พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุพระอรหันต์ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=createdate vAlign=top colSpan=2></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>โดยคุณ สันตินันท์วัน พุธ ที่ 10 พฤศจิกายน 2542 14:08:41 ท่านพระอานันทเถระ หรือที่คนไทยเรียกว่าพระอานนท์นั้น
    เป็นพระเถระสำคัญที่ชาวไทยพุทธ ทั่วไป
    รู้จักปฏิปทาและบทบาทของท่านเป็นอย่างดี
    เกียรติประวัติอันสูงส่งหลายเรื่อง เป็นที่น่าประทับใจ
    เช่นท่านเป็นพระอุปัฏฐากที่ยาวนานที่สุดของพระศาสดา
    เป็นพหูสูตรและมีบทบาทนำรูปหนึ่งในปฐมสังคายนา
    แม้แต่ตอนที่ท่านเอากายออกบังพระศาสดาจากช้างนาฬาคิริที่เมามัน
    ก็นับเป็นวีรกรรมที่โจษขานกันมากว่า 2500 ปี
    พวกเราทราบกันอยู่ว่า ท่านบรรลุพระโสดาบัน
    ด้วยการฟังธรรมเทศนาของท่านพระปุณณมันตานีบุตร
    (จำได้คลับคล้ายว่าท่านรูปนี้เป็นหลานของท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ)
    และท่านเพิ่งบรรลุพระอรหันต์เอาเมื่อคืนก่อนจะถึงวันเริ่มปฐมสังคายนา
    แต่ส่วนมาก เรายังไม่ค่อยทราบกันว่า
    ท่านบรรลุพระอรหันต์ด้วยการปฏิบัติอย่างใด
    ซึ่งในพระวินัยปิฎก เล่ม 7 จุลวรรคภาค 2 ขันธกะ
    ระบุถึงการบรรลุพระอรหันต์ของท่าน ดังนี้
    [617] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม
    ข้อที่เรายังเป็นเสกขบุคคลอยู่จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา
    จึงยังราตรีเป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วย กายคตาสติ
    ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีจึงเอนกายด้วยตั้งใจว่า จักนอน
    แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น
    ในระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น
    ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ฯ
    กายคตาสตินี้ ตำรารุ่นหลัง จัดไว้ในเรื่องการทำสมถะ ไม่ใช่วิปัสสนา
    แต่เราควรทำความเข้าใจกายคตาสติ ตรงจากคำสอนของพระศาสดา
    ดังปรากฏใน กายคตาสติสูตร
    พระสุตตันตปิฎก เล่ม 6 มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ดังนี้
    ๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)
    [๒๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    [๒๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
    อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
    เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
    หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
    จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
    เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    หมายเหตุ ****** คำสอนตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่า
    พระศาสดาทรงจัดเอาอานาปานสติ เป็นส่วนหนึ่งของกายคตาสติ
    [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน
    หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน
    หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
    จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
    เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    หมายเหตุ ****** คำสอนตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่า
    พระศาสดาทรงจัดเอาอิริยาบถ 4 เป็นส่วนหนึ่งของกายคตาสติ
    [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ
    ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขน และเหยียดแขน
    ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม
    ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
    ในเวลา เดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
    จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
    เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    หมายเหตุ ****** คำสอนตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่า
    พระศาสดาทรงจัดเอาสัมปชัญญะของกาย เป็นส่วนหนึ่งของกายคตาสติ
    นอกจากนี้แล้ว พระองค์ยังแสดงการปฏิบัติธรรม
    ในหมวดเกี่ยวกับการพิจารณาอาการ 32 คือผม ขน เล็บ ฟัน หนังฯลฯ
    ธาตุ 4 การพิจารณาศพชนิดต่างๆ เข้าเป็นกายคตาสติด้วย
    ซึ่งการพิจารณาธรรมต่างๆ นับตั้งแต่อานาปานสติลงมานั้น
    ล้วนเป็นหมวดธรรมในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งสิ้น
    พระองค์ไม่ได้จัดธรรมเหล่านี้ไว้ในกรรมฐาน 40
    อันเป็นสิ่งที่ตำรารุ่นหลังแต่งขึ้นใหม่
    จุดสำคัญที่สุดคือ ในทุกหมวดของการปฏิบัตินั้น
    ท่านจะลงท้ายเหมือนกันทั้งนั้นว่า
