ชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร เรียบเรียงโดย พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ลูกพ่อลิงดำ, 10 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    "พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ อาจารย์สอนธรรมทางวิปัสสนา มีศิษยานุศิษย์มาก มีคนเคารพนับถือมาก มีชีวประวัติควรเป็นทิฏฐานุคติแก่กุลบุตรได้ผู้หนึ่ง ดังจะเล่าต่อไปนี้"



    ชาติสกุล

    ท่านกำเนิดในสกุล แก่นแก้ว นายคำด้วง เป็นบิดา นางจันทร์ เป็นมารดา เพีย<SUP></SUP>แก่นท้าวเป็นปู่ ชาติไทย นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม<SUP></SUP> จังหวัดอุบลราชธานีมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๙ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี บุตร ๖ คนตายเสียแต่เล็ก ยังเหลือน้องสาว ๒ คน คนสุดท้องชื่อ หวัน จำปาศิลป
    <TABLE id=table9 align=right border=0><TBODY><TR><TD>




    </TD></TR><TR><TD align=middle>




    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    รูปร่างลักษณะและนิสัย




    ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดง แข็งแรง ว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายในทางที่ถูก ไม่ยอมทำตามในทางที่ผิด



    การศึกษาสามัญ



    ท่านได้เรียนอักขรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรมและอักษรขอม อ่านออกเขียนได้ นัยว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดีและมีความขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียนศึกษา


    การบรรพชา




    เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักวัดบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่าง ๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปรานีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเล่าเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่ออายุท่านได้ ๑๗ ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านก็ได้ลาสิกขาออกไปช่วยการงานของบิดามารดาเต็มความสามารถ
    ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่ลืมเลย คงเป็นเพราะมีอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กุมภาพันธ์ 2009
  2. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE id=table4 width=151 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ และท่านพระอาจารย์มั่น ได้ร่วมกันหล่อขึ้น โดยองค์ใหญ่เป็นฝีมือหล่อของท่านพระอาจารย์เสาร์ และองค์เล็กเป็นฝีมือหล่อของท่านพระอาจารย์มั่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่านพระอาจารย์มั่นขณะเป็นฆราวาสอยู่นั้น ได้กราบนมัสการท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ครั้งแรก พร้อมทั้งมอบตัวเป็นศิษย์กับท่าน ที่กุดเม็ก โดยอยู่ห่างจากบ้านคำบง ซึ่งเป็นบ้านเกิดท่านพระอาจารย์มั่น ๒ กิโลเมตร
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้ขอท่านพระอาจารย์มั่นจากโยมพ่อโยมแม่ของท่านไปบวชด้วย ซึ่งผู้เล่าประวัติเล่าว่า
     
  3. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BACKGROUND-POSITION: 0% 0%; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND-ATTACHMENT: scroll; BACKGROUND-IMAGE: none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BACKGROUND-REPEAT: repeat; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top align=middle width="50%">หนังสือสุทธิ แสดงสถานะเดิมของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร
    ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร
    ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top align=middle width="50%">หนังสือสุทธิ หน้า ๕
    แสดงบันทึกข้อมูลในการอุปสมบท
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width="50%">
    หน้าปก หนังสือสุทธิ ท่านพระอาจารย์มั่นฯ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width="50%">
    ลายมือพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
    ที่เขียนบันทึก วัน เดือน ปี และเวลามรณภาพ
    ของท่านอาจารย์มั่น ในหนังสือสุทธิ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BACKGROUND-POSITION: 0% 0%; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND-ATTACHMENT: scroll; BACKGROUND-IMAGE: none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BACKGROUND-REPEAT: repeat; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="118%" colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top align=middle width="118%" colSpan=2>พระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต)
    พระอุปัชฌายะของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="50%">
    พระครูสีทา ชยเสโน
    วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี
    พระกรรมวาจาจารย์ของท่านพระอาจารย์มั่นฯ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="50%">
    พระครูประจักษ์อุบลคุณ (ญาณาสโย สุ้ย)
    วัดศรีทอง จ.อุบลราชธานี
    พระอนุสาวนาจารย์ของท่านพระอาจารย์มั่นฯ
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width="50%">
    อุโบสถหลังเดิมวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม)
    อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    เป็นสถานที่ที่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ได้อุปสมบท
    เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๓๖
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width="50%">
    พระอุโบสถหลังใหม่ วัดศรีทอง
    ก่อตั้ง พ.ศ. ๒๓๙๘ (หลังวัดสุปัฏนาราม ๒ ปี)
    มี ญาท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
    ภาพจาก guideubon.com
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  4. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    สุบินนิมิต

    <TABLE id=table2 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ท่านเล่าว่าเมื่อกำลังศึกษากัมมัฏฐานภาวนาใน สำนักท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ณ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี นั้น ชั้นแรกยังใช้บริกรรมภาวนาว่า พุทโธ ๆ อยู่
    อยู่มาวันหนึ่ง จะเป็นเวลาเที่ยงคืนหรือ อย่างไรไม่แน่ บังเกิดสุบินนิมิตว่า ได้เดินออกจาก หมู่บ้านด้านหนึ่ง มีป่า เลยป่าออกไปก็ถึงทุ่งเวิ้งว้าง กว้างขวาง จึงเดินตามทุ่งไป ได้เห็นต้นชาติต้นหนึ่ง ที่บุคคลตัดให้ล้มลงแล้ว ปราศจากใบ ตอของต้นชาติสูงประมาณ ๑ คืบ ใหญ่ประมาณ ๑ อ้อม ท่านขึ้นสู่ขอนชาตินั้น พิจารณาดูอยู่ รู้ว่าผุพังไปบ้างและจักไม่งอกขึ้นได้อีก ในขณะที่กำลังพิจารณาอยู่นั้น มีม้าตัวหนึ่ง ไม่ทราบว่ามาจากไหน มาเทียมขอนชาติ ท่านจึงขึ้นขี่ม้าตัวนั้น ม้าพาวิ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเต็มฝีเท้า ขณะที่ถ้าพาวิ่งไปนั้น ได้แลเห็นตู้ใบหนึ่ง เหมือนตู้พระไตรปิฎก ตั้งอยู่ข้างหน้า ผู้นั้นวิจิตรด้วยเงินสีขาวเลื่อมเป็นประกายผ่องใสยิ่งนัก ม้าพาวิ่งเข้าไปสู่ตู้นั้น ครั้นถึงม้าก็หยุดและหายไป ท่านลงจากหลังม้าตรงตู้พระไตรปิฎกนั้น แต่มิได้เปิดตู้ดู ไม่ทราบว่ามีอะไรอยู่ในนั้น แลดูไปข้างหน้า เห็นเป็นป่าชัฏ เต็มไปด้วยขวากหนามต่างๆ จะไปต่อไปไม่ได้ เลยรู้สึกตัวตื่นขึ้น
    สุบินนิมิตนี้เป็นบุพพนิมิตบอกความมั่นใจในการทำความเพียรของท่าน ท่านจึงตั้งหน้าทำความเพียรประโยคพยายามมิได้ท้อถอย มีการเดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้าง ข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ก็มิได้ทอดทิ้ง คงดำเนินตามข้อปฏิบัติอันท่านโบราณบัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงบำเพ็ญตามทางแห่งอริยมรรค
    ครั้นต่อมาท่านจึงหวนไปพิจารณาสุบินนิมิตนั้น จึงได้ความว่า การที่ท่านออกมาบวชในพระพุทธศาสนาและปฏิบัติตามอริยมรรคนั้น ชื่อว่าออกจากบ้าน บ้านนั้นคือความผิดทั้งหลาย และป่านั้นคือกิเลส ซึ่งเป็นความผิดเหมือนกัน อันความที่บรรลุถึงทุ่งอันเวิ้งว้างนั้น คือละความผิดทั้งหลาย ประกอบแต่ความดีความงาม ขอนชาติได้แก่ชาติความเกิด ม้าได้แก่ตัวปัญญาวิปัสสนา จักมาแก้ความผิด การขึ้นสู่ม้าแล้วถ้าพาวิ่งไปสู่ตู้พระไตรปิฎกนั้นคือ เมื่อพิจารณาไปแล้ว จักสำเร็จเป็นปฏิสัมภิทานุสาสน์ ฉลาดรู้อะไรๆ ในเทศนาวิธีทรมานแนะนำสั่งสอนสานุศิษย์ทั้งหลายให้ได้รับความเห็นใจและเข้าใจในข้อปฏิบัติทางจิต แต่จะไม่ได้ในจตุปฏิสัมภิทาญาณเพราะไม่ได้เปิดดูตู้นั้น ส่วนข้างหน้ามันเต็มไปด้วยขวากหนามนั้นได้ความว่า เมื่อพิจารณาเกินไปจากมรรค จากสัจจะ ก็คือความผิดนั้นเอง เมื่อพิจารณาได้ความเท่านี้แล้ว ก็ถอยจิตคืนมาหาตัว พิจารณากาย เป็นกายคตาสติภาวนาต่อไป

