๑๔๐. การจำพรรษาที่ป่าเมี่ยงแม่สาย ในพรรษานั้น หลวงปุ่แหวน ได้จำพรรษาที่ป่าเมี่ยงแม่สาย ภายใต้การอุปัฎฐากของแม่โสม หัวหน้าหมุ่บ้าน และชาวบ้านที่นั่น ซึ่งให้ความดูแลหลวงปู่เป็นอย่างดี หลวงปู่ เล่าถึงบ้านป่าเมี่ยงแม่สายว่า ที่นั่นอากาศหนาวมากในฤดูหนาว ฝนตกชุกในฤดูฝน สำหรับองค์หลวงปู่นั้นอากาศถูกกับธาตุขันธ์ดี ฉันอาหารได้มาก แต่ไม่มีอาการอึดอัดง่วงซึม เวลาภาวนาจิตก็รวมลงสู่ฐานสมาธิได้เร็ว ทางด้านจิตภาวนา หลวงปู่บอกว่า การภาวนาที่นี่ได้ผลดีมาก นับว่าเป็นสัปปายะอีกที่หนึ่ง หลวงปุ่มั่น ท่านเคยจำพรรษาอยู่ที่นี่ ๑ พรรษา นอกจากนี้ ครุบาอาจารย์สายกรรมฐานองค์ อื่นๆ ก็เคยพำนักอยู่ที่ป่าเมี่ยงแม่สายนี้ อยุ่หลายองค์เหมือนกัน ๑๔๑. เรื่องของพระกรรมฐานผู้กลัวเสือ เมื่อหลวงปู่แหวน ไปพักภาวนาที่ป่าเมี่ยงแม่สาย ได้ราว ๑ เดือน ท่านพระมหาบุญ จากวัด เจดีย์หลวงได้ตามขึ้นไปหาด้วยลักษณะอาการของผู้ที่พบเห็นความน่ากลัวมา จากการสอบถามได้ความว่า ท่านพระมหาบุญ ได้พักภาวนาที่ถ้ำดอกคำ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว ตอนแรกภาวนาอยู่นอกถ้ำ ตกกลางคืนได้ยินเสือร้องอยู่ใกล้ๆ จึงเกิดความกลัว นึกว่า ถ้ากำลังนั่งหลับตาอยู่ ถ้าเสือมาคาบไปกิน ท่านจะทำอย่างไร วันรุ่งขึ้น จึงย้ายที่ภาวนาไปอยุ่ในถ้ำ ส่วนที่ลึกที่สุด คิดว่าอยู่ในถ้ำคงจะปลอดภัยมากกว่า เผอิญท่านโชคไ่ม่ดี ตอนกลางคืน ขณะนั่งภาวนา ได้ยินเสียงประหลาดที่ปากถ้ำ คิดว่าเสือมา จึงลืมตาขึ้นดู ปรากฎว่า ยิ่งทำให้ท่่านเกิดความกลัวอย่างสุดขีด ทีปากถ้ำ ปรากฎมีบุรุษร่างยักษ์ยืนขวางอยู่ ท่านกลัวจนตัวสั่น จะหนีไปไหนก็ไม่ได้ จะบริกรรมพุทโธก็ว่าผิดว่าถูกบ้าง เห็นร่างประหลาดนั้นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตา ร่างนั้นยืนขวางปากถ้ำอยู่จนรุ่งเช้า จึงได้หายไป รุ่งขึ้นเช้า ท่านพระมหาบุญ รีบออกจากถ้ำ แล้วเที่ยวตามหาหลวงปู่แหวน ตอนแรกไปตามหาที่บ้านแม่พวก เพราะหลวงปู่ เคยจำพรรษา ที่นั่น ๓ ครั้ง พอทราบว่าหลวงปุ่พำนักอยู่ที่ป่าเมี่ยงแม่สาย จึงได้ไปหา พระมหาบุญท่านอยู่ในอาการขวัญผวา นอนไม่หลับทั้งคืน ภาวนาก็ไม่อยู่ ยังเห็นร่างที่น่า กลัว นั้นติดตาติดใจอยู่ หลวงปุ่แหวนบอกว่า ร่างที่ท่า่นพระมหาบุญเห็นนั้นเป็นเปรตเจ้าของที่ คอยเฝ้ารักษาถ้ำนั้น เมื่อเห็นพระมาอยู่ กลัวจะไปแย่งที่ เขาจึงมาหลอกหลอน ให้พระกลัว จะได้หนีไป ความกลัวของท่านพระมหาบุญ ไม่สามารถลบไห้หายไปได้ หลวงปู่จะสอนจะแนะอย่างไร ก็ไม่ยอมรับฟัง เฝ้ารบเร้าให้หลวงปุ่ไส่งที่บ้านแม่หอพระ เมื่อไปถึงบ้านแม่หอพระ ท่านบอกว่าอยู่ไม่ได้ ขอให้หลวงปู่ไหส่งที่บ้างปง(วัดอรัญญวิเวก ในปัจจุบัน) อำเภอแม่แตง เมื่อไปถึงบ้านปง พบหลวงปุ่ขาว อนาลโย กับหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ พักอยู่ที่นั่น หลวงปุ่ พรหม ท่านรู้เรื่องท่านมหาบุญดี จึงแกล้งขับไล่ไม่ต้อนรับ เจตนา ต้องการให้ท่านมหาเดินให้ เหนื่อย จะได้นอนหลับได้บ้าง แต่ท่านมหาโกรธจัด รีบเดินทางออกจากวัดบ้านปง หลวงปุ่แหวน ตามไปส่งถึงอำเภอแม่ริม แล้วปล่อยให้ท่านพระมหาบุญเดินไปเชียงใหม่ตามลำพักงองค์เดียว ส่วนหลวงปุ่แหวน ท่านกลับมาพักที่วัดป่าห้วยน้ำริน วัดที่หลวงปู่ชอบ ฐาสฺโม เคยจำพรรษา อยู่
๑๔๒. จำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง หลวงปุ่แหวน สุจิณฺโณ ได้ท่องธุดงค์และจำพรรษาอยุ่ทางภาคเหนือหลายแห่ง ต่อเนื่องกัน เป็นเวลาหลายปี โดยไม่ได้ไปที่ภาคอื่นอีกเลย เพราะอากาศในภาคเหนือ ถูกกับอัธยาศัย และถูกกับ ธาตุขันธ์ ของท่าน ที่เรียกว่า เป็นสัปปายะสำหรับท่าน ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ หลวงปุ่แหวน พักจำพรรษาอยู่องค์เดียวที่วัดป่าบ้านปง(ปัจจุบันคือ วัดอรัญญวิเวก) ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง เชียงใหม่ ในพรรษานั้น หลวงปู่ เกิดอาพาธเนื่องจากแผลที่ขาอักเสบ ได้รับความทรมานมาก ไปบิณฑบาตไม่ได้ ภิกษุสามเณรเอื่นก็ไม่มี ช่วงนั้นเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองใหม่ๆ เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านก็ไม่ได้มาดูแลเอาใจใส่หลวงปู่ ช่วงนั้น หลวงปุ่หนู สุจิตฺโต (ชาวจังหวัดยโสธร) พักจำพรรษาอยุ่ที่ดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว อยู่ห่างจากที่ หลวงปุ่แหวน อยุ่มากกว่า ๕๐ กม ได้เกิดนิมิตในขณะนั่งภาวนาในเวลากลางคืน เห็นหลวงปู่แหวนนอนอยู่บนพื้นดิน เมื่อออกจากสมาธิ หลวงปุ่หนู จึงนำนิมิตมาใคร่ครวญดู แน่ใจว่าคงมีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น กับหลวงปู่แหวนอย่างแน่นอน เมื่อฉันเช้าเสร็จ หลวงปุ่หนู ก็รีบเดินทางไปวัดป่าบ้านปงทันที หลวงปุ่หนูพบว่า หลวงปุ่แหวน กำลังอาพาธหนักด้วยแผลอักเสบ จึงให้ชาวบ้านไป ตามหมอ มาชื่อ หมอจี้ อดีตเคยเป็นทหารเสนาัรักษ์ หมอมาถึงประมาณ ๕ โมงเย็น (๑๗.