ช่วยแนะนำด้วย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย radius, 7 กรกฎาคม 2008.

  1. radius

    radius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +194
    มีใครเคยปฏิบัติแนวท่านอูบาขิ่นหรืออ.โกเอ็นก้าบ้างมั้ยค่ะ
    คือว่าดิฉันมีโอกาสได้ปฏิบัติหรือเข้ากรรมฐานเพียงปีละครั้งเท่านั้น
    จึงต้องการที่จะปฏิบัติให้ถูกตรงจริตของตนเอง
    ดิฉันเป็นคนหงุดหงิดง่าย โดนใครว่าเข้าหน่อยก็เถียงแล้วก็ชอบเก็บมาคิดมาก
    คิดทีหลายวัน สิ่งที่ปฏิบัติทุกวันก็คือ สวดมนต์ นั่งสมาธิ แต่ว่านั่งได้แค่ไม่เกิน
    5 นาที มันเคลิ้มจะหลับตลอด ส่วนระหว่างวันก็จะตามดูใจตนเอง ได้บ้างไม่ได้บ้าง ส่วนใหญ่จะหลงยาวกว่าจะรู้สึกตัว ดิฉันมีคำถามดังนี้ค่ะ
    1. อ่านเจอการปฏิบัติแนวท่านอูบาขิ่นหรืออ.โกเอ็นก้า เป็นการให้นั่งสมาธิตลอดเวลาเป็นชั่วโมงๆ เพื่อให้เราเห็นเวทนา เห็นไตรลักษณ์ โดยไม่มีการเดินจงกลมหรือการสวดมนต์ วิธิการปฏิบัติแนวนี้จะตรงกับจริตดิฉันมั้ยค่ะหากว่าปกติดิฉันไม่เคยนั่งนานๆ ได้เลย จะเป็นการทรมานตัวเองเกินไปมั้ย เพราะดิฉันคิดว่าถ้าเรายังคงปฏิบัติแบบสบายๆ ตามใจตัวเองอยู่ก็จะไม่พัฒนาไปถึงไหนสักที
    2. อีกที่ที่น่าไปคือที่ยุวพุทธิกสมาคม ของคุณแม่สิริ เป็นการพัฒนาจิตใจ แต่เห็นว่าต้องจองคิวกันเป็นปีเลย
    ช่วยแนะนำด้วยนะคะ อนุโมทนากับทุกคำตอบที่ช่วยชี้แนะค่ะ
     
  2. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ขออนุญาติชี้ว่า ฝึกอย่างเดิมดีแล้ว คุณเป็นคนมีโทษะจริต และมีทิฏฐิจริต เหมาะแก่
    การตามรู้จิต ซึ่งคุณก็ทำได้อยู่แล้ว คือ การเห็นกิเลสของตัวเองที่พุ่งออกไปเป็นอาการ
    ของโทษะจิต หรือ จิตมีโทษะ นี่ก็คือการดูจิต เพียงแต่ว่าต้องคอยดูบ่อยๆ จนกระทั่ง
    ภาวะการเห็นนั้นกระชั้นเข้าจนเป็นปัจจุบัน เดิมทีอาจตามรู้หลังจากเหตุการณ์จบไปแล้ว
    แต่เมื่อตามรู้อยู่เนืองๆ ระยะการระลึกรู้จะกระชั้นขึ้น จนกระทั่งมันผุดขึ้นก็รู้ พอรู้ก็จะ
    คะเนได้ว่า มันแปลออกไปเป็นภาษากาย หรือ ภาษาปากออกไปหรือไม่(ผิดศีล 5) ดังนั้น
    เมื่อภาวนาแล้ว ต้องหมั่นระลึกการถือศีล 5 ไว้ก่อน

    หากวันไหน คุณภาวนาจนเห็นอาการโทษะจิตเกิดผุดขึ้น และทันเป็นปัจจุบัน มันจะขาด
    ทันที ภาวะนั้นคุณจะเริ่มอิ่มใจ ที่มันไม่อาจหลุดออกไปจนทำให้ผิดศีลอีก ใจคุณจะมี
    สุขทันที่ที่ทำได้

