สาเหตุที่ฝึกสมาธิวิปัสสนา ได้ผลช้าและวิธีแก้ไข

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 10 เมษายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    สาเหตุสำคัญที่ทำให้ฝึกสมาธิหรือวิปัสสนาได้ผลช้า ก็คือ “ความสงสัย ไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ” ว่าทำถูกหรือผิด เป็นสิ่งขัดขวางความสำเร็จ และทำให้ไม่กล้าทำจริงจัง เมื่อไม่รู้ว่าถูกหรือผิด ก็เป็นการฝึกเดาเอา และลังเลไม่กล้าทำเต็มที่ ที่พบเห็นส่วนมากบอกให้ภาวนาว่า “พุท” เวลาหายใจเข้า และภาวนาว่า “โธ” เมื่อหายใจออก หรือให้ภาวนาอย่างอื่นไม่ให้คิดอะไร ซึ่งทำได้ยากเพราะจิตไม่มีตัวตนและไม่รู้ว่าจิตอยู่ที่ใดจึงบังคับยาก จิตกับลมหายใจเป็นคู่มิตรติดกัน ร่างกายไม่มีลมหายใจจิตก็ไม่อยู่ด้วย เมื่อลมหายใจดีสม่ำเสมอ จิตก็ดีด้วย เมื่อลมเสียจิตก็เสียด้วย การหายใจถูกต้องทำให้จิตเกิดสมาธิง่าย ครูจึงควรตรวจเป็นรายบุคคลว่า การหายใจถูกหรือผิด ถ้าผิด ผิดตรงไหน แก้อย่างไรจึงทำให้ฝึกได้ผลเร็ว

    การเริ่มฝึกสมาธิครั้งแรกให้หา “ที่ตั้งจิต” เสียก่อนโดยหายใจแรงๆ หลายๆครั้ง สังเกตดูว่าลมหายใจกระทบที่ใดมากหรือที่ซึ่งมีความไวในการรู้สึกว่าลมมากระทบได้ดีกว่าที่อื่น ในการฝึกสมาธิให้ใช้ตรงที่กระทบได้ดีนี้เป็น “ที่ตั้งจิต” คือรวมสติมารับรู้ลมหายใจตรงที่ตั้งจิตนั้น คนที่จมูกงุ้มมาก จะรู้สึกว่าลมหายใจไปกระทบได้ดี กระทบได้ไวที่ปลายจมูก ก็ให้ใช้ปลายจมูกเป็นที่ตั้งจิต คนที่ลมฝีปากเชิดมาก ก็จะรู้สึกลมกระทบได้ดีกระทบได้ไวที่ริมฝีปาก ก็ให้ใช้ริมฝีปากเป็นที่ตั้งจิต

    คนทั่วไปจะรู้สึกไวตรงรูจมูกทั้งสองไปพบกัน คนทั่วๆไปจึงใช้ตรงรูดั้งจมูกเป็นที่ตั้งจิต คือเป็นที่รวมสติคอยรู้ลมหายใจ แล้วเริ่มฝึกสมาธิโดยวิธีหายใจ สม่ำเสมอให้ถูกต้อง วิธีฝึกที่ง่ายใช้วิธีอัดเทปให้ภาวนา และหายใจตามเทป

    การหายใจที่ถูกต้องนั้นคือ หายใจ เบา – ยาว สม่ำเสมอต่อเนื่องกันไปเมื่อหายใจเข้าสุดให้หยุดได้นิดหนึ่ง ถ้าหยุดนานในตอนปลายลมเข้าและออกจะทำให้อึดอัดไม่ปลอดโปร่ง ทำให้มึนศีรษะเวียนศีรษะ จัดลมหายใจเข้ากับลมหายใจออกให้มีความยาวเท่าๆกัน คือสั้นหรือยาวกว่ากันไม่มาก การหายใจจะให้เบาเพียงใดยาวเพียงใด ผู้ฝึกจะต้องทดลองหายใจเบาขึ้นบ้างยาวขึ้นบ้าง หายใจสั้นลงบ้างหนักขึ้นบ้าง ตั้งใจสังเกตว่าหายใจลักษณะไหนสบายที่สุดเหมาะที่สุดก็ให้หายใจในลักษณะนั้นเรื่อยไป

    จำการหายใจที่สบายที่เหมาะนี้ให้แม่นยำ ซึ่งถือว่าเป็นการหายใจที่ถูกต้อง ในการฝึกครั้งต่อไป ก็ใช้วิธีหายใจ ตามที่ถูกต้องนี้ โดยไม่ต้องทดลองเหมือนครั้งแรกอีก เพียงแต่จัดเล็กน้อยให้มีความสบายปลอดโปร่ง แล้วหายใจลักษณะที่ถูกที่ดีนี้ต่อเนื่องกันไป

