ห้ามฆ่า...แต่...ทำไมไม่ห้ามกิน ?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย AddWassana, 15 เมษายน 2009.

  1. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    <TABLE borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 align=center bgColor=#e2e2e2 border=5><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>ห้ามฆ่า แต่ ทำไมไม่ห้ามกิน ? </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 align=center border=5><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#ffffcc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 align=center bgColor=#f5f5f5 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>โ ด ย : พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์


    ปัญหาเกี่ยวกับศีลข้อที่ ๑ ยังมีให้สงสัยอีกประเด็นหนึ่ง นั่นก็คือปัญหาเรื่องการกินเนื้อสัตว์

    บางคนคงคิดว่าในเมื่อพระพุทธเจ้าทรงห้ามฆ่าสัตว์แล้ว ทำไมจึงไม่ทรงห้ามการกินเนื้อสัตว์เสียด้วยจะมิเข้าทำนองที่ว่า ปากว่าตาขยิบรึ ?ปัญหาตรงนี้น่าสนใจมาก โดยเฉพาะในกลุ่มของพวกที่ทานเนื้อ กับพวกทานมังสวิรัติ มักจะมีปัญหาโต้แย้งกันอยู่เสมอ

    เราลองมาทำใจให้เป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แล้วฟังเหตุผลดูซิว่า ทำไมห้ามฆ่า

    จึงไม่ห้ามกิน ?ผู้ที่จะให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ อดีตอนุศาสนาจารย์ แห่งกองทัพบก

    “พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ” ท่านให้เหตุผลไว้อย่างนี้ครับการที่พระพุทธเจ้าห้ามฆ่า แต่ไม่ห้ามกินนั้น เพราะการกระทำทั้ง ๒ อย่าง มีเหตุ และ ผลไม่เหมือนกัน การฆ่านั้นจิตของผู้ฆ่าจะต้องตกอยู่ในอำนาจของกิเลส อย่างหนึ่งอย่างใด ถ้าไม่โลภก็โกรธ ไม่โกรธก็หลง จึงจะฆ่าได้ ถ้าจิตเป็นอิสระแก่ตัว คือไม่มีอาการดังกล่าวครอบงำ

    คนเราจะไม่ฆ่าสัตว์ การฆ่าทุกครั้ง จะต้องกระทำในขณะจิตผิดปกติ เสมอ ฉะนั้นการฆ่าแต่ละครั้งจึงมีผล ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางจิตของผู้ฆ่า หมายความว่า การฆ่าทำให้จิตทรุดต่ำลงทุกครั้ง จะแคล้วคลาดไปไม่ได้เลยเพราะฉะนั้น ท่านจึงห้ามฆ่า

    ทีนี้การกินไม่เป็นอย่างนั้น จิตไม่ต้องโลภ ไม่ต้องโกรธ และไม่ต้องหลง ก็กินได้ และเนื้อสัตว์ที่ปราศจากชีวิตแล้ว เขาแล่มาขาย จำหน่ายจ่ายแจกกันมาเป็นทอดๆ

    ย่อมมีสภาพเป็นเพียงวัตถุชิ้นหนึ่งจะทิ้งก็เน่าจะกิน ก็อิ่ม ไม่มีเชื้อบาปเชื้อกรรม
    ติดอยู่ในเนื้อนั้นเลย พระพุทธองค์ จึงไม่ทรงห้ามการกินเนื้อสัตว์
    ชัดเจนใช่ไหมครับ สำหรับคำชี้แจงเรื่อง

    “ ห้ามฆ่า แต่ ทำไมไม่ห้ามกิน ? ”



    ขอบคุณบทความจากธรรมะไทย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>จาก http://www.teenee.com</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. comono

    comono เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +249
    ผมเห็นด้วยกันการที่ฆ่าสัตว์แล้วทำให้จิตใจต่ำลง

    แต่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการที่ว่าเรากินเนื้อของสัตว์ที่

    เขาขายกันมาเป็นทอดๆ กินได้โดยไม่มีบาป กลายเป็นสิ้นค้าชนิดหนึ่ง

    ในส่วนนี้มันน่าจะมีบาปอยู่บ้าง ไม่ถึงกับว่าไม่มีเลย หรือที่เรียกกันเข้าใจว่า

    เป็นเศษกรรม
     
  3. wows

    wows สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    :z2 สงสัยคับว่า ห้ามฆ่าแต่ไม่ห้ามกิน แล้วใครจะฆ่าให้เรากินคับ หรือว่าถ้าไม่กินจะได้ไม่ต้องฆ่า ขออภัยที่สงสัยคับ
     
  4. phank

    phank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2008
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +1,278
    ผมตอบตามที่เคยได้ฟังมานะครับว่า "บาปอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกิน" ครับ
     
  5. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    หลวงปู่ดูลย์
    “ดีทีเดียวแหละ ท่านผู้ใดสามารถฉันมังสวิรัตได้ก็เป็นการดีมาก ขออนุโมทนาสาธุด้วย ส่วนท่านที่ยังฉันมังสะอยู่ หากมังสะเหล่านั้นเป็นของบริสุทธิ์โดยส่วนสามคือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่สงสัยว่าเขาเจาะจง ได้มาด้วยความบริสุทธิ์แล้ว ก็ไม่ผิดธรรมผิดวินัยแต่ประการใด อนึ่ง ที่ว่าจิตใจสงบเยือกเย็นดีนั้น ก็เป็นผลเกิดขึ้นจากพลังของการตั้งใจปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ไม่เกี่ยวกับอาหารใหม่ อาหารเก่าที่อยู่ในท้องเลย” <!-- google_ad_section_end -->


    การกินเนื้อสัตว์ บาป หรือ ไม่ ?