    * * * * *

    การปฏิบัติสายโกเอนก้านั้น จะนั่งเพื่อข้ามเวทนา ในขั้นสุดนั้น คือ การวางจิตใจให้ได้
    ว่า แม้ขาจะขาด ชีวิตจะวายจากการทรมารของเวทนานี้ก็จะไม่สนใจ จะนั่งข้ามไปให้ได้
    ซึ่งก็ขอชี้ว่า ไม่เหมาะแก่คนมีโทษะจริตเลย คนที่จะปฏิบัติสายนี้ได้จะต้องมีทานบารมี
    สูง คือ ยอมสละชีวิตเพื่อกิจ เพื่อผู้อื่นได้ และต้องมีอุเบกขาบารมีสูง คือ ไม่ว่าอะไร
    จะมาทำลายเรา หรือขัดขวางเราจะไม่สนใจ พอทำได้ ก็จะเห็นเวทนาไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่ง
    ที่นำชีวิต หรือ นำการตัดสินใจเราได้

    ซึ่งอันที่จริง การดูจิต อย่างที่ทำอยู่มันก็เจือการดูเวทนาอยู่แล้ว ก็คือ ตอนที่คุณโกรธ
    คุณจะเห็นเวทนาอัดแน่นที่หน้าอก มันอยากด่า มันอยากตอบโต้ ถ้ามองไม่เห็นตัณหาที่
    เป็นตัวขับดัน คุณจะเห็นเวทนา ถ้าคุณไม่เห็นเวทนาคุณจะเห็นอาการของกายที่กระเพื่อม
    เนื่องจากการหายใจหึดฮัด สรุปคือ เห็น กาย เวทนา จิต ได้ทุกตัว ขึ้นกับว่า จิตคุณรับ
    ตัวไหนได้ ถ้าเห็นตัวไหน ก็เน้นการดูตัวนั้นเป็นหลัก ณ ขณะนั้นไปเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2008
  3. 90

    90 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +67
    ลองเข้าไปดูที่ http://www.wimutti.net/
     
  4. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    ดิฉันเป็นคนหงุดหงิดง่าย โดนใครว่าเข้าหน่อยก็เถียงแล้วก็ชอบเก็บมาคิดมาก

    พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า

    โทสะ มียอดหวาน แต่มีรากเป็นพิษ

    (ดูเหมือนจะดีมีความสุข ที่ได้โกรธเขา แต่โทษของมันนี่ซี ร้ายมาก ทำให้เราต้องเป็นทุกข์ ตลอดกาลนาน)

    ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม

    (เมื่อโกรธขึ้นมาแล้ว อาจลืมตัว ขาดสติ กระทำสิ่งใด ๆ ก็ได้ จนทำให้เราต้องเดือดร้อนในภายหลัง)

    ขอฝากว่า

    กรุณาเจริญพรหมวิหาร ๔ ให้มากยิ่งขึ้นนะครับ

    ตือ...เจริญเมตตา...กรุณา...มุทิตา...อุเบกขา

    การเจริญพรหมวิหาร ๔ ให้บ่อย ๆ เนือง ๆ จัดว่าเป็นการเจริญกรรมฐานอย่างหนึ่ง

    และเป็นภาวนามัยบุญด้วย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา)

    ผลที่เกิดขึ้น จะทำให้จิตของเรามีความสงบเย็น และมีสมาธิมากขึ้น

    คำแผ่เมตตาอย่างย่อ

    สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ.

    สัตว์ทั้งลายทั้งปวง จงเป็นสุข ๆ เถิด.
     
  5. เด็กโชว์พาว

    เด็กโชว์พาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,082
    ค่าพลัง:
    +470
    อ่อนะ คิดจะฝึกแบบแรงๆก็ระวังกันหน่อยละกันนะครับ ทรมานจัดก็ไม่ดีควรจะเดินสายกลางเข้าไว้
     
  6. ลุงชาลี

    ลุงชาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,958
    ค่าพลัง:
    +4,763
    โมทนาสาธุบุญด้วยครับ สาธุ สาธุ

    ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัย โปรดนำส่งบุญทั้งหมด
    ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว จงสำเร็จแก่ เจ้ากรรมนายเวร
    ทั้งหลายของข้าพเจ้าด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
     
  7. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    แผ่เมตตาให้มากๆ ....วางใจอุเบกขา....ทรงพรหมวิหาร๔ ..

