ท่านผู้รุ้ชี้แนะด้วยครับ ลมหายใจขณะนั่งสมาธิครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย GLiKe, 24 สิงหาคม 2010.

  1. GLiKe

    GLiKe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +137
    เรียนถามท่านผู้รุ้ครับ ผมพึ่งฝึกนั่งสมาธิได้ 4 วันแล้ว วันละครึ่ง ชม. ก่อนนอนครับ หัดขั้นต้นๆก็พิจารณา วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคตา...
    แรกๆ ก็ภาวนา พุท....โธ ..(ลมหายใจเข้าออก)...จนถึงลืมเรื่องวิจาร ไปขณะหนึ่ง...เพ่งอารมณ์อยู่กับจิตพักครู่หนึ่ง ....(ถึงตรงนี้ เรื่องมีอยุ่ว่า...)...ลมหายใจผมตอนนี้เริ่มหายใจเข้า-ออกเบามาก.ๆ (เหมือนหายใจเข้าได้แค่ 1 วินาที หายใจออกก็ได้แค่ 1 วินาที แต่ค่อยมากๆ) รู้สึกตัวหนักๆ แต่ผมก็ไม่คิดอะไร พยายามไม่สนใจกับลมหายใจ...แต่ดูเหมือนร่างกายจะขาดอากาศให้ได้ยังไงยังงั้นอ่ะครับ...แกรงว่าจะเกิดอันตราย (คือขาดอากาศอ่ะครับ)....จนต้องกลับมาหายใจแรงๆ อีกครั้งครับ....แล้วก็เริ่มใหม่....

    รบกวนท่านผุ้รุ้ชี้แนะด้วยครับ....
    .......ผมควรมีวิธีปฏิบัติกับปัญหานี้ เพื่อให้ผ่านจุดนี้ไปได้ยังไงครับ....
    ........ช่วงเวลาที่เราหายใจเบาลงเรื่อย ๆ เหมือนที่ผมเป็นขณะนี้เรียกว่าอะไรครับ....(ผมมิกล้าคิดเองว่าอยุ่ขั้นไหนครับ)
    ........จะเป็นอันตรายไหมครับ.....(เพราะหลังจากออกสมาธิผมจะตาพ่ามั่ว เหมือนมีหมอกๆ สีขาว เต็มห้อง ใจอิ่มๆ บอกไม่ถูกครับ...)


    ....การทำสมาธิของผมมิหวังสิ่งใด...เพียงให้จิตสงบ ปกติธรรม ครับผม.....
    สุดท้ายขอขอบพระคุณท่านผู้รุ้ที่ชี้แนะครับ....อนุโมทนาบุญด้วยครับ...
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ไม่เป็นไร ไม่เป็นอันตรายครับ ต่อให้หายใจแผ่วเบา นาน ๆ หายใจครั้ง หรือวางลมหายใจได้ไปเลย ก็ไม่ตายครับ ไปจดจ่อกับมันก็มีอาการอึดอัดบ้าง ปรับลมหายใจได้นี่ครับ พยายามอย่าไปบังคับมันถึงขนาด มันต้องเบา และเบาอย่างนั้น ปล่อยมัน ปรับให้มันหายใจแรง ๆ ลึก ๆ ได้

    ส่วนเรื่องขั้น อย่าสนใจเลย ทำอะไร ก็ต้องลงแรง ทำให้จริง เวียนว่ายตายเกิดเป็นแสนชาติ เป็นล้านชาติ มันไม่ก้าวหน้าไว มันไม่ข้ามขั้นง่ายหรอกครับ

    ค่อย ๆ ทำ ค่อย ๆ สะสม บุญ สะสม บารมี ไป เอาให้มันได้สมาธิ เอาให้มันได้ศีล แล้วปัญญาจะเริ่มเกิด ถ้าเริ่มแยกบาป บุญ คุณ โทษ และรู้จักค่อย ๆ ละมันได้ ค่อยนับว่าก้าวหน้า
     
  3. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    หายใจเข้า คือวิตก ประคองลมหายใจออก คือวิจารณ์ (ท่านเปรียบเหมื่อน นกกระพือปีกเป็นวิตก ตอนที่นกใช้ปีกกระคองเพื่อร่อนลมหลังจากกระพือปีกนี่ เปรียบเสมือน วิจารณ์)

    ตอนหายใจเข้า ให้บริกรรมว่า "พุทธ" หายใจออกให้บริกรรมว่า "โธ" โดยเอาจิตจดจ่อที่ลมหายใจปลายจมุก ต้อนเริ่มต้นให้หายใจเข้ายาว และออกยาว สัก สามหรือห้าครั้ง จากนั้นค่อย ๆ ผ่อนลง ๆ

    จากนั้นลมหายใจจะสั้นและถี่ลงเลี่อย คือลมละเอียดขึ้นเรื่อย ๆ

    แล้วคำภาวนาก็จะค่อย ๆ แผ่ว ลง ๆ ๆ ๆ ๆ จน คำบริกรรมหายไป

    ตอนนี้ลมหายใจละเอียด แต่ยังมีอยู่นะ อย่าตกใจ พอละเอียดเข้า ๆ เราจะมีความรู้สึกอิ่มเอิบทางกาย (ปิติ)

