พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 28 มกราคม 2010.

  1. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ธรรมะศึกษาไม่ได้ด้วยเหตุและผล

    แต่เมื่อเข้าใจธรรมะแล้ว เหตุและผลย่อมมีอยู่ในนั้น...
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อนุโมทนา

    อนุโมทนา โชคดีนะที่ไม่ได้มีจิต ไม่ได้ยึดจิต ไม่งั้นคงตีความ ตามหา วุ่นวาย สงสัยน่าดู
     
  3. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ใช้จิตค้นหาจิต อีกกัปป์หนึ่งก็ไม่เจอ...
     
  4. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    มาพอดี ได้อ่านข้อความดีๆ ของหลายท่าน รู้สึกจิตสงบมากมาย
    อนุโมทนาทุกท่านค่ะ

    ฝากคุณ Zeedhama ไปศึกษาคำสอนของหลวงพ่อฤาษีฯ คำสอนของท่านสอนไว้มากมาย คือเรื่องโอกาสเวลาที่แจกแจงธรรมมันมีเหตุปัจจัยมาก อีกทั้งเรื่อง อายุขัย ช่วงเวลา และการเข้าไปรู้ธรรมที่ลึกซึ้งเรื่อยๆ ของท่าน การยึดติดกับคำสอนเพียงหนึ่งหรือสอง อาจเป็นผลร้ายกับตัวคุณเองได้นะ.. แต่ของแบบนี้ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าคุณจะรักตัวเองแค่ไหน.. เพราะไม่มีใครช่วยตัวเราได้นอกจากตัวเอง