๐๐ น.) ก็บอกว่าต้องผ่าตัดแผลหลวงปู่อย่างไม่รอช้า โดยตัดเอาเนื้อตายออกให้หมด การผ่าไม่มีการฉีดยาชา หรือใช้ยาระงับความปวดแต่อย่างใด ก่อนลงมือผ่าแผล หลวงปู่หนู ได้ขอโอกาสท่านว่า " ตอนนี้หมอเขาจะผ่าเอาความเจ็บปวด ออก ผ่าเอาโรคร้ายออก เขาไม่ได้ผ่าท่านอาจารย์นะ เขาผ่าดิน น้ำ ลม ไฟ ต่างหาา" หลวงปู่พุดคำเดียวว่า "เออ" แล้วท่านก็กำหนดจิตเข้าสู่สมาธิทันที หมอลงมมือตัดเนื้อบริเวณปากแผลออกจนหมด ใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมง หลวงปู่ คงนอนสงบ นิ่งเหมือนคนนอนหลับ ไม่มีอาการเคลื่อนไหวใดๆ เมื่อหมอทำการผ่าตัด เย็บบาดแผล และพันผ้าเสร็จแล้ว หลังจากนั้นอีกสัก ๕ นาฑี หลวงปู่ จึงออกจากสมาธิ ลืมตาขึ้น หลวงปุ่หนู ถามว่า " พระอาจารย์เจ็บไหม " หลวงปุ่พูดว่า " พอสมควร" ไม่มียาแก้ปวดใดๆถวายหลวงปู่เลย เพราะช่วงหลังสงคราม ในถิ่นห่างไกลเช่นนั้น ไม่ต้อง พูดถึงหยูกยากัน รุ่งขึ้นอีกวัน หมอจี้ ก็มาล้างแผลให้ หลวงปุ่พูดว่า " วันนี้เบาๆหน่อยนะ เมื่อวานนี้มือหนัก ไปหน่อย" แล้วท่านก็ไม่ได้พูดอะไรอีก ท่านยังคงอยู่สงบเย็นตามปกติ เว้นไว้แต่ยังลุกเดินไม่ได้ เท่านั้น หลวงปู่หนู อยู่เฝ้าพยาบาล ๗ วัน ท่านต้องกลับดอยแม่ปั๋ง ตามพระวินัย เพราะอยู่ในช่วง เข้าพรรษา ก่อนกลับได้กำชับชาวบ้าน ให้ดูแลอย่าทอดทิ้งหลวงปุ่เหมือนที่ผ่านมา หลวงปู่อาพาธอยู่นาน จนถึงเดือนเมษายน ปีต่อมา ( ร่วม ๑๐ เืืดือน) อาการเจ็บปวด บาดแผล จึงทุเลาลงมาก แต่แผลยังไม่หายสนิท ยังเดินไปไหนไกลๆไม่ได้
๑๔๓. ดำริของหลวงปู่หนู คนที่รู้จัก หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ จะต้องรู้จักหรือเคยได้ยินชื่อ หลวงปู่หนู สุจิตฺโต แน่นอน เพราะหลวงปู่หนู เป็นเจ้าอาวาสวัดดอยแม่ปั๋ง เป็นลูกศิษย์ทีอุปัฎฐากและดูแล หลวงปุ่แหวน ใน ทุกเรื่อง จนถึงวาระสุดท้ายของหลวงปู่ ถ้าพูดให้ชัดลงไแก็ต้องว่า " ถ้าไม่มีหลวงปุ่หนู พวกเราก็คงไม่ได้รู้จักหลวงปู่แหวน อย่าง แน่นอน " หลวงปู่หนู ท่านเป็นพระจากจังหวัดยโสธร เป็นพระธุดงค์สาย หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านมี ความเคารพศรัทธา หลวงปู่แหวน ในฐานะเป็นครูอาจารย์กรรมฐานของท่าน นับตั้งแต่หลวงปู่หนู ไปรักษาพยาบาล หลวงปู่แหวน ที่วัดป่าบ้านปงครั้งแรกแล้ว หล้งจาก นั้น ท่านก็แวะเวียนไปเยี่ยมหลวงปู่อยู่บ่อยๆ หลวงปู่หนู ท่่านคิดจะนิมนต์หลวงปู่แหวนไปอยู่ทีวัดดอยแม่ปั๋งด้วย เพราะหลวงปุ่อายุมาก แล้ว ต้องอยู่องค์เดียว พระเณรที่จะอุปัฎฐากก็ไม่มี อาศัยศรัทธาชาวบ้านคอยดูแลก็ไม่สม่ำเสมอ ถ้าหลวงปู่มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งด้วย ก็จะได้ดูแลอุปัฎฐาก ได้ง่ายขึ้น ท่านเองก็ไม่ต้องเที่ยวไปๆมาๆ เพราะเดินด้วยเท้าไปกลับเที่ยวละ ๕๐ กม. ไม่ใช่เรื่องที่สนุกแน่ แต่สมัยนั้น ที่วัดดอยแม่ปั๋ง ยังไม่มีอะไร กุฎิสักหลังก็ไม่มี ศรัทธาญาติโยมก็มีไม่กี่คนที่รู้จัก หลวงปู่แหวน ดังนั้น หลวงปุ่หนู จึงต้องคิดและเตรียมการให้รอบคอบ ต้องปรึกษาคณะศรัทธาญาติโยม ที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย เมื่อยังไม่ต้ดสินใจ หลวงปู่แหวน ก็ยังคงพำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านปง เพียงองค์เดียวเรื่อยมา ด้านหลวงปู่หนู ก็เทียวไปเีีทียวมา เยี่ยมเยียน ท่านอย่างสม่ำเสมอ ๑๔๔. นิมนต์หลวงปุ่มาอยู่วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปุ่แหวน สุจิณฺโณ ยังคงพำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านปง อำเภอแม่แตง จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๕ ขระนั้น ท่านอายุได้ ๗๕ ปี คืนหนึ่ง หลวงปู่หนู กำลังนั่งภาวนา ก็ได้นิมิตเป็นเสียง หลวงปู่แหวนว่า " จะมาอยู่ด้วยนะ" หลวงปุ่หนูยังไม่ได้คิดอะไร คิดว่าอาจเป็นเพราะท่านคิดถึงหลวงปู่ จึงจึงสร้างเป็นเสียงพูด ของหลวงปู่ขึ้นมาก็ได้ ต่อจากนั้นอีก ๓ วัน ก็มีศรัทธาจากวัดป่าบ้านปง ขึ้นมานิมนต์หลวงปู่หนู ให้ไปรับไทยทาน ที่วัดบ้านปง หลวงปู่หนู จึงนำความคิดที่จะนิมนต์ หลวงปุ่แหวน ปรึกษากับคณะศรัทธาว่าจะเห็นเป็น อย่างไร คณะศรัทธา บ้านแม่ปั๋งไม่ขัดข้อง และยินดีถ้าหลวงปู่หนู สามารถนิมนต์หลวงปุ่มาได้ พอถึงวันนิมนต์ ให้ไปรับไทยทานที่วัดป่าบ้านปง หลวงปุ่หนู ได้พาศรัทธาจากบ้านแม่ปั๋ง ไปด้วย พอไปถึง หลวงปุ่แหวนถามว่า " มีศรัทธามาด้วยกี่คน" หลวงปุ่หนูตอบว่า " มีมา ๒ คนครับ" หลวงปู่ได้พูดว่า " ดีแล้ว วันนี้รับไทยทานเสร็จแล้ว ให้เอาบริขารของอาตมาไปด้วย จะไปอยู่แม่ปั๋งด้วย " หลวงปู่หนู และโยม ๒ คนที่ไปด้วย สุดแสนดีใจที่หลวงปุ่แหวน ท่านออกปากเอง โดยไม่ต้อง นิมนต์
๑๔๕. หลวงปุ่ออกเดินทาง เมื่อเสร็จพิธีรับไทยทานที่วัดป่าบ้านปงแล้ว หลวงปู่แหวน หลวงปู่หนู และศรั่ทธาจากบ้าน แม่ปั๋งสองคน ก็ออกเดินทางทันที คณะของหลวงปู่ มาหยุดพักที่ วัดป่าบ้านช่อแล อำเภอแม่แตง หนึ่งคืน วันรุ่งขึ้น เมื่อรับไทยทาน และฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น ก็ออกเดิน ทางจากบ้านช่อแล ผ่านมาตามเส้นทางบ้านใหม่ บ้านแม่วะ เดินลัดเข้าป่า ข้ามเขา ข้ามลำห้วย มาบ้านแม่ตอง เดินขึ้นเขา ลงห้วย บุกป่า ลัดเลาะมาตามไหล่เขา แม้หลวงปู่แหวน จะอายุ ๗๕ ปี อยู่ในวัยชรา และสุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ การเดินทางมา ตามเส้นทางดังกล่าว จึงนับว่า หลวงปู่ท่านมีความอดทนเป็นอย่างมาก คณะของหลวงปู่ เดินทางมาถึงดอยแม่ปั๋ง ในวันนั้นเอง คือ ถึงวัดดอยแม่ปั๋ง ประมาณ ๑๙.๐๐ น ใช้เวลา เดินทางจากบ้านช่อแลมา ๙ ชั่วโมง ถ้าวัดระยะทางเส้นทางถนนในปัจจุบัน จากช่อแลถึงแม่ปั๋งก็ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร หลวงปู่แหวน ในวัย ๘๕ ปี เดินทางไกลเช่นนั้นมาถึงภายในวันเดียว โดยไม่ต้องพักค้างคืน ระหว่างทาง จึงนับว่า ท่านมีความทรหดอดทน อย่างมากทีเดียว หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พำนักที่วัดป่าบ้านปง ๒ ช่วง รวมระยะเวลาทั้งหมด ๑๑ ปี กุฎิของท่าน นั้นทาง หลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญปทีโป เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ยังคงเก็บรักษาไว้เป็น อยุสรณ์ ให้รำลึกถึงหลวงปู่ มาจนทุกวันนี้ เมื่อหลวงปู่มาถึง วัดดอยแม่ปั๋ง ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว ท่านได้พำนักที่ กุฎิไม้หลังน้อย พื้นอยู่ติดพื้นดิน มีความกว้าง ๓.๒๔ เมตร และยาว ๕.๒๓ เมตรเท่านั้น อยู่ท่ามกลางดงไม้สัก อันเป็นที่สถานสงบตามธรรมชาิต เหมาะแก่การปฎิบัติภาวนา สำหรับผู้แสวงหาความวิเวกยิ่งนัก
