เขียนเองโดย telwada การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักพุทธศาสนา ตอนที่ ๖

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 10 กรกฎาคม 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,862
    ค่าพลัง:
    +1,818
    ตอนที่ ๖
    ความเดิมจากตอนที่ ๕ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า
    "การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักพุทธศาสนา ที่ถูกต้องและเป็นไปตามหลักธรรมชาติ ย่อมมีเพียงรูปแบบเดียว วิธีการปฏิบัติ แบบเดียวกัน ไม่มีการแบ่งแยกแตกแขนง ด้วยความอวดรู้ อวดฉลาด รู้เท่าไม่ถึงกาล "
    ที่ข้าพเจ้ากล่าวเช่นนั้น ก็เพราะเกิดจากสาเหตุแห่งการทำความเข้าใจในความหมายของภาษา อีกทั้งรวมไปถึงความรู้ ในหลักวิชาการด้านต่างๆของผู้ที่ศึกษา ในพระไตรปิฏก มีความรู้ไม่เพียงพอ จะเรียกว่า มีความรู้น้อยไม่รอบด้านก็ว่าได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น พอเขาเหล่านั้น ได้อ่านได้ศึกษาในพระไตรปิฏก ก็เกิดความเข้าใจไปในทางที่บิดเบือนหลักความจริง เพราะความไม่รู้จักความหมายของภาษา หรือบริบท คำแวดล้อมของภาษาที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกนั่นเอง จึงทำให้เกิดสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆที่ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างเข้าใจเอาเองโดยไม่ได้ศึกษา ค้นคว้า ว่าอะไร คือสมาธิ สมาธิเกิดขี้นได้อย่างไร ผลแห่งความมีสมาธิ เรียกว่า อะไร และผลแห่งสมาธิทั้งหลายเหล่านั้น มีผลต่อสภาพร่างกาย หรือมีผลต่อระบบการทำงานของร่างกายอย่างไร ฯลฯ.
    ความในพระไตรปิฏก ไม่ว่าจะ เป็น "สติปัฎฐาน ๔" หรือ " กรรมฐาน ๔๐" แท้จริงแล้ว"เป็นหลักธรรม หรือ เป็นหลักการ หรือวิธีการชั้นวิปัสสนา หรือชั้นการศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจ ไม่ใช้ชั้นสมาธิ เบื่องต้น ข้อย้ำว่า ทั้ง สติปัฏฐาน ๔ และ กรรมฐาน ๔๐ เป็นหลักธรรม หรือเป็นหลัการ หรือวิธีการชั้นวิปัสสนา หรือชั้นการศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจ ไม่ใช่ชั้นสมาธิเบื้องต้น" อีกทั้ง หลักธรรมทั้งสองหมวดดังที่ได้กล่าวไป ก็เป็นเพียงหัวข้อหลักใหญ่ ซึ่งเป็นตัวรายละเอียด หรือเป็นตัวแยกแยะ เพื่อให้คิดพิจารณา จดจำ ทำความเข้าใจ เป็นการเฉพาะ เช่น อสุภกรรมฐาน อย่างนี้เป็นต้น มาถึงจุดนี้ ท่านทั้งหลายต้องกลับไปอ่านด้านบนให้เกิดความเข้าใจให้ดี เพราะการจะอธิบายนั้น หาคำมาอธิบายไม่ค่อยได้
    เอาเป็นว่า สติปัฏฐานสี่นั้น เป็นหลักธรรม หรือหลักการ หรือวิธีการ ในอันที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจ จดจำแก้ไข ในด้านร่างกาย ในด้านควานมรู้สึก ในด้าน สภาพสภาวะจิตใจ และในด้านความรู้ทางหลักวิชชาการที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือความรู้ตามหลักธรรม ที่มีอยู่ โดยความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน แยกกันมิได้ เพื่อสร้าง สติ คำว่าจะสติในที่นี้ คือความระลึกได้ อันจักต้องมีสมาธิ เป็นปัจจัย ที่สำคัญยิ่ง ซึ่งข้าพเจ้าเคยได้สอนให้ไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่ข้พาเจ้าจะอธิบายอีกครั้งหนึ่งในตอนต่อไป

