นาคเสนกุมารศึกษาไตรเพท

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 22 ธันวาคม 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    นาคเสนกุมารศึกษาไตรเพท<O:p</O:p


    เมื่อนาคเสนกุมารเติบโตขึ้นอายุได้ ๗ ขวบ มารดาบิดาก็ให้ศึกษาไตรเพททั้ง ๓ กับศิลปะศาสตร์อื่น ๆ สําหรับตระกูลพราหมณ์ร่ำเรียนสืบ ๆ กันมา นาคเสนกุมารรับว่าจะเรียนเอาให้ได้

    ส่วนว่าโสนุตตรพราหมณ์ผู้เป็นบิดา จึงให้เชิญพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์มาที่เรือนแล้ว ก็ให้ทรัพย์ประมาณ ๑ พันกหาปณะเป็นค่าจ้าง ฝ่ายนาคเสนกุมารฟังพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์บอกวิชาเพียงครั้งเดียว ก็สามารถจําได้จบครบทุกประการ จึงได้มีวาจาถามว่า

    “ ข้าแต่บิดา คําสอนสําหรับสกุลพราหมณ์สิ้นสุดเท่านี้หรือ.. หรือว่ายังมีอีกประการใดเล่า? ”

    พราหมณ์ผู้เป็นบิดาจึงตอบว่า
    “ นี่แน่ะนาคเสน คําสอนสําหรับพราหมณ์มาแต่ก่อนเก่านั้น ก็จบเพียงแค่นี้ ”
    เมื่อนาคเสนร่ำเรียนศึกษาจากสํานักพราหมณาจารย์แล้ว ก็ให้ทรัพย์ค่าจ้างบอกวิชาแล้ว ได้รับเอาซึ่งกําใบลานที่อาจารย์ให้เป็นกําใบลานหนังสือพราหมณ์ สําหรับที่จะได้ดูและอ่านการไตรเพ และศิลปะศาสตร์ทุกสิ่งอัน

    อยู่มาวันหนึ่ง นาคเสนกุมารจึงลงจากปราสาท ไปยืนพิจารณาเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุดแห่งไตรเพททั้ง ๓ กับ ศิลปศาสตร์ทั้งปวง อยู่ที่ศาลาข้างประตูทุกวันไปจนตลอดถึง ๓ วันเมื่อไม่เห็นมีแก่นสารอันใด จึงเกิดความไม่สบายใจว่าสิ่งเหล่านี้เปล่าทั้งนั้นไม่มีสาระประโยชน์อันใดเลย
    <O:p</O:p
    ในคราวนั้น พระโรหนเถระ นั่งอยู่ที่วัตตนิยเสนาสนะวิหาร ได้ทราบความคิดของนาคเสนกุมาร จึงหายวับไปปรากฏขึ้นข้างหน้านาคเสนกุมารทันที พอนาคเสนกุมารได้แลเห็น ก็เกิดความร่าเริงดีใจว่าบรรพชิตองค์นี้คงรู้จักสิ่งที่เป็นสาระเป็นแน่จึงถามขึ้นว่า

    “ ผู้มีศีรษะโล้นนุ่งเหลืองเช่นนี้เป็นอะไร? ”

    พระเถระตอบว่า “ เป็นบรรพชิต ”

    “ เหตุไรจึงได้ชื่อว่าบรรพชิต? ”

    “ เหตุว่าเว้นเสียซึ่งบาป เว้นเสียซึ่งโทษจึงได้ชื่อว่าบรรพชิต ”

    “ ท่านรู้จักศิลปศาสตร์บ้างหรือ? ”<O:p</O:p

    “ รู้จัก ”

    “ ศิลปศาสตร์อันใดที่สูงสุดในโลกมีอยู่ท่านจะบอกศิลปศาสตร์อันนั้นให้แก่กระผมได้หรือ? ”<O:p</O:p
    “ อาจบอกได้..พ่อหนู! ”

    “ เหตุใดผมและหนวดของท่านจึงไม่เหมือนคนอื่น? ”

