โดนขังวิญญาณ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ainteerati, 14 สิงหาคม 2010.

  1. mind stone

    mind stone เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +1,296
    คุณ จิ-โป ช่างมีบุญวาสนาดีจริงๆครับที่ได้ครอบครองธนสิทธ์ที่หายาก...ขออนุโมทนา...
     
  2. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    [​IMG]




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    [​IMG]




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    ทำไมถึงเรียกยันต์กระทู้เจ็ดแบก ... กระทู้เจ็ดแบก นี่มีความหมายว่าอย่างไงนะคะ ที่ยันต์มีขีดเส้นโยงไปโยงมา เหมือนสามเหลี่ยมข้าวหลามตัด.........อืมร์ ถ้าตัดครึ่งแต่ละอันคงเป็น สามเหลี่ยม..หลายๆอัน หินของศิลามณี เขาก็มีเหลี่ยมของหิน ที่คล้ายๆสามเหลี่ยม ... นี่ขึ้นปรากฏซ้อนขึ้นอยู่หลายๆอันเหมือนกันคะ ...เคยอ่านในหนังสือ เขาว่าสามเหลี่ยมนี่ ... มีความหมายคือ เป็นสัญลักษณ์ของพระรัตนตรัย .. .ถ้าเทพเจ้า..เป็น พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์.. สามพระองค์....พระตรีมุรติ หรือเปล่าคะ
     
  5. angeltk229

    angeltk229 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,584
    ค่าพลัง:
    +6,912
    รูปบนเข้าใจว่าเป็นยันต์เกราะเพชรหรือเปล่าคะ
     
  6. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196

    ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับฝากถามด้วยคน
    แต่อย่างที่เข้าใจคือ ตัวอักขระที่โยงจะเป็นการผสม เช่น คน-เกิด-มี-ด้วย-...
    พอโยงเป็นตัวอักขระจบก็จะเข้าไปสู่ใจกลางที่เป็นมงกุฎ นั้นคือหัวใจแห่ง
    อักขระที่โยงใว้ คาดว่านะครับ
     
  7. โอ๊ตศ์

    โอ๊ตศ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    333
    ค่าพลัง:
    +1,107
    หมู่นี้เจอแต่คนเก่งที่อายุยังน้อย..แค่รุ่นน้องๆ เนี่ย
    มโน..แจ่ม กิ๊ก เลย ^^
     
  8. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275

    ถูกต้องแล้วครับ..............
     
  9. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา คือ กระทู้7แบก ประจำอยู่ ทิศบูรพา
    ติ หํ จะ โต โร ถิ นํ คือ ฝนแสนห่า ประจำอยู่ ทอศอาคเณย์
    บิ สัม ระ โล บุ สัต พุท คือ นารายณ์เกลือนสมุทร ประจำอยู่ ทิศทักษิณ
    โส มา ณะ กะ ริ ถาโธ คือ นารายณ์ทอดจักร์ ประจำอยู่ทิศหรดี
    ภะ สัม สัม วิ สะ เท พะ คือ นารายณ์ขว้างจักรตรึงไตรภบ ประจำอยู่ทิศประจิม
    คะ พุท บัน ทู ธัม วะ คะ คือ นารายณ์พลิกแผ่นดิน ประจำอยู่ ทิศพายัพ
    วา โธ โน อะ มะ มะ วา คือ ตวาดฟ้าป่าหิมพานต์ ประจำอยู่ทิศอุดร
    อะ วิช สุ นุช สา นุ ติ คือ นารายณ์แปลงรูป ประจำอยู่ ทิศิสาน


