ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +3,210
    ภาพของ พระนเรศวรมหาราช

    เด็กชาย อาทิตย์ สมศักดิ์ นักเรียนชั้น ป.1

    นักเรียนบอกว่า ครู ครับ ผมวาดภาพ ของพระนเรศวร กำลังสู้รบครับ

    คุณครู ประทับใจมาก กับผลงานชิ้นนี้ค่ะ เลยนำมาให้ชมกัน

    ผมให้ภาพนี้แก่คุณครู ครับ


    ขออนุญาติผู้ปกครองน้องแล้วค่ะ ที่นำภาพมาลง

    อีกภาพ น้องกำลังนั่งสมาธิ กับเพลงโพชฌังคปริต ล้านนาบารมี

    ภาวนาจิต ให้ในหลวงหายประชวรค่ะ




     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2009
  2. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +3,210
    ยันต์ดวง พระชันษา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
     
  4. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2009
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    คุณ Fort_GORDON นำเรื่องราวของมาคิอาเวลลี่ มาเล่าสู่กันฟัง ไม่เคยรู้จักเขามาก่อนค่ะ คิดว่าการเมืองเป็นอุบายมารยาเหมือนกันค่ะ

    คุณโมเย ขอบคุณค่ะ ที่เอารูปวาดที่เด็กชายน้อยๆวาดนี้มาให้ดู วันหนึ่งที่เขาเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา เขาจะเป็นกำลังสำคัญของชาติอีกคนหนึ่งแน่ๆที่มีความจงรักภักดี

    ภาพยันต์ดวงพระชันษา เพิ่งได้เคยเห็นเช่นกัน ขอสารภาพว่าไม่ค่อยเข้าใจประโยชน์ของการสร้างยันต์แบบนี้ค่ะ เคยเห็นแต่ยันต์คนจีน(ฮู้) ที่คนทรงเขียนให้มาเผากินกับน้ำทับทิม (คือเผายันต์แล้วทิ้งลงไปในขันที่มีใบทับทิมแช่อยู่) กับฮู้ที่ไว้ติดหน้าบ้าน จะเป็นการรบกวนหรือไม่ที่จะขอทราบสักหน่อยหนึ่งว่ายันต์ดวงพระชันษานี้มีไว้เพื่ออะไรคะ
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปทางทะเล เพื่อปราบสมเด็จละแวก

    <TABLE style="WIDTH: 100%"><TBODY><TR><TH style="PADDING-RIGHT: 0.4em; BACKGROUND: #ccf; VERTICAL-ALIGN: top; WIDTH: 15%; TEXT-ALIGN: right">คำอธิบายภาพ</TH><TD>แผนที่แสดงขอบเขตรัฐโบราณก่อนการสถาปนาราชอาณาจักรสยามอย่างคร่าว ๆ ตามการเสนอของ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม และสุจิตต์ วงษ์เทศ</TD></TR><TR><TH style="PADDING-RIGHT: 0.4em; BACKGROUND: #ccf; VERTICAL-ALIGN: top; WIDTH: 15%; TEXT-ALIGN: right">เจ้าของลิขสิทธิ์</TH><TD>สุจิตต์ วงษ์เทศ</TD></TR><TR><TH style="PADDING-RIGHT: 0.4em; BACKGROUND: #ccf; VERTICAL-ALIGN: top; WIDTH: 15%; TEXT-ALIGN: right">แหล่งที่มา</TH><TD>สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2548). กรุงสุโขทัยมาจากไหน?. (กรุงเทพฯ: มติชน). หน้า 151.</TD></TR><TR><TH style="PADDING-RIGHT: 0.4em; BACKGROUND: #ccf; VERTICAL-ALIGN: top; WIDTH: 15%; TEXT-ALIGN: right">เหตุผลในการใช้ภาพ</TH><TD>ประกอบบทความ






    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    อ้างอิงศึกทรงยกทัพไปตีพระยาละแวกปี พ.ศ. 2129
    ปี 2129 รัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
    พระยาละแวกเห็นว่าไทยกำลังสู้ศึกกับกรุงหงสาวดีอยู่
    จึงฉวยโอกาสยกทัพเข้ามาตีเมืองปราจีนอีกครั้ง

    สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสว่า
    พระยาละแวกตระบัตสัตย์อีกแล้ว ต้องยกไปปราบให้ราบคาบ
    ผลการศึกกองทัพไทยไล่ตีเขมรไปจนสุดชายแดน
    ทหารเขมรล้มตายจำนวนมาก

    ครั้งนั้นทรงยกทัพไปทางทะเลอ้างอิงจากเอกสารบันทึกที่ใต้ขนอนหลวงวัดโปรดสัตว์

    "ระบุตำบลย่านที่ทำพิธีไล่น้ำชื่อบางขดาน มีเอกสารระบุว่าอยู่ใต้ขนอนหลวงวัดโปรดสัตว์ที่แห่งนี้เมื่อ พ.ศ. 2129 สมเด็จพระนเรศวรฯ เคยยกทัพมาตั้งค่าย มีปรากฎในพระราชพงศาวดารว่า