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
    จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
    เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    เรื่องธรรมเอกนี้เอง ที่ผู้ศึกษาตำรารุ่นหลังและปฏิบัติไม่เป็น ไม่รู้จัก
    ถ้าปราศจากธรรมเอกเสียแล้ว การปฏิบัติก็ไร้ผล
    นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงจัดเอาฌาน 4 อันเป็นสัมมาสมาธิ
    เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกายคตาสติด้วย ดังนี้
    [๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุสงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
    มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    เธอยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
    ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ....
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
    จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
    เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ
    ผมอยากให้พวกเราสังเกตว่า คำสอนตรงนี้
    ต่างจากคำสอนเกี่ยวกับฌาน 4 โดยทั่วไป
    คือในคำสอนเรื่องสัมมาสมาธินั้น
    ทรงกล่าวถึงธรรมเอกที่ผุดขึ้น ในฌานที่ 2 เท่านั้น
    แต่ในกายคตาสตินี้ ทรงชี้ถึงธรรมเอกตั้งแต่ปฐมฌาน
    แม้ในฌานที่ 2 - 4 ก็ทรงระบุอย่างเดียวกันนี้
    เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ ?
    ในความเห็นของผมเห็นว่า
    เพราะในกายคตาสติ ทรงแสดงฌาน 4 ในฐานะอารมณ์ของวิปัสสนา
    คือองค์ฌานเป็นสิ่งที่ถูกรู้
    โดยมีธรรมเอกหรือผู้รู้ เป็นผู้รู้อารมณ์ขององค์ฌานนั้น
    เรื่องเหล่านี้ถ้าพูดกับผู้ที่ไม่รู้จักจิตผู้รู้ ก็มีหวังต้องเถียงกันตายแน่
    ในตอนท้ายของกายคตาสติสูตร
    พระองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของกายคตาสติไว้ดังนี้
    [๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว
    ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มาก
    ซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง อันรวมอยู่ในภายในด้วย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลไรๆ ก็ตาม
    นึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว
    ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยที่ไหลมาสู่สมุทรสายใดสายหนึ่ง
    อันรวมอยู่ในภายในด้วย ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
    ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว
    ชื่อว่าเจริญและทำให้มาก
    ซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฯ
    [๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม
    ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ซึ่งกายคตาสติแล้ว
    มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์
    [๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม
    เจริญกายคตาสติแล้วทำให้มากแล้ว
    มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์
    กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม
    เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว
    เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง
    อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไป
    โดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ
    ตรงนี้ท่านทรงชี้ชัดมากว่า การเจริญกายคตาสติทำให้มีสติ
    อันเป็นเครื่องมือทำให้แจ้งธรรม
    ซึ่งจากการปฏิบัติแล้ว เราจะทราบชัดว่า
    ธรรมอันยิ่งนั้น ก็คืออริยสัจจ์ 4 นั่นเอง
    เมื่อแทงตลอดอริยสัจจ์ 4 ก็คือการทำลายอวิชชา
    แล้วจิตของท่านพระอานนท์จะไม่หลุดพ้นได้อย่างไร
    พระศาสดายังทรงสอนต่อไปว่า
    [๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก
    เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว
    ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว
    อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
    พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการ นี้ คือ
    (๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้
    ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ
    ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
    (๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้
    ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ
    ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
    (๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้น