    สมาธินิมิต

    <TABLE id=table3 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อท่านเจริญกัมมัฏฐานภาวนาอยู่วัดเลียบ เมืองอุบลนั้น ในชั้นแรกยังบริกรรมภาวนาว่า พุทโธๆ อยู่
    วาระแรก มีอุคคหนิมิต คือเมื่อจิตร่วมลง ได้ปรากฏรูปอสุภะภายนอกก่อน คือเห็นคนตายอยู่ข้างหน้า ห่างจากที่นั่งประมาณ ๑ วา ผินหน้ามาทางท่าน มีสุนัขตัวหนึ่งมาดึงเอาไส้ออกไปกินอยู่ เมื่อเห็นดังนั้น ท่านก็มิได้ท้อถอย คงกำหนดนิมิตนั้นให้มาก ออกจากที่นั่งแล้วจะนอนอยู่ก็ดี จงกรมก็ดี เดินไปมาอยู่ก็ดี ก็ให้ปรากฏนิมิตอยู่อย่างนั้น ครั้นนานวันมาก็ขยายให้ใหญ่ ขยายให้เน่าเปื่อยผุพัง เป็นจุณวิจุณไป กำหนดให้มาก ให้มีทั้งตายเก่าและตายใหม่ จนกระทั่งเต็มหมดทั้งวัดวา มีแร้งกาหมายื้อแย่งกันกินอยู่ ท่านก็ทำอยู่อย่างนั้น จนอสุภะนั้นได้กลับกลายเป็นวงแก้ว
    วาระที่ ๒ เมื่อร่างอสุภะทั้งหมดได้กลับกลายมาเป็นวงแก้วแล้ว จึงเพิ่งอยู่ในวงแก้วอันขาวเลื่อม ใสสะอาด คล้ายวงกสิณสีขาว ท่านก็เพ่งพินิจพิจารณาอยู่ในวงนั้นเรื่อยไป
    วาระที่ ๓ เมื่อกำหนดพิจารณาต่อไป จึงแลไปเห็นอะไรอย่างหนึ่งคล้ายภูเขา อยู่ข้างหน้า จึงนึกขึ้นในขณะนั้นว่าอยากไปดู บางทีจะเป็นหนทางข้อปฏิบัติกระมัง? จึงได้เดินไปดู ปรากฏว่าภูเขานั้นเป็นพักอยู่ ๕ พัก จึงก้าวขึ้นไปถึงพักที่ ๕ แล้วหยุด แล้วกลับคืน ขณะที่เดินไปนั้น ปรากฏว่าตัวท่านสะพายดาบอันคมกล้าเล่มหนึ่ง และที่เท้ามีรองเท้าสวมอยู่ ในคืนต่อมาก็เป็นไปอย่างนั้นอีก และปรากฏนิมิตคืบหน้าต่อไปเป็นกำแพงขวางหน้าอยู่ ที่กำแพงมีประตู จึงอยากเข้าไปดูว่าข้างในมีอะไรอีก จึงเอามือผลักประตูเข้าไป ปรากฏว่ามีทางสายหนึ่งตรงไป ท่านจึงเดินตามทางนั้นไป ข้างทางขวามือเห็นมีที่นั่งและที่อยู่ของพระภิกษุ ๒-๓ รูปกำลังนั่งสมาธิอยู่ ที่อยู่ของพระภิกษุนั้นคล้ายประทุนเกวียน ท่านมิได้เอาใจใส่ คงเดินต่อไป ข้างทางทั้งสองข้างมีถ้ำมีเงื้อมผาอยู่มาก ได้เห็นดาบสตนหนึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ท่านก็มิได้เอาใจใส่อีก ครั้นเดินต่อไปก็ถึงหน้าผาสูงมาก จะไปอีกก็ไปไม่ได้ จึงหยุดเพียงนั้น แล้วกลับออกมาทางเก่า
    คืนต่อมาก็ไปอีกอย่างเก่า ครั้นไปถึงหน้าผาแห่งนั้น จึงปรากฏยนตร์คล้ายอู่ มีสายหย่อนลงมาแต่หน้าผา ท่านจึงขึ้นสู่อู่ พอนั่งเรียบร้อย อู่ก็ชักขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ครั้นขึ้นไปแล้วจึงเห็นสำเภาใหญ่ลำหนึ่งอยู่บนภูเขาลูกนั้น ขึ้นไปดูในสำเภาเห็นโต๊ะสี่เหลี่ยม บนโต๊ะมีผ้าปู เป็นผ้าสีเขียวเนื้อละเอียดมาก มองดูทั้ง ๔ ทิศ มีดวงประทีปติดสว่างรุ่งโรจน์อยู่ ประทีบนั้นคล้ายติดด้วยน้ำมัน ปรากฏว่าตัวท่านขึ้นนั่งบนโต๊ะนั้น และปรากฏว่าได้ฉันจึงหันที่นั้นด้วย เครื่องจังหันมีแตงกับอะไรอีกหลายอย่าง ครั้นฉันจึงหันเสร็จแล้ว มองไปข้างหน้าปรากฏเห็นเป็นฝั่งโน้นไกลมาก จะไปก็ไปไม่ได้เพราะมีเหวลึก ไม่มีสะพานข้ามไป จึงกลับคืนมาเหมือนอย่างเก่า
    วาระที่ ๔ ก็เพ่งไปน้อมจิตไปอย่างเก่านั่นแล ครั้นไปถึงสำเภาแห่งนั้น จึงปรากฏเห็นมีสะพานน้อย ๆ ข้ามไปยังฝังโน้นจึงเดินไป พอไปถึงฝั่งโน้นแล้วก็ปรากฏเห็นกำแพงใหญ่มาก สูงมาก ประกอบด้วยค่ายคูประตูและหอรบอันมั่นคง ที่หน้ากำแพงมีถนนใหญ่ไปทางทิศใต้และทิศเหนือ นึกอยากเข้าไปมาก จึงเดินไปผลักประตู ประตูไม่เปิดจึงกลับคืนมา
    วาระที่ ๕ ทำอย่างเก่าอีก ปรากฏไปอย่างเก่า สะพานจากสำเภาใหญ่ไปยังฝั่งโน้นปรากฏว่าใหญ่กว่าเก่ามาก ครั้นเดินตามสะพานนั้นไปได้ครึ่งสะพาน ปรากฏเห็นท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ (สิริจนฺทเถร จันทร์) เดินสวนมา และกล่าวว่า
     
