๒๕. พระอาจารย์สิงห์ ติดตามหลวงปู่มั่น ย้อนกลับไปกล่าวถึงพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านได้เลิกสอนบาลีธรรม ที่วัดสร้างถ่อ เพราะทางหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล( พระอาจารย์ของหลวงปู่มั่น) ได้นิมนต์ให้พระอาจารย์สิงห์ เข้า ไปอยู่วัดเลียบ ในเมืองอุบลๆ เพื่อให้ช่วยสอนบาลีธรรมพระเณร ซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน จน ครูไม่พอสอน ที่วัดเลียบนี้เอง พระอาจารย์สิงห์ ได้พบกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นครั้งแรก ซึ่งหลวงปู่มั่น ได้กลับจากธุดงค์ฝั่งลาว มาเยี่ยมพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์สิงห์ ได้ยิน ได้ฟังกิตติศัพท์ของหลวงปู่มั่นมานานแล้วว่า ท่านเป็นพระมักน้อย ถือ เคร่งในธรรมวินัยอย่างยิ่งยวด มุ่งบำเพ็ญเพียรเพื่อแสวงหาทางหลุดพ้น อย่างเด็ดเดี่่ยวกล้าหาญ ดุจราชสีห์ ท่องเที่ยวไปในป่ากว้าง ไม่เกรงกลัวอันตรายใดๆ พระอาจารย์สิงห์ เมื่อพบกับหลวงปู่มั่น ได้เสพเสวนาธรรมกัน เป็นที่สบสัธยาศัยกันอย่างลึกซึ้ง เพราะทางฝ่ายหลวงปู่มั่น เก่งทางภาคปฎิบัติ ส่วนพระอาจารย์สิงห์ เก่งทางปริยัติแตกฉานในทาง ตำรา เรียนรู้พระสูต พระวินัย พระอภิธรรม อย่างเจนจบ ถ้าเปรียบไปแล้ว ก็เหมือนกับพระอาจารย์สิงห์ เก่งทางตำราเหมือนเราเรียนตำราอาหาร ตำรา แผนที่ ตำรายา เป็นต้น ฝ่ายหลวงปู่มั่น นั้นได้ลงมือทำตามตำราอย่างจริงจัง เปรียบได้กับการ เดินทางตามแผนที่ หรือเหมือนการลงมือปรุงยาตามตำรา แล้วรับประทานได้เลย จึงเลื่อมใส ความจริงนั้น ก่อนหน้านี้ พระอาจารย์สิงห์ เคยปฎิบัติกรรมฐาน ได้ฌานสมาธิมาแล้ว แต่ยัง ไม่แก่กล้าชำนะอินทรีย์สมใจหวัง เพราะยังขาดพระอาจารย์ผู้ชำนาญช่วยแนะนำชี้แนวทาง ดังนั้น เมื่อได้พบหลวงปู่มั่น ผู้ชำนาญเปรื่องปราดในด้านสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ได้ฟัง ท่านเล่าถึงชีวิตการจาริกธุดงค์ไปตามป่าเขา ลำเนาไพร ถิ่นลึกลับอาถรรพ์ต่างๆ จึงเกิดความตื่น เต้นจรัสจรุุงใจเลื่อมใสศรัทธา จนขนลุกขนชันทีเดียว ได้ปวารณาฝากตัวขอเป็นศิษย์ติดตาม จาริกธดงค์ และหลวงปู่มั่นก็รับพระอาจารย์สิงห์ เป็นศิษย์หรือสหธรรมมิกด้วยความเต็มใจ พระอาจารย์สิงห์ จึงละการเป็นครูสอนบาลีธรรม ออกปฏิบัติในป่าเขาลำเนาไพร ติดตาม หลวงปุ่มั่น ตั้งแต่บัดนั้น
๒๖. จะหาครูกรรมฐานได้ที่ไหน ฝ่ายหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เมื่อตัดสินใจจะออกปฏิบัติกรรมฐานแล้ว จึงมาคิดทบทวนดู ครูอาจาย์ทั่้งหลายที่มีชื่อเสียงในด้านกรรมฐานในสมัยนั้น ว่ามีอยู่ ณ ที่ใดบ้าง เท่าที่เคยได้ยินกิตติศัพท์ ก็มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน ที่มีชื่อเสียงในเวลานั้นมีอยุ่ ๓ แห่ง มีอยู่ทาง เวียงจันทน์ อยู่ทางอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และอีกแห่งอยู่แถบจังหวัดสกลนคร หลวงปู่แหวน มีโอกาส ได้พบปะกับพระธุดงค์อยุ่บ่อยๆ บ้างก็มาจากถิ่นไกลๆ เช่น ขอนแก่น ร้อยเอ็ด สระบุรี นครพนม และที่ข้ามโขงมาจากฝั่งลาวก็มี ท่านได้พบปะสนทนาธรรมแลกเปลี่ยน ความรู้กัน พระธุดงคืที่หลวงปู่แหวน ได้พบปะพูดคุย ปรากฏว่า อยู่ในสาย หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มากที่สุด ทำให้ได้ยินกิตติศัพท์ความเปรื่องปราดเพ่งเพียร อันยิ่งใหญ่ของ " พระอาจารย์ใหญ่มั่น" อยู่เสมอ นอกจากนี้ยังทราบว่า พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้้ให้ความรู้ด้านกรรมฐานองค์แรกแก่ ท่าน ก็อำลาจากการเป็นครูสอนปริยัตธรรม และกำลังติดสอยห้อยตาม พระอาจารย์ใหญ่มั่น ในฐานะศิษย์เอกผู้ใกล้ชิดด้วย " แสดงว่า พระอาจารย์ใหญ่มั่น ท่านต้องเก่งจริง ไม่เช่นนั้น พระอาจารย์สิงห์ อาจารย์ของเรา คงไม่ยอมฝากตัวเป็นศิษย์แน่" ก็ยิ่งเพิ่มความศรัทธาและกระหายจะได้ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ใหญ่มั่น ให้เร็ววัน เมื่อ พิจาณาทบทวนแล้ว จึงได้ตัดสินใจไปหาครูบาอาจารย์ทางจังหวัดสกลนคร คือ พระอาจารย์ใหญ่ มั่น ภูริทตฺโต
๒๗. อธิษฐานให้ได้พบกับครูอาจารย์ เย็นวันนั้น หลวงปู่แหวน รีบสรงน้ำแต่วัน ค่ำลงก็เข้าที่สวดมนต์ตามปกติ เสร็จแล้วได้ตั้ง สัจจาธิษฐาน ตั้งจิตตรงต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ " ข้าพเจ้าขออุทิศชีวิตพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า ถวายแด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยอำนาจของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และด้วยอำนาจบุญบารมี ของข้าพเจ้า ที่เคยได้อบรม สั่งสมมา ขอให้ข้าพเจ้าได้พบ หรือได้ข่าวครูอาจารย์ผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ ผู้สามารถแนะนำ สั่งสอนช้าพเจ้าได้ แม้ท่า่นจะอยู่ ณ ที่ใดๆ ก็ตาม ขอให้ข้าพเจ้าได้พบ หรือได้ยิน ข่าวของท่านใน เร็ววันนี้ และเมื่อข้าพเจ้าออกปฎิบัติกรรมฐามแล้ว ขออย่าได้มีอุปสรรคขัดขวางใดๆ แก่ข้าพเจ้าเลย " หลังจากตั้งสัจจะอธิษฐานแล้ว ท่านบอกว่า เกิดอาการขนลุกซู่เย็นซาบซ่านไปทั้งตัว เบาใจ จิตใจปลอดโปร่งทั้งคืน ๒๘. ได้ข่าวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต รุ่ึ้งขึ้นเช้า หลวงปุ่แหวน ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ตามปกติ ได้เล่าถึงความตั้งใน และการ อธิษฐานจิตของท่าน ให้แก่แม่กาสี โยมอุปัฎฐากฟัง โยมแม่กาสีรู้สึกเห็นชอบ และอนุโมทนา ในความตั้งใจออกปฏิบัติกรรมฐานของหลวงปู่ พร้อมกับรับปากว่า จะช่วยสอบถามข่าวคราวเกี่ยวกับพระอาจารย์สิงห์ หากได้ยินข่าว หรือรู้ว่า พระอาจารย์ใหญ่มั่ต ภูริทตฺโต อยุ่ที่ใด จะรีบบอกให้ทราบทันที หลังจากนั้นอีกเพียง ๒-๓ วัน โยมแม่กาสี ก็เล่าให้ฟังว่า พระอาจารย์จวง วัดธาติเทิง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ไปกราบหลวงปุ่มั่น เพิ่งจะกลับมาได้ไม่กี่วันนี้เอง ให้ไปสอบถามพระอาจารย์จวงดู คงจะทราบข่างของหลวงปู่มั่นอย่างแน่นอน นับเป็นข่าวที่น่ายินดีมาก สำหรับหลวงปู่ ความหวังที่จะได้พบพระอาจารย์ผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ และสามารถสั่งสอนท่านได้ เริ่มได้เค้าความเป็นจริงขึ้นมาตามคำอธิษฐานแล้ว
๒๙. ไปสอบถามพระอาจารย์จวง เมื่อกลับจากบิณฑบาต ฉันเสร็จ หลวงปู่ก็จัดบริขารสำหรับเดินทาง กราบลาท่านเจ้าสำนัก บอกลาผู้คุ้นเคย แล้วเดินทางเพื่อไปพบ พระอาจารย์จวงที่อำเภอเขื่องในทันที พระอาจารย์จวง ได้เล่าเรื่องที่ท่านไปกราบและฟังธรรมกับหลวงปู่มั่นว่า " บรรดาครูอาจารย์ที่ออกปฏิบัติเวลานี้ คงไม่มีใครเกินญาคูมั่น ไปได้ ครั้งแรกผมก็ได้ยิน แต่กิตติศัพท์ มีผุ้เล่าให้ฟังว่า ท่านเทศน์เก่ง รู้ใจคนฟัง มีผุ้ไปฟังธรรมจากท่านมากมาย ตอนแรก ผมเชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง ต่อมา เมื่อผมมีโอกาสเดินทางไปอุดร ผมจังไปกราบนมัสการฟังธรรมจากท่าน พอผมไปถึง ยังไม่ได้พูดอะไรเลย ท่านก็พูดวาอย่างนั้นอย่างนี้ ตามที่ผมคิดไว้ จนผมไม่กล้า พูดอะไร ผมกลัวท่านมาก ท่านรู้ใจเราจริงๆ เมื่อผมกราบนมัสการและฟังธรรมท่านแล้ว ผมก็ลากลบ มาถึงวัดไม่กี่วันมานี้เอง " พระอาจารย์จวง แนะต่อไปว่า :- " ผมไม่กล้าอยู่กับท่านญาคูมั่น นานวัน เพราะท่าทาง คำพูด ของท่านน่ากลัว หากท่านจะไปศึกษา กับท่านญาคูมั่น ก็ไปเถิด ผมยังมองไม่เห็น ใครเวลานี้ ที่ปฏิบัติได้ดี ไปกว่าท่าน ท่านญาคูมั่น ท่านปฏิบัติได้เด็ดเดี่ยวจริงๆ ท่านชอบไปองค์เดียว ไม่ชอบไปเป็นหมู่คณะ มีนิสัยหลีกเร้น ปราำรภความเพียร ไม่ท้อถอย มีพระิภิกษุ สามเณร และประชาชน จำนวนมาก ไปกราบนมัสการ และฟังธรรม จากท่าน เสมอไม่ได้ขาด"
๓๐. ออกเสาะหาหลวงปุ่มั่น จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์จวง ทำให้หลวงปู่ ยิ่งศรัทธา หลวงปู่มั่น มากยิ่งขึ้น กระหาย อยากไปฝากตัวเป็นศิษย์ให้เร็วที่สุด หลวงปู่แหวน พักอยู่ที่วัดบ้านธาตุเทิง แค่พอให้หายเหนื่อยจากการเดินทาง แล้วกราบลา พระอาจารย์จวง ไปเสาะหา หลวงปู่มั่นต่อไป ท่านออกเดินทางบุกป่า ฝ่าหนามไปโดยลำพังองค์ เดียว ด้วยหัวใจแน่วแน่ ว่าจะต้องไปหาครูบาอาจารย์ให้พบ เป็นการเดินทางที่ยาวไกล ไปองค์เดียวเป็นครั้งแรก โดยออกจากอำเภอเขื่องใน รอนแรม ผ่านอำเภอม่วงสามสิบ คำเขื่อนแก้ว ยโสธร เข้าเขตจังหวัดนครพนม ทางอำเภอเลิงนกทา อำเภอ มุกดาหาร คำชะอี นาแก แล้วเข้าสกลนคร ติดตามเสาะหา หลวงปู่มั่น ด้วยความหวัง นับเป็นการเดินทางที่มุ่งมั่นและทรหดอดทนอย่างยิ่ง
๓๑. พบกับ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ครูบาอาจารย์บางองค์เล่าว่า หลวงปู่แหวน ได้พบกับ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ก่อนที่จะได้ไป กราบ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่แหวน ออกธุดงค์ เสาะหาหลวงปู่มั่น กับหลวงปุ่สิงห์ แต่ไม่พบสักที เพราะพระอาจารย์ ใหญ่ และลูกศิษย์ ได้จาริก ธุดงค์ไปยังที่ต่างๆอยุ่ตลอดเวลา ไม่ได้พำนักปักหลักอยู่กับที่ ประกอบ กับการไปมาหาสู่กัน ในป่าดง ถิ่นห่างไกลทุรกันดาร เป็นไปไม่สะดวก ทำให้ต้องคลาดกันบ่อยๆ ระหว่างออกเดินทางค้นหา พระอาจารย์ใหญ่นี้ ท่านก็ได้พบกับพระธดงค์หนุ่มรุปหนึ่ง มาจาก วัดบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม หลวงปู่แหวน กับพระธุดงค์รูปนั้น มีความประสง๕ และปฏิปทาคล้ายกัน และถูกอัธยาศัยกัน ซึ่งต่อมาก็เป็นพระุธุดงค์สหธรรมมิกองค์สำคัญในอนาคต ซึ่งก็คือ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม นั่นเอง หลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ พบกันครั้งแรกที่ป่าภูพาน ขณะนั้น หลวงปู่ตื้อ จาริกธุดงค์มาจาก พระบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี ได้สนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความรู้กัน เป็นที่ชอบอัธยาศัยถูกใจ กันเป็นอันดี หลวงปู่ตื้อเอง ก็ใฝ่ใจปราถนาอยากจะพบ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ให้ได้เหมือนกัน เพราะได้ยิน ได้ฟังกิตติศัพท์ เกี่ยวกับพระอาจารย์ใหญ่ มามาก แต่ก็ยังไม่ได้พบ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ตามที่ หวังไว้
