ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ)

    วัดวรเชษฐ์


    [​IMG]


    เมื่อวานเย็นไปเดินงานสัปดาห์หนังสือมาค่ะ ได้เรื่องราวเกี่ยวกับวัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) มาเพิ่มเติม ​

    อ้างอิงหนังสือ ความสัมพันธ์ จีน-ไทย โยงใยในลวดลายประดับ

    สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ


    เขียนโดย ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม
    หน้า ๗๕- ๗๘


    ส่วนที่กรุงศรีอยุธยา วัดวรเชตุเทพบำรุง (ชื่อทางการของวัดวรเชษฐ์)


    [​IMG]

    อยู่นอกเกาะเมืองไปทางตะวันตก คงสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ปรากฏลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์ทรงปราสาทยอด แสดงถึงการสืบเนื่องรสนิยมจีนที่มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ

    ทางสายธาตุไม่มีเครื่อง scan จึงเอารูปมาลงไม่ได้ เป็นรูปขยายส่วนช่องกระจกรอบลานประทักษิณ ตามรูปข้างบนค่ะ ขึ้นจากพื้นระเบียงไปหน่อยจะเป็นลานประทักษิณ ที่มีหลักเตี้ยๆแล้วมีช่องลมเล็กๆรอบๆนะคะ​

    ใต้ภาพที่ขยายส่วนนี้อธิบายไว้ว่า ช่องกระจกอย่างจีน และลายปูนปั้นประดับมุมอย่างจีนเช่นกัน ประดับพนักของลานประทักษิณ เจดีย์ทรงปราสาทยอด วัดวรเชตุเทพบำรุง พระนครศรีอยุธยา ศิลปะอยุธยาตอนกลาง ราวรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ

    รูปช่องกระจกนั้นหากขยายแล้วจะเป็นรูปย่อมุมไม้สิบสอง เหมือนกรอบย่อมุมไม้สิบสองที่ล้อมรอบดอกโบตั๋นตามรูปข้างล่างนี้​

    [​IMG]


    ในหนังสือได้อธิบายลักษณะลายปูนปั้นที่ประดับเจดียยอดปราสาท (ปรางค์ประธานของวัดวรเชษฐ์ ไว้ดังนี้)​

    ลายปูนปั้นประดับเจดีย์ทรงปราสาทยอด วัดวรเชตุเทพบำรุง รูปกลีบบัวมีใส้ แรงบันดาลใจดั้งเดิมจากลายประดับของจีนที่สืบทอดมานานในงานประดับของไทย​

    ลายปูนปั้นส่วนที่เรียกว่า นมสิงห์ ประดับฐานเจดีย์ทรงปราสาทยอด (พระปรางค์) วัดวรเชตุเทพบำรุง การมีลวดลายประกอบที่เป็นรูปวงโค้งควรเป็นลักษณะที่สืบเนื่องจากลวดลายในอิทธิพลศิลปะจีน​

    อนึ่งลายกลีบบัวประกอบด้วย เส้นโค้ง ๒ เส้นขมวดปลายด้านบน ภานในกลีบประดิษฐ์ลายรูปสามเหลี่ยม หรือรูปใบไม้ห้อยหัวลง ที่ได้กล่าวถึงมาก่อนมากกว่า ๒ หรือ ๓ ครั้งในเรื่องลายกลีบบัวมีไส้ (เป่า-เชียง-ฮวา) ซึ่งเริ่มปรากฏตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง ทำสืบต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน และเป็นที่นิยมแพร่หลายในรัชกาลจักรพรรดิหวันหลี้ (Wan-Li) ในราชวงศ์หมิง และลายกลีบบัวมีไส้นี้ได้พบในศิลปะล้านนา เช่นในเจดีย์วัดป่าสัก เชียงแสน และยังพบที่มีลักษณะคล้ายกันในจิตรกรรมฝาผนังวิหารปยะตองสู ในศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกาม​

    แต่ลวดลายจากทั้งสองสมัยศิลปะที่กล่าวมา มีลักษณะร่วมกันบางประการที่แตกต่างไปจากลายกลีบบัวมีใส้ในศิลปะอยุธยา จึงอาจกล่าวได้ว่าต่างฝ่ายต่างรับรู้รูปแบบอิทธิพลจากจีน โดยกลีบบัวจากเจดีย์วัดป่าสักอาจรับมาโดยผ่านทางพม่าหรือรับมาโดยตรงจากจีน อนึ่งในเบื้องต้นแล้วลายกลีบบัวมีใส้ในศิลปะของกรุงศรีอยุธยาก็อาจรับมาโดยตรงก่อนจะสืบทอดกันมา หรืออาจรับโดยผ่านมาจากศิลปะล้านนาด้วยก็ได้ (หรือได้รับอิทธิพลมาจากชาวจีนในสมัยนั้น...ความเห็นทางสายธาตุ)

    ในกรุงศรีอยุธยา ลายดังกล่าวสืบทอดกันมาโดยตลอดผ่านระยะของกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เช่นที่ปรากฏที่งานสร้างเพิ่มเติมในวัดมหาธาตุ หรือวัดวรเชตุเทพบำรุง

    ลายปูนปั้น กลีบบัวมีใส้ ประดับส่วนฐานของเจดีย์ราย (มีที่เรียกว่า เจดีย์คะแนน เพราะเป็นเจดีย์ขนาดเล็ก คงก่อเพิ่มเติมคราวบูรณะ โดยแทรกระหว่างเจดีย์ขนาดใหญ่กว่า) อยู่ภายในวัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา ศิลปะอยุธยาตอนกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ลักษณะลายกลีบบัวที่คลี่คลายมามากแล้วนี้ ยังสะท้อนให้เห็นความเกี่ยวข้องกับแรงบันดาลใจจากลายกลีบบัวของจีน (เป่า-เชียง-ฮวา)​


    สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเป็นผู้ทำนุบำรุงวัดมหาธาตุและเป็นผู้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่เจดีย์วัดมหาธาตุด้วย

    ลักษณะเด่นๆอีกอย่างคือ ในรัชสมัยของพระเจ้าปราสาททองนั้น ทรงนำย่อมุมไม้สิบสอง มาเป็นแบบของการสร้างเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    คำถามทิ้งท้ายความเห็นนี้ก็คือ ทำไมสมเด็จพระเอกาทศรถจึงสร้างพระปรางค์ประธานเป็นศิลปะเขมรแทนการสร้างทรงเจดีย์ระฆังคว่ำที่นิยมกันในสมัยนั้น น่าจะมีที่มาที่ไปอยู่ค่ะ จะลองเสาะหาข้อมูลดูค่ะ
     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจดีย์คู่กันหน้าวัด สร้างอุทิศกุศลแด่บิดามารดาของผู้สร้าง ตามความเชื่อของคนโบราณ

    เพิ่งได้ทราบหลักการสร้างเจดีย์คู่ไว้หน้าวัด ซึ่งคนโบราณสมัยอยุธยาจนมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จะสร้างเพื่ออุทิศกุศลจากการสร้างวัดนี้ให้กับบิดาและมารดาของผู้สร้าง

