พระสารีบุตรเทศน์สอนเรื่อง "กายป่วย จิตไม่ป่วย"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พระเมตตาธัมโม, 2 มิถุนายน 2008.

  1. พระเมตตาธัมโม

    พระเมตตาธัมโม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +20
    อาตมาเคยอ่านการสนทนาธรรมกัน ของครูบาอาจารย์ ๒ ท่าน<O:p</O:p
    ที่หลวงพ่อองค์หนึ่งกราบเรียนถามหลวงปู่ว่า
    "ร่างกายของหลวงพ่อป่วย จิตป่วยด้วยหรือเปล่าครับ ?"
    หลวงปู่ตอบว่า
    "กายป่วย แต่จิตไม่ป่วย"

    รู้สึกประทับใจในคำตอบของท่านมากทีเดียว
    ที่ท่านสามารถแยกกาย แยกจิต ออกจากกันได้ (ซึ่งทำได้ยากมาก)
    <O:p</O:p
    เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในครั้งพุทธกาลเคยมีการสนทนาธรรมกันมาแล้ว<O:p</O:p
    อยู่ใน นกุลปิตุสูตร...นกุลปิตุวรรค<O:p</O:p
    ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ตอนขันธสังยุต ความว่า
    <O:p</O:p
    ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่มิคทายวันอุทยาน เกสกฬาวัน ใกล้สุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ<O:p</O:p
    ในครั้งนั้น นกุลปิตาคฤหบดี ได้เข้าเฝ้า นั่งถวายบังคมแล้ว ได้กราบทูลว่า<O:p</O:p
    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพเจ้าแก่แล้ว เป็นผู้เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่แล้ว ถึงซึ่งกาลนานแล้ว ถึงโดยลำดับแล้วซึ่งวัย<O:p</O:p
    มีกายอันกระสับกระส่าย มีโรคเนือง ๆ ไม่เที่ยงเลยที่จะได้เห็นซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำให้เกิดความเจริญใจ
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงทรงสอนข้าพเจ้า...เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนานด้วยเทอญ"
    <O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
    <O:p</O:p
    "ดูกรคฤหบดี เป็นเช่นนั้นแหละ<O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี เป็นเช่นนั้นแหละ<O:p</O:p
    ร่างกายนี้ เป็นของกระสับกระส่าย เป็นดุจดังฟองไข่ เป็นของมีหนังหุ้มห่ออยู่โดยรอบ<O:p</O:p
    ผู้ใด บริหารร่างกายนี้อยู่ และเข้าใจว่า<O:p</O:p
    ร่างกายนี้ เป็นของไม่มีโรค แม้เพียงชั่วครู่หนึ่ง <O:p</O:p
    ก็นับว่า เป็นความโง่เขลา ของผู้นั้น<O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านควรศึกษาว่า
    <O:p</O:p
    เมื่อเรามีกายอันกระสับกระส่ายอยู่
    <O:p</O:p
    แต่จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย
    <O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี ท่านควรศึกษาอย่างนี้แล"
    <O:p</O:p
    ลำดับนั้น นกุลปิตาคฤหบดีชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า และได้ถวายบังคมทูลลากลับไป<O:p</O:p
    จากนั้น ได้เข้าไปหาพระสารีบุตรเถรเจ้า กราบแล้วได้นั่งในที่อันสมควรแก่ตน
    <O:p</O:p
    พระสารีบุตรได้กล่าวขึ้นว่า
    <O:p</O:p
    "ดูกรคฤหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใส สีหน้าของท่านผ่องใสดี ในวันนี้ ท่านได้ฟังธรรมีกถา ในที่เฉพาะพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาหรืออย่างไร ?"
    <O:p</O:p
    คฤหบดีกล่าวตอบว่า<O:p</O:p
    "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะไม่ได้ฟังได้อย่างไร ในกาลบัดนี้ ข้าพเจ้าถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโสรจสรง ด้วยน้ำอมฤต คือธรรมีกถาแล้ว"
    <O:p</O:p
    และได้กราบเรียนเล่าเนื้อความทั้งหมด ที่ได้ฟังมาจากพระพุทธองค์
    <O:p</O:p
    พระสารีบุตรจึงถามว่า
    <O:p</O:p
    "ดูกรคฤหบดี ท่านไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ยิ่งขึ้นไปหรือว่า<O:p</O:p
    ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงชื่อว่า<O:p</O:p
    มีกายกระสับกระส่ายด้วย มีจิตกระสับกระส่ายด้วย<O:p</O:p
    และด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงชื่อว่า<O:p</O:p
    แม้กายกระสับกระส่ายอยู่ แต่จิตไม่กระสับกระส่าย ดังนี้"
    <O:p</O:p
    คฤหบดีตอบว่า<O:p</O:p
    "ข้าแต่ท่านสารีบุตร ข้าพเจ้าได้มาจากที่ไกล เพื่อจะรู้จักความหมายแห่งถ้อยคำนี้ ในสำนักของท่าน ขอท่านสารีบุตร จงแสดงความหมายแห่งถ้อยคำนี้ ให้ข้าพเจ้าฟังด้วยเถิด"
    <O:p</O:p
    พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า
    <O:p</O:p
    "ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้นท่านจงตั้งใจฟังให้ดี อาตมาจักกล่าวให้ท่านฟัง ในบัดนี้<O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี อย่างไรจึงชื่อว่า<O:p</O:p
    มีกายกระสับกระส่ายด้วย มีจิตกระสับกระส่ายด้วย<O:p</O:p
    คือ ปุถุชนบางคนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับคำสอนของพระอริยเจ้า....
    <O:p</O:p
    เขาย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง<O:p</O:p
    ย่อมเห็นตนว่าเป็นรูปบ้าง<O:p</O:p
    ย่อมเห็นรูปในตนบ้าง<O:p</O:p
    ย่อมเห็นตนในรูปบ้าง
    <O:p</O:p
    เขาเป็นผู้ยึดถือมั่นว่า
    <O:p</O:p
    "เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา"
    <O:p</O:p
    เมื่อเขายึดถืออยู่ว่า "เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา" ดังนี้<O:p</O:p
    ครั้นรูปนั้น เกิดแปรเปลี่ยนไป โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสะอุปายาสะ ย่อมเกิดขึ้น เพราะความเปลี่ยนไปแห่งรูปนั้นเอง
    <O:p</O:p
    (และท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสอนต่อไปจนครบทั้งห้าขันธ์ ในข้อความเดียวกัน โดยเปลี่ยนจาก รูป เป็น...เวทนา...สัญญา...สังขาร... วิญญาณ)
    <O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แหละ ชื่อว่า<O:p</O:p
    บุคคลมีกายกระสับกระส่ายด้วย มีจิตกระสับกระส่ายด้วย
    <O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี อย่างไรจึงชื่อว่า<O:p</O:p
    แม้มีกายกระสับกระส่าย แต่จิตไม่กระสับกระส่าย<O:p</O:p
    ตือ อริยสาวกในพระศาสนานี้ ผู้ได้สดับคำสอนของพระอริยเจ้าแล้ว....
    <O:p</O:p
    เขาย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน<O:p</O:p
    ย่อมไม่เห็นตนว่าเป็นรูป<O:p</O:p
    ย่อมไม่เห็นรูปในตน<O:p</O:p
    ย่อมไม่เห็นตนในรูป
    <O:p</O:p
    เขาไม่เป็นผู้ยึดถือมั่นว่า