  5. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BACKGROUND-POSITION: 0% 0%; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND-ATTACHMENT: scroll; BACKGROUND-IMAGE: none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BACKGROUND-REPEAT: repeat; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top align=middle colSpan=2>วัดบูรพาราม จ.อุบลราชธานี</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    พระอุโบสถหลังเดิม วัดบูรพา เมื่อครั้ง
    ท่านพระครูสีทา ชยเสโน พระอาจารย์เสาร์ ฯ
    และพระอาจารย์มั่น ได้ใช้ในการลงอุโบสถ
    สมัยเมื่อท่านได้เคยมาพักอยู่วัดบูรพา
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    พระอุโบสถวัดบูรพา ในปัจจุบัน
    วัดนี้เป็นวัดที่ท่านพระอาจารย์มั่น
    มาจำพรรษา ๑ พรรษา และเป็นสถานที่จัดงาน
    ถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์เสาร์ ฯ
    เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๘๕
    ภาพจาก thai-tour.com
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=bottom width="50%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top align=left width="50%">หอไตรวัดบูรพา เดิมเป็นกุฏิของท่านพระครูสีทา ชยเสโน ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของพระอาจารย์เสาร์ฯ และพระอาจารย์มั่น ฯ ปัจจุบันได้เป็นหอไตรของวัดบูรพา
    วัดนี้พระอาจารย์เสาร์เป็นผู้มาพักรุกขมูลเป็นองค์แรก แล้วท่านก็ธุดงค์ต่อไปที่อื่น ต่อมาท่านพระครูสีทาได้ออกมาหาสถานที่วิเวกในการภาวนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้สร้างวัดบูรพาถวายแด่ท่านพระครูสีทา
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top align=left width="50%">
    หอไตรวัดบูรพา ที่ได้รับการบูรณะแล้ว
    ภาพจาก thai-tour.com
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  6. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ปฏิปทา
    เมื่อแรกอุปสมบท ท่านพำนักอยู่วัดเลียบ เมืองอุบล เป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพา เมืองอุบล บ้างเป็นบางคราว ในระหว่างนั้น ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้นอันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร และ อุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรียบร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌายาจารย์ และศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกรม นั่งสมาธิ กับสมาทานธุดงควัตรต่าง ๆ
    ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏที่แจ้ง หุบเขา ซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้างทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ทางกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวัน หมั่นไปสดับธรรมเทศนากับเจ้าพระคุณพระอุบาลีฯ (สิริจนฺทเถร จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม และถ้ำสิงห์โต ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสานทำการอบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนาแก่สหธรรมมิก และอุบาสก อุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติตามมากขึ้นโดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลายกระจายทั่วภาคอีสาน
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BACKGROUND-POSITION: 0% 0%; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND-ATTACHMENT: scroll; BACKGROUND-IMAGE: none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BACKGROUND-REPEAT: repeat; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=bottom width="50%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top align=middle width="50%">วัดสระปทุม หรือวัดปทุมวนาราม</TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top align=middle width="50%">กุฏิวัดสระปทุม ที่ท่านพระอาจารย์มั่นอยู่จำพรรษา
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #800000 2px solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top align=middle width="114%" colSpan=2>เขาพระงาม วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร จ.ลพบุรี
    สถานที่ที่พระอาจารย์มั่นฯ จาริกแสวงหาวิเวก ปฏิบัติธรรม
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #800000 2px solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="114%" colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #800000 2px solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top align=middle width="114%" colSpan=2>ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ จ.นครนายก เป็นถ้ำที่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ได้จาริกมาปฏิบัติธุดงคกัมมัฏฐาน
    ภายในถ้ำสาริกา ซึ่งหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้แวะเยี่ยมสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่ท่านพระอาจารย์มั่นได้เคยมาพักปรารภความเพียร
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    กุฏิพระอาจารย์มั่น มาพักจำพรรษาที่เสนาสนะป่า
    บ้านนามน ปัจจุบันคือ วัดป่านาคนิมิตต์ อ.โคกศรีสุพรรณ
    จ.สกลนคร
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    กุฏิพระอาจารย์มั่น มาพักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก
    ปัจจุบันคือ วัดป่าวิสุทธิธรรม อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่พระอาจารย์มั่นเคยอยู่จำพรรษา และได้รับแต่งตั้งให้เป็น "พระครูวินัยธร"
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    วัดป่าโนนนิเวศน์ อ.เมือง จ.อุดรธานี เป็นวัดที่พระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาหลังจากกลับจากเชียงใหม่ โดยท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นผู้ประสานงานกับหลวงปู่เทสก์ เทสรํสี กราบอาราธนานิมนต์ท่านกลับภาคอีสานจนเป็นผลสำเร็จ ครั้งนี้เป็นการเปิดเผยตัวของท่านอีกครั้งหนึ่ง หลังจากท่านได้ปลีกตัวอยู่ในป่า ถ้ำ ภูเขา เพื่อบำเพ็ญสมณธรรมอยู่จังหวัดทางภาคเหนือ เป็นเวลา ๑๑ ปี
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-RIGHT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-LEFT-STYLE: solid" vAlign=top width="50%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top align=left width="50%">
    เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ปัจจุบันคือ วัดป่าภูริทัตตถิราวาส (วัดป่าบ้านหนองผือ) อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top align=middle width="50%">
    ศาลาที่พักอาพาธท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร
    พ.ศ. ๒๔๙๒ ณ วัดป่ากลางโนนภู่ บ้านกุดก้อม ต.ไร่
    อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    ภาพจาก www.luangpumun.org
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในกาลต่อมาได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวัน กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับเจ้าพระคุณพระอุบาลีฯ (สิริจนฺทเถร จันทร์) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง ๑๑ ปีจึงได้กลับมาจังหวัดอุดรธานี ตามคำอาราธนาของเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์ พักจำพรรษาอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา
    แล้วมาอยู่เขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมืองสกลนคร ๓ พรรษา จำพรรษาที่วัดป่าหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติได้ติดตามมาศึกษาอบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่านได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่านให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป
     
