มือใหม่ผู้สนใจกสิณลม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Prachyaz, 15 มกราคม 2009.

  1. Prachyaz

    Prachyaz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2009
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +54
    เอ่อคือว่าผมเพิ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิอาครับ อายุก็เพิ่ง16ปีเอง
    ตอนนี้นั่งมาได้ประมาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว มีความสนใจอยากฝึกกสิณลมมากๆ
    แต่ยังเข้าฌานไม่เป็นเลยรบกวนใครก็ได้ช่วยสอนผมหน่อยเอาแบบละเอียดเลยนะครับ
    อีกอย่างผมเป็นคนไม่มีซิกเซ้นเลยไม่ีมีสัมผัสพิเศษแต่สนใจอยากฝึกอย่างถูกวิธี
    แล้วไม่ทราบว่าถ้าจะเห็นผล(เข้าฌาน)ได้มันต้องใช้เวลาโดยประมานเท่าไหร่ครับ
    ขอบคุนครับ
     
  2. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ

    ดี ที่ได้เริ่มฝึกนั่งสมาธิตั้งแต่อายุ 16 ถ้าทำต่อไปเรื่อย ๆ จะต้องก้าวหน้าอย่างแน่นอน พี่เองเริ่มนั่งสมาธิครั้งแรกตอนอายุ 17 ปี นั่งเองเหมือนกัน แล้วก็ทิ้งช่วงไปตอนเรียน แต่ 10 ปีให้หลังนี้ทำอยู่ประจำ

    พี่อยากจะแนะนำนะ
    1. ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติก่อนจะดีมาก เพราะ เป็นวิธีถูกจริตสำหรับทุกคน วิธีการคือ นั่งขัดสมาธิ มือขวาทับมือซ้าย หลับตา แล้วทำความรู้สึกที่ลมหายใจ เข้าและลมหายใจออก วิธีที่นิยมทำกันคือ ท่องคำบริกรรมไปด้วย โดยหายใจเข้าก็นึกในใจว่าพุทธ และหายใจออก (ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออกอย่างมีสติ) ก็นึกคำว่าโธ ตอนเริ่มเข้าสมาธิ การหายใจเข้า-ออก 5 แรก ให้สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ที่สุดให้เต็มปอด และหายใจออกยาว ๆ และต่อจากนั้นก็ตามรู้ลมหายใจเข้าออก (ไม่ใช่เพิ่งหรือบีบบังคับลมหายใจนะ แค่ตามรู้) เมื่อเวลาผ่านไป คำบริกรรมจะค่อย ๆ จางหายไปเอง จิตจะรวม จากนั้นก็จะรู้สึกอิ่มเอิบปิติ ซึ่งเป็นความรู้สึกทางกายที่รู้สึกได้ขณะเดียวกันใจก็ปิติมีความสุขด้วย จากนั้นจะรู้สึกว่าตัวหายไปหรือไม่มีอยู่แต่มีสติรู้ชัดอยู่ จากนั้นก็อุเบกขาไม่ยินดีในสุขใด ๆ

    ฌานได้ไม่ยาก แต่อย่าไปสนใจว่าจะได้หรือไม่ได้ ทำไปได้ก็ได้เอง อย่าไปเพ่งอย่าไปกดเพราะจะทำให้ไม่ได้สมาธิ

    เมื่อทำสมาธิแบบอานาปานสติได้ดีแล้วจึงค่อยฝึกกสิณ กสินลมฝึกยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสินลมทั่วไปที่เห็นได้ยากสัมผัสยาก อาจจะนึกถึงลมที่สัมผัสผิวกายก็ได้ หรือลมที่พัดยอดไม้ยอดหญ้า ซึ่งจะเห็นว่าจำให้ติดตาได้ยาก แต่ที่ง่ายที่สุดคือกสินลมที่ปลายจมูกนั่นแหละ คือการทำสมาธิแบบอานานปานสติตามรู้ลมเข้าลมออกจากรูจมูก ถ้านึกเห็นลมแล้วจำให้ได้มันก็จะเป็นกสินลมไปด้วย ถ้าได้กสินลมกายละเอียดอาจถอดออกจากกายหยาบแล้วเหาะไปในอากาศได้ (แนะเฉย ๆ อย่าทำเพราะอยาก)

    สำหรับคนเพิ่งฝึกสมาธิใหม่ ขอแนะนำอานาปานสติ ต่อเมื่อเข้าออกสมาธิคล่องแล้ว การที่จะฝึกกสิณแบบใดนั้นไม่ยาก