๓๒. ธุดงค์คู่กับหลวงปู่ตื้อ หลวงปุ่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ซั่งยังเป็นพระหนุ่มทั้งสององค์ได้ปรึกษาหารือกันว่า หากวาสนา ยีังมี คงจะได้พบกับ พระอาจารย์ใหญ่มั่น สมใจหวัง เราอย่างเร่งรัดตัวเองให้มากเลย จะธุดงค์ ไป เรื่อยๆ ถ้าไม่ตายเสียก่อน จะต้องได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์ใหญ่อย่างแน่นอน ในระหว่างนี้ เราควรจะจาริกธุดงค์ไปตามทางของเราก่อน บำเพ็ญเพียรสร้างบารมี กันไปตาม แนวทางที่พระธุดงค์วางไว้ หาความรู้ด้านกรรมฐานจากป่าดงพงพี ธรรมชาิตรอบกายเรานี้แหละ เมื่อมีปัญหาธรรม อันใด ที่เกินวิสีัยสติปัญญา ก็เก็บเอาไว้คอยถาม พระอาจารย์ใหญ่มั่น เมื่อ มีโอกาส เมื่อปรึกษาตกลงกันได้เช่นนี้แล้ว หลวงปุ่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ก็พากันจาริกธุดงค์ แสวงหา วิเวกบำเพ็ญสมณธรรมมุ่งหน้าข้ามแม่น้ำโขงไปทางสุวรรณเขต ฝั่งประเทศลาว คืนแรกที่ข้ามไปฝั่งลาว หลวงปู่ทั้งสอง ได้เลือกเอาชายป่าแห่งหนึ่งเป็นที่กางกลด พักบำเพ็ญ ภาวนา วันรุ่งขึ้นก็ออกเดินทางต่อไป จิตมุ่งในธรรมะอย่างเดียว จิตร่าเริงสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ไม่กลัวความลำบาก ไม่กลัวตาย ธรรมชาติในป่า ล้วนให้ความเพลิดเพลิน มองไปทางไหนมีแต่ป่าเขา เขียวชอุ่ม ป่าไม้แน่นขนัด ล้วยเย็นตาเย็นใจ ฝากกายฝากใจไว้กับพระธรรม พร้อมที่จะพลีชีวิตเพื่อธรรม อย่างตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว ไม่กล้วตาย หลวงปุ่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ มีจริตนิสัยคล้ายกัน คือยิ่งอดอาหารขบฉัน จิตก็ยิ่งสงบ เข้าสมาธิ เร็วขึ้น มั่นคงขึ้น แม้จะเป็นการทรมานตน แต่ก็ไม่รู้สึกหิวโหย หรือกังวลใดๆ จิตมีแต่ความเพลิดเพลิน ก้าวหน้าอาจหาญในธรรมภาวนา จะพิจารณาสิ่งใดก็แยบคาย ปัญญาก็ว่่องไวกว้างขวาง บางครั้งไม่ได้ฉันอาหารติดต่อกัน ๗-๘ วันก็มี หรือแม้แต่ประสบอันตราย เ่ช่นไปในที่มีเสือ ด้วยความกลัวก็เร่งภาวน เร่งบริกรรมพูทโธ ให้มากขึ้นจนลืมเรื่องเสือ จิตเข้าสู่สมาธิ พอจิตคลายตัวจากสมาธิก็ไม่พบเสือ ไม่ได้ยินเสียงร้อง ของมัน ทำให้เกิดความมั่นใจว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ช่วยให้พ้นจากเสือได้ เลยเกิดความรู้ ความเชื่อมั่นว่า พระพูทโธคุ้มอันตรายได้จริงๆ ก็บังเกิดความกล้าหาญ หาย หวาดกลัวภัยอันตรายต่างๆ ได้ปัญญาว่า " ตัวเรานี้มีจริตนิสัยชอบทางให้ความกลัวบังคับแท้ๆ จิตจึงจะได้สงบนิ่ง เกิดความรอบรู้ จะพิจารณาอะไรต่อไป ก็แยบคายรู้เหตุรู้ผล และเห็นโทษของ ความกลัว เป็นเรื่องน่าละอาย และเห็นคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างซาบซั้งใจ
๓๓. ผจญสัตว์ประหลาด มีเหตุการณ์น่าขนพองสยองเกล้าครั้งหนึ่ง เขียนในนิตยสารโลกทิพย์ดังนี้ ในเช้าวันหนึ่ง หลวงปู่้แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ได้อาศัยบิณฑบาตที่หมู่บ้านชาวป่า มี ๔-๕ หลังคาเรือน ชาวบ้านพากันมาใส่บาตรด้วยความดีใจ เพราะนานๆ จะมีพระธุดงค์มาโปรดสักที ชาวบ้านถามว่า พระคุณเจ้าทั้งสองจะไปไหน หลวงปู่บอกว่า จะมุ่งไปทางเทือกเขาที่มองเห็น แล้วจะลองไปทางสุวรรณเขต( อยู่ตรงข้ามกับมุกดาหาร) ชาวบ้านแสดงอาการตกใจ พร้อมทั้งทัดทานว่าอย่าไปทางโน้นเลย เพราะกำลังมียักษ์ปีศาจ ดุร้ายสิงอยู่ คอยทำร้ายคนและสัตว์ที่ผ่่านไปทางนั้น หลวงปู่กล่าวขอบใจในความหวังดี และบอกว่า ท่่านทั้งสองได้มอบกายถวายชีวิตให้ พระศาสนาแล้ว ขออย่าได้ห่วงตัวท่านเลย แล้วท่านก็ออกเดินทางไปในทิศทางดังกล่าว หลวงปู่ออกเดินทางโดยข้ามลำน้ำสองแห่ง แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่า ป่าแถบนั้นเงียบกริบ ไม่ได้ ยินเสียงสัตว์ต่างๆเลย แม้แต่นกก้ไม่มี ผิดประหลาดมาก พอใกล้ค่ำ หลวงปู่ทั้งสอง ก็มาถึงยอดเขาสูง ที่มีลักษณะประหลาดมาก คือยอดเป็นสีดำ คล้าย ถูกไฟเผา รูปลักษณะดูตะปุ่มตะป่ำ คล้ายตัวคนบ้าง หัวตะโหนกช้างบ้าง แปลกไปจากเขาลูกอื่นๆ หลวงปู่ทั้งสอง เลือกปักกลดค้างคืนข้างลำะารที่มีน้ำใสไหลผ่าน อยู่ที่เชิงเขาลูกนั้น ปักกลดห่าง กันประมาณ ๑๐ เมตร เมื่อสรงน้ำพอสดชื่นแล้ว ต่างองค์ก็นั่งสงบภายในกลดของตน ทั้งสององค์ ตระหนักในความประหลาดของสถานที่นั้น ไม่ได้พูดอะไรกันเพียงแต่นั่งสงบอยู่ภายในกลด ประมาณ ๕ ทุ่ม หลวงปู่แหวน ก็ออกจากกลดเตรียมจะเดินจงกรม หลวงปู่ตื้อออกมาตามและ พูดว่า " ผมรู้สึกว่าที่นี่วิเวกผิดสังเกตนะ" หลวงปู่แหวนตอบ " ผมก็รู้สึกอย่างนั้นเหมือนกัน" พูดกันแค่นี้ต่างองค์ต่างก็เดินจงกรมในทางของตน ต่อจากนั้น ไม่นาน ก็มีเสียงกรีดแหลมเยือกเย็น ดังลงมาจากยอดเขารุปประหลาดนั้น เสียง นั้นแหลมลึกบีบเค้นประสาท จนรู้สึกเสียวลงไปถึงรากฟันทีเดียว หลวงปู่ตื้อถามพอได้ยินว่า " ท่านแหวนได้ยินแล้วใช่ไหม" หลวงปู่แหวน ตอบด้วยเสียงเรียบๆว่า " ผมกำลังฟังอยู่" เสียงกรีดร้องนั้นใกล้เข้ามาทุกที ฟังแล้วน่าขนพองสยองเกล้า ทั้งสององค์คงเดินจงกรม อยู่เงียบๆ ตามปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ป่านั้นเงียบสงัดจริงๆ เสียงนกเสียงแมลงไม่มี ครั้นแล้วเกิดพายุปั่นป่วนมาอย่างกระทันหัน ชนิดไม่มีเค้ามาก่อนเลย ต้นไม้โยกไหวรุนแรง ราวกับจะถอนรากออกมา อากาศพลันหนาวเย็น วิปริตขึ้นมาทันที พลันปรากฎร่างประหลาดขึ้นร่างหนึ่ง ตัวดำมะเมื่อม สูงราว ๗ ศอก มีขนยาวรุงรังคล้ายลิง ยักษ์ แต่หน้าคล้ายวัวควาย ตาโปน มือสองข้างยาวลากพื้นดิน มันก้าวเข้ามาอยู่ห่างจากหลวงปู่ ทั้งสองประมาณ ๑๐ เมตรเห็นจะได้ สัตว์ประหลาดนั้นส่งเสียงร้องโหยหวนขึ้น พลันพายุนั้นก็สงบลง แสดงว่า มันมีอำนาจเหนือ ธรรมชาติ สัตว์นั้นส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงร้ายกาจเหมือนกลิ่นศพที่กำลังขึ้นอืด