  7. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ
    ๑. ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนใช้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
    ๒. ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต
    ๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยจึงงด
    ๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ
    ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มากก็คือ อรัญญิกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัย เมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ในเสนาสนะป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาต เป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรงไม่รบกวน
    นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่น ในคราวไปอยู่ทางภาคเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูงอันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอ ยังฯาวมูเซอซึ่งพูดไม่รู้เรื่องกันให้บังเกิดศรัทธาในพระศาสนาได้
    <CENTER><TABLE id=table19 borderColor=#800000 cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#fffff5 border=0><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: 2px solid; PADDING-RIGHT: 4px; BORDER-TOP: 2px solid; PADDING-LEFT: 4px; PADDING-BOTTOM: 1px; BORDER-LEFT: 2px solid; PADDING-TOP: 1px; BORDER-BOTTOM: medium none" align=middle width="100%" colSpan=2>
    อัฐบริขารและเครื่องใช้ประจำวันของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 4px; PADDING-LEFT: 4px; PADDING-BOTTOM: 1px; BORDER-LEFT: 2px solid; PADDING-TOP: 1px; BORDER-BOTTOM: medium none" align=middle width="50%">[​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 2px solid; PADDING-RIGHT: 4px; PADDING-LEFT: 4px; PADDING-BOTTOM: 1px; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-TOP: 1px; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top align=middle width="50%">อัฏฐบริขารของท่านพระอาจารย์มั่น <SUP>๑</SUP>
    ใช้อัฏฐบริขารที่จำเป็นเหมือนกับพระสงฆ์ทั่วไปคือ

    สบง ซึ่งใช้เป็นผ้านุ่ง
    จีวร ใช้เป็นผ้าห่ม
    สังฆาฏิ ใช้เป็นผ้าห่มกันหนาวและใช้พาดบ่าในโอกาส
    ที่จะต้องทำสังฆกรรมต่าง ๆ

    บาตร สำหรับใส่ภัตตาหาร
    มีดโกน สำหรับปลงผม
    เข็ม-ด้าย สำหรับเย็บผ้า
    รัดประคด สำหรับคาดเอว
    ธมกรก-ผ้ากรอง สำหรับกรองน้ำ
    ทั้งหมดนี้เป็นบริขารจำเป็นประจำสำหรับองค์พระ เรียกว่า อัฏฐบริขาร
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 4px; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 4px; PADDING-BOTTOM: 1px; BORDER-LEFT: 2px solid; PADDING-TOP: 1px; BORDER-BOTTOM: medium none" align=middle width="50%">[​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 2px solid; PADDING-RIGHT: 4px; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 4px; PADDING-BOTTOM: 1px; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-TOP: 1px; BORDER-BOTTOM: medium none" align=middle width="50%">[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: 2px solid; PADDING-RIGHT: 4px; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 4px; PADDING-BOTTOM: 1px; BORDER-LEFT: 2px solid; PADDING-TOP: 1px; BORDER-BOTTOM: medium none" align=middle width="113%" colSpan=2>
    เครื่องใช้ประจำวัน <SUP>๒</SUP> ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร มีชีวิตอยู่ด้วยความเมตตาและการแผ่กุศลคุณงามความดี
    ยึดหลักของชีวิตสมณเพศอย่างเคร่งครัด ด้วยเหตุนี้ เครื่องใช้ประจำวันของท่านจึงมีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีพเท่านั้น
    ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ท่านได้ตัดวัตถุทั้งหลายทั้งปวงออกจากบ่วงกิเลสจนหมดสิ้น
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: 2px solid; PADDING-RIGHT: 4px; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 4px; PADDING-BOTTOM: 1px; BORDER-LEFT: 2px solid; PADDING-TOP: 1px; BORDER-BOTTOM: medium none" align=middle width="113%" colSpan=2>
    <SUP>๑</SUP> และ <SUP>๒</SUP> ข้อมูลนำมาจากหนังสือ ชีวประวัติ ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย ของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร โดยชมรมพุทธศาสตร์ กฟผ.
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 4px; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 4px; PADDING-BOTTOM: 1px; BORDER-LEFT: 2px solid; PADDING-TOP: 1px; BORDER-BOTTOM: medium none" align=middle width="50%">[​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 2px solid; PADDING-RIGHT: 4px; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 4px; PADDING-BOTTOM: 1px; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-TOP: 1px; BORDER-BOTTOM: medium none" align=middle width="50%">
    ผ้าที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ใช้ประจำ มีผ้าอาบน้ำฝน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ผ้าเช็ดบาตร ผ้าเช็ดปาก ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดเท้า ถุงเท้า และผ้าบริขาร ที่เรียกรวม ๆ กันว่า "บริขารโจล"
    ผ้าเหล่านี้ ท่านปะชุนด้วยตนเองทั้งสิ้น ท่านใช้อย่างกระเหม็ดกระแหม่ ไม่สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย และบำเพ็ญสมณวิสัยอย่างหายกังวล
    ---------------------------------------------------
    ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์มั่น วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 4px; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 4px; PADDING-BOTTOM: 1px; BORDER-LEFT: 2px solid; PADDING-TOP: 1px; BORDER-BOTTOM: 2px solid" align=middle width="50%">[​IMG]
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 2px solid; PADDING-RIGHT: 4px; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 4px; PADDING-BOTTOM: 1px; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-TOP: 1px; BORDER-BOTTOM: 2px solid" vAlign=top align=middle width="50%">หนังสือเกี่ยวกับธรรม
    แม้ท่านพระอาจารย์มั่น จะปฏิบัติธุดงคกัมมัฏฐานและอยู่ตามเขาต่าง ๆ เป็นประจำก็ตาม แต่ท่านก็มิได้ละเว้นที่จะศึกษาหนังสือธรรมอื่น ๆ เช่นพุทธศาสนิกชนทั้งหลายศึกษากัน อีกทั้งยังเก็บรักษาเอกสารที่สำคัญไว้ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
    หนังสือเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นหลักธรรมคำสอนต่าง ๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และบางส่วนเป็นนิทานอิงธรรมะซึ่งสำนักพิมพ์ต่าง ๆ พิมพ์เผยแผ่ ท่านพระอาจารย์มั่นเคยอธิบายให้สานุศิษย์ฟังเสมอว่า "หนังสือชาติใดก็ตาม สามารถจารึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทั้งนั้น"
    ---------------------------------------------------
    ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์มั่น วัดป่าสุทธาวาส
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    กิจวัตรประจำวัน
    ท่านปฏิบัติกิจประจำวันเป็นอาจิณวัตรเพื่อเป็นแบบอย่างแก่สานุศิษย์ และพร่ำสอนสานุศิษย์ให้ปฏิบัติเป็นอาจิณวัตรต่อไปนี้
    - เวลาเช้า ออกจากกุฏิ ทำสรีรกิจ คือ ล้างหน้า บ้วนปาก นำบริขารลงสู่โรงฉัน ปัดกวาดลานวัด แล้วเดินจงกรม
    - พอได้เวลาภิกขาจารก็ขึ้นสู่โรงฉัน นุ่งห่มเป็นปริมณฑล สะพายบาตรเข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต
    - กลับจากบิณฑบาตแล้ว จัดแจงบาตร จีวร แล้วจัดอาหารใส่บาตร นั่งพิจารณาอาหาร ปัจจเวกขณะ ทำภัตตานุโมทนาคือยถาสัพพีเสร็จแล้ว ฉันจังหัน ฉันเสร็จแล้วล้างบาตร เก็บบริขารขึ้นกุฏิ
    - ทำสรีรกิจ พักผ่อนเล็กน้อย แล้วลุกขึ้นล้างหน้า ไหว้พระ สวดมนต์ และพิจารณาธาตุอาหาร ปฏิกูล ตังขณิก อตีตปัจจเวกขณะ แล้วชำระจิตจากนิวรณ์ นั่งสมาธิพอสมควร
    - เวลาบ่าย ๓-๔ โมง กวาดลานวัด ตักน้ำใช้ น้ำฉันมาไว้ อาบน้ำชำระกายให้สะอาดปราศจากมลทิน แล้วเดินจงกรมจนถึงพลบค่ำจึงขึ้นกุฏิ
    - เวลากลางคืนตั้งแต่พลบค่ำไป สานุศิษย์ก็ทยอยกันขึ้นไปปรนนิบัติ ท่านได้เทศนาสั่งสอนอบรมสติปัญญาแก่สานุศิษย์พอสมควรแล้ว สานุศิษย์ถวายการนวดฟั้น (เฟ้น) พอสมควรแล้ว ท่านก็เข้าห้อง ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ แล้วพักนอนประมาณ ๔ ทุ่ม เวลา ๓.๐๐ น. ตื่นนอน ล้างหน้าบ้วนปาก แล้วปฏิบัติกิจอย่างในเวลาเช้าต่อไป
    กิจบางประการ เมื่อมีลูกศิษย์มากและแก่ชราแล้ว ก็อาศัยศิษย์เป็นผู้ทำแทน เช่น การตักน้ำใช้ น้ำฉัน เพราะเหน็ดเหนื่อยเนื่องจากชราภาพ ส่วนกิจอันใดเป็นสมณประเพณีและเป็นศีลวัตร กิจนั้นท่านปฏิบัติเสมอเป็นอาจิณ มิได้เลิกละ
    ท่านถือคติว่า
     