    วัดวรเชษฐ์นี้หากเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงสร้าง จะต้องมีเจดีย์คู่อยู่หน้าวัดด้วย เพื่ออุทิศให้กับสมเด็จพระมหาธรรมราชา และพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์ อันนี้ตามความคาดเดาของทางสายธาตุเองค่ะว่าน่าจะมีเจดีย์คู่

    ทั้งวัดชุมพลฯ บางปะอิน และวัดไชยวัฒนาราม มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองสององค์คู่กันอยู่หน้าวัดทั้งสองวัด พระเจ้าปราสาททองสร้างถวายพระราชกุศลแด่พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์ท่านเช่นกัน

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ หน้าวัดพระแก้วจะมีเจดีย์สีทอง 2 องค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างอุทิศถวายพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีเช่นกันค่ะ ตามรูป

    [​IMG]

    เจดีย์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่ออุทิศถวายแด่พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์ท่าน โดยองค์ทางทิศใต้ถวายพระราชบิดา องค์ทางทิศเหนือถวายพระราชมารดาค่ะ ​
     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความจริงเกี่ยวกับเจดีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย

    [​IMG]




    ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หมายเหตุบรรณาธิการ บทนิพนธ์เรื่อง "ข้อเท็จจริงพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย" ของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เรื่องนี้ พิมพ์ครั้งแรกในหนังสือธุรกิจก้าวหน้า (ฉบับที่ ๒๒ เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๓) ต่อมาพิมพ์รวมเล่มในหนังสือชื่อ มรดกไทย เหตุที่ขอมาพิมพ์ซ้ำอีกก็เพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ให้ผู้สนใจสืบค้น ค้นคว้าต่อไป

    สมเด็จพระสุริโยทัย ทรงเป็นวีรสตรีของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ได้เสด็จติดตามพระราชสวามีสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา โดยแต่งกายปลอมแปลงพระองค์เป็นชายออกรบกับพม่า ตามพงศาวดารได้กล่าวว่า พระเจ้าแปรซึ่งครองเมืองแปรของพม่า ได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาร่วมกับพระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชเวตี้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงออกมารับศึกด้วยพระองค์เอง และขณะชนช้างกับพระเจ้าแปรนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเพลี่ยงพล้ำเสียทีแก่พระเจ้าแปร สมเด็จพระสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็น จึงทรงไสช้างเข้าไปขวางและทรงช่วยเหลือพระราชสวามีไว้ได้ แต่พระองค์เองต้องสิ้นพระชนม์ในสนามรบ ครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิสามารถนำพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยกลับเข้ามาในพระนครศรีอยุธยาได้ และเมื่อกองทัพพม่าถอยกลับไปแล้ว ก็ได้โปรดให้พระราชทานเพลิงพระศพที่ในสวนหลวงซึ่งคงเป็นที่โปรดเสด็จประพาสของพระองค์ หลังจากนั้นได้โปรดให้สร้างวัดขึ้นที่นั่น ชื่อวัดสวนหลวงสบสวรรค์

    คุณหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ซึ่งเคยเป็นภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและเคยรับราชการใกล้ชิดสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เคยเล่าให้ฟังว่า เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นเจดีย์ไม้สิบสอง คือย่อมุมเป็น ๓ มุม แต่ละทิศที่เราเห็นอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบันนี้ ความจริงแล้วไม่ใช่เจดีย์องค์เดิมที่บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระสุริโยทัย กล่าวคือเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว วัดสวนหลวงสบสวรรค์กลายเป็นวัดร้าง ต่อมาในระยะหลังได้กลายมาเป็นค่ายทหาร เจดีย์หลายองค์ที่มีอยู่เป็นอุปสรรคต่อการซ้อมยิงปืนของทหาร ทางทหารจึงได้แจ้งไปยังกรุงเทพฯ เพื่อขออนุญาตรื้อเจดีย์ทิ้งเสีย ทางกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็อนุญาตให้รื้อได้แต่ขอให้คงพระเจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระสุริโยทัยไว้ ทหารจึงได้จัดการรื้อเจดีย์องค์อื่นออกหมด เหลือไว้แต่พระเจดีย์องค์ใหญ่ที่สุด คือพระเจดีย์ไม้สิบสองที่เราเห็นในปัจจุบัน

    คุณหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ บอกว่าถ้าอยากรู้ความจริงให้ไปดูในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐฯ เพราะมีคำนำของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเขียนไว้ว่าให้ข้อความที่ถูกต้องแน่นอนกว่าพงศาวดารฉบับอื่นๆ และข้อความในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ก็ได้ระบุไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จออกไปรับศึกในครั้งนั้น พระอัครมเหสี คือสมเด็จพระสุริโยทัยกับพระราชบุตรีได้ตามเสด็จออกไปด้วย โดยทรงแต่งองค์เป็นชายทั้งคู่ และก็สิ้นพระชนม์ในสนามรบทั้งคู่เช่นกัน คุณหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์เล่าว่า ที่วัดสวนหลวงสบสวรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนที่ทหารจะรื้อพระเจดีย์ลง มีเจดีย์ทรงกลมแฝด ๒ องค์ ซึ่งคงสร้างสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เป็นสมัยกลางของอยุธยา เชื่อว่าเจดีย์ไม้สิบสองยังไม่เกิด เจดีย์ไม้สิบสองเพิ่งมาเกิดในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง คือสมัยอยุธยาตอนปลายแล้วนั่นเอง ดังนั้นเข้าใจว่าเจดีย์ทรงกลมแฝด ๒ องค์ จึงน่าจะเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระสุริโยทัยองค์หนึ่งและพระราชบุตรีที่สิ้นพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แต่ด้วยเหตุที่ทหารในยุคนั้นไม่เข้าใจ และพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ เพิ่งมาค้นพบในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ แล้ว เจดีย์ทรงกลมทั้ง ๒ องค์จึงถูกรื้อทิ้งไป

    นอกจากนี้แล้วยังมีอีกท่านหนึ่งชื่อ อุ้ย ซึ่งทำงานอยู่กับพระยาโบราณราชธานินทร์ ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาลที่พระนครศรีอยุธยาเป็นผู้ที่รู้เรื่องราวอยุธยาเป็นอย่างดี ก็ยืนยันว่าเรื่องนี้ถูกต้อง จึงเชื่อว่าพระเจดีย์ศรีสุริโยทัยองค์ที่เป็นไม้สิบสองที่เห็นในปัจจุบัน ไม่ใช่พระเจดีย์สร้างในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

    แต่เมื่อเร็วๆ นี้มีอาจารย์ท่านหนึ่งที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คือ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม ได้ทำการค้นคว้าทางด้านวิวัฒนาการของศิลปะ และผลออกมาว่า เจดีย์ไม้สิบสององค์นี้ มีมาแล้วตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ดังนั้น ขณะนี้จึงไม่ทราบแน่ว่า เจดีย์องค์ใหญ่ไม้สิบสองที่เห็นอยู่ทุกวันนี้เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัยหรือไม่