    ในหนังสือ กรรมฐาน ๔0 http://praruttanatri.com/v1/special/books/kmt40/
    กรรมฐานบทที่ว่าด้วย "อานาปานสติ" และ "พรหมวิหาร" ....ลองอ่านดูครับหวังว่าคงถูกกับจริต....ครับ
    ขออนุโมทนาครับ....ขอให้การปฏิบัติเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นนะครับ...

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=624 border=1><TBODY><TR><TD vAlign=center>
    พุทธะเมตตาจิตตังจิตตังมะมะ พุทธะพุทธานุภาเวนะ
    ธัมมะเมตตาจิตตังจิตตังมะมะ ธัมมะธัมมานุภาเวนะ
    สังฆะเมตตาจิตตังจิตตังมะมะ สังฆะสังฆานุภาเวนะ
    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    วัดถ้ำกลองเพล จ. หนองบัวลำภู


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หนังสือ กรรมฐาน 40
    หลวงพ่อพระราชพรหมยานวัดท่าซุงวัดจันทารามอุทัยธานี​

    ๔๓
    . พรหมวิหาร ๔
    สำหรับวันนี้ ความจริงคิดว่าจะจบสมถะภาวนา เว้นไว้แต่อรูป ๔ ประการ ยังมีพระท้วงว่าขาดพรหมวิหาร ๔ ไปอาจจะพลั้งเผลอไป วันนี้ก็จะขอพูดเรื่องพรหมวิหาร ๔ ในด้านสมถภาวนา ความจริงพรหมวิหาร ๔ นี้เป็นกรรมฐานเลี้ยงทั้งศีล เลี้ยงทั้งสมาธิ เลี้ยงทั้งปัญญา เพราะว่ามีพรหมวิหารสี่เสียอย่างเดียว อารมณ์จิตก็สบาย มีความเยือกเย็น เราจะเห็นว่าเมตตาความรัก กรุณาความสงสาร สองอย่างนี้ก็สามารถจะคุ้มศีลให้บริบูรณ์ทุกอย่าง เพราะศีลทุกข้อคำจะทรงอยู่ได้ก็ต้องอาศัยเมตตาและกรุณาทั้งสองอย่าง
    เมตตาแปลว่าความรัก กรุณาแปลว่าความสงสาร ถ้าเรามีความรักเรามีความสงสารเสียแล้ว เราก็ทำลายชีวิตสัตว์ไม่ได้ ลักขโมยของเขาไม่ได้ ยื้อแย่งความรักเขาไม่ได้ พูดโกหกมดเท็จไม่ได้ ดื่มสุราเมรัยไม่ได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อดื่มสุราเมรัย ถ้าเรามีความรักความสงสารคนทางบ้าน เพื่อน บิดามารดา เราก็ไม่สามารถจะทำความชั่วโดยขาดสติสัมปชัญญ
    เป็นอันว่าในพรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะสองประการ คือ เมตตา กรุณาทั้งสองประการนี้ สร้างความเยือกเย็นให้เกิดกับจิตสามารถทำศีลให้บริสุทธิ์ เมื่อศีลบริสุทธิ์สมาธิก็ตั้งมั่น ความเร่าร้อนของจิตไม่มี จิตไม่มีความกระวนกระวายก็เป็นสมาธิ มีข้อหนึ่งสำหรับด้านสมาธิจะใช้เฉพาะเมตตากรุณาทั้งสองประการก็ไม่พอ ต้องมีมุทิตา อุเบกขา อารมณ์จิตจึงจะทรงสมาธิได้มั่นคง