  8. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    สำเร็จปฏิสัมภิทานุสาสน์

    ตามประวัติเบื้องต้น ได้เล่าสุบินนิมิตของท่านและการพิจารณาสุบินนิมิตของท่าน ได้ความว่า ท่านจะสำเร็จปฏิสัมภิทานุสาสน์ ฉลาดรู้ในเทศนาวิธีและอุบายทรมาน แนะนำสั่งสอนสานุศิษย์ให้เข้าใจในพระธรรมวินัยและอุบายฝึกฝนจิตใจ แต่จะไม่ได้จตุปฏิสัมภิทาญาณ ดังนี้
    คุณสมบัติส่วนนี้ ย่อมประจักษ์ชัดแก่ศิษย์ทั้งหลายสมจริงอย่างที่ท่านพยากรณ์ไว้ คือ ท่านฉลาดในเทศนาวิธี
    ท่านเคยเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ท่านได้พยายามศึกษาสำเนียงวิธีเทศนา อันจะสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟัง ได้ความขึ้นว่า
    เทศนาวิธีต้องประกอบด้วย:-
    ๑. อุเทศ คือกำหนดอุเทศก่อนหัวข้อธรรมที่พึงยกขึ้นแสดง วิธีกำหนดอุเทศนั้นคือทำความสงบใจหน่อยหนึ่ง ธรรมใดอันเหมาะแก่จริงนิสัยของผู้ฟังซึ่งมาคอยฟังในขณะนั้น ธรรมนั้นจะผุดขึ้น ต้องเอาธรรมนั้นมาเป็น อุเทศ ถ้าเป็นภาษาไทยต้องแปลเป็นบาลีก่อน
    ๒. นิเทศ คือเนื้อความ เพื่ออธิบายความของอุเทศนั้นให้กว้างขวางออกไปตามสมควร เมื่อเนื้อความปรากฏขึ้นในขณะนั้นแจ่มแจ้งแก่ใจอย่างไรต้องแสดงอย่างนั้น
    ๓.ปฏินิเทศ คือใจความเพื่อย่อคำให้ผู้ฟังจำได้จะได้นำไปไตร่ตรองในภายหลังเทศนาวิธีของท่านพระอาจารย์ย่อมเป็นไปตามหลักดังกล่าวนี้ บาลีอุเทศที่ท่านยกขึ้นมาแสดงบางประการ ท่านไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก่อน ย่อมมาปรากฏขึ้นในเวลาแสดงธรรมนั้นเอง จึงสมกับคำว่าปฏิสัมภิทานุสาสน์แท้ เป็นการแสดงธรรมด้วยปฏิภาณญาณจริง ๆ จึงถูกกับจริตอัธยาศัยของผู้ฟัง ยังผู้ฟังให้เกิดความสว่างแจ่มใสเบิกบานใจและเกิดฉันทะในอันประพฤติปฏิบัติศีลธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
    สมด้วยคำชมของเจ้าพระคุณพระอุบาลีฯ (สิริจนฺทเถร จันทร์) ว่า ท่านมั่น แสดงธรรมด้วย มุตโตทัย เป็น “มุตโตทัย” ดังนี้ ซึ่งข้าพเจ้าเอามาเป็นชื่อธรรมกถาของท่านพระอาจารย์ที่พิมพ์นี้ ส่วนจตุปฏิสัมภิทาญาณนั้น ท่านว่าท่านจะไม่ได้สำเร็จ เพราะมิได้เปิดดูในตู้พระไตรปิฎก เมื่อสังเกตดูเทศนาโวหารของท่านแล้วก็จะเห็นจริงดังคำพยากรณ์ของท่าน เพราะปฏิสัมภิทาญาณมี ๔ ประการ คือ
    ๑. ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปรีชาแตกฉานในธรรม คือ หัวข้อธรรม หรือหลักธรรม หรือเหตุปัจจัย
    ๒. อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปรีชาแตกฉานในอรรถ คือ เนื้อความ หรือคำอธิบาย หรือผลประโยชน์
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปรีชาแตกฉานในภาษาที่ใช้พูดกันในหมู่ชน อันเป็นตันติภาษา โดยหลักก็คือ รู้ภาษาบาลีอันเป็นแม่ภาษา และภาษาของตนอันจะใช้อธิบายธรรมในหมู่ชนนั้น ๆ รูปคำสูงต่ำ หนักเบา และรู้ความหมายของคำนั้น ๆ ชัดแจ้ง ฉลาดในการเลือกคำพูดมาใช้ประกอบกันเข้าเป็นประโยค ให้ได้ความกะทัดรัดและไพเราะสละสลวย เป็นสำนวนชาวเมือง ไม่ระเคืองคายโสตของผู้ฟัง
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ปรีชาแตกฉานในการกล่าวธรรมด้วยปฏิภาณญาณ มีไหวพริบทันคนในการโต้ตอบปัญหา มีปรีชาผ่องแผ้ว แกล้วกล้า ไม่ครั่นคร้ามในท่ามกลางบริษัท อาจปริวัติเทศนาไปตามจริตอัธยาศัย ด้วยเทศนานัยมีประการต่าง ๆ ได้ดี
    ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ประการนี้ ต้องได้ครบบริบูรณ์ ๔ ประการ จึงจะเรียกว่า สำเร็จจตุปฏิสัมภิทาญาณ ถ้าได้แต่เพียงบางส่วนบางประการไม่เรียกว่าสำเร็จ แต่ถ้าได้ทั้ง ๔ ประการนั้น หากแต่ไม่บริบูรณ์ เป็นแต่เพียงอนุโลม ก็เรียกว่า จตุปฏิสัมภิทานุโลมญาณ ท่านพระอาจารย์น่าจะได้ในข้อหลังนี้ จึงฉลาดในเทศนาวิธีและอุบายวิธีแนะนำสั่งสอนสานุศิษย์ ดังกล่าวมาแล้ว