    การที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต หรือไม่
    ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
    ๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
    ๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
    ๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
    ๔. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
    ๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
    เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ จึงถือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ ผิดศีลข้อที่ ๑ เป็นบาป แต่ถ้าไม่ได้ลงมือฆ่าเอง และไม่ได้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ก็ไม่เป็นบาป


    ตัวอย่าง เราไปจ่ายตลาด ซื้อกุ้งแห้ง ปลาดุกย่าง ปลาทู เนื้อหมู ฯลฯ เราได้มีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์เหล่านั้นหรือไม่ สัตว์เหล่านั้นย่อมตายก่อนที่เราจะไปซื้อมาเป็นอาหาร ถึงเราจะซื้อหรือไม่ซื้อ สัตว์เหล่านั้นก็ตายอยู่แล้ว เราไม่ได้มีส่วนทำให้ตาย

    มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า
    “นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต”
    “บาป ไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ”


    พระพุทธเจ้าทรงห้ามพุทธบริษัทรับประทานเนื้อสัตว์ หรือไม่?

    คำถามนี้ต้องแยกตอบเป็น ๒ พวก คือ
    ๑. พุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์
    ๒. พุทธบริษัทที่เป็นบรรพชิต
    สำหรับพุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์นั้นพระพุทธเจ้าไม่ห้ามการรับประทานอาหารทุกชนิด เพราะชาวบ้านมีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่างกัน ความเชื่อถือในเรื่องการรับประทานอาหารก็เป็นไปตามตระกูลและวรรณะของตน พระพุทธเจ้าจึงไม่ห้ามชาวบ้านในเรื่องการเลือกอาหาร

    แต่สำหรับบรรพชิต คือ ภิกษุ ภิกษุณี และ สามเณรนั้น พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติข้อห้ามไว้ ๒ กรณี คือ


    กรณีที่ ๑ ห้ามรับประทานเนื้อ ๑๐ ชนิด คือ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อสุนัข เนื้องู
    การที่พระพุทธเจ้าบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อเสือ ๓ ชนิด แทนที่จะพูดรวมๆ “เนื้อเสือ” เพราะในภาษาบาลี เสือแต่ละชนิด ใช้คำเรียกต่างกัน คือ เสือโคร่ง ใช้คำว่า พยคฺฆมํสํ , เสือดาว ใช้คำว่า ตรจฺฉมํสํ , เสือเหลือง ใช้คำว่า ทีปิมํสํ เนื้อ ๑๐ ชนิดนี้ ถ้าภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฎ (ที่มา : ฉบับหลวง เล่ม ๕ ข้อ ๕๗ หน้า ๖๙-๗๒)

    กรณีที่ ๒ พระพุทธเจ้าห้ามภิกษุฉันเนื้อที่เขาฆ่า เพื่อทำอาหารถวายพระโดยเฉพาะ เรียกในพระวินัยว่า “อุททิสุสมังสะ” แปลว่า เนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงเพื่อถวายภิกษุ ท่านห้ามมิให้ภิกษุฉัน หากภิกษุฉัน ทั้งได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อถวายตน ต้องอาบัติทุกกฎ

    พุทธบัญญัติข้อนี้ มีในพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่ม ๕ ข้อ ๘๐ หน้า ๑๐๐-๑๐๑ ดังนี้
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ ไม่พึงฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะ รูปใดฉัน ต้องอาบัติ ทุกกฎ”
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ปลาเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม
    คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ”

     
  6. กล้าแก้ว

    กล้าแก้ว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2008
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +81
    สาธุ กับ บทความของคุณ เฮียปอ ตำมะลังด้วยค่ะ

    ทานเนื้อสัตว์ (ที่ตายแล้ว) ที่เราไม่มีส่วนในการทำให้เขาตาย ได้ เนื้อนั้นย่อมไม่มีเชื้อบาปเชื้อกรรม สำหรับเรา

    แต่ ถ้าเราไปร้านซีฟูดส์ แล้ว ชี้ว่าต้องการปลาตัวนั้น กุ้งตัวนี้ (ที่ยังมีชีวิตอยู่) แล้วทางร้านก็ไปจัดการมาให้เราทาน อย่างนี้ เรามีส่วนทำให้เขาตายค่ะ (ถ้าเราไม่ชี้ ว่าต้องการเขา เขาก็ไม่ตาย) เข้าข่าย เป็นเนื้อต้องห้าม ตามกรณีที่ ๒ ในกระทู้ของคุณ เฮียปอ ตำมะลัง ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...