    สำหรับคนที่จะฝึกกสิณใหม่ ๆ นั้นขอแนะนำกสิณสี (วรรณกสิณ) เช่น สีขาว สีเขียว แดง เหลือง ฯลฯ เพราะสามารถจำติดตาได้ง่าย กว่ากสิณลม หรือกสิณไฟจากเปลวเทียนซึ่งจำให้ติดตาได้ยากเพราะเปลวไฟมันไหว

    (รายละเอียดการฝึกกสิณ หาอ่านได้ที่ http://www.larnbuddhism.com/grammathan/gasin.html)

    หรือไปฝึกกสิณที่วัดยานนาวา กทม ก็ได้ (13:00-17:00 น ทุกวันอาทิตย์)

    โชคดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2009
  3. แสงสว่างกับความมืด

    แสงสว่างกับความมืด สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +15
    ขอบคุณพี่หาธรรมมากเลยครับ
    ผมเองก็สนใจกสิณลมเหมือนกับน้องPrachyaz<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1801224", true); </SCRIPT> แต่ยังไม่เคยฝึกดูเลย
    พอนั่งสมาธิทีไรก็ล้มเหลวทุกทีเลย(เมื่อยบ้าง ขี้เกียจบ้าง)
    แต่หลังจากได้อ่านกระทู้ของท่านผู้รู้+คำสอนของหลวงพ่อ
    ก็เริ่มมีกำลังใจมากขึ้น ซึ่งช่วงนี้ก็พยายามทำสมาธิทุกวัน
    หลังเลิกเรียนรู้สึกดีมากเลยครับ
     
  4. Prachyaz

    Prachyaz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2009
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +54
    ขอบคุณครับ
     
  5. Prachyaz

    Prachyaz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2009
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +54
    แล้วไม่ทราบว่าหากเราจะฝึกจำเป็นต้องมีครูรึป่าวครับ
    คือเพื่อนผมเค้าเตือนครับถ้าไม่มีครูดูแลเดี๋ยวจะสติแตกอ่ะครับ
     
  6. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    กสิณลม ไม่ใช่อรูปฌาณ
    ไม่ใช่ฌาณขั้นสูงแต่อย่างใด
    เป็นของที่สามารถจะทำได้ง่ายๆ ทุกๆคนครับ

    เราก็นึกถึงภาพ คลื่นลม ที่พัดไหลเข้ามารวมกันเป็นลูก
    เป็นลูกบอลลม ลูกบอลที่ทำจากคลื่นลม พอจะนึกออกไหม

    เสร็จแล้วก็จินตนาการว่าลูกบอลลมนี้ เปลี่ยนเป็นสีขาว
    แล้วเปลี่ยนเป็นลูกบอลลมแก้ว คลื่นลมกลายเป็นแก้วใสทั้งหมด
    แล้วก็เปลี่ยนเป็นลูกบอลลมเพชร มีประกายระยิบระยับ เปล่งประกายสว่างสวยงาม
    คลื่นลมก็เป็นเพชรระยิบระยับไปหมด

    เสร็จแล้ว เราก็ประคองภาพนี้ หมั่นนึกถึง ภาพนี้อยู่ตลอดทั้งวัน
    เท่านี้เองครับ ไม่ยากครับ
    ลองทำดูครับ
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เห็นด้วยกับคุณ หาธรรม กับน้อง Xorce ........ครับ......อายุ16 นี่เริ่มฝึก ช้ากว่าผมนะ....ผมมาเอาจริงเอาจังเมื่อ อายุ 14 ......อย่าประมาทนะครับ
     
  8. ผู้ที่_

    ผู้ที่_ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +83
    กสินที่สามารถข้ามไปอรูปฌาณได้ง่ายคือกสินช่องว่าง ฌาณ 4 กับ อากาสานัญจายตนใกล้กันมากจนแทบแยกไม่ออก ก่อนอื่นต้องขอเตือนน้อง Prachyas ว่าควรละความอยากได้บางสิ่งบางอย่างจากกสินลมก่อน เพราะยังอยู่ในนิวรณ์ การที่จะนั่งสมาธิแล้วมุ่งไปเอาฌาณทีเดียวแสดงว่าจิตเราเจือนิวรณ์อยู่