    ทำมาได้ถูกทางแล้วครับ

    พอมีสติรู้ ข้ามปิติไปได้แล้ว จะรู้สึกว่าตัวหรือร่างกายหายไป เหลือแต่สติรู้อยู่กับความสุขทางใจ สุขใจอย่างยิ่ง

    ขั้นต่อไปก็มีสติรู้ ละความสุขทางใจนี้เสีย คราวนี้เหมือนลมหายใจจะดับไปเลย แต่ไม่ดับนะ ก็จะมีสติรู้อยู่กับความเฉย ๆ

    แค่นี้จัดเป็นสมถสมาธิ แม้จัดว่ามีคุณมาก แต่ยังไม่ถึงประโยชน์ที่จะทำให้ได้ยิ่งไปกว่านี้ นั่นคือ สมาธิที่เป็นวิปัสสนา ที่จะทำให้ได้ปัญญาญาณ เป็นญาณที่ทำให้รู้แจ้งในกองสังขาร

    จำว่าสมาธิต้องเป็นไปโดยอ่อนโยนตามธรรมชาติ ไม่เกร็ง ไม่ฝืน ไม่บังคับ ทั้งร่างกายหรือบีบบังคับความรู้สึกใด ๆ ถ้าเกร็ง ฝืน บังคับ หรือบีบความรู้สึก แสดงว่าผิดวิธี จะทำให้เครียดทั้งกายและใจ และสมาธิจะไม่ได้ผล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 สิงหาคม 2010
  4. ลุงมหา

    ลุงมหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,092
    ตอบ สมาธิภาวนา สำหรับผู้หัดใหม่