    ไตรวิธญาณ

    ท่านพระอาจารย์เล่าให้ฟังว่า การกำหนดรู้อะไรต่าง ๆ เช่น จิต นิสัย วาสนา ของคนอื่นและเทวดา เป็นต้น ย่อมรู้ได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ :-
    ๑. เอกวิธัญญา กำหนดพิจารณากายนี้อันปรากฏชัด จิตวางอุคคหนิมิต รวมลงถึงฐีติจิต คือ จิตดวงเดิม พักอยู่พอประมาณ จิตถอยออกมาพักเพียงอุปจาระ ก็ทราบได้ว่าเหตุนั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
    ๒. ทุวิธัญญา กำหนดพิจารณาเหมือนข้อ ๑ พอจิตถอยออกมาถึงอุปจาระ จะปรากฏนิมิตภาพเหตุการณ์นั้น ๆ ขึ้น ต้องวางนิมิตนั้นเข้าจิตอีกครั้งหนึ่ง ครั้นถอยออกมาอีก ก็ทราบเหตุการณ์นั้น ๆ ได้
    ๓. ติวิธัญญา ปฏิบัติเหมือนในข้อ ๑ พอจิตถอยออกมาถึงขั้นอุปจาระ จะปรากฏนิมิตภาพเหตุการณ์ขึ้น ต้องวิตกถามเสียก่อนแล้วจึงวางนิมิตนั้น แล้วเข้าจิตอีก ถอยออกมา ถึงขั้นอุปจาระก็จะทราบเหตุการณ์นั้นได้
    ความรู้โดยอาการ ๓ นี้ ท่านพระอาจารย์ว่า จิตที่ยังเป็นฐีติขณะเป็นเอกัคคตามีอารมณ์เดียว มีแต่สติกับอุเบกขา จะทราบเหตุการณ์ไม่ได้ ต้องถอยจิตออกมาเพียงขั้นอุปจาระจึงมีกำลังรู้ได้ หากถอยออกมาถึงขั้นขณิกะหรือจิตธรรมดาก็ทราบเหตุการณ์ไม่ได้เหมือนกัน เพราะกำลังอ่อนเกินไป
    ท่านพระอาจารย์อาศัยไตรวิธญาณนี้เป็นกำลังในการหยั่งรู้หลังเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นส่วนอดีต ปัจจุบัน อนาคต และกำหนดรู้จิตใจ นิสัย ศาสนาของศิษยานุศิษย์ พร้อมทั้งอุบายวิธีทรมานศิษยานุศิษย์ด้วยปรีชาญาณหยั่งรู้โดยวิธี ๓ ประการนี้ จึงควรจะเป็นเนติของผู้จะเป็นครูอาจารย์ของผู้อื่นต่อไป


    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=536>คติพจน์


    คำที่เป็นคติ อันท่านพระอาจารย์กล่าวอยู่บ่อย ๆ เพื่อเป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ ดังนี้
    ๑.ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่า ดีเลิศ
    ๒.ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง
    เมื่อท่านอธิบายตจปัญจกัมมัฏฐานจบลง มักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า
    "แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้นคาก้นย่างยาย คาย่างยายเวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือน<SUP></SUP> เจ้าอยู่" ดังนี้
    เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุผู้เป็นสานุศิษย์ถือลัทธิฉันเจให้เข้าใจทางถูกและละเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้วได้กล่าวคำเป็นคติขึ้นว่า
    "เหลือแต่เว้าบ่เห็นบ่อนเบาหนัก เดินบ่ไปตามทางสิถืกดงเสือฮ้าย<SUP></SUP>" ดังนี้
    <SUP></SUP> เรือน <SUP></SUP> ร้าย