    ต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
    ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือกคลาน
    ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย
    ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว
    อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ
    ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
    (๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต
    เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ
    (๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ
    คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้
    ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง
    นอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้
    ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้
    เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
    เหาะไปในอากาศโดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้
    ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์
    มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้
    ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
    (๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
    ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
    (๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ
    คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ
    หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
    จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
    หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
    จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ
    หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
    จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ
    หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ
    จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า
    หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น
    หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น
    จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว
    หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ
    (๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ
    คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง
    ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
    สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง
    พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง
    หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏ- วิวัฏกัปบ้าง
    ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้
    มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้
    เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น
    แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
    มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้
    เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้
    ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ
    พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
    (๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
    เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
    ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ
    ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
    เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
    ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
    ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
    (๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
    เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
    ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำ
    ให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว
    อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ กายคตาสติสูตร ที่ ๙
    เมื่อพิจารณาดูหมวดธรรมในกายคตาสติที่พระศาสดาทรงแสดง
    ซึ่งสอดคล้องกับกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อย่างหนึ่ง
    พิจารณาถึงอานิสงส์ข้อที่ 10 อย่างหนึ่ง
    ประกอบกับมีตัวอย่างท่านพระอานนท์บรรลุพระอรหันต์แล้ว อีกอย่างหนึ่ง
    หากใครจะยืนกรานว่า กายคตาสติเป็นเพียง 1 ในกรรมฐาน 40
    และเป็นเพียงสมถกรรมฐานตามตำรารุ่นหลัง