๑๔๖. ได้หลวงพ่อเปลี่ยนมาแทน พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ หลวงปู่แหวน เดินทางออกจากวัดป่าบ้านปง(วัดอรัญญวิเวก) นั้น เมื่อคณะศรัทธาถวายไทยทานเสร็จ และกลับไปหมดแล้ว หลวงปุ่แหวน หลวงปู่หนู กับศรัทธา ชาวแม่ปั๋งอีกสองคน ก็ออกเดินทางจากวัดบ้านปงไปโดยไม่ได้บอกลาญาติโยมเลย เมื่อชาวบ้านรู้ข่าวว่า หลวงปู่แหวน ไปดอยแม่ปั๋งกับหลวงปู่หนูแล้ว จึงพากันโจษขานว่า "ท่านพระอาจารย์หนูไปรับไทยทานแล้ว ขากลับได้ขโมยเอาหลวงปู่แหวนไปด้วย" หลังจากที่หลวงปู่แหวน ไปอยู่ดอยแม่ปั๋งแล้ว คณะศรัทธาชาวบ้านปง ได้พร้อมใจ ไปอารธนา หลวงปุ่ให้กลับไปประจำที่ว่าป่าบ้านปง อยู่หลายครั้ง แต่ทุกครั้ง หลวงปู่ท่านนิ่งเสีย ไม่พูด อะไรเลย จึงทำให้คณะศรัทธาได้รับความผิดหวัง กลับไปทุกครั้ง แต่คณะศรัทธาบ้านปง ก็ยังเดินทางไปกราบ หลวงปู่ ไปถวายไทยทาน ถวายเครื่องสักการะ หลวงปู่ที่ดอยแม่ปั๋งเป็นประจำ แม้ชาวบ้านปงไม่ได้หลวงปู่แหวน กลับไปแต่ก็ยังโชคดี ที่ต่อมาไม่นานนัก มีพระธุดงค์หนุ่ม คือหลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญปทีโป จากสกลนคร มาอยู่ฉลองศรัทธาที่วัดป่าบ้านปง มาจนถึงปัจจุบัน และมีพระกรรมฐานองค์อื่นๆ มาพำนักอยุ่เสมอไม่ขาด พระกรรมฐาน ที่เป็นบูรพาจารย์องค์สำคัญๆ ที่เคยมาพำนักที่วัดป่าบ้านปง หรือวัด อรัญญวิเวก ในปัจจุบัน ตามที่วัดได้บันทึกไว้ ได้แก่ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต(๑ พรรษา) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ (๑๑ พรรษษ) หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม(๓ พรรษา) หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ (๒ พรรษา) หลวงปุ่คำแสน คุณาลงฺกาโร(๓ พรรษา) หลวงปู่สม(๒ พรรษา) หลวงพ่อคำอ้าย จิตธมฺโม(๑๔ พรรษา) หลวงปุ่สาม อภิญฺจโน(๒ พรรษา) หลวงพ่อชม(๒ พรรษา) พระอาจารย์ทิวา อาภากโร(๒ พรรษา) ทีจำพรรษาอยู่ ๑ พรรษามี หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ถิร จิตธมฺโม, หลวงปุ่บุญ ชินวํโส, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่พร, หลวงปู่ภัสร, พระครูอ่อนสี, หลวงปู่วิรัช, หลวงปู่โค้ง, พระอาจารย์สาร, พระอาจารย์์สมัย ทีฆายุโก, พระอาจารย์หนูบาล,พระอาจารย์รังษี, ส่วนครูบาอาจารย์ที่มาำพำนักบำเพ็ญเพียร แต่ไม่ได้จำพรรษามี ท่านเจ้าคุณพระอุบาลี คุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจนฺโท), พระอาจารย์จวน กุลเชฎฺโฐ, พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺวโร, พระอาจารย์เพียร วิริโย, หลวงพ่อไท ฐานุตฺตโม, พระอาจารย์สุภาพ ธมฺมปญฺโญ, หลวงปู่สิม พุทธจาโร, พระอาจารย์มหาปราโมทย์ ปาโมชฺโช, พระอาจารย์จันดี เขมปญฺโญ, พระอาจารย์ศรีจันทร์, พระอาจารย์เครื่อง,พระอาจารย์สุธรรม, หลวงพ่อคพ, หลวงปุ่ฝั้น อาจาโร,
๑๔๗. ข้อตกลงและสัจจะอธิษฐาน เมื่อหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งและเข้าพักที่กุฎิไม้หลังน้อย เป็นที่เรียบ ร้อยแล้ว หลวงปู่จึงได้มีข้อตกลงกับหลวงปู่หนู ดังนี้ :- " หน้าที่ต่างๆ เช่น การดูแลรักษาเสนาสนะก็ดี การปกครองพระภิกษุสามเณรก็ดี การต้อน รับแขกก็ดี การเศนาสั่งสอนอบรมประชาชนก็ดี และกิจอื่นๆ บรรดามีที่จะเกิดขึ้นภายในวัดและ นอกวัด ให้ตกเป็นภาระของพรอาจารย์หนูแต่ผู้เดียว" สำหรับตัวของหลวงปู่แหวนเอง ท่า่นขออยู่ในฐานะพระผู้เฒ่า ผู้ปฎิบัติธรรม จะไม่รับภาระ ใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากการปฎิบัติธรรมอย่างเดียว นอกจาการปล่อยวางภาระทุกอย่างแล้ว หลวงปู่ ยังได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า " ต่อไปนี้ จะไม่รับนิมนต์ไปที่ไหนๆ ไม่ว่าใครจะนิมนต์ ไม่ขึ้นรถ ลงเรือ แม้ที่สุดถึงจะเกิด อาพาธป่วยไข้หนักเพียงใด ก็ตาม จะไม่ยอมเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรง ตัวอยุ่ตลอดไปไม่ได้ ก็จะให้สิ้นไปในป่า อันเป็นที่อยู่ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่าน เคยปฎิบัติแล้วในกาลก่อน"
๑๔๘. กุฎิย่างกิเลส หลังจากที่หลวงปู่แหวน มาพำนักที่วัดอยแม่ปั๋ง ไม่นานนัก ท่านก็เริ่มอาพาธอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้เกิดเป็นตุ่มคันไปทั้งตัว นับวันแต่จะเป็นมากขึ้น ปกติร่างกายของหลวงปู่ นั้นผ่ายผอมอยุ่แล้ว พอเกิดตุ่มคันทั้งตัวเช่นนั้น ก็ทำให้ท่านฉันไม่ ได้ นอนไม่หลับ ร่างกายท่านก็ยิ้งทรุดโทรมจนแทบจะว่ามีแต่หนังหุ้มกระดูก หลวงปู่หนู ต้องเป็นผู้ขวนขวาย ในการรักษาพยาบาล ท่านอย่างสุดความสามารถ ซึ่งเป็น เรื่องที่ลำบากมากในสมัยนั้น เพราะทางวัดขาดแคลนไปเสียทุกอย่าง เมื่ออาารของโรคกำเริบมากขึ้น การรักษาด้วยการฉีดยา ฉันยาก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้น แต่เป็น เพียงทุเลาลงบ้างเล็กน้อย เื่มื่อเห็นว่า การรักษาด้วยยาไม่มีทางหาย หลวงปู่ จึงบอกให้ หลวงปู่หนู ช่วยสร้างเตาผิง ไว้ในกุฎิสำหรับอบตัวท่าน หลวงปุ่หนูจึงบอกให้ชาวบ้านมาช่วยกันสร้างเป็นกุฎิโรงไฟขึ้น ซึ่งมีที่ก่อไฟอยู่กับพื้นดิน แล้วยกพื้นอีกด้านหนึ่งให้สูงขึ้นสำหรับเป็นที่นอนของหลวงปุ่ กุฎิโรงไฟหลังนี้ ไม่ว่าไม้พิ้น ฝา และประตู ล้วนทำจากไม้โลงผี ที่ชาวบ้านเผาศพ แล้วเอา โลงมาไว้ที่วัด กุฎิหลังนี้ อยู่ใต้ต้นไทรใหญ่ เก็บไว้ให้เห็นเป็นอนุสรณ์มาจนปัจจุบัน ลูกศิษย์ลูกหา เรียกว่า กุฎิโรงไฟ แต่หลวงปู่ท่านเรียกว่า กุฎิย่างกิเลส ภายในกุฎิ จะมีไพก่อด้วยฟืนลุกโชนอยุ่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง หลวงปู่ก็จะอยู่ภายในกุฎินี้ ตลอดเวลา จะออกมานอกกุฎิบ้างเฉพาะเวลาฉันอาหาร เวลาสรงน้ำ และออกมาเดินจงกรม เปลียนอิริยาบถบ้างเท่านั้น เวลานอกจากนั้น ท่านจะอยู่ในกุฎินี้ตลอด ติดต่อกันหลายปี ไม่ว่าหน้าแล้ง หน้าฝน หรือ หน้าหนาว