มันกระทืบเท้าสนั่น จนแผ่น ดินสะเทือน หลวงปู่แหวนเล่าในภายหลังว่า ท่านไม่รู้สึกกลัว แต่ขนลุกซู่ซ่าไปหมด เพราะไม่เีคยเห็น สัตว์ประหลาดอย่างนั้นมาก่อน ยังไม่รู้ว่า เป็นปีศาจ หรือสัตว์อะไรแน่ ท่านได้กำหนดสติไม่ให้ ใจคอวอกแวก ทอดสายตา ไปยังสัตว์ประหลาดนั้น กำหนดจิตแผ่เมตตาไปยังร่างนั้น สัตว์ร่างยักษ์นั้นหยุดร้อง หยุดส่งกลิ่นเหม็น แสดงว่ารับกระเแสเมตตาได้ มันค่อยๆทรุดร่าง ลงนั่งยองๆเอามือยันพื้นไว้ ทำท่าแสดงความน้อบน้อมต่อท่าน หลวงปู่ตื้อ พูดพอได้ยินว่า " ท่านแหวนทำดีมาก" พร้อมทั้งเดินมาสมทบ แล้วพูดว่า " เขา แบกหามบาปหาบทุกข์อันมหันต์ เขามาหาเรา เพื่อให้ช่วยปลดทุกข์ให้เขานะ เขาสร้างกรรมไว้ มาก เมื่อตายจากมนุษย์ แล้วต้องมาเป็นปีศาจอสุรกาย ทนทุกข์ทรมานอยู่ที่นี่ หลวงปู่แหวนได้กำหนดจิตถามดู ก็ได้ความว่า สมัยเป็นมนุษย์ เขามีการกระทำที่มากล้น ด้วยตัณหา และความโลภ คือละเมิดศีลข้อ ๒ และข้อ ๓ อยู่เสมอ จึงต้องมาเป็นปีศาจอสุรกาย รับ ทุกข์อยุ่ที่นี่มากว่า ร้อยปีแล้ว ปีศาจอสุรกายนั้นดูท่่าทางอ่อนลงมาก มันร้องไห้คร่ำครวญน่าสงสาร ขอความเมตตา จาก พระคุณเจ้าทั้งสอง ให้เขาได้พ้นทุกข์ทรมานนั้นด้วยเถิด หลวงปู่แหวน ได้พิจารณาเห็นว่า เขาสร้างกรรมซับซ้อนเหลือเกิน ใครจะช่วยเขาได้ พลัน หลวงปู่ตื้อ ตอบมาในสมาธิว่า " กรรมเป็นเรื่องสลับซับซ้อนลึกซึ้งอยู่ก็จริง บางทีพระผู้มีศีลบริสุทธิ์ และมีบารมีเช่นท่านแหวน ก็อาจจะช่วยให้เขาพ้นทุกข์ได้ ลองอ่านพระคาถา หรือเทศนาธรรม ให้เขาฟังดูสิ " หลวงปู่แหวนได้กำหนดจิตว่าพระคาถา แล้วเทศนาให้เขาสำนึกบาปบุญคุณโทษ เขาค่อยๆ คลายความกังวลลง ก้มลงกราบด้วยความซาบซึ้ง " พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าได้กำหนดจิตพิจารณาตามกระแสธรรม ของท่านแล้ว เกิดแสงสว่าง กับข้าพเจ้าอย่างมหัศจรรย์ และข้าพเจ้าได้เห็นสภาวธรรม คือ ชาติ ชรา มรณะ อันเป็นทุกข์ เป็น ธรรมดาของสรรพสัตว์ทั้งหลายแล้ว พระคุณเ้จ้า " สีหน้าเขาดูสดชื่น ก้มลงกราบหลวงปู่ทั้งสององค์ แล้วร่างนั้นก็หายไป
๓๔. ผจญผีกองกอยชาวบ้านข่าระแด มีเหตุการณ์สะเทือนขวัญอีกครั้งหนึ่ง ได้เขียนไว้ในหนังสือ พระธาตุปาฎิหารย์ ของ นิตยสารโลกทิพย์ ซึ่งขอนำมากล่าวโดยสรุปดังนี้ :- เมื่อหลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ จารึกมาถึงเทือกเขาใหญ่โตทิศใต้ แขวงเมืองคำม่วน เป็นป่า ดงเย็นอึมครึม เชื่อมโยงลงไปถึงสุวรรณเขต ในตอนเย็น พบสถานที่เหมาะ จึงปักกลดพักภาวนา ที่หุบเขาใต้เงื่อมผาแห่งหนึ่ง ทั้งสององค์ ปักกลดห่างกันพอสมควร คืนนั้นต่างองค์ต่างบำเพ็ญเพียรอยู่ในกลดเป็นปกติ ประมาณ ๓ ทุ่ม ในป่าดงเช่นนั้น ดูเงียบสงัดวังเวง ก็ได้ยินเสียงประหลาดคล้ายเสียงนกกลาง คืนร้อง " ก๋อย ก๋อย ก๋อย " เสียงนั้นดังใกล้เข้ามา แล้วดังรับกันล้อมรอบไปทั่วทิศ เสียงบีบเข้ามา " ก๋อย ก๋อย ก๋อย และมี แสงคบไฟนับสิบๆดวงมาจากเสียงนั้น ทำให้มองเห็นตัวผู้ถือได้ถนัด ร่างนั้นเป็นมนุษย์ร่างประหลาด ขนาดเด็กอายุ ๑๓-๑๔ ปี ผอม พุงโร ผิวคล้ำ ผมเผ้ารุงรัง จมูกแบน บ่งบอกว่าเป็นคนป่า ทุกคนมีอาวุธประจำตัว "หน้าทึ่น" คล้ายธนูแต่เล็กกว่า ใช้คล้องตัว ในบ่า พวกเขาสะพายกระบอกไม่ไผ่ใส่ลูกดอกอาบยาพิษ คนร่างเล็กนั้นส่งเสียงรับกันเป็นทอดๆ โอบล้อมกลดธุดงค์เข้ามา พอได้ระยะก็พากันยก หน้าทึ่น เล็งเข้ามายังกลดทั้งสอง หลวงปู่ตื้อร้องบอกพอได้ยินว่า " ท่านแหวนระวัง " แล้วทั้งสององค์ก็กำหนดจิตหลับตา เข้าฌานทันที เป็นไปโดยอัติโนมัติ ปรากฎว่าลูกดอกอาบยาพิษ ที่ระดมยิงมานั้น ตกร่วงพรูห่าง จากกลดทั้งสองเป็นวา เป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง พวกชาวป่าต่างแปลกใจ ร้อง ก๋อย ก๋่อย ก๋อย ดังกระหึ่ม แล้วระดมยิงลูกดอกอีก ๒-๓ รอบ ก็ปรากฎผลเช่นเดิม คือลูกดอกตกลงดินก่อนจะไปถึงกลด ทำเอาพวกเขาตกใจกลัว ร้อง " ก๋อย ก๋ย กุ๋ย " แล้วต่างก็วิ่งหนีหายไป ในความมืด เมื่อคนป่าหนีกลับไปหมดแล้ว หลวงปู่ทั้งสอง จึงได้ออกมานอกกลด หลวงปู่ตือ ถามว่า " เป็น ไงท่านแหวน ตับไตไส้พุงของท่าน ยังดีอยู่หรือ ? " หลวงปู่แหวน ตอบไปว่า " ผมนั่งรออยู่ในกลด ให้พวกเขาเอาตับไตไส้พุงผมไปกิน ทำไมมัน ไม่เอาก็ไม่รู้ " ทั้งสององคืได้เดินจงกรม ไปจนดึก แล้วเข้าทำสมาธิต่อภายในกลดไปจนสว่าง ตอนเช้าพวกคนป่ากลุ่มนั้นเข้ามาด่อมๆ มองๆ ด้วยความเกรงกลัวหลวงปู่ แสดงท่าให้พวกเขา เข้ามา ต่างค่อยๆเข้ามาด้วยเนื้อตัวสั่นเทา มาหมอบนิ่งเอาหัวซุกดิน คล้านสำนึกผิด และขอขมา พวกเขาเป็นพวกข่าระแด เป็นคนป่ากลุ่มหนึ่ง ชอบล่ามนุษย์เผ่าอื่นที่ล่วงล้ำเข้ามา แล้วเอาเนื้อ แบ่งกันกิน พวกย่าระแด ได้นิมนต์หลวงปู่ทั้งสอง ไปยังที่พักของพวกเขา จัดอาหารนำมาถวาย ก็มีเนื้อ ย่าง ๒ ก้อน ได้ความว่า เป็นเนื้อของคนแก่ ซึ่งยอมสละชีวิตของตนเอง ให้เป็นอาหารของ ลูกหลาน หลวงปู่ อยู่โปรดพวกชาวป่าหลายวัน ทรมานและสอนพวกเขา ให้เลิกการฆ่ามนุษย์ด้วยกัน เมื่อเห็นว่า พวกเขาเชื่ออย่างจริงใจแล้ว ท่านทั้งสองก็ออกเดินทางต่อไป ด้วยความอาลัยอาวรณ์ ของพวกเขายิ่งนัก ( อ่านเรื่องโดยละเอียดใน พระธาตุปาฎิหารย์ ของนิตยสารโลกทิพย์)