    “ นี่แน่ะ พ่อหนู บรรพชิตทั้งหลายเห็นความกังวล ๑๖ ประการ จึงได้โกนผมโกนหนวดเสีย
    ความกังวล ๑๖ ประการนั้นคือ
    ๑.. กังวลด้วยอาภรณ์ คือเครื่องประดับ
    ๒.. กังวลด้วยช่างทอง
    ๓. กังวลด้วยการขัดสี
    ๔. กังวลด้วยการเก็บเครื่องประดับ
    ๕. กังวลด้วยการฟอกผม-สระผม
    ๖. กังวลด้วยดอกไม้
    ๗. กังวลด้วยของหอม
    ๘. กังวลด้วยเครื่องอบ
    ๙. กังวลด้วยสมอ
    ๑๐. กังวลด้วยมะขามป้อม
    ๑๑. กังวลด้วยดินเหนียว ( สมอ มะขาม ป้อม ดิน ทั้ง ๓ ประการนี้ ทําเป็นยาสระผม )
    ๑๒. กังวลด้วยเข็มปักผม
    ๑๓. กังวลด้วยผ้าผูกผม
    ๑๔. กังวลด้วยหวี
    ๑๕. กังวลด้วยช่างตัดผม
    ๑๖. กังวลด้วยการอาบน้ำ-ชําระผม รวมเป็น ๑๖ ประการด้วยกัน<O:p</O:p

    ในเส้นผมแต่ละเส้น ย่อมมีหมู่หนอนอาศัยอยู่ที่รากผม ทําให้รากผมเศร้าหมอง คนทั้งหลายได้เห็นผมเศร้าหมอง ก็เศร้าใจเสียใจ ไม่สบายใจ เมื่อมัวแต่ยุ่งอยู่กับผม ด้วยเครื่องกังวล ๑๖ อย่างนี้ ศิลปะศาสตร์ที่สุขุมยิ่ง ก็เสียไป เพราะฉะนั้นแหละ บรรพชิตทั้งหลาย จึงต้องโกนผมโกนหนวดทิ้งเสีย ”

    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้อนี้น่าอัศจรรย์ เพราะเมื่อคนทั้งหลายกังวลอยู่กับเครื่องกังวล ๑๖ ประการอย่างนี้ ศิลปะศาสตร์ที่สุขุมยิ่ง ต้องไม่ปรากฏเป็นแน่ ข้อนี้กระผมเชื่อ แต่ขอถามอีกทีว่า เหตุไรผ้านุ่งผ้าห่มของท่าน จึงไม่เหมือนกับคนอื่น ๆ? ”<O:p</O:p

    “ อ๋อ..การที่ผ้านุ่งผ้าห่มของเราไม่เหมือนคนอื่น ๆ นั้น เพราะว่าผ้านุ่งผ้าห่มอย่างพวกคฤหัสถ์ ทําให้เกิดความกําหนัดยินดีใน สังขารร่างกายได้ง่าย ทําให้มีภัยอันตรายบังเกิดขึ้น เครื่องนุ่งห่มของเรา จึงไม่เหมือนของคนอื่น ๆ ”

    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจสอนศิลปะศาสตร์ที่ละเอียดยิ่ง ให้แก่กระผมได้หรือ? ”

    “ ได้...พ่อหนู! ”

    “ ถ้าได้ขอได้โปรดสอนให้เดี๋ยวนี้เถิด ”

    “ เออ...พ่อหนู เวลานี้เรายังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในละแวกบ้าน ยังสอนให้ไม่ได้หรอก ”<O:p</O:p

    ลําดับนั้น นาคเสนกุมารจึงรับเอาบาตรของพระโรหนเถระ แล้วนิมนต์ให้ขึ้นไปฉันที่เรือน เมื่อฉันแล้วจึงกล่าวว่า

    “ ขอท่านจงบอกศิลปะศาสตร์ที่ละเอียดให้แก่กระผมเดี๋ยวนี้เถิด ”

    “ โอ....พ่อหนู! ตราบใดที่พ่อหนูยังมีกังวลอยู่ ตราบนั้นเรายังสอนให้ไม่ได้ ต่อเมื่อพ่อหนูขออนุญาตมารดาบิดาแล้ว ถือเพศอย่างเรา คือโกนผมนุ่งเหลืองห่มเหลืองเหมือนเรา เราจึงจะสอนให้ได้"

    นาคเสนกุมารจึงไปขออนุญาตต่อมารดา-บิดา เมื่อมารดา-บิดาไม่อนุญาต จึงนอนอดอาหาร ต่อเมื่อมารดา-บิดาอนุญาต จึงบอกพระเถระว่า

    “ กระผมจักถือเพศอย่างท่าน ขอท่านจงสอนศิลปะศาสตร์ที่ละเอียดให้แก่กระผม ” พระโรหนเถระจึงพานาคเสนกุมารกลับไปที่วัตตนิยเสนาสนะวิหาร ค้างอยู่คืนหนึ่ง รุ่งเช้าจึงพาไปหาพระอรหันต์ ๑๐๐โกฏิ ที่อยู่ที่ถ้ำรักขิตเลณะ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ***************************

    <O:p</O:p
    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=43760[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2010
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]

    เรื่องย่อ..