    ขออนุญาติครับ (ต้องขออภัยที่นำคำตอบของผมเดิมมาตัดต่อใหม่)
    ตอบ สมาธิภาวนา สำหรับผู้หัดใหม่
    คุณต้องเข้าใจก่อนว่า
    การปฏิบัติภาวนา เป็นการ สร้างบุญบารมี โดยตรง
    การปฏิบัติภาวนา เป็นการ ฝึก สติ ให้ รู้เท่าทันจิต ก็คือ สมาธินั่นล่ะครับ
    อธิบาย ถึงขั้นนี้จะมีอาการเบื้องต้นคือ “ลมหายใจจะละเอียดขึ้นๆจนเสมือนประหนึ่งว่าหยุดหายใจ หรือลมหายใจหายไปแต่ยังมีสติอยู่ครบถ้วน”
    ซึ่งแม้ว่าลมหายใจจะละเอียดแค่ใหนแต่ธรรมชาติของคนมันก็ยังหายใจอยู่ดี นักปฏิยบัติส่วนมากมาถึงตรงนี้จะกลัวตายเพราะหยุดหายใจก็เลยถอนออกจากสมาธิ
    การปฏิบัติภาวนา เป็นการ ฝึก สติ ให้ เร็วกว่าจิต เพื่อ ควบคุมจิตให้ได้ อันนี้เป็น ขั้น ปัญญา
    อธิบาย เมื่อลมหายใจละเอียดขึ้นๆจนเสมือนประหนึ่งว่าหยุดหายใจ หรือลมหายใจหายไปต่อหน้าต่อตาทั้งๆที่มีสติอยู่
    ก็ให้มองหาลมหายใจที่ละเอียดนั้น ซึ่งแม้ว่าลมหายใจจะละเอียดแค่ใหนแต่ธรรมชาติของคนมันก็ยังหายใจอยู่ดี นักปฏิยบัติส่วนมากมาถึงตรงนี้จะกลัวตายเพราะหยุดหายใจก็เลยถอนออกจากสมาธิ ก็ให้จับลมหายใจให้เจอ แล้วก็ให้ภาวนา พุทธ หายใจเข้า โธ หายใจออก ต่อไป จนกว่า สติจะเร็วกว่าจิต
    อาการเบื้องต้นของสติเร็วกว่าจิตก็คือ “สติจะมองเห็นจิต”
    ซึ่งจิต “คือความคิด คือความรู้ คือวิญญาณ” ส่วนสติ คือ ตัว “รู้ดี รู้ชั่ว รู้ถูก รู้ผิด”
    เมื่อสติเร็วกว่าจิต มันก็จะควบคุมจิตโดยธรรมชาติของมันเอง
    การนั่งหลับขณะนั่งสมาธิ
    ขออนุญาติครับ
    บางท่านไม่เข้าใจว่าการนั่งหลับเป็นส่วนหนึ่งของการนั่งสมาธิ พาลไปตำหนิติเตียนเขาซะอืก คือมันเป็นอย่างนี้ครับ
    การที่เรียกว่าจิตเป็นสมาธิคือการที่เราผ่านภวังค์เข้าไป ภวังค์ที่ว่าคืออันเดียวกันกับที่เราผ่านตอนจะนอนหลับ คือภวังค์เป็นเหมือนม่านบางๆที่กั้นอยู่ระหว่างการหลับกับการตื่น และภวังค์อันเดียวกันนี่ล่ะที่เป็นม่านบางๆกั้นระหว่างการภาวนากับการเข้าเข้าสมาธิ
    เวลาที่ท่านเข้าสมาธิใหม่ๆทุกๆท่านก็หลับเหมือนกันหมดละครับ ถ้าท่านไม่หลับ
    แล้วเวลาที่หายไปมันหายไปใหน เช่นนั่งสมาธิหนึ่งชั่วโมงแต่รู้สึกเหมือนนั่งแค่ สิบนาที ที่หายไปห้าสิบนาทีก็คือนอนหลับในท่านั่งสมาธิไงครับ
    แต่พอนั่งไปนานๆจนชำนาญขึ้น เมื่อจิตมันหลับจนอิ่มมันก็ต้องตื่นเมื่อตื่นรู้ตัวแล้วก็ให้ภาวนาต่อไป เมื่อชำนาญมากๆก็จะเกิดการผ่านเข้าภวังค์ได้โดยไม่หลับ ต่อไปก็สามารถรักษาจิตไม่ให้หลับตลอดการนั่งสมาธิได้เอง
    และจะดำรงค์อยู่ในลักษณะที่เรียกว่า"เพลิดเพลินในธรรม"
    ถ้าท่านที่มีสติน้อยและหลับมากก็ให้เดินจงกลมมากขึ้นเพื่อเสริมให้สติกล้าแข็งขึ้น
    ท่านที่หลับมากเวลานั่งสมาธิ เมื่อเลิกนั่งก็จะมีอาการคล้ายๆง่วงนอนอยู่
    การนับความก้าวหน้าในสมาธิให้นับเฉพาะเวลามีสติในสมาธิเท่านั้น ตอนหลับไม่คิดครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเป็นไปตามธรรมชาติแบบที่ครูบาอาจารย์สอนว่า จิตจะสงบมันเป็นเรื่องของจิตเอง ฉนั้นจิตจะหลับ(เข้าสมาธิโดยไม่มีสติ)มันก็เป็นเรื่องของมันเหมือนกันละครับ
    ทำอะไรอย่าใจร้อนครับ ทุกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ชั่วโมงบินเราต่ำแล้วจะให้เก่งเหมือนคนอื่นเขาได้อย่างไร ผู้ปฏิบัติจะทำมากทำน้อยก็จะรู้ด้วยจิตท่านเองครับ
    ขออธิบายเพิ่มเติม
    คุณอยู่ในกลุ่มหัดใหม่ ที่มีอาการสามอย่าง คือ รู้ลมหายใจ รู้ความคิด รู้ความว่าง
    สำหรับผู้หัดภาวนาใหม่ๆ
    รู้ลมหายใจ คือ รู้ว่า หายใจเข้า ภาวนาว่า พุทธ รู้ว่าหายใจออก ภาวนาว่า โธ
    รู้ความคิด คือ รู้ว่า ใจลอยไปคิดเรื่องโน้น เรื่องนี้ พอรู้ตัวให้กลับไปเริ่มภาวนา พุทธ หายใจเข้า โธ หายใจออก ใหม่
    รู้ความว่าง ความว่างตัวนี้ คนละตัวกับความว่างในสมาธินะครับ ความว่างสำหรับคนเข้าสมาธิยังไม่ได้คือ การที่จิตผ่านภวังค์ได้แล้วแต่สติกลับตามไปไม่ทันก็เลยเกิดการนอนหลับในท่านั่งสมาธินั่นเอง เมื่อรู้ตัวตื่นขึ้นมา ตอนนี้ล่ะครับที่สำคัญมากเพราะการตื่นคราวนี้เป็นการตื่นที่ จิตผ่านภวังค์เข้าไปแล้ว สติตามไปตื่นในภวังค์ด้วย ก็เลยเป็นการเข้าสมาธิแบบที่ง่ายที่สุด(ที่ผมบอกว่าง่ายที่สุด ก็เพราะแค่นั่งสมาธิให้หลับพอตื่นขึ้นมาก็อยู่ในสมาธิซะแล้ว ไม่เรียกว่าง่ายแล้วจะเรียกว่าอะไร)
    แต่ปัญหาที่พบมากคือนักปฏิบัติหน้าใหม่มักพากันคิดว่าแรกๆปฏิบัติได้ครึ่งชัวไมงก็พอแล้ว ก็เลยแทนที่ตื่นขึ้นมาอยู่ในสมาธิแล้วกลับหมดเวลาพอดี วันแล้ววันเล่าเลยวนอยู่ที่เก่า ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองเข้าสมาธิเป็นแล้ว พอนานไปๆก็เพิ่มเวลาการปฏิบัติ เพราะคิดว่าตัวเองน่าปฏิบัติมานาน น่าจะเพิ่มเวลาได้ จึงได้รู้ว่าตนเองเข้าสมาธิได้แล้ว ทั้งๆที่ความจริงมันได้เข้ามาตั้งแต่ ตอนที่ตื่นมาแล้วมีสติรับรู้ว่าตื่นโน้นล่ะครับ
    การที่ทั้งจิตทั้งสติผ่านภวังค์เข้าไปโดยไม่หลับก็คือการเข้าสมาธินั่นเองครับ
    สรุปว่าการเข้าสมาธิมีสองวิธีคือ
    1. จิตผ่านภวังค์เข้าไปแล้ว แต่สติตามไปไม่ทัน ก็เลยเกิดการหลับในท่านั่งสมาธิขึ้น แต่ตามธรรมชาติเมื่อหลับจนอิ่มก็จะมีการตื่นก็จะเกิดอาการที่ว่า จิตผ่านเข้าไปในภวังค์แล้ว สติตามเข้าไปตื่นในภวังค์ตามหลัง จึงเกิดการเข้าสมาธิขึ้น
    2. จิตผ่านภวังค์ไปพร้อมกับสติ โดยไม่มีการหลับก่อน ก็เป็นการเข้าสมาธิเหมือนกัน แต่วิธีหลังจะยากกว่ามักเกิดกับผู้ที่ฝึกมาแล้วระยะหนึ่ง
    เมื่อผ่านภวังค์เข้ามาแล้วทั้งจิต ทั้งสติ ก็ให้ภาวนา พุทธ หายใจเข้า โธ หายใจออก เพื่อให้เกิดสติเร็วกว่าจิตต่อไป

