วิธีการสู่ความเป็นอภิมนุษย์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 21 กรกฎาคม 2010.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG]

    คำนำ

    นิตเช่ (Friedrich Nietzsche ๑๘๔๔ - ๑๙๐๐) นับได้ว่าเป็นนักเขียนที่นักอ่านไทยได้ยินชื่อบ่อยที่สุดคนหนึ่งในบรรดานักเขียนเยอรมัน ไม่ว่าจะอ่านหนังสือทางด้านปรัชญา วรรณคดี หรือประวัติศาสตร์ ผู้อ่านย่อมจะพบชื่อนิตเช่อยู่เป็นประจำ ถ้าได้รู้แนวความคิดของนิตเช่บ้าง ก็คงจะช่วยให้ผู้อ่านรู้เรื่องราวได้เรื่องราวได้อย่างน่าอภิรมย์ยิ่งขึ้น เนื่องจากหนังสือ ซาราทุสตราตรัสไว้ดังนี้ (ยร. Also Sprach Zarathustra - Thus Spake Zarathustra) เป็นหนังสือที่แสดงความรู้สึกนึกคิดของนิตเช่ที่สำคัญไว้เกือบทั้งหมด ความคิดปลีกย่อยนั้นมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์เกือบจะทุกตอน นอกจากนั้นหนังสือเล่มนี้ยังมีคุณค่าอย่างสูงในวรรณคดีเยอรมันอีกด้วย จึงเห็นว่าน่าจะแปลออกเป็นภาษาไทยให้นักอ่านได้มีตัวบทอ่านในพากษ์ไทยอย่างกว้างขวาง
    ครั้นจะแปลเฉพาะตัวบท ก็เห็นว่าจะให้ประโยชน์น้อย เพราะนักอ่านส่วนมากไม่มีเวลาค้นคว้าจนเข้าถึงอรรถรสได้พอควร ผู้แปลจึงได้พยายามแปลจากต้นฉบับเดิม และเพิ่มเติมคำอธิบายให้เท่าที่เห็นว่าจำเป็นสำหรับนักอ่านทั่วไปที่จะเข้า ใจความลึกตื้นหนาบางของนิตเช่ได้อย่างสะดวกและสนุกสนาน
    ผู้เชี่ยวชาญเรื่องของนิตเช่แล้วคงจะเห็นว่าไม่จำเป็น แต่ผู้แปลเชื่อว่าคงจะมีน้อย และท่านเหล่านี้ก็คงไม่ต้องการอ่านฉบับแปลเป็นแน่ จุดหมายของหนังสือเล่มนี้ในพากษ์ไทยจึงมุ่งให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านทั่วไป อย่างกว้างขวางที่สุดเป็นประเด็นสำคัญ ผู้เชี่ยวชาญอาจตำหนิว่าให้คำอธิบายยืดยาวเกินไปก็เป็นได้ ก็ขอให้ถือว่าเป็นความตั้งใจของผู้แปลก็แล้วกัน ผู้ที่ไม่ต้องการคำอธิบายก็อาจจะเลือกอ่านเฉพาะแต่ตัวบทก็ได้ เพราะได้จัดพิมพ์ให้เด่นชัดอยู่แล้ว


    นิตเช่ไม่เคยสอนปรัชญาและไม่เคยเขียนตำราปรัชญา ความคิดของนิตเช่ซึ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์อยู่มากจึงกระจัดกระจายไม่เป็น ระบบอยู่ในหนังสือและบทความต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่มีคุณค่าทางวรรณกรรมทั้งสิ้น ความคิดของนิตเช่จึงไม่กระทัดรัดตายตัว แต่เป็นความคิดที่กระตุ้นให้คิดสร้างสรรค์ต่อไปได้หลายทาง จึงไม่แปลกอะไรที่มีนักปรัชญาหลายลัทธิอ้างถึงนิตเช่ในฐานะเป็นผู้นำหน้า หรือเป็นผู้ริเริ่มของตน ในบรรดาลัทธิเหล่านี้ที่สำคัญได้แก่ลัทธิอัตถิภาวนิยม ( existentialism - discussions ) เนื่องจากผู้แปลเห็นว่าปรัชญาลัทธินี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับทุกคนใน ปัจจุบัน เพราะลัทธินี้กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางที่สุดต่อคนรุ่นใหม่และผู้ที่มี ความคิดก้าวหน้า และผู้แปลเองก็ถือเอาลัทธินี้เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาของผู้แปลอยู่ด้วย ผู้แปลจึงขออธิบายความคิดของนิตเช่ตามทัศนะและแนวปรัชญาของผู้เขียนเป็นหลัก
    อาจจะมีผู้วิจารณ์ว่าผู้แปลมีความลำเอียง ก็ขอชี้แจงเสียเลยว่ามีใครที่อธิบายนิตเช่ได้โดยไม่ลำเอียงบ้างเล่า เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ขอให้เห็นใจผู้แปลเถิด
    อย่างไรก็ตาม ผู้แปลเชื่อว่าการอธิบายตามแนวนี้จะเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางที่สุด ถ้าหากไม่เกิดประโยชน์จริงก็คงเป็นเพราะผู้แปลยังมีความสามารถไม่เพียงพอเท่านั้น จึงว่าแม้ผู้ไม่เห็นด้วยกับแนวอธิบายนี้ก็คงจะอ่านได้ประโยชน์ เพราะอย่างน้อยก็จะได้เข้าใจจิตใจของคนรุ่นใหม่ได้ดีขึ้น ส่วนผู้ที่เห็นด้วยก็คงจะได้รับประโยชน์เป็นพิเศษ เพราะจะได้เข้าใจอุดมคติของตนได้ดีขึ้น และรู้จักวางตนให้เหมาะสมกับอุดมคติอันแท้จริงของตนได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น


    ที่นิตเช่เอาซาราทุสตราผู้เป็นศาสดาของศาสนาของชาวเปอร์เซียโบราณมาเป็นชื่อหนังสือของตน ก็เพียงแต่ให้เป็นกระบอกเสียงของตนเองเท่านั้น บทบาทของซาราทุสตราในท้องเรื่องเป็นบทบาทรวม ๆ ของศาสดาทั้งหลายของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเยซูคริสต์ ซึ่งนิตเช่ถือว่าเป็นผู้นำและคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของตน ภูมิประเทศได้แก่คาบสมุทรอิตาลี เวลาที่ดำเนินเรื่องราวก็เป็นสมัยของนิตเช่นั่นเอง ส่วนคำสอนเป็นของนิตเช่เองทั้งสิ้น
    รวมความว่าตัวพระเอกจริง ๆ ของเรื่องคือนิตเช่ ในบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่นิตเช่กำลังประสบอยู่ นิตเช่จึงสามารถวาดฉากได้อย่างมีชีวิตชีวาชวนสร้างจินตนาการคล้อยตามยิ่งนัก อย่างไรก็ตาม นิตเช่มีความรู้เรื่องศาสดาซาราทุสตราอย่างดีพอสมควร ดังนั้นเรื่องราวของซาราทุสตราจริง ๆ จึงมีแทรกปะปนอยู่ด้วย นิตเช่สามารถผสมผสานกันได้อย่างมีศิลป์ นับเป็นคุณค่าทางวรรณกรรมส่วนหนึ่งของงานชิ้นนี้


    เนื่องจากนิตเช่เขียนเรื่องนี้ ด้วยโวหารของผู้บันทึกคำสอนของศาสดาเพื่อให้เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้แปลจึงเห็นควรใช้ราชาศัพท์ และพยายามให้เป็นสำนวนคัมภีร์เท่าที่จะสามารถทำได้ ส่วนในตอนที่เป็นคำอรรถาธิบายก็จะใช้โวหารสารคดีกึ่งวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้มีสาระและไม่หนักเกินไป

     
  2. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    แนวปรัชญา
    แนวความคิดของนิตเช่ในหนังสือเล่มนี้ก็คือว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีขึ้นในเอกภพ เป็นการแสดงออกของพลังดิ้นรนอันเป็นธาตุแท้ของความเป็นจริง ซึ่งนิตเช่เรียกว่าเป็นเจตจำนงที่จะมีอำนาจ (The Will – to – Power) พลังนี้เมื่อแสดงออกเป็นหน่วย ๆ แล้วก็สำแดงฤทธิ์เดชออกให้เห็นว่า ต่างก็ดิ้นรนเพื่อเป็นใหญ่เหนือกันและกัน แต่ทว่าหน่วยต่าง ๆ มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน ส่วนใดเข้มข้นมากกว่าก็จะเอาเปรียบหน่วยที่เข้มข้นน้อยกว่า เช่นพืชเอาเปรียบแร่ธาตุ สัตว์เอาเปรียบแร่ธาตุและพืช มนุษย์เอาเปรียบแร่ธาตุ พืช และสัตว์ ในหมู่มนุษย์ด้วยกันเองก็มีพลังดิ้นรนเข้มข้นไม่เท่ากัน คนที่มีพลังเข้มข้นมากกว่าจะฉลาดกว่าหรือเข้มแข็งมากกว่า และจะเอาเปรียบคนที่โง่กว่าหรืออ่อนแอกว่า
    การเอาเปรียบเหล่านี้แหละที่ศาสดาทั้งหลายเรียกว่ากิเลส บางคนกิเลสหนาแต่ก็รู้จักแสดงเป็นคนกิเลสบางเพื่อได้รับการยกย่องสรรเสริญ และได้เปรียบคนอื่น นั่นเป็นความฉลาดของเขา บุคคลใดบรรลุญาณวิเศษก็จะเห็นข้อเท็จจริงเหล่านี้แจ่มแจ้งชัดเจน

    <table width="95%" align="center" border="0"> <tbody><tr> <td width="200">[​IMG]</td> <td width="581"> ศาสดาหลายท่านในอดีตได้เห็นข้อเท็จจริงดังกล่าวมาแล้ว แต่ท่านไม่อาจสอนได้ตรง ๆ ครั้นสอนไปแล้วก็ถูกเข้าใจผิด คำสอนของท่านถูกบิดเบือน อย่างเช่นศาสดาซาราทุสตราองค์จริงเป็นตัวอย่าง คำสอนของท่านถูกสาวกบิดเบือนราวกับหน้ามือเป็นหลังมือ นิตเช่คิดว่าตนก็มีญาณวิเศษ เห็นสัจธรรมแจ่มแจ้งและชัดเจนเช่นเดียวกับศาสดายิ่งใหญ่ทั้งหลายของโลก และตนเองก็มีโอกาสดีกว่าเพราะอยู่ในสมัยปัจจุบัน อาจจะใช้ภาษาสื่อความหมายได้ดีกว่าศาสดาทั้งหลายในอดีต จึงอยากจะทดลองสอนดู </td> </tr></tbody></table>
    อย่างไรก็ตาม นิตเช่รู้ตัวดีว่าแม้ตนเองอาจจะอธิบายได้ดีกว่าศาสดาในอดีตก็จริง เพราะสามารถใช้ภาษาที่ทันสมัยมากกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต่อไปข้างหน้าจะไม่มีใครอธิบายชี้แจงได้ดีกว่า ทั้งนี้ก็เพราะภาษาที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อความนั้น ในขณะเดียวกันก็เป็นอุปสรรคก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ การศึกษาให้รู้ถึงขอบเขตความสามารถของภาษาจะทำให้เราสื่อความหมายกันอย่าง สมบูรณ์มากขึ้นไปเรื่อย ๆ
     
  3. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    นิตเช่แบ่งมนุษย์ออกเป็น ๓ ประเภท หรือ ๓ ระดับ คือ ๑) ระดับทาส มนุษย์ในระดับนี้จะไม่เป็นตัวของตัวเองเพราะกลัวความรับผิดชอบ ไม่กล้ามีความคิดของตัวเอง จึงนิยมเดินตามอุดมการที่คนส่วนมากยอมรับ ไม่กล้าทำอะไรผิดแผกไปจากผู้อื่นเพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น คนประเภทนี้ส่วนมากคิดว่าการถือตามศีลธรรมแบบทาส (slave morality) เช่นนี้เป็นวิธีที่ได้เปรียบที่สุดแล้ว เพราะปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยง ไม่ต้องคิดและไม่ต้องรับผิดชอบ เพียงแต่ยอมให้เกียรติคนบางคนที่มีอำนาจเหนือตนก็พอแล้ว นิตเช่ถือว่าพวกนี้คิดสั้น คิดว่าการกระทำเช่นนี้เป็นความฉลาด แต่นั่นหาใช่อุดมการของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่
    ๒) ระดับนาย มนุษย์ระดับนี้กล้าเสียและกล้าเสี่ยงเพื่อความเป็นใหญ่เหนือคนอื่น เขาจะทำอะไรตามใจ โดยถือคติว่าตายเสียดีกว่ายอมจำนน เมื่อเขากล้าเสี่ยงเช่นนี้ มนุษย์ระดับทาสก็จะเกรงกลัวยึดถือเป็นที่พึ่งและยอมให้เป็นนาย เขาจึงถือศีลธรรมแบบนาย (master morality) ตราบเท่าที่ไม่มีคู่แข่ง ครั้นมีคู่แข่งก็จะต้องต่อสู้กันจนตายไปข้างหนึ่ง แต่ถ้าหากพบผู้ที่มีพลังเข้มข้นแสดงความเป็นนายเหนือตนมาก ๆ เห็นว่าไม่มีประตูสู้แน่ ๆ เขาจะยอมจำนนโดยถือศีลธรรมแบบทาส ทั้งนี้เพื่อจะได้มีโอกาสใช้ศีลธรรมแบบนายกับผู้ที่อ่อนแอกว่าต่อไปได้โดย สะดวก บางครั้งเขาอาจจะยอมจำนนต่อคู่แข่งที่มีพลังไล่เรี่ยกับตนชั่วคราว เพื่อหาโอกาสล้มล้างในเวลาต่อมา
    นิตเช่คิดว่ามนุษย์ในระดับนายมีพลังเข้มข้นกว่ามนุษย์ระดับทาส จึงเอาเปรียบทุกคนและทุกสิ่งที่อ่อนแอกว่าตนในทุกวิถีทาง พวกนี้ทำความเจริญให้แก่มนุษยชาติ แต่ก็สร้างความเดือดร้อนให้ไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งมนุษย์ระดับทาสและระดับนายต่างก็มีกิเลสเป็นเครื่องนำทาง จึงต่างก็เป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ด้วยกันทั้งสิ้น

    ๓) ระดับอภิมนุษย์ (superman หรือ overman ตรงข้ามกับ subman หรือ last man - wbm) มนุษย์ในระดับนี้ได้แก่นักปราชญ์ผู้เห็นแจ้งในสัจธรรม รู้ว่าเบื้องหลังของสิ่งที่ปรากฎทั้งหลายคือเจตจำนงที่จะมีอำนาจ รู้ว่าพลังหน่วยย่อยทั้งหลายดิ้นรนเอาเปรียบกันอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงตกเป็นเหยื่อแห่งการเอาเปรียบกันอย่างไม่รู้จบสิ้น นิตเช่คิดว่าศาสดายิ่งใหญ่ทั้งหลานในอดีตได้เห็นสัจธรรมนี้มาแล้ว แต่ไม่สามารถพูดออกตรง ๆ อาจเป็นเพราะยังไม่พบคำศัพท์ที่เหมาะสมหรืออาจจะกลัวผู้ฟังไม่เข้าใจ นิตเช่คิดว่าตนเองเห็นแจ้งในสัจธรรมเช่นกันและจะทดลองเสี่ยงพูดตรง ๆ ดู

    อภิมนุษย์ย่อมมีใจอุเบกขา มีใจสงบ ไม่ตะเกียกตะกาย เพราะรู้ข้อเท็จจริง
     
  4. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ทางปฏิบัติ
    มนุษย์เราเกิดมาจะอยู่ในระดับทาสหรือระดับนายอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่ว่าได้ส่วนแบ่งจากพลังธรรมชาติมาเข้มข้นเพียงไร ไม่ว่าจะเกิดมาในระดับใดก็ย่อมไม่อยู่ในระดับที่สมบูรณ์ หากไม่ปรับปรุงตัวเองก็จะมีความทุกข์และก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เพราะต่างก็เห็นแก่ตัว พยายามดิ้นรนเอารัดเอาเปรียบกันและกัน ทางพ้นทุกข์มีอยู่อย่างเดียวคือ แต่ละคนจะต้องมุ่งปรับปรุงตัวเองให้เป็นอภิมนุษย์ วิธีปรับปรุงก็คือศึกษาปรัชญาให้รู้สัจธรรมอันแท้จริง และฝึกฝนตนให้มีใจอุเบกขาและสงบ หากในโลกนี้ทุกตนเป็นอภิมนุษย์กันทั้งหมด มนุษย์เราจะอยู่กันอย่างสงบสุข ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน


    ความเห็นของผู้แปล
    ผู้แปลไม่เชื่อว่าสัจธรรมหรือแก่นแท้ของความเป็นจริงจะเป็นเพียงเจตจำนงที่จะมีอำนาจ ผู้แปลเชื่อว่าปรมัตถ์จะต้องเป็นอะไรที่มากกว่านี้และสูงส่งกว่านี้ เราไม่อาจรู้ว่าเป็นอะไรอย่างแท้จริง เจตจำนงที่จะมีอำนาจอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นจริงระดับต่ำ ๆ ปรมัตถ์จะต้องเป็นความเป็นจริงที่สูงส่งกว่านี้
    ผู้แปลใคร่จะขอยืนยันว่า สิ่งสูงสุดที่ประมวลได้จากคำสอนของศาสดาทั้งหลายรวมกันนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปรมัตถ์ที่แท้จริง ผู้แปลไม่คิดว่าเราจะศึกษาก็ได้จากงานนิพนธ์ของนิตเช่ แต่ทว่าแนวทางปฏิบัติตนเพื่อบรรลุถึงความเป็นอภิมนุษย์ของนิตเช่นั้นน่าสนใจมาก กล่าวคือแต่ละคนจะต้องศึกษาค้นคว้าให้เข้าใจด้วยตนเอง และปรับปรุงตัวอยู่เสมอจนกว่าจะถึงขั้นอภิมนุษย์ การเป็นอภิมนุษย์สำหรับเราก็คือ การเข้าถึงปรมัตถ์และควบคุมใจให้สงบเป็นอุเบกขาได้อย่างเด็ดขาดแต่ทว่าเข้มแข็งอยู่เสมอในการทำความดี

    อนึ่ง การวิจารณ์และการกระแนะกระแหนกิเลสทั้งหยาบและละเอียดอ่อนของมนุษย์ นิตเช่ทำได้ดีมากทั้งในด้านการวิเคราะห์และการใช้สำนวนโวหาร ผู้แปลจึงคิดว่าการอ่านหนังสือของนิตเช่เล่มนี้อย่างพินิจพิเคราะห์ จะช่วยให้ผู้อ่านเห็นความลี้ลับของกิเลสของตนเอง เพื่อจะได้ขัดเกลาได้อย่างแนบเนียนขึ้น และโวหารของนิตเช่คงจะช่วยกระตุ้นให้อยากปรับปรุงตัวเองขึ้นเรื่อย ๆ ไป ไม่ว่าผู้อ่านจะนับถือศาสนาใดอยู่หรือไม่ หากอ่านหนังสือเล่มนี้ของนิตเช่ตามทัศนคติดังกล่าวนี้ ก็น่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่า

    อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้อ่านสังเกตไว้ตั้งแต่ในขณะนี้ว่า นิตเช่เองมิได้ทำใจอุเบกขาได้จริง เมื่อสอนแล้วไม่ได้ผลดังคาดก็เศร้าโศกเสียใจมาก กล่าวว่าความหวังดีของตนเองนั้นกลับทำลายความเป็นอภิมนุษย์ของตนเอง นิตเช่ผิดหวังและเสียใจจนมีอาการโรคประสาทในที่สุด ผู้หวังดีทั้งหลายพึงมีใจเย็นมากกว่านี้
     
  5. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    บทที่ ๑
    ก.ปฐมพจน์ของซาราทุสตรา


    นิตเช่เริ่มเปิดฉากโดยแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักศาสดาซาราทุสตรา
    ผู้ทรงบำเพ็ญพรตบนภูเขาห่างไกลจากสังคมมนุษย์ ดังต่อไปนี้

    [​IMG]




    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC] ๑.๑ ครั้นเมื่อ พระซาราทุสตรา มีพระชนมายุได้ ๓๐ พรรษา ได้เสด็จขึ้นไปบำเพ็ญพรตบนภูเขา เป็นเวลา ๑๐ ปีมาแล้วที่พระองค์ เสวยแต่ญาณ ในความโดดเดี่ยวอย่างไม่เหนื่อยหน่าย แต่แล้วอยู่มาน้ำพระทัยของพระองค์ก็เปลี่ยนไปโดยฉับพลัน เช้าวันนั้นพระองค์ทรงตื่นจากบรรทม ณ รุ่งอรุณ ประทับยืนเบื้องหน้าพระอาทิตย์ ตรัสกับพระอาทิตย์ว่าดังนี้[/FONT]
    อายุ ๓๐-๔๐ ปี - นิตเช่กำหนดให้ซาราทุสตราเริ่มขบคิดหาปรัชญาของตนเองเมื่ออายุ ๓๐ ปี และเริ่มเสนอความคิดต่อประชาชนเมื่ออายุได้ ๔๐ ปี ซึ่งตรงกับชีวิตของนิตเช่เอง คือเริ่มเขียนหนังสือเมื่ออายุได้ ๒๗ ปี และเผยแพร่หนังสือเล่มนี้เมื่ออายุ ๓๙-๔๑ ปี หมายความว่านิตเช่ถือว่าช่วงระยะเวลาอายุระหว่างประมาณ ๓๐–๔๐ ปีของตนนั้นเป็นช่วงเวลาทดลองหาแนวปรัชญาของตนเองและเริ่มมั่นใจว่าตนพบ ปรัชญาของตนเองอย่างแท้จริงเมื่ออายุประมาณ ๔๐ ปีซึ่งก็หมายความว่าหนังสือเล่มนี้เป็นเล่มแรกที่นิตเช่มั่นใจว่าเสนอความ คิดที่เป็นปรัชญาของตนเองแล้วอย่างแท้จริง หนังสือเล่มนี้จึงนับว่ามีค่าควรแก่การอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์เล่มหนึ่ง

    ทำไมนิตเช่จึงใช้ซาราทุสตราเป็นพระเอกของเรื่อง ศาสดาซาราทุสตราเป็นผู้ปฏิรูปศาสนาในแดนอิหร่านโบราณทางภาคตะวันออก (แถบประเทศอาฟกานิสถานในปัจจุบัน) มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ ๖ ก.ค.ศ. ประวัติและคำสอนดั้งเดิมมีเหลือบันทึกอยู่ในเพลงสดุดี ๑๗ บทของคัมภีร์อาเว็สตา ( Avesta ) ต่อมาภายหลังถูกบิดเบือนไปมากทั้งประวัติและคำสอน ซาราทุสตราปฏิรูปศาสนาแบบพหุเทวนิยมเดิมมาเป็นเอกเทวนิยม แต่ถูกบิดเบือนจนกลายเป็นทวินิยม เปลี่ยนแนวทางปฏิบัติตนเพื่อความหลุดพ้นจากการบวงสรวงบูชายัญมาเป็นการเสริม สร้างปัญญา แต่ก็ถูกบิดเบือนจนกลายเป็นศาสนาที่เฟื่องทางโหราศาสตร์และไสยศาสตร์ เปลี่ยนมาตรการความประพฤติดีจากการเชื่อฟังประกาศิตมาเป็นการสร้างตนเองโดย การตัดสินใจเลือกทำการด้วยความสำนึกในความรับผิดชอบ แต่ก็ถูกบิดเบือนเสียจนกลายเป็นศาสนาที่นับถือประกาศิตยิ่งกว่าเดิมไปอีก
    สองเรื่องหลังนี้แหละที่ถูกใจนิตเช่มาก และเป็นพื้นฐานความคิดทั้งหมดของนิตเช่ก็ว่าได้ นอกจากนั้นซาราทุสตรายังเป็นศาสดาที่ถูกลืม ถูกเข้าใจผิด และถูกบิดเบือน ซึ่งชะตากรรมเหล่านี้นิตเช่เชื่อว่าเป็นชะตากรรมเดียวกันกับของตน นิตเช่จึงถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนให้ซาราทุสตราเป็นกระบอกเสียงอย่างแนบเนียนและอย่างมีศิลป์

    ทะเลสาบและภูเขา - นิตเช่คงจะคิดถึงทะเลสาบและภูเขาอันงดงามชวนให้หลงใหลของสวิตเซอร์แลนด์และ อิตาลีที่ตนได้ไปท่องเที่ยวมา ในถิ่นเกิดของศาสนาซาราทุสตราก็มีภูเขาและทะเลสาบ พระเยซูก็ได้ทรงขึ้นไปบำเพ็ญพรตบนภูเขาแล้วก็เสด็จลงมาสอนตามแถบริมทะเลสาบ เป็นส่วนมาก นิตเช่คงได้ตจระหนักและซาบซึ้งดีว่า บนภูเขาเป็นที่เหมาะสำหรับตรึกตรองแสวงหาสัจธรรมลึกซึ้ง และทะเลสาบเป็นบรรยากาศที่น่าเคลิบเคลิ้มสำหรับประกาศความคิดใหม่

    เสวยแต่ญาณ - หมายความว่าตลอดเวลา ๑๐ ปีที่อยู่บนภูเขาสูง ซาราทุสตราใช้เวลาตรึกตรองใคร่ครวญหาสัจธรรมจนพบ นิตเช่เองก็ใช้เวลาท่องเที่ยวตรึกตรองใคร่ครวญจนสามารถมองทะลุถึงสัจธรรม เหมือนกับได้ญาณวิเศษดังที่ซาราทุสตราได้รับการยกย่อง

    ตรัสกับพระอาทิตย์ - ดวงอาทิตย์เป็นบ่อเกิดแห่งแสงสว่าง จึงถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งปรีชาญาณ หมายถึงว่านิตเช่รำพึงกับญาณวิเศษของตนเอง ซึ่งนิตเช่เชื่อว่าเป็นบ่อเกิดแห่งความคิดที่จะสอนต่อไป
    ขอให้ผู้อ่านหลับตานึกวาดภาพเห็นศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ ยืนตระหง่านบนหน้าผา อาทิตย์อุทัยสาดแสงกระทบองค์ท่านเป็นประกาย ท่ามกลางอากาศเย็นสดชื่นยามเช้า อบอวลด้วยกลิ่นไม้ป่าเคล้ากับเสียงนกและสัตว์ป่ากู่ขันกันวังเวง นิตเช่ต้องการปรากฎโฉมขึ้นทักทายผู้อ่านในบรรยากาศเช่นนี้
    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๑.๒ โอ้ดาวมหาฤกษ์ ท่านจะมีความสุขจากไหนได้เล่า ถ้าหากไม่ได้จากการที่มีผู้รับแสงสว่างของท่าน

    ความ สุขของนิตเช่ นิตเช่ต้องการที่จะประกาศให้ผู้อ่านทั้งหลายทราบว่า ที่เขียนหนังสือเผยแพร่ความคิดออกไปนั้น มิได้มีจุดประสงค์อื่น นอกจากรู้สึกว่า ความคิดดี ๆ ที่ได้มานั้นจะไร้คุณค่า หากไม่เผยแผ่เจือจานให้ผู้อื่นได้มีส่วนได้รับความสว่างด้วย นิตเช่ไม่มีความสุขใดเทียมเท่าความสุขที่จะได้เผื่อแผ่เจือจานความคิดให้แก่ มนุษยชาติ เหมือนดวงอาทิตย์ที่มีโชคดีได้ส่องแสงทำประโยชน์แก่มนุษย์ทั่วโลก

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๑.๓ เป็นเวลา ๑๐ ปีมาแล้วที่ท่านส่องแสงขึ้นมาจนถึงถ้ำของข้าพเจ้า ท่านคงจะเบื่อแสงสว่างของท่านและการเดินทางของท่านเป็นแน่ หากไม่มีพวกเราอยู่ที่นี่ คือตัวข้าพเจ้าเอง นกอินทรีของข้าพเจ้า และงูของข้าพเจ้า[/FONT]

    เบื่อแสงสว่าง - นิตเช่คิดว่าตนคงจะเบื่อจนทนไม่ไหวหากจะเก็บความคิดของตนเอาไว้ในใจ คือจะเบื่อความคิดของตนจนทนไม่ไหว แลเมื่อเผยแผ่ออกไปแล้ว ไม่มีใครรับฟังเลยก็คงจะเบื่อการเผยแผ่เช่นกัน นิตเช่จึงอยากจะเห็นว่าความคิดของตนมีผู้รับฟังและนำเอาไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ นั่นจะเป็นความสุขที่สุดของตน ไม่ต้องการอะไรมากกว่านั้น
    นกอินทรีและงู - ถือกันว่าเป็นสัตว์ฉลาด มีไหวพริบ มนุษย์ดึกดำบรรพ์หลายเผ่านับถือเป็นเทพเจ้า นิตเช่จึงกำหนดให้เป็นเพื่อนผู้ร่วมค้นหาสัจธรรมของซาราทุสตรา อาจจะมีเหตุผลอื่นอีกที่ผู้เขียนยังไม่ทราบ

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๑.๔ ทว่าเราคอยท่านอยู่ทุกเช้า เพื่อรับเศษเล็กเศษน้อยจากแสงสว่างของท่าน และเราก็ซาบซึ้งในพระคุณอย่างยิ่งแล้ว[/FONT]

    เศษจากแสงสว่าง - นิตเช่ตระหนักดีว่า สัจธรรมที่ตนเข้าถึงมาได้นั้นเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยแต่เป็นสัจธรรมแท้ ยังมีสัจธรรมอีกมากมายซึ่งตนเข้าไม่ถึง แต่ก็เป็นส่วนของสัจธรรม เดียวกัน จึงหวังว่าผู้อ่านจะรับฟังสัจธรรมของตนเพื่อนำไปพัฒนาให้เข้าถึงสัจธรรมที่สมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้น

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๑.๕ บัดนี้ ข้าพเจ้าอิ่มด้วยสัจธรรมแล้ว เหมือนผึ้งที่ได้ดูดน้ำหวานไว้จนเกินตัว ข้าพเจ้าอยากจะให้….ให้… ให้…ไปเสีย
    [/FONT]
    อิ่มตัวด้วยสัจธรรม - นิตเช่ตระหนักดีว่าไม่มีใครจะเข้าถึงสัจธรรมได้ทั้งหมด นอกจากจะเป็นอภิมนุษย์ แต่ทว่าขณะนี้ยังไม่มีใครเป็นอภิมนุษย์ มีแต่ผู้กำลังก้าวเข้าหาสภาวะแห่งอภิมนุษย์ นิตเช่คิดว่าตนสามารถเข้าใกล้สภาวะอภิมนุษย์ยิ่งกว่าใคร แต่ก็ยังไม่เป็นอภิมนุษย์ รู้สึกอิ่มตัวแม้จะได้สัจธรรมไม่สมบูรณ์
    นิตเช่จึงรู้สึกว่าตนมีภาระต้องเปิดเผยสัจธรรมที่ตนเข้าถึง เพื่อจะได้ช่วยมนุษย์ทั้งหลายให้เข้าใกล้สภาวะอภิมนุษย์มากกว่าที่เป็นอยู่ แล้วจะมีผู้ที่ใคร่ครวญตรึกตรองต่อจากสัจธรรมของตนไปจนได้สัจธรรมที่สมบูรณ์ มากขึ้น ด้วยประการฉะนี้มนุษย์จะเข้าใกล้สภาวะอภิมนุษย์มากขึ้นไปเรื่อย ๆ

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๑.๖ ข้าพเจ้าอยากจะบริจาคเจือจานสัจธรรมที่ล่วงรู้มาจนกว่าคนฉลาดจะพอใจกับความโง่ของตน และคนยากจนจะพอใจในสมบัติของตนในที่สุด[/FONT]