    จะตอบให้ง่ายนะ แต่ไม่รู้จะง่ายหรือเปล่า

    ถ้าจิตบริสุทธ์ไม่พบได้ง่ายหรอกค่ะ เพราะพบเมื่อไหร่ก็ข้ามโคตรปุถุชนไปแล้ว แต่ถ้าถามว่าจิตบริสุทธ์อยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่จิตสังขารหรือนามขันธ์สี่นั่นแหละ ดับนามขันธ์สี่เมื่อไหร่ ก็พบเอง ซึ่งต้องหมั่นเจริญอริยมรรค หรือหนทางดับทุกข์นั่นเอง
    <O:p</O:p
    เมื่อเรากล่าวถึงจิต นัยยะส่วนมากจึงหมายถึงจิตสังขาร(นามขันธ์สี่) นอกจากบางกรณีจริงๆ ที่ครูบาอาจารย์กล่าวในแง่ของจิตบริสุทธิ์ซึ่งต้องสังเกตจากสภาพแวดล้อมของคำสอนโดยรวมก็จะทราบเจตนาว่าท่านกล่าวถึงจิตในแง่ไหน
    <O:p</O:p
    จิตเป็นธาตุรู้อารมณ์<O:p</O:p
    ถ้าไม่มีอารมณ์อาจหาจิตไม่พบ แต่ค้นหาได้ง่ายมากๆ เมื่อเกิดอารมณ์ใดๆ ก็ตามขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นความนึกคิด ความรู้สึกดีใจเสียใจ เจ็บปวด เหนื่อยหน่ายท้อแท้ ปิติ ฯลฯ ความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นที่จิตทั้งสิ้น เพราะรูปนั้นไม่สามารถรับรู้อะไรได้ ถ้าไม่มีจิตครองก็จะไม่รู้อะไรเลย (แม้นร่างกายจะมีบางอย่างทำงานเองโดยอยู่เหนือคำสั่งของจิต เช่น ปวดท้องหนักเบา อ่อนล้า จิต(กองวิญญาณ)จะเข้าไปรับรู้อีกที นี่เป็นข้อยกเว้นส่วนน้อย เพราะร่างกายส่วนใหญ่ทำงานตามคำสั่งของจิต ถ้าไม่มีจิต ร่างกายหรือรูปขันธ์ก็ซากศพดีๆ นี่เอง ต่อให้มันหิวแต่จิตไม่อยากกินแบบนี้ก็ตายได้เหมือนกัน หรืออยากกินทั้งที่ร่างกายไม่ต้องการก็ตายได้อีกเช่นกัน จิตนี่ไม่ใช่สิ่งที่เอาอยู่ได้ง่ายๆ)
    <O:p</O:p
    สิ่งแรกที่ต้องเรียนรู้เลยก็คือ รูปกับนาม คือร่างกายกับจิตใจ เรามักจะคิดว่าเราคือร่างกาย แต่ร่างกายโดยความเป็นจริงทำงานตามคำสั่งของจิตเท่านั้น รูปมีเวทนาแต่จิตเป็นตัวรับรู้ แต่จะรับรู้ตามจริงหรือไม่ เช่น ปวดเล็กน้อยก็คิดว่าปวดมาก ปวดมากแต่จิตไม่ยอมปวดก็มี คือเวทนาทางจิตนี่ บางทีเขาไม่ยอมรับรู้เวทนาตามความเป็นจริงของร่างกายนัก ร่างกายต้องการเพียงปัจจัยสี่ที่จำเป็น แต่จิตมันก็ไม่รู้จักเพียงพอ มันไม่รู้จักอิ่ม ตัณหามันมาก การเรียนรู้เรื่องจิตจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก<O:p</O:p
    ไปศึกษาต่อเอาเองนะคะ
    <O:p</O:p
    เข้าเรื่องก่อน<O:p</O:p
    การสังเกตเวทนานั้น นับเป็นหนึ่งในสติปัฏฐานสี่ เวทนาทางกายเมื่อเราใช้เป็นฐานในการดึงจิตไม่ไห้ส่งออกไปกับความคิดสร้างภพชาติมากมาย โดยเอาจิตมาจับอยู่ที่เวทนา เราก็จะเห็นไตรลักษณ์ของร่างกายเรานี้เอง ว่ามันแปรปรวนความเจ็บไม่ได้อยู่เท่าเดิม ทุกขัง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้แค่นั่งท่าเดิมก็ทนไม่ไหวแล้ว อนัตตาเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ถ้ายังเจ็บอยู่เรื่อยๆ ก็กำหนดเวทนาไป ความรู้สึกทั้งหมดทั้งมวลนี่อยู่ที่จิตทั้งสิ้น ไม่มีจิตไม่รู้เรื่องเลยนะ ความเจ็บปวดพวกนี้ แต่จิตนั้นเสวยอารมณ์ทีละขณะ บางคนนั่งนี่เจ็บปวดไม่รู้เลย เพราะมัวแต่คิดอะไรไปเรื่อยๆ จิตไปเสวยความคิด พอเลิกคิดนี่ ลุกไม่ได้เจ็บมาก คือจิตกลับมาอยู่ที่ร่างกาย
    <O:p</O:p
    คุณเกิดฯ เจอจิตสังขารมาตลอดชีวิต การเฝ้าดูอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ จะเห็นการทำงานของจิตตลอดเวลา เมื่อเข้าใจการทำงานของจิต ก็จะเริ่มเฝ้ามองความคิด ไม่ตกเป็นเหยื่อความคิด แยกความคิดที่มีประโยชน์ไม่มีประโยชน์ได้ ซึ่งเรื่องที่ครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่สอน ก็คือเรื่องการตามดูจิตนั่นเอง (เรื่องนี้ยังอีกยาว)
    <O:p</O:p
    การนั่งสมาธิแล้วกำหนดเวทนา จากขณิกะเป็นอุปจาระจนถึงอัปนา ช่วงนี้ถ้าทำได้ จะเกิดปิติ ถ้าถึงอัปนา จะคงเหลือแต่จิต แต่เป็นจิตที่อารมณ์ความคิดไม่กวน(กิเลสไม่กวน) คือมีสภาพผ่องใส จึงทำให้ทราบว่าจิตมีธรรมชาติเป็นประภัสสร ช่วงนี้ จะแยกกายและจิตได้ชัดเจน คือจิตอยู่เหนือรูป แต่ถ้ายังเป็นโลกียฌานก็เพียงแต่ข่มกิเลสไว้ แต่ก็จะได้เห็นจิตว่ามีสภาพอย่างไร หลายคนมาถึงตรงนี้ อาจคิดไปว่าตัวเองบรรลุธรรมแต่ที่จริงแค่ข่มกิเลสเท่านั้น แต่หากโชคดีจิตสังขาร(นามขันธ์สี่)ดับไปด้วย จิตบริสุทธิ์จึงปรากฏ ที่อภิธรรมเรียกว่านิพพานธาตุ การปรากฏตัวของนิพพานธาตุนี้สำคัญมาก เรียกว่าเกิดญาณทัสสนะวิสุทธิ์(ในวิสุทธิเจ็ด) ตัดสังโยชน์(กิเลส)ไปแล้วตามกำลัง กิเลสที่ร้อยรัดอยู่ก็ขาดไปตามกำลัง เป็นผู้รู้ทางแล้ว<O:p</O:p