    <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=utf-8"><meta name="ProgId" content="Word.Document"><meta name="Generator" content="Microsoft Word 11"><meta name="Originator" content="Microsoft Word 11"><link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Canun%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    ส้นขีดที่ลากไปมานอกยันต์นั้น หมายถึง “สายรกของพระพุทธเจ้า”ส่วนเส้นที่อยู่ถายในยันต์ เรียกว่า”กระดูกยันต์”ยันต์มีหลายแบบต่างๆกันไปเช่น
    <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=utf-8"><meta name="ProgId" content="Word.Document"><meta name="Generator" content="Microsoft Word 11"><meta name="Originator" content="Microsoft Word 11"><link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Canun%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C03%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    *ยันต์กลม มีความหมายว่าเป็นพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึงพระพักตร์ของพระพรหม<o:p></o:p>
    *ยันต์สามเหลี่ยม มีความหมายเป็นพระรัตนตรัย หรือภพทั้งสาม ส่วนทางพราหมณ์ให้ความหมายว่าเป็นพระเป็นเจ้าทั้ง3ของพราหมณ์คือพระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์<o:p></o:p>
    *ยันต์สี่เหลี่ยม มีความหมายเป็นทวีปทั้งสี่ หรือธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ<o:p></o:p>
    *ยันต์รูปภาพ มีทั้งรูปภาพ เทวดา มนุษย์ และสัตว์ต่างๆส่วนความหมายก็อยู่ในตัวของรูปภาพนั้นๆ<o:p></o:p>
    การลงยันต์หรือการเขียนยันต์นั้นจะใช้อักขระขอม ชึ่งเขียนเป็นตัวย่อของคาถาแต่ละบท เพราะหากเขียนคาถาลงไปในยันต์ทั้งหมดเนื้อที่คงไม่พอ จึงใช้อักขระย่อส่วนตัวเลขที่อยู่ในยันต์ก็ย่อมาจากอักขระของพระคาถา ข้อควรระวังในการลากเส้นยันต์นั้นควรลากทีเดียวให้ตลอดไม่ใช้ลากแล้วหยุด หากลากแล้วหยุดถือว่ายันต์นั้นใช้ไม่ได้ ต้องใช้พระคาถาหรือสูตรในการต่อเส้นยันต์นั้นใหม่ยันต์นั้นจึงจะใช้ได้ และการลงอักขระให้ระวังอย่าลงอักขระทับเส้นยันต์เพราะจะทำให้ยันต์นั้นใช้ไม่ได้ ท่านเรียกว่าเป็นยันต์ตาบอดการลงยันต์หรือการเขียนยันต์หากยันต์นั้นมีคาถาหรือสูตรกำกับไว้ผู้เขียนจะต้องภาวนาคาถานั้นไปด้วยพร้อมกับการลงยันต์ ฉะนั้นจึงต้องใช้สมาธิสูง สส่วนขั้นตอนและวิธีการลงยันต์พร้อมทั้งสูตรต่างๆยังมีอีกมากครับ<o:p></o:p>

     
  10. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196
    ขอบคุณครับ คุณ ainteerati สมเป็นผู้รู้เรื่องอักขระยันต์ต่างๆจริงๆ
     
  11. คะรุทา

    คะรุทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,243
    ค่าพลัง:
    +3,477
    ทักทายค่ะ ...สบายดีกันทุกๆท่านนะคะ ช่วงนี้คะรุทายุ่งมาก เลยไม่ค่อยได้เข้ามาทักทายค่ะ
     
  12. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321

    เย้...คุณคะรุทา มาแล้ว งานยุ่งมากๆเลยเหรอคะ หายไปตั้งหลาย..ยย วันเลยคิดถึงนะคะ
     
  13. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
     
  14. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1175359/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. คะรุทา

    คะรุทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,243
    ค่าพลัง:
    +3,477
    ช่วงนี้ยุ่งนิ๊ดนึงค่ะ ได้แต่แว๊บไปแว๊บมา สัปดาห์นี้ วิ่งเก็บปัจจัยคนที่ร่วมหล่อพระประธานนะคะ แล้วคืนวันที่ 22 คณะคะรุทาเดินทางไปถวายพระประธานเช้าวันออกพรรษานะคะ เลยยุ่งหลายเรื่อง งานราษฏร์ งานหลวง งานบุญ งานธุรกิจ อุ๊ยยย มึนไป 40 ตลบแล้วค่ะ
     
  16. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    ธรรมน่าคิดของ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
    ดูไม้ท่อนนี้ซิ ... สั้นหรือยาว
    สมมติว่า คุณ
    อยากได้ไม้ที่ยาวกว่านี้ ...ไม้ท่อนนี้มันก็สั้น
    แต่ถ้าคุณ
    อยากได้ไม้สั้นกว่านี้ ... ไม้ท่อนนี้มันก็ยาว
    หมายความว่า
    ตัณหา
    ของคุณต่างหาก
    ที่ทำให้มีสั้น มียาว มีชั่ว มีทุกข์ มีสุข ขึ้นมา
     