    คนฉลาดและคนยากจนพอใจ - นิตเช่คิดว่าคน ๒ จำพวกนี้ อาจจะสอนให้มีความพอใจและพบความสุขได้ แต่ความพอใจจะมีผลต่างกันคือ คนฉลาดจะต้องพอใจกับความรู้ที่ตนมีอยู่โดยยอมรับว่าความรู้ที่ตนมีนั้นเป็นเพียงส่วนน้อยของสัจธรรม ให้พอใจในฐานะที่ตนยังไม่เป็นอภิมนุษย์ เข้าถึงสัจธรรมได้บ้างก็ควรพอใจแล้ว แต่ในเวลาเดียวกันจะต้องมุ่งมั่นแสวงหาต่อไปด้วยใจสงบ เพื่อให้ได้สัจธรรมที่สมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ ไป ส่วนคนจนนั้นให้พอใจกับทรัพย์สินที่ตนมีอยู่โดยถือว่าเท่านั้นก็มากพอแล้ว มากกว่านั้นเป็นสิ่งเหลือเฟือไม่จำเป็น ไม่พึงมุ่งมั่นหาให้มากกว่านั้น คนอีก ๒ จำพวกคือคนโง่กับคนรวยนั้น นิตเช่ถือว่าไม่อาจจะสอนให้มีความพอใจได้

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๑.๗ ข้าพเจ้าจึงจำเป็นจะต้องลงไปสู่ที่ต่ำ เหมือนกันที่ท่านจมลงไปทุกเย็นที่ใต้ทะเล เพื่อนำแสงไปส่องใต้โลก ท่านผู้เป็นดาวที่ร่ำรวยอย่างล้นเหลือ[/FONT]

    ลงไปสู่ที่ต่ำ - นิตเช่ตระหนักดีว่า ตนมิได้มีสัจธรรมสมบูรณ์เหมือนกับแสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ แต่ภารกิจของท่านก็เปรียบได้กับภารกิจของดวงอาทิตย์ คือจะต้องส่องสว่างทุกหนทุกแห่ง แม้ว่าส่วนมากจะส่องอย่างไร้ผล และในที่บางแห่งอาจจะถูกสาปแช่งเพราะความเข้าใจผิด หรือเพราะขัดผลประโยชน์ของคนบางคนเข้า นิตเช่คิดว่าตนจะต้องยอมทน ดวงอาทิตย์ซึ่งยิ่งใหญ่กว่าตนมากยังยอมได้ ตนเป็นเพียงหิ่งห้อยไฉนจะยอมไม่ได้เล่า

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๑.๘ ข้าพเจ้าจำต้องตกเหมือนท่าน ตามสำนวนของพวกมนุษย์ที่ข้าพเจ้าอยากไปหา[/FONT]

    ตกเหมือนท่าน - ตามสำนวนที่ว่า “ตะวันตกดิน” นิตเช่คิดว่าตนเองก็จำเป็นต้องลดตัวตกต่ำลงไปพูด “สำนวนชาวบ้าน” เพื่อให้ “สัจธรรม” แก่ชาวบ้าน ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้ นิตเช่จะหลีกเลี่ยงศัพท์วิชาการ เพื่อชักจูงให้ผู้อ่านทุกระดับค่อย ๆ เข้าถึงสัจธรรมตามอัตภาพ จึงควรเป็นตัวอย่างสำหรับผู้มีอุดมการสูงทั้งหลายพึงพิจารณา

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๑.๙ โปรดอวยพรแก่ข้าพเจ้าด้วย ท่านผู้เป็นดวงเนตรที่สงบสุข ท่านมองเห็นผู้อื่นมีความสุขเท่าไร ท่านก็ไม่หวั่นไหวด้วยจิตริษยา [/FONT]

    ไม่หวั่นไหวด้วยจิตริษยา นิตเช่ถือว่ามนุษย์คือ “เจตจำนงที่จะมีอำนาจ” ที่เข้มข้นกว่าสัตว์โลกอื่น ๆ มนุษย์จึงดิ้นรนแข่งขันกันสร้างอำนาจเหนือกันและกันอย่างไม่ปรานีปราศรัย ความหวังดีต่อกันระหว่างมนุษย์ด้วยบริสุทธิ์ใจจริง ๆ นิตเช่คิดว่าหาไม่ได้ ผู้มีความสุขหรือมีอำนาจเหนือกว่าอาจจะแสดงความเห็นใจผู้มีอำนาจหรือมีความ สุขต่ำกว่าตน ทั้งนี้เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของตนและเพื่อสร้างบุญคุณบารมี (ความสุขก็เป็นอำนาจอย่างหนึ่ง) ครั้นเห็นผู้ใดมีอำนาจหรือมีความสุขเหนือตน ก็อยากจะแข่งขัน แข่งไม่ได้ก็ริษยาอยู่ในใจ อาจจะแสดงภายนอกว่าสวามิภักดิ์ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้เป็นทางไต่เต้าเพื่อแข่งบารมีในที่สุด ผู้มีอำนาจหรือมีความสุขเหนือทุกคนอยู่แล้วก็พร้อมที่จะเกื้อกูลผู้ที่ตนคิด ว่าไม่มีวันจะแข่งบารมีกับตนได้ยิ่งกว่าจะเต็มใจเกื้อกูลผู้ที่มีแววว่าจะ ล้ำหน้าตนในภายหลัง
    รวมความว่าสำหรับนิตเช่ ความหวังดีต่อกันด้วยบริสุทธิ์ใจในหมู่มนุษย์ไม่มีจริง นิตเช่คิดว่าตนค้นพบสัจธรรม ๒ อย่างคือ ทุกคนเห็นแก่ตัว และแต่ละคนจะต้องมุ่งสร้างตัวเอง อย่าหวังพึ่งใครอย่างตาบอด ผู้เขียนเห็นด้วยกับนิตเช่ว่าแต่ละคนจะต้องสร้างภาวะทางจิตใจของตนให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยตัวเอง แต่ไม่เห็นด้วยที่ว่า ความหวังดีด้วยบริสุทธิ์ใจหาไม่ได้ในหมู่มนุษย์ เพราะผู้เขียนเชื่อว่า ความรักแท้และความหวังดีต่อกันอย่างแท้จริงมีได้จริง อาจจะหาได้ยากในสภาพบริสุทธิ์ ๑๐๐ % แต่ทว่าในความเห็นแก่ตัวของมนุษย์นั้นเอง มีความรักแท้ ความเสียสละแท้ และความหวังดีด้วยจริงใจ เจือปนอยู่ไม่มากก็น้อย ผู้อ่านจึงไม่ควรมองมนุษย์ในแง่ร้ายเกินไปเช่นนิตเช่

    ดวงเนตรที่สงบสุข - นิตเช่คงจะรู้สึกริษยาดวงอาทิตย์อยู่ในใจ นิตเช่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าอภิมนุษย์จะต้องรักษาจิตใจสงบได้ไม่ว่าอะไรจะเกิด ขึ้น นิตเช่คิดว่าตนเองบรรลุญาณวิเศษเป็นอภิมนุษย์ด้วยคนหนึ่ง แต่รู้สึกตัวดีว่าไม่อาจจะรักษาจิตใจให้สงบและอุเบกขาได้ดังปรารถนา เพราะนิตเช่ไม่อาจวางเฉยต่อความล้มเหลวในการเผยแพร่ความคิดของตน นิตเช่ยังมีใจริษยาผู้ที่อาจจะทำได้ดีกว่าตน ดวงอาทิตย์ที่นิตเช่แสดงความริษยาไว้นี้ คงจะเป็นสัญลักษณ์หมายถึงศาสดาทั้งหลายที่นิตเช่รู้สึกว่าทำได้ดีกว่าตนทั้ง ในด้านการทำใจอุเบกขาและความสำเร็จในการหาสาวก แต่นิตเช่ไม่เชื่อว่าศาสดาท่านใดพบสัจธรรมสมบูรณ์กว่าตน หรืออย่างน้อยก็ไม่มีท่านใดสามารถชี้แจงได้ดีกว่าตน


    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๑.๑๐ โปรดอวยพรภาชนะที่เต็มปรี่ ขอให้น้ำสายทองที่ไหลรินออกไป ได้นำเอาภาพสะท้อนแห่งสันติสุขของท่านไปเผยแพร่แก่มนุษย์ทุกรูปทุกนาม[/FONT]

    ภาชนะที่เต็มปรี่ - หมายถึงจิตใจของนิตเช่ที่เต็มปรี่ไปด้วยความเข้าใจสัจธรรม (ตามความเชื่อของนิตเช่เอง)
    น้ำสายทอง - คือคำพูดที่นิตเช่ระบายออกเพื่อสอนสัจธรรมที่มีอยู่ในใจ
    ภาพสะท้อนแห่งสันติสุขของดวงอาทิตย์ - คือภาพแห่งอภิมนุษย์ นิตเช่เปรียบให้ดวงอาทิตย์เป็นอภิมนุษย์ในอุดมการ


    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๑.๑๑ โปรดรู้ไว้ด้วยเถิดว่า ภาชนะนี้อยากจะเหือดแห้ง ซาราทุสตราปรารถนาอย่างยิ่งที่จะคืนสู่สภาพมนุษย์ธรรมดา[/FONT]

    เหือดแห้ง - นิตเช่รู้สึกอยู่ในใจว่า ความหวังดีที่ท่านมีต่อมนุษย์นั้น ในที่สุดจะทำให้จิตใจของท่านเสื่อมทรามลง เหมือนผู้มีหน้าที่อบรมนักโทษ นิสัยจะค่อย ๆ หยาบกระด้างลงโดยไม่รู้ตัว แต่นิตเช่ก็ยอม เพราะไม่อาจจะเก็บสัจธรรมที่คิดค้นได้ไว้ในใจเพื่อเสวยสุขเพียงคนเดียว
    เรื่องนี้ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับนิตเช่นัก จริงอยู่มีผู้หวังดีเป็นจำนวนมากที่ให้บริการแก่ประชาชนจนลืมตัว จนตัวเองเลวลง ๆ อย่างไม่รู้ตัว แต่ผู้ที่ให้บริการแก่ประชาชนด้วยสติสัมปชัญญะด้วยความไม่ประมาทตามที่พระพุทธเจ้าเตือนสติไว้ การให้บริการแก่ประชาชนกลับจะช่วยขัดเกลาจิตใจให้ผ่องแผ้ว และนำจิตใจเข้าสู่สัจธรรมที่ลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้น

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๑.๑๒ พระซาราทุสตราเริ่มตกต่ำด้วยประการเช่นนี้[/FONT]

    ตกต่ำ - ซาราทุสตราได้เพียรบำเพ็ญ ศีล ปัญญา สมาธิ จนกลายเป็นอภิมนุษย์แล้ว เมื่อกลับลงมาสัมผัสกับสังคมมนุษย์ ก็จะค่อย ๆ กลายเป็นมนุษย์ธรรมดาไป เพราะความผิดหวังบ้าง เพราะการถูกเข้าใจผิดบ้าง และเพราะตัวอย่างเลว ๆ บ้าง
    นิตเช่ระบายความรู้สึกในใจของตนเอง ซึ่งผู้เขียนไม่เห็นด้วยมากนัก
    [/FONT]
     
  6. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870




    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๑ พระซาราทุสตราเสด็จลงจากภูเขาโดยลำพัง ตลอดทางจะหาใครสักคนก็ไม่มี ครั้นถึงป่าเชิงเขา ทันใดก็ทอดพระเนตรประสบนักพรตเฒ่ารูปหนึ่ง ซึ่งออกมาเก็บฟืนนอกกระท่อมศักดิ์สิทธิ์ นักพรตเฒ่าเอื้อนเอ่ยวาจาเชิงทักทายพระซาราทุสตรา ดังนี้[/FONT]

    ไม่มีใครบนภูเขา - ผู้ที่แสวงหาสัจธรรมให้ถูกวิธีอย่างนิตเช่ ยังไม่เคยมีมาก่อนเลย (ในทัศนะของนิตเช่) ภูเขาเป็นสัญลักษณ์หมายถึงวิธีอุตรญาณตามความเข้าใจของนิตเช่ มีแต่นิตเช่แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่ดำเนินวิธีถูกต้องจนได้ญาณวิเศษอันแท้จริง อันได้แก่อุตรญาณ บนภูเขานั้นจึงหาใครไม่ได้สักคนนอกจากซาราทุสตรา (นิตเช่)

    นักพรตเฒ่าที่เชิงเขา - นักพรตผู้นี้เป็นสัญลักษณ์ถึงบรรดานักพรตบางคณะของศาสนาคริสต์ ที่ปลีกตัวจากโลกเพื่อบำเพ็ญภาวนาและฝึกปัสสนาการ(contemplation) นิตเช่คิดว่านักพรตพวกนี้ดำเนินวิธีถูกต้องแล้วเพื่อบรรลุสัจธรรม หากแต่ขัดข้องอยู่นิดหนึ่งตรงที่ว่า นักพรตพวกนี้ยังติดข้องอยู่กับความคิดเรื่องพระเจ้า พวกเขาจึงอยู่ที่เชิงเขาเท่านั้น หามีผู้ใดย่างเท้าขึ้นสู่ภูเขาแห่งสัจธรรมไม่ นิตเช่จะสรุปข้อวิจารณ์ของตนต่อพวกนี้ว่า น่าเสียดายที่พวกเขาไม่รู้ว่า “พระเจ้าตายแล้ว” (๒.๒๒)

    กระท่อมศักดิ์สิทธิ์ - แสดงว่านิตเช่ให้ความเคารพแก่นักพรตประเภทนี้อยู่พอสมควร แต่ก็อดนึกสมเพชอยู่ในใจไม่ได้ เพราะคิดว่าตนเข้าถึงสัจธรรมมากกว่า

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๒ คนเดินทางผู้นี้เราก็พอรู้จัก เขาได้ผ่านทางนี้ไปหลายปีแล้ว ดูเหมือนจะชื่อว่าซาราทุสตรา แต่ทว่าดูเขาเปลี่ยนไป


    เปลี่ยนไป - ตอนขึ้นภูเขาซาราทุสตราเป็นคนธรรมดา ๆ คนหนึ่ง แต่ตอนนี้เต็มไปด้วยแววแห่งปรีชาญาณ

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๓ ครั้งหนึ่งท่านแบกร่างอันเป็นขี้เถ้าของท่านขึ้นบนภูเขา บัดนื้ท่านคิดจะนำไฟลงไปเผาผลาญที่ราบให้ราบเรียบหรือ ท่านไม่กลัวข้อหาวางเพลิงหรือ[/FONT]

    ขี้เถ้า - ตอนขึ้นเขา ซาราทุสตราไม่มีแววแห่งปรีชาญาณเลย เป็นคนธรรมดา ๆ คนหนึ่ง เหมือนนิตเช่เมื่อก่อนจะสนใจแสวงหาสัจธรรม "
    ไฟ - แต่ตอนนี้เพียงแต่มองดูภายนอกก็รู้ว่าซาราทุสตรา(นิตเช่)มีความเร่าร้อนและความกระตือรือร้นที่จะเผยแพร่สัจธรรมที่ตนได้พบ อยากจะเปลี่ยนแปลงทั้งโลก อยากจะเรียกร้องให้ใครต่อใครทุกรูปทุกนามเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดให้ถูกต้องตามแนวแห่งสัจธรรมที่ตนค้นพบ เพื่อให้ทุกคนเป็นอภิมนุษย์แล้วความเดือดร้อนทุกอย่างจะหมดสิ้น มนุษย์จะหลุดพ้นความทุกข์
    [/FONT]
    <table width="95%" align="center" border="0"> <tbody><tr> <td width="120">[​IMG]</td> <td width="51"> </td> <td width="819"> ไม่กลัวข้อหาวางเพลิงหรือ - ผู้เฒ่ามีประสบการณ์มามาก กลัวว่าความวู่วามดั่งไฟของซาราทุสตราจะขัดผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจในสังคมที่ไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง ผู้เฒ่ารู้ดีว่าพวกเหล่านี้มีพิษสงปานใด ประสบการณ์และความรอบคอบของผู้เฒ่าสะท้อนให้เห็นความท้อใจของนิตเช่เอง เมื่อพยายามเผยแพร่ความคิดของตนซึ่งคิดว่าดีเลิศแล้ว แต่กลับผิดหวัง</td> </tr></tbody></table> ประสบการณ์และข้อคิดของผู้เฒ่าในตอนนี้จึงเป็นประสบการณ์และข้อคิดของนิตเช่เองในตอนปลายของชีวิต ความรู้สึกเช่นนี้แหละที่ทำให้นิตเช่กล่าวถึงการลงจากภูเขาของซาราทุสตราว่า “พระซาราทุสตราเริ่มตกต่ำด้วยประการฉะนี้”(๑.๑๒)