๓๕. ธุดงค์ในป่าดงพงไพร หลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ได้อำลาจากพวกชาวป่าีข่าระแด ในเวลาต่อมา ท่ามกลางเสียง ร่ำไห้อาลัยจากพวกเขา ท่านได้ธุดงค์มาทางสุวรรณเขต แสวงหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพร ป่าดงพงไพรเป็นสถานที่กำจัดความเกียจคร้านและความกลัวต่างๆได้ดี การอยู่ป่าชัฎเต็มไป ด้วยสัตว์ร้าย และภัยอันตรายต่างๆ พระธุดงค์จึงต้องตื่นตัวอยุ่ตลอดเวลา มีสติควบคุมกายและใจ ไม่ให้ประมาท สัตว์ป่าที่เป็นอันตราย เป็นเครื่องเตือนสติไม่ให้พระธุดงค์เกียจคร้าน ต่อการเพ่งเพียรภาวนา ไม่เช่นนั้น อาจถูกสัตว์ป่าเหล่านั้น คุกคามทำอันตรายได้ ด้วยเหตุนี้ พระธุดงค์ที่เข้าป่าใหม่ๆ จึงได้สภาพแวดล้อม ในป่าช่วยในด้านสมาูธิภาวนา เป็นอย่างมาก เพราะกลัวตาย จึงต้องเีร่งภาวนา ส่วนพระธุดงค์ ที่แก่กล้าในการบำเพ็ญเพียร ท่านย่อมอยู่เหนืออำนาจความกลัวใดๆ แม้แต่ ความตายท่านก็ไม่กลัว ท่านจึงสามารถไปไหนๆ ตามลำพังองค์เดียวได้ เพราะจิตใจท่านมั่นคง ผ่านเหตุการณ์ต่างๆมามาก ย่อมพิจารณาคุณและโทษไปในทางอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เล็งแลเห็น สัตว์ป่าทั้งหลายเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมด ทั้งสิ้น ท่านจึงแผ่เมตตา ให้สัตว์ ทั้งหลายไม่มีประมาณ การพิจารณาต้นไม้ใบหญ้า ธรรมชาติแวดล้อม รอบกายอันมี ความสงัดวิเวก ช่วยชุจิตให้สงบ ย่อมจะทำให้เกิดปัญญารุ้แจ้งในธรรม เห็นมรรค ผล นิพพาน ได้ง่ายกว่าอยู่ในบ้าน ในเมือง ที่มี ความพลุกพล่าน วุ่นวาย ด้วยประการทั้งปวง การเข้าป่า บำเพ็ญ ภาวนา อดๆอยากๆ อดหลับอดนอน พาร่างกายเดินบุกป่า ฝ่าดง ขึ้นเขา ลงห้วย ให้ยุงกัดบ้าง ให้เสือร้องขมขู่คุกคามบ้าง เหล่านี้จัดเป็นอุบายแยบคาย ที่จะทรมานร่างกาย และจิตใจ ให้หายพยศ ไปตามลำดับขั้นตอน หลวงปู่ทั้งสอง ได้ธุดงค์ลงไปใต้ ไปถึงแขวงจำปาศักดิ์ ชนิดที่วันเวลาที่ผ่านไป ไม่ได้นำมา จดจำเอาใจใส่ เพราะมีแต่ความร่าเริงใจในธรรมชาติ เพ่งเพียรอย่างไม่อ่อนกำลังท้อถอย ไม่แสดง อาการอ่อนแอ ยอมแพ้ต่อกิเลสมาร มีตัวตัณหาวัฎสงสาร เป็นคู่ต่อสู้อยู่ในหัวใจ จำเป็นต้องใช้กำ ลังใจที่แก่กล้า ยอมตายถวายชีวิต จึงจะสามารถขูดกิเลสออกจากใจ และสามารถบรรลุถึงภูมิจิต ภูมิธรรมแต่ละขั้นแต่ละตอน ตามวิถทางแห่งอริยมรรคได้ ทางฝั่งลาว เป็นป่าทึบและมีภูเขามาก ฝนตกชุกแทบทุกวัน บางครั้งฝนตกติดต่อกันถึงสิบวัน สิบคืนก็มี หลวงปู่ทั้งสอง ต้องผจญภัยความยากลำบาก ไหนจะต้องเปียกฝนทนทุกข์ ต้องต่อสู้กับ ความหนาว ยิ่งถ้าเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย ด้วยก็ไม่มียาจะรักษา ความขาดแคลนปัจจัยสี่ มีอาหารบิณฑบาต นับเป็นความลำบากอย่างยิ่ง สำหรับที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งหุ่มนั้น แทบไม่ต้องกล่าวถึง เพราะเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน แต่ท่่านทั้งสองก็ฟันฝ่ามาได้ หลวงปู่แหวน เล่าให้พระเณรรุ่นหลังฟังว่า " ขณะธุดงค์อยุ่ในป่า ฝนฟ้า ตกหนัก จนเปียก โชก ทนหนาวเหน็บและอดอาหารอยู่หลายวัน หลายคืนอย่างนั้น สิ่งที่จะต้องระวังที่สุดก็คือ อารมณ์กล้วตาย ที่อาจจะฟุ้งซ่านขึ้นมาได้ง่ายๆ" ท่านเล่าว่าเคยมีพระธุดงค์หนุ่มบางรูป ทนความลำบากขาอแคลนกันดาร ในปัจจัยสี่ไม่ไหว และไหนจะลำบากในการการประกอบความเพียร คือ ฝึกสมาธิทรมานจิตที่แสนคะนองโลดโผน ประจำนิสัยมาแต่เดิม ไม่สามารถจะบังคับจิตอันมีพยศให้อยู่ในขอบเขต ร่องรอยที่ต้องการได้ ความลำบากเพราะเดินจงกรมนาน นั่งภาวนานาน เกิดทุกขเวทนา ทรมานร่างกายจิตใจ และ หิวโหยโรยแรงเพราะอดอาหาร เป็นต้น ทำให้พระธุดงค์ท้อแท้ใจ หมดสิ้นความมานะพยายาม ต้องหนีกลับบ้าน กลับเมืองในที่สุด ดังนั้น พระธุดงค์กรรมฐาน จะต้องเด็ดเดี่ยว ไม่กลัวตาย จะต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกว่า พระพุทธองค์และพระสาวกทั้งหลายในอดีต ท่านเคยผ่านความลำบากยากแค้น ขาดแคลนกันดารกว่านี้มาก่อน ท่านยังทนได้สู้ได้ เราจะต้องปฎิบัติตามท่านให้ได้ จะต้องกล้าหาญ อดทน คือทนค่อสภาพอากาศ ทนต่อความ เจ็บไข้ได้ป่วย และทุกข์ทรมานต่างๆ คนต่อความหิวโหย ทนต่อความเปลี่ยวกายเปลี่่ยวใจ ไร้เพื่อนฝูง และครูบาอาจารย์ผู้เคยอบรมสั่งสอน ที่สำคัญอีกอย่างคือ พระธุดงค์จะต้องฝึกใจห้กล้าแข็งต่อแรงพายุอารมณ์กิเลสมาร ความฟุ้ง ซ่านต่างๆ ที่จะเกิดจากใจตัวเอง พายุอารมณ์หลอกลวงเหลวงไหล เป็นมายาจิต ตัวกิเลสนี้แหละ เป็นตัวการ สำคัญร้ายกาจ คอยทำลายความเพียรภาวนาของพระธุดงค์ เป็นตัวการใหญ่ คอยกีด ขวางทางดำเนิน เพื่อ มรรค ผล นิพพาน ต่อไปได้
๓๖. ธุดงค์แยกทางกัน จากคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ บอกว่า หลวงปู่แหวน กับ หลวงปู่ตื้อ ร่วมธุดงค์มาจนถึง เมืองสุวรรณเขต ก็ตกลงกันว่า ต่อไปนี้จะำพลีชีพด้วยตัวเอง เพื่อแลกธรรมให้เห็นดำเห็นแดง คือต่างองค์ ก็จะเดินธุดงค์ โดดเดี่ยวแต่ลำพัง ไม่ต้องคอยหวังพึ่งซึ่งกันและกัน เป็นการทดสอบกำลังจิตใจครั้งสำคัญว่า จะแกร่งกล้าแสวงหาธรรมไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ จากนั้นหลวงปู่ทั้งสอง ก็แยกทางกัน โดยหลวงปู่ต้อ ธุดงค์เลียบฝั่งขึ้นไปทางเวียงจันทน์แต่ ลำพัง ส่่วนหลวงปู่แหวน ได้ย้อนกลับข้ามโขงมาฝั่งไทย เพื่อมุ่งแสวงหา หลวงปู่มั่น พระอาจารย์ ใหญ่ ตามที่ตั้งใจไว้เดิม ๓๗. ถวายตัวกับหลวงปู่มั่น