    มุทิตาความมีจิตอ่อนโยน ตัดความอิจฉาริษยาออกจากจิต พลอยยินดีเมื่อบุคคลอื่นได้ดีแล้ว อารมณ์อิจฉาริษยาตัวนี้เป็นอารมณ์ที่มีความร้ายแรงมาก เมื่อเห็นใครเขาได้ดีก็ทนไม่ได้เกรงเขาจะเกินหน้าเกินตาตัวไป หากมีมุทิตาคือตัดอิจฉาริษยาออก มันพ้นไปจากจิต ความเร่าร้อนมันก็ไม่มี เห็นใครเขาได้ดีแทนที่เราจะคิดว่าเขาเกินหน้าเกินตาไป กลับพลอยยินดีกับความดีที่เขาจะพึงได้ เพราะอาศัยความสามารถและบุญวาสนาบารมีของเขาเป็นสำคัญ อารมณ์มุทิตาจิตนี้สร้างความดีให้เกิด ในเมื่อใครเขาทำความดีได้ เราพลอยยินดีกับเขาด้วยเป็นอันช่วยให้เราดีขึ้น แทนที่จะทำลายเราให้เสื่อมไป คนที่เขาได้ดีมีความชอบก็เกิดมีความรักในเรามีความเมตตาในเรา แทนที่เขาจะเหยียดหยามกลับจะคบเป็นมิตรที่ดี เราก็มีความสุข
    สำหรับอุเบกขาในด้านสมถภาวนามีอารมณ์วางเฉยคือ เฉยแต่เฉพาะอารมณ์ที่เข้ามายุ่งกับจิตที่ไม่เนื่องกับอารมณ์ที่เราต้องการ อย่างเรากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก จิตมันหยุดอยู่เฉพาะลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ไม่ไปยุ่งกับอารมณ์ภายนอกทั้งหมด คือไม่สนใจกับแสงสีใดๆ อย่างนี้เป็นต้น จะเห็นผลว่าอุเบกขาคือความวางเฉยในด้านสมถภาวนา มีอารมณ์ทำจิตให้ทรงตัว มีอารมณ์จิตเป็นฌาน
    รวมความว่าพรหมวิหาร ๔ มีประโยชน์ทั้งในด้านศีลและด้านสมาธิทั้งสองประการ ขอให้ท่านนักปฏิบัติผู้มีความปรารถนาในการทรงฌานให้เป็นปกติ ถ้าเราสามารถทรงพรหมวิหาร ๔ จิตก็ประกอบด้วยพรหมวิหาร ๔ ตลอดเวลา คืออารมณ์เบาตลอดวัน ทั้งวันมีความรู้สึกรักในคนและสัตว์เสมอด้วยเรา ไม่คิดประทุษร้ายสัตว์ ไม่คิดจะทำลายสัตว์ เพราะมีความรักและมีความสงสาร จิตใจก็จะมีแต่ความเยือกเย็นเพราะอารมณ์ไม่เกิดเป็นศัตรูกับใคร อย่างนี้ใจสบาย ศีลไม่ขาด สมาธิก็ทรงตัว
    ต่อมาข้อมุทิตาเราก็ไม่มีความอิจฉาริษยา เมื่อบุคคลอื่นได้ดีกลับมีจิตปรานีพลอยยินดีกับบุคคลที่เขามีความดี แสดงความยินดีร่วมกับเขา อันนี้ก็มีความสบายใจ
    ถ้ามีอุเบกขาเข้ามาควบคุมใจเข้าไว้ไม่ยอมให้อารมณ์อื่นใดเข้ามายุ่งกับจิตไม่ทำอารมณ์ให้กระสับกระส่าย อุเบกขาแปลว่าความวางเฉย ในเมื่อจับกรรมฐานกองใดกองหนึ่งขึ้นพิจารณาหรือภาวนา ก็ให้จิตทรงอยู่ในอารมณ์นั้น แสดงว่าจิตของเราจิตของบุคคลใดที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ จิตของบุคคลนั้นก็จะเป็นผู้ทรงฌานตลอดเวลาจำไว้ให้ดีนะ