    อย่างไรก็ตาม ในส่วนตัวแล้วมีความเห็นว่า ไม่ว่าเจดีย์องค์ใหญ่ไม้สิบสองที่เห็นอยู่ทุกวันนี้จะเป็นองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัยหรือไม่ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะถึงอย่างไรเสียสมเด็จพระสุริโยทัยก็ทรงเป็นวีรสตรีของชาวไทยอยู่นั่นเอง เมื่อเร็วๆ นี้ กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะและขุดค้นภายในพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย ปรากฏว่าได้ค้นพบพระธาตุของพระอรหันต์เป็นจำนวนมากใส่ผอบไว้ แต่ไม่พบพระอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัย




    ความเห็นน่าสนใจค่ะ เพราะที่วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) ก็มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างเพื่อถวายสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่วัดวรเชษฐ์จะเป็นทรงสูงชลูด แต่ถ้าเป็นศิลปะของพระเจ้าปราสาททอง จะเป็นทรงอ้วนป้อม มีสัดส่วนอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัศ ที่สนใจวัดสบสวรรค์เพราะ







    อ้างอิงจาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2009
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) กับ วัดวรเชษฐาราม

    ประวัติและความสำคัญ

    พระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระเอกาทศรถทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเชษฐาของพระองค์โดยกล่าวชื่อวัดไว้ในพระราชพงศาวดารว่า “วัดวรเชษฐ์” บ้าง “วัดวรเชษฐาราม” บ้าง แต่มีวัดร้างในเขตพระนครศรีอยุธยาที่เรียกชื่อทำนองเดียวกันจำนวน ๒ แห่ง

    แห่งแรกตั้งอยู่ในกำแพงเมืองซึ่งในแผนที่พระนครศรีอยุธยาของพระยาโบราณราชธานินทร์ พ.ศ. ๒๔๖๙ ระบุชื่อว่า “วัดวรเชษฐาราม” ยังเป็นชื่อเรียกในปัจจุบัน

    แห่งที่สองตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทิศตะวันตกซึ่งในแผนที่พระนครศรีอยุธยาของ ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ระบุชื่อว่า “วัดประเชด” แต่หลักฐานในคำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่า กองทัพของพม่าทัพหนึ่งที่ยกเข้ามา ล้อมกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ตั้งอยู่ที่ “วัดวรเชษฐ์”

    ดังนั้น ต่อไปนี้จะใช้คำว่า “วัดวรเชษฐาราม” เมื่อกล่าวถึงวัดที่ตั้งอยู่ในเมือง และใช้คำว่า “วัดวรเชษฐ์” เมื่อกล่าวถึงวัดที่ตั้งอยู่นอกเมือง

    พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวเนื้อความตรงกัน เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถทรงราชาภิเษก ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๘ “ทรงสร้างวัดวรเชษฐารามวิหารอันรจนา พระพุทธปฏิมามหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สำเร็จกุฎีสถานปราการสมด้วยอรัญวาสี แล้วก็สร้างพระไตรปิฏกธรรมจบบริบูรณ์ทั้งพระบาลีและอรรถกถาฎีกาคันถีวิวรณ์ทั้งปวง จึงแต่งหอพระสัทธรรมเสร็จก็นิมนต์พระสงฆ์อรัญวาสีผู้ทรงศีลาธิคุณอันวิเศษมาอยู่ครองพระวรเชษฐารามนั้นแล้ว ก็แต่งขุนหมื่นข้าหลวงไว้สำหรับอารามนั้น แล้วจำหน่ายพระราชทรัพย์ไว้ให้แต่งจตุปัจจัยไทยทานถวายแก่พระสงฆ์เป็นนิจกาล แล้วให้แต่งฉทานศาลา แล้วประสาทพระราชทรัพย์ ให้แต่งโภชนาหารจังหันถวายแก่ภิกษุสงฆ์เป็นนิตยภัตรมิได้ขาด”

    การก่อสร้างตามนัยแห่งพงศาวดารดังกล่าวมาเป็นการก่อสร้างก่อนที่จะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ส่วนคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถได้ครองราชสมบัติแล้ว จึงให้ทำพระเมรุถวายพระเพลิงพระเชษฐาธิราช แล้วทรงสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลถวายพระเชษฐาธิราชวัดหนึ่ง พระราชทานนามว่า วัดวรเชษฐ์ และคำให้การขุนหลวงหาวัดให้ข้อมูลที่แตกต่างออกไปว่าสมเด็จพระเอกาทศรถ สร้างวัดไว้ที่ถวายพระเพลิงพระนเรศวรแล้วจึงสมมุตินามเรียกว่า วัดสบสวรรค์ พระองค์จึงสร้างวัดไว้ที่สวนฉลองพระองค์พระเชษฐาวัดหนึ่ง จึงสมมุตินามเรียกว่า วัดวรเชษฐาราม

    แต่วัดสบสวรรค์นั้นเป็นที่เชื่อกันในหมู่นักวิชาการแล้วว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกสมเด็จพระสุริโยทัย ส่วนตำแหน่งที่ตั้งยังคงมีข้อโต้แย้งกันอยู่บ้าง ในชั้นนี้จึงน่าจะสรุปได้ว่า สมเด็จพระเอกาทศรถทรงโปรดให้สร้างวัดเพื่อถวายพระราชกุศลและเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเชษฐาของพระองค์ วัดดังกล่าวเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี จึงมีประเด็นในวงวิชาการว่าวัดใดควรจะเป็นวัดที่สมเด็จพระเอการทศรถทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งมีสาระสำคัญควรยกขึ้นมาพิจารณาดังนี้

    พลฯ's Site - วัดวรเชษฐ์
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) กับ วัดวรเชษฐาราม

    ๑. พระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงนิมนต์พระสงฆ์อรัญวาสี มาครองวัด ดังนั้นวัดนี้จึงเป็นวัดอรัญวาสี หลักฐานเกี่ยวกับการแบ่งวัดพระสงฆ์ในพุทธศาสนาออกเป็น ๒ ฝ่าย ตามวัตรปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์เป็นฝ่ายคามวาสีและฝ่ายอรัญวาสีมีมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย การแบ่งดังกล่าวปรากฏต่อมาในสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตามลำดับ

    พระสงฆ์แต่ละฝ่ายมีพระสังฆราชเป็นประมุขปกครองของตนเอง พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีมักอาศัยอยู่ในเขตชุมชนใฝ่ใจศึกษาพระปริยัติธรรม คือ มีความมุ่งหมายที่จะรักษาพระสูตร พระธรรม พระวินัย หรือ พระไตรปิฎกไว้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้มั่นคง และมีหน้าที่สั่งสอนศีลธรรมและพระศาสนาต่อชุมชนด้วย

    ส่วนพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีมักอยู่อาศัยในเขตป่าเขาห่างจากชุมชน เป็นภิกษุที่มุ่งศึกษาทางปฏิบัติเรียกว่า วิปัสสนาธุระในสมัยสุโขทัยที่ตั้งของวัดฝ่ายอรัญวาสีมักจะอยู่นอกเมืองไปทางด้านทิศตะวันออก เช่น เขตอรัญญิกของเมืองสุโขทัย และเมืองกำแพงเพชร เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นหลักเกณฑ์ที่ยึดถือปฏิบัติในระยะเวลานั้น ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวดูเหมือนว่าไม่เป็นข้อบังคับในสมัยอยุธยา