    "เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา"
    <O:p</O:p
    เมื่อเขาไม่ยึดถือมั่นอยู่ว่า "เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา" ดังนี้<O:p</O:p
    ครั้นรูปนั้นเกิดแปรเปลี่ยนไป โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสะอุปายาสะ ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะความแปรเปลี่ยนไปแห่งรูปนั้น
    <O:p</O:p
    (และท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสอนต่อไปจนครบทั้งห้าขันธ์ ในข้อความเดียวกัน โดยเปลี่ยนจาก รูป เป็น...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ)
    <O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แหละชื่อว่า<O:p></O:p>
    บุคคลแม้มีกายกระสับกระส่าย แต่จิตไม่กระสับกระส่าย ดังนี้"
    <O:p</O:p
    ครั้น พระสารีบุตรเถรเจ้ากล่าวอย่างนี้แล้ว นกุลปิตาคฤหบดี ก็ชื่นชมยินดีต่อถ้อยคำของพระสารีบุตรเถรเจ้า ฯ
    <O:p</O:p
    เราจึงได้ความรู้อันวิเศษยิ่งว่า<O:p</O:p
    ความหลงยึดติด ด้วยความไม่รู้เท่าทันในสัจธรรมความจริงของขันธ์ ๕<O:p</O:p
    กล่าวคือ การที่จิตหลงติดยึดมั่นถือมั่นตัวตน จะเป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บป่วยได้<O:p</O:p
    ตามสมุฏฐานของโรคภัยไข้เจ็บ ที่เกิดจากเหตุ ๔ ประการคือ<O:p</O:p
    กรรม - จิต - อุตุ - อาหาร<O:p</O:p
    การไม่หลงติดยึดถือมั่นเลย หรือมีให้น้อย ๆ หน่อย<O:p</O:p
    ก็จะได้ตัดสมุฏฐานของโรคออกไปได้ตัวหนึ่ง<O:p</O:p
    (ดังเช่น ความโกรธ ความเครียด ความคิดวิตกกังวลมากไป เป็นต้น จะทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้อย่างแน่นอน ส่วนคนที่ไม่มีจิตดังกล่าวนี้ ก็จะมีความสุขมากกว่า ไม่เจ็บป่วยเพราะจิตของตนเอง มีสุขภาพจิตดี)