    ก็ขอให้ท่านเชื่อเช่นนั้นต่อไปเถิด
    ส่วนตัวผมขอเลือกเชื่อพระศาสดาและพระไตรปิฎก
    ซึ่งกระจ่างชัดเจน และพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติจริง
    แม้ท่านผู้ปฏิบัตินับตั้งแต่หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นลงมา
    ท่านก็เจริญกายคตาสติ
    และรับรองผลตรงกับพระวินัยและพระสูตรทั้งสิ้น
    ความเห็นที่ 10 โดยคุณ สันตินันท์ วัน พฤหัสบดี ที่ 11 พฤศจิกายน 2542 08:57:55
    คุณดังตฤณ กล่าวถึงคนที่พยายามเลียนแบบท่านพระอานนท์
    ด้วยการเอนนอนโดยหวังมรรคผล
    ทำให้ผมนึกขึ้นได้ เพราะเคยได้ยินเรื่องทำนองนี้บ่อยๆ ในหมู่ผู้ปฏิบัติ
    เช่นบางท่านได้ยินว่า ครูบาอาจารย์แก้การนั่งหลับในด้วยการไปนั่งริมหน้าผา
    ก็เลยเลียนแบบ แต่ย้ายจากริมหน้าผาซึ่งหายาก ไปนั่งริมระเบียงกุฏิแทน
    ผลก็คือหลับแล้วตกระเบียงกุฏิ
    บางท่านได้ยินว่า คนนั้นคนนี้ไปนั่งในถ้ำที่ผีดุแล้วภาวนาดี ก็เอาบ้าง
    ปรากฏว่าภาวนาได้ไม่ดี
    ทั้งนี้ก็เพราะเป็นการปฏิบัติแบบมีมารยาสาไถย คิดที่จะจัดฉากเลียนแบบดารา
    เมื่อมีความจงใจอย่างนั้น ความจงใจนั้นแหละปิดกั้นความเป็นธรรมดาของจิต
    จึงไม่สามารถเจริญวิปัสสนา คือการรู้สภาวธรรมอันเป็นปัจจุบันตามความเป็นจริงได้
    การปฏิบัติในขั้นแตกหักนั้น ต้องเจริญสติให้ต่อเนื่องไว้
    พยายามอย่าให้ขาดวรรคขาดตอน
    ผมเองเคยได้ยินตำรากล่าวเรื่องพระอานนท์บรรลุธรรมบ่อยๆ
    ส่วนมากจะระบุว่า ท่านพยายามอย่างเต็มที่แล้ว ไม่สำเร็จ
    จึงปล่อยวางการปฏิบัติ เอนกายลงนอน เลิกปฏิบัติเพื่อพักผ่อน
    ตรงนี้ก็เคยสงสัยเสมอมาเหมือนกัน ว่าจริงอย่างที่กล่าวกันนั้นหรือไม่
    เพราะจิตในขั้นที่เป็นมหาสตินั้น จงใจเลิกปฏิบัติได้เสียที่ไหนกัน
    และเมื่ออ่านพระไตรปิฎก ก็ไม่เห็นมีตรงไหนบอกว่า
    ท่านเลิกปฏิบัติในขณะที่เอนกายลงนอน
    หากแต่ท่าน รู้ อริยาบถที่กำลังเอนลงนอนอย่างละเอียด
    ซึ่งก็คือการเจริญกายคตาสติที่ยังไม่ขาดตอนนั่นเอง
    ขอให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ดูนะครับ
    [617] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม
    ข้อที่เรายังเป็นเสกขบุคคลอยู่จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา
    จึงยังราตรีเป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วย กายคตาสติ
    ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีจึง เอนกาย ด้วยตั้งใจว่า จักนอน
    แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น
    ในระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น
    ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ฯ
    จะเห็นว่า ไม่มีตรงไหนเลยที่บอกว่า
    ท่านยังราตรีเป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วยกายคตาสติ
    ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี จึงหยุดเจริญสติ แล้วเอนกายลงนอน
    หากแต่ท่านเอนกายลงนอนด้วยความรู้เท่าทันตลอดว่าจะนอน
    จุดที่น่าสังเกตอีกจุดหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าจะหาคำตอบจากพระไตรปิฎกไม่ได้
    ก็คือตรงที่ระบุว่า ท่านใช้เวลาส่วนมากกับการเจริญกายคตาสติ
    ก็แล้วเวลาส่วนน้อยที่เหลือ ท่านใช้ไปกับอะไร?
    พระไตรปิฎกนั้น มีเหตุมีผล มีประเด็นน่าสนุกสนานให้พิจารณาไตร่ตรอง
    เพียงแต่อย่าอ่านแบบข้ามๆ
    ไม่เจริญปัญญาเพราะถูกความเชื่อตามๆ กันมาปิดกั้นปัญญาเสียแล้ว
    ถ้าอ่านอย่างคนมีปัญญา ก็จะได้แง่มุมเพื่อการปฏิบัติอีกมากมายทีเดียว
    ใครอยากทราบคำตอบ
    ขอให้ลองเจริญกายคตาสติแบบใดก็ได้ดูเอาเอง
    แล้วจะทราบแก่ใจเองว่า
    อะไรที่เข้ามาแทรกการเจริญกายคตาสติอยู่เป็นระยะๆ ในช่วงสั้นๆ
    โดยคุณ สันตินันท์วัน พฤหัสบดี ที่ 11 พฤศจิกายน 2542 08:57:55
    ความเห็นที่ 16 โดยคุณ สันตินันท์ วัน ศุกร์ ที่ 19 พฤศจิกายน 2542 18:20:26
    ที่ทองคำขาวกล่าวไว้นั้นถูกต้องแล้วครับ
    เมื่อจิตเจริญปัญญาไปช่วงหนึ่งแล้ว
    จิตจะวางการพิจารณา รวมลงสงบรู้อยู่
    แล้วก็ออกเจริญปัญญาอีก สลับกันอย่างนี้
    แต่จิตของผู้ที่เจริญสติถึงขั้นเป็นมหาสติแล้ว
    จิตจะไม่สงบอยู่นานนัก จะขยันออกรู้ต่อไปอีก
    จนถึงจุดที่ความรู้เพียงพอแล้ว
    จิตจึงจะรวมเข้ามาอีกครั้งหนึ่งเป็นอัปปนาสมาธิ
    แล้วรู้ธรรมเห็นธรรมต่อไป
    โดยคุณ สันตินันท์ วัน ศุกร์ ที่ 19 พฤศจิกายน 2542 18:20:26
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    บางทีช่วงที่เรารู้สึกว่ามีเคราะห์ ก็มักจะวิ่งหาที่พึ่งทางใจ ที่ไหนดีไปไหว้หมดแต่บางทีกำลังทรัพย์ไม่พอที่จะไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไกลๆๆได้จะทำอย่างไร