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๔ ข้าฯ จำซาราทุสตราได้ดี ตาซื่อ ปากไร้มลทิน นั่นแน่ะ เขาเดินมาอย่างลิงโลด


    ตาซื่อ ปากไร้มลทิน - นิตเช่ต้องการประกาศให้รู้ว่า ผู้ไร้เบื้องหลังอย่างผู้เฒ่านี้แหละ จะมองเห็นได้ว่านิตเช่มีความหวังดีและมีความจริงใจเพียงใด

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๕ ซาราทุสตราเปลี่ยนไปมาก ซาราทุสตรากลายเป็นเด็ก ซาราทุสตราตื่นแล้ว ท่านจะมัวหวังอะไรได้จากคนนอนหลับอยู่ไปใยเล่า[/FONT]

    ตื่นแล้ว หมายความว่านิตเช่รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ผู้อ่านจะลังเลใจอยู่ใย จงสนใจรับฟังคำสอนของนิตเช่ให้เต็มที่เถิด นักปราชญ์อื่น ๆ ไม่รู้แจ้งเห็นจริงเหมือนกับคนหลับ จะได้รับรู้ก็แต่เพียงเสียงละเมอไร้แก่นสาร

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๖ นี่แน่ะ ท่านซาราทุสตรา ก่อนหน้านี้ท่านอยู่คนเดียวเหมือนอยู่กลางทะเลและทะเลก็รับน้ำหนักท่านไว้ อนิจจา ท่านอยากจะขึ้นฝั่งละหรือ อนิจจา ท่านอยากขึ้นไปแบกน้ำหนักตัวเองอีกหรือ[/FONT]

    นิตเช่รำพึงกับตัวเองว่า แกว่งเท้าหาเสี้ยนแท้ ๆ ทีเดียว ถ้าตนเองรู้แล้วเก็บไว้หาความสุขเพียงคนเดียวก็จะไม่มีอะไรต้องเดือดร้อน การเสนอความคิดเพื่อชี้แจงให้ผู้อื่นได้มีส่วนร่วมรู้และได้ประโยชน์จากสัจธรรมนี่แหละ นำความเดือดร้อนมาสู่ตน

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๗ พระซาราทุสตราตอบว่า “เรารักมวลมนุษย์”[/FONT]

    นิตเช่คงจะนึกถึงคำพูดของพระเยซูตอนหนึ่งว่า “เราสงสารฝูงชน” (I have pity on the crowd) นิตเช่ต้องการจะประกาศให้ทราบว่าที่ตนคิดจะเสนอความคิดต่อไปนี้ กระทำด้วยความหวังดีต่อมนุษยชาติจริง ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะเกิดความเสียหายแก่ตัวเอง

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๘ นักพรตกล่าวตอบว่า “ก็ที่อาตมามาหลบอยู่คนเดียวในป่าเปลี่ยวเช่นนี้ มิใช่เพราะรักมนุษย์มากจนเกินไปดอกหรือ”[/FONT]

    ให้สังเกตว่าความคิดเห็นของนักพรตรูปนี้ เป็นความคิดของนิตเช่เองที่รำพึงโต้ตอบกับตัวเองในใจ นิตเช่เคยผิดหวังกับความหวังดีต่อมนุษย์มาแล้ว ดังนั้นการที่จะต้องดำเนินการเผยแพร่ความคิดเพื่อบริการแก่มนุษยชาติมากขึ้นไปอีกนั้น นิตเช่คิดว่าเป็นเรื่องต้องตัดใจและปลงตกเอาอย่างมาก

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๙ “บัดนี้อาตมารักพระเจ้า อาตมาไม่รักมนุษย์อีกต่อไปแล้ว อาตมารู้สึกว่ามนุษย์ไม่น่ารักเสียเลย รักมนุษย์ทำให้อาตมาสำลักตาย[/FONT]


    ตอนนี้นิตเช่แยกใจของตัวเองที่เป็นนักพรต ไปใส่ใจนักพรตจริง ๆ ที่แยกตัวจากสังคมไปอยู่โดดเดี่ยวในป่า นิตเช่จึงมองเห็นไปว่านักพรตเหล่านี้แยกตัวออกไปก็เพราะเข็ดหลาบต่อมนุษย์ เพราะมนุษย์มีแต่ความอกตัญญูและความเห็นแก่ตัว ที่นิตเช่กล่าวเช่นนี้หมายถึงมนุษย์ในระดับศีลธรรมทาสและศีลธรรมนายตามความคิดของนิตเช่เองเท่านั้น นิตเช่อยากจะชี้แนะและกระตุ้นให้ปรับตัวขึ้นเป็นอภิมนุษย์

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๑๐ พระซาราทุสตราตอบว่า “เรามิได้บอกท่านสักนิดว่าเราจะเอาความรักไปให้มนุษย์ เราจะขนของขวัญให้มนุษย์ต่างหากเล่า”[/FONT]

    นิตเช่บอกไว้ข้างต้นว่า “รักมนุษย์” แต่นิตเช่เห็นว่าการให้ความรักแก่มนุษย์ อย่างที่พระเยซูปฏิบัติมาแล้วนั้น ตามทัศนะของนิตเช่ ไม่เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ พระเยซูจึงสิ้นพระชนม์ไปเปล่า ๆ นิตเช่คิดว่าตนเองมีคำสอนที่เป็นรูปธรรมมากกว่า และนิตเช่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์จริง ๆ

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๑๑ นักพรตกล่าวว่า “ท่านอย่าไปคิดให้อะไรแก่มนุษย์เลย ขอทีเถอะ พวกเขามีภาระมากอยู่แล้ว ให้ช่วยแบ่งเบาภาระของพวกเขาไปแบกแทนพวกเขาบ้าง พวกเขาจะขอบใจมากที่สุด แต่ก็ระวังตัวท่านเองจะบี้แบนไปใต้ภาระนั้น”[/FONT]

    นิตเช่คิดท้อแท้ใจ ไม่เห็นทางจะทำให้มนุษย์เห็นคุณค่าของคำสอนของตน มนุษย์จำเป็นต้องรู้คำสอนของตนอย่างที่สุด แต่มนุษย์คงจะเห็นว่าไร้ค่า และอยากได้อะไรเป็นเงินเป็นทองเป็นข้าวเป็นของมากกว่า

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๑๒ “และถ้าท่านคิดจะให้จริง ๆ ละก็ จงให้เป็นทานไปเถิด และควรจะให้พวกเขาเป็นฝ่ายขอก่อน”[/FONT]

    ให้เป็นทาน - คือให้โดยไม่หวังอะไรตอบแทนเพราะมนุษย์ไม่รู้จักตอบแทนใครด้วยใจจริง ให้พวกเขาเป็นฝ่ายขอก่อน เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ให้ แต่เรื่องนี้นิตเช่ไม่เชื่อความสำนึกของตัวเอง กลับเผยแพร่ความคิดแก่ทุกคนอย่างไม่เลือกหน้า และนิตเช่รู้สึกผิดหวังมาก

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๑๓ พระซาราทุสตราตรัสตอบว่า “หามิได้ เราจะมิให้แค่ทาน เพราะเรามิได้ยากจนขนาดนั้น”[/FONT]

    นิตเช่เล่นคำ “ให้ทาน” หมายความว่าให้น้อย ๆ นิตเช่ตั้งใจจะให้ความคิดของตนเองทั้งหมดแก่มนุษย์ จึงมิใช่ของเล็ก ๆ น้อย ๆ

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๑๔ พวกนักพรตหัวเราะเยาะพระซาราทุสตรา พลางกล่าวว่า “งั้นก็เชิญขนขุมทรัพย์ของท่านไปมอบหมายให้พวกเขาตามแผนการของท่านเถิด แต่โปรดระลึกว่าพวกมนุษย์ไม่หวังอะไรจากพวกฤาษีชีไพรง่าย ๆ นักหรอก พวกเขาไม่เชื่อง่าย ๆ หรอกว่าเราจะมีของขวัญไปให้พวกเขา”[/FONT]

    นิตเช่หมายถึงนักพรตประเภทแยกตัวจากสังคมของศาสนาคริสต์ในสมัยของนิตเช่ นักพรตพวกนี้จะเข้ามาสู่สังคมก็เพื่อบอกบุญเรี่ยไรเป็นส่วนมาก ผู้ที่ไม่อยากทำบุญจึงพยายามหลบหน้า

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๑๕ เสียงเดินของพวกเราบันดาลความวังเวงไปตามถนนสำหรับพวกเขา เหมือนเสียงคนเดินที่พวกเขาได้ยินขณะนอนในเตียงยามดึกสงัด พวกเขาจะนึกอยู่ในใจว่า ขโมยมันกำลังจะไปทางไหนหนอ[/FONT]

    ชาวบ้านกลัวนักพรตเรี่ยไร เหมือนกลัวขโมยขึ้นบ้าน เป็นการเปรียบเทียบตามทัศนะของนิตเช่เอง

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๑๖ อย่าไปเลย อยู่ป่าต่อไปดีกว่า อยู่กับสิงสาราสัตว์ต่อไปเถิด ทำไมจึงไม่ทำเหมือนอาตมาเล่า ทำตัวเป็นหมีกับหมี เป็นนกกับนกก็หมดเรื่อง[/FONT]

    ความคิดท้อถอยที่ชวนให้นิตเช่อยู่ต่อไปตามสบายอย่างไร้ความรับผิดชอบ

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๑๗ พระซาราทุสตราตรัสทวนถามขึ้นว่า “อยู่ในป่าเพื่ออะไรกันเล่า?”[/FONT]

    นิตเช่หวนคิดไปอีกแง่หนึ่งว่า ชีวิตที่ไร้ความรับผิดชอบจะดีหรือ
    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]
    [/FONT] [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๑๘ นักพรตตอบว่า “อาตมาคิดเพลงและร้องมันเรื่อยเปื่อยไป พลางก็หัวเราะบ้าง ร้องไห้บ้าง คร่ำครวญบ้าง อาตมาถือว่าการทำเช่นนี้เป็นการสรรเสริญพระเจ้าทั้งสิ้น อาตมาสรรเสริญพระเจ้าของอาตมาโดยการร้องเพลง โดยการร้องไห้ และโดยการคร่ำครวญอย่างนี้แหละ ไหนท่านว่า ท่านมีอะไรดีมาให้นะ[/FONT]

    การสรรเสริญพระเจ้าแบบนี้ ปรากฎในประวัตินักบุญฟรันเช็สโกแห่งอัสซีซี ( มีภาพยนตร์เชิงประวัติของนักบุญองค์นี้ Brother Sun, Sister Moon (1973) - wbm ) และกลายเป็นวิธีหนึ่งที่ยอมรับรู้ในคริสตศาสนาในสมัยของนิตเช่ นิตเช่วิจารณ์ว่าเป็นวิธีการที่ไร้สาระ นิตเช่ต้องการทำสิ่งที่มีความรับผิดชอบมากกว่านี้
    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]
    [/FONT] [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๑๙ ครั้นพระซาราทุสตราได้สดับฟังดั่งนี้ ก็ทรงอำลานักบุญแบบนั้นไป โดยตรัสว่า “เรามีอะไรจะให้ท่านได้อยู่หรือ ขออนุญาตให้เราจากท่านไปโดยเร็วจะดีกว่า มิฉะนั้นแล้ว เราอาจจะเอาอะไรของท่านไปก็ได้”- แล้วทั้งสองก็ร่ำลากัน หยอกเอินกันเหมือนเด็ก ๆ[/FONT]

    อาจจะเอาอะไรของท่านไป - นิตเช่ให้ซาราทุสตรากล่าวประโยคนี้ ทั้งเพื่อเหน็บแนมและแสดงความหวาดกลัว เหน็บแนมนักพรตผู้เฒ่าซึ่งนิตเช่ถือว่างมงายอย่างฝังหัว อายุก็มากกว่าเกินกว่าที่จะชักจูงให้เปลี่ยนทัศนคติใด ๆ ได้ แต่ทว่าในขณะเดียวกันนิตเช่ก็แสดงความหวาดกลัวว่า ความงมงายตามแบบของนักพรตเฒ่าผู้นี้มีสมรรถนะจูงใจสูง หากไม่รีบจากไปเสียก่อน ขืนคลุกคลีอยู่ต่อไป อาจจะคล้อยตามไปได้โดยไม่รู้ตัว นิตเช่คิดว่าตนจะต้องคอยระวังสิ่งที่คาร์ลมาร์กซ์เรียกว่าเป็น ฝิ่น (คือการนับถือศาสนาอย่างไร้วิจารณญาณ)

    หยอกเอินกันเหมือนเด็ก ๆ - นิตเช่ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่เป็นตัวของตัวเองอย่างใจจริง แม้ความคิดเห็นจะตรงกันข้ามกัน ก็หามีอันตรายต่อกันไม่ ในเรื่องอื่นอาจจะร่วมมือกันได้อย่างสนิทสนม ดังนั้นขอให้แต่ละคนเป็นตัวของตัวเองด้วยบริสุทธิ์ใจและเคารพกันและกันเถิด มนุษย์จะอยู่ร่วมกันได้อย่างมนุษย์

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๒.๒๐ เมื่อประทับอยู่แต่ลำพังองค์เดียวโดดเดี่ยว พระซาราทุสตราก็ทรงรำพึงอยู่ในพระทัยว่า “เป็นไปได้เทียวหรือที่นักพรตเฒ่ารูปนี้ มัวแต่บำเพ็ญพรตในป่าเสียจนไม่ได้ยินคำประกาศกึกก้องว่า “พระเจ้าตายไปแล้ว”[/FONT]

    พระเจ้าตายไปแล้ว - ประโยคนี้ถือได้ว่าเป็นคำกุญแจ (Key word) ในทฤษฎีอภิมนุษย์ของนิตเช่ นิตเช่เองขีดเส้นใต้ประโยคนี้ นิตเช่ปักจิตปักใจเชื่อเหลือเกินว่า คริสตศาสนิกชนในสมัยของท่านพากันนับถือพระเจ้าอย่างงมงายเหลือเกิน และเรื่องนี้นิตเช่ถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญข้อแรกต่อการก้าวขึ้นสู่อภิมนุษย์ นิตเช่จึงปวารณาตัวจะแก้ไขความงมงายนี้ให้จงได้

    นิตเช่เขียนหนังสือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อแก้ไขจุดนี้เป็นประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือเล่มที่เรากำลังพิจารณากันอยู่นี้ ประโยคนี้ของนิตเช่ต้องนับว่าห้าวหาญมากในบรรยากาศขณะนั้น แต่ก็เป็นบรรยากาศที่สร้างความกระเทือนเลือนลั่นไปทั่วคริสตจักรและศาสนจักร อื่น ๆ ที่มีการนับถือพระเจ้า คนจำนวนไม่น้อยที่ปาฐกและเขียนประนามนิตเช่อย่างสาดเสียเทเสีย ในหลายวงการงานนิพนธ์ของนิตเช่ถูกถือว่าเป็นหนังสือต้องห้าม