    แต่มีคำสอนอยู่ตอนหนึ่งที่ว่า....
    เขาย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน<O:p</O:p
    ย่อมไม่เห็นตนว่าเป็นรูป<O:p</O:p
    ย่อมไม่เห็นรูปในตน<O:p</O:p
    ย่อมไม่เห็นตนในรูป
    <O:p</O:p
    มีคำว่า "ตน" (อัตตา) อยู่ทุกประโยค จะไม่เป็นการยอมรับว่า "ตัวตน" เป็นของมีอยู่จริงหรือ ?
    <O:p</O:p
    คำตอบคือ "ไม่ใช่" คือ "ตัวตนมิได้มีอยู่จริง"<O:p</O:p
    ที่มีปรากฏอยู่นี้ เป็นเพียงกลุ่มก้อนธาตุ ที่มีขึ้น เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัยที่ทำให้มี ให้เป็นขึ้น เท่านั้น<O:p</O:p
    เมื่อหมดเหตุปัจจัยแล้ว กลุ่มก้อนธาตุนี้ก็สลายไป ดับไปหมดสิ้น
    (คือเป็นไปตามธรรมชาติธรรมดาของจักรวาลนี้ ที่มันมีอยู่เป็นอยู่ โดยไม่มีใครตอบได้ว่า ทำไมจึงเป็นไปเช่นนี้...โลกนี้เกิดขึ้นมาเมื่อไร และจะถึงการแตกสลายไปเมื่อไร...ความจริงถึงรู้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนัก ในเรื่องการละกิเลส)
    <O:p</O:p
    การยึดถือกลุ่มก้อนธาตุนี้ ว่าเป็น "ขันธ์ห้า" จึงเป็นความหลงผิด<O:p</O:p
    เพราะคำว่า "ขันธ์ห้า" เป็นเพียงชื่อที่สมมติขึ้นมาสำหรับเรียกกันเท่านั้น<O:p</O:p
    ปุถุชนยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนจริงจัง<O:p</O:p
    แต่พระอรหันต์ท่านปล่อยวางหมดแล้ว (ถ้ายังยึดติดในขันธ์ ๕ ก็เป็นพระอรหันต์ไม่ได้)
    <O:p</O:p
    ขอให้ทุกท่าน พิจารณาคำสอนของท่านพระสารีบุตรให้ดี<O:p</O:p
    แล้วปฏิบัติตาม จนเป็นผู้มี "กายอาจป่วย....แต่จิตไม่ป่วย" ด้วยกันทุกท่านเทอญ ฯ
    เจริญพร<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2008
  2. แอบยิ้ม

    แอบยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +455
    ในกระทู้นี้กล่าวถึงเรื่อง

    "กายป่วย แต่จิตไม่ป่วย"

    ก็ค่อนข้างชัดเจน ว่าถ้าใครสามารถยกจิตให้อยู่เหนือทุกขเวทนาได้

    ก็จะไม่ต้องทนทุกข์ทรมานไปกับความเจ็บปวด หรือเจ็บป่วยนั้น ๆ

    ที่แน่ชัดที่สุดก็คือ "การเข้าฌาน" เมื่อจิตอยู่ในฌาน ก็จะไม่รับรู้ต่อ

    เวทนาทางกายใด ๆ ทั้งสิ้น (จนกว่าจะออกจากฌาน)

    แต่ถ้าเป็นตรงกันข้ามล่ะครับ คือ

    จิตป่วย ทั้ง ๆ ที่กายไม่ป่วย

    จะเป็นอย่างไร มีความเป็นไปได้หรือไม่ครับ ?
     
  3. พระเมตตาธัมโม

    พระเมตตาธัมโม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +20
    คุณแอบยิ้ม ได้กล่าวเป็นเชิงคำถามว่า

    แต่ถ้าเป็นตรงกันข้ามล่ะครับ คือ

    จิตป่วย ทั้ง ๆ ที่กายไม่ป่วย


    จะเป็นอย่างไร มีความเป็นไปได้หรือไม่ครับ ?

    มีความเป็นไปได้อย่างแน่นอน

    ก็คือ คนที่เป็นโรคทางจิตประสาท ตั้งแต่ขั้นต่ำ จนถึงขั้นร้ายแรง

    คนป่วยทางจิต ที่มีร่างกายแข็งแรง มีอาการคลุ้มคลั่งอาละวาด จนกระทั่งคน

    ธรรมดาหลายคนจึงจะจับตัวอยู่

    อาการส่วนนี้เกิดจากวิบากกรรมเก่าในอดีต

    ที่เขาประทุษร้ายจิตของผู้อื่น (กรรมยิ่งหนัก ถ้าทำกับผู้ทรงศีล)

    หรือประทุษร้ายตนเอง ด้วยการดื่มสุรายาเมาอย่างมากมายเป็นอาจิณ เป็นต้น

    การดูแลรักษาจิตให้ดี จึงย่อมมีความสำคัญอย่างมาก

    ไม่แพ้การดูแลสรีระร่างกายของเรา

    กายป่วย แต่จิตดี ยังพอทำเนา ยังพอเยียวยา หรือหาความสุขได้

    แต่จิตป่วย แม้กายดี ก็ต้องถือว่าลำบากมากทีเดียว ไม่ทราบว่าจะหาความสุขได้

    อย่างไร
    <!-- / message -->
     
  4. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,794
    พระสารีบุตรเทศน์สอนเรื่อง "กายป่วย จิตไม่ป่วย"

