ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกและคาถาชินบัญชรเป็นบทสวดที่ให้ผลร้อนหรือครับ ?

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย nababhat, 13 ตุลาคม 2009.

  1. nababhat

    nababhat สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
    คือเริ่มมาสวดมนต์เมื่อสองวันก่อนครับ แล้วมะกี้สวดทั้งยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกและคาถาชินบัญชร แล้วรู้สึกได้เลยว่าร้อนๆ แปลกๆ ครับ และผมมาลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ความตามนี้อะครับ

    http://www.geocities.com/thaniyo/dhamma0644_1.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2009
  2. Jeerachai_BK

    Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    ลิงค์ที่ถูกให้พูดถึงการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ รวมถึงการแผ่เมตตา เพื่อให้เรามีจิตใจที่ชุ่มชื่น จึงถูกเข้าใจว่าสวดมนต์ให้เย็น

    หากอ่านบทแปลของพระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ดังที่ถูกแสดงข้างล่าง

    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CJames%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:SimSun; panose-1:2 1 6 0 3 1 1 1 1 1; mso-font-alt:宋体; mso-font-charset:134; mso-generic-font-family:auto; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:3 135135232 16 0 262145 0;} @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} @font-face {font-family:"\@SimSun"; panose-1:2 1 6 0 3 1 1 1 1 1; mso-font-charset:134; mso-generic-font-family:auto; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:3 135135232 16 0 262145 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:SimSun; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman";} </style> <![endif]--> พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)<o></o>
    ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก<o></o>
    ๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า<o></o>
    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า<o></o>
    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า<o></o>
    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า<o></o>
    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า<o></o>
    ๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือยอดเยี่ยม<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส<o></o>
    ๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า<o></o>
    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ด้วยเศียรเกล้า<o></o>
    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า<o></o>
    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า<o></o>
    ๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว<o></o>
    ๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือน้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คืออากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์<o></o>
    ๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือสวรรค์ชั้นยามา<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือสวรรค์ชั้นดุสิต<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือสวรรค์ชั้นนิมมานรดี<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ<o></o>
    ๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือปฐมฌาน<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือทุติยฌาน<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือตติยฌาน<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือจตุตถฌาน<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือปัญจมฌาน<o></o>
    ๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คืออากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือวิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คืออากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ<o></o>
    ๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือพระโสดาปัตติมรรค<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือพระสกิทาคามิมรรค<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือพระอนาคามิมรรค<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือพระอรหัตตมรรค<o></o>
    ๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือพระโสดาปัตติผลและพระอรหัตตผล<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือพระสกิทาคามิผลและพระอรหัตตผล<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือพระอนาคามิผลและพระอรหัตตผล<o></o>
    ๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป<o></o>
    ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า<o></o>
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก<o></o>
    ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และนิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ<o></o>
    ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร<o></o>
    ๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต<o></o>
    ๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา<o></o>
    ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์<o></o>
    ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงสวรรค์ชั้นยามา<o></o>
    ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต<o></o>
    ๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต<o></o>
    ๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี<o></o>
    ๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี<o></o>
    ๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน<o></o>
    ๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด<o></o>
    ๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด<o></o>
    ๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด<o></o>
    ๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น<o></o>
    ๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว<o></o>
    ๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว<o></o>
    ๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว<o></o>
    ๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว<o></o>
    ๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง

    จะเห็นว่าเป็นบทสวดที่กล่าวถึง
    ๑. การสรรเสริญคุณความดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ๒. การนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เพื่อเป็นที่พึ่งและ
    เพื่อนำความสุขสวัสดีแก่ตัวผู้สวด

    เพราะฉะนั้น การรู้สึกร้อนไม่เกี่ยวกับบทสวดฯ ครับ แต่น่าจะเป็นความรู้สึกของแต่ละบุคคล เพราะขณะนั้นผู้สวดมีความตั้งใจมากและจดจ่อกับบทสวดฯ ร่างกายอาจจะไม่ผ่อนคลาย เป็นเหตุให้ตัวผู้สวดรู้สึกร้อนได้

    ให้ค่อยๆ สวดและทำใจสบายๆ จะทำให้เรารู้สึกเป็นสุขกับการสวดมนต์

    ธรรมรักษา ครับ ^_^
     
  3. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,463
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,012
    เอ ไม่นา ผมสวดเเล้วเย็นสงบมีสติสัมปชัญญะดีทุกครั้งครับ
     
  4. ประเสริฐ2522

    ประเสริฐ2522 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    658
    ค่าพลัง:
    +409
    สวดแล้วดีมากๆๆครับ....สวดทุกวันครับ...
     
  5. hrang_101

    hrang_101 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2009
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +48
    อนุโมทนาครับ ผมเคยอ่านของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านบอกว่าการสวดมนต์แล้วร้อนเป็นเพราะบทสวดนั้นมีแนวโน้มไปทางไสยศาสตร์..ยิ่งสวดมากมันมีอาถรรพณ์ ยิ่งสวดมากยิ่งร้อนเกิดอยากลองของ หาใครลองไม่ได้ก็ทะเลาะกับคนใกล้ตัวเอง เป็นเพราะพลังมนต์ไสยเวทย์บันดาลให้เป็นเช่นนั้น บทสวดที่เกิดพลังเย็นคือบทสวดที่วิเศษที่สุด พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วก็แผ่เมตตา จะนั่งสมาธิต่อก็ได้ เสร็จแล้วให้น้อมจิตอธิษฐานถึงบุญบารมีที่เราได้ปฎิบัติมา แล้วอุทิศให้มารดา บิดา ปู่ ย่า ตา ยาย สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน ทั้งหมดทั้งสิ้น ทั้งเจ้ากรรมนายเวร ให้มารับส่วนบุญที่เกิดจากการปฎิบัติของข้าพเจ้าในครั้งนี้...
     