    “ครั้งนั้นเสดจ์ออกไปประชุมพลทั้งปวง ณ บางกะดาน เถิง ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 เพลาอุษาโยค เสด็จพยุหยาตราจากบางกะดานไปตั้งทัพชัย ณ ชายเคือง แล้วเสด็จไปละแวก ครั้งนั้นได้ช้างม้าผู้คนมาก” ในกำสรวจสมทุรเขียนว่า “จากมามาแกล่ใกล้ บางขดาน ขดานราบคือขดาน คือ ดอกไม้” เพราะบริเวณนี้เป็น “ดินสะดือ” หมายถึง มีน้ำวนเป็นเกลียวลึกลงไป ถือเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำ เป็นทางลงบาดาลของนาค ต้องทำพิธีกรรมเห่กล่อมวิงวอนร้องขอต่อ “ผี” คือนาคที่บันดาลให้เกิดน้ำนี่เองเป็นที่มาของ “เห่เรือ” เพื่อไล่น้ำ หรือวิงวอนร้องขอให้น้ำลดลงเร็วๆ"


    แสดงว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีพระปรีชาสามารถในการรบทั้งทางบกและทางทะเลมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2129 เป็นอย่างน้อย

    ที่เคยมีเอกสารระบุว่าพระองค์ท่านทรงไปฝึกซ้อมรบที่ชายหาดเจ้าสำราญ (ตอนนี้ให้ชื่อว่าหาดสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ซึ่งเป็นปี พ.ศ. 2140 กว่าๆนั้น ทำให้พวกเราชาวไทยเข้าใจว่าพระองค์ท่านไม่เคยทรงออกรบทางทะเลมาก่อนหน้านั้น เป็นอันว่าเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง


    กล่าวคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปปราบสมเด็จละแวกทางทะเลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2129 แล้ว ทรงพระปรีชาสามารถในเชิงรบมาก
    สงสัยตอนนั้นพระยาจีนจันตุจะยังรับราชการเป็นที่ปรึกษาสมเด็จละแวกอยู่ด้วยกระมัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2009
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระยาจีนจันตุ จารชนจากละแวก ปี พ.ศ. 2121


    <CENTER>[​IMG]
    </CENTER>
    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed][/FONT]
    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]พ.ศ.2121 พระยาจีนจันตุ ขุนนางจีนของกัมพูชา รับอาสานักพระสัฎฐามาปล้นเมืองเพชรบุรี แต่ต้องพ่ายแพ้ตีเข้าเมืองไม่ได้จะกลับกัมพูชาก็เกรงว่าจะต้องถูกลงโทษ จึงพาสมัครพรรคพวกมาสวามิภักดิ์อยู่กับคนไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงชุบเลี้ยงไว้ ไม่นานก็ลอบลงเรือสำเภาหนีออกไป เวลานั้นสมเด็จพระนเรศวรมีพระชนมายุได้ 24 พรรษา ตระหนักในพระทัยดีว่า พระยาจีนจันตุเป็นผู้สืบข่าวไปให้เขมร พระองค์จึงเสด็จลงเรือกราบกันยารีบตามไป พระเอกาทศรถเสด็จไปด้วยอีกลำหนึ่งตามไปทันกันเมื่อใกล้จะออกปากน้ำ พระยาจีนจันตุยิงปืนต่อสู้ สมเด็จพระนเรศวรจึงเร่งเรือพระที่นั่งขึ้นหน้าเรือลำอื่น ประทับยืนทรงยิงพระแสงปืนนกสับที่หน้ากันยา ไล่กระชั้นชิดเข้าไปจนข้าศึกยิงมาถูกรางพระแสงปืนแตกอยู่กับพระหัตถ์ก็ไม่ยอมหลบ พระเอกาทศรถเห็นพระเชษฐากล้านักเกรงจะเป็นอันตราย จึงตรัสสั่งเร่งให้เรือที่ทรงให้แล่นเข้าไปบังเรือของสมเด็จพระเชษฐา ขณะเรือของพระเอกาทศรถเข้าไปบังเรือสมเด็จพระเชษฐา ก็พอดีกับเรือสำเภาของพระยาจีนจันตุได้ลมแล่นออกทะเลไป ครั้งนั้นนับว่าเป็นการใช้กำลังทางเรือต่อสู้กับข้าศึกครั้งแรกของพระองค์[/FONT]
     
  8. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +3,210
    สวัสดียามเช้า จ้าน้องฟอร์ท

    มาเจอกันแต่เช้าเลย อากาศ ทางน้องเปนใดพ่อง

    ที่เชียงใหม่ อากาสดี แต่ยังไม่หนาวเลยจ้า
     
  9. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    [​IMG]

    โพสต์โดย rojnchin
    2008-07-05 21:08:31 หมวด ประวัติศาสตร์,ความรู้ ผู้ชม 322
    ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
    TAG พระนเรศวร,ชะอำ,หาดชะอำ,เพชรบุรี,จังหวัดเพชรบุรี
    รายละเอียดแกลอรี่ วันนี้บังเอิญเจอภาพชุดนี้เข้า เป็นพระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่บริเวณหาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เลยนำมาให้ชมกันครับ

    -ขอขอบคุณ พระนเรศวร ชะอำ หาดชะอำ เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
     
  10. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +3,210
    <TABLE class=tborder id=post2554963 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175></TD><TD class=alt1 id=td_post_2554963 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><CENTER><!-- google_ad_section_start -->ถวายความภักดี พระนเรศวรมหาราช<!-- google_ad_section_end -->