    <DD>เมื่อประมาณราวปี พ.ศ. ๕๐๐ คือหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๕๐๐ ปีแล้ว พระราชากรีกนาม "พระเจ้ามิลินท์" ผู้เกรียงไกรได้แผ่ขยายอำนาจมาถึงประเทศอินเดีย และเข้าปกครองเมืองสาคละ (ปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย คือ แคว้นแคชเมียร์) พระองค์ไม่เพียงแต่ปรีชาสามารถในการรบเท่านั้น แต่ยังมีสติปัญญาล้ำเลิศ ทรงโปรดศึกษาศาสนาปรัชญาต่างๆ รวมทั้งพุทธศาสนาด้วย



    <DD>พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ต้องใช้ปัญญาอย่างยิ่ง ในการทำความเข้าใจ พระเจ้ามิลินท์จึงโปรดที่จะถกเถียง ซักถาม และโต้แย้งเพื่อความงอกงามทางปัญญา จึงได้เที่ยวป่าวประกาศโต้ปุจฉา-วิสัชนา กับเหล่าพระภิกษุและสมณพราหมณ์ต่างๆ แต่ก็หาผู้ตอบคำถามให้กระจ่างแจ้งแก่พระองค์ไม่ได้



    <DD>จนกระทั่งได้มาพบกับพระหนุ่มนาม "พระนาคเสน" ผู้ซึ่งเจนจบและแตกฉานในพระไตรปิฎก อีกทั้งเฉลียวฉลาดปราดเปรื่องหาภิกษุใดเทียบได้ พระเจ้ามิลินท์จึงได้คู่ปุจฉาวิสัชนาอย่างเข้มข้น พระนาคเสนสามารถตอบข้อสงสัยต่างๆ นานาในเรื่องราวชีวิตมนุษย์ของพระเจ้ามิลินท์ได้อย่างถ่องแท้



    <DD>จนในที่สุดพระเจ้ามิลินท์ ผู้ซึ่งไม่ได้เลื่อมใสในพุทธศาสนามาก่อนก็ได้ยอมถวายตนเป็นพุทธ มามกะและได้บรรลุธรรมขั้นสูงอีกทั้งยังได้ทรงสร้างพระพุทธรูปอง ค์แรกในพุทธศาสนาขึ้นมาอีกด้วย



    <DD>เรื่องราวที่ปุจฉา – วิสัชนา กันนั้นเปรียบเหมือนการจุดคบไฟขึ้นในความมืด เผยให้เห็นทางสว่างของชีวิต และได้ถูกรวบรวมขึ้นเป็นคัมภีร์สำคัญเรียกว่า "มิลินทปัญหา" เป็นเวลากว่า ๒,๐๐๐ ปี มาแล้ว ได้รับการยอมรับนับถืออย่างมากมายในหมู่ชนต่างๆ ทั่วโลกมาจนทุกวันนี้


    เรียนเชิญญาติธรรมผู้สนใจใฝ่ธรรม
    ติดตามรับฟังเสียงอ่านมิลินทปํญหา


    <DD>
    ที่คลิ้กนี่ เร็วๆ นี้









    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2009
  3. amar

    amar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +606
    พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ต้องใช้ปัญญาอย่างยิ่ง

    สาธุ........สาธุ............
     
  4. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     
  5. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    [​IMG]

    อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ แม่บุญญฯ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  6. Kob4321

    Kob4321 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2009
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +56
    ตามไปฟังมิลินทปัญหาแล้วค่ะ
    ขออนุโมทนาบุญกับธรรมมะทานนี้ด้วยนะคะ ^__^
     
  7. พอชูเดช

    พอชูเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,276
    ค่าพลัง:
    +4,339
    สาธุครับ

    -มหาโมทนากับกุศลจิตทุกท่าน ขอให้สำเร็จตามที่ปรารถนาครับ

    สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...