    ขอให้ทำสมาธิอย่างง่ายๆในชิวิตประจำวัน ถึงเวลาที่บารมีมากขึ้นและตัดนิวรณ์ 5 ประการออกได้ และเจริญไปด้วยอิทธิบาท 4 และศีล 5 ฌาณใดๆล้วนพึงได้
     
  9. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    ถ้ามีครูสอนในตอนที่เพิ่งฝึกใหม่ ๆ จะดีครับ พอ ทำเองเป็นแล้วค่อยฝึกเอง แล้วนำผลที่ได้ไปปรึกษาหรือซักถามครูบาอาจารย์เพื่อให้แน่ใจว่าไปในทางที่ถูกต้อง จะได้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2009
  10. ศุภกร_ไชยนา

    ศุภกร_ไชยนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,122
    ความอยาก นี้ก็ดีเหมือนกันนะคับ ชวนคนหันมาสนใจสมาธิได้ดีเหมือนกัน ( ผมก็หนึ่งในนั้น ) ตอนนี้วางแล้ว
     
  11. choosake

    choosake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    482
    ค่าพลัง:
    +647
    ผมก็ เคยฝึกครับ แต่ถ้าเอาหลักการ ผมคงอธิบายไม่ได้ครับ
    ผม อาศัย ควัน เวลาจุดบูชาพระครับ (ควรปิดพัดลมนะครับ มันจะวิ่งเร็วจนจับไม่ทัน)
    มันลอย ไปตามกระแสลม ผมใช่ภาพนั้น จับครับ จนเป็น ประกายเพชร เป็นเส้น ยาว ๆ ๆ ไปตามกระแสลมครับ
    เป็นวิธีการส่วนตัวนะครับ
     
  12. jokerpalm

    jokerpalm Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +46
    รุ่นเดียวกับผมหรอ ผมเริ่มจากอานาอะครับ แล้วมาวรรณกสิณครับ

    ผมว่าถ้าได้อานาปานสติกสิณก็จะง่ายครับ

    เพียงแต่เราจะเปลี้ยนมาเป็นอายตนะทางตาเฉยๆ
     
  13. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    กสินลมนั้น จะว่ายาก หรือง่าย มันก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละคน สำหรับผู้ที่ปฏิบัติมาได้ดี เพียงพลิกพิจารณา มันก็จะเข้าใจได้ แต่สำหรับคนที่ยังมิค่อยได้ ฝึกภวานามามาก ก็คงจะต้องเพียรพยายามมาก

    ก่อนอื่น พึงเข้าใจก่อน ว่า การจะไปเพ่งเอาธาตุลมโดยตรงนั้น ผุ้ฝึกนึกไปตรง ๆ ไม่ได้ เพราะลม ค่อนข้างที่จะจิตนาการให้เกิดมโนได้ยาก สำหรับคนโดยทั่วไป ฉะนั้น จึงได้แต่มนสิการปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบแทน อันนี้ ก็ยังนับว่า ทำได้ อยู่

    การจะเข้าถึง ธาตุลม ต้องอาศัย น้อมไปในความรู้สึก หรือกล่าวอีกนัยยะ คือ สติสัปปชัญญะ รู้แก่นของธาตุลม คือ "อิสสระ" ของความเคลื่อนไหว มิถูกจำกัดโดยสิ่งใด เมื่อเข้าถึงแก่นแล้ว จะพบว่า ความบริสทุธิ์หมดจด แห่งธาตุลมว่า เป็นอย่างไร

    ไม่ว่าจะฝึกแนวไหนมาก็ตาม สมาธิพละ และ สติสัมปชัญญะ พละ เป็นสิ่งจำเป็น เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ก็จับกำหนด รู้ หรือ รู้สึกถึง ลม สภาวะลมที่ไหว รอบ กาย จนทั่วถึงกายทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็นส่วนไหนของร่างกาย เมื่อเพ่งพิจารณาไป ก็สามารถสัมผัสกับ ธาตุลมได้ หรือ จะอาศัยความเย็น ที่พัดมาต้องกายก็ได้ไม่ผิดกติกา เมื่อกำหนดรู้ได้ จนชำนาญ คล่องแคล้วแล้ว หลังจากนั้น ให้ ฝึกหัด น้อม กาย และ ใจ กลมเกลือนเข้า กับ ธาตุลม ให้ชำนาญ ให้ เป็นธรรมชาติ ไปเรื่อย ๆ จนให้ สุด ก็จะเข้าถึง และ เข้าใจ กสินลม โดยไม่ต้องสงสัย แท้จริง กสินเกี่ยวกับธาตุกองอื่น นัยยะ ก็คลายกัน เข้าถึงด้วยวิธีนี่เช่นกัน