    เนื่องจากมีหลักฐานในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมเรื่องลำดับตำแหน่งยศของพระสงฆ์อยุธยา กล่าวถึงพระผู้ครองวัดอรัญวาสีหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในเขตชุมชนภายในกำแพงเมือง ได้แก่ พระธรรมโคดมวัดธรรมิกราช พระธรรมเจดีย์วัดสวนหลวงสบสวรรค์ พระโพธิวงศ์วัดสวนหลวงค้างคาว พระธรรมสารเถรวัดปราสาท พระญานสมโพธิวัดป่าตอง พระอริยวงศ์มุนีวัดวรเชษฐาราม พระนิกรมวัดธงไชย (วัดวังไชย) และพระญาณรังษีวัดสาทติชน ดังนั้น วัดและพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีในสมัยอยุธยาอยู่อาศัยในวัดทั้งที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองและนอกเมือง

    ดังนั้นทั้งวัดวรเชษฐาราม และวัดวรเชษฐ์ จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถเป็นวัดอรัญวาสีได้ทั้ง ๒ แห่ง


    พลฯ's Site - วัดวรเชษฐ์
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) กับ วัดวรเชษฐาราม

    ๒. วัดซึ่งสมเด็จพระเอกาทศรถทรงโปรดให้สร้างขึ้นนั้นน่าจะเป็นการสร้างวัดใหม่ไม่ใช่การปฎิสังขรณ์วัดเก่า เพื่อให้สมพระเกียรติพระเชษฐาที่พระองค์ให้ความเคารพ รักใคร่ และมีความผูกพันกันมาตั้งแต่เยาว์วัย

    หากพิจารณาสถาปัตยกรรมที่สร้างเป็นประธานของวัดวรเชษฐ์ ทั้ง ๒ แห่ง มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ต่างกัน

    วัดวรเชษฐารามมีเจดีย์ทรงระฆังเป็นประธานของวัด เจดีย์องค์ที่สร้างขึ้นครั้งแรก ประกอบด้วยฐานเขียงรองรับฐานบัว ๑ ชั้น ถัดขึ้นไปน่าจะเป็นมาลัยลูกแก้ว ซ้อนกัน ๓ ชั้น บัวปากระฆัง องค์ระฆังเตี้ย บัลลังก์สี่เหลี่ยมมีเสาหานรองรับปล้องไฉนและปลีที่หักลงแล้ว ระเบียบของเจดีย์ทรงระฆังดังกล่าวปรากฏมาแล้วอย่างน้อยเมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๑ ที่เจดีย์ประธานและเจดีย์ราย (องค์ในซึ่งถูกห่อหุ้มในคราวปฏิสังขรณ์) วัดมเหยงคณ์ ปรากฏต่อมาที่วัดพระศรีสรรเพชญ์สร้าง พ.ศ.๒๐๓๕ ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ยังพบหลักฐานของเจดีย์ทรงระฆังแบบมีซุ้มทิศ (เจดีย์ประธาน ๓ องค์ และเจดีย์รายองค์มุมทั้ง ๔ องค์) และแบบไม่มีซุ้มทิศ (เจดีย์ราย) เชื่อว่าเป็นการก่อสร้างครั้งเดียวกัน ดังนั้นเจดีย์ทรงกลมทั้ง ๒ แบบจึงน่าจะมีวิวัฒนาการร่วมกันมา หลังจากนั้นเจดีย์ทรงระฆังแบบไม่มีซุ้มทิศปรากฏว่า

    มีการก่อสร้างเป็นเจดีย์รายองค์หนึ่งด้านหลังวัดมหาธาตุซึ่งน่าจะเป็นงานก่อสร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองคราวปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดมหาธาตุ ด้วยเหตุนี้เจดีย์ประธานวัดวรเชษฐารามจึงน่าจะมีอายุการก่อสร้างระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ได้ ดังนั้น วัดวรเชษฐารามจึงอาจเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๔๘ ก็ได้

    วัดวรเชษฐ์สร้างพระปรางค์เป็นประธานของวัด องค์พระปรางค์ก่อฐานบัวลูกฟัก ซ้อนกัน ๓ ชั้น รองรับเรือนธาตุซึ่งมีมุขทิศยื่นออกมาทั้ง ๔ ด้าน หลังคามุขทิศเป็นหลังคา ลด ๓ ชั้นมีบันไดทางขึ้นสู่มุขทิศทั้ง ๔ ด้าน โดยด้านตะวันออกเป็นทางเข้าสู่เรือนธาตุ ส่วนมุขทิศอีก ๓ ด้าน เป็นมุขตันสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนยอดเป็นชั้นรัดประคด ซ้อนกัน ๗ ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งกลีบขนุนและซุ้มบันแถลง ส่วนบนสุดคงเป็นรูปดอกบัวตูมรองรับนภศูลซึ่งหลุดหายไปแล้ว ปรางค์นิยมนำมาก่อสร้างเป็นประธานของวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น วัดพุทไธสวรรย์ วัดพระราม วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดส้ม และวัดลังกา เป็นต้น พระปรางค์วัดวรเชษฐ์เป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น โดยซุ้มทิศทั้ง ๔ ด้าน เริ่มยื่นออกมาจากเรือนธาตุมากกว่าปรางค์ระยะแรก รูปแบบของพระปรางค์ ดังกล่าวน่าจะให้อิทธิพลต่อการก่อสร้างพระปรางค์วัดไชยวัฒนารามซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๓

    ดังนั้นพระปรางค์ที่วัดวรเชษฐ์จึงน่าจะเป็นงานก่อสร้างก่อนพระปรางค์ประธานวัดไชยวัฒนารามไม่นานนัก อาจเป็นงานก่อสร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ตอนต้นถึงตอนกลางและสามารถเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เช่นเดียวกัน



    น่าสนใจค่ะ ระยะการสร้างห่างกัน 25 ปี จึงคิดว่าพระปรางค์ที่วัดวรเชษฐ์(นอกเกาะ) น่าจะมีอิทธิพลต่อการสร้างวัดไชยวัฒนาราม และตามความเชื่อของทางสายธาตุที่ว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเป็นพระโอรสของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ความเห็นตรงนี้ก็มีน้ำหนักมากอยู่ค่ะ

    หรือแม้แต่ที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเป็นพระโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ อิทธิพลการสร้างพระปรางค์ทีวัดวรเชษฐ ซึ่งสมัยที่สร้างพระเจ้าปราสาททองก็น่าจะอยู่ร่วมสร้างในคราวนั้นด้วย ก็คงทำให้พระเจ้าปราสาททองมีแรงบันดาลพระทัยสร้างพระปรางค์ประธานวัด ไชยวัฒนาราม

    พลฯ's Site - วัดวรเชษฐ์
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) กับ วัดวรเชษฐาราม