หลวงปู่แหวนได้พยายามสืบเสาะถามหาที่พำนักของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในที่สุดได้ทราบว่า พระอาจารย์ใหญ่ ท่านพักอยู่ที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จึงรีบเร่งเดินทางไปหาโดยมิรอช้า เมือ่ไปถึงอำเภอบ้านผือ ก็สอบถามชาวบ้าน ทราบว่า หลวงปู่มั่น พักอยู่ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จึงได้เข้าไปกราบและถวายตัวเป็นศิษย์ เมื่อสบโอกาส ( เสนาสนะป่าดงมะไฟ บ้านค้อ ในปัจจุบันคือ วัดป่าบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีพระอาจารย์ทูล ขปฺปปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส) ประโยคแรกที่หลวงปู่มั่นทักถาม คือ " มาจากไหน " เมื่อเรียนท่านว่า " มาจากอุบลครับ" หลวงปู่มั่น กล่าวเป็นประโยคที่สอง ซึ่งหมายถึง ท่านลงมือให้การสอนทันที่ว่า :- " เออ ! ต่อไปนี้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมา ให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน" คำพูดของพระอาจารย์ใหญ่เพียงสั้นๆ แค่นี้ ช่างมีความหมายต่อหลวงปู่แหวนมากมายเหลือ เกิน เพราะเป็นความต้องการของท่านจริงๆ ท่านสุดแสนจะดีใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้ยินว่า "ต่อไปนี้ให้ภาวนา" เท่ากับความตังใจของหลวงปู่ ได้บรรลุตามความประสงค์ โดยไม่ต้องเอ่ยปาก ขอแต่ประการใด
๓๘. จำใจเดินทางกลับมาตุภูมิ ครั้งที่หลวงปู่แหวน เข้าถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ในครั้งแรก ที่ดง มะไฟ บ้านค้อ นั้นอยู่ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ หลวงปู่แหวนอายุ ๓๑ ปี มีอายุพรรษาในมหานิกาย ๑๑ พรรษา หลวงปู่แหวน เริ่มต้นฝึกภาวนา จิตใจเริ่มสงบเย็น เริ่มพบกับความหวัง และเิริ่มมั่นใจว่า นี่เป็นหนทางที่จะทำให้ท่านสามารถอยู่ในสมณเพศ ไปได้ ตลอดรอดฝั่ง ตามที่ได้ให้สัญญากับ โยมแม่และโยมยายเอาไว้ ในขณะที่กำลีังดีใจกับการได้พบพระอาจารยืตามความตั้งใจ และอยู่อบรมด้านภาวนากับท่าน ได้แค่ ๔ วัน พึ่งเิริ่มสัมผัสกับความสงบเย็น จิตใจเพียงเริ่มต้นจัดระเบียบเพือก้าวไปสู่ความสงบ เท่านั้นเอง พอวันที่ ๕ ก็มีน้าเขย และพี่เขย เดินทางมาจากจังหวัดเลย มานิมนต์ให้ท่านเดินทางกลับ จังหวัดเลย ตอนแรกน้าเขย กับพี่เขย จะไปตามที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อไต่ถามดูทราบว่า หลวงปู่มาอยู่ กับหลวงปู่มั่นที่อำเภอบ้านผือ อุดรธานี จึงได้รีบตามมา หลวงปู่แหวนถามว่า " กลับไปทำไม ?" น้าเขยกับพี่เขยตอบว่า " พ่อแม่ พี่น้อง และญาติๆ ต้องการเห็นหน้า เพราะจากบ้านมานาน แล้ว ยังไม่เคยกลับไปเยี่ยมบ้านเลย" หลวงปู่ได้ทบทวนดูแล้ว ก็เห็นด้วย เพราะจากบ้านมากว่า ๑๕ ปีแล้ว โยมบิดา คงจะชราไป มาก ถ้ากลับไปเยี่ยมบ้างก็คงจะดี จึงตกลงใจกลับไปเยี่ยมบ้านพร้อมกับญาติที่เดินทางมารับ
๓๙. พระอาจารย์ใหญ่เตือนให้รีบกลับ เวลาเย็นหลังเสร็จกิจธุระแล้ว หลวงปู่แหวน ได้เข้าไปกราบเรียนพระอาจารย์ใหญ่ ว่า มีญาติมารับให้กลับไปเยี่ยมบ้าน หลวงปุ่มีั่นถามว่า " กลับไปทำไมบ้าน ? " กราบเรียนท่านว่า " กระผมจะกลับไปให้โยมบิดา พี่น้อง และญาติๆ ได้เห็นหน้าเท่านั้นเอง" หลวงปู่มั่นท่านอนุญาติ และเตือนว่า " เออ ! ไปแล้วให้รีบกลับมา อย่าอยุ่นาน อยู่นานไม่ได้ ประเดี๋ยวเสียท่าเขานะ เสียท่าเขา ถูก เขามัดไว้เดี๋ยวจะดิ้นไม่หลุด" เมื่อพระอาจารย์ใหญ่อนุญาติแล้ว รุ่งขึ้นอีกวัน หลวงปุ่ก็ออกเดินทางกลับจังหวัดเลย ไปตั้งแต่ เช้าตรู่เลยทีเดียว ๔๐. กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด เมื่อหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ กลับถึงบ้านเกิดที่จังหวัดเลยแล้ว ท่านได้ไปพักอยุ่ทีวัดโพธิ์ชัย วัดที่ท่่านบวชเณรในครั้งแรกนั่นเอง ข่าวการกลับมาเยี่ยมบ้านของ หลวงปู่แหวน เป็นข่าวใหญ่ของบ้านนาโป่ง และหมุ่บ้านใกล้ เคียง ข่าวนี้แพี่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว เมื่อชาวบ้านทราบข่าวว่า " พระแหวน ที่ไปศึกษาที่เมืองอุบล ได้กลับมาบ้านแล้ว " บรรดา ญาติพี่น้อง และผู้คุ้นเคย ต่างก็พากันมาเยี่ยมเยียนมิได้ขาด รวมทั้งจากหมู่บ้านอื่นๆ ก็มากันมาก เพื่อจะได้ไต่ถามถึงการไปศึกษาเล่าเรียน และเรื่องราวต่างๆ ที่พวกเขาไม่เคยรู้มาก่อน ในเวลานั้น กล่าวได้ว่า ญาติโยมต่างหลั่งไหลมากราบ มาเยี่ยม หลวงปู่ ตลอดเวลา เพราะเป็น เหตุการณ์ครั้งแรกในท้องถิ่น ที่พระในหมู่บ้านไปศึกษาเล่าเรียนในถิ่นห่างไกลนานกว่า ๑๕ ปี จึงได้หวนกลับมาบ้าน ใครๆก็อยากพบอยากเห็นทั้งนั้น นับว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะพระเณรส่วนใหญ่ ในละแวกนั้น บวชแค่ระยะสั้นๆ และสึก ออกมาใช้ชีวิตฆราวาสเสียเป็นส่วนใหญ่ ญาติโยมส่วนหนึ่ง นิมนต์ให้หลวงปู่อยุ่จำพรรษา แต่ท่านไม่รับคำ เพียงแต่บอกว่า " ... การนิมนต์อาตมาให้อยู่ก็อยู่ได้ แต่จะเป็นกี่เดือน กี่วัน กี่ปีนั้น ไม่ต้องนับ ถ้าเห็นอาตามา ยังอยู่ก็ให้รู้ว่าอยู่ แต่ถ้าไม่เห็นก็ให้รู้ว่าไปแล้ว จะให้กำหนดว่านานเท่านั้น เท่านี้ กำหนดไม่ได้"