    </CENTER>
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->[​IMG]
    <OBJECT id=WMP7 height=180 width=330 classid=CLSID:6BF52A52-394A-11d3-B153-00C04F79FAA6>
























    </OBJECT>
    [​IMG]

    เพลง พระนเรศวรมหาราช


    ประกาศความภักดี

    โดย กัญญนัทธ์ ศิริ

    สงวนลิขสิทธ์ มีนาคม 2552



    </TD></TR></TBODY></TABLE></P>
     
  11. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +3,210
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2009
  12. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    สวัสดีครับพี่โม ขออนุญาตถามแบบฝรั่งหน่อยครับ เมื่อคืนหลับสบายดี

    ไหมครับ อากาศที่กทม. ปกติคือร้อนเป็นปกติขอรับพี่โม กำลังรออากาศ

    เย็นจาก ชม. เมื่อใดจะมาสักเตื้อ ฟอร์ทจะได้กลับไปเยือนเจียงใหม่บ้าน

    เฮา คงจะได้มีโอกาสพบพี่โมนะขอรับ
     
  13. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +3,210
    เมื่อคืน สลบไปเลยจ้า เพราะเพลียแดด แดดร้อนสุดๆๆ จ้า

    เมื่อวานมีกีฬาสี ร้อนสุดๆเลย บ้านเรา

    พี่ จะรอ เจอน้องวันที่น้องมาเชียงใหม่ นะ

    เราคงจะได้พบและคุยกัน อีกมากมายนะเจ้า
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เมื่อคืน สลบไปเลยจ้า เพราะเพลียแดด แดดร้อนสุดๆๆ จ้า

    คุณโมเยหายหรือยัง ขอให้หายไวๆนะคะ

    ----------------------------------------------------------------

    เมื่อครู่ไปตามหาอ่านพงศาวดารเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้มาอีกจาก

    พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์


    พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ แม้ความที่กล่าวเปนอย่างย่อ ๆ มีเนื้อเรื่องที่ไม่ปรากฎในพระราชพงษาวดารฉบับอื่นออกไปอิกมาก แลที่สำคัญนั้น ศักราชในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติแม่นยำ กระบวนศักราชเชื่อได้แน่กว่าพระราชพงษาวดารฉบับอื่น ๆ หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ จึงเปนหลักแก่การสอบหนังสือพงษาวดารได้เรื่องหนึ่ง

    อ้างอิง พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ - วิกิซอร์ซ
     
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระยาจีนจันตุ ตายในสนามรบโดยฝีมือพระราชวังสัน ในศึกปราบพระยาละแวก ปี พ.ศ. ๒๑๓๗

    ปราบพระยาละแวก (ต่อ)

    ครั้นเวลาเช้าพระนเรศวรกับพระอนุชาก็ยกเข้าเมืองบริบูรณ์ เอาตัวพระยาเสนาบดีเจ้าเมืองกับข้าราชการผู้ใหญ่มาสอบถาม เชลยบรรดาศักดิ์ทั้งหลายก็บอกสิ้นทุกประการ พระองค์จึงให้พระวิเศษ เจ้าเมืองฉะเชิงเทราเป็นพระยาวิเศษคุมพลสามพันอยู่รักษาเมืองบริบูรณ์ปลูกยุ้งฉางรวบรวมเสบียงอาหารไว้ เดินทัพต่ออีกสองคืนก็ถึงกรุงกัมพูชา ทัพหลวงตั้งไกลเมือง 40 เส้น ให้นายทัพนายกองตั้งค่ายล้อมประชิดเมือง มีแม่ทัพใหญ่รับผิดชอบทั้งสี่ทิศ ทิศละคน


    ฝ่ายทางด้านทะเลนั้น เมื่อขณะทัพหลวงเข้าเมืองโพธิสัตว์นั้น ทัพพระยาราชวังสันก็เข้าตีได้เมืองพุทไธมาส พระยาจีนจันตุแม่ทัพเขมรตายในที่รบ แล้วยกเข้ามาป่ากะสัง ได้รบกับกองทัพพระยาพิมุขวงศา

    ฝ่ายกองทัพพระยาเพชรบุรีก็เข้าตีเมืองป่าสัก ได้รบกับกองทัพเรือเขมร ทัพพระยาวงศาธิราชถูกตีแตก รี้พลเขมรจมน้ำตายมาก ตัวพระยาวงศาธิราชถูกกระสุนปืนใหญ่ตาย กองทัพไทยเข้าเมืองป่าสักได้ ได้เรือสำเภา 15 ลำ เรือสลุบฝรั่งสองลำ เรือรบเรือไล่ ใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก

    ทัพพระยาเพชรบุรียกรุดขึ้นมาถึงปากกะสัง เห็นกองทัพพระยาราชวังสันรบกันอยู่ จึงตีขนาบเข้าไป ทัพเขมรก็แตก กองทัพไทยทั้งสองจึงสมทบกันยกเข้าตีได้เมืองจัตตุรมุข แล้วยกขึ้นบกไปบรรจบทัพหลวง ณ เมืองละแวก