    แต่แล้วอยู่ ๆ มาในหมู่ชาวคริสต์ซึ่งโจมตีนิตเช่มากที่สุดนั้นเองเริ่มมีผู้มองเห็นว่านิตเช่พูดถูกแล้ว ต่อมาก็มีผู้เห็นตามด้วยในแนวใหม่นี้มากขึ้นทุกที จนกลายเป็นว่านิตเช่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักคิดผู้เฉียบแหลม มองเห็นอะไรลึกซึ้งกว่าคนธรรมดา จึงไม่น่าแปลกใจอะไรที่นิตเช่จะรู้สึกว่าตนเป็นนักปราชญ์ผู้ถูกเข้าใจผิดเหมือนซาราทุสตรา เหมือนพระเยซูและและเหมือนอัจฉริยบุคคลเป็นจำนวนมากในอดีต
    พวกที่มองเห็นกลับตาลปัตรเช่นนี้คือ พวกนักอัสสมาจารย์นิยมใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักอัตถิภาวนิยมแบบนับถือศาสนา หรือที่นิยมเรียกกันว่านักอัตถิภาวนิยมแบบเทวะ(Theistic Existentialistm) พวกนี้ชี้แจงว่านิตเช่พูดถูกแล้ว พระเจ้าแบบที่เชื่อกันอย่างงมงายนั้นสมควรจะตายไปอย่างยิ่ง เพื่อให้พระเจ้าที่ถูกต้องเข้าครอบครองจิตใจมนุษย์ แล้วมนุษย์จะเป็นนักอัตถิภาวนิยมกันทั่วหน้า ต่างมุ่งหน้าเข้าสู่อภิมนุษย์ ซึ่ง เตยารด์ เดอ ชาร์แด็ง (Pierre Teihard de Chardin ๑๘๘๑-๑๙๕๕) เรียกว่า จุดโอเมกา (Omega Point)
    พวกนี้จึงมองเห็นว่านิตเช่มิใช่เป็นคนไร้ศาสนา หากแต่ว่านิตเช่ปฏิเสธศาสนาที่ไม่ถูกต้อง และเสนอทัศนคติที่ถูกต้องมากกว่าสำหรับการนับถือศาสนาที่จะให้คุณต่อจิตใจของมนุษย์อย่างแท้จริง เชิญฟังนิตเช่ต่อไปโดยใช้ซาราทุสตราเป็นกระบอกเสียง
    [/FONT]
     
  7. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870





    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๑ เมื่อพระซาราทุสตราเสด็จลงมาจากภูเขาถึงเมืองแรกซึ่งอยู่ชายป่า ทอดพระเนตรเห็นฝูงชนจำนวนมากชุมนุมกันอยู่ในบริเวณท้องสนามหลวง เพราะก่อนหน้านั้นมีข่าวป่าวประกาศว่าจะมีการแสดงเต้นรำบนเส้นเชือก พระซาราทุสตราจึงถือพระวโรกาสปราศรัยกับฝูงชนว่า “เราขอประกาศให้พวกท่านทั้งหลายรู้เรื่อง อภิมนุษย์ ” คนเรามีชีวิตอยู่ก็เพื่อชนะสภาพเดิม ท่านทั้งหลายเล่า ได้กระทำอะไรบ้างเพื่อชนะสภาพเดิมของท่านทั้งหลาย

    [/FONT] นิตเช่กำหนดให้ซาราทุสตราเริ่มประกาศคำสอนของตนอย่างไร้เดียงสา ผลก็คือล้มเหลวในที่สุด ต่อไปซาราทุสตราจะรอบคอบมากขึ้น นิตเช่คงต้องการระบายความล้มเหลวของตนในการเสนอความคิดเห็นในระยะแรก ๆ เนื่องจากเถรตรงเกินไป ในหนังสือเล่มนี้นิตเช่จึงให้ซาราทุสตราแสดงบทบาทสำนึกความผิดพลาดและดำเนิน วิธีใหม่ในตอนหลังแทนตนเสียและได้ผลดีขึ้น

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๒ โปรดมองดูสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายในโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ท่านทั้งหลายจะเห็นว่าทุกสิ่งดิ้นรนเพื่อชนะสภาพเดิมของตัวเองด้วยกันทั้ง นั้น แล้วท่านเองจะมัวต่อปล่อยตัวถอยหลังเข้าคลองกันอยู่หรือ ท่านทั้งหลายจะอยากถอยหลังกลับไปเป็นสัตว์เดรัจฉานยิ่งกว่าจะก้าวขึ้นให้สูง กว่าความเป็นมนุษย์ของท่านกระนั้นหรือ?

    ตามกฎวิวัฒนาการทุกสิ่งทุกอย่างวิวัฒน์ขึ้นสู่สภาพที่ดีขึ้น แต่นิตเช่สังเกตเห็นว่ามนุษย์จำนวนมากเดินตามสัญชาตญาณยิ่งกว่าจะใช้สติ ปัญญาตรึกตรองให้เห็นสิ่งควรหรือไม่ควรกระทำ แต่ก็นั่นแหละ เรื่องนี้เป็นเรื่องของนานาจิตตํ มีนักปราชญ์จำนวนไม่น้อยที่คิดว่านิตเช่ปฏิบัติอย่างไม่เหมาะไม่ควร เราจึงควรมองและฟังให้กว้างและรอบคอบมากกว่านิตเช่

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๓ สำหรับมนุษย์ ลิงคืออะไร? มิใช่เป็นสัตว์ที่น่าขบขันและน่าเหยียดหยามอย่างร้ายกาจดอกหรือ มนุษย์สำหรับอภิมนุษย์ก็เช่นกัน เป็นตัวตลกน่าเหยียดหยามอย่างร้ายกาจไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย[/FONT]

    การเปรียบเทียบผู้ไม่เห็นด้วยกับตนว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและเป็นลิงเช่นนี้ แสดงถึงความมีหัวรุนแรงของนิตเช่ ความใจร้อนของนิตเช่นี่เองที่ทำลายนิตเช่ ทั้งในด้านสุขภาพและความสำเร็จในชีวิต ผู้อ่านพึงฝึกตนเองเป็นคนใจเย็นไว้ เรามั่นใจว่ามีของดีอยู่ในตัวแล้วไม่ต้องรีบร้อน เพราะโอกาสเป็นของเราแล้ว เร็วช้าเป็นเรื่องเล็ก

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๔ ท่านทั้งหลายได้พยายามดั้นด้นจนพ้นสภาพหนอนมาเป็นมนุษย์แล้ว ท่านยังจะปล่อยให้มีคุณสมบัติของหนอนอยู่ในตัวท่านอีกมากมายทำไมกันเล่า แต่ก่อนท่านเคยเป็นลิงมาระยะหนึ่ง แต่แม้ขณะนี้เองมนุษย์ก็ยังมีคุณสมบัติของลิงยิ่งกว่าลิงจริง ๆ เสียอีก[/FONT]

    นิตเช่ใช้ความสามารถทางปากร้ายของตนเปรียบเปรยผู้ไม่เห็นด้วยกับตนต่อไป ยิ่งเปรียบเผ็ดร้อนเท่าไร ก็ยิ่งมีคุณค่าทางวรรณคดี แต่ก็ยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปมากเท่านั้น

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๕ แม้ผู้ที่ฉลาดที่สุดในพวกท่านก็เป็นเพียงมนุษย์ไม่สมประกอบ กึ่งพืชกึ่งภูติ เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่าจะเป็นพืชหรือภูติก็ให้เป็นจริง ๆ เสียอย่างหนึ่งจะดีกว่า[/FONT]

    นักปราชญ์ในอดีตหลายคนยกย่องมนุษย์ว่าเป็นอนุภพ เพราะในมนุษย์มีสิ่งที่เป็นตัวแทนของทุกสิ่งในเอกภพ ดูเหมือนกับว่ามนุษย์แต่ละคนเป็นเอกภพที่ย่อส่วนลงมา จึงถือว่ามนุษย์ตัวเล็ก ๆ นี่แหละคือศูนย์กลางของเอกภพ นิตเช่เห็นตรงข้ามว่า การที่มนุษย์อยู่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ นี้ทำความยุ่งยากแก่มนุษย์และเปิดโอกาสให้มนุษย์แก้ตัวนานาประการ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อวิวัฒนาการของตนเอง เปรียบได้กับเรื่องนกมีหูหนูมีปีก

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๖ ดูก่อน เราเปิดเผยเรื่องอภิมนุษย์ให้ท่านทั้งหลายรู้ อภิมนุษย์ทำให้โลกมีเป้าหมาย ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งปณิธานเถิดว่า "อภิมนุษย์จงเป็นเป้าหมายของโลก"[/FONT]

    นิตเช่ประกาศเรื่องอภิมนุษย์ด้วยโวหารสง่ายิ่งใหญ่ เทียบได้กับสำนวนประกาศ "พระราชัยแห่งสวรรค์" ของพระเยซู
    อภิมนุษย์จงเป็นเป็นหมายของโลก - ถ้าหากทุกคนหรือมนุษย์ส่วนมากมุ่งปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การเป็นอภิมนุษย์ สังคมมนุษย์จะน่าอยู่กว่านี้ ชีวิตมนุษย์จะมีความสุขกว่านี้ เรื่องนี้เป็นความจริงเหมือนกำปั้นทุบดิน แต่ทว่าจะปรับปรุงอย่างไร นี่คือปัญหา

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๗ พี่น้องทั้งหลาย เราขอสาบานต่อหน้าท่านเพื่อยืนยันว่า ขอท่านทั้งหลายจงยึดมั่นอยู่กับโลก ใครมาเกลี้ยกล่อมให้หวังอะไรเหนือโลก จงอย่าเชื่อเด็ดขาด พวกเขาเหล่านั้นนำยาพิษมาโปรยให้ท่าน ไม่ว่าพวกเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตามว่าตนกำลังให้ยาพิษ[/FONT]

    นิตเช่เชื่อว่าศาสดาทั้งหลายสอนด้วยความหวังดี คือต้องการสอนมนุษย์ให้มีความสงบสุข การใช้ภาษาภาพพจน์ของศาสดาทำให้สาวกเข้าใจผิด คิดว่าสวรรค์นรกและโลกหน้าเป็นเรื่องจริงจัง เปิดโอกาสให้คนฉลาดต่อมาใช้เป็นเครื่องมือหากิน
    นิตเช่คิดว่าตนมีภารกิจอันทรงเกียรติในการฉุดดึงบรรดาผู้หลงใหลเข้าใจผิด เช่นนี้ให้พ้นจากความงมงายเข้าสู่สัจธรรมของตน ซึ่งนิตเช่คิดว่ามีอยู่เพียงสัจธรรมเดียวที่ถูกต้อง และไม่ต้องใช้ภาษาภาพพจน์อย่างเช่น สวรรค์ นรก พระเจ้า ฯลฯ ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและการยึดมั่นอย่างผิด ๆ ได้ง่าย ผู้เขียนคิดว่านิตเช่เองก็หลงใหลในความคิดของตนเองมากเกินไป ความจริงแล้วภาษาศาสนาเป็นภาษาธรรมย่อมมีความหมายลึกซึ้งกว่าภาษาคนจึงควร ใช้หลักแห่งการประนีประนอมเพื่อได้หลักสัจธรรมที่ลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ทุกคนและทุกฝ่าย

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๘ พวกเผยแพร่คำสอนเช่นนั้นเป็นพวกเบื่อโลก เป็นพวกรอความตาย เป็นพวกถูกยาพิษ พวกนี้เป็นพวกหนักแผ่นดิน ตายไปเสียเร็ว ๆ ได้ยิ่งดี[/FONT]

    นิตเช่แสดงอารมณ์ร้อน เกรี้ยวกราดพวกนักพรตนักบวชที่สอนเรื่องโลกหน้า เพราะคิดว่าพวกนี้เป็นอุปสรรคร้ายกาจต่อการเผยแพร่ความคิดของตน การมีอารมณ์ร้อนนี่แหละเป็นจุดอ่อนสำคัญของนิตเช่ เมื่อผิดหวังก็ไม่สามารถระงับอารมณ์ได้ จับเจ่าครุ่นคิดและเคียดแค้นจนเป็นโรคประสาทไปในที่สุด ขอให้ท่านผู้อ่านเลือกส่วนดีของนิตเช่เก็บไว้ ซึ่งมีอยู่มากมายดังจะสาธยายต่อไป ส่วนจุดอ่อนหรือจุดเสียให้เรียนรู้แล้วทิ้งไป อย่าเอามายึดถือเป็นอารมณ์จะเป็นผลเสียต่อตัวท่านเอง

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๙ แต่ก่อนใครด่าว่าพระเจ้าถือว่าทำผิดฉกาจที่สุด ทว่าพระเจ้าตายไปแล้ว พวกด่าว่าพระเจ้าก็เลยสูญพันธุ์ไปด้วย บัดนี้ใครด่าว่าโลกนับว่าร้ายกาจที่สุด[/FONT]

    เช่นเดียวกันกับพวกที่สนใจเรื่องลึกลับยิ่งกว่าความหมายของโลก การด่าว่าพระเจ้า ย่อมกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ที่นับถือพระองค์ นิตเช่ทึกทักเอาว่าถึงเวลาแล้วที่มนุษย์จะเลิกเชื่อและนับถือพระเจ้า แม้ยังไม่เป็นจริงนิตเช่ก็เชื่อเอาเองว่าจะเป็นจริงในไม่ช้า เมื่อถึงเวลานั้นการด่าว่าพระเจ้าก็ย่อมจะไร้ความหมาย ไม่มีใครโกรธเคือง ไม่มีใครถือเป็นอารมณ์ ด่าก็เหมือนไม่ด่า ความหมายของโลก นิตเช่อยากให้มนุษย์ทั้งโลกหันมามีศรัทธาต่อความก้าวหน้าของโลกแทนศรัทธาที่เคยมีต่อศาสนาต่าง ๆ ทั้งหลาย ใครไม่สนใจถือว่าทำผิดอย่างหนักเหมือนกับที่เคยเชื่อกันว่าทำบาปผิดต่อพระเจ้า

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๑๐ แต่ก่อนวิญญาณเคยดูถูกเหยียดหยามร่างกาย ใครทำเช่นนี้เคยได้รับการยกย่องอย่างสูงส่ง วิญญาณจึงพยายามทำร่างกายให้ผ่ายผอม ดูน่าเกลียด หิวโซ วิญญาณเองคิดหาทางแต่จะหนีให้พ้นจากร่างกายและจากโลก[/FONT]

    แม้ทุกวันนี้ก็ยังมีคนอีกมิใช่น้อยที่เทิดทูนยกย่องผู้สละโลก ผู้ควบคุมร่างกายอย่างเคร่งครัด ไม่ให้มันได้รับความพึงพอใจเลย และยิ่งพูดแสดงความปรารถนาอยากจะตาย ๆ ไปเสียให้พ้นจากชีวิตนี้ ไม่มีอะไรติดข้องหรือเสียดายอะไรในชีวิตนี้อีกแม้แต่น้อย ก็จะยิ่งมีผู้เคารพเทิดทูนและขอยึดเป็นที่พึ่งมากยิ่งขึ้น พระพุทธเจ้าเองก็เคยทรงทดลองวิธีนี้มาแล้วและทรงตระหนักว่าล้มเหลว จึงทรงหันมามุ่งทางเรืองปัญญาโดยให้ศีลและสมาธิเป็นเพียงวิถีสู่ปัญญา พระเยซูคริสต์ก็เคยทรงประนามความเคร่งครัดแบบฟารีเซ

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๑๑ อา ! วิญญาณที่ทำเช่นนี้ ตัวเองยิ่งผ่ายผอม ดูน่าเกลียด หิวโซ แล้วก็หาทางออกโดยชื่นชอบความทารุณโหดร้าย[/FONT]

    นิตเช่และคนอื่น ๆ อีกมากสังเกตได้ว่า ผู้ที่โหดร้ายต่อตัวเอง ก็มักจะโหดร้ายกับผู้อื่นด้วย จึงไม่ใช่ผู้มีคุณธรรมอย่างแท้จริง ผู้มีคุณธรรมแท้จะต้องรู้จักควบคุมตัวเองอย่างยืดหยุ่น โดยรู้และยอมรับสภาพความเป็นจริงของตนเองและสภาพแวดล้อม ไม่ใช่ผู้มีทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๑๒ พี่น้องทั้งหลาย ตัวท่านล่ะ? โปรดบอกเราหน่อยซิว่า ร่างกายของท่านชี้บ่งถึงอะไรในวิญญาณของท่านบ้าง น่าสมเพชมิใช่หรือ โสโครกมิใช่หรือ โซเซอย่างน่าทุเรศมิใช่หรือ?[/FONT]

    ซาราทุสตราเทศน์อย่างไม่มีศิลป์เลย มาด่าและดูถูกกันตั้งแต่แรกพบเช่นนี้ใครจะอยากฟังต่อไป ผลก็คือถูกเยาะเย้ยและถูกไสหัวไปอย่างไม่มีเยื่อใย