    ขออนุโมทนาบุญร่วมกับทุกๆท่านที่มีความตั้งอกตั้งใจในการสร้างบุญบารมีอันสูงสุดนี้ครับ
    ขออนุโมทนา
    ขอบคุณครับ
    ลุงมหา
     
  5. GLiKe

    GLiKe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +137
    ขอขอบพระคุณทุกท่าน <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->jinny95<!-- google_ad_section_end --> , หาธรรม , ลงมหา

    อนุโมทนาบุญด้วยครับ...

    ผมจะน้อมนำไปปฏิบ้ติพัฒนาตนเองครับผม...<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3697346", true); </SCRIPT>
     
  6. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ต้องระวังครับ

    ขออนุญาติพูดแย้งกับท่านอื่น เพราะว่า ผมสังเกตเห็นข้อความนี้

    ตรงนี้จะมีหลายจุดที่ชี้ได้ว่า กำลังทำโมหะสมาธิ

    * ความพร่ามัวของสายตา หรือแม้แต่ของจิต

    ถ้าเป็นความพร่ามันของตา ผมเคยปฏิบัติแล้วสังเกตสังกาได้ว่า หากจังหวะ
    ที่เริ่มเห็นลมหายใจแผ่วเบา แล้วเรายึดอาการสังขารนั้นเป็นเรา จะเกิดการ
    ยึดเป็นภพ หรือ จงใจเจตนาจะประครองเอาไว้ทันที ซึ่งเท่ากับกำลังใช้
    กำลังของสมองเข้าไปคิด แล้ว บังเอิญว่า มันเป็นการลดลมหายใจ ทำให้
    สมองที่กำลังทำงานอย่างหนัก แต่กลับขาดอ๊อกซิเจน อาการสมองตึง ร้าว
    แสบสัน ร้อนรุ่มข้างในบริเวณกระหม่อมจะเกิด พระบางท่านเรียกว่า "เขม่า
    ความคิด" ซึ่งหากทำสมาธิแล้วเป็นไปแบบนี้ ตอนถอนสมาธิออกมา ตาจะพร่า
    จิตก็จะพร่า ไม่แจ่มใส ไม่มีน้ำไม่มีนวล เป็นกลางต่อการปรุงแต่งต่อโลกก็จริง
    แต่เป็นเพราะมันคิดอ่านไม่ทัน เรียกอีกอย่างว่า "เนื้อสมองถูกทำลาย" จะเฉื่อย
    และชา ตรงข้ามกลับ คล่องแคล้ว ควรแก่การงาน(จิตละหุตา)

    2. อาการหมอกสีขาว ขุ่น หากตอนนั้นน้อมไปมองอาโลกากสิณ(สอบอารมณ์) จะพบว่า
    จากที่ขุ่นมัว ขาวๆ จะผลิกเป็น สีดำรายรอบให้เห็นได้ชัดเจน จากที่เห็น
    ตอนแรกว่า ขาวขุ่น แต่จริงแล้ว มันคือ ดำไสย หากอยู่ในภพแบบนี้ นอก
    จากจะไม่เกิดกุศลแล้ว ยังเป็นช่องทางให้ อกุศล ผลบาป วิบาก ตามมา
    ทันได้ด้วย จึงเป็นการทำสมาธิที่ให้ผลขาดทุนย่อยยับ --- ตรงนี้ให้สังเกตุว่า
    หากทำไปเรื่อยๆ จะพบนิมิตก็ดี กรรมตกแต่งก็ดี กรรมที่คิดว่าบังเอิญก็ดี
    มันจะเห็นทางร้าย หน้ากลัว มากขึ้น แต่การเห็นสิ่งร้าย น่ากลัวนี้ ก็แล้ว
    แต่จังหวะปัจจุบันนั้น หากผลิกแพลงเก่ง ภาวนาเป็น เน้นธรรมะเป็นใหญ่
    ก็จะเอาวิกฤติมาเป็นโอกาสปฏิบัติไปเลย


    * * * *

    แล้วอย่างไร จึงจะเป็น การฝ่าความกลัวตายที่ถูกต้อง เพราะการปฏิบัติสมาธิ
    หรือการจะเข้าถึงธรรมนั้น ท่านว่ามันอยู่ฝากตาย

    ก็ขอให้พิจารณา เนื้อหาสาระของ สิ่งที่ปรากฏ โดยมีรสธรรมอย่างนี้

    1. ความกล้าตายที่ผิด จะมี อาการนึก ความกล้าตาย แล้วตามด้วยวิธี
    การปฏิบัติ "อย่างนี้สิถูก อย่างนั้นสิถูก อย่างนี้สิผิด อย่างนั้นสิผิด"