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    บำเพ็ญประโยชน์

    การบำเพ็ญประโยชน์ของท่านพระอาจารย์ ประมวลลงในหลัก ๒ ประการ ดังนี้
    ๑. ประโยชน์ชาติ ท่านพระอาจารย์ได้เอาธุระเทศนาอบรมสั่งสอนศีลธรรมอันดีงามแก่ประชาชนพลเมืองของชาติในทุก ๆ ถิ่นที่ท่านได้สัญจรไป คือ ภาคกลางบางส่วน ภาคเหนือเกือบทั่วทุกจังหวัด ภาคอีสานเกือบทั่วทุกจังหวัด และบางส่วนของต่างประเทศ เช่น ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงของประเทศลาว ไม่กล่าวสอนให้เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองของประเทศ ทำให้พลเมืองของชาติผู้ได้รับคำสั่งสอน เป็นคนมีศีลธรรมดี มีสัมมาอาชีพ ง่ายแก่การปกครองของผู้ปกครอง ชื่อว่าได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ซาติตามควรแก่สมณวิสัย
    ๒. ประโยชน์ศาสนา ท่านพระอาจารย์ได้บรรพชาและอุปสมบทเข้ามาในพระศาสนานี้ด้วยความเชื่อและความเลื่อมใสจริง ๆ ครั้นบวชแล้วก็ได้เอาธุระศึกษาและปฏิบัติพระธรรมวินัยด้วยความอุตสาหะพากเพียรจริง ๆ ไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญสมณธรรม ท่านปฏิบัติธุดงควัตรเคร่งครัดถึง ๔ ประการ ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น ได้ดำรงรักษาสมณกิจไว้มิให้เสื่อมสูญ ได้นำหมู่คณะฟื้นฟูปฏิบัติธรรมวินัยให้ถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติและพระพุทโธวาท หมั่นอนุศาสน์สั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ฉลาดอาจหาญในการฝึกฝนอบรมจิตใจตามหลักสมถวิปัสสนาอันสมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสสอนไว้
    เป็นผู้มีน้ำใจเด็ดเดี่ยว อดทน ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม แม้จะถูกกระทบกระทั่งด้วยโลกธรรมอย่างไรก็มิได้แปรเปลี่ยนไปตาม คงมั่นอยู่ในธรรมวินัย ตามที่พระบรมศาสดาประกาศแล้วตลอดมา ทำตนให้เป็นทิฏฐานุคติแก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างดี ท่านได้จาริกไปเพื่อแสวงวิเวกตามที่ต่าง ๆ คือ บางส่วนของภาคกลาง เกือบทั่วทุกจังหวัดในภาคเหนือเกือบทุกจังหวัดของภาคอีสาน และแถบบางส่วนของต่างประเทศอีกด้วย นอกจากเพื่อวิเวกในส่วนตัวแล้ว ท่านมุ่งไปเพื่อสงเคราะห์ผู้มีอุปนิสัยในถิ่นนั้น ๆ ด้วย
    ผู้ได้รับสงเคราะห์ด้วยธรรมจากท่านแล้ว ย่อมกล่าวได้ด้วยความภูมิใจว่า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
    <TABLE id=table18 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ตราตั้งอุปัชฌายะท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร





    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ส่วนหน้าที่ในวงการคณะสงฆ์ ท่านพระอาจารย์ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้าในฐานะเจ้าคณะให้คณะธรรมยุตติกนิกายให้เป็นพระอุปัชฌายะในคณะธรรมยุตติกนิกายตั้งแต่อยู่จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูวินัยธร ฐานานุกรมของเจ้าพระคุณพระอุบาลีฯ (สิริจนฺทเถร จันทร์) ท่านก็ได้ทำหน้าที่นั้นโดยเรียบร้อยตลอดเวลาที่ยังอยู่เชียงใหม่
    ครั้นจากเชียงใหม่มาแล้ว ท่านก็งดหน้าที่นั้น แม้ข้าพเจ้าขอร้องให้ทำในเมื่อมาอยู่สกลนคร ท่านก็ไม่ยอมทำ โดยอ้างว่าแก่ชราแล้ว ขออยู่ตามสบาย ข้าพเจ้าก็ผ่อนตามด้วยความเคารพและหวังความผาสุกสบายแก่ท่านพระอาจารย์
    งานศาสนาในด้านวิปัสสนาธุระ นับว่าท่านได้ทำเต็มสติกำลัง ยังศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ให้อาจหาญ ร่าเริงในสัมมาปฏิบัติตลอดมา นับแต่พรรษาที่ ๒๓ จนถึงพรรษาที่ ๕๙ อันเป็นปีสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน อาจกล่าวได้ด้วยความภูมิใจว่าท่านพระอาจารย์เป็นพระเถระที่มีเกียรติคุณเด่นที่สุดในด้านวิปัสสนาธุระผู้หนึ่งในยุคปัจจุบัน

    ปัจฉิมสมัย

    ในวัยชรานับแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านมาอยู่จังหวัดสกลนคร เปลี่ยนอิริยาบถไปตามสถานที่วิเวกผาสุกวิหารหลายแห่ง คือ ณ เสนาสนะป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมืองบ้าง ที่ใกล้ๆ แถวนั้นบ้าง ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิต
    ตลอดเวลา ๘ ปีในวัยชรานี้ ท่านได้เอาธุระอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวัน ศิษย์ผู้ใกล้ชิดได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่แล้ว ให้ชื่อว่า “มุตโตทัย”
    ครั้นมาถึง พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธ เป็นไข้ ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็ได้เอาธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถ อาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว แต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมา จนจวนออกพรรษา อาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษา ศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ไกลต่างก็ทยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจและรักษา แล้วนำมาพักที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม เพื่อสะดวกแก่ผู้รักษาและศิษยานุศิษย์ที่จะมาเยี่ยมพยาบาล อาการอาพาธมีแต่ทรงกับทรุดลงโดยลำดับ



    <TABLE id=table17 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    โบสถ์วัดป่าสุทธาวาส ณ สถานที่ถวายเพลิงศพพระอาจารย์




    มั่น ภูริทตฺตเถร เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓ ซึ่งต่อมามี