  6. Tom_Om

    Tom_Om เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +411
    อนุโมทนาค่ะ เราสวดอยู่เหมือนกันนะ แต่ไม่เคยมีความรู้สึกนั้น มีแต่ใจเย็นและมีสติขึ้น สาธุกับทุกท่านด้วยค่ะ:cool:
     
  7. nababhat

    nababhat สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณทุกความเห็นนะครับ ว่าแต่บทยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี่ มีกี่เวอร์ชั่นอ่ะครับ เพราะเห็นบางอันมี 27 บทย่อย บางเวอร์ชั่นก็ 12 บทย่อย เลยงงน่ะครับ ว่าอันไหนถูกต้องกันแน่

    แล้วมันจะมีช่วงนึง บางบทเขียนว่า วะตะ แต่ไปอ่านอีกอันนึงดันเป็น วัจจะ

    รบกวนทุกท่านช่วยแนะนำบทที่ถูกต้องด้วยนะครับ ขอบพระคุณและอนุโมทนาบุญทุกท่านครับ :cool:
     
  8. Jeerachai_BK

    Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    ผมมี ๒ ฉบับครับ คือฉบับเดิมที่มี ๑๒ บท และฉบับที่มี ๒๗ บท ครับ

    "วะตะ" ถูกใช้ในบทที่ ๑ ของฉบับเดิม "วัจจะ" ถูกใช้ในบทที่ ๑ ของฉบับที่มี ๒๗ บท

    สำหรับความถูกต้องของอักขระหรือภาษา คุณจขกทจำเป็นต้องสอบถามจากผู้รู้ภาษาบาลี ครับ ผมไม่มีความรู้ด้านภาษาบาลี

    ความแตกต่างของฉบับทั้งสองที่ผมสังเกตได้ คือ
    ๑. การคั่นหรือการแบ่งบท เป็นเหตุให้จำนวนบทไม่เท่ากัน
    ๒. คำบางคำอาจจะแตกต่างกัน เหมือนดังเช่นที่คุณจขกทพบ ครับ

    ส่วนตัว ผมสวดฉบับที่มี ๒๗ บท เนื่องจากผมสวดตามไฟล์เสียงสวดครับ

    ธรรมรักษา ครับ ^_^
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2009
  9. Lovely-Boon

    Lovely-Boon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +26
    จากประสบการณ์ในสวดพระคาถานี้เมื่อดิฉันสวดตอนก่อนนอน และเวลาตื่นนอนตอนเช้ามาทำให้เราสดชื่นมีกำลังค่ะ ทั้ง ๆ ที่เรานอนดึก ถ้าวันไหนอยากตื่นเช้า ประมาณตี4 ดิฉันก็จะตั้งจิตอธิษฐานในใจขอให้ตื่นเวลาตี 4 ตามที่ตั้งใจไว้ และผลก้อเป็นแบบนั้นจริง ๆ คือเหมือนมีใครมาปลุกให้ตื่นค่ะ ลองทำดูนะคะ (เป็นความเห็นส่วนตัวที่เกิดขึ้นจริงกับตัวเอง)
     
  10. wanakonth

    wanakonth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,153
    ค่าพลัง:
    +5,775
    การสวดมนต์นั้นขึ้นอยู่กับจิตขณะสวดด้วยครับ จะร้อนจะเย็นยังไงก็ขึ้นอยู่กับผู้สวดนั่นแหละ ไม่ได้เกี่ยวกับบทสวดเท่าไหร่หรอกครับ
     
  11. นางสาวอยู่จ้ะ

    นางสาวอยู่จ้ะ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +3,865
    ยอมรับว่าเป็นจริงดังที่หลวงพ่อพุธกล่าวไว้ค่ะ, คงอยู่ที่ธาตุของเราด้วยว่า
    จะแสดงออกกับบทสวดอย่างไร บางคนรู้สึก บางคนไม่รู้สึก...
    ส่วนตัวเคยลองสวดคาถามหาเสน่ห์ (จันโท อภิกันตะโร..) แล้วร้อน
    รู้สึกกระวนกระวายบอกไม่ถูก
    จึงเลิกสวดไป, หันมาหาบทเมตตาอื่นแทน
    มาถูกจริตกับ คาถาหลวงพ่อโอภาสี สวดแล้ว เราใจเย็นมากๆ ค่ะ
    การสวดมนต์หากแผ่เมตตาหลังจากนั้นด้วย ชีวิตจะมีความสงบร่มเย็นขึ้น
    สร้างเมตตาบารมีให้กับตนเองอีกทางหนึ่งด้วยค่ะ เมื่อก่อนดิฉันไม่เคยเห็น
    ความสำคัญของการแผ่เมตตาเลย สวดมนต์มาเป็นสิบปีแล้ว ชีวิตก็ร้อนๆ
    มาตลอด หลังๆพอแผ่เมตตาแล้วก็รู้สึกว่าจังหวะชีวิตผ่อนคลายขึ้นค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...