    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->อาตมาเคยอ่านการสนทนาธรรมกัน ของครูบาอาจารย์ ๒ ท่าน<O:p</O:p
    ที่หลวงพ่อองค์หนึ่งกราบเรียนถามหลวงปู่ว่า
    "ร่างกายของหลวงพ่อป่วย จิตป่วยด้วยหรือเปล่าครับ ?"
    หลวงปู่ตอบว่า
    "กายป่วย แต่จิตไม่ป่วย"

    รู้สึกประทับใจในคำตอบของท่านมากทีเดียว
    ที่ท่านสามารถแยกกาย แยกจิต ออกจากกันได้ (ซึ่งทำได้ยากมาก)
    <O:p</O:p
    เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในครั้งพุทธกาลเคยมีการสนทนาธรรมกันมาแล้ว<O:p</O:p
    อยู่ใน นกุลปิตุสูตร...นกุลปิตุวรรค<O:p</O:p
    ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ตอนขันธสังยุต ความว่า
    <O:p</O:p
    ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่มิคทายวันอุทยาน เกสกฬาวัน ใกล้สุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ<O:p</O:p
    ในครั้งนั้น นกุลปิตาคฤหบดี ได้เข้าเฝ้า นั่งถวายบังคมแล้ว ได้กราบทูลว่า<O:p</O:p
    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพเจ้าแก่แล้ว เป็นผู้เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่แล้ว ถึงซึ่งกาลนานแล้ว ถึงโดยลำดับแล้วซึ่งวัย<O:p</O:p
    มีกายอันกระสับกระส่าย มีโรคเนือง ๆ ไม่เที่ยงเลยที่จะได้เห็นซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำให้เกิดความเจริญใจ
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงทรงสอนข้าพเจ้า...เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนานด้วยเทอญ"
    <O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
    <O:p</O:p
    "ดูกรคฤหบดี เป็นเช่นนั้นแหละ<O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี เป็นเช่นนั้นแหละ<O:p</O:p
    ร่างกายนี้ เป็นของกระสับกระส่าย เป็นดุจดังฟองไข่ เป็นของมีหนังหุ้มห่ออยู่โดยรอบ<O:p</O:p
    ผู้ใด บริหารร่างกายนี้อยู่ และเข้าใจว่า<O:p</O:p
    ร่างกายนี้ เป็นของไม่มีโรค แม้เพียงชั่วครู่หนึ่ง <O:p</O:p
    ก็นับว่า เป็นความโง่เขลา ของผู้นั้น<O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านควรศึกษาว่า
    <O:p</O:p
    เมื่อเรามีกายอันกระสับกระส่ายอยู่
    <O:p</O:p
    แต่จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย
    <O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี ท่านควรศึกษาอย่างนี้แล"
    <O:p</O:p
    ลำดับนั้น นกุลปิตาคฤหบดีชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า และได้ถวายบังคมทูลลากลับไป<O:p</O:p
    จากนั้น ได้เข้าไปหาพระสารีบุตรเถรเจ้า กราบแล้วได้นั่งในที่อันสมควรแก่ตน
    <O:p</O:p
    พระสารีบุตรได้กล่าวขึ้นว่า
    <O:p</O:p
    "ดูกรคฤหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใส สีหน้าของท่านผ่องใสดี ในวันนี้ ท่านได้ฟังธรรมีกถา ในที่เฉพาะพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาหรืออย่างไร ?"
    <O:p</O:p
    คฤหบดีกล่าวตอบว่า<O:p</O:p
    "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะไม่ได้ฟังได้อย่างไร ในกาลบัดนี้ ข้าพเจ้าถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโสรจสรง ด้วยน้ำอมฤต คือธรรมีกถาแล้ว"
    <O:p</O:p
    และได้กราบเรียนเล่าเนื้อความทั้งหมด ที่ได้ฟังมาจากพระพุทธองค์
    <O:p</O:p
    พระสารีบุตรจึงถามว่า
    <O:p</O:p
    "ดูกรคฤหบดี ท่านไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ยิ่งขึ้นไปหรือว่า<O:p</O:p
    ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงชื่อว่า<O:p</O:p
    มีกายกระสับกระส่ายด้วย มีจิตกระสับกระส่ายด้วย<O:p</O:p
    และด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงชื่อว่า<O:p</O:p
    แม้กายกระสับกระส่ายอยู่ แต่จิตไม่กระสับกระส่าย ดังนี้"
    <O:p</O:p
    คฤหบดีตอบว่า<O:p</O:p
    "ข้าแต่ท่านสารีบุตร ข้าพเจ้าได้มาจากที่ไกล เพื่อจะรู้จักความหมายแห่งถ้อยคำนี้ ในสำนักของท่าน ขอท่านสารีบุตร จงแสดงความหมายแห่งถ้อยคำนี้ ให้ข้าพเจ้าฟังด้วยเถิด"
    <O:p</O:p
    พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า
    <O:p</O:p
    "ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้นท่านจงตั้งใจฟังให้ดี อาตมาจักกล่าวให้ท่านฟัง ในบัดนี้<O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี อย่างไรจึงชื่อว่า<O:p</O:p
    มีกายกระสับกระส่ายด้วย มีจิตกระสับกระส่ายด้วย<O:p</O:p
    คือ ปุถุชนบางคนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับคำสอนของพระอริยเจ้า....
    <O:p</O:p
    เขาย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง<O:p</O:p
    ย่อมเห็นตนว่าเป็นรูปบ้าง<O:p</O:p
    ย่อมเห็นรูปในตนบ้าง<O:p</O:p
    ย่อมเห็นตนในรูปบ้าง
    <O:p</O:p
    เขาเป็นผู้ยึดถือมั่นว่า
    <O:p</O:p
    "เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา"
    <O:p</O:p
    เมื่อเขายึดถืออยู่ว่า "เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา" ดังนี้<O:p</O:p
    ครั้นรูปนั้น เกิดแปรเปลี่ยนไป โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสะอุปายาสะ ย่อมเกิดขึ้น เพราะความเปลี่ยนไปแห่งรูปนั้นเอง
    <O:p</O:p
    (และท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสอนต่อไปจนครบทั้งห้าขันธ์ ในข้อความเดียวกัน โดยเปลี่ยนจาก รูป เป็น...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ)
    <O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แหละ ชื่อว่า<O:p</O:p
    บุคคลมีกายกระสับกระส่ายด้วย มีจิตกระสับกระส่ายด้วย
    <O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี อย่างไรจึงชื่อว่า<O:p</O:p
    แม้มีกายกระสับกระส่าย แต่จิตไม่กระสับกระส่าย<O:p</O:p
    ตือ อริยสาวกในพระศาสนานี้ ผู้ได้สดับคำสอนของพระอริยเจ้าแล้ว....
    <O:p</O:p
    เขาย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน<O:p</O:p
    ย่อมไม่เห็นตนว่าเป็นรูป<O:p</O:p
    ย่อมไม่เห็นรูปในตน<O:p</O:p
    ย่อมไม่เห็นตนในรูป
    <O:p</O:p
    เขาไม่เป็นผู้ยึดถือมั่นว่า