    ({)
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182

    คัดมาบางส่วน เทศอบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด 6 มิถุนายน 2521
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มันมีหลายกรณีนะ แต่ขอยกตัวอย่างที่พบกันมากก่อน และก็ขออนุญาติชี้
    ประเด็นที่ผิดนะ เพราะประเด็นที่ถูกนี่ พูดไปมันมีค่าแค่ได้พูด แต่พูดเฉพาะ
    เคสที่ผิดนี่ มันช่วยให้เพื่อนๆเขาได้ข้อสังเกต

    เปิดด้วยคำว่า จิตรวม กับ รวมจิต

    จิตรวม คือ ถูก!!!

    รวมจิต คือ ผิด!!!

    จิตรวมนี่ จะเกิดเมื่อพ้นเจตนา สมถะเริ่มเมื่อหมดเจตนา(หลวงพ่อพุธ)

    รวมจิต จะเกิดเมื่อยังมีเจตนาเจือเป็นอาหาร เป็นเครื่องล่อให้รวม

    จิตรวม กับ รวมจิต มันจะมีการอัดเข้ามา แน่นเข้ามาที่จุด สำหรับคนที่ใช้
    การวางจุดกระทบเพื่อการทำสมาธิ หากใช้ลมก็จะอัดแน่นร้อนเย็นได้
    ตามจุดที่นิยม7จุด แต่โดยหลักการจริงๆแล้ว(ลมมันแผ่ทั่วร่าง หากทำ
    ถูกจริงๆจะไม่มีจุด คือ เคลื่อนไปตรงไหนก็ได้)

    ความแน่น ความร้อนเย็น ตึง อ่อน แข็ง แสบหรือจิ๊กๆ จึงมักใช้เป็นนิมิต
    หรือเครื่องรู้

    จิตรวมนี่ มันแน่นก็จริง แต่ไม่มีการกระโดดเข้าไปเป็นผู้แน่น ผู้แสบ ผู้เจ็บ
    เพราะ จิตรวมมันจะเหลือแต่จิตที่รับรู้ผัสสะผ่านอยาตนะ มีสภาพรู้โดยปรมัตถ์
    จึงไม่มีคำว่า เรา เขา ปรากฏมารองรับการรู้

    รวมจิตนี่ มันแน่นจริงจัง และมักปรากฏการกระโดดเข้าไปเป็นผู้แน่น ผู้เจ็บ
    ผู้โยก ผู้ย้าย คือเพ่งอยาตนะไหน กำหนดที่ส่วนไหน ก็จะมี เรา เข้าไปแนบ
    ด้วยเสมอ มันจึงถือว่า ทำผิด ที่ผิดเพราะถือเอาว่าไม่ใช่การรู้แบบปรมัตถ์
    (คือ รู้โดยยังมีสภาพตัวตน บุคคล เรา เขา ปรากฏ เขาถือว่า การรู้นั้นยังไม่
    จริง ไม่ใช่สัมมาสมาธิ เป็นเพียงสมาธิตามสัจจกล้าหาญเท่านั้น )