    ฝ่ายพระยานครราชสีมา ตีเมืองเสียมราฐได้แล้ว ก็ยกมาตั้งค่ายมั่นที่กำปาสวาย กองทัพทั้งหลายต่างส่งแม่ทัพมาเฝ้าพระนเรศวร ณ ค่ายเมืองละแวก ครั้นพระองค์เห็นว่าทุกกองทัพมาพร้อมกันแล้วจึงสั่งให้ค่ายที่ตั้งประชิดเมืองทุกค่าย เร่งขยับค่ายชิดเข้าไปให้ใกล้เมืองหนึ่งเส้นและสามสิบวา แล้วพูนดินขึ้นทั้งสี่มุม มุมละสองด้าน เอาปืนใหญ่ทัพเรือขึ้นไปตั้งจังก้า ยิงกราดทหารที่รักษาเชิงเทินและประตูเมืองนั้นก็ตั้งป้อมเอาปืนใหญ่ยิงถล่มเข้าไปทุกประตู ทางด้านไหนทหารบางอยู่ ก็เอาทหารกองทัพเรือ และทัพนครราชสีมาเข้าเสริมให้หนาแน่น ให้ทุกกองทัพเร่งทำการให้เสร็จพร้อมบริบูรณ์ภายในสามวัน ถ้าผู้ใดทำไม่เสร็จตามกำหนดจะตัดศีรษะเสียบเสีย นายทัพนายกองจึงต้องเร่งทำงานทั้งกลางวันกลางคืน

    คัดมาจากความเห็นหน้า 28 เพราะว่าทางสายธาตุอยากรู้ว่าพระยาจีนจันตุสิ้นชีพอย่างไร หามาหาไปเจออยู่ในกระทู้นี้นี่เองค่ะ



    http://palungjit.org/threads/ขอเชิญ...ด็จพระนเรศวรมหาราช.184672/page-28#post2416960
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2009
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระยาราชบังสัน-พระยาราชวังสัน

    ราชทินนามของขุนนางไทยส่วนใหญ่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต บอกบ่งถึงหน้าที่การงานไปจนกระทั่งเชื้อสายก็มี แต่ก็มีส่วนน้อยมาจากภาษาอื่น ในจำนวนนี้ที่ออกจะแปลกหูก็คือ พระยาราชบังสัน ซึ่งถ้าจะดูความหมายจากภาษาบาลีสันสกฤตแล้วก็จะหาคำตอบไม่ได้ เพราะมาจากถิ่นไกลกว่านั้นค่ะ คือภาษาอาหรับ


    พระยาราชบังสันคนแรกที่ค้นพบตามหลักฐานมีชีวิตอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นแม่ทัพเรือมีราชทินนามว่า " พระยาราชบังสันเสนี" มีนามตัวว่า ฮะซัน จึงเข้าใจว่า " บังสัน" มาจากส่วนหนึ่งของชื่อเดิมนั่นเอง


    พระยาราชบังสันมีเชื้อสายสืบทอดมาถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เป็นพระยาราชบังสันในลำดับที่ ๕ ของชั่วคน ในรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯให้พระสมุทรบุรานุรักษ์เจ้าเมืองชลบุรี มารับราชการในกองทัพเรือในกรุงเทพฯ ทรงเลื่อนขึ้นเป็นพระยา แต่ไม่ใช่ " พระยาราชบังสัน" อีกต่อไป แต่กลับเป็น " พระยาราชวังสัน" คนแรก


    พระยาราชวังสันผู้นี้ มีนามเดิมว่า " หวัง" ท่านเป็นพระยาแม่ทัพเรือคนที่ ๕ ที่สืบเชื้อสายพระยาราชบังสันเสนี(ฮะซัน) สมัยอยุธยา มาจากตระกูลซึ่งสืบเชื้อสายมาจากสุลต่านสุไลมาน ทุกชั่วคนเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม


    ทำไมพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกถึงทรงเปลี่ยนราชทินนาม จาก "ราชบังสัน" เป็น "ราชวังสัน" เสียเล่า ในเมื่อก่อนหน้านี้ก็มีพระยาราชบังสันกันมาหลายชั่วคนแล้ว? สมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงสันนิษฐานไว้ว่า เป็นเพราะเดิมเจ้าพระยาจักรี(แขก) มีบุตรชายคนโตได้เป็นพระยาราชบังสัน (จุ้ย หรือ หมัด) มาก่อน ต่อมาพระยาราชบังสันผู้นี้ ทำความดีความชอบในหน้าที่ราชการ ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยายมราช เมื่อจะโปรดเกล้าฯเลื่อนน้องชายขึ้นเป็นพระยาราชบังสันแทน ก็เกรงจะผิดความหมาย เพราะ "บัง" หมายถึงพี่ชาย จึงทรงเปลี่ยนคำว่า "บัง" ซึ่งมีความหมายในการลำดับเครือญาติมาเป็นชื่อบุคคลว่า "วัง" จากคำว่า "หวัง" อันเป็นชื่อที่นิยมตั้งกันในผู้ที่มีเชื้อสายแขกสุหนี่ในตระกูล "หวังฮะซัน"


    พระยาราชวังสันคนแรกคนแรกนี้ก็ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมาด้วยความเรียบร้อยดี เป็นคนเก่งเรื่องเดินเรือ และปราบปรามโจรสลัดที่มารบกวนแถวอ่าวไทยสมหน้าที่แม่ทัพเรือ พ่อค้าทั้งไทยและต่างชาติพากันยกย่องนับถือมาก