    -- จะเห็นว่า ความกล้าตาย ปรากฏเป็น เจตสิกให้จิตรับรู้ก็จริง แต่มัน
    กลับเป็นสิ่งที่มาครอบงำการปฏิบัติหลังจากนั้น ตรงนี้ชี้ได้ว่า เป็นการปรากฏ
    ของ ความกล้าตายที่ผิดฝา ผิดตัว

    2. ความกล้าตายที่ถูก จะมีอาการ ระลึกได้ถึง ความกล้าตาย แล้วไม่มีอะไร
    ตามมาเลย เปรียบดั่ง เข็ม(การระลึกได้ในความตาย)ถูกแทงเข้ามาในจิตให้รู้
    เสร็จแล้วก็ผ่านทะลุเนื้อผ้า(จิต)ออกไปเลย ไม่ค้างคา หรือ ทิ้งอะไรไว้

    -- จะเห็นว่า ความกล้าตาย ปรากฏเป็นลักษณะของ เจตสิกสติเข้ามาสัมปยุต
    และ ซึ่งไม่ใช่ทิฏฐิ มันจึงเป็น มหากุศลจิตที่ให้อนิสงค์มากโดยแค่อาศัยระลึก
    โดยที่มันผ่านมาแล้วก็ผ่านไปทันทีได้ เพราะความที่มันเป็น กุศลมูลจิต(สติ)
    มันเพียงพอแล้วที่จะทำลาย อุกศลมูลจิต ไม่ให้เกิดขึ้น ณ ขณะปฏิบัตินั้น
    เหตุนี้ มันจึงผ่านมาแล้วผ่านไปดั่งเข็มสละได้ ดั่งเข็มทะลุผ้า จึงไม่มีอาการ
    ของจิตที่นึกคิดปรุงการปฏิบัติตามต่อแต่อย่างใด กรรมฐานจะอยู่ที่ฐานได้ดัง
    เดิม การหายใจจะน้อยลง หรือ มากขึ้น จะไม่ใช่เนื้อหาสาระของการเห็น
    องค์สมาธิ

    --- ข้อแตกต่างที่เห็นชัดอีกอย่างคือ หากความกล้าตายมาปรากฏแล้วมีการ
    เข้าไปเห็นลมหายใจมากขึ้น พิจารณาแต่คุณสมบัติของลมหายใจมากขึ้น อาการ
    นี้ไม่ใช่อาการที่เอื้อให้ วิตก วิจาร ดับไป

    แต่ถ้าเป็น มรณะสติ ที่เป็น สติเจตสิกมาปรากฏให้อาศัยระลึกเท่านั้นแล้ว
    อาการสาระวนอยู่กับคุณสมบัติของลมหายใจจะตกไป แล้วมีธรรมอื่นยิ่งกว่า
    ให้แลเห็น ความสงบ ระงับ ปรากฏให้ทราบชัดว่ามีต่อไปได้ทันที หรือ
    กล่าวอีกนัยว่า วิตก วิจาร ดับไป เกิดเป็น ปิติ สุข เอกัคคตาตั้งอยู่
    ก็ได้

    * * * * **

    กรณีที่เจ้าของกระทู้ อ่านข้อความผมแล้ว ไม่ค่อยเข้าใจ และไม่อยากเข้าใจ

    ขอแนะนำให้อ่านเรื่อง มหากุศล6 จิตยุคล6 เพื่อเป็นเครื่องมือ หลักเกณฑ์
    ในการพิจารณาผลที่ได้จากการทำสมาธิ --- ถ้าชอบแบบละเอียด เป็นภาษา
    ปฏิบัติก็ลองค้นคว้า กรรมฐานโดยลำดับของพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ก็ได้

    * * * * *

    การสอบอารมณ์กรรมฐาน ที่พึ่งทำเสร็จ หากไม่มีครูบาอาจารย์ หากยังไม่
    แน่ใจว่า ตนทำสมาธิคล่องแคล้ว ก็ลองหา ข้อดีในชีวิต ที่คุณทำได้ดีมา
    ลองสับปิติ ดูก็ได้ เช่น เคยท่องสูตรคูณได้แม่น พอออกสมาธิแล้วเห็นความ
    เป็นกลาง ความเบื่อหน่าย แล้วอยากรู้ว่า ถูกฝาไหม ก็ลอง ท่องสูตรคูณ
    ไปเลย หากทำได้ไม่ติดขัด สติแน่หนาดี ก็แปลว่า พอใช้

    หรือ น้อมคำสวดมนต์ก็ได้ หรือ นึกถึงมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าก็ได้
    สวดมนต์แล้ว ระลึกพุทธานุสติแล้ว มีปิติ เกิดขึ้นไหม หากไม่มี ก็แปลว่า
    น่าจะผิดฝากผิดตัว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2010
  7. GLiKe

    GLiKe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +137
    ท่านผู้รู้ครับ...สมควร มิสมควร... อยากเรียนถามว่า
    .....................แต่ละท่านขณะ ภาวนาและเข้าสมาธิ ท่านได้กำหนดจิต ไว้บริเวณไหนกันบ้างครับ...
    ....................สถานที่นั่งสมาธิ แต่ละท่าน เป็นที่ใดบ้างครับผม



    ...............ผมกำหนดจิตนี้ไว้บริเวณใบหน้าครับ ....
    ...............ในห้องนอน(ปิดประตูหน้าต่าง) คับผม..ที่นั่งสมาธิก็เป็นบริเวณที่เดิมทุกครั้งที่นั่งครับ



    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ....ขอบพระคุณครับ โปรดเมตาชี้แนะด้วยครับผม.....