    แต่ก็อย่างพึ่งคิดว่า ถูกตำหนิว่าผิด แล้วต้องเลิกทำ ตรงนี้แล้วแต่คน แล้วแต่
    สำนัก หากเป็นทางเหนือนี่เขาจับหมุนเลย ไหนๆก็ไหนแล้ว เจตนาเจือได้
    แล้วก็ใส่ให้มันเต็มพิกัด หมุนให้เร็วจี๋ๆ เดี๋ยวมันอิ่มมันขาดเอง พอมันขาด
    ก็เหมือนคำบริกรรมมันเติมลงไปไม่ได้อีก เครื่องนิมิตมันเติมลงไปไม่ได้อีก
    ก็ถือว่า เข้าถึงสมาธิที่มีสติบริบูรณ์เอาตรงนี้ (ก่อนหน้าถือว่าหลง)

    แต่ทรมารนะ บางคนทำแบบนั้นเนียะจะทรมารมาก แต่ทรมารแล้วไม่ลิงโลด
    ไม่คร่ำครวญปางตายก็ทำต่อได้ แต่ถ้าทำเท่าไหร่ยิ่งถามว่า "กูจะพลาดไหมนี่"
    อันนี้ยิ่งทำจะยิ่งทำให้ยิ่งฝุ้ง แบบนี้ทำแล้วจะสติแตกเอา

    แต่คนที่เคยทำแล้ว ถอย หรือ มาเปลี่ยนแนวนี่ เนื่องจากการทำสมาธิแบบนี้มัน
    เป็น ปุญญาภิสังขาร (การทำดี ปรุงบุญ เป็นสังขารเก็บไว้ในจิต) วันดีคืนดี เพียง
    น้อมนึกก็มาแล้ว แน่นแล้ว แสบแล้ว กล่าวคือ ทำเหตุเอาไว้แล้ว วิบากมันก็รอส่ง
    ผลไปอีกหลายกัปกลายกัลป์ จะเลิกไม่เอา ก็ไม่ได้แล้ว

    ตรงนี้ก็ให้วางใจ ก็แค่วางใจรับผล เวลาแน่นขึ้นมาก็เพียงระลึกรู้ ดูห่างๆ อย่า
    กระโจนเข้าไป บางสำนวนพระบอกว่า ก็ให้มันแสบ แน่น เหวียง โยน โอน เอน
    ไปแบบเบาๆ ห่างๆ จากความเป็นเรา มันก็พอดีได้เหมือนกัน

    ความพอดีนั้น ก็คือ ตัวใจ ใจที่ต้องหาให้เจอก่อนจิตนั่นแหละ เจอแล้วค่อย
    จับมันผลิกไปมา แล้วค่อยอ๋อ ใจอันใด จิตอันนั้น แล้วก็โยนไปทั้งคู่ (เพราะมี
    อย่างอื่นยิ่งกว่าให้แลแล้ว)

    * * * *

    ถ้าชอบแนวข้ามเวทนา แบบหามกันนี่ ต้องคุยแบบนอกบอร์ด ว่างๆ พี่เกิดก็
    เข้าห้อง Chat แล้วหาห้องประเทืองดิ ในนั้นจะมี คนประหลาดชื่อ วิษณุ ที่
    ไม่ยิ่งไม่หย่อน ฝูงงูเรียกพี่เลยแหละ
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ถ้า ทุกขเวทนา เกิด มองมันเข้าไปเถอะ
    ซึ่งแน่นอนว่า มันจะต้องเอาจิตไปจับกับเวทนา เพราะเป็นเรื่องปกติของคนเกิดเวทนา
    มองไปมองมา มันไร้สาระ ก็ไปสนใจเรื่องอื่น พอจิตไปสนใจเรื่องอื่นได้ นี่ให้จดให้จำ
    ว่า เวทนาเ็ป็นไตรลักษณ์