    ส่วน "กรรมฐาน ๔๐ กอง" ก็เช่นกัน ล้วนเป็นหลักการหรือวิธีการเฉพาะทาง เฉพาะด้าน ซึ่งควบคู่ กับ สติปัฏฐาน ๔ จะเรียกว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็ได้ แต่ กรรมฐาน เป็นการเจาะจง เป็นเรื่องๆไป
    หากท่านทั้งหลายที่ยังไม่รู้ ไม่ได้เรียนในเรื่องดของสติปัฏฐาน และกรรมฐาน ๔๐กอง ก็สามารถศึกษาได้ตามเวบธรรมะต่างๆ เขามีสอนให้เกือบทุกเวบฯ
    เมื่อท่่านทั้งหลายได้อ่าน แล้วคิดพิจารณา ศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔, และกรรมฐาน ๔๐ กอง ดังที่ข้าพเจ้าได้อธิบายไปแล้ว และเกิดความเข้าใจ ไม่มีข้อขัด หรือคัดค้าน ข้าพเจ้าก็จะกล่าวหรือสอน ถึง วิธีการปฏิบัติ สมาธิขั้นพื้นฐาน ชั้นเบื้องต้น อันเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ก่อนที่ก้าวไปสู่ขั้น สติปัฏฐาน ๔ หรือกรรมฐาน ๔๐ กอง เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันรูปแบบเดียวกัน ไม่แตกแยก ทางความคิดว่า การปฏิบัติธรรม หรือปฏิบัติสมาธิ เป็นอย่างไรกันแน่ ในตอนต่อไป
    จบตอนที่๖
    เขียนโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2009
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ตามมาอ่านครับพี่จ่าสิบตรี
     
  3. Amoxcycol

    Amoxcycol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +65
    ท่านเขียนเองเหรอ?
     
  4. อวิปลาส

    อวิปลาส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +353
    อ่านตอนที่หกนี้ ดูดีมีสง่าราศีขึ้นมากนะครับท่าน...:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2009
  5. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,862
    ค่าพลัง:
    +1,818
    ขออภัยขอรับ ท่านผู้ใช้ชื่อว่า "อวิปลาส"
    ข้าพเจ้าเขียนบทความเกี่ยวกับพุทธศาสนา ทั้งหลายขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ ให้ผู้ศรัทธาในพุทธศาสนาได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ตามหลักความเป็นจริง มิให้เกิดความเข้าใจไปในทางที่ผิดๆ
    ไม่ได้เขียนเพื่อให้เกิด ความมีสง่าราศี หรือไม่มีความสง่าราศี
    สิ่งที่คุณเขียนมา มันก็เป็นเพียงความคิดของคุณ ซึ่งข้าพเจ้าเองก็ไม่ทราบว่า คุณเอาบรรทัดฐานที่ไหนมาวัดว่า บทความใดมีสง่าราศี หรือไม่มีสง่าราศี
    อนึ่ง หลายๆท่าน อาจสงสัยว่า ทำไมข้าพเจ้าไม่เขียนอธิบายการปฏฺิบัติสมาธิ ให้รู้เรื่องกันไปเลย
    อันนี้ต้องขอแจงให้ได้เข้าใจว่า "อวิชชา" คือความไม่รู้ ถ้าท่านทั้งหลายไม่รู้ หรือรู้ไปในทางที่ผิดๆ มันก็ผิดไปจนถึงรุ่น ลูก หลาน เหลน โหลน โน่นแหละ ไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง กันสักที
    ถ้าไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ก็ย่อมไม่สามารถปฏิบัติให้เกิดการหลุดพ้น ตามเจตนารมณ์ ของพุทธศาสนา
    อีกทั้งย่อมไม่เกิดความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ว่า ศาสนาต่างๆ มีการปฏิบัติสมาธิเพื่ออะไร ปฏิบัติสมาธิไปทำไมกัน
    และไม่เกิดความรู้ ความเข้าใจในระบบการทำงานของสรีระร่างกาย อันจัดอยุ่ใน "พระอภิธรรมปิฎก" อีกด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...