    ................................................................................................................

    หากจิตนี้ขุ่นข้นดั่งน้ำมันเตา เหตุไฉนเล่าจักเข้าผสมพระนิพพานได้ปานน้ำใส
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อย่าพึงถามอย่างนั้น

    เพราะ อานาปานสตินั้น ต้องรู้อยู่ที่ลม ไม่ใช่รู้เรื่องจุด

    การที่มีการชี้จุด นั่นเป็นอุบายฝึกจิตให้ มารู้ลม ซึ่งอาศัยเฉพาะช่วงแรกเท่านั้น

    เมื่อ รู้การรู้อยู่ที่ลมได้แล้ว ก็ให้เพิกอุบายรู้อยู่ที่ จุด ทิ้งไปเสีย เหตุนี้
    จึงไม่ควรถามว่า แต่ละคนรู้อยู่ที่จุดไหน

    เพราะสุดท้าย ทุกคนจะต้องทิ้งจุดนั้น ไป หากภาวนามารู้ลมได้แล้ว

    ตรงนี้จะชัดเจนมากขึ้น หาก ผู้ภาวนารู้ลมจนเป็นอุคหนิมิต หรือปฏิภาคนิมิต
    ของกองลมได้แล้ว ก็จะไม่พูดถึง จุด รู้อีกต่อไป เพราะมันไม่ใช่เนื้อหาสาระ
    ของ "อานาปานสติ" แต่อย่างใด
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คุณ เจ้าของกระทู้ สังเกตไหมว่า

    ตอนนี้ กลับไปถาม "จุดเริ่มต้น"
     
  10. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    แต่ละท่านขณะ ภาวนาและเข้าสมาธิ ท่านได้กำหนดจิต ไว้บริเวณไหนกันบ้างครับ...
    ขณะภาวนาผมก้กำหนดรู้สภาวะจิตที่เกิดขึ้น และผมจดจ่อกับสภาวะนั้นๆอย่างต่อเนื่อง หรือเพ่ง จนเป็นสมาทิ บริเวนไหนก้บริเวนที่จิตเกิดสภาวะรู้ขึ้นนั่นแหละครับ รู้ที่ไหนก้เพ่งที่นั่น หรือละลึกตามที่นั่น ฐานก้เลยอยู่ที่กาย เวทนา จิต ธรรม สลับกันไป เพราะทุกสิ่งล้วน อนิจจัง ทุขขัง และอนัตตา หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ

    สถานที่นั่งสมาธิ แต่ละท่าน เป็นที่ใดบ้างครับผม
    ท่าการทำสมาทินี่พยามทำทุกที่นะยิ่งต้องกระทบมากๆยิ่งต้องมีสมาททิที่ตั้งมั่นไห้มากๆ ที่ไหนยิ่งวุ่นวายยิ่งต้องมีสมาทิมากๆ ต้องกำหนดรู้ละลึกตามสภาวะธรรมต่างๆอยู่ตลอดหรือเพ่ง สมาทิหรือการกำหนดรู้ละลึกขันธ์ ของตัวเองอยุ่ทุกอาการ ยืน เดิน นั่ง นอน คิด พูด วิ่ง ... ก้ควรมรสมาทิ แต่ท่านั่งที่ไหนก้ นั่งที่ไหนก้ทำสมาทิที่นั่นล่ะคับ แต่ว่าแต่คุนหมายถึงสมาทิที่เข้าสุ่ระดับฌานรึเปล่า ท่าอย่างนั้นก้ หลวงพ่อก้สอนวิทีทำหลายอย่างทั้งนั่งยืนเดินและนอน ก้เข้าใด้ แต่การทำสมถะมีหลากหลายวิทีหลายกองเวลาไหนเหมาะสมกับอันไหนก้เจริญอันนั้น มันก้เลยไม่ได้เป็นไปเพื่อทำฌาน แต่ใช้ทำให้ใจสงบจากนิวรณ์ ระงับกิเลสที่มีเอาไว้ไม่ไห้ทำชั่วคิดชั่วพูดชั่ว ตามกำลังของกิเลสไป ผู้ปติบัติธรรมที่มีกิเลสเป็นปรกติก้ควรพยามมีสมาทิต่อการกระทำพูดและคิดอยู่เสมอ มาเป็นเครื่องสู้กับกิเลสที่เกิดขึ้น การภาวนา เป็นมรรคเพื่อการไถ่ถอนกิเลส