    ส่วนวิธีอื่นที่มีกล่าวกันไวเป็นอย่างไร ไม่เคยศึกษาครับ แต่คิดว่า การฝึกน่าจะสามารถทำได้หลายอุบายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับ ฐานและ จริตแต่ละท่าน ส่วนที่ผมปฏิบัตินั้น เข้าไปตรง ๆ
    โดย มิต้องใช้ สื่อใด แต่ก็อย่างที่กล่าวว่า แต่ละคนอุบายที่จะขัดตนเอง มันก็ต่าง ๆ กันไป บางครั้ง เข้าโดยวิธีโน้นไม่ได้ ก็ต้องพิจารณาลองโดยอุบายอื่นๆ มิจำเป็นต้องยึดติดว่าวิธีนั้นดีกว่า วิธีนี้ ดีกว่า เอาเป็นว่า วิธีไหน ตนเองทำแล้ว ก้าวหน้าไม่หลงออกนอก ก็เป็นอันใช่ได้ วิธีเป็นเพียงอุบาย เพื่อเข้าให้ถึง สภาพนั้น ๆ
     
  14. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,302
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    ออ โทษทีครับพี่ chut ผมผิดไป กสิณลมเป็นหนึ่งในจํานวนกสิณต่างๆครับ ไม่จัดเป็นอรูปณาน เป็นฌานเบื้องต้นอย่้าง จขกท กล่าวมาถูกเเล้วครับ ดังนี้


    1. วาโยกสิณ (กสิณลม) จิตเพ่งอยู่กับลม นึกถึงภาพลม โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นลม หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "วาโย" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง" เเต่ผมอยากเเนะนํา จขกท คือถ้าเกิดท่านนั่งสมาธิพุทโธเดิมๆอยู่เเล้ว ท่านสามารถฝึกกสิณจากการนั่งสมาธิพุทโธได้เช่นกัน ด้วยการนึกถึงรูปพระพุทธรูปในขณะที่เรานั่งหลับตาพุทโธอยู่ จริงๆเเล้ว นึกทั้งวันก็ได้ครับ ไม่จําเป็นต้องนั่งพุทโธเเล้วค่อยนึกก็ได้ เคยอ่านเจอทั้งจากพี่ๆบอกด้วยคือ การนึกถึงรูปองค์ท่านตลอดเวลาจนเราจําจนติดตา ไม่ว่าจะทํีาอะไรก็เห็นท่าน อันนี้ก็ถือว่าเป็นการฝึกกสิณไปในตัวครับ ลองเอาไปฝึกดูได้ครับ ให้พี่ Xorce เเนะได้ครับ อนุโมทนาครับผม
     
  15. mib8gdviNz

    mib8gdviNz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +1,523
    แวะมาหาความรุ้ค๊าบ
     
  16. โทสะ

    โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    การ เพ่งกสิณ ไม่ใช่การไปนั่งนึกให้เห็น ถ้ามิใช่ผู้มีบารมีเดิมยากที่จะเกิด
    ฝึกกสิณสำหรับผู้ที่ไม่รู้ว่ามีบารมีเดิมหรือไม่ ต้องอาศัยเพ่งดู เพื่อให้จำภาพนั้นได้ติดตา มิใช่ไปนั่งนึกเอา ภาพที่จำได้ คือ เวลาหลับตาจะเห็นภาพนั้น เหมือนลืมตาดู ถ้าหลับตายังมือตึดตื๋อ แสดงว่าอุคหนิมิตยังไม่เกิด ต้องเพ่งต่อไปจนกว่าจะหลับตาแล้วเห็นภาพนั้น แต่สิ่งที่จะเพ่งนั้น ถ้าให้ดีต้องเป็นไปตามแบบ เช่น กสิณสม ต้องทำช่องวงกลม จากไม้อัดก็ได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ไม้บบรทัด ( 1 คืบ 4 นิ้ว) เวลาเพ่งก็นั่งห่างจากช่องวงกลมนั้นประมาณ 1 ช่วงแขนกับ 1 คืบ มองผ่านเพื่อให้เห็นยอดไม้ที่เคลื่อนไหวจากลม และรับสัมผัสจากการถูกต้องผิวกายของลมด้วย ถ้าให้ได้ไวไปฝึกบนเขาจะดีมาก ..
     