๑๔๙. รักษาโรคตุ่มคัน หายขาด การอาพาธ ด้วยโรคตุ่มคันของหลวงปู่ ต้องรักษากันอยู่หลายปี ใช้ทั้งวิธีย่่างไฟ การฉีดยา การฉันยา แต่ก็ยังไม่หาย ภาระนี้ตกอยู่กับหลวงปู่หนูทั้งหมด ต่อมาได้มีโยมชื่อ คุณแม่บู่ทอง กิติบุตร ได้มีจิตศรัทธาให้ความอุปถัมภ์วัด ให้ความ อุปถัมภ์หลวงปู่ ได้มารับภาระในการจัดหายา และปัจจัยจำเป็นอื่นๆ มาถวาย ทำให้ภาระ หนักของ หลวงปู่หนู ผ่อนคลายลงไปได้บ้าง ขณะที่การอาพาธ จากตุ่มคันตามร่างกายของหลวงปู่ ไม่ดีขึ้น วันหนึ่ง มีเจ้าหน้าที กองปราบโรคเรื้อนของกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นไปกราบหลวงปู่ที่วัด หลวงปู่หนูได้เล่าอาการ อาพาธของ หลวงปุ่ให้เจ้าหน้าที่กลุ่มนั้นฟัง ก่อนลากลับ เ้จ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าว ได้ถวายยาไว้ให้หลวงปู่ฉันจำนวหนึ่ง หลวงปุ่ฉันยานี้ แล้ว ปราำกฎว่า อาการคันทุเลาลง ตามลำดับ เมื่อยาใกล้หมด หลวงปุ่หนูได้ไปจัดหามาเพิ่ม ปรากฎว่า หลวงปู่ ฉันยาไม่นาน โรคตุ่มคันก็หายสนิท ผิวหนังของท่านดูดำไปทั้งตัว ต่อมา หนังก็ลอกออกเป็นแผ่นๆ เหมือนงูลอกคราบ หลังจากนั้น ผิวหนังของหลวงปู่ก็ดูสดในเป็นปกติ จึงกล่าวได้ว่า อาพาธเกือบเอาชีวิตไม่รอด ของหลวงปู่ในครั้งนั้น รักษาหายด้วยยาของ เจ้าหน้าที่ชุดปราบโรคเรื้อน ของกระทรวง สาธรณสุข ชุดนั้นโดยแท้
๑๕๐. ย้ายไปอยู่กุฏิหลังใหม่ แม้ว่าหลวงปู่จะหายจากโรคร้ายนั้นแล้วก็ตาม ท่านก็ยังคงพักในกุฎิโรงไฟ หรือกุฎิย่าง กิเลส ของท่านเหมือนที่เคยอยู่้มา คือ ก่อไฟตลอด ๒๔ ชั่วโมง และออกจากกุฎิเฉพาะตอนฉัน ตอนสรงน้ำ และออกมาเดินจงกรมเปลี่ยนอิริยาบถเท่านั้น ท่านอยู่อย่างนั้นทุกฤดูกาล ทุกวันไม่เปลี่ยนแปลง หลวงปู่หนูเห็นว่า เมื่อโรคร้ายของหลวงปู่หายแล้ว ก็ควรจะหยุดก่อไฟได้แล้ว จึงไปกราบเรียน หลวงปู่ ซึ่งท่านก็อนุญาติให้เลิกกองไฟนั้นได้ ต่อมามีผู้มีจิตศรัทธาสร้างกุฎิถวายหลวงปู่หลังหนึ่ง ตอนแรกๆ หลวงปู่ก็ไปพักฉลองศรัทธา ให้เฉพาะเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืน ท่านก็ลงมาพักจำที่กุฎิโรงไฟของท่านอย่างเดิม เมื่อท่านหายจากอาพาธ จนมีกำลังแข็งแรงเป็นปกติแล้ว ในฤดูแล้ง เวลากลางวัน บางวัน ท่านก็จะขึ้นไปพักภาวนาอยู่ในกุฎิหอเย็นตลอดวัน จะลงมาเมื่อถึงเวลาสรงน้ำ เป็นอันว่า หลวงปู่มีกุฎิพักอยู่ ๓ หลัง กลางคืนพักที่กุฎิโรงไฟ กลางวันไปพักภาวนาที่กุฎิ หลังใหม่บ้าง ที่กุฎิหอเย็นบ้าง ต่อมาภายหลัง โยมอุปัฎฐากคือ คุณแม่บู่ทอง กิติบุตร ได้สร้างกุฎิถวายหลวงปู่หลังหนึ่ง หลวงปู่ก็ได้มาพำนักฉลองศรัทธาตราบจนมรณภาพ
๑๕๑. รุกขเทพ บนต้นไทรใหญ่ หลวงปู่แหวนเล่าว่าในสมัยที่ท่านอาพาธอยู่ที่กุฎิโรงไฟนั้น บนต้นไทรใหญ่เหนือกุฎิ เป็นวิมานที่อยู่อาศัยของบรรดารุขเทพ เืมื่อหลวงปู่่เข้าไปอยู่ในกุฎิหลังนั้น พวกรุกขเทพทั้งหลายต้องลงมาอยู่บนพื้นดิน ทำให้พวก เขาได้รับความลำบากกัน เมื่อหลวงปู่เห็นเช่นนั้น จึงได้บอกให้พวกเขาย้ายไปหาที่อยู่ใหม่ ในป่าลึกเข้าไปอีก พวกเขา ก็ปฎิบัติตามโดยความเคารพ หลวงปู่ เล่าว่า พวเทพนั้นไม่ว่าจะเป็นเทพชั้นต่ำหรือชั้นสูง ความเคารพที่เขามีต่อพระนั้น เสมอกัน เขาจะไม่ยอมล่วงคารวธรรมเป็นอันขาด การเข้าการออกเวลามาเขาไป ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ดูแล้วงามตาชื่นใจ ไม่เหมือนมนุษย์เรา ซึ่งแล้วแต่ความพอใจ อยากจะแสดงอย่่างไรก็ทำไป ไม่คำนึงถึงความ เหมาะสม ความควรไม่ควร การแสดงออกของมนุษย์ไม่คำนึงว่าผู้อื่นจะได้รับความเสียหายอย่างไรหรือไม่ ขอให้ได้แสดง ออกตามความเห็น ตามความพอใจของตนนั้นแหละเป็นการดี บางครั้งการแสดงออกเช่นนั้นไม่ถูกกาลถูกเวลา แต่ก็แสดงออกมาจนได้ โดยไม่มีความ ละอายแก่ใจบ้างเลย
๑๕๒. หลวงปู่เริ่มเป็นที่รู้จัก หลวงปู่แหวน สุจิณโณ มาอยู่ที่วัด ดอยแม่ปั๋ง ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ และท่านเริ่มเป็นที่รู้จัก ประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๔ กล่าวกันว่า หลวงปู่แหวน ได้เป็นที่รู้จักภายหลังที่ท่านเจ้าคุณ นรรัตน์ราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโก) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพ สิ้นชีพิสตักษัย เมื่อ ๑๐ มกราคม ๒๕๑๔ ในช่วงที่ประชาชนกำลังพูดถึงเรื่องท่านเจ้าคุณนรๆ อยู่นั้นก็มีข่าวแพร่ออกมาว่า" ท่านเจ้าคุณ นรๆ กล่าวว่ามีพระอริยะอีกองค์หนึ่ง อยู่ทางภาคเหนือ" ไม่ทราบข่าวนี้มาจากไหน และใครได้ยิ้นท่านเจ้าคุณนรๆ พูด ทำให้หลายคนพากันเสาะหา พระอริยะองค์นั้น ต่อมาก็มีข่าวว่า " พระอริยะองค์ที่ท่านเจ้าคุณนรๆ กล่าวถึงคือ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ แห่งดอยแม่ปั๋ง นั้นเอง" และในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ปีเดียวกันนั้นเอง ก็มีคณะทหารอากาศชุดของนาวาเอก เกษม งามเอก ได้มาขออนุญาติสร้างเหรียญหลวงปู่ขึ้น บางเสียงก็บอกว่าเป็นเหรียญรุ่นแรก และบางเสียงก็ว่า เป็นเหรียญรุ่นที่สองของหลวงปู่ เอาไว้ให้พวกนิยมเหรียญเขาถกเถียงกันก็แล้วกัน ต่อจากนั้นก็มีข่าวอีกว่า " หลวงปู่แหวนลอยอยู่บนเมฆ เครื่องบินจะชน" เรื่องเกรียวกราวกันพักใหญ่ ทำให้ชื่อเสียงหลวงปุ่โด่งดังขึ้นมา จนใครต่อใคร ก็พากันแห่ไป ชมบารมีหลวงปุ่อย่างเนืองแน่นทุกวัน คณะทัวร์ทุกคณะที่ไปเชียงใหม่ จะต้องมีรายการชมดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ และก็มีวัดดอยแม่ปั๋ง อยู่ด้วยเสมอ นับเป็นสถานที่ยอดนิยมในสมัยนั้น