    "เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา"
    <O:p</O:p
    เมื่อเขาไม่ยึดถือมั่นอยู่ว่า "เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา" ดังนี้<O:p</O:p
    ครั้นรูปนั้นเกิดแปรเปลี่ยนไป โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสะอุปายาสะ ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะความแปรเปลี่ยนไปแห่งรูปนั้น
    <O:p</O:p
    (และท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสอนต่อไปจนครบทั้งห้าขันธ์ ในข้อความเดียวกัน โดยเปลี่ยนจาก รูป เป็น...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ)
    <O:p</O:p
    ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แหละชื่อว่า<O:p></O:p>
    บุคคลแม้มีกายกระสับกระส่าย แต่จิตไม่กระสับกระส่าย ดังนี้"
    <O:p</O:p
    ครั้น พระสารีบุตรเถรเจ้ากล่าวอย่างนี้แล้ว นกุลปิตาคฤหบดี ก็ชื่นชมยินดีต่อถ้อยคำของพระสารีบุตรเถรเจ้า ฯ
    <O:p</O:p
    เราจึงได้ความรู้อันวิเศษยิ่งว่า<O:p</O:p
    ความหลงยึดติด ด้วยความไม่รู้เท่าทันในสัจธรรมความจริงของขันธ์ ๕<O:p</O:p
    กล่าวคือ การที่จิตหลงติดยึดมั่นถือมั่นตัวตน จะเป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บป่วยได้<O:p</O:p
    ตามสมุฏฐานของโรคภัยไข้เจ็บ ที่เกิดจากเหตุ ๔ ประการคือ<O:p</O:p
    กรรม - จิต - อุตุ - อาหาร<O:p</O:p
    การไม่หลงติดยึดถือมั่นเลย หรือมีให้น้อย ๆ หน่อย<O:p</O:p
    ก็จะได้ตัดสมุฏฐานของโรคออกไปได้ตัวหนึ่ง<O:p</O:p
    (ดังเช่น ความโกรธ ความเครียด ความคิดวิตกกังวลมากไป เป็นต้น จะทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้อย่างแน่นอน ส่วนคนที่ไม่มีจิตดังกล่าวนี้ ก็จะมีความสุขมากกว่า ไม่เจ็บป่วยเพราะจิตของตนเอง มีสุขภาพจิตดี)