    วันนี้พุทธคุณมีคำตอบครับก็คือไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านของคุณไงครับพระประธานประจำบ้านครับก็สามารถช่วยให้แก้ไขยามเรามีเคราะห์แล้วจะเป็นอย่างไรลองมาดูกัน

    ก่อนอื่นนะครับ ที่บ้านของทุกท่านน่าจะมีคือพระพุทธรูปประจำบ้าน ยิ่งถ้าได้เป็นพระปางประจำวันเกิดยิ่งดีหากหาไม่ได้อนุโลมใช้พระพุทธรูปปางมารวิชัย อันเป็นตัวแทนพระเกตุในทางโหราศาสตร์ผู้ที่บูชาพระเกตุคือสามารถบูชาได้ทุกวันไม่ว่าวันไหนจึงอนุโลมเอาพระปางมารวิชัยแทนพระประจำวันได้

    ต่อมาคือนำผ้าขาวกว้าง50ซม. ยาว 1เมตร ไปปูคลุมโต๊ะที่หน้าพระประธานของบ้านเตรียมเทียนสีผึ้งแท้หนัก1 บาท และน้ำเปล่าหนึ่งแก้ว แล้วดอกบัวใส่แจกันธูป9ดอก

    เมื่อถึงเวลา23.00น ก็เริ่มจุดเทียนบูชา พระรัตนตรัย และจุดธูปและกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย

    บทสวดบูชาพระรัตนตรัย
    อิมินา สักกาเรนะ พุทธังอะภิปูชะยามิ
    อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
    อิมินา สักกาเรนะ สังฆังอะภิปูชะยามิ

    บทกราบพระรัตนตรัย
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมี (กราบ)
    สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

    เสร็จแล้วปักธูปทั้ง9ดอก ตั้งใจประนมมือกล่าวคำถวายพรพระดังนี้<O:p</O:p

    นะโม ตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)

    อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโรปุริสสะทัมมะสาระถิ,สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)

    สวากขาโตภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญู:ฮี ติ (กราบ)

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโนภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโนภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)<O:p</O:p

    และสวดคาถาแก้เคราะห์สะเดาะเคราะห์คือ
    นะโม เมสัพพะพุทธานัง สัพพัคคะหา จะเทวะตา สุริโย จันโท ภุมโม วุโธ คะรุ สุกโก ปะมุญจะสิโสโร ราหู จะเกตุ จะ สัพพะลาภา ภะวันตุเม พุทโธ ธัมโม สังโฆ จาติเฏเฐตังระตะนะตะยัง เอตัสสะ อานุภาเวนะ สัพพะลาภา ภะวันตุเม สัพพะทุกขา วินัสสันตุสัพพะภะยา วินัสสันตุ สัพพะโรคา วินัสสันตุ สัพพะโสตถีภะวันตุเม<O:p</O:p

    แล้วกล่าวคำบูชาพระประจำวันเกิดของตน (ยกตัวอย่างวันอาทิตย์)
    อิติปิโส ภควา ข้าพเจ้า...(ชื่อเรา)...ขอถวายบังคมบรมเทพผู้เริงฤทธิ์ คือองค์พระอาทิตย์เทวา เสด็จมาเสวยชนมายุข้าพเจ้าได้ 6ปีเวียนรอบในทวาทศจักรราศีต้องพระเคราะห์องค์นอก ต้องพระเคราะห์องค์ในต้องพระเคราะห์องค์ใดๆ ขอให้มีชัยมงคลคุ้มโทษแลโทษาวิญญาณะ สัมปันโน อิติปิโสภควาสารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไรออกไปให้พ้นวินัสสันติ คัจฉะอะมุมหิ โอกาเสติฏฐาหิ พุทธังสรณังคัจฉามิ ธัมมังสรณังตัจาฉามิสังฆังสรณังคัจฉามิ