    ๓. ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นเวลาที่กรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติอย่างกว้างขวาง สภาพบ้านเรือนมีความสงบสุขปราศจากศึกสงคราม พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดีซึ่ง

    คำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า แม้แต่พระองค์เองก็ได้ทรงเล่าเรียนพระกรรมฐานมิได้ขาด แม้ว่าไม่มีหลักฐานใดที่จะบ่งชี้ให้เห็นชัดว่า พระองค์ทรงโปรดที่จะบำเพ็ญพระราชกุศลที่วัดใดเป็นพิเศษ แต่น่าเชื่อว่า วัดวรเชษฐ์ที่พระองค์ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของพระเชษฐาธิราชที่พระองค์ทรงให้ความเคารพรักใคร่และผูกพันเป็นที่สุดนั้น น่าจะเป็นวัดที่พระองค์ทรงโปรดทำนุบำรุงเป็นพิเศษและคงจะเสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลอยู่เป็นนิจ

    เมื่อเป็นดังนี้วัดวรเชษฐารามตั้งอยู่ใกล้พระราชวังที่พระองค์สามารถเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระกรรมฐานได้สะดวกและบ่อยครั้ง แต่วัดวรเชษฐ์แม้จะอยู่นอกเมืองก็มิใช่หนทางไกลที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากมีถนนโบราณสายหนึ่งยังคงมีร่องรอยอยู่ทุกวันนี้ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นสำหรับเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดนี้โดยเฉพาะ

    แนวถนนดังกล่าวเป็นถนนที่สร้างโดยถมดินให้สูงขึ้นและอาจเป็นถนนปูอิฐตัดเป็นแนวตรงจากด้านหน้าวัดเข้าสู่ตัวเมืองชนแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างวัดราชพลีกับวัดกษัตราธิราชฝั่งตรงข้ามพระราชวังหลัง ตำแหน่งนั้นคงจะมีท่าเรือ ถนนเส้นนี้มีความสำคัญอยู่มิใช่น้อยเพราะเป็นสิ่งที่แสดงถึงความสำคัญของวัดประเชดเป็นอย่างดีและหลักฐานที่มีในปัจจุบัน ถนนสายนี้เป็นถนนเพียงเส้นเดียวที่สร้างขึ้นนอกเมือง

    ประเด็นที่ยกขึ้นมาพิจารณาทั้ง ๓ ประเด็น แสดงถึงหลักฐานและความสำคัญของวัด ทั้งสองมีน้ำหนักเท่ากัน ซึ่งคงจะไม่เพียงพอที่จะตัดสินว่าแห่งใดคือวัดวรเชษฐ์ที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แม้ว่าจะมีการ ขุดค้นเพื่อเสาะหาพระบรมอัฐิก็ตาม เพราะหากว่าบังเอิญพบอัฐิซึ่งอาจจะยังคงฝังอยู่ก็คงไม่มี วิธีการใด ๆ ที่จะกำหนดและบ่งชี้ไปได้ว่าเป็นอัฐิของผู้ใดด้วยอัฐิซึ่งเป็นกระดูกของมนุษย์ที่เผาไฟย่อมมีสัณฐานเช่นเดียวกัน


    ทางสายธาตุกำลังสนใจแรงบันดาลใจที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างพระปรางค์ที่วัดวรเชษฐ์แทนที่จะเป็นเจดีย์ทรงระฆัง จะว่าไปแล้ว ที่วัดวรเชษฐ์นอกเกาะมีทรงเจดีย์ทุกแบบค่ะ

    มีทั้ง เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ บรรจุอัฐิสมเด็จพระพนรัตน์หลายพระองค์ พระปรางค์องค์ประธาน เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่สร้างถวายพระราชกุศลสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา เจดีย์องค์เล็ก (ความเห็นส่วนตัวคือเห็นเจดีย์องค์เล็กนี้คล้ายๆกับเจดีย์เล็กที่วัดชุมพลฯ หลังโบสถ์

    เห็นเขาวิเคราะห์เกี่ยวกับวัดวรเชษฐ์ได้น่าสนใจพอสมควรจึงนำมาเผยแพร่กันจากลิงค์นี้ค่ะ
    พลฯ's Site - วัดวรเชษฐ์
     
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ถ้าตามพงศาวดารมีความเห็นดังนี้ ช่วงนั้น พระนางสุวัฒน์มณีรัตนา(เจ้าขรัวมณีจันทร์) ต้องทรงเข้ามาช่วยสร้าง จึงปรากฎหลักฐานลวดลายประดับกระบวนจีนและที่วัดวรเชษฐษราม ซึ่งตั้งอยู่ในเกาะเมืองไม่มีลวดลายประดับกระบวนจีนเช่นนี้ และลายประดับกระบวนจีนนี้ได้ปรากฏที่วัดไชยวัฒนารามด้วย เป็นลายพันธุ์พฤกษา ลายก้านขดที่เป็นลายประดับที่ได้รับแรงอิทธิพลมาจากจีน ที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเลือกใช้ประดับ พระองค์ท่านทรงต้องมีส่วนเกี่ยวกับจีนอยู่บ้าง

    เรื่องจีนอันเกี่ยวเนื่องกับพระเจ้าปราสาททองมีปรากฎในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสร้างหอเหมมณเฑียรเทวราช ทรงสร้างเทวรูปพระเจ้าปราสาททอง โดยจัดกระบวนแห่พระเทวรูปขึ้นไปจากกรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2419 เป็นกระบวนแห่ที่ใหญ่โตมาก วันเสาร์เป็นพิธีไทย วันรุ่งขึ้นคือวันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2419 เป็นการกงเต๊กมีองกล่ำเป็นประธานกับพระญวนอีก 4 องค์ จัดตั้งเครื่องโต๊ะที่บูชา มีโต๊ะจีน เครื่องลายคราม 3 โต๊ะ โต๊ะจีนเครื่องทองเหลือง 6 โต๊ะ มีเขาเงิน เขาทองคู่ฯ พระญวนก็ทำการกงเต๊กตามธรรมเนียม มีพระบรมราชโองการให้พระยานรนาถภักดีกับจีนตาด จุดเทียนธูปเทียนสังเวยเส้น จุดประทัดตามอย่างตามธรรมเนียมจีน สิ้นสุดพระราชพิธี พระพุทธเจ้าหลวงยังได้มีพิธีทิ้งกระจาดของต่างๆ ทรงโปรยฉลากพระราชทานแก่ราษฎร การพระราชพิธีนี้จัดอยู่ถึง 3 วันที่พระราชวังบางปะอิน พระเจ้าปราสาททองคงมีส่วนเชื้อสายจีนเป็นแน่ แม้แต่การเซ่นสังเวยอันเป็นแบบพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงประกอบก็เป็นทั้งแบบไทยและแบบจีน ...จากหนังสือการเมือง อุบายมารยา แบบมาคิอาเวลลี ของพระเจ้าปราสาททอง สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ

    ความเห็นส่วนตัวแล้ว ทางสายธาตุให้น้ำหนักมาทางวัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) ว่าเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงสร้างเพื่อถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2009
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    H. Pagode de la Reine