    นอกจากนี้พระยาราชวังสัน(หวัง) ยังมีบทบาทสำคัญอีกอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือเป็นผู้พาเจ้านายญวนชื่อองเชียงสือซึ่งพาครอบครัวหนีกบฎมาจากเมืองญวน มาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารในรัชกาลที่ ๑ โดยองเชียงสือขอถ่อมตัว ให้พระยาราชวังสันรับท่านเป็นบุตรบุญธรรม พระยาราชวังสันก็ยอมรับ ตกลงรับองเชียงสือเป็นบุตร พามาเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพฯด้วยความปลอดภัย ในรัชกาลต่อๆมา ไม่ว่าผู้ใดได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นแม่ทัพเรือ ก็จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น"พระยาราชวังสัน" แม้ไม่ใช่เชื้อสายตระกูลนี้ และนับถือพุทธศาสนาไม่ใช่อิสลามก็ตาม พระยาคนสุดท้ายมีมาจนรัชกาลที่ ๗ คือพระยาราชวังสัน(ศรี กมลนาวิน) จนยกเลิกบรรดาศักดิ์กันไปหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕


    ส่วนพระยาราชวังสันอีกคนหนึ่งไม่มีตัวตนในประวัติศาสตร์ แต่กลับไปมีตัวตนในวรรณคดี กำเนิดขึ้นมาจากพระราชนิพนธ์เรื่อง" พระยาราชวังสัน" ในรัชกาลที่ ๖ เป็นเรื่องที่ทรงดัดแปลงมาจากโศกนาฏกรรมเรื่อง Othello ของเชกสเปียร์ โดยทรงดัดแปลงโอเธลโลแม่ทัพแขกมัวร์ผิวดำมาเป็นพระยาราชวังสันเชื้อสายแขก และสาวน้อยเดสดีโมน่าผู้ดีชาวเวนิสมาเป็นหญิงสาวชื่อบัวแก้ว ในต้นฉบับเดิม โอเธลโลถูกอุบายให้หึงหวงภรรยาจนฆ่าเธอด้วยความเข้าใจผิดและเมื่อรู้ตัวว่าเสียรู้คนชั่วก็ฆ่าตัวตาย พระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าไม่เหมาะสมจึงทรงดัดแปลงมาเป็นการจบอย่างสุขสมหวังของพระเอกนางเอก


    เรื่องนี้ไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนัก ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ยังไม่เคยได้ยินว่านำออกแสดง หรือไม่ก็แสดงน้อยมากจนไม่เป็นที่จดจำกัน มีเพียงตัววรรณคดีไว้ ให้ผู้มีใจรักทางพระราชนิพนธ์ได้ศึกษากันเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2009
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    กองอาสาจาม ในกองทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=style6 align=middle>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=style1 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    ในขณะที่กองอาสาจามนี้มีส่วนช่วยในกองทัพสมเด็จพระนเศวรมหาราช หลังจากประกาศอิสรภาพถึง ๔ ครั้ง ครั้งแรกและครั้งสำคัญในพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์บันทึกไว้ว่า "ลุศักราช๙๔๑ ปีเถาะ เอกศก พระมหาอุปราชาเจ้าเมืองเชียงใหม่ยกพลห้าสิบหมื่น ช้างเครื่องเจ็ดร้อย ม้าสามพันมาข้ามเมืองเมาะตะมะ มาโดยแม่น้ำแม่กษัตริย์เข้าทางด่านเจดีย์สามองค์….. พระบาทสมเด็จบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เสด็จยังเกย ตรัสให้ท้าวพระยานายกองทัพหลวงยกขบวนเบญจเสนา …. พระราชวังสรรขี่ช้างพลายแก้วมาเมือง ถือพลอาสาจามห้าร้อย"



    </TD></TR><TR><TD class=style6 align=middle>นั่นคือ กองอาสาจามเท่าที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์นั้นมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๓๓ หรืออาจจะก่อนนั้น ครั้งที่สำคัญคือคราวที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปตีกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๖ โปรดเกล้าฯให้พระยาราชวังสันจางวางอาสาจามเป็นแม่ทัพคุมกองทัพอาสาจามและกองทัพเมืองจันทบุรีคุมเรือรบ ๑๕๐ ลำ พลรบพลแจว ๑๐,๐๐๐ สรรพไปด้วยเครื่องศัสตราวุธ ยกทัพไปตีทางปากน้ำพุทไธมาศ กองทัพพระยาราชวังสันเข้าตีได้เมืองพุทไธมาศ เมื่อตีได้เมืองพุทไธมาศแล้วได้ร่วมกับทัพของพระยาเพชรบุรียกเข้าตีได้เมืองจตุรมุข เมื่อทัพของพระยาราชวังสันและพระยาเพชรบุรีตีได้เมืองจตุรมุขแล้ว ก็ยกขึ้นไปบรรจบกองทัพหลวง ณ เมืองละแวก การศึกในครั้งนั้นกองทัพของไทยได้เข้าตีเมืองละแวกอย่างองอาจ ในที่สุดก็พังประตูเมืองละแวกจับพระยาละแวกได้ ในครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตัดศรีษะพระยาละแวกเอาโลหิตมาชำระพระบาท