    พอมากๆ เข้า ให้ เจริญ กายานุปัสสนา ปล่อยเวทนาที่ยึดให้เป็น ด้วยการมองกายในกาย
    กายในกายคือ สังเกตุผัสสะตนในกาย แล้วปล่อยให้เป็น ซึ่งการปล่อยเวทนานี้ จะต้องเจริญวิปัสสนา ให้เห็นไตรลักษณ์ในสรรพสิ่ง ก็จะปล่อยได้
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เอ้า ตะกี้บอกดู ขั้นที่5 เป็น อะไรไหวในอกขาดกระเด็น

    ตกลง ดูเวทนาเป็นไหมครับนี่ หรือยังเข้าใจเวทนาผิดฝาผิดตัวอยู่ !?
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ก็ถ้าทำไม่ได้ ก็ฝึกสติ สมาธิไปเรื่อยๆ พอมันเป็นอีกงวดหน้า และ อินทรีย์เรากล้าดีแล้ว เราจะมีกำลังดับเวทนาได้เอง ด้วยกำลังอินทรีย์ที่สะสมมาดีแล้ว
     
  11. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ถึงคุณเกิดเป็นคน ผมไม่อาจคาดเดาว่าธรรมที่คุณมีนั้น มากน้อยประการใด แต่ผมบอกได้เพียงว่า สติ เกิดเพราะรู้ว่า สิ่งใดคืออารมณ์ สิ่งใดไม่ใช่อารมณ์ และรู้ว่าอารมณ์นั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร มีสาเหตุมาจากอะไร นั่นคือมาจาก จิต และจิตที่เป็นเช่นไร
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    อารมณ์ ผลักดันความคิด เรียกว่า นิวรณ์
    ความคิดผลักดัน อารมณ์ เรียกว่า ขาดสติ
    จิตที่มีสมาธิจะไม่หิวอารมณ์ จิตจะไม่สอดส่าย ไม่ปรุง เพราะนิวรณ์ สงบระงับ

    ทีนี้ คนที่มีสมาธิดี ก็ต้องระวังความคิด ระวัง ตาหูจมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ไปสัมผัสกับสิ่งอื่น
    ตามธรรมดา สัมผัสนั้น มันก็ไม่มีอะไร แต่ถ้ามีกิเลส เข้ามาปน มันจะเกิดอุปาทาน เพราะยังมีสังโยชน์อยู่ มันก็จะไหลไป สร้างเรื่องราวใหม่

    ไม่บริสุทธิ์ ในผัสสะ
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ฟังแล้ว เห็นว่า เป็นเสียงหลวงปู่หล้า ที่พี่ไม จะราบ บอกล้านเปอร์เซ็น


    งั้นผมขอแก้ใหม่ว่า เป็น หลวงปู่หล้า ที่ท่านเทศน์ เน้นย้ำว่า
    " ใครว่าจิตไม่ เกิดไม่ดับเป็น มิจฉาทิฐิ "
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    เพื่อ ให้ เอะ ใจฟังหน่อย ครับ ว่าทำไม ทำไม ทำไม หลวงปู่ท่าน ซึ่ง เส้นเกศา ท่าน ก็แปรเป็นพระธาตุ ท่านสอน ว่าจิตเกิดดับ ซึ่ง ตอนนั้นผม เข้าใจว่าเป็นหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต


    แต่มาทราบใหม่แล้วว่า เป็นเสียงหลวงปู่หล้า


    ซึ่ง หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ....อัฐฐิ ท่านแปรเป็นพระธาตุ ท่านก็สอน เน้นๆๆ เน้นๆ ว่าจิตเกิดดับ และยังเน้นด้วยว่า ใครว่าจิตไม่เกิดไม่ดับเป็นมิจฉาทิฐิ .. ก็เสนออย่างนี้ครับพี่ไมจะราบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2010
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ได้เลย เดี๋ยวจัดให้คร๊าบบบ
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ได้เล๊ย ...พี่ไมจะร๊าบบ อิอิ
     
  17. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อนุโมทนาครับ ก็ฝึกไปเรื่อยๆแล้วกันครับ
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