    หมายเหตุวันจันทร์ ใช้-บรมเทพเทวัญ พระจันทรเทวา เสด็จมาเสวยอายุได้15ปี ,วันอังคารใช้-บรมเทพผู้เริงฌานพระอังคารเทวาเสด็จมาเสวยอายุได้8ปี,วันพุธกลางวันใช้บรมเทพผู้เอิบอุตม์คือองค์พระพุธเทวาเสด็จมาเสวยอายุได้17ปี ,วันพุธกลางคืนใช้-บรมเทพ พระราหูเทวาเสด็จมาเสวยอายุได้12ปี,พฤหัสบดีใช้ บรมเทวราชครูพระพฤหัสบดีเทวาเสด็จมาเสวยอายุได้19ปี , วันศุกร์ใช้ บรมเทพผู้ทำนุก องค์พระศุกร์เทวาเสด็จมาเสวยอายุได้21ปี , วันเสาร์ใช้ -บรมเทพผู้เริงตบะ คือองค์พระโสระเทวาเสด็จมาเสวยอายุได้ 10ปี

    ให้สวดบทนี้ก่อนตามกำลังวันที่ท่านเกิดเสร็จแล้วท่านจะสวดบทอะไรต่อก็ได้เช่นหลังจากสวดแก้เคราะห์ตัวเองครบตามกำลังวัน6แล้ว ท่านจะสวดพาหุงชินบัญชรก็ได้แล้วพอเลิกให้กล่าวคำแผ่เมตตาดังนี้

    อิทังปุญญังพะลังขอเทพเจ้าเหล่าเทพยดาทั้งหลายมีพระอินทร์พระพรหม พญายมพระกาล ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่สิริคุตตอำมาตย์ที่เป็นนายบัญชี ท้าวมาตลี ท้าวทศรถ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์แม่นางพระธรณีเจ้าเอ๋ย จงเป็นสักขีพยาน ให้แก่ข้าพเจ้าวันนี้ข้าพเจ้าได้สวดมนต์ภาวนาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์และบูชาองค์เทพเทวานพเคราะห์กรรมใดเวรใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้แล้วขอจงอดโทษกรรมและเคราะห์ภัยนั้นด้วยเถิด<O:p</O:p

    เมื่อแผ่เมตตาเสร็จแล้วให้สำรวมจิตสัก5นาทีนั่งสมาธิแผ่ส่วนกุศล
    เมื่อเสร็จพิธีแล้วน้ำในแก้วถือว่ามีเทพยดามาอำนวยชัยให้ผสมน้ำอาบแก้เคราะห์ทั้งปวงส่วนโต๊ะและผ้าขาวให้มาเก็บตอนรุ่งเช้าและให้ทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ในเวลาเช้าจำนวน9รูปตามวันทางโหราศาสตร์เป็นอันเสร็จพิธี

    เคล็ดนี้เป็นตำราของ หลวงพ่อเขียน สำนักขุนเณรเป็นการปฏิบัติแบบพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชาและเทวบูชาโดยไม่ต้องใช้เครื่องเซ่นไหว้บวงสรวงใดๆๆเพียงแต่ภาวนาสวดมนต์อ้างเอาคุณพระไตรสรณคมน์เท่านั้น ซึ่งหลวงพ่อเงิน กตสาโร ได้รับถ่ายทอดมาจากองค์หลวงพ่อเขียนก็เป็นเคล็ดง่ายๆๆไม่ยุ่งยากก็ลองนำไปปฏิบัติกันดู

    http://www.buddhakhun.org/main//index.php?topic=2610.0
     
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    นำเหล็กเปียก จากยอดพระธาตุพนมมาให้ชมกัน ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010695.JPG
      P1010695.JPG
      ขนาดไฟล์:
      212.6 KB
      เปิดดู:
      53
    • P1010696.JPG
      P1010696.JPG
      ขนาดไฟล์:
      213.8 KB
      เปิดดู:
      47
  4. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    มีคำถามครับ เวลาเราไหว้พระสวดมนต์นั้นเราจำเป็นต้องจุดธูปรึเปล่าครับ
    การจุดธูปเทียนนั้นเพื่ออะไรครับ
     