    </TD></TR><TR><TD class=style6 align=middle>พวกจามนั้นน่าจะมีการอพยพเข้ามาในสยามอยู่เสมอ ๆ ดังเช่นใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีบันทึกไว้ในพงศาวดารว่า "…ในปีจอสัมฤทธิศกนั้น มีแขกแม่นางกะเบา อันอยู่เมืองกัมพูชาประเทศ หาที่พึ่งพำนักมิได้…คุมสกรรจ์อพยพครัว ๗๗๓ คนมาขอเป็นข้าสู่พระราชสมภาร…"


    </TD></TR><TR><TD class=style6 align=middle>มุสลิมที่อพยพเข้ามาเหล่านี้น่าจะเข้าร่วมกับกองอาสาจามทำให้มีกองกำลังที่เข้มแข็ง มากขึ้น นอกจากนั้น กองทหารอาสาจามซึ่งเป็นมุสลิมยังคงมีบทบาทในด้านการทหารร่วมกับทหารชาติไทยเสมอมาในฐานะ ของกองทหารอาสาช่วยรบ เช่นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อครั้งศึกเจ้าเมืองเชียงใหม่ปี พ.ศ.๒๒๐๔ เมื่อทัพไทยยกทัพเข้าตีเมืองมังคลำเมืองทองผาภูม พระยาโกษาธิบดีแม่ทัพหลวงได้…


    </TD></TR><TR><TD class=style6 align=middle>"..แต่งกองโจรและกองทัพหน้าและกองอาษา ยกเข้าตีทัพพม่ารามัญ.. แม่ทัพใหญ่ยกกองทัพเข้าระดมตีค่ายพะม่า ทั้งทัพหน้าทัพหลวง ๓ วัน พะม่าแตกในเพลากลางคืนยามเศษ… แม่ทัพแต่งกองทัพอาษาหกเหล่า อาษาจามและทัพหัวเมือง เป็นคน ๑๐,๐๐๐เศษ ไปตามพะม่ารามัญเถิงเมืองสำมิ ได้ช้างม้าผู้คนเครื่องสาตราวุธเป็นอันมากกลับมา" และเนื่องจากเป็นผู้ชำนาญในด้านการเดินเรือกองอาสาจามจึงได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าแผ่นดินในทุกรัชกาลให้เป็นกำลังหลักของกองทัพไทยในด้านการทหารเรือ จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ นอกจากนี้พระยาราชวังสันจางวางอาสาจามยังเป็นแม่กองดูแลเรือรบใหญ่น้อยที่บริเวณปากคลองตะเคียนในกรุงศรีอยุธยา


    </TD></TR><TR><TD class=style6 align=middle>"…ใต้ปากคลองตะเคียนนั้นมีโรงเรือรบทะเลใหญ่น้อยต่าง ๆ ไว้ในโรงในอู่โรงเรียง กันตามแม่น้ำใหญ่ ท้ายเรืออยู่ปากอู่ ลำเรือขวางแม่น้ำทุกลำใส่โรงละลำบ้าง โรงละสองบ้างมีเรือใหญ่ท้ายสำเภา เปนเรือรบทะเล สามสิบลำ เรือเลกท้ายปลา เรือรบทะเลร้อยลำทำด้วยไม้ตะเคียนทั้งสิ้น โรงนั้นปักเสาไม้มะค่าหลังคามุงกระเบื้องลูกฟูก มีฝาแลประตูมีผู้รักษาทั้งนายแลไพร่ พระยาราชวังสันได้ว่ากล่าวดูแลเปนแม่กอง…"


    อ้างอิง http://sriwanachaiyarat.com/his.html




    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ดนตรี มังคละ การละเล่นพื้นบ้านของจังหวัดพิษณุโลก

    <CENTER>[SIZE=+2]วิถีชีวิต[/SIZE]

    [SIZE=+2]ประเพณีพื้นบ้าน[/SIZE]</CENTER><CENTER><TABLE border=5><TBODY><TR><TD><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>[SIZE=+1]<CENTER>มังคละ</CENTER>[/SIZE]
    [SIZE=+1]อุปกรณ์<WBR>และ<WBR>วิธี<WBR>การ<WBR>เล่น[/SIZE]


    <DD>1. กลอง<WBR>มังคละ <WBR>เป็น<WBR>กลอง<WBR>หนัง<WBR>หน้า<WBR>เดียว<WBR>ขนาด<WBR>เล็ก<WBR> ทำ<WBR>จาก<WBR>ไม้<WBR>ขนุน <WBR>หน้า<WBR>กลอง<WBR>มี<WBR>เส้น<WBR>ผ่า<WBR>ศูนย์<WBR> กลาง<WBR>ประมาณ <WBR>5 <WBR>นิ้ว <WBR>หุ้ม<WBR>ด้วย<WBR>หนัง <WBR>กลอง<WBR>ยาว<WBR>ประมาณ <WBR>10 <WBR>นิ้ว

    <DD>2. ปี่ <WBR>มี<WBR>ลักษณะ<WBR>คล้าย<WBR>ปี่<WBR>ชวา <WBR>1 <WBR>เลา

    <DD>3. กลอง<WBR>สอง<WBR>หน้า <WBR>2 <WBR>ขนาด <WBR><WBR>ขนาด<WBR>ใหญ่ <WBR>เรียก<WBR>ว่า<WBR> กลอง<WBR>ยืน <WBR>ขนาด<WBR>เล็ก<WBR>เรียก<WBR>ว่า <WBR>กลอง<WBR>หลอน <WBR>ตี<WBR>จังหวะ<WBR> ขัด<WBR>ล้อ<WBR>กัน