    ต่อไปก็พยายามรักษาการหายใจที่ถูกที่สบายนี้ไว้ตลอดไป ซึ่งจะทำให้สบายเพลิดเพลินไม่คิดเรื่องอื่นหรือลืมเรื่องอื่นเพราะความสบายและความเพลินเป็นเหตุ ต่อไปจิตซึ่งเป็นธรรมชาติรู้จะจัดให้การหายใจแผ่วเบาและยาวขึ้นพอเหมาะทำให้สบายมากขึ้น ผู้ฝึกมีหน้าที่สำคั_คือผ่อนตามคล้อยตามธรรมชาตินี้สมาธิก็จะดีขึ้นตามลำดับ

    อย่าฝืนและอย่าตั้งใจเปลี่ยนแปลงลมหายใจเอาเอง เพราะการฝืนและการตั้งใจจัดลมที่สบายอยู่แล้วเอาเองอีกเป็นการผิด เป็นการอยากที่จะให้ได้ผลดีเร็วขึ้น จึงเป็นกิเลสตัณหาทำให้สมาธิถอยจิตจะไม่สงบ เมื่อจิตถอยจากสมาธิหรือจิตไปคิดเรื่องอื่น ก็จำเป็นต้องจัดให้การหายใจถูกต้องใหม่ดังนี้เรื่อยไป

    การหายใจที่ไม่ถูกต้อง ส่วนมากจะผิดตอนหายใจออก คือหายใจออกมาหน่อยหนึ่งก็หยุดชะงักนิดหนึ่งนิดเดียว จึงทำให้ไม่รู้ว่ามีการหายใจหยุดชะงัก ที่ถูกลมหายใจต้องเดินต่อเนื่องไปไม่มีการหยุดชะงัก และมักจะผิดตรงปลายลมเข้าปลายลมออก ผิดที่หยุดนาน ที่หยุดได้นิดเดียว

    วิธีตรวจว่าลมหายใจหยุดชะงักหรือหยุดนานดังกล่าว ใช้วิธีดูเงาคอเสื้อ หรือดูที่ท้องที่หน้าอกถ้ามีการเคลื่อนไหวต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก หรือตอนปลายลมก็หยุดเดี๋ยวเดียวก็นับว่าถูก ถ้าจะตรวจด้วยตนเองก็ใช้วิธีดูเงาที่กระจก

    ทำความเข้าใจให้แน่นอนว่า การฝึกสมาธิวิปัสสนานั้นเป็นบุ_เป็นการทำความดี ผลย่อมดีแน่นอนไม่เร่งรีบให้ได้เร็วๆ รักษาความสบายไว้เป็นหลักสำคั_ปล่อยวางลืมเรื่องอื่นทั้งหมด

    มีอีกวิธีหนึ่งที่ง่ายในการเริ่มฝึกคืออัดเทปมีเสียงภาวนาว่า “พุท – โธ” ให้มีจังหวะหายใจเข้านาทีละ ๑๒ ครั้ง ประมาณ๔นาที แล้วอัดจังหวะหายใจเข้านาทีละ ๑๑ ครั้ง (นับเฉพาะหายใจเข้า) และอัดจังหวะหายใจเข้านาทีละ สิบครั้ง, นาทีละ ๘ ครั้ง, อีกจังหวะละ ๔ นาที ให้ผู้รับการฝึกทำสมาธิโดยหายใจตามเทป ตั้งใจสังเกตว่าจังหวะใดที่เหมาะกับตน คือมีความสบายปลอดโปร่งมากที่สุดก็ให้ทำสมาธิในจังหวะนั้นเรื่อยไป เมื่อจับการหายใจได้แม่นยำแล้ว ก็ไม่ต้องใช้เทป

    เมื่อลมและจิตละเอียดได้ส่วนกัน (อาจารย์ในดงใช้คำว่าจิตกับลมสมส่วนกัน) ลมหายใจจะแผ่วเบาลงเอง ต่อไปก็มีหน้าที่ผ่อนตาม คล้อยตาม ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

    ข้อน่าสังเกต ทั้งการฝึกสมาธิ วิปัสสนา จำเป็นต้องนำเอาธรรมหมวดอื่นๆที่เกี่ยวข้องมาร่วมขยายความให้แจ่มแจ้ง เพราะธรรมแต่ละหมวดกล่าวไว้เพียงสั้นๆ เนื่องด้วยมีรายละเอียดกล่าวไว้ในหมวดอื่นแล้ว


    ตัวอย่างเช่นใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” เริ่มต้น (จตุกะที่ ๑) ให้ทำการกำหนดลมหายใจให้เห็นกายในกาย มีประเด็น ๔ ขั้น คือ

    ๑. ลมหายใจเข้ายาวก็รู้ ลมหายใจออกยาวก็ให้รู้ชัด หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้นก็รู้ชัด