    การที่เราทำอะไรไม่ได้ดีในด้านสมาธิจิตหรือวิปัสสนาญาณ เริ่มแต่การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ก็แสดงว่าเราขาดพรหมวิหาร ๔ ถ้าอารมณ์จิตของเราตั้งอยู่ในพรหมวิหาร ๔ ตลอดเวลา เรื่องฌานสมาบัติเป็นเรื่องเล็กจริงๆ เพราะฌานสมาบัติจะทรงขึ้นมาได้และศีลบริสุทธิ์ได้เพราะความเยือกเย็นของจิต ไม่มีความเร่าร้อนของจิต เมื่อจิตมีความเยือกเย็นไม่กระวนกระวายไม่กระสับกระส่าย ไม่มีความโหดร้าย ไม่คิดอิจฉาริษยา ทำร้ายใคร ใจก็เป็นสุข อารมณ์ก็เป็นกุศล เราจะทรงจิตในพระกรรมฐาน ๔๐ กอง แยกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ทรงไว้ได้ดี นี่เป็นอารมณ์ของฌาน
    มาว่ากันถึงวิปัสสนาญาณพรหมวิหาร ๔ เลี้ยงวิปัสสนาญาณให้มีการทรงตัวด้วย การที่มีพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วนบริบูรณ์จึงเป็นพระอริยะเจ้าได้ง่าย เราจะเห็นว่าการเป็นพระอริยะเจ้าอย่างพระโสดาบันจะต้องทรงศีลห้าบริสุทธิ์ แล้วเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่เรียกว่าสรณาคมน์ครบถ้วนบริบูรณ์ คนที่มีพรหมวิหาร ๔ มีอารมณ์เมตตากรุณาทั้ง ๒ ประการแสดงว่าศีลไม่ขาดสักตัว เป็นอันว่าข้อที่เรียกว่า สีลัพพตปรามาส ย่อมไม่ปรากฏขึ้นกับจิต ถ้าทำลายสีลัพพตปรามาสเสียได้ มีศีลบริสุทธิ์ เข้าเป็นจุดพระโสดาบันข้อที่หนึ่ง
    สำหรับการเคารพในไตรสรณาคมน์ การที่เราทรงศีลบริสุทธิ์ก็แสดงว่าเรามีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเราสมาทานว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เมื่อพระสงฆ์ให้ที่พึ่งคือ ศีลห้าประการและศีลแปดประการศีลอุโบสถก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศีลห้าประการให้ปฏิบัติเป็นปกติ ให้เป็นประจำทุกวัน ในเมื่อเรามีพรหมวิหาร ๔ ศีลไม่ขาดทรงได้ ก็เป็นอันว่าเราเป็นพระโสดาบันได้อย่างง่ายดาย มีพรหมวิหาร ๔ เป็นของดีแบบนี้
    และประการที่ ๒ นอกจากความเป็นพระโสดาบัน เราจะเป็นพระอนาคามีเห็นว่าไม่ยากอีกเพราะเหตุว่าพรหมวิหาร ๔ เป็นเหตุทำลายความโกรธความพยาบาท ที่นี้มาเหลือแต่กามฉันทะ ในเมื่ออาศัยอารมณ์จิตทรงฌาน พิจารณาอสุภกรรมฐานประกอบอีกเพียงเล็กน้อยจิตก็จะเข้าถึงความเป็นพระอนาคามี
    พูดถึงความเป็นพระอรหันต์ ถ้าจิตเที่ยงจริงถึงขนาดนี้แล้วก็เป็นของไม่ยาก เพราะพระอรหันต์ตัดเหตุที่เป็นอนุสัย คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา นี้เป็นของไม่ยาก แต่เป็นของละเอียด ความจริงก้าวเข้าสู่การเป็นพระอนาคามีนั้นก็มีความสุข เพราะว่าการจากชาตินี้ไปแล้วจะไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็ตาม เราก็ไม่กลับลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีก เราก้าวเข้าไปสู่พระนิพพานเลยโดยไม่ถอยหลังลงมา
    ฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงแนะนำให้บรรดาพุทธบริษัทผู้ปรารถนาจะเข้าถึงฌานสมาบัติและทรงมรรคผล ให้บรรดาพุทธศาสนิกชนทุกคนแผ่เมตตาจิตไปในทิศทั้งปวงเสียก่อน ในอันดับแรกก่อนที่เราจะทรงจิตเป็นสมาธิ ก็ตั้งใจแผ่เมตตาจิตและกรุณาความสงสารไปในทิศที่ครอบจักรวาลทั้งหมด โดยกำหนดจิตไว้เสมอว่าเราจะไม่เป็นศัตรูกับใคร เราจะเป็นมิตรกับคนและสัตว์ทั้งหมด เราจะสงเคราะห์คนและสัตว์ที่ได้รับความทุกข์ยากให้มีความสุขตามฐานะของกำลังที่เราพอจะช่วยได้ เราเปล่งวาจาและคิดออกไปแบบนี้ด้วยความจริงใจเป็นปกติทุกวัน ต่อไปก็จะเกิดอาการชิน อารมณ์จิตของเราจะไม่มีความโกรธไม่มีความพยาบาท ไม่มีความเคียดแค้นมุ่งประทุษร้ายใคร
    ขึ้นชื่อว่าศีล ๕ ประการที่จะละเมิดมันจะขาดไปได้ก็เพราะอาศัยความชั่ว ความเลวทรามของจิต ความโหดร้ายของจิต เมื่อจิตมีความโหดร้าย เราก็ฆ่าสัตว์ได้ ฆ่าคนได้ ลักขโมยเขาได้ ยื้อแย่งความรักเขาได้ พูดโกหกมดเท็จได้ ทั้งนี้จิตประกอบไปด้วยความรักความสงสารมันก็ทำอะไรไม่ได้ทุกอย่างที่ชื่อว่าความชั่ว อารมณ์แบบนี้ถ้าเรานึกอยู่ตลอดวันว่าเราจะเป็นมิตรกับคนและสัตว์ทั้งหมด เราจะมีความรักและเกื้อกูลให้ทุกคนมีความสุข ใหม่ๆมันก็ลืมบ้างเหมือนกัน อาจจะมีอาการเผลอ เมื่อทำนานๆจะเกิดอาการเคยชินมันก็เป็นปกติของจิต เรียกว่าไม่ต้องระมัดระวังเรื่องความโกรธจริงๆ ความคิดประทุษร้ายพยาบาทจองล้างจองผลาญบุคคลอื่นก็ไม่มี ถ้าเราจะสงสัยว่ามันจะชินได้อย่างไร ก็ดูตัวอย่างบทสวดมนต์ที่พวกเราท่องกัน ท่องกันเกือบล้มเกือบตายกว่าจะได้แต่ละบท และต่อมาก็ได้ตั้งหลายๆ บททั้ง ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน เราก็ได้กัน ปาฏิโมกข์เราก็สามารถจะสวดได้ภายหลังที่สวดได้คล่องแคล่วโดยมากเราสวดอย่างชนิดไม่ต้องนึก ใครเขาขึ้นต้นบทมาเราก็ว่าไปได้โดยไม่ต้องคิด เพราะว่าอาการชินของจิตที่มีความจดจำเป็นปกติ พอขึ้นนะโมก็ว่าไปได้เรื่อยๆทุกบท ใครเขาขึ้นบทไหนก็ว่าบทนั้นได้โดยไม่ต้องนึกถึงตัวหนังสือ ข้อนี้เป็นข้อเปรียบเทียบให้เห็นว่า
    แม้แต่การใช้พรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ ใหม่ๆเราก็มีการอดลืมไม่ได้อาการเคยชินจิตที่เป็นพรหมวิหาร ๔ ก็เกิดเป็นสภาวะปกติ
    มีความรักเป็นปกติ
    มีความสงสารเป็นปกติ
    มีจิตใจอ่อนโยนไม่อิจฉาริษยาใคร พลอยยินดีกับบุคคลอื่นที่ได้ดีเป็นปกติ