    <DD>4. เครื่อง<WBR>ประกอบ<WBR>จังหวะ <WBR>ได้<WBR>แก่ <WBR>ฆ้อง <WBR>3 <WBR>ใบ <WBR>แขวน<WBR> อยู่<WBR>บน<WBR>คาน<WBR>หาม <WBR>ฉิ่ง <WBR>และ<WBR>ฉาบ<WBR>ใหญ่ <WBR>2

    [SIZE=+1]วิธี<WBR>การ<WBR>เล่น [/SIZE]

    <DD>มี<WBR>ผู้<WBR>ถือ<WBR>หรือ<WBR>สะพาย<WBR>กลอง<WBR>ไว้<WBR>เบื้อง<WBR>หลัง <WBR>ให้<WBR>ผู้<WBR> เล่น<WBR>อีก<WBR>คน<WBR>ถือหวาย<WBR>ยาว<WBR>ประมาณ <WBR>17 <WBR>นิ้ว <WBR>2 <WBR>อัน <WBR>แล้ว<WBR>เดิน<WBR>ตี<WBR>กลอง<WBR>ไป<WBR>ตาม<WBR>จังหวะ<WBR>เมื่อ<WBR>ตี<WBR>จะ<WBR>เกิด<WBR> เสียง<WBR>ดัง <WBR>โกร๊ก <WBR>ๆ


    <CENTER>[​IMG] [​IMG]</CENTER>[SIZE=+1]โอกาส [/SIZE]

    <DD>มังคละ <WBR>มัก<WBR>นิยม<WBR>เล่น<WBR>ใน<WBR>งาน<WBR>มงคล<WBR>ต่างๆ<WBR>เพื่อ<WBR>ความ<WBR> สนุก<WBR>สนาน<WBR>ครื้นเครง <WBR>เช่น งาน<WBR>แห่<WBR>นาค <WBR>แห่<WBR>กฐิน <WBR>งานกลาง<WBR> แจ้ง<WBR>ต่าง ๆ

    [SIZE=+1]สาระ [/SIZE]

    <DD>มังคละ <WBR>เป็น<WBR>ดนตรี<WBR>พื้น<WBR>บ้าน<WBR>ใน<WBR>เขต<WBR>ภาค<WBR>เหนือ<WBR>ตอน<WBR> ล่าง <WBR>เป็น<WBR>ที่<WBR>นิยม<WBR>กัน<WBR>มา<WBR>นาน <WBR>มี<WBR>หลัก<WBR>ฐาน<WBR>ว่า<WBR> ดนตรี<WBR>มังคละ<WBR>เล่น<WBR>กัน<WBR>มา<WBR>นาน<WBR>กว่า <WBR>100 <WBR>ปี <WBR>เป็น<WBR> การละเล่น<WBR>พื้น<WBR>บ้าน<WBR>ที่<WBR>เป็น<WBR>เอก<WBR>ลักษณ์<WBR>ของ<WBR>จังหวัด<WBR>พิษณุโลก <DD> </DD>ดูที่นาที่ที่ 7:30 เป็นต้นไปค่ะ มังคละแปลว่ามงคล สันนิษฐานว่ากลองมังคละนี้เข้ามาในแผ่นดินสุวรรณภูมิพร้อมๆกับพระพุทธศาสนา ดังนั้นทางสายธาตุจึงขอสันนิษฐานว่าในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นคงจะมีการละเล่นพื้นบ้านชนิดนี้อยู่

    อ้างอิง ดูทีวีย้อนหลัง คุณพระช่วย วันที่ 2 กรกฎาคม 2551 - ดูทีวีออนไลน์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2009
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ชุดขุนนางไทย ผู้เชิญเครื่องราชบรรณาการไปยังกรุงปักกิ่ง

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    จากรูปบอกว่าเป็นยุคที่อยู่ในสมัยราชวงศ์หมิงนะคะ หน้าตาท่านขุนนางน่าจะเป็นขุนนางเชื้อสายจีนที่รับราชการในกรุงสยามค่ะ

    สนใจขุนนางชาติอื่นแต่งตัวกันอย่างไรบ้างติดตามดูได้จาก ในกระทู้ที่นำภาพนี้มาบอกว่าเป็นสมัยราชวงศ์ชิง แต่มุมซ้ายล่างของทุกภาพเขียนว่าเป็นยุคราชวงศ์หมิงค่ะ

    รูปพวกนี้คงเขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง เพราะมีภาษาแมนจูประกอบไปควบคู่กับภาษาจีน

    http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/06/K7946984/K7946984.html
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัย การส่งเครื่องราชบรรณาการไปกรุงจีนส่งทำไมในเมื่อประเทศเรามิได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจีน

    เครื่องราชบรรณาการ (จิ้มก้อง)นี้ ถือเป็นธรรมเนียมปฎิบัติที่ฝ่ายพระราชสำนักพระเจ้ากรุงจีนทำมาอดีต กล่าวคือหากชาติใดที่ต้องการจะเข้ามาทำการค้ากับประเทศจีนแล้วไซร้ จะต้องนำส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ทุกปี จึงจะได้รับอนุญาตทำการค้าขายติดต่อกับจีนได้