    ๒.ตั้งสติรู้อยู่เฉพาะลมหายใจ

    ๓.ระงับลมหายใจให้น้อยลง เบาลง จนถึงที่สุด (ระงับกายสังขาร)

    ๔.เห็นการเกิดและดับในกาย ถ้าเราหายใจไปตามธรรมดาเรื่อยๆ คอยรู้ว่าสั้นหรือยาว ก็ไม่เกิดสมาธิแน่ ต้องใช้ความรู้จากธรรมข้ออื่นคือ (ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์) และหาที่ตั้งจิตที่เหมาะเสียก่อนตามที่กล่าวข้างต้น ในเรื่องการระงับลมหายใจนั้นก็คือรักษาลมหายใจสบายไว้ได้ก็จะเกิดความสบายมากขึ้น จนเกิด “ ปิติ ” คือความอิ่มกาย อิ่มใจ ลมหายใจก็จะแผ่วเบาจนไม่รู้สึกว่าหายใจ ( ตามที่อธิบายมาอาศัยหลักในพระไตรปิฎกและคำสอนของพระอาจารย์ในดงลึกประกอบกับประสบการณ์ ที่อาจารย์พันเอกชม สุคันธรัต ฝึกและสอนศิษย์มานานกว่า ๒๕ปี )

    การฝึกที่ดีคือทำขั้นที่หนึ่งให้ได้ดีแล้วจึงฝึกขั้นต่อๆไป ให้ครบ ๔ ขั้น
    แล้วจึงพิจารณาจิต (เวทนา.....) ส่วนมากชอบฝึกข้ามขั้นจึงฝึกไม่ได้ผล

    สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี 10 อย่าง


    1.สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่า่งกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ 5)

    2.วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย

    3.สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง

    4.กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์

    5.พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ

    6.รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน

    7.อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฎฎะ

    8.มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี

    9.อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล

    10.อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ
    นักปฏิบัติที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอา สังโยชน์ เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบจิตกับ สังโยชน์ ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติอารมณ์ที่ละนั้นเอง

    สังโยชน์ทั้ง 10 ข้อนี้ ถ้าพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครอบ 10 อย่างโดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่า ท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล


    ---------------------------------------------

    http://www.larnbuddhism.com/webboard/forum8/thread1329.html
     
  2. runandyaow

    runandyaow Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอบคุณครับ
     
  3. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำธรรมะ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  4. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    แหะๆๆ อ่านไม่รู้เรื่องเลยอ่ะ ภาษาต่างดาว
     
  5. piya0101

    piya0101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +255
    ขอบคุณครับ
     
  6. wor150240

    wor150240 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +3
    เอาหนังสือจากเจ้าเดียวกับเจ้าของกระทู้มาฝาก

    [​IMG]

    หนังสือแนวคำสอนสมเด็จโต สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต
    เป็นไฟล์หนังสือขนาด5.36Mb จำนวน189หน้า
    เชิญโหลดได้ตามข้างล่างครับ


    Dowload

    -------------------------------------------------------------------------------------
    http://www.larnbuddhism.com/webboard/forum8/thread1329.html
     
  7. nui_sirada

    nui_sirada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2008
    โพสต์:
    399
    ค่าพลัง:
    +371
    ขอบคุณค่ะ
     
  8. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    ขอขอบพระคุณสำหรับกระทู้ดีๆ ครับ
    สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  9. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ของสมเด็จโต โหลดไม่ได้อ๊าคร้าบ อยากอ่านคร้าบ

    อ้อ เราฝึกแล้วก็มาเทียบอารมณ์ตัดสังโยชน์
    งั้นแปลว่า บรรลุธรรมเป็นปัตจัตตัง รู้เอง ไม่ต้องมีใครaprove
     
  10. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    "เมื่อลมและจิตละเอียดได้ส่วนกัน (อาจารย์ในดงใช้คำว่าจิตกับลมสมส่วนกัน) ลมหายใจจะแผ่วเบาลงเอง "

    เคล็ดวิธีก็นี่แหละ ตีความแตกเข้าใจภาษาธรรม ต้องปฏิบัติจนเข้าใจแจ้ง จะรู้ด้วยตนเองเอง ...........วันหนึ่ง ๆ ไม่มีสิ่งใด ๆ มารบกวนให้ยุ่ง ใจก็สงบง่าย ถ้าวันไหน ยุ่งวุ่นวาย ใจมันก็วุ่นวาย คิดมาก ไม่สงบ ...........ด้วยตัวท่านเอง ไม่ต้องอ้อนวอนใครเลย....
     
  11. awisoot

    awisoot Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +90
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้

    หนังสือแนวคำสอนสมเด็จโต สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...