    สำหรับอุเบกขาความวางเฉยในด้านวิปัสสนาญาณไม่ช้ามันก็ปกติคือ วางเฉยในสังขารที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ ร่างกายมันจะแก่มันจะเสื่อม มันจะป่วยไข้ไม่สบาย จะมีอาการพลัดพรากจากของรักของชอบใจหรือความตายจะเข้ามาถึงตัว อารมณ์มันก็เฉย อุเบกขานี่เฉย เฉยตอนไหน เฉยตอนคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของคนที่เกิดมาและสัตว์ที่เกิดมา มันมีสภาพความไม่เที่ยงเป็นปกติ เมื่อไม่เที่ยงแล้วมีความเปลี่ยนแปลงไปเราก็กลับไม่ทุกข์ เพราะถือว่าปกติของมันเป็นอย่างนั้น เมื่อความตายจะเข้ามาถึงจริงๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา
    เมื่อจิตยอมรับนับถือว่ามันเป็นธรรมดา ความหวั่นไหวก็ไม่เกิดขึ้น จิตมีความวางเฉยมีอารมณ์สบาย ทางด้านวิปัสสนาญาณถ้าวางเฉยต่ออารมณ์ทั้งหลายได้มี โลภะความโลภ ราคะความรัก โทสะความโกรธ โมหะความหลง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันยั่วยวนจิตให้เกิดอารมณ์เยือกเย็นและความเร่าร้อน แปลว่าจิตของเรา ถ้าวางเฉยจากอารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ได้ถือว่ามันไม่เป็นสาระไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีความสำคัญก็ชื่อว่าเราใช้พรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะอุเบกขาได้ครบถ้วน อยู่ในขั้นที่เรียกว่าสังขารุเบกขาญาณ คือวางเฉยในขันธ์ห้า โดยยึดถือว่า ขันธ์ห้า มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเราเพีนงแค่นี้ก็จะเห็นว่าความเยือกเย็นของจิตเมื่อเกิดขึ้นเต็มที่ โดยเฉพาะวิปัสสนาญาณที่เราเจริญมาก็ไม่เสื่อมคลาย ในเมื่อการทรงวิปัสสนาญาณ คือสังขารุเบกขาญาณได้ เพราะอาศัยอุเบกขาจิตเป็นสำคัญ นี่ความเป็นพระอริยะเจ้าก็เข้ามาใกล้ เรียกว่าถึงความเป็นพระอริยะเจ้าได้ทันทีทันใด เพราะอะไรล่ะ เพราะเราปลดร่างกายเสียได้แล้ว ปลดสักกายทิฏฐิ คือความเห็นว่าสภาพร่างกายเป็นเราเป็นของเรา ยึดถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา จิตสบายเป็นสังขารุเบกขาญาณ ในเมื่อวางขันธ์ห้าเสียได้แล้วอย่างนี้ก็ชื่อว่าการปฏิบัติจิตของเราเข้าขั้นถึงความเป็นอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลสูงสุดในพระพุทธศาสน
    ต่อนี้ ไปกาลเวลาที่จะพูดก็หมดแล้ว ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
    http://praruttanatri.com/v1/special/books/kmt40/