    เครื่องราชบรรณาการเหล่านี้เป็นของพื้นเมืองของแต่ละประเทศ โดยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นของสูงค่าอะไร เป็นของปกติธรรมดา แต่มูลค่าที่ได้จากการทำการค้าที่ได้ทำกับจีนนั้นสูงทีเดียวนำมาพัฒนาประเทศกันได้เลย

    จนเมื่อเข้าสู่ยุคของพระเจ้าคังซี จักรพรรดิ์จีนราชวงศ์ชิง เห็นว่าเงินที่หาได้จากการค้าด้วยระบบเครื่องราชบรรณาการนี้จะสามารถนำไปสร้างกองกำลังต่างชาติโดยเฉพาะกองกำลังที่ต่อต้านราชวงศ์ชิง ซึ่งอาจจะนำภัยมาสู่ราชสำนักของพระองค์ได้ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นหลายครั้งที่พระองค์สังเกตุเห็นว่า เรือบรรทุกข้าวจะถูกดัดปล้นชิงทุกครั้ง ถ้าไป 10 ลำจะไปส่งถึงท่าเรือเมืองจีนเพียง 7 หรือ 8 ลำเท่านั้น พระเจ้าคังซีจึงทรงอนุญาตให้แค่มีการส่งเครื่องราชบรรณาการ 3 ปีต่อครั้งก็พอ ให้มีเรือไปส่งเครื่องราชบรรณาการเพียง 3 ลำห้ามไม่ให้มีเรือพ่อค้าอื่นติดตามเรือเครื่องราชบรรณาการ

    เมื่อข้อจำกัดมากขึ้น ซึ่งเป็นสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว พระองค์ท่านจึงใช้เรือที่ไปส่งเครื่องราชบรรณาการทั้ง 3 ลำ (ภายหลังเพิ่มเป็น 4 ลำเรียกว่าเรือเครื่องราชบรรณาการเสริม) ซึ่งจะต้องไปจอดที่ท่าเรือเมืองกวางตุ้ง เพื่อให้ขุนนางไทยกับชายฉกรรจ์ติดตามเชิญเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระจักรพรรดิได้ไม่เกินคณะละ 22 คนเท่านั้น โดยจะไปจากกวางตุ้งด้วยเรือหรือพาหนะที่ทางการจีนจัดให้ ใช้เวลาเดินทางไปกลับกินเวลา 6 เดือนถึง 8 เดือน ระยะทางกวางตุ้งถึงปักกิ่ง 2500 ไมล์ (ครั้งที่แล้วจำผิด ทางสายธาตุไปบอกว่า 2500 กิโลเมตร)

    ระยะเวลาในการเดินเรือจาก กรุงศรีอยุธยาไปท่าเรือกวางตุ้ง กินเวลา 1 เดือน ดังนั้นเรือที่บรรทุกเครื่องราชบรรณาการไปถึงท่าเรือกวางตุ้ง จึงสามารถบรรทุกสินค้ากลับมาสยาม และนำของจากสยามไปขายที่กวางตุ้ง ได้อีกลำละ 4 เที่ยวในระหว่างที่รอราชทูตไทยกลับจากเข้าเฝ้าองค์พระจักรพรรดิจีน

    ดังนั้นการส่งเครื่องราชบรรณาการไปจีน เป็นการปฎิบัติให้ถูกต้องตามกฏระเบียบที่ราชสำนักจีนตั้งขึ้นมา มิได้แสดงการเป็นเมืองขึ้นแต่อย่างใด

    ป.ล. ภายหลังในรัชกาลของพระเจ้าคังซีได้เกิดทุกภิกขภัย (อดอยาก) ข้าวผลิตในประเทศพอรับประทานได้เพียงครึ่งปี จึงทรงกลับมาส่งเสริมให้พ่อค้าชาวจีนนำเข้าข้าว โดยมีหลักฐานว่าหากใครนำเข้าข้าวได้มากทรงได้รับเครื่องราชเป็นชั้นยศจากราชสำนักด้วย

    ทั้งหมดนี้อ่านเอาความมาจากหนังสือ จิ้มก้องและกำไร ของ ดร. สารสิน วีระผลค่ะ ตอนนี้ยังไม่อยากพิมพ์ตามตัวหนังสือเพราะเป็นภาษาวิชาการ ออกจะเยิ่นเย้อเข้าใจยาก ต้องอ่านทวนสองสามรอบจึงจะจับความได้ ผู้เขียนอาจเขียนต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษวิชาการโดยหาหลักฐานเรื่องการค้านี้จากต้นฉบับภาษาจีน นำเสนอในภาษาอังกฤษเป็นวิทยานิพนธ์ ภาษาจึงต้องสวย เมื่อมีผู้นำมาแปล ก็แปลตามภาษาอังกฤษสวยๆนั้น แต่อ่านเป็นภาษาไทยแล้วเอาความได้ยาก และอาจจะเพราะทางสายธาตุไม่ชินกับภาษาไทยสำนวนวิชาการแบบในหนังสือก็ได้ ซึ่งทางสายธาตุต้องปรับปรุงตัวเองให้มีความสามารถในการอ่านให้ดีขึ้นกว่านี้ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...