๔๑. ชาวบ้านมาขอต่อศีล ช่วงที่หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พักอยู่ทีวัดโพธิ์ชัย วัดบ้านเกิดของท่าน พอถึงวันพระ บรรดา พระภิกษุสามเณรและญาติโยม ต่างก็เอาดอกไม้ธูปเทียนมาถวาย และขอต่อศีลด้วย พวกเขาต่างยอมรับว่า หลวงปู่แหวน ท่านเคร่งครัดต่อวินัย ศีลของท่านจึงบริสุทธิ์ ทั้งพระเณร และชาวบ้าน จึงมาขอต่อศีลกับท่าน เพื่อพวกเขาเองจะได้มีความบริสุทธิ์ด้วย หลวงปู่ เล่าว่าการต่อศีลของบรรดาอุบาสก อุบาสิกา เหล่านั้นดูแปลกประหลาดมาก คือเวลา เอาดอกไม้ธูปเทียนมาถวาย เพื่อสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ศีลอุโบสถ ตามความสมัครใจ ของแต่ละคน นั้น พวกเขาต่างก็นุ่งขาว ห่มขาวมากันทุกคน ดูท่าทางสำรวมและเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก เมื่อสมาทานศีลเสร็จแล้ว ต่างคนต่างกลับไปบ้าน แล้วก็ถือเอา สุ่ม เอาแห เอายอ สวิง ออกจาก บ้านไปจับปลากันเป็นกลุ่มๆ หลวงปู่ท่่านว่า เมื่อพิจารณาดูแล้ว เหมือนนกยางถือศีล คือศีลก็จะรักษา ปลาก็จะกิน พวกเขาปฏิบัติกันเช่นนั้นจนเคยชินจ ถึงท่า่นจะห้ามพวกเขาก็คงไม่ฟัง แม้ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ยังไม่สามารถจะทรมานบุคคลบางจำพวกได้ เมื่อหลวงปู่พิจารณาแล้ว ก็ต้องปล่อยพวกเขาไปตามยถากรรม เพราะการสอนในตอนนั้น คง ไม่เกิดประโยชน์
๔๒. หลวงปู่อาพาธที่วัดบ้านเกิด บรรดาผู้คนที่มาเียี่ยม หลวงปู่ ในครั้งนั้นมีมาก มากันทั้งวัน เหมือนกับที่วัดมีงาน ชาวบ้านต่างก็ร่ำืลือกันว่า ไม่เคยเห็นพระเณรที่ไหนที่บวชแล้ว ไม่อยู่บ้าน จากไปเล่าเรียน ไปศึกษายังต่างถิ่นเป็นเวลาถึง ๑๕ ปีเศษ โดยไม่เคยกลับมาเยี่ยมบ้านเลย เมื่อเล่าเรียนเสร็จแล้ว ก็ปลีกไปอยู่องค์เดียวตามป่าตามเชา อยู่กับเสือ กับช้าง ก็ไม่เป็น อันตราย ช่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เมื่อชาวบ้านต่างคนต่างพูดไป ข่าวก็แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวบ้านในตำบล ใกล้ เคียง ต่างพากันมากราบ มาเยี่ยม มาขอพรจากหลวงปู่ตลอดเวลา หลวงปู่จำต้องต้อนรับญาติโยม คอยพูดคุยธรรมะและตอบคำถามที่ญาติโยมอยากรู้ จนท่าน ไม่มีเวลาพักผ่อน ร่างกายท่านอ่อนเพลีย ในที่สุดท่านก็อาพาธลง เมื่อหลวงปุ่อาพาธ บรรดาญาติพี่น้อง และผู้คุ้นเคยรวมทั้งผู้ที่นิมนต์ให้ท่านอยู่จำพรรษา ต่าง ก็พากันหนีหน้าไป ไม่ได้เอาใจใส่ พยาบาลรักษาท่าน ตามที่ควรจะเป็น เหตุการณ์ครั้งนี้ หลวงปู่ ได้ยกขึ้นมาเตือนสติของท่านว่า " เรามาที่นี่ก็มา ตามคำนิมนต์ให้ ้เรามา ผู้คนหล่านี้ต่างก็เป็นญาติ เป็นผู้คุ้นเคยกับเราเป้นส่วนใหญ่ แต่พอเราป่วยเขา กลับละทิ้งเรา ทำ เหมือนกับเรานี้ เป้นคนอื่นที่ไม่รู้จักกัน" หลวงปู่ได้ตระหนักถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าจะต้องพึ่งตัวเอง และพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เท่านั้นจึงจะเป็นที่พึ่งอันอุดม จากการดำริถึงการเจ็บป่วยของหลวงปู่ในครั้งนี้ ทำให้ท่านมีแรงจูงใจที่จะปลีกจากหมู่คณะ ออกค้นหาสัจธรรม อย่างมอบกาย ถวายชีวิตต่อไป
๔๓. เหตุเตือนตน ข้อทีสอง การอาพาธของหลวงปุ่ในครั้งนั้น เป็นเหตุเตือนตนข้อที่หนึ่ง ที่ทำให้ท่าน ต้องเร่งบำเพ็ญเพียร ให้หนัก เหตุเตือนตนข้อที่สอง ท่านพิจารณาเห็นว่า ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่ง บ้านเกิดของท่านนั้น บรรดาพระภิกษุสามเณรที่เคยบวชอยู่ร่วมกันก็ดี ผู้ที่อาวุโสบวชก่อนก็ดี ในสมัยที่ท่านบรรพชา เป็นสามเณรอยู่นั้นมีอยู่มาก แต่มาบัดนี้ต่างลาสิกขาไปกันหมด คงเหลือพระอยู่ประจำวัดเพียง ๒ รูปเท่านั้น หลวงปู่ รำพึงกับองค์ท่านเองว่า " ถ้าเราจะอยู่ที่นี่ต่อไป จิตใจของเราอาจไม่มั่นคง อาจจะต้อง สึกออกไปก็ได้ ก่อนที่เราจะมา ท่านอาจารย์ ท่านก็กำชับแล้วว่า อย่าอยู่นาน ให้รีบกลับไปภาวนา" ในขณะที่จิตใจกำลังคิดสับสนอยู่นั้น คำสั่งของแม่และยายที่บอกท่านว่า " ถ้าบวชแล้วก็ให้ตาย กับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียนะ" ยังชัดเจนอยู่ในความนึกคิดของท่าน หลวงปุ่ จึงตัดสินใจอย่างแน่วแน่ ว่าจะต้องออกจากหมู่บ้าน ทันที ที่ร่างกายแข็งแรง หายป่วยไข ้ ๔๔. หวนคิดถึงเมืองอุบล ขณะี่หลวงปู่พักอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่ง ท่านได้สดับรับฟังข่าวจากเมืองอุบลอยู่เสมอ ได้ัรับ ข่าวว่า ท่านพระอุปัชฌาย์ ก็ดี พระอาจารย์คู่สวดก็ดี ต่างก็ลาสิกขาไปหมดแล้ว แม้เพื่อนสหธรรม มิกทั้งสอง คือพระเหลาและพระเฮียง ก็ได้ลาสิกขา ไปหมดแล้วเช่นกัน หลวงปู่ได้หวนระลึกถึงทางเมืองอุบลว่า " บรรดาหนังสือที่เราจารไว้ก็มีมากมายหลายผูก เมื่อเราจากมาก็ไม่ได้มอบหมายให้อาจารย์ ให้เป็นหลักเป็นฐาน เราควรจะกลับขึ้นไปเมืองอุบล เพื่อจัดการเรื่องหนังสือก่อนเห็นจะดี " ขณะเดียวกันอีก ความคิดหนึ่งก็แย้งขึ้นมาว่า " ทางเมืองอุบล บรรดาอุปัชฌาย์ อาจารย์ และ เพื่อนก็สึกไปหมดแล้ว พระอาจารย์สิงห์ ก็ไม่อยู่ที่นั่นแล้ว เราจะกลับไปเพื่อประโยชน์อะไร"