  17. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    อิทธิบาท ๔
    อิทธิบาท ๔ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณเครื่องสำเร็จประสงค์, ทางแห่งความสำเร็จ, หรือบาทฐานแห่งอิทธิหรือความสำเร็จด้วยดี อันมี ๔ ประกอบด้วย
    ๑. ฉันทะ ความพอใจ ความรักใคร่ ความยินดีในสิ่งนั้น เป็นความหมายในทางกุศล ที่หมายถึง ความรักงาน ความรักในกิจที่ทำ
    ๒. วิริยะ ความพากเพียร ความพยายามในสิ่งนั้น
    ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ ความฝักใฝ่ ความสนใจในสิ่งนั้น
    ๔. วิมังสา
    ความหมั่นสอดส่องการพิจารณาหาเหตุหาผลในสิ่งนั้น
    ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องสัมพันธ์กัน และแต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน เป็นเหตุเป็นผลเกื้อหนุนกัน กล่าวคือ เมื่อมี ฉันทะ ความยินดีความรักในกิจหรืองานที่กระทำา ย่อมทำให้เกิด วิริยะ ความเพียรความพยายามในกิจหรืองานนั้น เมื่อมีความเพียรเกิดขึ้น จึงย่อมต้องเกิด จิตตะ ความฝักใฝ่ ความสนใจหรือเอาใจใส่ต่อสิ่งนั้น เมื่อฝีกใฝ่ใส่ใจย่อม วิมังสา สอดส่องหรือพิจารณาในสิ่งนั้นอย่างหาเหตุหาผลหรือกอปด้วยปัญญานั่นเอง อิทธิบาทจึงเป็นคุณอันวิเศษที่เกื้อหนุนให้ประสบความสำเร็จในกิจหรืองานต่างๆ พระองค์ท่านจึงตรัสว่า เป็นบาทฐานเครื่องแห่งความสำเร็จ อันมีเหล่าเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้ เป็นเครื่องหนุนหรือองค์ประกอบในการทำให้เจริญขึ้นในอิทธิบาท ๔
    จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก
    อิทธิบาท ๔ จึงเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมาย
     
  18. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    พระไตรปิฎก
    เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์ หัวข้อที่ ๕๐๘
    ได้อรรถกถาธิบายไว้ดังนี้
    คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การสำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึงซึ่งธรรมเหล่านั้น
    คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
    คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
    <center>ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒ ปุพพสูตร
    (พระไตรปิฏก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๙)
    วิธีเจริญอิทธิบาท ๔
    </center>
    วิธีเจริญอิทธิบาท ๔
    [๑๑๓๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่
    ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
    อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ของการเจริญอิทธิบาท.
    [๑๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่า
    ฉันทะ ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก
    และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
    เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
    กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
    เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.
    [๑๑๓๘] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า
    วิริยะ ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก
    และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
    เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
    กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
    เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.
    [๑๑๓๙] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า
    จิต ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก
    และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
    เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
    กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
    เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.
    [๑๑๔๐] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า
    วิมังสา ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก
    และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
    เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
    กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
    เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
    [๑๑๔๑] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง.....ฯลฯ.
    [๑๑๔๖] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมกระทำให้แจ้ง
    ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
    จบ สูตรที่ ๑
    <center> (พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)
    </center>
     
  19. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    <center> วิภังคสูตร
    วิธีเจริญอิทธิบาท ๔
    </center> [๑๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิต ให้สว่างอยู่ ย่อม เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสา ของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่. [๑๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบ ด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไป.
    [๑๑๘๑] ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป.
    [๑๑๘๒] ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน.
    [๑๑๘๓] ก็ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก.
    [๑๑๘๔] ภิกษุมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างไร? ความสำคัญในเบื้องหลังและ เบื้องหน้า อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
    [๑๑๘๕] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณากายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องล่างแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
    [๑๑๘๖] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ ด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วย เพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
     
  20. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    [๑๑๘๗] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร? อาโลกสัญญา (ความสำคัญในแสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่อย่างนี้แล. [๑๑๘๘] ก็วิริยะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่าวิริยะที่ย่อหย่อนเกินไป.
    [๑๑๘๙] ก็วิริยะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคองเกินไป.
    [๑๑๙๐] ก็วิริยะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุต ด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิริยะหดหู่ในภายใน.
    [๑๑๙๑] ก็วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? วิริยะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่าวิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
    [๑๑๙๒] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร อาโลกสัญญา อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.
    [๑๑๙๓] ก็จิตที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนเกินไป.
    [๑๑๙๔] ก็จิตที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุต ด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคองเกินไป.
    [๑๑๙๕] ก็จิตที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วย ถีนมิทธะ นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน.
    [๑๑๙๖] ก็จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? จิตที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภ กามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
    [๑๑๙๗] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.
    [๑๑๙๘] ก็วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไป.
    [๑๑๙๙] ก็วิมังสาที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคองเกินไป.
    [๑๒๐๐] ก็วิมังสาที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมป- *ยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน.
    [๑๒๐๑] ก็วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ [๑๒๐๒] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้ อำนาจทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้.
    [๑๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
    <center> จบ สูตรที่ ๑๐
    </center>
     

แชร์หน้านี้

Loading...