  5. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่า...มิได้ครับท่านเพชร ผมเพียงแต่เล่าสิ่งที่ประสบมาไม่อาจไปไกลกว่าที่เป็นอยู่ได้ครับ เรา รู้เราทราบ ปฎิบัติกันต่อไป แค่ไหนแค่นั้นครับ วัตถุประสงค์ที่ผมบรรยายมากกว่าปกติเพื่อให้น้องเค้าหรือผู้ที่เริ่มมีกำลังใจลดลงจะได้มีกำลังใจเพิ่มขึ้นเพราะเราทุกท่านมีครูบาอาจารย์เฝ้ามองช่วยเหลือตลอดครับ เท่านั้นเอง อย่าคิดและตีความไปไกลครับ 555วันหน้าผมจะจำกัดตัวเองห้ามลงเกิน 1บรรทัดครับ หุ หุ
     
  6. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
  7. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 49 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 45 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>psombat, :::เพชร:::, nongnooo, พรสว่าง_2008 </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีครับท่านรองฯทั้งสอง พรสว่าง ขอบคุณสำหรับคำแนะนำต่างๆ :)

    เย็นนี้จะอัญเชิญพระสารีริกธาตุไปร่วมบรรจุ ณ พระเจดีย์ใหม่ สนส.สักทอง ในเขตเทศบาลนครแม่สอดครับ :)

    (จะว่าไปแล้วเกือบไปไม่ได้ เพราะติดงานด่วนกำจัดไวรัส/spyware เข้ามาป่วนในเครือข่ายกับติดใน Labtop ใหม่ที่ พนง.ใน Office ต้องเอาไปใช้ด่วนพรุ่งนี้เช้า ตอนนี้เรียบร้อยแล้วครับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2010
  8. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 53 คน ( เป็นสมาชิก 5 คน และ บุคคลทั่วไป 48 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>แหน่ง, :::เพชร:::, nongnooo, psombat, พรสว่าง_2008 </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีตอนเย็นๆๆ ครับทุกๆๆท่าน

    ทุกท่านคงสบายดีนะครับ
     
  9. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    โมทนา สาธุ สาธุ ครับ คุณสมบัติ:cool:
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, jirautes </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ่า สวัสดีตอนเช้าครับคุณjirautes
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    แจ้งข่าวให้ทราบว่า พี่สิทธิพร ได้สั่งโถแก้วให้น้องpsombat 20 โถ(พี่สิทธิพรแจ้งว่า เป็นการขอโถแก้วให้ฟรี) ซึ่งพี่สิทธิพรแจ้งว่า ขอรายชื่อวัดที่จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะได้ให้ผู้ที่ทำโถแก้ว มาโมทนาบุญกัน พี่รบกวนลงที่กระทู้พระวังหน้าฯนี้แลยนะครับ

    ส่วนโถที่พี่สั่งไว้จำนวน 30 โถ ตอนนี้พี่สิทธิพรแจ้งว่า ได้มาแล้วเช่นกัน แต่คงเป็นสัปดาห์หน้าที่จะนัดกับลูกน้องพี่สิทธิพรอีกครั้งว่า จะนัดกันวันไหนดี



    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    โอ้โห ผมเห็นแล้วครับ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ท่านลูกน้อง น่าจะใช่พระธาตุ เสด็จมาเกาะ แน่เลย

    หรืออาจจะเป็นพระบรมสารีริกธาตุด้วยก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นพระสมเด็จ Top of the top 4 หรือ พระสมเด็จ (เนื้อปัญจสิริ) ทั้งพระกริ่งปวเรศ ทั้งพระบูชา ฯลฯ

    อ่า สวยมากๆๆๆๆๆๆ

    ยินดีด้วยนะครับ

    เชื่อว่า เราทำดี ต้องได้ดี และน่าจะเป็นกำลังใจที่ดีในการปฎิบัติดีที่ผ่านมา และที่ปฎิบัติดีกันต่อๆไป

    โมทนาสาธุครับ


    .
     