  17. นายดอกบัว

    นายดอกบัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +5,676
    อยากได้ฌานก็เอาเหอะ ไม่ต้องละความอยากมันไปหรอก ฝึกๆนั่งๆไป จนสักพักมันไม่ได้อะไรเลย มันจะเริ่มปล่อย เริ่มช่างแมร่งมันเหอะ พออยากจะนั่งก็นั่ง นั่งไปงั้นๆสบายๆ เดี๋ยวมันก็เข้าเอง แรกๆเริ่มนั่งสมาธิ มันก็เพราะความอยากนั่นแหละ
     
  18. Candle

    Candle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2004
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +909
    แวะมาอ่านด้วยคนครับ
     
  19. ABP@BDZ

    ABP@BDZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +228
    สนใจกสิณลมเหมือนกันเลยนะครับ

    ลองเอาคำตอบของหลวงพี่เล็ก ที่ผมถามเกี่ยวกับกสิณลมเนี่ยแหละ ลองเอาไปดูครับ

    ผมถาม
    ตอนนี้ผมมีความสนใจที่จะฝึกวาโยกสิณ(กสิณลม) ในกลุ่มสมถกรรมฐาน จากที่ผมทำการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตและศึกษาจากหนังสือหลายๆ เล่ม (รวมถึงคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐานของหลวงพ่อด้วย) แล้วเกิดความพอใจในผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติ โดยที่ไม่ได้อธิษฐานเพื่อหาการปฏิบัติกรรมฐานที่เคยได้มาจริงๆ เรียนถามว่า ความพอใจที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากการที่เคยปฏิบัติได้ในอดีตชาติจริงหรือเปล่า ? ถ้าไม่ใช่ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราพอใจนั้น เกิดจากของเก่าที่เคยได้จริงๆ จำเป็นต้องอธิษฐานด้วยหรือเปล่า ?

    หลวงพี่เล็กตอบ
    ถ้าชอบใจก็ใช่ แต่ถ้าไม่แน่ใจให้ทำการอธิษฐานด้วย

    ผมถาม ในการฝึกกสิณลมนั้น ผมใช้นิมิตเป็นลมจากพัดลมหรือจากธรรมชาติที่เข้ามากระทบตัว เพราะหาง่าย ใช้ได้สะดวก และมีทุกที่ โดยการฝึกของผมจะยึดการสัมผัสระหว่างลมกับร่างกายเป็นบริกรรมนิมิต จำความรู้สึกที่ลมกระทบผิว ให้ความรู้สึกเหมือนมีลมเข้าปะทะร่างกาย พร้อมภาวนาตามแบบที่หลวงพ่อสอน เรียนถามว่า การปฏิบัติที่เป็นอยู่นี้ถูกต้องหรือไม่ ? แล้วการประคองนิมิตกสิณ จำเป็นต้องประคองตลอดเวลาหรือเปล่า ? แล้วระหว่างการยึดนิมิตกสิณตลอดเวลากับแค่เท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย มีผลต่างกันเช่นใด ?

    หลวงพี่เล็กตอบ
    ถูกต้องแล้ว จำเป็นต้องประคองนิมิตตลอดเวลา ถ้าทำแค่โอกาสอำนวยไม่แน่ว่าชาตินี้จะสำเร็จหรือไม่ ?

    ผมถาม
    ปัจจุบันนี้ ผมฝึกกสิณลมด้วยตนเอง เรียนถามว่า ในการฝึกจำเป็นต้องมีครูบาอาจารย์คุมหรือไม่ ? เพื่อไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางและอื่นๆ แล้วระหว่างมีครูบาอาจารย์คุมกับไม่มี มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ?

    หลวงพี่เล็กตอบ
    ควรมี ถ้ามีพลาดยากสำเร็จง่าย ถ้าไม่มีพลาดง่ายสำเร็จยาก
     
  20. เพื่อหลุดพ้น

    เพื่อหลุดพ้น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ

    ผมเองก็สนใจอยู่เหมือนกัน

    ตอนนี้ก็เริ่มจากอานาปานสติ

    พยายามระลึกรู้ลมหายใจอยู่กับพุทโธให้ได้ตลอดเวลา

    แต่มันก็ลืมเรื่อย
     

แชร์หน้านี้

Loading...