    [​IMG]


    กรุงสยามหรือยูเธีย (Ville de Siam ou Juthia) แผนที่กรุงศรีอยุธยาโดยฌาคส์ นิโกลาส์ เบแล็ง (Jacques Nicolas Bellin) นักเขียนแผนที่ชาวฝรั่งเศส รวมอยู่ในหนังสือ le Petit atlas maritime พิมพ์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. ๒๓๐๗ ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ เป็นแผนที่อีกแผ่นที่อาศัยต้นแบบจาก Plan de la Ville de Siam (ภาพจากห้องสมุดส่วนบุคคล ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช)​



    เมื่อวันศุกร์ซื้อหนังสือกรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง โดย ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช สำนักพิมพ์มติชน เปิดไปหน้า 81 จะได้คำอธิบายแผนที่ค่ะ​

    ตำแหน่ง H คือที่ตั้งวัดไชยวัฒนาราม? ในภาษาฝรั่งเศส คำว่า Reine นั้นแปลว่า พระราชินี (Queen)

    ดังนั้น Pagode de la Reine คือ พระเจดีย์ของพระราชินี แต่ตำแหน่ง H เยื้องมาทางทิศใต้ ซึ่งตรงทิศใต้ของกรุงศรีอยุธยาไม่มีพระเจดีย์ใด หรือจะมีแต่ยังไม่เคยเห็น​

    ทีนี้ดูตำแหน่งตะวันตก Pagode Royale พื้นที่ใหญ่กว่าบริเวณ H มาก เป็นไปได้ไหมที่จะหมายถึงเจดีย์วัดวรเชษฐ์ และบริเวณวัดวรเชษฐ์ทั้งหมด เพราะวัดวรเชษฐ์นี้ใหญ่มาก​

    ฝรั่งลอกแผนที่ตามๆกัน Scale ก็อาจจะผิดไป พอจะอนุมานได้หรือไม่ว่า​

    H. Pagode de la Reine ก็คือตำแหน่งวัดไชยวัฒนาราม (วัดที่มีเจดีย์บรรจุพระอัฐิพระมเหสีเอก (Queen)ของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่งค่ะ)


    ป.ล. ถ้าเป็นพระชนนี(ฐานะเป็นพระราชชนนีของพระเจ้าปราสาททอง) ในภาษาฝรั่งเศสต้องใช้คำว่าSa Mère. เปิดหาคำแปลจากหน้าคำแปลใน Google ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เมื่อได้ไปเยือนจังหวัด พระนครศรีอยุธยานั้น หลายท่านจะสังเกตุได้อย่างชัดเจนว่า ไม่ว่าจะเป็นวัด โบราณสถานเก่าแก่เหล่านั้น จะมีต้นพุทราเป็นจำนวนมาก และอาจจะสงสัยได้ว่า ทำไมถึงมีต้นพุทธามากมายขนาดนั้น นั้นก็เพราะว่าทางจังหวัดได้ปลูกไว้เป็นที่ระลึกเมื่อ เราย้อนไปถึงวันวาน ในวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้กระทำยุทธหัตถี กับสมเด็จพระมาหาอุปราชาของกรุงหงสางวดี ในวันทีในที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2135 (ซึ่งในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 18 มกราคม)ณ ตำบลท่าคอย (ซึ่งปัจจุบันเป็นตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี)ซึ่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีช้างทรงคู่พระบารมี คือเจ้าพระยาไชยานุภาพ หรือชื่อเดิมคือ พลายภูเขาทอง ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า เจ้าพระยาปราบหงสาวดี เชื่อกันว่าเป็นช้างที่มีความจงรักภักดี และมีความกล้าหาญเสียสละช่วยกอบกู้ชาติให้แผ่นดิน มีลักษณะทางคชลักษณ์ที่ดี ส่วนหนึ่งได้แก่หลังที่โค้งลาด คล้ายก้านกล้วย ได้กระทำยุทธหัตถี


    ซึ่งในพงศาวดาร ซึ่งระบุว่า ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรตัวเล็กกว่า พลายพัทธกอ ของพระมหาอุปราชา สู้แรงไม่ได้ แต่อาศัยยันโคนต้นพุทรา ทำให้มีแรงฮึดสู้และสมเด็จพระนเรศวรฟันด้วยพระแสงของ้าว ต้องคอของพระมหาอุปราชาขาดกับคอช้าง จากจดหมายเหตุของ Jacque De Coutre ระบุว่าเจ้าพระยาปราบหงสา ล้มลงในปี ค.ศ. 1596 (พ.ศ. 2139) หลังศึกยุทธหัตถี 4 ปี สมเด็จพระนเรศวรทรงโปรดได้มีการสร้างพระเมรุ เผาศพช้างหลวงอย่างสมพระเกียรติยศเจ้าพระยา ถึง 7 วัน 7 คืน
    และนี่แหละค่ะที่เป็นที่มาของการปลูกต้นพุทราไว้ตามสถานที่สำคัญๆและสถานที่ ประวัติศาสตร์ รวมทั้งเป็นต้นไม้มงคลที่นิยมปลุกไว้ที่บ้แต่จะปลูกไว้ทางทิศเหนือ นั้นก็เพราะคนปลูกเชื่อว่าจะโชคดี ถ้านำมาปลูกไม้ในบ้าน และอยากให้เด็กรุ่นหลังได้ดูไว้เป็นตัวอย่าง และเป็นอุทาหรณ์ไว้เตือนใจตัวเองว่า ขนาดสัตว์ยังมีความรักต่อแผ่นดินเกิด แต่เราเป็นคนมีสติปัญญาเฉียบแหลมมี2 มือ 2 เท้าที่มั่นคง เราก็ควรระลึกอยุ่เสมอว่าบรรพบุรุษของเราเสียเลือดเนื้อเพื่อรักษาแผ่นดิน เกิดเอาไว้ และเราได้ทำอะไรเพื่อแผ่นดินเกิดแล้วหรือยังถ้ายังวันนี้ยังไม่สายที่เราจะ เริ่มต้นทำในสิ่งที่ดีๆให้กับแผ่นดิน

    เอกสารชาวต่างชาติที่มีนามว่านาย Jacque De Coutre นี้หายากมากค่ะ ทางสายธาตุหาอยู่ เพราะเป็นคนฮอลันดาที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงสมัยมากกว่าชาวต่างชาติคนอื่น

    เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเจ้าพระยาปราบหงสา มาจากเวปไซด์นี้ค่ะ

    blog
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตัวอย่างงานเขียนของ Jacques De Coutre

     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    Siamois Bronze de la Reine

    [​IMG]

    Siamese Bronze of Queen ​

    คิดว่าเป็นไปได้ที่จะเป็นรูปหล่อของพระนางสุวัฒน์มณีรัตนา (เจ้าขรัวมณีจันทร์) ที่พระเจ้าปราสาททองทรงสร้างเพื่อเป็นรูปเคารพของพระองค์ท่าน ​