๑๕๓. หลวงปู่เป็นพระดังแห่งยุค หลวงปู่แหวน ท่านท่องเที่่ยวธุดงค์อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพรอยู่นานกว่า ๕๐ ปี ประชาชนทั่ว ไปจึงไม่รู้จักท่าน เพิ่งจะมาได้ข่าวคราวและรู้จักหลวงปู่ ก็ประมาณปลายปี ๒๕๑๖ เมื่อหนังสือ พิมพ์นำประวัติและเรื่องราวอภินิหารต่างๆ ของหลวงปุ่มาเผยแพร่ ในหนังสือ พระธาตุปาฎิหารย์ ของนิตยสารโลกทิพย์ ได้นำลงเรื่องคำบอกเล่าของ หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี เกี่่ยวกับเรื่องราวของหลวงปู่แหวน ตอนที่ท่านเริ่มดัง ผู้เขียน ขอคัดลอกนำมาเสนอ ดังต่อไปนี้ :- " หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เล่าว่า มีทหารอากาศ ขับเครื่องบินเหาะข้ามวัดดอยแม่ปั๋งไป นักบิน คนนั้นตกใจจนหูตาเหลือก เพราะพบหลวงปู่ผู้เฒ่านั่งอยู่บนก้อนเมฆขวางทางบินอยู่ ต้องรีบบังคับ เครื่องหลบ ตาลีตาเหลือก ขาบินกลับก็พบหลวงปู่องค์เดิมอยู่บนก้อนเมฆอีก เมื่อนำเครื่องบินร่อนลงสนามแล้ว นักบินนายนั้นได้ไปกราบนมัสการ เจ้าคณะเชียงใหม่ เรียนถามว่า ที่เชียงใหม่มีพระ องค์ไหนดีบ้าง ที่มีปาฎิหารย์พิเศษ เจ้าคณะจังหวัดบอกว่า เห็นมีอยู่องค์หนึ่ง คือหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง หรือดอยสีม่วง (ปั๋ง ภาษาเหนือแปลว่า สีม่วง) แม่ปั๋ง เพื่อที่จะพิสูจน์ดูให้เห็นกับตา เมื่อไปถึงวัดก็พบว่า มีผุ้คนมากมาย จากสารทิศต่างๆ มารอพบหลวงปุ่แหวน เต็มวัดไปหมด ปกติหลวงปุ่แหวน ไม่ยอมออกมาพบปะผู้ใดง่ายๆ แม้แต่งานฉลองอายุครบรอบของท่าน ที่คณะศิษย์ยานุศิษย์ตลอดจนผู้ที่เคารพเลื่อมใส จากทั่วทุกสารทิศ หลั่งไหลไปจัดงานขึ้น ผู้คน แน่นวัด มืดฟ้ามัวดิน รถราจอดเต็มดอยไปหมด หลวงปู่แหวนก็ไม่ยอมออกมาจากห้่องให้สรงน้ำ หรือให้กราบสักการะ แจกของชำร่วย อย่างงานวันเกิดของพระเถระอื่นๆ หลวงปู่แหวนยังคงเก็บต้ัวอยุ่แต่ในห้องและหนีคนอย่างอุปนิสัยแต่เดิมของท่าน ท่านจะออก มาจากห้องเป็นปกติ ก็เฉพาะเวลาฉันจังหันเช้า และเจริญพระพุทธมนต์ค่ำเท่านั้น ทหารอากาศนายคนนี้ไปตอนเช้า พอได้เวลาหลวงปู่แหวน อออกจากห้องมาฉันอาหารเช้า ก็จ้องมองด้วยความตะลง จำำได้ทันทีว่า พระผู้เฒ่าองค์นี้จริงๆ ที่เขาพบบนก้อนเมฆขณะขับ เครื่องบินผ่านดอยแ่ม่ปั๋งไป เขาจึงแหวกผู้คนเช้าไปกราบนมัสการแทบเท้าหลวงปู่แหวน ด้วยความเคารพเลื่อมใส อย่างสูงสุด น้ำตาไหล ปลาบปลื้มใจ ตื้นตันใจ ที่ตนได้มีบุญได้พบเห็นตัวจริงของหลวงปุ่แหวน" นี่แหละครับ เป็นเหตุการณ์หนึ่ง ที่ทำให้ผู้คนทั่วทุกสารทิศ หลั่งไหลมากราบหลวงปุ่แหวน แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง ทำให้ท่านเป็นพระดังแห่งยุค
๑๕๔. พระมหากรุณาธิคุณ นับแต่โบราณกาลมาจนถึงยุคปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า ยังไม่มีพระคณาจารย์รุปใดที่ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ เท่าหลวงปุ่แหวน ในระหว่างที่ท่า่นยังมีชีวิตอยู่ นอกเหนือจากการเสด็จพระราชดำเนินถึงวัดดอยแม่ปั๋ง เพื่อนมัสการและสนทนาธรรม กับหลวงปุ่หลายครั้งหลายครา แล้วยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จัดสร้างสิ่งมงคล โดยใข้รูปของ หลวงปุ่ นาำมาแจกในพระราชพิธีสำคัญ หลวงปู่แหวน จึงเป็นพระสงฆ์องค์แรกในประเทศไทย ที่ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณอย่างสูง ส่ง และนอกจากล้นเกล้าๆทั้งสองพระองค์แล้ว สมเด็จพระบรมโอสาธิราชๆ สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดา สยามบราราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ๆ ได้ทรงพระกรุณา เสด็จเยี่ยมหลวงปู่่อยู่เนืองๆ ข้าราชบริำพารผู้หนึ่ง ได้เปิดเผยถึงหลวงปู่กับล้นเกล้าๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ภายหลังจากที่ข่าวพระองค์ทรงประชวรและประทับที่เชียงใหม่แล้ว หลังจากนั้น ก็เสด็จดอยแม่ปั๋ง หลวงปุ่แหวนได้กราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตอนหนึ่งง่า " พระองค์นั้นมัวแต่ห่วงคนอื่น ไม่ห่วงพระองค์เองเลย" เมื่อได้ฟังหลวงปุ่กล่าวเช่นั้น ล้นเกล้าๆ ทรงพระสรวลด้วยความพอพระทัย มีข่าวอีกครั้งหนึ่งว่า สมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรและประทับรักษา พระองค์ที่เชียงใหม่นั้น ข้าราชบริพาร ได้นำเฮลิคอบเตอร์มานิมนต์ หลวงปุ่ให้ไปที่พระตำหนัก เืพื่อแผ่พลังจิต ช่วยรักษาอาการประชวรของพระองค์ท่าน หลวงปุ่ท่านปฎิเสธการนิมนต์ และได้บอกว่า " อยู่ที่ไหน ฮาก็ส่งใจไปถึงพระองค์ได้ ก็ส่งไป ทุกวันอยู่แล้ว " หลวงปุ่แหวน ท่านตั้งสัจจธิษฐานว่า แม้ท่านจะเจ็บป่วยก็ไม่ยอมไปรักษาที่โรงพยาบาล แต่ใน ช่วงท้ายของชีวติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอาราธนา ท่ี่านจึงยอมทำตาม และบอกว่า ในฐานะประชาชน หลวงปู่ จึงไม่กล้าขัดพระราชปรสงค์ไ้ด้