    อนุโมทนาครับ
     
  11. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ลมหายใจผมตอนนี้เริ่มหายใจเข้า-ออกเบามาก.ๆ (เหมือนหายใจเข้าได้แค่ 1 วินาที หายใจออกก็ได้แค่ 1 วินาที แต่ค่อยมากๆ) รู้สึกตัวหนักๆ แต่ผมก็ไม่คิดอะไร พยายามไม่สนใจกับลมหายใจ...แต่ดูเหมือนร่างกายจะขาดอากาศให้ได้ยังไงยังงั้นอ่ะครับ...แกรงว่าจะเกิดอันตราย (คือขาดอากาศอ่ะครับ)....จนต้องกลับมาหายใจแรงๆ อีกครั้งครับ....แล้วก็เริ่มใหม่....
    ยกมาเฉพาะตอนนะครับ
    ตอนนี้คุนจะสนใจกับลมมากเข้ารู้ออกรู้หายใจมากรู้หายใจน้อยรู้เกิดวิตกวิจาร
    มีอาการตัวหนักเบาเข้ามาก้รู้ เกิดปิติบางอย่าง
    และพยามไม่สนใจตรงนี้เป็นความดิ้นรนเป็นนิวร ต้องทำไห้มีปัสสัททิไม่ฝืนหรือหนี
    สุขและความสงบจะเกิด ไม่อันตรายไม่มีอาการบังคับหรืออาการกำหนด มีแต่อาการละลึกอยุ่กับลมที่เข้าออก
    ลองพิจารนา อายตนะทั้ง6 ที่รับรุ้ ตาหุจมุกลิ้นกาย และใจ จะรู้เลยว่ามีอาการทุข คือต้องเปลี่ยนแปลง เราขวางไม่ได้ ขัดไม่ได้ ไห้รุ้สภาวะนี้เฉยๆและปล่อยไป

    ไม่ได้หมายถึงรวมว่าคุนเจ้ของกระทู้จะไม่ได้เข้าฌานที่เป็นอัปปานานะแต่หมายความว่าขนะที่ใจกลับมาครุ่นคิดนั้นเป็นเพราะกำลังของนิวรเข้ามาแล้วทำให้สมาทิคลายตัวแล้ว นิวรเป็นตัวกั้นสมาทิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2010
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    อารมณ์ ยังเจือด้วย ความขุ่น ความหนัก

    เวลาไปนั่งสมาธิ ลมก็ไม่ละเอียด ที่หายใจสั้นลงนั้น ไม่ใช่ว่าจะเข้าใกล้ฌาณนะ

    แต่มันสั้นลงเพราะว่า ลมของเราสะดุด หรือ ขาดกำลัง

    ทางแก้ไข คือ วางการนั่งสมาธิไปก่อน แล้ว ค่อยๆ ทำจิตให้วางเรื่องวางราวลงไป

    คอยเจริญ อนุสติ เช่น ระลึกถึง พระพุทธองค์ ระลึกถึงอะไรก็ได้ที่ทำให้ใจแช่มชื่น

    ให้เป็นประจำ แืทนการนั่งสมาธิ
     
  13. boyy365

    boyy365 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +830
    อนุโมทนากับคำบอกสอนครับ ผมจะนำไปใช้บ้าง ขอบพระคุณครับ
     
  14. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    อาณาปาน ให้กำหนดจิตรู้ที่ลมหายใจแค่ปลายจมูก ไม่จำเป็นต้องตามลงลงไปในกาย เพราะจะทำให้จิตรวมช้า


    ตอนเด็ก ๆ เคยกำหนดจิตไว้ที่หน้าผากระหว่าคิ้ว ก็ได้ผล ผมว่าจะกำหนดที่ไหนก็ได้ แต่ขอให้อยู่กับกายเรานี้ และต้องฝึกกำหนดเฉพาะที่ก่อนนะ อย่าย้ายไปเรื่อย ๆ จะทำให้ไม่ได้ผล
     
  15. Reynolds

    Reynolds เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    578
    ค่าพลัง:
    +1,501
    ปฏิบัติเอาเพื่อ ความสงบ ผ่อนคลายพอครับ สงบ จากเรื่องทีีสับสนวุ่นวายมาแต่ละวัน เมื่อมีอะไรเกิดก็ระงับดับซะ นั่งหาความสงบเพื่อความสงบครับเมื่อสงบได้นั่นแหละครับจะมีความสุข สุขใดเท่าความสงบเป็นไม่มี สงบจากทุกอย่าง อย่าไปสนใจอะไร ปฏิบัติไปอย่างเดียวเพื่อความสงบ ความสุขสงบไม่ต้องไปดิ้นลนหาที่ไหน หากแต่อยู่ในตัวเรานี่แหละอยู่ในใจเรานี่แหละ ความสุขและความสงบ สุขใดเท่าความสงบเป็นไม่มีครับผม ยิ่งสงบก็ยิ่งมีสติ สู้ๆครับอย่าไปยึดติดมาก ปฏิบัติเพื่อความสงบผ่อนคลาย พักผ่อน

    ดูพระอานนท์ ท่านหมั่นทำความเพียรเพื่อจะให้บรรลุ ตั้งใจแทบเป็นแทบตาย ก็ไม่บรรลุเสียที พอร่างกายอ่อนเพลียปล่อยวางเอนกายจะพักผ่อนเท่านั้น ท่านก็ได้บรรลุได้เป็นพระอรหันต์ ฉะนั้นจิตเราจะยึดมั่นมากไปก็ไม่ดียึดติดมากไม่ดี พระพุทธเจ้าท่านบอกไว้ว่าเดินสายกลาง ตึงมากก็ไม่ดีหย่อนมากก็ไม่ได้ ฉะนั้นนั่งแต่ความพอดี เพื่อความสงบนะครับ เมื่อสงบได้เราก็จะมีความสุขโโยที่เราไม่รู้ตัวเลย สุขใดเท่าความสงบเป็นไม่มีครับผม
     