    ป.ล. ลองแต่งประโยคภาษาฝรั่งเศสเองค่ะ ที่เขียน Siamois Bronze de la Reine คำนี้ไม่มีในสารบบประวัติศาสตร์ชาติค่ะ คิดเองค่ะคือ อยากลองประสิทธิภาพของการแปลภาษาใน google โปรดอภัยด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    [​IMG]

    พระมาลาทองคำ ลายข้างๆเป็นลายดอกไม้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นดอกโบตั๋น ลายโบตั๋นนี้ในเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปะ ยังมีเรื่องอีกหลายหลาก โดยเฉพาะเครื่องทองที่พบในกรุวัดราชบูรณะ เครื่องทองส่วนที่เป็นเครื่องประดับ จะเป็นลายดอกโบตั๋นแทบทุกชิ้น หากรูปหล่อเจ้าหญิง/พระราชินี อยุธยา ตามรูปข้างบน หากมีลายดอกโบตั๋นประดับรอบพระมาลาที่ทรงอยู่ ก็จะมีน้ำหนักมากขึ้นในการคาดว่าเป็น​

    องค์พระมเหสี สุวัฒน์มณีรัตนา​

    รายโบตั๋นต่างๆบนเครื่องทองจะยังไม่พูดถึงในตอนนี้จะขอพูดเรื่องพระปรางค์ต่อไปก่อน​






    ป.ล. ทางสายธาตุขอแสดงความกังวลในพระอาการประชวร เมื่อสักครู่ฟังข่าวว่ามีข่าวลือ ไม่ทราบว่าข่าวลืออะไร และไม่สนใจจะทราบ ขอให้พระองค์ท่านหายจากอาการประชวรโดยเร็ว เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของข้าแผ่นดินไปตลอดกาล ข้าพระพุทธเจ้าขอรับประทานเจเพื่อถวายให้พระองค์หายจากพระประชวรโดยเร็ว ​

    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ​

    ทางสายธาตุ​
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    PLAN DE LA VILLE DE SIAM

    [​IMG]

    แผนที่กรุงศรีอยุธยาโดย ฌาคส์ นิโกลาส์ เบแล็ง นักเขียนแผนที่ชาวฝรั่งเศส ข้อมูลบนแผนที่ระบุว่าเขียนจากการสำรวจโดยนายช่างฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. ๒๒๓๐ สันนิษฐานว่านายช่างท่านนี้คือ เดอ ลา มาร์ (M. de la Mare) ผู้เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยาพร้อมคณะทูตฝรั่งเศสในปี พ.ศ. ๒๒๒๘ แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านเสนอว่า นายช่างนิรนามท่านนี้อาจเป็นโดมาส์ วัลการ์เนรา (Thomas Valgarneira) หรือ โวล็อง เดซ์ แวร์แก็ง (Vollant des Verquains) ​

    ภาพนี้มาจากเวปนี้ค่ะ Antique map by BELLIN - Plan de la ville de Siam.

    เนื้อหาเอามาจากหนังสือ กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง ของคุณ ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช​

    สมัยพระนารายณ์มี Hotel แล้วนะคะ อยู่ที่จุด N และ O​

    N. Hotel des Ambassadeurs de France

    O. Hotel de Phaucon

    K. Pagode de la feue Reine คือ ตำแหน่ง H. Pagode de la Reine ของแผนที่สีแดงข้างบน

    feue (ฝรั่งเศส) = late (อังกฤษ)

    Pagode de la feue Reine (ฝรั่งเศส) = Pagoda of the late Queen (อังกฤษ)​

    ปล.ที่ทางสายธาตุรู้จักคำว่า Reine ว่าแปลว่า Queen นี้ก็โดยบังเอิญเมื่ออาทิตย์ก่อนเปิดหนังสือเล่มหนึ่ง จำไม่ได้แล้วหนังสืออะไร ทั้งหน้าเป็นภาษาไทยเสียส่วนใหญ่ แต่มีคำว่า Reine เด่นขึ้นมา มีคำแปลกำกับด้วย แปลว่าพระราชินี

    พอวันเสาร์ที่ผ่านมา จับหนังสือกรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง จึงสดุดคำนี้ด้วยเพราะเหตุว่าเพิ่งผ่านตามาค่ะ ไม่เคยเรียนภาษาฝรั่งเศสมาก่อนค่ะ เพื่อให้แน่ใจก็เอามาแปลในหน้า คำแปลภาษาในเวปไซด์ google อีกที ก็แปลตรงกันไม่ผิดแน่นอน​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 13915.jpg
      13915.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83 KB
      เปิดดู:
      4,287
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2009
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขอแก้ไขว่า Jacques de Coutre from Bruges คือชาวเบลเยี่ยมค่ะ แต่ทำงานให้บริษัทโปรตุเกส ที่เข้ามา Siam ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชค่ะ

    Jacques de Coutre, a merchant from Bruges who spent 30 years in Asia including eight months in Siam in 1596 during the reign of King Naresuan,

    ชื่อของนาย Jacques de Coutre

    เคยเห็นอาจารย์ วรณัย พงศาชลากร อ่านว่า จ๊าคส์ เดอร์ ครู๊ท

    แต่ถ้าอ่านตามแบบหนังสือกรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง น่าจะอ่านว่า ฌาคส์ เดอ ครูท

    เสียงคล้ายๆกัน แต่จ๊าคส์ เดอร์ ครู๊ท นี้เคยไปพูดถึงให้หลานฟัง เขาหัวเราะเลย คนอะไร ชื่อ นายจ๊าก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2009
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจดีย์คู่ ประดิษฐานหน้าวัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    เจดีย์คู่



    [​IMG]

    [​IMG]


    ภาค ภาคเหนือ

    จังหวัด ตาก
    • สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก
    • ประวัติความเป็นมา
    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่า เจดีย์คู่นี้สร้างไว้แต่ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อคราวตีได้เมืองเชียงใหม่กลับคืนมาเป็นของไทย ทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ครั้งกระนั้น ต่อมาของเดิมคงจะชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงโปรดให้บูรณะขึ้นใหม่
    • ลักษณะทั่วไป
    เป็นเจดีย์คู่กัน ๒ องค์ ที่กำแพงและฐานเจดีย์ทำเป็นช่องสำหรับตามประทีปโดยรอบ

    • หลักฐานที่พบ
    เจดีย์คู่ ๒ องค์นี้ เป็นฝีมือช่างอยุธยา ที่ฐานเจดีย์มีช่องสำหรับตามประทีปโดยรอบ เป็นหลักฐานว่าน่าจะเป็นของที่สร้างหรือปฏิสังขรณ์แต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช เพราะช่องตามประทีปซึ่งทำไว้ตามกำแพงและฐานเจดีย์นั้นเป็นของที่นิยมสร้างใน สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    • เส้นทางสู่เจดีย์คู่
    ตั้งอยู่เชิงสะพานกิตติขจรฝั่งตะวันตก