๑๕๕. ความศรัทธาของประชาชน หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านเป็นตัวอย่างสมาณะที่เจริญตามรอยแห่งเบื้องพระยุคลบาท ขององค์พระศาสดาอย่างมุ่งมั่น มอบชีวิตถวายจิตใจเพื่อรับใช้พระสัทธธรรม ท่านบำเพ็ญเพียร ทางวิปัสสนากรรมฐาน อย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ เพื่อความหลุดพ้นจากโลกียภูมิ เข้าสู่โลกุตรภูมิ เป็นแดนพ้นทุกข์อย่างแท้จริง หลวงปู่แหวน ท่านสละสิ้นทุกอย่าง มุ่งบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเดียว ท่านหลีกเร้นตนเองออกสู่ ทางสันโดษตลอดระยะยาวนานกว่า ๕๐ ปี ต้องฝ่าฟันอุปสรรคและความทารุณนานาประการ ไม่ว่าความทุรกันดาร โรคภัยไข้เจ็บ และความอดอยากหิวโหย แม้ร่างกายจะหนีจากธรรมชาติ เหล่านี้ไม่พ้น แต่จิตท่านไม่ติดอยู่ในสภาพทุกข์เหล่านั้น ท่านละวางทุกอย่าง ได้อย่างแท้จริง ดีก็ ไม่ติด ไม่ดีก็ไม่ติด หลวงปู่ขณะดำรงชีวิตอยู่ ท่า่นอยู่ด้วยความเมตตา เพื่อการสงเคราะห์สัตว์โลกอย่างแท้จริง ใครจะเอาประโยชน์อะไรจากท่านได้ ท่านไม่เคยขัดข้อง ตราบใดที่ไม่ผิดวินัยท่่านอนุโลมตาม เสมอ ด้วยเหตุนี้ สาธุชนที่ศรัทธาในหลวงปู่ จึงได้หลั่งไหลไปที่วัดดอยแม่ปั๋ง จุดประสงค์อย่างอื่นที่ นอกเหนือจากการได้กราบได้เห็น ได้ทำบุญกับองค์ท่านแล้ว ส่วนใหญ่ต้องการให้หลวงปู่เป่าหัว ให้บ้าง ต้องากรได้น้ำมนต์บ้าง ต้องการใด้ของดีเพื่อความมีโชคลาภ ความเป็นศิริมงคล รวมทั้ง ต้องการให้หลวงปู๋แผ่พลังจิตเพื่อปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆ เพื่อความขลัง ความศักศิทธิ์ ท่่านก็ อนุโลมทำให้ด้วยความเมตตา ใครจะรับอะไร ได้เพียงไร ขึ้นอยู่กับผู้นั้นเอง สิ่งของที่มีผู้ขอกันมาก ได้แก่ ก้นยาขี้โย จีวร ไม้เท้า แม้แต่เส้นเกศา เล็บ ตลอดจนขี้ไคลในตัว ท่าน และทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวท่าน ก็ถือเป็นศิริมงคลทั้งนั้น หลวงปู่ท่านถึงกับออกปากว่า " ฮาโกนหัวแล้ว เปิ้นก็ยังฮื้อโกน แถมจะเอาฮาไปสร้างพระ ฮธหยัง ฮาเจ็บหัว" หลวงปู่ท่านพูดสำเนียงเหนือปนอิสาน หมายความว่า เราโกนหัวแล้ว เขาก็ยังมาให้โกนอีก บอกว่าจะเอาไปสร้างพระ อะไรนั่น เราเจ็บหัว แม้แต่น้ำที่ท่านอาบ ก็มีผู้ต้องการขอไปเพื่อเป็นศิริมงคลแม้ท่านสรงน้ำเสร็จแล้ว ยังมาขอให้ ท่านสรงซ้ำอีก ท่านถึงกับพูดว่า " ฮาหนาวจะต๋าย เปิ้นก็จะฮื้อฮาอาบน้ำอีก" นอกจากนี้ยังมีคนไปรุมขัดถูขี้ไคลตามเนื้อตามตัวท่าน ขัดแล้วขัดอีก หรือตัดเล็บท่าน ตัดแล้วตัดเล่า เพื่อจะเอาไปทำพระเครื่อง ทำวัตถุมงคลต่างๆ จนหลวงปู่บอกว่า ท่านแสบไปทั้ง เนื้อทั้งตัว ดังนี้เป็นต้น เอาเป็นว่าใครมีโอกาสหยิบฉวยแย่งอะไรจากท่าน เอาประโยชน์อะไรได้จากท่าน ต่างก็เอา กันไป หลวงปู่ท่า่นปล่อยวางเฉย ใครจะทำอะไรก็ตามใจ ดังนั้น ภาระหนักในการดูแลหลวงปู่ ถนอมหลวงปู่ ให้อยู่กบพวกเราให้นานที่สุด จึงตกอยู่ที่ หลวงปุ่หนู สุจิจฺโต เจ้าอาวาส
๑๕๖. ของดีที่หลวงปู่มอบให้ เมื่อมีผู้ของของดีจาก หลวงปู่แหวน ท่่านจะถามกลับและให้ธรรมะ เพื่อเป็นข้อคิดเตือนสติ เตือนใจ ดังนี้ :- " ของดีอะไร อะไรคือของดี ของดีก็มีอยู่ด้วยกันทุกคนแล้ว" การที่ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้พยาธินั้น ก็มีของดีแล้ว การมีร่างกายแข็งแรง มีอวัยวะ ครบถ้วน ไม่บกพร่องวิกลวิการ อันนี้ก็เป็นของดีแล้ว ของดีมีอยู่ในตน ไม่รู้จะไปเอาของดีที่ไหนอีก สมบัติของดีจากเจ้าพ่อ เจ้าเแม่ให้มา ก็เป็น ของดีอยู่แล้ว มีอยู่แล้วทุกคน จะไปเอาอองดีที่ไหนอีก ของดีก็ต้องทำให้มันเกิดมันมีขึ้นในจิตใจของตน ความดีอันใด ที่ยังไม่มี ก็ต้องเพียรพยายาม ทำให้เกิดให้มีขึ้นนี่แหละของดี ของดีอยู่แล้ว ในตัวของเราทุกๆคน มองให้มันเห็น หาให้มันเห็น ภายในตนของตนนี่แหละ จึงใช้ได้ ถ้าไปมองหาแสวงหาของดี ภายนอกแล้วใช้ไม่ได้ ศีล ธรรม นี่แหละคือของดี ศีล คือการนำความผิดความชั่วออกจากกาย ออกจาวาจา ธรรม ก็คือความดีที่ป้องกันไม่ให้ความผิดหวังความชั่วเกิดขึ้นใน กาย วาจา ใจ ทั้งศีล ทั้งธรรม ก็อันเดียวกันนั่นแหละ แต่เราไปแยกสมมติ เรียกไปต่างหาก กาย วาจา ใจ ของเรานี้เป็นที่ตั้งของธรรม เป็นที่เกิดของธรรม เป็นที่ดับของธรรม ความดีก็ เกิดจากที่นี่ ความชั่วก็เิกิดจากที่นี่ สวรรค์ก็เกิดจากที่นี่ นรกก็เกิดจากที่นี่ เราจะรักษาศีล ภาวนา ให้ทาน ก็ต้องอาศัย กาย วาจา ใจ นี้เป็นเหตุ เราจะทำความผิด ความชั่ว ไปนรกอเวจีก็ต้องอาศัยกาย วาจา ใจ นี้เป็นเหตุ เราจะรักษาศีล ทำสมาธิ ภาวนา ให้เกิดปัญญา ทำมรรค ผล นิพพาน ให้แจ้ง ให้เกิดขึ้น ก็ต้องอาศัยกาย วาจา ใจ นี้แหละ " นี่แหละครับของดีที่หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ มอบไว้ให้แก่พวกเรา ได้นำไปพิจารณาไตร่ ตรองดู