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๑๓ เราขอบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า มนุษย์คือกระแสตม จำต้องมีทะเลมหาสมุทรมาช่วยดูดซับ จึงจะแก้ความสกปรกได้โดยตัวเองไม่แปดเปื้อน[/FONT]

    ซาราทุสตราเปรียบเทียบตัวเองกับทะเลมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลที่สามารถละลายความเหลวแหลกของมนุษย์ได้ทุกคน โดยตนเองมีจิตใจมั่นคงพอที่จะไม่คลอนแคลน นิตเช่เองเคยมั่นใจเช่นนั้น แต่การประกาศให้ความช่วยเหลือแบบยกตนข่มท่านเช่นนี้ ย่อมไม่มีใครอยากฟัง เมื่อบังเอิญได้ยินเข้าก็ย่อมจะเยาะเย้ยดูถูก

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๑๔ ดูกร เราขอประกาศคำสอนเรื่องอภิมนุษย์แก่ท่านทั้งหลาย อภิมนุษย์คือทะเลมหาสมุทรดังกล่าว อภิมนุษย์นี่แหละที่จะดูดซับการเยาะเย้ยดูถูกได้ทั้งหมดโดยไม่ได้รับความกระทบกระเทือน[/FONT]

    นิตเช่ในตอนแรกได้เคยมั่นใจเหมือนซาราทุสตราในตอนนี้ว่า ตนเองสำเร็จเป็นอภิมนุษย์แล้ว มั่นใจว่าจะสามารถทนต่อการต่อต้านแม้การดูถูกเหยียดหยามได้ทุกอย่างโดยไม่หวั่นไหว พูดง่าย ๆ ก็คือว่านิตเช่ในตอนนั้นเชื่อว่าตนสำเร็จเป็นพระอรหันต์หรือนักบุญแล้ว แต่ครั้นโดนเข้าจริง ๆ กลับรู้สึกว่าทนไม่ไหว ต้องถอยหลังไปปรับปรุงตัวใหม่และดำเนินนโยบายใหม่
    บังเอิญนิตเช่โชคไม่ดี สุขภาพจิตไม่อำนวย จึงไม่อาจปรับปรุงตัวได้สมประสงค์ ก็น่าเห็นใจนิตเช่ เพราะเรื่องสุขภาพเป็นลาภอย่างหนึ่ง ถ้าหากนิตเช่ไม่ถูกโรคประสาทเล่นงาน อาจจะปรับปรุงตัวในบั้นปลายไปอย่างไรเราไม่อาจจะเดาได้ หากเราโชคดีกว่านิตเช่ในเรื่องนี้ก็ควรโมทนาสาธุ ทางพุทธคงกล่าวได้ว่าบุญบารมีของนิตเช่ได้สั่งสมไว้เพียงเท่านั้น เราเห็นตัวอย่างเช่นนี้แล้ว พึงมุ่งสร้างและสะสมบุญบารมีไว้ในขณะที่มีโอกาสดีกว่านิตเช่

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๑๕ เหตุการณ์ใดเล่าจะมีอิทธิพลต่อการดำรงชีพของท่านทั้งหลาย เท่ากับเหตุการณ์ในช่วงขณะแห่งการดูถูกเหยียดหยามอันยิ่งใหญ่ ในชั่วขณะที่ท่านจะเบื่อความสุขของท่านเอง เบื่อการใช้ความคิดของท่าน และเบื่อแม้กระทั่งคุณธรรมของท่าน[/FONT]

    การดูถูกเหยียดหยามอันยิ่งใหญ่ - นิตเช่แยกการดูถูกเหยียดหยามของผู้ฟังออกเป็น ๒ ชนิด คือ การดูถูกเหยียดหยามผู้สอนซึ่งนับเป็นการดูถูกเหยียดหยามอย่างธรรมดา เรื่องนี้ในชั้นแรกนิตเช่คิดว่าตนจะพยายามรับทนและเชื่อว่าจะทนได้ แต่ก็ทนไม่ได้ดังได้กล่าวมาข้างต้น การดูถูกเหยียดหยามอีกแบบหนึ่งซึ่งนิตเช่เรียกว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยามอัน ยิ่งใหญ่ เพราะนิตเช่หวังว่าหากเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้วจะทำให้ผู้นั้นยิ่งใหญ่ โดยมีเงื่อนไขว่าผู้มีความรู้สึกเช่นนั้นจะต้องกล้ากระโดดให้พ้นสภาพนั้น ขึ้นสู่สภาพของอภิมนุษย์
    และนี้คือลักษณะอัตถิภาวนิยมในความคิดปรัชญาของนิตเช่ นิตเช่สอนเหมือนกับนักอัตถิภาวนิยมทั้งหลายว่าความเบื่อ (ความเอียน ความเซ็ง ความกังวลใจ ฯลฯ) เป็นอาการเบื้องต้นของผู้ยิ่งใหญ่ที่เข้าถึงทางสองแพร่ง (คีร์เคกอร์ด- Kierkegaard) อนาคตอยู่ในมือของเขา แล้วแต่ว่าเขาจะเลือกตัดสินใจอย่างไร หากเขาตัดสินใจกระโดดไปข้างหน้า เขาจะมีอัตถิภาวนิยมแท้ มุ่งสู่ความเป็นอภิมนุษย์ หากเขาย่อท้อด้วยความท้อแท้ใจ ตัดสินใจก้าวถอยหลัง เขาจะตกอยู่ในสภาพอัตถิภาวะเทียม จะเป็นทาสของตัวเองและของผู้อื่น เขาจะยึดถือศีลธรรมทาสไปจนตาย กลายเป็นคนไร้ประโยชน์ไปชาติหนึ่ง

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๑๖ ในขณะที่ท่านจะกล่าวว่า ความสุขของฉันหาความหมายอันใดมิได้อีกแล้ว มันเป็นเพียงสิ่งน่าสมเพช โสโครกและโซเซอย่างน่าทุเรศ ทว่าความสุขแท้ของฉันจะต้องอยู่ที่การได้ใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม
    ๓.๑๗ ในขณะที่ท่านจะกล่าวว่า การใช้ชีวิตของฉันหาความหมายอันใดมิได้อีกแล้ว สติปัญญาของฉันกระหายความรู้เหมือนสิงโตหิวเหยื่อก็หาไม่ มันเป็นเพียงสิ่งน่าสมเพช โสโครกและโซเซอย่างน่าทุเรศ
    ๓.๑๘ ในขณะที่ท่านจะกล่าวว่า คุณธรรมของฉันหาความหมายอันใดมิได้อีกแล้ว มันทำให้ฉันกลายเป็นคนบ้า ๆ บอ ๆ อะไรไม่รู้ ฉันแสนระอาเรื่องความดีและความชั่วแล้วละ เพราะมันมิใช่อะไรอื่นนอกจากสิ่งน่าสมเพช โสโครกและโซเซอย่างน่าทุเรศ
    ๓.๑๙ ในขณะที่ท่านจะกล่าวว่า ความยุติธรรมของฉันหาความหมายอันใดมิได้อีกแล้ว ฉันไม่รู้สึกอีกต่อไปแล้วว่าฉันมีใจรุ่มร้อน ก็ใครที่ยุติธรรมจะต้องแสดงอาการรุ่มร้อนมิใช่หรือ
    ๓.๒๐ ในขณะที่ท่านจะกล่าวว่า ความกรุณาของฉันหาความหมายอันใดมิได้อีกแล้ว ก็ความกรุณาได้แก่ไม้กางเขนที่ผู้รักเพื่อนมนุษย์จะต้องถูกตรึงมิใช่หรือ ส่วนฉันนั้นมิได้ถูกตรึงเพราะความกรุณาใดเลย
    [/FONT]

    [/FONT]
    <table width="90%" align="center" border="0"> <tbody><tr> <td width="640"> นิตเช่ใช้สำนวนซ้ำความเลียนแบบสำนวนของไบเบิ้ล เพื่อเน้นให้เห็นว่าเป็นตอนสำคัญ และเป็นการสร้างบรรยากาศการเทศน์ของซาราทุสตราให้คล้ายคลึงกับการเทศน์บนภูเขาของพระเยซู ( เทียบ มัตเทอุส,๕ ) มีการยกสำนวนการตรึงกางเขนของพระเยซูเพราะความกรุณาต่อมนุษยชาติมาล้อเลียนนิด ๆ ด้วย</td> <td width="10"> </td> <td width="323">
    [​IMG]
    </td></tr></tbody></table> แต่สิ่งที่นิตเช่ต้องการจริง ๆ ก็คือ ต้องการชี้แจงให้เห็นตามที่ตนมีประสบการณ์มาว่า การเอือมระอาต่อมาตรการเก่าที่ยึดถือมานี่แหละเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงจิตใจไปในทางที่ดี ซึ่งสำหรับนิตเช่ได้แก่การมุ่งหน้าเป็นอภิมนุษย์ ยัง ปอล ซาร์ต (Jean Paul Sartre ๑๙๐๕-๑๙๘๐) จะกล่าวในทำนองเดียวกันต่อมาว่า ความเอียนเป็นจุดเริ่มต้นของนักอัตถิภาวะ (ดูปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม)

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๒๑ ท่านทั้งหลายพากันพูดเช่นนี้แล้วจริงไหม? ท่านทั้งหลายได้ร้องเป็นเสียงเดียวกันเช่นนี้จริง อา ! เราอยากได้ยินท่านทั้งหลายพูดเช่นนี้จริง ๆ เทียวหนอ !


    ซาราทุสตราใจร้อน เทศน์แล้วก็อยากเห็นผลทันตา ความกระตือรือร้นรุนแรงจูงใจให้เชื่อมั่นว่าได้ผลดังที่คาดหมายไว้แน่ นิตเช่ได้รู้สึกเช่นนี้มากับตนเอง จึงนำมาบันทึกไว้ในบทบาทของซาราทุสตรา

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๒๒ โปรดอย่าเข้าใจผิด การกระทำของท่านเช่นนั้นมิใช่ความประพฤติผิด แต่เป็นความอิ่มตัวของท่านเองที่ร้องขึ้นสู่สวรรค์ เป็นความปรารถนาของท่านเองที่ร้องขึ้นสู่สวรรค์จากกองบาป
    ๓.๒๓ ฟ้าจะแลบมาเลียท่านทั้งหลาย ความบ้าคลั่งจะมาฉวยฉกท่านทั้งหลายไปร่วมวงไพบูลย์ หมายความว่ากระไร?
    ๓.๒๔ ดูกร เราสอนให้ท่านทั้งหลายรู้จักอภิมนุษย์ อภิมนุษย์คือฟ้าแลบและความบ้าคลั่งที่ทำหน้าที่ดังกล่าว
    [/FONT]

    ซาราทุสตรากล่าวปิดท้ายด้วยโวหารของนักเข้าฌาน นิตเช่สมมุติให้ซาราทุสตราลงท้ายคำเทศน์ในอารมณ์เข้าฌาน สำหรับผู้เลื่อมใสจะเป็นคำพูดศักดิ์สิทธิ์ มีค่ายิ่งยวด แต่ทว่าซาราทุสตรายังไม่มีผู้เลื่อมใสเลย ผลปรากฏว่าไม่มีใครเข้าใจคำพูดของซาราทุสตรา จึงมีแต่ผู้ดูถูกเยาะเย้ย

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๓.๒๕ ครั้นเมื่อพระซาราทุสตราได้ตรัสสั่งดังนี้ บุรุษผู้หนึ่งก็ตะโกนขึ้นท่ามกลางฝูงชนว่า "ท่านแนะนำนักแสดงกลเพียงพอแล้ว ขอให้ออกมาแสดงเสียที ณ บัดนี้" และทุกคนพากันเยาะเย้ยพระซาราทุสตรา บัดนั้นเองนักแสดงกลคิดว่าถูกเรียกตัว เขาก็เริ่มเปิดฉากการแสดงขึ้นทันที[/FONT]

    นับว่าซาราทุสตราประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการเทศน์ ครั้งแรกนี้ ซาราทุสตราจำต้องกล้ำกลืนความผิดหวังไว้ในใจด้วยความขมขื่น แต่ก็ไม่แสดงอาการสิ้นหวังอย่างสามัญชน ยังคงดูการแสดงพลางคิดคำนึงหาลู่ทางต่อไป นี่คือจิตใจของผู้ยิ่งใหญ่จริง ๆ ซึ่งนิตเช่ปั้นขึ้นมาเป็นแบบอย่างของผู้บรรลุถึงสภาวะอภิมนุษย์ แต่ตัวนิตเช่เองไม่อาจจะปฏิบัติตามได้
    [/FONT]
     
  8. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870


    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๔.๑ พระซาราทุสตราทอดพระเนตรมองดูฝูงชนด้วยความประหลาดในพระทัย ตรัสดังต่อไปนี้ "มนุษย์คือเส้นเชือกที่ขึงอยู่ระหว่างสัตว์กับอภิมนุษย์ เชือกเส้นนี้ขึงข้ามเหวลึก”[/FONT]

    มนุษย์ได้พัฒนาพ้นสภาพของสัตว์มาแล้ว และกำลังจะพัฒนาไปสู่สภาพอภิมนุษย์ แต่ถ้าหากมนุษย์ทำอะไรโง่ ๆ อยู่เรื่อยก็อาจจะไม่บรรลุเป้าหมายก็ได้ เหมือนคนเดินบนเส้นเชือกอาจจะตกเสียกลางทางก็ได้

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๔.๒ “เดินข้ามเหวก็มีอันตราย เดินบนเส้นเชือกก็มีอันตราย เหลียวหลังก็มีอันตราย กลัวและหยุดเดินก็มีอันตราย”


    รวมความว่ามีอันตรายรอบด้าน

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๔.๓ “ความยิ่งใหญ่ของมนุษย์อยู่ที่ว่า มนุษย์เป็นสะพาน ไม่ใช่ภาวะสุดท้าย มนุษย์น่ารักอยู่ที่ว่าเขาเป็นทางผ่านและทางหายนะ”[/FONT]

    นิตเช่เลียนสำนวนปัสกัล ( Pascal ) ที่ว่า มนุษย์ยิ่งใหญ่ที่ว่า เขาเป็นไม้อ้อที่รู้ว่าตนถูกทำร้ายโดยสิ่งอื่นในธรรมชาติ แต่ก็เพิ่มเติมว่ามนุษย์มีหวังจะควบคุมธรรมชาติได้ในที่สุด

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๔.๔ “เรายกย่องผู้ที่มีชีวิตอย่างเสี่ยงตาย เพราะเมื่อเขาตายเขาย่อมชนะตัวเอง”[/FONT]

    ข้อความนี้ยืนยันปรัชญาของนิตเช่ว่า ธาตุแท้ของมนุษย์และของทุก ๆ สิ่งคือ พลังดิ้นรนหรือเจตจำนงที่จะมีอำนาจ ไม่ใช่เจตจำนงที่จะมีชีวิตดังที่โชเปนเอาเออร ์( Schopenhauer , Arthur 1788-1860 German philosopher ) ได้แถลงก่อนหน้า

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๕.๕ “เรายกย่องผู้สละโลกอย่างจริงจัง เขาเหล่านั้นน่านับถืออย่างยิ่ง พวกเขาเป็นเหมือนธนูนำความปรารถนาพุ่งไปสู่ฟากโน้น”[/FONT]

    ฟากโน้น - คือความเป็นอภิมนุษย์อันเป็นเป้าหมายของมนุษย์ทุกคน ผู้ไม่รู้ความจริงก็ไม่ปรารถนาจะมุ่งหน้าไปสู่ ผู้รู้ก็ยังไปไม่ถึง นอกจากเขาผู้นั้นจะเป็นผู้สละอบายมุขทั้งหลายอย่างจริงจัง ซึ่งนิตเช่คิดว่าตนเป็นผู้หนึ่งที่สละแล้ว

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๔.๖ “เรายกย่องผู้ที่ไม่จำเป็นต้องแสวงหาถึงแดนนอกเอกภพให้เป็นเป้าหมายแห่งการยอมตายและความเสียสละ หากแต่ยอมอุทิศตนเพื่อโลกนี้ เพื่อให้โลกกลายเป็นดินแดนแห่งอภิมนุษย์”[/FONT]

    นิตเช่ต้องการเหน็บแนมชาวคริสต์ในสมัยของตนว่าจะทำอะไรสักหน่อยก็ต้องอ้าง ว่าทำเพื่อความสุขในโลกหน้า ซึ่งนิตเช่เปรียบเทียบว่าเป็นดินแดนนอกเขตเอกภพ เลยบริเวณดาวทุกดวงในท้องฟ้า นิตเช่อยากจะเรียกร้องให้อุทิศตนเพื่อสร้างโลกนี้ให้ดีขึ้น ชาวคริสต์ในปัจจุบันจำนวนมากก็เปลี่ยนท่าทีมาสร้างโลกนี้ให้เป็นสวรรค์สืบ ต่อกับโลกหน้า ก็นับว่าความใฝ่ฝันของนิตเช่เป็นจริงขึ้นแล้ว หากแต่ชาวคริสต์เหล่านั้นถือว่าสภาวะอภิมนุษย์จะเป็นจริงในอันตวาระ ( eschatology - [N] คำสอนในศาสนาที่เกี่ยวกับวิญญาณของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความตาย การพิพากษานรกสวรรค์. LEXiTRON Dictionary )

    [FONT=Cordia New, CordiaUPC]๔.๗ “เรายกย่องผู้มีชีวิตเพื่อหาความรู้ และหาความรู้เพื่อให้เกิดอภิมนุษย์ขึ้นสักวันหนึ่ง เขายอมทำลายตัวเองด้วยการกระทำของเขาเอง”[/FONT]

    คนดีในทัศนะของนิตเช่คือ ผู้ที่ยังไม่พอใจกับสภาพปัจจุบันของตน แต่อยากให้แปรสภาพไปสู่สภาพที่ดีกว่าจนถึงสภาพที่ดีที่สุด คือสภาพอภิมนุษย์ เมื่อมีอภิมนุษย์แล้วมนุษย์ธรรมดาก็หมดความหมาย นิตเช่ชักชวนให้ยอมสละสภาพมนุษย์ธรรมดาเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นอภิมนุษย์

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๔.๘ “เรายกย่องผู้ที่ทำการหรือแสวงหาวิธีการเพื่อสรรค์สร้างที่อยู่อาศัยให้อภิมนุษย์ได้อยู่ในวันข้างหน้า รวมทั้งผู้ที่ตระเตรียมโลก สัตว์ และพืช ไว้ให้อภิมนุษย์ได้อยู่อย่างสะดวกสบาย เขายอมทำลายตนเองด้วยการกระทำของเขาเอง”
    ๔.๙ “เรายกย่องผู้ยกย่องคุณธรรม เพราะคุณธรรมก็คือการยอมสละตนเพื่อมุ่งไปสู่อุดมการ”
    ๔.๑๐ “เราชอบผู้ที่ไม่คิดจะสงวนท่าทีไว้แม้แต่สักนิดเดียวสำหรับตัวเอง แต่ทำตัวเองให้กลายเป็นแก่นของคุณธรรม ในสภาพเช่นนี้แหละเขาจะข้ามสะพานสำเร็จ”
    ๔.๑๑ “เรายกย่องผู้ที่ทำให้คุณธรรมกลายเป็นความโน้มเอียงประจำตัวและเป็นชะตากรรม ของตน ถึงขนาดที่ว่าเขาจะยอมมีชีวิตและยอมตายเพื่อคุณธรรมของเขา” คนดียอดเยี่ยมในทัศนะของนิตเช่คือคนหัวรุนแรงยอมทุ่มเททุกอย่างเพื่ออุดมคติ ที่ตนเองยึดถือว่าเป็นคุณธรรมประจำตัว เขาจะยอมมีชีวิตอยู่ต่อไปไม่ว่าจะยากลำบากสักปานใดเพื่อยืนหยัดคุณธรรมของ เขา และเมื่อเขาจะต้องตายเพื่อคุณธรรมของเขา เขาก็ยอมอย่างเต็มใจที่สุด”
    ๔.๑๒ “เรายกย่องผู้มีคุณธรรมน้อยชนิด มีคุณธรรมชนิดเดียวย่อมเป็นผู้ทรงคุณธรรมเข้มข้นกว่ามีคุณธรรม ๒ ชนิด เพราะปมคุณธรรมจะแข็งแกร่งกว่า สามารถกำหนดวิถีทางได้มั่นคงกว่า”
    [/FONT]

    นิตเช่ตำหนิการจับปลาหลายมือว่าทำให้พลังกระจัดกระจาย หากมุ่งหน้าแฏิบัติอุดมคติเดียวแล้ว พลังจะเข้มข้นแข็งแกร่ง ความจริงการปฏิบัติคุณธรรมอย่างเดียวอย่างจริงจัง คุณธรรมอื่น ๆ จะตามมาเองโดยอัตโนมัติ

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๔.๑๓ “เรายกย่องผู้มีใจกว้างขนาดไม่รู้จักขอบใจใครหรือตอบแทนบุญคุณใคร เพราะตลอดชีวิตของเขามีแต่ให้จนไม่มีอะไรจะเหลือ” ๔.๑๔ “เรายกย่องผู้ที่รู้สึกละอายใจ เมื่อจับสลากเป็นฝ่ายได้และถามตัวเองว่า ‘นี่ฉันโกงเขาหรือเปล่านะ?’ เพราะใจของเขามุ่งแต่จะยอมเสียเพียงอย่างเดียว”
    ๔.๑๕ “เรายกย่องผู้ที่ทำดีด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มพรั่งพร้อมด้วยวาจาอ่อนหวาน เพราะใจของเขามุ่งแต่จะยอมเสียอย่างเดียว”
    [/FONT]

    นิตเช่คิดได้ พูดได้ แต่ปฏิบัติไม่ได้ คำเหน็บแนมของนิตเช่จึงเจ็บแสบถึงขั้วหัวใจ

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๔.๑๖ “เรายกย่องผู้ที่แก้ตัวเผื่อไว้ให้ตนในอนาคต และตอบโต้แทนบุคคลในอดีต เพราะใจของเขามุ่งแต่จะยอมถูกคนในปัจจุบันเหยียบย่ำ”
    ๔.๑๗ “เรายกย่องผู้ที่ลงโทษพระเจ้าของตนเพราะรักพระองค์ แน่นอนทีเดียวว่าพระเจ้าของเขาจะเอาเรื่องเขาจนถึงที่สุดด้วยพระพิโรธ”
    [/FONT]

    นิตเช่ต้องการเหน็บแนมชาวคริสต์ที่หลงนับถือพระเจ้าที่มีกิเลส นิตเช่คิดว่าถ้าเขาดีจริงเขาพึงเสียสละตนโดยฝืนน้ำพระทัยของพระองค์ โดยหวังว่าพระองค์อาจจะสำนึกตนดีขึ้น นิตเช่เข้าใจพระเจ้าตามตัวอักษรในระดับสมมติสัจจะ ถ้าหากไม่มีปรมัตถสัจจะให้เข้าใจก็น่าจะเห็นด้วยกับนิตเช่อย่างยิ่ง

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๔.๑๘ “เรายกย่องผู้มีจิตใจลึกซึ้ง จนรู้สึกปวดร้าวใจและอาจจะตายได้ด้วยความกระทบกระเทือนใจเพียงเล็กน้อย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเขาพร้อมที่จะข้ามสะพานอย่างเต็มใจ”[/FONT]

    นิตเช่ระบายความรู้สึกละเอียดอ่อนในส่วนลึกของหัวใจตนเอง จิตใจเช่นนี้มีอันตราย เพราะอาจจะควบคุมความรู้สึกไม่ได้เมื่อผิดหวัง จึงไม่ใช่จิตใจของผู้เข้มแข็งจริง

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๔.๑๙ “เรายกย่องผู้ที่มีดวงวิญญาณเปี่ยมล้นจนถึงกับลืมตัวเองและสุมทุกอย่างไว้ในตัว ทุกอย่างเหล่านี้จะนำหายนะมาสู่ตัวเขา”[/FONT]

    นิตเช่ระบายความคับแค้นในจิตใจของตนเองที่อยากรับผิดชอบจนเกินตัว ผิดหลักทางสายกลางของศาสดาทั้งหลาย

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๔.๒๐ “เรายกย่องผู้มีจิตและใจอิสระ สมองของเขาเป็นเพียงเครื่องมือของหัวใจ และหัวใจจะนำเขาไปสู่ความตาย”[/FONT]

    ผู้มีพลังเจตจำนงที่จะมีอำนาจเข้มแข็ง สติปัญญาของเขาจะเป็นทาสของพลังนี้ และจะปฏิบัติตามแรงผลักดันของพลังนี้จนตัวตาย

    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC]๔.๒๑ “เรายกย่องทุกคนที่มีสภาพเหมือนหยดน้ำ ที่ตกลงมาทีละหยด ๆ จากเมฆดำอันปกคลุมเหนือเหล่ามนุษย์ หยดน้ำเหล่านี้บอกให้รู้ว่าสายอสุนีบาตกำลังจะมาถึง และหยดน้ำก็สูญหายไปในฐานะผู้แจ้งข่าว”
    ๔.๒๒ “ดูกร ท่านทั้งหลาย เรานี้แหละคือผู้แจ้งข่าวสายอสุนีบาต เราเป็นเพียงหยดน้ำหยดหนึ่งอันตกลงมาจากเมฆ สายอสุนีบาตที่เราแจ้งให้ท่านทั้งหลายทราบคือ อภิมนุษย์”

    ที่มา: olddreamz.com
    [/FONT]
    [/FONT] ​
     
  9. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    วิธีการสู่ความเป็นอภิมนุษย์

    อภิมนุษย์ -Superhuman-คำนี้ยืมมาจาก ดร.สุวินัย นะครับ ส่วนภาษาชาวบ้านก็คือคำว่า ยอดคน ,คนเหนือคน, คนเหลือโลก, ยอดมนุษย์, อัจฉริยมนุษย์, ซูเปอร์แมน อะไรแบบนี้หละครับ

    ---------ขึ้นหัวข้อมา แบบนี้ เพื่อให้ทุกท่านทราบว่า ทุกท่านสามารถเป็นคนเหนือคนได้ทั้งนั้นครับ ยกตัวอย่างคนบางคนอุตส่าห์ถือศีลแปด อาบน้ำเพียงห้าขัน-จบ และทำทีไปอดข้าวหน้าสภา ก็เพื่อโชว์ว่าคนเองเหนือกว่าคนอื่น เพราะเข้าใจว่าเป็นอภิมนุษย์เรียบร้อยแล้ว ความจริง เขาน่ะ หลอกตัวเอง และหลอกคนอื่นๆด้วย แบบเนียนๆ

    ---------ขั้นตอนที่ผมคิดไว้นะ--

    หนึ่ง เตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมการสู่อภิมนุษย์

    2. ดำเนินการหรือฝึกหัด ทำอย่างเข้มข้นเพื่อให้ได้เป็นอภิมนุษย์

    3.ได้เป็นซึ่งอภิมนุษย์ ตามต้องการและโปรโมตตัวเองสู่สังคม

    4.นำความสามรถนี้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ หรือฝึกอภิมนุษย์ รุ่นต่อไป

    --------- ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆก็คือนักรบ หรือกษัตริย์สมัยก่อน ตอนฝึกก็ฝึกทั้งอาวุธต่างๆ ภาษาต่างๆ กินว่าน ถือศีลไม่หลับนอนกับภรรยา จนวิชาแก่กล้ามีแต่ความกำเริมไม่มีความเกรงกลัวต่อความพิการหรือความตาย

    --------- ไม่เฉพาะผู้ชาย ผู้หญิงก็ทำได้นะครับ แม้แต่นั่งเฉยๆก็ยังทำได้ และเป็นวิธีการที่แตกต่างจากผู้ชายราวฟ้ากับเหว ก็ทำได้ เช่น (จากหนังเรื่องไซซี) ขุนนางฝ่ายเมืองอู๋พบไซซี(ชาวเมืองเยี่ย)ครั้งแรกก็บอกว่า ท่านคือนักรบ เพียงแต่อาวุธของท่าน ก็คือความงามของท่านนั่นเอง จะเห็นว่า ความงาม บุคคลิก รูปร่างหน้าตา นั้นเป็นทั้งทรัพย์ เป็นทั้งเครื่องมือทำมาหากิน และเป็นอาวุธได้ ไโยไม่จำเป็นต้องทาครีมจั๊กกะแร้ขาวเสมอไปครับ...ฮา (ขออภัยที่แขวะกระทบบรรดาสาวๆ----ถ้าท่านไม่เข้ามาติดตาม เรทติ้งผมจะหดนะครับ)

    ----------อภิมุษย์หญิงนะมันง่ายๆ แต่ต้องมีทรัพย์ต้นทุนคือโครงกระดูก วงหน้าที่สะสวยมาก่อน ส่วนความอึ๋มนั้นไว้หาเอาข้างหน้าครับ...ฮา (เอ๊ะ.. แขวะผู้หญิงอีกแล้วตู) อภิมนุษย์อั้ม หรือ อภิมนุษย์นุ่น ก็ได้พบความสำเร็จคือสังคมยอมรับ หรือได้ผัวรวยๆ ดีๆ สำเร็จตามความประสงค์แล้ว แต่ ความจริงมนุษย์ต้องการอะไร---ความจริงคนเราต้องการพ้นไปจากความทุกข์ สู่ความสุขที่เที่ยงแท้คือ นิพพานตะหาก ไม่เชื่อลองไปถามพระแก่ๆดุสิครับ--เอ๊ย ถามใจของทุกท่านเองก็ได้..ง่ายดี

    ------------ คนที่ฝึกฝนวิชาดาบ หรือการต่อสู้ต่างๆนั้น ในบางสภาวะ ก็สามารถที่จะบรรลุโสดาบันขึ้นมาได้ เ้พราะการฝึกจิต-ฝึกสติ ใช้ความไว-ความเร็ว ความเฉียบคมของสติคู่กับการรู้กาย รู้ใจ รู้เวทนา ที่ชัดเจนกระจ่างในทุกเสียววินาที ทำให้จิตที่เคยซัดส่ายไปทั่ว รวมอยู่เป็นหนึ่งเดียว ณ ปัจจุบันธรรม จนรวมตัวเกิดปัญญาที่ประหารกิเลสได้ในระดับหนึ่ง หลายครั้งที่ผู้บรรลุสามารถใช้ทุกสิ่งรอบกาย ไม่ว่า กิ่งไม้ แท่งน้ำแข็ง มาเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ และรู้ด้สยว่าเขาจะฟันมาทางไหนก่อนที่จะฟันมาเสียอีก ก็เป็นเพราะสามรถหยั่งรู้จิตใจ เกิดบรรลุในขณะนั้นเอง

    -----------ในสมัย ก่อน ผู้ชายมักนิยมศึกษาทางไสยศาสตร์ เพื่อให้หนังเหนียว ยิง ฟัน แทงไม่เข้า เพื่อให้รอดชีวิตจากสงครามต่างๆที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ที่นิยมก็คือการสักยันต์ สักน้ำมัน กินว่าน อาบว่าน ถือศีลบำเพ็ญ เช่นจะเห็นได้ในวรรณคดีเรื่องขุนแผน ความเจ้าชู้ของขุนแผนยังคงเป็นที่อ้างอิงและเป็นค่านิยมของผู้ชายไทยไปเลย กินเหล้า-เจ้าชู้-นิยมเสพยา(ฝิ่น) ส่วนความขยันแบบไฮเปอร์ของคนเชื้อสายจีน คงไม่ได้มีอิทธิพลจากวรรณคดีไซอิ๋วอย่าง ดร.นิติภูมิว่า แต่ผมว่าน่าจะอยู่ในสายเลือดคือยีนส์เลยหละครับ