    แต่มีคำสอนอยู่ตอนหนึ่งที่ว่า....
    เขาย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน<O:p</O:p
    ย่อมไม่เห็นตนว่าเป็นรูป<O:p</O:p
    ย่อมไม่เห็นรูปในตน<O:p</O:p
    ย่อมไม่เห็นตนในรูป
    <O:p</O:p
    มีคำว่า "ตน" (อัตตา) อยู่ทุกประโยค จะไม่เป็นการยอมรับว่า "ตัวตน" เป็นของมีอยู่จริงหรือ ?
    <O:p</O:p
    คำตอบคือ "ไม่ใช่" คือ "ตัวตนมิได้มีอยู่จริง"<O:p</O:p
    ที่มีปรากฏอยู่นี้ เป็นเพียงกลุ่มก้อนธาตุ ที่มีขึ้น เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัยที่ทำให้มี ให้เป็นขึ้น เท่านั้น<O:p</O:p
    เมื่อหมดเหตุปัจจัยแล้ว กลุ่มก้อนธาตุนี้ก็สลายไป ดับไปหมดสิ้น
    (คือเป็นไปตามธรรมชาติธรรมดาของจักรวาลนี้ ที่มันมีอยู่เป็นอยู่ โดยไม่มีใครตอบได้ว่า ทำไมจึงเป็นไปเช่นนี้...โลกนี้เกิดขึ้นมาเมื่อไร และจะถึงการแตกสลายไปเมื่อไร...ความจริงถึงรู้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนัก ในเรื่องการละกิเลส)
    <O:p</O:p
    การยึดถือกลุ่มก้อนธาตุนี้ ว่าเป็น "ขันธ์ห้า" จึงเป็นความหลงผิด<O:p</O:p
    เพราะคำว่า "ขันธ์ห้า" เป็นเพียงชื่อที่สมมติขึ้นมาสำหรับเรียกกันเท่านั้น<O:p</O:p
    ปุถุชนยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนจริงจัง<O:p</O:p
    แต่พระอรหันต์ท่านปล่อยวางหมดแล้ว (ถ้ายังยึดติดในขันธ์ ๕ ก็เป็นพระอรหันต์ไม่ได้)
    <O:p</O:p
    ขอให้ทุกท่าน พิจารณาคำสอนของท่านพระสารีบุตรให้ดี<O:p</O:p
    แล้วปฏิบัติตาม จนเป็นผู้มี "กายอาจป่วย....แต่จิตไม่ป่วย" ด้วยกันทุกท่านเทอญ ฯ
    เจริญพร

    ขออนุญาตพระคุณเจ้าขยายเพื่อง่ายต่อการอ่านบทธรรมดีๆครับ<O:p</O:p
     
  5. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    สาธุ [​IMG]
     
  6. พระเมตตาธัมโม

    พระเมตตาธัมโม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +20
    อาตมาต้องขออนุโมทนาขอบคุณ คุณอดุลย์ เมธีกุล

    ที่ช่วยขยายตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้น

    และคำพระในตอนท้ายว่า

    ได้ใจแล้ว ได้หมดโลก

    เป็นความจริงทีเดียว

    เพราะทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ มารวมลงอยู่ที่ใจดวงเดียวนี้เท่านั้น

    "ไม่มีใจ"....ทุกสรรพสิ่ง "ก็ไม่มี"

    เพราะมีใจ เพราะมีอวิชชาตัณหาอุปาทาน

    สรรพทุกข์ โศก โรค ภัย และสารพัดสารพันปัญหาทั้งปวง ในโลกนี้

    ก็เกิดขึ้น และตั้งอยู่เรื่อยไป....

    จนกว่าจะได้ใจ ที่เกิด "พุทธวิชชา" หรือ "ญาณปัญญา"

    สรรพทุกข์ ฯ ทั้งสิ้นทั้งปวงดังกล่าว

    จึงจะถึงความดับไป

    สพฺเพ สตฺตา ทุกฺขา ปมุจฺจนฺตุ.

    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงหลุดพ้นจากทุกข์ ได้โดยเร็วเถิด.
     
  7. kozovo1974

    kozovo1974 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +4
    ขอบคุณครับ
    แต่ตัวหนังสือเล็กไปนิดนะครับ คนแก่ๆ อ่านยาก
     
  8. พระเมตตาธัมโม

    พระเมตตาธัมโม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +20
    ขอบคุณครับ
    แต่ตัวหนังสือเล็กไปนิดนะครับ คนแก่ๆ อ่านยาก


    ต้องขออภัยคุณkozovo1974<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1309025", true); </SCRIPT> ด้วย

    แต่ที่เครื่องคอมพ์ของอาตมา ตัวหนังสือก็โตตามปกตินะ

    อาตมาคงจะต้องไปให้ช่างช่วยตรวจดูระบบอีกครั้ง

    ขออนุโมทนา และขอให้เจริญรุ่งเรืองด้วยสติปัญญายิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ
    <!-- / message -->
     