    เจตนา [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี [/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]([/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]ภูจ้อก้อ[/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]) [/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]. [/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]คำชะอี จ[/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]. [/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]มุกดาหาร
    [/FONT]
    พิจารณาไตรลักษณ์เห็นประจักษ์แจ้งพร้อมลมออกเข้าอยู่ พร้อมด้วยอู่สติปัญญา
    ไม่สุ่มเดาคาดคะเนไม่เรียงแบบ เห็นแยบคายกลมกลืนกันในปัจจุบันของธรรมและจิตติดต่ออยู่
    ไม่มีอันใดก่อนไม่มีอันใดหลัง เป็นพลังจิตพลังธรรมแน่นหนามั่นคง
    ตัวหลงๆเหลงๆอวิชชาตัญหาอุปาทานเป็นต้น มันจะขี่ช้างสูบบุหรี่ ถือขอถือง้าวมาจากทิศไหนอีกเล่า
    ขอแต่ว่าเชื่อธรรมเชื่อวินัย เชื่อจิต เชื่อใจ เชื่อสติ เชื่อปัญญาตอนนี้ให้พออย่าได้ส่งส่าย
    ความหน่ายความคลายความหลุดความพ้นไม่ต้องร้องเรียกหาก็ได้ ฯ
    ^
    ^
    ท่านพระอาจารย์หลวงปู่หล้า ที่ท่านกล่าวถึงเรื่องจิตเกิดดับนั้น ล้วนหมายถึงอาการของจิตที่เกิดดับตามอารมณ์
    ที่เข้ามาประชิดติดพัน จึงเกิดดับไปตามอารมณ์เหล่านั้น ถ้าใครไม่เห็นอาการเหล่านี้จึงเป็นมิจฉาทิฐิ

    ท่านยังเน้นให้เห็น ถึงจิตที่ติดต่ออยู่กับปัจจุบันธรรมจนกลมกลืนกัน
    และยังบอกให้เชื่อจิต เชื่อใจอย่าส่งส่ายไปตามอารมณ์ที่เข้ามาประชิดจนเกิดอาการของจิต
    แล้วความหน่ายความคลายความหลุดความพ้นจะตามมาเอง
    .......................
    ที่กล่าวว่าพระอรหันต์ไม่มีบาปไม่มีบุญนั้นเป็นของจริงแท้
    เพราะเหตุว่า พระอรหันต์นั้นสร้างบุญเต็มแล้ว จะเอาบุญไปเทใส่จิตใจขององค์ท่านก็ไหลทิ้งเพราะเต็มแล้ว
    ^
    ^
    ลองพิจารณาคำเทศน์ของท่านพระอาจารย์หลวงปู่หล้าให้ดีๆจะเห็นว่า "จิตที่บริสุทธิ์เต็มเปี่ยมนั้น"
    บาปก็ไม่เอา บุญก็ไม่เอา ละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    ........................
    พระอรหันต์ทอดบังสกุลความเดือดร้อนทางจิตใจแล้วด้วยพระปัญญาญาณอันถ่องแท้ เป็นสัมมาญาณะแท้ไม่ปลอมแปลง เป็นสัมมาวิวุติแท้ ไม่มัดใจให้เดือดร้อน
    ^
    ^
    ถ้าจิตเกิดดับ จะทอดบังสกุลความเดือดร้อนทางจิตใจแล้วด้วยพระปัญญาญาณอันถ่องแท้ได้อย่างใด

    ;aa24
     
  19. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ถ้ารู้เท่าธรรมดาทั้งห้าขันธ์ ใจนั้นก็ขาวสะอาดหมดมลทินสิ้นเรื่องราว ถ้ารู้ได้อย่างนี้จึงดียิ่ง เพราะเห็นจริงถอนหลุดสุดวิถี
    ไม่ฝ่าฝืนธรรมดาตามเป็นจริง จะจนจะมีตามเรื่องเครื่องนอกใน ดีหรือชั่วต้องดับเลื่อนลับไป ยึดสิ่งใดไม่ได้ตามใจหมาย
    ใจไม่เที่ยงของใจไหววิบวับ สังเกตจับรู้ได้สบายยิ่ง
    เล็กบังใหญ่รู้ไม่ทัน ขันธ์บังธรรมมิดผิดที่นี่ มัวดูขันธ์ธรรมไม่เห็นเป็นธุลีไป ส่วนธรรมมีใหญ่กว่าขันธ์นั้นไม่แล

    ถามว่า มีไม่มี ไม่มีมี นี้คืออะไร ?

