ตราบใดที่จิตยังไม่สงบ มันก็หิวความคิดอยู่นั่นเรื่อยไป ไม่หยุด สุดท้ายแล้วอารมณ์ก็เกิดง่าย ความคิดก็เกิดง่าย

    ให้ทำใจให้สงบ แล้ว พอได้ผลสงบแล้ว ค่อยเอาความสงบเป็นฐาน

    เมื่อจิตคิด ไป มันจะไม่วุ่นวาย แล้ว ผู้รู้จะสังเกตุเห็น ว่า ใจมันเคลื่อนไปอย่างไร

    แล้วนั่นแหละ จะทำให้เราสังเกตุ ความเป็นไปของจิตได้ทั้งหมด

    เมื่ออบรมบ่มเพาะมากๆ เข้า ก็จะเห็น ความโง่ ความหลงทั้งปวง
     
  15. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    จิตคุณยังไม่เป็นสมาธิ
    เมื่อจิตเป็นสมาธิ
    จะเหมือนน้ำที่ใสมองอะไรก็เห็นหมด

    ต้องเข้าให้ถึงผู้รู้ จุดของความรู้ จุดแห่งความสงบ
    เมื่อนั้นจะเข้าใจ

    ที่คุณโพสต์มาบอกตามตรง
    ยังสเปะสปะ ยังไม่ได้หลักได้เกณฑ์อะไร

    คำถามจึงไม่มีหลักมีเกณฑ์

    คนที่เค้ามีหลักมีเกณฑ์แล้ว
    ในโพสต์ของเค้า
    มันต้องมีอะไรแย็บมาพอให้จับจนได้ว่า
    เค้าพอมีหลักมีเกณฑ์อยู่บ้างนะ

    ส่วนคนที่ยังไม่มีหลักมีเกณฑ์
    ดูไม่ยากที่โพสต์มาจะสเปะสปะไปเรื่อย

    ขอโทษนะครับที่ต้องพูดตรง ๆ
    เพราะมันอาจจะทำให้คุณสดุดใจได้บ้าง
     
  16. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ท่านขันธ์ อยากจะแนะนำอะไรให้ผมเพิ่มเติม ในทางเดินของผมเพื่อจะได้เป็นไปทางเดียวกันไหมครับ จากในกระทู้ที่ท่านขันธ์กล่าวถึงนั้นตอนนี้ผมเห็นอย่างนั้นแล้วและกำลังจะคิดว่า ไม่เจาะลงแล้ว เพราะรู้แล้วในสิ่งที่ได้ทำทั้งวันเมื่อวาน ผมคิดว่า จะดูกายนี้ทั้งวัน ไม่คิดอะไรว่านี่มัน คัน เพราะอะไร มันเหยีดนิ้วเพราะอะไร แต่จะมอง อย่างเดียว ว่ากายขยับอย่างเดียวแต่ไม่ไปหา ไปกดว่าจะก้าวขาออกยังไง เป็นประมานว่ารู้ว่าก้าว เป็นต้น และจะสังเกต อาการ ที่ออกไปของจิต ถ้าจิตออกกาย ก็สักแต่รู้ว่าออก อย่างนี้ ถ้าอย่างนี้แล้ว เห็นสมควรอย่างไรครับ
     
  17. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ถ้าอย่างนั้นแล้ว ผมถนัดดูการเคลือนไหวของกายมากกว่า จะมีข้อเสนอแนะนำอย่างไรบ้างครับ
     
  18. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ต้องขออภัย รู้สึกว่าจะรบกวนท่านผู้รู้มากมาย ออกจะถามมากเกิดธรรมดาไปสักหน่อย แต่ขอให้ผมได้รู้แก่นสารจากการปฏิบัติจริงๆ หลังจากนี้แล้ว ก็อาจจะห่างออกจากคำถามเพื่อจะทำให้เห็นก่อน ถ้าติดขัดอะไรนอกจากนี้แล้ว จะต้องขอรบกวนท่านทั้งหลายท้วงติง ให้อีกทีครับ.
     
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241

    โห.....แบบนี้เรียกยอดนักรบ

    การรบที่ยากที่สุดคือ การถอย

    แต่นี่รู้รบ รู้ถอย ถอยได้ก็เพื่อรบ แบบนี้แหละ ....สบาย

    เนาะ เมื่อมีธรรมมันก็กล้า เมื่อเห็นวิถีทางมันก็ลุยได้

    สมาธิมีหรือไม่ จิตตั้งมั่นหรือไม่ ลุยเองรู้เอง

    สำคัญที่สุด รู้อะไรก็ต้องปล่อยออกไป

    เพราะ หนทางนี้คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่น

    * * **

    ลองสังเกตดูนะ สงสัยนี่ มันเกิดจากการยึดมั่นถือมั่นเป็นเชื้อ

    นิ่งๆนี่ ก็เกิดจากยึดมั่นถือมั่นเป็นเชื้อ

    หากไม่ยึดมั่นถือมั่นได้พอดี พอ...ดี... สงสัย และ นิ่ง ก็หลอกเราไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2010
  20. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ถ้าเห็นว่ามันเกิดขึ้นและผ่านไปได้ด้วยสติว่าเห็นนั่นคือสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นนั่นคือสิ่งที่เราเป็น และพอมันเคลื่อนผ่านไป ครั้งแรกจะรู้สึกสงสัย แต่ทำบ่อยๆเข้าหากความสงสัยยังมีอยู่แสดงว่านั่น เรายังไม่เห็นหมดทุกกระบวนการ นั่นเพราะสติยังไม่อาจเห็นได้หมดทุกกระบวนการ ของการเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆ จึงยังต้องสงสัย โดยส่วนตัวผมถือว่ามันเป็นเรื่องปกติครับที่คุณเป็น และหลักของผมคือ สติ รู้ก็ว่ารู้เห็นก็ว่าเห็น ไม่หลอกตนเอง และมองเหตุการณ์ต่างๆที่เกิด จนสิ้นสุด บ่อยๆเข้า มันมีสองทางเลือกคือ หากถูกครอบงำด้วยกิเลสมันก็จะแสดงอาการว่า ชอบ ไม่ชอบ เฉยๆ กับสิ่งที่เจอ หากอีกทางคือไม่มีสิ่งนั้นมีแต่ความเข้าใจ มีแต่ความเห็นว่านั่นเรื่องที่เกิดนั้นเป็นไปตามสิ่งที่เรียกว่าธรรม
    สาธุคั๊บ
     

แชร์หน้านี้

Loading...