    บางข้อมูลก็บอกว่าเป็นวัดที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสร้าง แต่ที่สนใจก็คือการสร้างเจดีย์คู่สององค์บนฐานเดียวกัน ซึ่งทางสายธาตุเห็นว่าพอจะรู้แล้วว่า เจดีย์คู่ที่วัดวรเชษฐ์(นอกเกาะ) น่าจะตั้งอยู่ตรงไหน ตามคติความเชื่อของคนโบราณที่ต้องสร้างเจดีย์คู่กันแบบนี้เพื่ออุทิศกุศลที่เกิดขึ้นจากการสร้างวัดให้กับบิดาและมารดาของผู้สร้าง พอดีเช้านี้ตื่นขึ้นมา เกิดความคิดว่าพอจะอนุมานได้แล้ว่า เจดีย์คู่หน้าวัด วรเชษฐ์ น่าจะตั้งอยู่ที่ไหน พอมีเวลาในเช้าวันนี้ก่อนจะออกจากบ้าน จิตบอกให้เขียนเลยก็นำมาลงไว้เลยแต่เช้าค่ะ


    ข้อมูลจาก http://www.openbase.in.th/node/8904
    และจาก http://www.openbase.in.th/node/8894<!-- /node-inner, /node -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2009
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจดีย์สององค์ คู่กันหน้าวัด วรเชษฐ์ (นอกเกาะ)

    [​IMG]

    ขออนุญาตินำรูปมาจากกระทู้คุณสร้อยฟ้ามาลา เพราะต้องการรูปกองอิฐด้านหลังคนชูสองนิ้ว (ให้มองข้ามคนชูสองนิ้วไป อิอิ)


    บนเนินอิฐนี้น่าจะเคยตั้งเจดีย์เล็กๆสององค์ ตามคติความเชื่อของคนโบราณที่สร้างเจดีย์คู่ไว้หน้าวัด เพื่ออุทิศกุศลผลบุญให้แก่บิดามารดาของผู้สร้างวัด

    หากวัดนี้เป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว พระองค์น่าจะทรงสร้างพระเจดีย์สององค์คู่กันไว้หน้าวัดด้วย และคิดว่ารูปทรงพระเจดีย์น่าจะคล้ายกับที่วัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนะคะ

    พระเจดีย์สององค์คู่กันนี้ สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างเพื่ออุทิศพระราชกุศลในการสร้างวัดให้กับสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระนางวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชบิดาและพระราชมารดา ของทั้งสามพระองค์ค่ะ

    ตอนที่ทางสายธาตุไปทำบุญที่วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) มักจะถามพระอาจารย์สาโรจน์เสมอว่า อิฐกองนี้มีไว้ทำไมเจ้าคะ ตอนนี้คิดว่าตนเองรู้คำตอบแล้ว ถ้าไม่ผิดจากที่คิด อิฐกองนี้เคยเป็นฐานประดิษฐานพระเจดีย์สององค์คู่กันค่ะ

    ขอบคุณสาวๆ พลังจิต ในกระทู้เมื่อสาว สาว พลังจิต ไปเที่ยวอยุธยา ของคุณสร้อยฟ้ามาลา http://palungjit.org/threads/เมื่อสาว-สาว-พลังจิต-ไปเที่ยวอยุธยา.161760/
     
  18. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +3,210
    สวัสดีค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณทางสายธาตุ ไม่ได้เจอกันนานเลย

    สบายดีหรือเปล่าคะ

    ตอนนี้กำลังเร่งทำ บทสวด ล้านนาบารมี ค่ะ

    ทุกๆวันก่อนนอน จะสวดมนตืไหว้พระ ให้ในหวงหายจากประชวร

    เด็กที่โรงเรียนนั่งสมาธิ กับบทเพลงโพชฌังคปริตให้ในหลวงหายประชวร

    ทุกวันค่ะ

    รักษาสุขภาพนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2009
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    คุณโมเยได้ทำในสิ่งที่ดีมากให้คนไทยค่ะ เพลงธรรมะล้านนาบารมี

    พี่ทางสายธาตุฟังแล้วดีใจว่ามีแล้วศิลปินไทยที่จะทำ ขอให้เจริญๆค่ะคุณโมเย

    ไม่รู้ใครจะได้ไปร่วมงานกฐินที่วัดวรเชษฐ์พรุ่งนี้บ้าง มีอะไรดีๆมาเล่ากันบ้างเน้อ

    ขอน้อมจิตน้อมใจถวายกฐินไปกับคณะที่จะไปทอดวันพรุ่งนี้ด้วย

    บุญอันใดที่ข้าพเจ้าไปเคยกระทำหรือกระทำอยู่ ขอบุญนั้นถวายแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ให้วัดของพระองค์ท่านกลับมามีความรุ่งเรืองดังเช่นกาลเก่าก่อนมา

    สาธุ อนุโมทนาบุญกับทุกท่าน
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจดีย์ทรงปราสาทยอด วัดวรเชษฐ์(นอกเกาะ)

    [​IMG]

    ปีนี้เป็นมีประวัติศาสตร์ไทยของชีวิตทางสายธาตุ ดังนั้นหนังสือใหม่ที่ซื้อทั้งหมดของปีนี้ จากงานสัปดาห์หนังสือเป็นประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ หนึ่งในจำนวนหนังสือใหม่ในครอบครองก็คือ หนังสืองานช่างหลวง แห่งแผ่นดิน ศิลปะอยุธยา ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ ที่หน้า 90 และ 91 ได้กล่าวถึงเจดีย์องค์นี้ไว้


    เจดีย์ทรงปราสาทยอดยุคกลาง

    เจดีย์ทรงปราสาทยอดของวัดวรเชตุเทพบำรุง (วัดวรเชษฐ์) รูปทรงโปร่งเพรียว พร้อมทั้งองค์ประกอบบางอย่างที่พัฒนายิ่งขึ้น (ในหนังสือหมายถึงพัฒนายิ่งขึ้นจากเจดีย์ทรงปราสาทยอดของวัดพระรามค่ะ...ทสธ) เช่นชุดฐานบัวลูกแก้วอกไก่มีจำนวนมุมเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องขึ้นไปที่เรือนธาตุที่ต่อด้วยชั้นซ้อนลดหลั่น ทรงระฆังกลายเป็นทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมรองรับยอดทรงกรวย ซึ่งเป็นบัวทรงคลุ่มเถาและเหลือลูกล่างเพียงลูกเดียว จึงไม่ต้องกล่าวถึงปลีที่ต่อเป็นยอดซึ่งหักหายไปด้วย (ยอดจะแหลมขึ้นไปอีกเป็นเมตรจากที่เห็นค่ะ..ทสธ) เจดีย์ทรงปราสาทยอดองค์หลังนี้ควรเป็นงานก่อสร้างระยะปลายของยุคกลาง อันเป็นคราวเดียวกับการสร้างปรางค์ประธานของวัดซึ่งได้กล่าวถึงมาแล้วว่า คงอยู่ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ



    และถ้าตามสันนิษฐานว่าเจดีย์คู่ที่ประดิษฐานหน้าวัดจะมีลวดลายแบบที่วัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว เจดีย์ทรงที่เห็นตามรูปด้านบนนั้นเรียกว่า เจดีย์ทรงเครื่อง

     

แชร์หน้านี้

Loading...