    -------ทางพุทธนิกายเซน กระตุ้นจิตด้วยปริศนาธรรม คำพูดแปลกๆ ที่ขัดแย้งกัน เพื่อกระตุ้นเปลือกกิเลสให้แตกออกสู่การรู้แจ้งในทันที เช่นคำว่า น้ำไหลนิ่ง
    ในมีก็คือไม่มี ในไม่มีก็คือมี สรรพพสิ่งรวมเป็นหนึ่ง หนึ่งนั้นมิใช่หนึ่ง หนึ่งนั้นมันคืออะไร-------ขอเรียนให้ทราบว่าคำพูดหรือวิธีการที่จะสามรถทำ ให้บรรลุธรรมได้ในหนึ่งนาที ข้าพเจ้าได้ชี้แนะไว้ถึงสองครั้งแล้ว ใครที่กำลังสุกงอมในสติปัญญาก็น่าจะบรรลุแล้ว บรรลุขั้นไหนแล้วคอมเม้นให้ทราบด้วย--จะเำด้เปลี่ยนหัวข้อว่า บรรลุธรรมโดยฉัับพลัน นะครับ--บรรลุได้ก้เก่งกว่าผู้เขียนนะครับ ผมเองใช้เวลาไม่ต่ำกว่ายี่สิบปี ยังหน่อมแน้ม อ้อๆแอ้ๆอยู่เลย

    ------- หลวงพ่อจำเนียร ท่านแอบฝึกวิชาย่นระยะทาง ล่อิงหนหายตัว และแอบฝึก แอบไม่คิด เพราะมีแม่ชีองค์หนึ่งที่ล่วงรู้วาระจิตของท่าน แต่เมื่อท่านไปหาท่านไสบาบา ในคือหนึ่งก่อนที่ท่านจะพบองค์ท่าน ท่านก็ฝันว่า ท่านบาบามาหา และรู้ว่าองค์ท่านคือพระอรหันต์นอกศาสนาพุทธ ในฝันท่านบอกว่า อย่าเพิ่งฝึกทำการหายตัวเลย เพราะญาณหยั่งรู้ที่จะกำหนดทิศทางยังไม่มี อาจจะไปมิติอื่น หรืออดีตอนาคน ภพภูมิอื่นและจะหาทางกลับไม่ได้ นี่ก็เป็นการหาทางสู่อภิมนุษย์ แบบหนึ่งของท่านอาจารย์จำเนียร(ครอบครัวท่านนนี้แปลก มีพี่ชายท่านกับท่านเท่านั้นที่เป็นพระทางพุทธ ส่วนพี่น้องคนอื่นอีก 4 คนเป็นผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์)

    ------หลวงปู่บุญเหลือ แห่งอาศรมแก้วกู่ จ.หนองคาย ท่านไม่ใช่พระนะครับ ท่านบวชผ้าขาว เพราะครองผ้าเหลืองทีไร ตาจะมืดบอด--เป็นถึงสามครั้ง มีคนเคยพบท่านในป่า เหมือนคนบ้าๆบอๆ ขอกินข้าวเจ็ดคำน้ำเจ็ดอึก แล้วอาเจียนออกมาหมด ถามอะไรก็ไม่พูด---แต่ชาวบ้านแถวนั้น(จ.หนองคาย)สอนลูกหลานมาว่า --ถ้าไปพบคนบ้าๆบอๆนั่นอาจจะเป็นพระศรีอารย์ ท่านปลอมตัวมา โดยบำเพ็ญแบบโพธิสัตว์ในศาสนานี้ อย่าแช่งด่า ขว้างปา อย่าดูถูกท่าน จะเป็นบาปแก่ตัว และข้าวเจ้าได้ใกล้ชิด สนทนาธรรมกับท่านมาแล้ว และพักอยู่--ถือศีลในศาลาแก้วกู่ประใมาณเจ็ดวัน(คำว่าแก้วกู่ หมายถึงเมืองแก้วอันไกลสุดกู่ ก็คือภาวะนิพพาน)

    -------ข้าพเจ้าตั้งจิต ขอให้ได้พบกับท่าน พอดีมีคนขอเช่ารถข้าพเจ้าำไปที่ อ.เชียงคาน จ.เลย ข้าพเจ้าเลยบอกว่าจะออกค่าน้ำมันให้ แล้วคืนนั้นเราก็ไปท่องราตรีไปเจอนักร้องสาวคนนึงเธอว่าจะไปด้วย เช้ามาเราก็ไปรอเธอที่หอพัก แต่เธอไม่ยอมตื่นครับ เราก็ไปกัน พอดีไปพบผู้หญิงสาวสวยคนนึงในอาศรม เธอก็บอกถ้าสนใจท่าน ก็ขอพักที่นี่ก็ได้ พอดีเราได้พบท่าน และถามเรื่องแปลกๆ เช่น พญานาคในน้ำโขงมีจริงไหม ท่านก็บอกว่าอย่าเชื่ออะไรง่ายๆ เรากำลังจะลากลับ แต่ท่านก็มองหน้าข้าพเจ้าตรงๆ จ้องตาและพูดบอกว่า มีอะไรให้พูดออกมาตรงๆจะดีกว่า แน่นอนข้าพเจ้าก็พูดปัดไป แต่ทันใดนั้น มีพลังบางอย่างวิ่งมาจากท้องน้อยขึ้นมาทรวงอกและถึงศรีษะ เป็นความตื้นตันผสมกับความรักความโศกความผูกพัน ทพให้ข้าพเจ้าร้องไห้สะอึกสะอื้นขึ้นมา และฉัพลันนั้นสีหน้าแววตาของชายชราก็เปลี่ยนไป เป็นแววตาแห่งความปราณี ท่านมาลูบหัวลูบหน้าข้าพเจ้าแล้วพูดว่า คนหน้ากลมๆเหลี่ยมๆนิดๆ เป็นคนเหนือ ลูกหลานแบบนี้ปู่ยังไม่มีเลย และพูดออกมาอีกว่า"ปู่ดีใจ ที่วันนี้ได้บเห็นคนที่ยอมตายเพื่อพุทธศาสนา" แล้วท่านก็ชวนให้อยู่กับท่าน ท่านบอกว่าเอาพ่อแม่มาอยู่ก็ได้นะปู่เลี้ยงได้ ข้าพเจ้าแปลดกใจมาก เพราะว่ายอมตายเพื่อพุทธศษสนา เป็นคำอธิษฐานเมื่อนนานมาแล้ว และไม่เคยพูดบอกใครที่ไหน ข้าพเจ้าจึงรู้ว่า ท่านเป็นนักบุญผู้ที่ลงมาสร้างบารมี เป็นผู้มรญาณหยั่งรู้วาระจิต บางครั้งท่านก็ดุลูกศิษย์รุนแรง แต่ตอนหันมาคุยกับเราก็เหมือนตัดภาพ ตอนไปด่าต่อก็รุนแรงต่อ คนแบบนี้ที่พบมาก็มีไม่กี่คนที่สามารถแยกจิตจากอารมรณ์ได้

    ------แม้แต่เส้นผมบนศรีษะท่าน ชี้ขึ้นทุกเส้นแถมยังงอตัวเป็นกลุ่มเล็ก เหมือนงูนะ ครับ ไม่มีการแหกตา เพราะตอนท่านสระผม ก็เหมือนผมคนปกติ สักพักนึง ก็แห้งและกลับไปรูปแบบเดิม เด็กหนุ่มที่อยู่กับท่านเล่าว่า จะมีต้นว่านใบใหญ่ๆ ท่านไปที่ไหนมันก็จะไปขึ้นตรงนั้น เรียกว่าว่านพญากาสัก ตอนที่สร้างพระใหญ่ ก็จะมีงูใหญ่ไปขดตัวดูแลการก่อสร้างบนคบไม้สูงครบเจ็ดวัน วันที่มีบวงสรวงก็จะมีงูเล็กลอยช้าๆลงมาจากท้องฟ้า และมาอยู่ตรงบายศรีพิธี เรียกว่างูปล้องทอง

    มีรูปถ่ายไว้อยู่ ท่านสร้างรูปปั้นไว้มากมาย จนนักท่องเที่ยวฝรั่งบอกว่า "วัดฮินดู" ที่นี่ข้าพเจ้ายังได้พบกับนักข่าวสาวญี่ปุ่นชื่อมิโดริ และได้ช่วยแปลคำสัมถาษณ์ด้วย ในหนังสือท่านกล่าวถึงวัยเด็กที่ถูกตีถูกกระทืบทารุณต่างๆจากพ่อของท่าน เหมือนเป็นการทดสอบบารมี มีเสียงในหัวบอกให้หนีจากคนใจบาปพวกนี้ไป และท่านได้พบนครใต้ดินต่างๆ หรือเรียกว่า ห้าทวีปใต้โลก ตามพุทธศาสนา ในดินแดนของลาว และเวียดนาม ได้พบกับงูใหญ่ และพบว่างูนั้นก็คือศิษย์รุ่นพี่ เป็นชาวชาติต่างๆ และอาจารย์ของท่านคือฤาษีสูงเจ็ดศอก เป็นชายร่างใหญ่ทรงอาคม ข้าพเจ้าจึงถามท่านว่า พูดภาษาอะไรกัน ท่านบอกว่า เป็นภาษาเทพ หรือภาษากูโบ๊ส มีภาพถ่ายอาจารย์ท่านด้วย ข้าพเจ้าถามว่าถ่ายได้จริงหรือ ท่านบอกว่า อาจารย์ให้ขึงผ้าขาวไว้ เมื่อถ่ายออกมาก็จะได้ภาพตามต้องการ--ด้วยพลังจิต

    ----ในการบำเพ็ญทางศาสนา พี่สาวบอกว่า วันไหนอธิฐานไม่กินข้าวตอนเย็น วันน้ำก็จะไม่หิวข้าวอยู่ได้อย่างสบาย

    ---ใน การแสดงพลังจิต มีการใช้เครื่องมือวิเคราะห์พบว่า มีสนามพลังวิ่งออกมาจากตรงจุดหัวใจ และด้านหน้้าสมอง ตรงไปยังวัตถุนีั้น ทำให้เคลื่อนที่ี่ได้ พบว่า พลังจิตจะไปบิดสปิน(การหมุน)ของนิวเคลืยสในอะตอมของวัตถุ และพื้นโต๊ะ ให้ตรงข้ามกัน สนามแม่เหล็กจะผลักกัน เแ็นการลดแรงเสียดทานที่พื้นโต๊ะ แทบจะทำให้วัตถุลอยอยู่ และเคลื่อนที่ไป ทำไมจิตจึงเก่งได้ชนาดนั้น เป็นเพราะว่า พลังจิต คือธาตุที่มีความรู้ตามธรรมชาติ

    รู้ในทุกสิ่งที่ เราเองก็ไม่เคยรู้ จึงสาามรถจัดการอะไรๆได้ ตามใจปรารถนา จิตเป็นของละเอียด เห็นได้ยาก ตามพุทธศาสนาบอกว่าสถิตอยู่ในหัวใจ หรือหทัยรูป เช่นเราเสียใจ จะรู้สึกวูบๆ ใจหาย ตื่นเต้นตกใจ หัวใจจะเต้นแรง
    ----

    ที่มา:http://www.bloggang.com/viewdiary.p...6-2010&date=23&group=1&gblog=125]Bloggang.com : jesdath :
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2010
  10. vergo shaka

    vergo shaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +835
    ขอบคุณจ๊ะ...ได้ความรู้เยอะเลย..
     
  11. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ยาวแท้ ๆ เด๋วต้องหาเวลามานั่งอ่านแล้ว
     
  12. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    "ฟรีดริช นิทเช่"อาจเป็นนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยรู้จัก แต่เขาไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับวิถีแห่งการบรรลุ เกี่ยวกับเส้นทางที่นำไปสู่ตัวตนภายใน สิ่งนี้จึงสร้างความปั่นป่วนสับสนในตัวเขา ความฝันของเขาสูงลิบเท่าดวงดาว แต่ชีวิตของเขายังคงเป็นเช่นคนทั่วไป ไม่มีรัศมีที่เกิดจากการทำสมาธิ
    เขามีบางสิ่งเหมือนพระพุทธเจ้า เขามีบางสิ่งเหมือนซอร์บา ทั้งสองสิ่งยังไม่สมบูรณ์แต่เขาเป็นข้อพิสูจน์เดียวว่าพระพุทธเจ้าและซอร์บานั้นสอดผสานกันได้ ว่าคนที่ไปถึงจุดสูงสุดแล้วไม่จำเป็นต้องอยู่ที่นั่น
    คนที่เหนือกว่าจริงๆ ไม่ต้องการการพิสูจน์ใดๆ เขาเพียงแต่เหนือกว่าเท่านั้น คนที่เหนือกว่าก็เพียงแต่รู้เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ ไม่มีอะไรกี่ยวข้องกับคนอื่นเลย ทั้งหมดล้วนเกี่ยวกับปัจเจกคนหนึ่งเท่านั้นเท่านั้นเอง
    ข้าพเจ้ารักวิธีที่เขาเขียนเป็นวิธเขียนที่สุดยอด หากคนเราฉลาด เราไม่จำเป็นต้องผ่านข้อเสนอต่างๆก่อนจะไปถึงข้อสรุป เพียงข้อสรุปก็พอแล้ว หากใครฉลาดหลักแหลม เขาก็จะเข้าใจข้อเสนอในกระบวนการทั้งหมดทันที จนไม่จำเป็นต้องบอก ไม่จำเป็น...
    หากเพียงเขามีคุณสมบัติในด้านสมาธิภาวนาด้วย เขาจะได้มอบสมบัติล้ำค่ามากกว่านี้ให้กับโลก สิ่งที่ข้าพเจ้าอยากให้ผู้สนใจนิทเช่เข้าใจ ก็คือว่า คุณไม่ควรจะพลาดการปฏิบัติสมาธิภาวนาอย่างที่นิทเช่พลาดมาแล้ว มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นปัญญาชนที่ยิ่งใหญ่ ทว่าว่างเปล่าอยู่ภายใน แค่นั้นเอง
     
  13. Abdulkharim

    Abdulkharim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2009
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +201
    ยาวแท้เด้ ไว้ค่อยมาอ่านแล้วกันนะครับ
     
  14. เฌ

    เฌ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2009
    โพสต์:
    210
    ค่าพลัง:
    +415
    เป็นนักปรัชญาที่ล้ำลึก หากแต่ผิดพลาดที่อดล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ตีความในปรัชญานี้ผิดไปจากคำว่า "เจตจำนงสู่อำนาจ" กลายเป็น "เจตจำนงในที่จะครอบงำ" จากการตีความที่ผิดพลาดนี้เอง ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมที่ฆ่าคนมากว่า 8 ล้านคน ของเหล่านอรดิกเยอรมันอารยัน ที่จะเป็นชาติพันธุ์ใหม่ของมนุษย์ มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ ของเหล่านาซีนี่เอง

    ข้อที่เสียเปรียบอย่างมากมายในชีวิตของ ฟรีดริช นิทเช่ ก็คือเขาไม่ได้ทำ หรือตระหนักรู้ในเรื่องของสมาธิภาวนาเลย ... น่าเสียดาย มหาบุรุษที่ยิ่งใหญ่นี้ที่ได้พลาดโอกาสที่สำคัญที่สุด ที่เป็นโอกาสแห่งอำนาจที่แท้จริงในผืนโลกนี้

    นี่ถ้าเขามีโอกาสล่วงรู้ว่ามีเรื่องพวกนี้ ก็นับว่าเป็นบุคคลที่มีอำนาจเป็นอย่างยิ่งในศวตวรรษที่ 20 นี้แน่นอน.
     
  15. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    :boo:หน้าที่ใหม่ของผมนักโบราณคดีแห่งเว็บพลังจิต
     
  16. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    ดิฉันเป็นแฟนคลับ"นิทเช่"ค่ะ ชอบอ่านบทความของท่านผู้นี้มาก อ่านแล้วเป็นสุข อิ่มเอิบขอบคุณจขกท.มากนะคะ
     
  17. Ong

    Ong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    2,501
    ค่าพลัง:
    +12,861
    ทัศนะของท่านนี้ก็น่าสนใจครับ
     
  18. AFIKLIFI

    AFIKLIFI Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    560
    ค่าพลัง:
    +53
    สันโดษ หายไปไหนนานมากแล้ว
     
  19. โอ๊ตศ์

    โอ๊ตศ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    333
    ค่าพลัง:
    +1,107
    คิดถึงพี่จักรวาล ^^

    (คิดถึงมะวาน มาเจอกระทู้วันนี้)
     

แชร์หน้านี้

Loading...