    การสร้างพระอุโบสถขึ้น





    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้นำท่านมาพักที่วัดป่าสุทธาวาส ใกล้เมืองสกลนคร โดยพาหนะรถยนต์ มาถึงวัดเวลา ๑๒.๐๐ น. เศษ ครั้นถึงเวลา ๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่านก็ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในท่ามกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์เป็นต้น สิริชนมายุของท่านพระอาจารย์ได้ ๘๐ ปี เท่าจำนวนที่ท่านได้กำหนดไว้แต่เดิม
    การที่ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือได้นำท่านพระอาจารย์มาที่วัดป่าสุทธาวาสนี้ ก็ให้เป็นไปตามเจตนาเดิมของท่านพระอาจารย์ คือ เมื่อเริ่มป่วยหนัก ท่านแน่ในใจว่าร่างกายนี้จะต้องเป็นไปตามธรรมดาของเขาแล้ว จึงปรารภกับศิษย์ผู้ใหญ่รูปหนึ่งว่า “ถ้าตายลง ณ บ้านหนองผือนี้ สัตว์ก็จะต้องตายตามมิใช่น้อย ถ้าตายที่วัดสุทธาวาสก็ค่อยยังชั่วเพราะมีตลาด” ดังนี้
    นอกจากมีความเมตตาสัตว์ที่จะต้องถูกฆ่าแล้ว คงมุ่งหมายฝากศพแก่ชาวเมืองสกลนครด้วย ข้าพเจ้าอดที่จะภูมิใจแทนชาวเมืองสกลนครในการที่ได้รับเกียรติอันสูงนี้ไม่ได้ อุปมาดังชาวมัลลกษัตริย์กรุงกุสินาราราฯธานี ได้รับเกียรติจัดการพระบรมศพและถวายพระเพลิงพุทธสรีระฉะนั้น เพราะท่านพระอาจารย์เป็นที่เคารพนับถือของคนมาก ได้เที่ยวไปหลายจังหวัดของประเทศไทย ครั้นถึงวัยชรา ท่านก็เลือกเอาจังหวัดสกลนครเป็นที่อยู่อันสบายและทอดทิ้งสรีระกายไว้ ประหนึ่งจะให้เห็นว่าเมืองสกลนครเป็นบ้านเกิดเมืองตายของท่านฉะนั้น ในสมัยทำการฌาปนกิจศพของท่านพระอาจารย์นั้น ชาวเมืองสกลนครยังจะมีเกียรติได้ต้อนรับศิษยานุศิษย์ผู้ใหญ่ของท่านอันมาจากทิศต่าง ๆ มากมายหลายท่านอีกด้วย
    ธรรมอันน่าอัศจรรย์ในท่าน อันประจักษ์แก่ศิษยานุศิษย์ที่ไม่ควรลืมก็คือ ในสมัยอาพาธหนักเมื่อยังพูดได้ ท่านได้แสดงธรรมให้ฟังอยู่ตลอดมา ไม่มีการสะทกสะท้านต่อมรณภัยแต่ประการใด ยังกล่าวท้าทายศิษย์ทั้งหลายด้วยว่า “ใครจะสามารถรดน้ำให้ไม้แก่นล่อน<SUP>๑</SUP> กลับมีใบขึ้นมาอีกได้ ก็ลองดู”
    ในเมื่อศิษย์ขอรักษาพยาบาล แต่เพื่ออนุเคราะห์ ท่านก็ยินยอมให้รักษาพยาบาลไปตามเรื่อง ครั้นเวลาอาพาธหนักถึงที่สุด สังขารร่างกายไม่ยอมให้โอกาสท่านพูดจาได้เลย เพราะเสมหะเฟื่องปิดลำคอ ยากแก่การพูด จึงมิได้รับปัจฉิมโอวาทอันน่าจับใจแต่ประการใด คงเห็นแต่อาการอันแกล้วกล้าในมรณาสันนกาลเท่านั้นเป็นขวัญตา ศิษยานุศิษย์ต่างก็เต็มตื้นไปด้วยปีติปราโมทย์ในอาการนั้น ซึ่งหาได้ไม่ง่ายนัก และต่างก็ปลงธรรมสังเวชในสังขารอันเป็นไปตามธรรมดาของมัน ใครๆ ไม่เลือกหน้าเกิดมาแล้วจะต้องแก่เจ็บตายเหมือนกันหมด ไม่มีใครล่วงพ้นไปได้สักคนเดียว มีแต่อมฤตธรรมคือพระนิพพานเท่านั้นที่พ้นแล้วจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยสิ้นเชิง ผู้บรรลุถึงอมฤตธรรมนั้นแล้ว แม้ต้องทอดทิ้งสรีระไว้อย่างสามัญชนทั้งหลาย ก็คงปรากฏนามว่า ผู้ไม่ตาย อยู่นั่นเอง
    <SUP></SUP> แก่นหล้อน (แก่นล่อน) น. ไม้เนื้อแข็งตายยืนต้น เปลือกกร่อนหมด เรียกไม้แก่นหล้อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กุมภาพันธ์ 2009
  9. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
  10. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE cellSpacing=0 cols=3 cellPadding=0 width="70%" border=0><TBODY><TR><TD><CENTER>[​IMG] </CENTER></TD><TD><CENTER>[​IMG] </CENTER></TD><TD><CENTER>[​IMG] </CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cols=3 cellPadding=0 width="90%" border=0><TBODY><TR><TD><CENTER>[​IMG] </CENTER></TD><TD><CENTER>[​IMG] </CENTER></TD><TD><CENTER>[​IMG] </CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="90%" border=0><TBODY><TR><TD><CENTER>[​IMG] </CENTER></TD><TD><CENTER>[​IMG] </CENTER></TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cols=3 cellPadding=0 width="90%" border=0><TBODY><TR><TD><CENTER>[​IMG]
    หุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่
    ประดิษฐาน ณ
    พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย นครปฐม
    </CENTER></TD><TD><CENTER>[​IMG] </CENTER></TD><TD><CENTER>[​IMG]
    รูปหล่อของหลวงปู่
    ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน
    วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
    </CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>ทางผู้จัดทำ ได้ค้นคว้าหารูปถ่ายที่มีอยู่ตามหนังสือต่างๆให้มากที่สุด
    เพื่อเป็นการอนุรักษณ์รูปเก่าไว้
    ถ้าหากท่านใดมีรูปถ่ายของหลวงปู่นอกเหนือจากนี้
    กรุณาส่งผู้จัดทำจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง


    รูปทั้งหมดจาก http://www.luangpumun.org/pic.html
    </CENTER>
     
  11. อย่ากด อนุโมทนา

    อย่ากด อนุโมทนา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +3
    ดีมาก ผมฟังเพลงประวัติพระอาจารณ์มั่นที่เพลิน พรมแดนร้องด้วย
    แต่เรื่องที่ถ้ำสาริกา ทำไมไม่มีเล่าเรื่องของ เทวดาที่เป็นมิจฉาทิฐิที่ที่แรก
    จะมาทำร้ายอาจารณ์มั่นหละครับ . .
    อยากไห้คนที่คิดว่า เทวดาดีไปเสียหมด จนไม่กล้าแม้นแต่จะพูดถึง เห็นไครว่าเทวดาไม่ดี ก็หาว่าเขา ปรามาสได้อ่านบ้าง
    จะได้ไม่เผลอ แสดงความไม่รู้ ออกมาว่า รู้ รู้รู้ใจทุกคน . . .

    อย่างเรื่องที่ผมเล่าถึงเทวดามาชวนคนไปอยู่ด้วยเนี่ยhttp://palungjit.org/showthread.php?t=168248
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2009
  12. อย่ากด อนุโมทนา

    อย่ากด อนุโมทนา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +3
    เดี๋ยววันไหนว่างๆจะขอเล่าประวัติพระอาจารณ์มั่น ตอน ถ้ำสาริกา เสริมสักนิด
     
  13. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    สาธุ


    ปีนี้ 2552 ครบรอบ 60 ปี แห่งการละสังขารของหลวงปู่มั่น
    มีคณะศิษย์ศรัทธาจะจัดพิมพ์ประวัติหลวงปู่มั่น เขียนโดยหลวงตามหาบัว อย่างละเอียด
    เล่มใหญ่ขนาด A4 ปกแข็ง หนาประมาณสามร้อยกว่าหน้า ราคาขึ้นอยู่กับค่าพิมพ์ตามต้นทุนที่จ่ายจริง อาจประมาณ 100 - 140 บาท เท่านั้น และจะจัดทำ CD ประกอบด้วย
    ท่านที่สนใจร่วมบุญพิมพ์หนังสือให้อาจารย์ใหญ่ ท่านจะได้รับหนังสือตามจำนวนที่สั่ง หรือจะให้คณะแจกจ่ายหนังสือให้ก็ได้ตามศรัทธาและความสะดวก

    แจ้งความจำนงมาก่อนได้ที่ sirchaiyos@yahoo.com แล้วจะส่งรายละเอียดให้ทราบต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...