  9. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้<O:p</O:p


     
  10. สวนะ

    สวนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +201
    กราบอนุโมทนากับพระคุณเจ้า..และผู้แลกเปลี่ยนกระทู้..ช่างจับใจทุกท่านค่ะ
    ทุกอย่างล้วนเป็นนามสมมุติจริงๆ ขอให้จิตเราเป็นที่ตั้ง..กำหนดรู้ได้ด้วยตนเอง..สาธุ
     
  11. junior phumivat

    junior phumivat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,346
    ค่าพลัง:
    +1,688
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพบแล้ว ขอธรรมนั้น จงสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายโดยเร็วด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
     
  12. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,667
    ค่าพลัง:
    +9,239
    ขออนุโมทนากับพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ ปัจจุบันเรามักพบเห็นทั้งกายและจิตกระสับกระส่ายมากขึ้น ธรรมะของพระพุทธองค์ที่พระคุณเจ้าเมตตาให้ได้รู้เป็นประโยชน์มากเจ้าค่ะ
    นมัสการเจ้าค่ะ
     
  13. MOOTUN

    MOOTUN สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +21
    ขอกราบอนุโมทนาสาธุกับพระคุณเจ้าด้วยเจ้าค่ะ

    กราบนมัสการเจ้าค่ะ
     
  14. อิสวาร์ยาไรท์

    อิสวาร์ยาไรท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,608
    ค่าพลัง:
    +1,955
    อนุโมทนา สาธุ
    न्यवा
     
  15. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ปุถุชน ผู้มิได้สดับ……………
    </PRE>

    ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน
    <O:p</O:pย่อมเห็นตนมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    <O:p</O:pย่อมเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตน
    <O:p</O:pย่อมเห็นตนใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    <O:p</O:pเป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
    <O:p</O:pเราเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    <O:p</O:pรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณของเรา

    <O:p</O:pเมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
    <O:p</O:pเราเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    <O:p</O:pรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณของเรา

    <O:p</O:pรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
    <O:p</O:pเพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
    <O:p</O:pโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น

    <O:p</O:pดูกรคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล
    <O:p</O:pบุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย

    <O:p</O:pพระอริยสาวก ผู้ได้สดับ......
    <O:p</O:pย่อม ไม่เห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน
    <O:p</O:pย่อมไม่เห็นตนมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    <O:p</O:pย่อมไม่เห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตน
    <O:p</O:pย่อมไม่เห็นตนใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    <O:p</O:pไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
    <O:p</O:pเราเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    <O:p</O:pรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของเรา

    <O:p</O:pเมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
    <O:p</O:pเราเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    <O:p</O:pรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของเรา

    <O:p</O:pรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
    <O:p</O:pเพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
    <O:p</O:pโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้น

    <O:p</O:pดูกรคฤหบดี อย่างนี้แล
    <O:p</O:pบุคคลแม้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.
    <O:p</O:p</O:p
    จากพระสูตรข้างต้น
    <O:p</O:pปุถุชน กายกระสับกระส่าย จิตกระสับกระส่าย
    <O:p</O:pเมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป ทุกข์จึงเกิดขึ้น(จิตกระสับกระส่าย)

    <O:p</O:pพระอริยสาวก กายกระสับกระส่าย จิตไม่กระสับกระส่าย
    <O:p</O:pเมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป ทุกข์ไม่เกิดขึ้น(จิตไม่กระสับกระส่าย)

    <O:p</O:pเพราะ ปุถุชน ไม่ได้รับการอบรมจิต
    <O:p</O:pจิตมีอวิชชาครอบงำอยู่ ไม่รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    จิตรู้ผิดหลงผิดจากความเป็นจริง
    <O:p</O:pจึงหลงเข้าใจผิดว่าขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็น ตน
    <O:p</O:pจิตยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตนเมื่อขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)แปรปรวนไป จิตจึงแปรปรวนตาม



    <O:p</O:pพระอริยสาวก ได้รับการอบรมจิต
    <O:p</O:pจิตหลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา เกิดวิชชาขึ้นแทนที่ รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    จิตเป็นพุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบาน
    <O:p</O:pรู้เห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริงแล้วว่าขันธ์ ๕(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ไม่ใช่ตน
    <O:p</O:pจิตปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตน
    <O:p</O:pเมื่อขันธ์ ๕(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)แปรปรวนไป จิตจึงไม่แปรปรวนตาม

    <O:p</O:pจิตรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตนของเรา
    </PRE>


    </PRE>

    เสนอมาเป็นธรรมทัศน์ค่ะ ^_^
    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2008
  16. พระเมตตาธัมโม

    พระเมตตาธัมโม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +20
    คุณ ธรรมะสวนัง ได้เขียนมาว่า

    "เพราะ ปุถุชน ไม่ได้รับการอบรมจิต
    จิตมีอวิชชาครอบงำอยู่ ไม่รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    จิตรู้ผิดหลงผิดจากความเป็นจริง
    จึงหลงเข้าใจผิดว่าขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็น ตน
    จิตยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตนเมื่อขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)แปรปรวนไป จิตจึงแปรปรวนตาม