  13. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    โอ้ขอบพระคุณมากครับท่านพี่ทั้งสอง ...

    สำหรับวัดที่ได้นำไปประดิษฐานแล้วมีดังนี้

    1. วัดป่าบ้านหว่านไฟ อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด (ปีใหม่ 2553)
    2. วัดโพธิญาณ อ.เมือง พิษณุโลก (ตรุษจีน 2553)
    3. วัดป่าเก่า อ.แม่สอด จ.ตาก (ตรุษจีน 2553)
    4. วัดสักทองวนาราม อ.แม่สอด จ.ตาก - ถวายเมื่อวานช่วงค่ำ วันนี้จะแห่รอบเมือง พรุ่งนี้บรรจุในพระเจดีย์พร้อมกับพระพิมพ์อื่นๆและพิธีพุทธาภิเศกจนถึงวันอาทิตย์ เป็นเสร็จพิธีฉลอง 9 วัน 9 คืนครับ
    5. สนส. ถ้ำเสือ อ.แม่สอด (20/02/2553)

    ส่วนวัดที่ Plan จะถวายต่อไปคือ
    1. วัดสมสะอาด อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ (KNANG)
    2. วัดดอยหัวฝาย อ.แม่สอด จ.ตาก
    3. วัดหนองบัวคูณ อ.แม่สอด จ.จาก
    4. วัดพระธาตุสิริมงคล อ.แม่สอด จ.ตาก
    และวัดอื่นๆยังนึกไม่ออก :)

    โมทนาสาธุครับ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1120203.JPG
      P1120203.JPG
      ขนาดไฟล์:
      123.2 KB
      เปิดดู:
      798
    • P1120197.JPG
      P1120197.JPG
      ขนาดไฟล์:
      101.7 KB
      เปิดดู:
      825
    • P1120200.JPG
      P1120200.JPG
      ขนาดไฟล์:
      159.5 KB
      เปิดดู:
      87
    • P1120160.JPG
      P1120160.JPG
      ขนาดไฟล์:
      228.2 KB
      เปิดดู:
      878
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2010
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เมื่อวันตรุษจีน ทำความสะอาดหิ้งหลวงปู่พบว่า รูปหล่อหลวงปู่อิเกสาโร นั่งตอ ลงรักปิดทองมีพระธาตุเสด็จรอบองค์ บางองค์เป็นแก้วใส บางองค์เป็นคล้ายแท่งคริสตัลขนาดเล็กๆ
     
  15. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    โมทนา สาธุ สาธุครับ
     
  16. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    โมทนาสาธุด้วยครับพี่

    น่าจะเหมือนกัน ของผมนี่บางองค์สีขาวนวลๆเย็นตา บางองค์เป็นผลึกคล้ายคลิสตัลขนาดเล็กๆ ... ซึ่งก่อนหน้านี้ขึ้นที่ Top4 เผลอล้างทิ้ง แต่ออกไม่หมด พอใช้กล้องส่องดู เข่าแทบทรุดต้องขอขมากันขนานใหญ่ โชคดีที่ตอนนี้เสด็จมาอีก มากกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ ... ก็ขอเตือนเพื่อนๆไว้เผื่อเสด็จมาจะได้ไม่เผลอเรอเหมือนผมครับ

    (เดิมทีไม่เคยเชื่อเรื่องพระธาตุเสด็จเลยแม้แต่น้อยครับ)
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เชื่อมเข้ากระแสโลกอุดรไปแล้ว..หุ..หุ..:cool:
     
  18. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    โมทนาสาธุ สาธุ ปฎิบัติดีแล้วครับคุณสมบัติ :cool:
     
  19. dragonlord

    dragonlord เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +1,541
    พี่หนุ่มคะ วันนี้โอนเงิน 1000 บาท เข้าสมทบทุน บัญชีถวายพระนะคะ
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

แชร์หน้านี้

Loading...