    ผู้ช่วยพิมพ์เป็นไฟล์ดังต่อไปนี้ ทีมงานเว็บวัดบนเว็บ


    , คุณปิง, คุณยุ, คุณ sumonta, คุณโต่ง, คุณ beg, คุณออ, คุณแป๋ม ทางเว็บพระรัตนตรัย ขอโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    19 พค. 2546
     
  8. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    การพิจารณาต้องน้อมเข้ามาสู่ภายใน (หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ)

    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้แสดงธรรมโอวาทหลายเรื่อง
    เช่นเรื่อง ของเก่าปกปิดความจริง ที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า
    การพิจารณาต้องน้อมเข้ามาสู่ภายใน พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มันก็วางเอง
    คูบาญาปู่มั่น ท่านว่า "เหตุก็ของเก่านี้แหละ แต่ไม่รู้ว่าของเก่า" ของเก่านี่แหละมันบังของจริงอยู่นี่ มันจึงไม่รู้ ถ้ารู้ว่าเป็นของเก่า มันก็ไม่ต้องไปคุย มีแต่ของเก่าทั้งนั้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ของเก่า เวลามาปฏิบัติภาวนา ก็พิจารณาอันนี้แหละ ให้มันรู้แจ้งเห็นจริง ให้มันรู้แจ้งออกมาจากภายใน มันจึงไปนิพพานได้ นิพพานมันหมักอยู่ในของสกปรกนี่ มันจึงไม่เห็น พลิกของสกปรกออกดูให้เห็นแจ้ง
    นักปราชญ์ท่านไม่ละความเพียร เอาอยู่อย่างนั้นแหละ เอาจนรู้จริงรู้แจ้ง ทีนี้มันไม่มาเล่นกับก้อนสกปรกนี้อีก พิจารณาไป พิจารณาเอาให้นิพพานใสอยู่ในภายในนี่ ให้มันอ้อ นี่เอง ถ้ามันไม่อ้อหนา เอาให้มันถึงอ้อ จึงใช้ได้
    ครั้นถึงอ้อแล้วสติก็ดี ถ้ามันยังไม่ถึงแล้ว เต็มที่สังขารตัวนี้ พิจารณาให้มันรู้แจ้งเห็นจริงในของสกปรกเหล่านี้แหละ ครั้นรู้แจ้งเข้า รู้แจ้งเข้า มันก็เป็นผู้รู้พระนิพพานเท่านั้น
    จำหลักให้แม่น ๆ มันไม่ไปที่ไหนหละ พระนิพพาน ครั้นเห็นนิพพานได้แล้ว มันจึงเบื่อโลก เวลาทำก็เอาอยู่นี่แหละ ใครจะว่าไปที่ไหนก็ตามเขา ละอันนี่แหละทำความเบื่อหน่ายกับอันนี้แหละ ทั้งก้อนนี่แหละ นักปฏิบัติต้องพิจารณาอยู่นี่แหละ ชี้เข้าไปที่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ให้พิจารณากาย พิจารณาใจ ให้เห็นให้เกิดความเบื่อหน่าย
    การต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทุกทาง หากพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ก็ถอนได้
    ที่มา: http://www.burapajarn.co.cc/index.ph...=146&Itemid=26
    <!-- / message -->
     
  9. radius

    radius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +194
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆคำแนะนำค่ะ
    งั้นขอถามว่ามีสถานที่ปฏิบัติกรรมฐานใดหรือสายไหนที่จะพอแนะนำได้บ้างค่ะ ที่ตรงจริตหน่ะค่ะ
    จะไปคนเดียวค่ะ
     
  10. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    ถ้ายังไม่พบสถานที่ และครูบาอาจารย์ ที่ตรงกับจริตดังที่กล่าวมานั้น

    ก็ขอแนะนำว่า

    หลังจากสวดมนต์ไหว้พระ เจริญภาวนา หรือทำบุญอย่างอื่น ๆ แล้ว

    ให้นึกน้อมอธิษฐานบุญ ก็คือตั้งความปรารถนา นั่นเองว่า

    ขอผลแห่งบุญที่ได้ทำไว้ตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงขณะปัจจุบันนี้

    จงเป็นพลวปัจจัยให้ประสบความสำเร็จ ได้พบครูบาอาจารย์ และสถานที่ปฏิบัติ

    ธรรม ที่เหมาะกับจริตของเรา โดยเร็ว

    ขอพระอริยะเจ้าผู้ทรงภูมิจิตบริสุทธิ์ ท่านได้รับรู้วาระจิตของเรา และมาช่วยเหลือ

    ในทางใดทางหนึ่ง ให้เราประสบความสำเร็จ สมดังความปรารถนาในทางธรรมนี้

    ด้วย เทอญ

    น้อมนึกอธิษฐานในทางบุญเช่นนี้เป็นประจำ ย่อมจะเห็นผลในไม่ช้าอย่างแนอน

    ขออนุโมทนาในความตั้งใจอันประเสริฐนี้

    ขอเอาใจช่วยด้วยอีกคนหนึ่งครับ
     
  11. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,478
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,012
    หมั่นสวดมนต์เป็นประจําทุกวัน นั่งสมาธิ เเผ่เมตตาครับ ซักวันโทสะของเราจะจางลงไปเอง ต้องใช้เวลาเท่านั้นครับ อย่าเ้ลิกไปก่อนเป็นพอครับ ถ้าตั้งใจจริง ยังไงต้องทําได้อยู่เเล้วครับ เจริญในธรรมครับ จขกท
     
  12. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ที่บ้านคุณ.....
     
  13. นทีบุญ

    นทีบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    939
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +796
    โมทนากับการปฏิบัติของเจ้าของกระทู้ด้วยนะจ๊ะ

    เป็นกำลังใจให้จ่ะ เจริญในธรรมะนะจ๊ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...