๑๕๗. เรื่องเครื่องรางของขลัง เรื่องเครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมงคล ที่พวกเราเสาะแสวงหา มาไว้ครอบครองนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณฺโร ท่านให้ความเห็นดังนี้ :- หลวงปู่พูดอยุ่เสมอว่า คนเรานี้แปลก เอาของจริงคือธรรมะให้ไม่ชอบ ไปชอบเอาวัตถุภาย นอกกันเสียหมด ที่พึ่งที่ประเสริญ คือพระรัตนตรัย นั้นประเสริญอยู่แล้ว แต่กลับไม่สนใจ พากันไป สนใจแต่วัตถุภายนอก จึงอาจกล่าวได้ว่า เมื่อคนเราไม่สามารถจะเอาคุณพระรัตนตรรัยมาเป็นที่พึ่งของตนได้ เพราะอินทรีย์ยังอ่อนอบรมมา ยังไม่เข้าถึงเหตุผล จะถือเอาวัตถุภายนอก เช่นพระเหรียญ ซึ่งเป็น รูปเหรียญรูปแทนของพระพุทธเจ้า นั้นก็ดีเหมือนกัน ถ้าผู้นั้นรู้ความหมายของวัตถุนั้นๆ หลวงปู่ท่านให้ข้อคิดในทางธรรมะว่า วัตถุมงคลเหล่านั้นหากจะนำไปป้องกันตัว ถ้ากรรมมา ตัดตอนแล้ว ป้องกันไม่ได้ ไม่ว่าสิ่งไหนจะไปต้านทานอำนาจกรรมนั้นไม่มี แต่ถ้าผู้นั้นรู้ความหมายในวัตถุนั้นๆ ว่า เขาสร้างขึ้นมาส่วนมาก เขาใช้สัญลักษณ์ของผู้ที่ ทำแต่ความดี การมีวัตถุมงคลไว้ติดตัว ก็มีไว้เป็นเครื่องเตือนสติปัญญาของตนเองไม่ให้ประมาทในการ กระทำของตน ต้องทำแต่ความดีเสมอ เพราะโลกเขาบูชานับถือแต่คนดี เรามีของดีอยู่กับตัว ก็ต้องทำแต่ความดีอย่างนี้แล้ว ก็นับว่าผู้นั้นได้ประโยชน์จากวัตถุมงคล นั้นๆ
๑๕๘. คาถาปลุกเสก เมื่อลูกศิษย์มีความสงสัย และถามหลวงปู่ว่า พระก็ดี เหรียญก็ดี ที่หลวงปู่ทำพิธี แผ่เมตตาไว้ มีคนนิยมกันว่าดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ หลวงปู่ปลุกเสกด้วยคาถาอะไร ? หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ จะตอบข้อสงสัยเช่นนี้ว่า ที่กล่าวว่า แผ่เมตตาวตถุมงคลนั้น ท่านไม่ เคยปลุกเสกพระอะไรเลย เคยแต่สวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยเท่านั้น แล้วตั้งสัจจะอธิษฐาน ให้เกิดศิริมงคลแก่ผู้ที่นับถือกราบไหว้บูชา จะอธิษฐานเพียงเท่านั้น ไม่มีคาถาสำหรับเสกให้ขลังอย่างนั้นอย่างนี้แต่อย่างใด สำหรับบทสวดที่หลวงปุ่แหวน ท่านใช้ในพิธีแผ่เมตตา ท่านจะใช้บท ติรตนนมการคาถา อ่านว่า ติระตะนะนะมะการะคาถา หรือ บททำวัตรพระ เพื่อสะดวกต่อท่านผู้อ่าน ผมขออัญเชิญมาไว้ เต็มๆ เลย ดังนี้ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ) โย สันนิสินโน วะระโพธิมูเล มารัง สะเสนัง สุขิตัง วิชเชยยะ สัมโพธิมาคัจฉิ อะนันตะญาโณ โลกุตตะโม ตัง ปะณะมามิ พุทธัง เย จะ พุทธา อะตีตา เย จะ พุทธา อะนาคะตา ปัจจุปันนา จะ เย พุทธา อะหัง วันทามิ สัพพะทาๆ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณสัมปันโน สุคะโค โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ พุทธัง ชิวิตัง ยะวะนิพพานัง สะระณัง คัฉามิ นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวิชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง อุตตะมัง เคนะ วันเทหัง ปาทะปังสุง วะรุตตะมัง พุทเธ โย ชะลีโต โทโส พุทโธ ขะมะตุ ตัง มะมัง อัฎฐังคิโก อะริยะปะโถ ชะนานัง โมกขัปปะเวสายะ อุชู จะ มัคโค ธัมโม อะยัง สันติกะโร ปะณีโต นิยยานิโก ตัง ปะณะมามิ ธัมมัง เย จะ ธัมมา อะตีตา จะ เย จะ ธัมมา อะนาคะตา ปัจจุปันนา จะ เย ธัมเม อะหัง วันทามิ สัพพะทา สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิสตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ นัตถิ เม สะรณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง อุตตะมังเคนะ วันเทหัง ธัมมัญจะ ทุวิธัง วะรัง ธัมเม โย ชะลิโต โทโส ธัมโม ขะมะตุ ตัง มะมัง สังโฆ วิสุทโธ วะระทักขิเณยโย สันตินทริโย สัพพะมะลัปปะหิโน คุเณหิ เนเกหิ สะมิทธิปัตโต อะนาสะโว ตัง ปะณะมามิ สังฆัง เย จะ สังฆา อะตีตา จะ เย จะ สังฆา อะนาคะคา ปัจจุปันนา จะ เย สังฆา อะหัง วันทามิ สัพพะทา สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสสังโฆ ญายะปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ ปุริสะ ปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญังเขตตัง โลกัสสาติ สังฆัง ชีวิตัง ยะวะนิพพานัง สะระํณัง คัจฉามิ นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะ มังคะลัง อุตตะมังเคนะ วันเทหัง สังฆัญจะ ทุวิธุตตะมัง สังเฆ โย ชะลิโต โทโส สังโฆ ขะมะตุ ตัง มะมัง อิจเจวะมัจจันะนะมัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง ตัสสานุเภนะ หะตันตะราโย
๑๕๙. คาถาปลุกเสกอีกบทหนึ่ง ในพิธีแผ่เมตตา หรือปลุกเสกวัตถุมงคล นอกจากจะใช้บท ทำวัตรพระ ดังกล่าวข้างต้น บางครั้ง หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านก็ใช้บทสวดนมัสการคุณพระรัตนตรัย อีกบทหนึ่ง ดังนี้ :- พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ, สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม, สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ ปุริสะ ปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
๑๖๐. ความเห็นเกี่ยวกับพิธีพุทธาภิเษก เกี่ยวกับการจัดพิธีปลุกเสกพระ ที่เรียกว่า พุทธาภิเษก ที่จัดกันอยุ่ทั่วไป ทั้งเป็นการราษฎร์ ทั้งเป็นการหลวงนั้น หลวงปุ่แหวน สุจิณฺโณ ให้ความเห็นในพิธีการนี้ว่า ถ้าเราเข้าใจว่าพิธีพุทธาภิเษก เป็นการ ปลุกเสกวัตถุที่เราสร้างขึ้นให้เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระพุทธเ้จ้านั้น ถือว่าเป็นการเข้าใจที่ไม่ ถูกต้อง ไม่ตรงตามความเป็นจริง หลวงปุ่ให้เหตุผลว่า พระพุทธเจ้าท่านเป็นพระตั้งแต่เรายังไม่เกิดพระองค์เป็นพระพุทธะ มาก่อนเราเป็นพันๆ ปี ถ้าใครไปปลุกเสกวัตถุให้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนับว่าผิด เราเองเป็นเพียงสาวก จะไปทำวัตถุที่เขาสร้างเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า ให้เป็น พระพุทธเจ้าได้อย่างไร วัตถุที่เขาสร้างขึ้นนั้น สำเร็จเป็นพระแล้วโดยสมบูรณ์ สำเร็จตั้งแต่เขา สร้างแล้ว เพราะเป็นที่รับรู้กันดีแล้วว่า เป็นรูปเปรียบรูปแทนของพระพุทธเจ้า ดังนั้น วัตถุนั้นๆ จึงเป็นพระโดยสมบูรณ์แล้ว ตั้งแต่เขาสร้างเสร็จ จะไปปลุกเสกให้เป็นพระอีกไม่ได้ หลวงปู่ ท่านเรียกพระพุทธรูปว่า พระบรมรูป ท่านกล่าวว่า พระบรมรูปของพระพุทธเจ้า นั้น แม้จะทำสำเร็จขึ้นจากวัตถุใดๆ ท่านก็สำเร็จ เป็นพระพทธะในความหมายแล้วอย่างสมบูรณ์ เพราะวัตุถุนั้นเขาสมมุติ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์ ของพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นเพียงวัตถุ เราก็กราบไหว้บูชา ได้ด้วยความสนิทใจ ไม่มีวิขาคาถาอาคมใดๆ ที่จะมาปลุกเสกพระพุทธเจ้าได้ เพราะวัตถุนั้น สำเร็จเป็นพุทธะตามความหมายที่เราได้สร้างขั้น แล้ว หลวงปุ่ให้ความเห็นว่า ที่เรียกกันว่าพุทธาภิเษกนั้น ควรจะเรียกว่า พิธีสมโภชพระ หรือพิธี นมัสการพระ จึงจะถูกต้อง ตามความเป็นจริง ขอสรุปเพื่อความเข้าใจอีกทีว่า หลวงปุ่แหวนท่านไม่ได้ค้านในพิธีการ แต่ท่านเสนอแนะคำ พูดที่เราใช้เรียก เพื่อจะได้ถูกต้อง ตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง
๑๖๑. การปลุกเสกวัตถุมงคล ต่อไปนี้เป็นคำเล่าของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เ่ล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟัง แล้วนำมาถ่ายทอด ลงในหนังสือโลกทิพย์ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ ปี พ.ศ.๒๕๒๕ โดย สิทธา เชตวัน ดังนี้ :- หลวงปู่แหวน ไม่เคยสนใจเรื่องการสร้างพระเครื่องแปลกๆ พิสดาร ตลอดจนเครื่องราง ของขลังเลย มีแต่พระ และฆราวาสลูกศิษย์ลูกหาจัดสร้างขึ้น แล้วขนไปให้ท่านปลุกเสกบ้าง ซึ่งท่าน ก็มีเมตตาไม่ขัดข้อง หลวงปุ่แหวน กล่าวว่า ชาวบ้านทั้งหลายยังติดข้องอยุ่ในโลกธรรม โลกียสมบัติ ยึดถือตัวตน บุคคลเราเขา ยังเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีโอกาสจะเป็นนักบวชกระทำจิตตัดกิเลส หาทางหลุดพ้น ได้สะดวก จำเป็นอยู่เอง ที่ชาวบ้านจะต้องยึดถือพระเครื่องเป็นที่พึ่ง อย่างน้อยพระเครื่องก็เป็นจุด ให้ชาวบ้านเข้าถึงความดี ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า จึงไม่ใช่เรื่องเสียหาย ที่ชาวบ้านจะมี พระเครื่องไว้ติดตัว "ปู่ก็เสกให้ ใครเอามาให้ ก็ต้องเสกให้ไป ด้วยความเมตตานั่นแหละ หลานเอ๊ย" หลวงปุ่แหวน กล่าวไว้อย่างนี้ เมื่อคณะศรัทธาจากที่ต่างๆ ทั่วสารทิศ หอบหิ้วขนเอาพระ เครื่องรางของขลัง ไปให้ท่านปลุกเสกถึงวัด ตอนนั้นหลวงปุ่แก่มากแล้ว ชราภาพไปด้วยวิสัยสังขาร หูตึง เดินเหินไม่สะดวก ทางวัดจึง ต้องจำกัดเวลาให้ชาวบ้านเข้านมัสการ ไม่ีค่อยจะให้ท่านเดินทางไกลไปร่วมปลุกเสกพระเครื่อง ในพธีพุทธาภิเษกใดๆ ง่ายๆ นอกจากว่า หลวงปุ่จะยินดีเต็มใจไปเองจริงๆ ทั้งนี้ก็เพื่อจะถนอม ชีวิตของหลวงปุ่แหวน ไว้ให้ยืนนานเป็นมิ่งขวัญของวัดและประชาชน ผุ้เคารพศรัทธาทั้งหลาย ต่อไปให้นานเท่านาน นั่นเอง มีสิ่งที่น่าสังเกตุอยู่อย่างคือ พระเครื่องรางของขลังใดๆ ที่พระ และฆราวาส นำไปขอเมตตาจิต จากหลวงปุ่แหวน เืพื่อให้ท่านปลุกเสกให้นั้น หลวงปู่แหวน จะปลุกเสกให้อย่างมากไม่เกิน ๙ นาที บางครั้งก็เสกให้ ๓ นาที ๕ นาทีบ้าง เป็นอันว่าใช้ได้ การปลุกเสกนี้ไม่มีพิธีรีตรองใดๆ ทั้งสิ้น ต้องไปนอนอยู่ที่วัดรอให้หลวงปู่แหวนออกมาจาก ห้อง พอท่านออกมาก็ขนสิ่งที่จะปลุกเสกเข้าไปกราบนมัสการท่านทันที แล้วท่านก็จะทำให้ ในเดี๋ยวนั้น ทำปุ๊ปเสร็จปั๊ป ก็เป็นอันว่าแ่้ล้วกันไป เสร็จสิ้นเรื่องเปิดโอกาสให้ผู้คนอื่นๆ เข้าไปนมัสการท่าน ตามคิว ซึ่งแน่นขนัดอยู่ทุกวัน ไม่มีขาด หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ไ้ด้เล่าถึงการปลุกเสกพระ ที่ลูกศิษย์ ลูกหาต่างถอดสร้อย และรวมพระ เครื่องต่างๆ รอให้หลวงปู่แหวน ปลุกเสกให้ดังนี้ :- "พอใครขนเอาเครื่องรางไปวางเสร็จ หลวงปู่แหวนก็ัตั้งท่าสงบใจสงเคราะห์ อาตมาก็จับดู จิตของหลวงปุ่แหวน ดูอารมณ์จิตของท่านว่า จะทำยังไง ครั้นแล้ว ก็เห็นอารมณ์จิตของหลวงปู่แหวนผ่องใสเป็นดาวประกายพฤษ์เต็มดวง ลอยอยู่ในอกท่าน เวลานั้นกำลังจิตของหลวงปุ่แหวน ก็คิดว่า ขออารธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ให้มาโปรดช่วยทำของเหล่านี้ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ เป็นมิ่งขวัญมงคล ของบรรดาท่า่นพุทธบริษัท ให้เข้าถึงพระธรรม โดยความจริง หลวงปุ่แหวน ไม่คิดว่าเสกให้เอาไปตีกับชาวบ้าน เอาไปปล้นชาวบ้าน ท่านเสก ให้คนเข้าถึงธรรม ท่านนึกในใจต่อไป หลวงปู่แหวนก็อาราธนาบารมีของพระอรหันต์ทั้งหมด บารมีของพรหม ของเทวดาทั้งหมด ตลอดจนกระทั่งครูบาอาจารย์ พอถึงพะอรหันต์ อาตมาก็เห็นหลวงปู่ตื้อ ปรี๊ดมาถึงข้างหลัง เอากำปั้นลง หลังอาตมาปั๊ปเข้าให้ แล้วถามว่า เฮ้ย ... มึงมานั่งอยู่ทำไมวะ อาตมาก็เลยบอกไปว่านี่ ... พระผี ไม่ต้องพูด หลวงปู่ แหวน เชิญพระผีนะ ไม่ได้เชิญพระมีเนื้อหนังมังสา มีหน้าที่อะไรก็ำทำไป แล้วก็ได้เห็นกระแสจิตหลวงปุ่แหวน เป็นประกายพฤกษ์ พุ่งออมาจากอก สว่างเจิดจ้า ใหญ่เหลือเกิน คลุมเครื่องรางของขลังทั้งหมด แสงสว่างประกายพฤกษ์ของจิตพระอรหันตเจ้า แทรกลงไปในเครื่องรางของขลัง อยู่ผิวด้านหน้ายันข้างล่างสุด เรียกว่าคลุมหมดอาบลงไปหมด เลย โพลงสว่างสุกปลั่งไปหมด คล้ายตกอยู่ในเบ้าหลอม เป็นกระแสสว่างของจิตที่เยือกเย็น เต็มไป ด้วยอำนาจพุทธบารมี เห็นแล้วรู้สึกเยือกเย็นสบายอย่างประหลาด บอกไม่ถูก นี่เป็นการปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังของ หลวงปุ่แหวน ซึ่งใช้เวลาไม่ถึง ๓ นาที แต่ทว่า อานุภาพยิ่งใหญ่ ทรงความขลงศักดิ์สิทธิ์ เลิศล้ำน่ามหัศจรรย์