๔๕. ตัดสินใจหลังได้ัรับจดหมาย นับแต่หลวงปู่แหวน ได้จากพระอาจารย์ใหญ่ กลับมาเยี่ยมบ้านได้ประมาณ ๑ เืดือน อาการ ป่วยท่านเริ่มทุเลา ร่างกายมีกำลังพอที่จะออกเดินทางแล้ว ในขณะที่ความคิดของท่านกำลังสับสนอยู่ว่าจะกลับไปเมืองอุบลก่อนจะดีหรือไม่ ท่านก็ได้รับ จดหมายจากอาจารย์เอี่ยม ครูที่เคยสอนที่อุบล บอกท่านให้กลับไปอุบล เพื่อเรียนต่อให้จบ จะได้ กลับมาสอนหนังสือที่บ้านเกิด ช่วงนั้นญาติโยม ที่มาเยี่ยมเยียนท่าน เริ่มห่างๆไปแล้ว ท่านจึงมีเวลาพอที่จะทบทวนเพื่อการ ตัดสินใจ เมื่อพิจารณาทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา คิดกลับไปกลับมาหลายตลบ ในที่สุด หลวงปู่ จึงตัดสินใจได้ว่า " การที่จะกลับไปเมืองอุบล เพื่อที่เรียนต่อนั้น คงจะไม่เกิดประโยชน์อันใด แต่การจะอยู่ต่อไป ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่งนี้ ก็ไม่ทำให้เกิดประโยชน์อันใดอีกเช่นกัน " เมื่อหลวงปุ่พิจารณา เหตุการณ์ โดยถ้วนถี่แล้ว จึงตัดสินใจว่า " ต่อแต่นี้ไป เราะจะไม่ข้องเกี่ยวกับหมู่คณะอีกต่อไป จะกลับไปหาอาจารย์ใหญ่มั่น เพื่อ ฝึกหัดภาวนา ตามความตั้งใจเดิมของเรา ที่ให้ตั้งสัจจอธิษฐาน ไว้ก่อนออกจากวัดสร้างถ่อ เมือง อุุบล "
๔๖. ตัดใจขาดจากญาติโยม ช่วงที่หลวงปู่แหวน พักอยู่วัดบ้านเกิด ตลอด ๑ เดือนนั้น ท่านค่อนข้างรู้สึกรำคาญใจ ที่ญาติ พี่น้องชาวบ้าน ไปมาหาสู่รบกวนจนไม่ค่อยจะมีเวลาทำสมาธิสงบใจได้สะดวก ทำให้มีห่วงพะวัง พะวง หลวงปุ่รำพึงว่า อันตัวเรานี้ำก้ได้เลือกทางดำเนินเพศสมณะเจริญตามรอยบาทพระพุทธเจ้า กระทำตนเป็นอนาคาริก คือไม่มีบ้านเรือนอยู่อาศัย ชอบวิเวกอยู่ตามป่าตามเขา อยู่โคนต้นไม้ ถึงเวลาแล้วที่จะตัดขาดจากญาติโยมชาวบ้านให้เด็ดขาด เพื่อออกแสวงหาวิมุตติสุข ทางหลุด พ้นจากความทุกข์ เมื่อคิดดังนี้แล้ว ท่านก็่บอกลาญาติโยมชาวบ้าน เพื่อจะออกกรรมฐานไปตามทางของตน แต่ ญาติโยมทั้งหลายต่างทัดทานเอาไว้ ด้วยเห็นว่า เป็นพระธุดงค์มีแต่ความยากลำบาก ต้องอดๆ อยากๆ อยู่แต่ในป่า นอนตามโคนต้นไม้ และในป่าเต็มไปด้วยสัตว์ร้าย อาจทำอันตรายเอาได้ ขอให้อยุ่กับวัดต่อไปเถิด แต่หลวงปู่ ท่านไม่ยอม ได้เทศนาธรรมสั่งสอนชี้แจงแสดงเหตุผล จนญาติโยมใจอ่อน ไม่อาจ ทัดทานได้ ได้แต่อนุโมทนาสาธุด้วย หลวงปู่แหวน จึงเริ่มออกธุดง์อย่างแท้จริง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นการจากบ้านเกิดไปยาวนาน ไม่มี ใครได้ข่าวคราวตลอดระยะเวลา ๕๐ กว่าปี และเพิ่งจะมาได้ยินข่าว หลวงปู่แหวน อีกทีก็ประมาณ ปลายปี ๒๕๑๔ เมื่อหนังสือพิมพ์นำประวัติและอภินิหาร หลวงปู่แหวน พระวิปัสสนาจารย์ผู้เฒ่า แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ ออกเผยแพร่
๔๗. กลับไปหาพระอาจาย์ใหญ่ เมื่อหลวงปู่ตัดสินใจเด็ดขาดแล้ว วันรุ่งขึ้นหลังจากกลับจากบิณฑบาต และฉันเสร็จแล้ว ก็รีบ จัดบริขารจำเป็นใส่ลงในบาตร สะพายบาตร แบกกลด สะพายย่าม มือข้างหนึ่งถือกาน้ำ แล้วออก เดินทางจากวัดโพธิ์ชัย บ้านนาโปร่ง มุ่งกลับไปหา พระอาจารย์ใหญ่มั่น ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จังหวัดอุดรธานี อีกครั้งหนึ่ง เมื่อกลับไปถึงสำนักของพระอาจารย์แล้ว ท่านได้พบเพื่อนสหธรรมมิก ที่เข้ามาขออบรมอยู่ กับพระอาจารย์อีกหลายท่านด้วยกัน ในการเข้ามาอบรมกับหลวงปู่มั่น ในช่วงแรกนี้ท่านไม่ได้เข้าอุปัฎฐากใกล้ชิด เพราะเป็นผู้มา ใหม่ ยังไม่รู้จักธรรมเนียมข้อวัตร อีกประการหนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านไม่ให้ใครเข้าไปอยู่ใกล้ท่านง่ายๆ ในการที่เข้่ามาอยู่รับการอบรมจากหลวงปู่มั่น นั้น เมื่อท่านแนะนำในข้อปฏิบัติแล้ว บรรดา สิษย์ก็ต้องแยกย้ายกันไปหาที่วิเวก เพื่อบำเพ็ญสมาธิภาวนาตามสถานที่ที่เหมาะสม แก่จริตนิสัย ของตน ต่างองค์ ต่างไปฝึกบำเพ็ญเพียรเอาเอง เมื่อถึงวันอุโบสถ จึงเข้ามารวมกันทำอุโบสถ ฟังสวดพระปาฎิโมกข์ และัรับการอบรมจาก พระอาจารย์ใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง ในเวลาเ่ช่นนี้ ศิษย์รูปใด มีปัญหาติดขัดในการภาวนาอย่างไร ก็กราบเรียนถามท่านได้ ซึ่ง ท่านเองก็ตอบอธิบายให้ฟังจนเช้าใจขั้นตอน และวิธีปฏิบัติจนชัดเจน จึงเป็นโอกาสที่วิเศษสุด ที่บรรดาศิษย์ทั้งหลายจะได้ฟังธรรมอบรม แยกแยะตั้งแต่สมาธิขั้นต่ำ ไปหาปัญญาขั้นสูง ทำให้เพลิดเพลินไปกับกระแสรธรรมที่ท่านแสดงออก ลูกศิษย์ลูกหาคนใด มีภูมิปฎิบัติอยุ่ในขั้นใด ก็ได้ปัญญาก้าวไป
๔๘. ให้ตั้งใจภาวนาอย่าได้ประมาท หลังจากที่หลวงปู่มั่น แสดงธรรมแล้ว บรรดาศิษย์ก็จะกลับไปที่อยู่ของตน โดยไม่โอ้เอ้ชักช้า นอกจาก หลวงปู่มั่นแล้ว พระผู้มาใหม่ ยังได้อาจารย์ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ คอยช่วยแนะนำ ชี้ทาง ตักเตือนสั่งสอนและแนะนำกันไป ในบางครั้ง หลวงปู่มั่น จะบอกให้ศิษย์รูปนั้น ไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้น รูปนี้ไปอยู่ในสถานที่ เช่นนี้ ซึ่งแต่ละแห่งที่ท่านบอกให้ไปอยู่ ล้วนแต่เป็นที่มีอันตรายอยุ่รอบด้าน เช่นอาจเป็นที่เสือมัน อยู่ เสือมันผ่านไปมา เป็นต้น หลวงปู่มั่น จะย้ำต่อศิษย์ผู้ไปอยู่ในที่เช่นนั้นว่า " ให้ตั้งใจภาวนา อย่าได้ประมาท ให้มีสติ อยู่ทุกเมื่อ จงอย่าเห็นแก่การพักผ่อนหลับนอนให้มากนัก" หลวงปู่แหวน เล่าให้ศิษย์ฟังว่า การไปภาวนาอยู่ในที่อันตรายเช่นนั้น ทำให้จิตรวมตัวได้เร็ว สติก็ัมั่นคงประจำอิริยาบถ มีสติเป็นเพื่อนในการเคลื่อนไหวไปมา เพราะในที่อันตรายอยู่เฉพาะ หน้า เ่ช่นนั้น สติสัมปชัญญะจะต้องเป็นเพื่อนด้วยเสมอ การทำความเพียรก็เอาจริงเอาจัง การพักผ่อนหลับนอนก็น้อย จะมีบ้างก็เพียงเพื่อบำบัดความ อ่อนเพลีย ของธาตุขันธ์ การปราถนาความเพียร เป็นไปติดต่อทั้งกลางวันกลางคืน ไม่กำหนดเวลาเป็นนาที เป็นชั่วโมง ถ้าวันไหนธาตุขันธ์ไม่แปรปรวน จิตสงบดี ก็จะนั่งหรือเดินจงกรมไปตลอดคืน ความอ่อนเพลีย ก็ไม่ปรากฎ