    ทีนี้ติดหมด คิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัดทั้งอรรถแปลโปรดแก้เถิด ที่ว่าเกิดมีต่าง ๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับไม่มีชัดใช่สัตว์คน นี้ข้อต้นมีไม่มีอย่างนี้ตรง
    ข้อปลายไม่มี มี นี้เป็นธรรม ที่ลึกล้ำ ใครพบ จบประสงค์ ไม่มีสังขาร มีธรรมมีมั่นคง

    นั้นแล องค์ธรรมเอก วิเวกจริง ธรรมเป็น ๑ ไม่แปรผันเลิศภพสงบยิ่ง เป็นอารมณ์ของใจไม่ไหวติง ระงับนิ่งเงียบสงัดชัดกับใจ

    บางส่วนจาก
    ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กุมภาพันธ์ 2010
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
    ตอบปัญหาธรรมและการปฏิบัติธรรม

    ที่แท้นั้น เจตนาหัง ภิกขเว สีลัง วทามิ เจตนาไปทางดีนั่นเองเป็นศีล สมาธิ ปัญญากลมกลืนกันในขณะเดียว เหมือนเชือกสามเกลียวที่เราเรียกว่า ปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรมนั่นเอง ไม่ใช่อื่นไกล
    จะบัญญัติหรือไม่บัญญัติก็ไม่เป็นปัญหา ขอให้ภาวนาติดต่อกันอยู่ไม่ขาดสายให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เป็นเป้าหมายอันเดียวพร้อมกับลมหายใจออก-เข้า นิวรณ์ทั้งหลายมันตั้งอยู่ไม่ได้ดอก
    ^
    ^
    ท่านพระอาจารย์หลวงปู่หล้า ท่านก็เทศน์ไว้ชัดเจน
    "ขอให้ภาวนาติดต่อกันอยู่ไม่ขาดสายให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
    การภาวนาติดต่อไม่ขาดสายนั้น จิตต้องรู้อยู่ที่องค์ภาวนาอย่างต่อเนื่องไม่สายจนเป็นสมาธิ
    ถ้าจิตเกิดดับ ท่านจะบอกได้ยังไงว่าภาวนาติดต่อไม่ขาดสาย จนเป็นปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรม...
    ..........................................

    การภาวนาอยากจะให้จิตจดจ่ออยู่นานๆ ก็ต้องตัดความละโมบในอารมณ์อื่นที่มาเกยมาพาด
    ต้องตั้งสติไว้กับอาจารย์เดิม (คือกรรมฐานเดิมที่ตั้งไว้) ยินดีในกรรมฐานที่ตั้งไว้นั้น
    อย่าไปยินดีในกรรมฐานอื่นที่ยังไม่ตั้ง นึกหรือบริกรรม กรรมฐานอันเดิมนั่นแหละ
    ตั้งสัจจะไว้ในที่นั้น ตั้งอธิษฐานไว้ในที่นั้น ถ้ามันลืมไปก็ดึงมาอย่าได้เสียใจ
    เพราะความสำเร็จอยู่กับความอดทนและความเพียร
    เพราะเอากรรมฐานเดิมเป็นที่ตั้งเป็นตัวประกัน ยอมเป็นยอมตายกับกรรมฐานเดิมนั้น
    ^
    ^
    ถ้าจิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลาอย่างที่เข้าใจกัน
    ท่านพระอาจารย์หลวงปู่หล้า จะกล่าวได้อย่างไรว่า "ให้จิตจดจ่ออยู่นานๆ"
    อย่าไปยินดีในกรรมฐานอื่นที่ยังไม่ตั้ง ถ้ามันลืมไปก็ดึงมาอย่าได้เสียใจ .....

    ::
     

แชร์หน้านี้

Loading...