    พระอริยสาวก ได้รับการอบรมจิต
    จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา เกิดวิชชาขึ้นแทนที่ รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    จิตเป็นพุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบาน
    รู้เห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริงแล้วว่าขันธ์ ๕(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ไม่ใช่ตน
    จิตปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตน
    เมื่อขันธ์ ๕(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)แปรปรวนไป จิตจึงไม่แปรปรวนตาม

    จิตรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตนของเรา


    เสนอมาเป็นธรรมทัศน์ค่ะ ^_^"

    ขออนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง ที่มีความรู้ความเข้าใจในธรรมะหลักความจริงเกี่ยวกับขันธ์ ๕

    ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

    การจะทำให้ขันธ์ ๕ อันเป็นที่ตั้งแห่งกองทุกข์นี้

    ให้เป็นขันธ์ ๕ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขวิหารธรรม

    ก็ต้องหมั่นพิจารณาให้ยิ่ง ให้ลึกซึ้ง เป็นอันมาก ชนิดที่เรียกว่า "ตีให้แตก"


    เพราะเวลานี้ จิตเราคิดว่า (ขันธ์ ๕) นี้ เป็นตัวเรา ๆ ๆ อยู่ทุกลมหายใจเข้า-ออก

    การที่จะเกิด....

    จิตรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตนของเรา

    จึงต้องรีบกระทำหรือกำหนดกันให้ละเอียด หรือให้ทันกันทุกลมหายใจเข้า-ออก เช่นกัน

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    ภารา หะเว ปัญจักขันธา ภาระหาโร จะ ปุคคะโล

    ภาราทานัง ทุกขัง โลเก ภาระนิกเขปะนัง สุขัง

    นิกขิปิตวา คะรุง ภารัง อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ

    สะมูลัง ตัณหัง อัพพุฬหะ นิจฉาโต ปะรินิพพุโตติ.


    ขันธ์ ๕ นี้ เป็นภาระ คือเป็นของหนัก ที่บุคคล (ผู้ไม่รู้) พากันแบกหาบกันอยู่

    การแบกถือของหนัก คือขันธ์ ๕ นี้ เป็นความทุกข์ในโลก

    การปลงปล่อยวางของหนัก คือขันธ์ ๕ นี้ ลงเสียได้ จึงจะเป็นความสุข

    พระอริยะเจ้า ท่านปล่อยวางของหนัก คือขันธ์ ๕ นี้แล้ว

    และไม่ยึดถือของหนัก คือขันธ์ ๕ อื่น ๆ อีก

    เมื่อท่านถอนตัณหา พร้อมทั้งรากของมัน ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว

    จึงหมดความหิวกระหายในอารมณ์ต่าง ๆ กิเลสทั้งหลายถึงความดับไปสิ้น (นิพพาน) ฯ

    ขอความเจริญในวิถีแห่งสติปัญญาจงบังเกิดมีแก่ทุกท่านเทอญ ฯ

     
  17. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อนุโมทนาท่านเมตตาธัมโมด้วยเจ้าค่ะ ^_^

    ขันธ์ ๕ นี้ เป็นภาระ คือเป็นของหนัก ที่บุคคล (ผู้ไม่รู้) พากันแบกหาบกันอยู่
    บุคคล (ผู้ไม่รู้) คือ จิตปุถุชน ผู้รู้ผิดจากความเป็นจริง
    เพราะจิตมีอวิชชาครอบงำ ไม่รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    ไม่รู้ว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (ทุกข์)
    ไม่รู้ว่า การที่จิตยึดถือขันธ์ ๕ เป็นเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย)
    ไม่รู้ว่า การที่จิตปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ เป็นการดับทุกข์ (นิโรธ)
    ไม่รู้ว่า การปฏิบัติอริยมรรค ๘ เป็นทางดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ (มรรค)

    พระอริยะเจ้าท่านปล่อยวางของหนัก คือขันธ์ ๕ นี้แล้ว
    จิตพระอริยเจ้า ผู้รู้ถูกตามความเป็นจริง
    เพราะอวิชชาดับไปจากจิต เกิดวิชชาขึ้นแทนที่ รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    รู้ว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (ทุกข์)
    รู้ว่า การที่จิตยึดถือขันธ์ ๕ เป็นเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย)
    รู้ว่า การที่จิตปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ เป็นการดับทุกข์ (นิโรธ)
    รู้ว่า การปฏิบัติอริยมรรค ๘ เป็นทางดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ (มรรค)

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกท่านค่ะ ^_^





     
  18. jop_pk

    jop_pk Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +63
    กราบอนุโมทนาครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ ผมกำลังป่วยพอดี ตอนแรกก็เครียดๆ ช่วงนี้จิตสบายครับ ถึงแม้กายไม่ค่อยโอเคก็ตาม :)
     

แชร์หน้านี้

Loading...