  16. Reynolds

    Reynolds เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    578
    ค่าพลัง:
    +1,501
    ขอเพิ่มอีกเรื่องนะครับ พอเรานั่งสมาธิ อย่าพึ่งไปกังวลกับการหายใจมาก มันจะทำให้เป็นการกังวล ทีนี้จะนั่งสมาธิเพื่อความสงบ จะกลายเป็นไม่สงบไปกังวลอยู่กับลมหายใจ ทีนี้นั่งให้สงบนะครับเพื่อความสงบอย่าไปยึดติดกับอะไรทั้งนั้นครับนั่งเพื่อพักผ่อนเพื่อความสงบยังจะเป็นการรวบรวมสติไปในตัวด้วยเมื่อเรานั่งสงบได้ทีละนิดไม่ต้องไปกังวลกับลมหายใจครับจะค่อยสงบขึ้นเป็นลำดับนั่งไปเรื่อยไม่ต้องจำกัดอะไรทั้งนั้น หายใจยังงัยก็ได้เอาเท่าที่เราสบายผ่อนคลายพอ เพราะเราเพิ่งเริ่มปฏิบัติเดี๋ยวจะกายเป็นเครียดกับการ และไม่ผ่อนคลาย นั่งเอาแค่ผ่อนคลายสงบพอครับนั่งไปเรื่อยๆ อย่าไปเคร่งกับการปฏิบัติ ปฏิบัติเพื่อความสงบพอเพื่อความสุขพอเราสงบสดชื่นรู้สึกมีความสุขลมหายใจของเราก็จะสดชื่นดีเองโดยอัตโนมัติเมื่อเราสงบก็จะมีความสุขสติก็รวมอยู่ในนั้นยิ่งสงบยิ่งมีสติเมื่อเราสงบมีสติ เราก็จะอยู่กับลมหายใจเราไปโดยอัตโนมัติและจะดีขึ้นเองตามอัตโนมัตยิ่งกัีงวลลมหายใจยิ่งแผ่วครับเพราะเราจะจับจ้องอยู่แต่กับลมหายใจ เปรียบเทียบกับเมื่อเราร่าเริงมีความสุขเราไม่ได้มานั่งกังวลกับการหายใจแต่ลมหายใจเราก็ดีเองโดยอัตโนมัตเมื่อเราสดชื่นกระปี้กระเป่าเราก็ลมหายใจดีไปเองโดยอัตโนมัติถ้าลมหายใจไม่ดีเราก็คงไม่กระปี้กระเป่าไม่สดชื่นมีความสุข ก็เหมือนกันการปฏิบัติถ้าเราไม่เคร่งเครียดเอาแค่การผ่อนคลายการเป็นความสุขเอาสงบลมหายใจเราก็จะค่อยๆดีขึ้นเองตามอัตโนมัติ ยิ่งสงบลมหายใจเราก็จะยิ่งดีขึ้นโดยอัตโนมัติและมีสติขึ้นโดยอัตโนมัติ การที่คุณลมหายใจแผ่วแปลว่าคุณยังสงบไม่พอเมื่อสงบไม่พอสติก็ยังมีไม่เต็มที่ลมหายใจก็เลยแผ่วครับ นั่งไปเรื่อยๆไม่ต้องไปเร่งรีบรีบร้อน นั่งเพื่อความผ่อนคลายดับเรื่องต่างๆ เพื่อความสงบ สติลมหายใจจะดีขึ้นเองตามลำดับนะครับ พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้ไปเร่งรีบกับการปฏิบัติ ท่านเดินทางสายกลางไม่ตึงไม่หย่อน นั่งไปเรื่องเพื่อผ่อนคลายระงับทุกดับทุก นั่งไปเรื่อยๆครับผม ท่านปฏิบัติเพื่อความสงบความสุข ท่านเป็นผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ท่านพาคนเราระงับทุกข์ดับทุกข์ สอนให้เข้าหาความสงบความสุข แต่ถ้าเราไปเคร่งเครียดกับการปฏิบัติมากจะเป็นการความสงบได้เหรอเป็นความสุขได้หรอ บางทีอาจจะเป็นเครียดไปเลยก็ได้ แล้วเราจะเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานได้หรอ แล้วไปเรื่อยๆนะครับใจเย็นๆค่อยปฏิบัติไปค่อยระงับไป เรื่องไหนผุดมาในใจก็ปล่อยไประงับไป นั่งให้สงบเป็นดีครับ สุขใดเท่าความสงบเป็นไม่มีครับผม
     
  17. GLiKe

    GLiKe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +137
    ขอขอบพระคุณทุกท่าน <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->เอกวีร์<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3698202", true); </SCRIPT> , <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->albertalos<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3698436", true); </SCRIPT> <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ขันธ์ หาธรรม , <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Reynolds

    อนุโมทนาบุญด้วยครับ... ที่ได้ศึกษาร่วมกันกับทุกท่าน...
     

แชร์หน้านี้

Loading...