สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    #อ้างเนื้อความ ปาสาธิกสูตร / ปฎิสัมภิทามรรค

    “ผู้ที่สามารถเข้าถึงอรรถและพยัญชนะ อันเป็นโลกุตระธรรม!

    มีเพียง 4

    1.พระสัมมาสัมพุทธเจ้า -พระปัจเจกพุทธเจ้า

    2.พระอริยะสาวก ผู้มีบทอันเห็นแล้ว พระโสดาบันขึ้นไปฯ

    3.ผู้บรรลุปฎิสัมภิทาญาน1-16

    4.พระโพธิสัตว์-พระมหาโพธิสัตว์

    นี่คือความรู้ความเข้าใจของเหล่าปฎิสัมภิทาผู้มีหน้าที่ปกป้องรักษาพระไตรปิฎก

    คำถาม :ด้วย ฌาน อภิญญา สมาธิ ตามแบบพระพุทธเจ้าที่ท่านมีอยู่ และจะพึงมี ท่านจะเอาความรู้ความสามารถใด ไปชี้ความผิดถูกของอรรถและพยัญชนะในพระไตรปิฎกได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือบริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี
    ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ
    แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึงอนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว
    ไม่สอบสวนไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถาม
    แนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉน
    ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ
    ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ ฯ

    ตตฺร ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเป ญาณํ ความว่า ความรู้แตกฉานในคำพูด คำกล่าว คำที่เปล่งถึงสภาวนิรุตติอันเป็นโวหารที่ไม่ผิดเพี้ยนทั้งในอรรถและในธรรมนั้น, ในคำพูดอันเป็นสภาวนิรุตติของพระอริยบุคคลผู้ทำสภาวนิรุตติศัพท์ที่เขาพูดแล้ว กล่าวแล้ว เปล่งออกแล้ว ให้เป็นอารมณ์แล้ว พิจารณาอยู่, ในมาคธีมูลภาษาของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นสภาวนิรุตติ เพราะสภาวนิรุตตินั้น บัณฑิตรับรองว่าเป็นธรรมนิรุตติอย่างนี้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา.
    ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่ามีสัททะคือเสียงเป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร? เพราะพระอริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูดว่า ผสฺโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.
    แม้ในสภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
    ถามว่า ก็พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานี้จะรู้หรือไม่ รู้คำอื่นคือเสียงแห่งพยัญชนะอันกล่าวถึงนาม, อาขยาต, อุปสัค, และนิบาต.
    ตอบว่า พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานั้น ครั้นได้ยินเสียงแล้วก็รู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ด้วยเหตุสำคัญอันใด, ก็จักรู้คำนั้นด้วยเหตุสำคัญอันนั้น.

    เพราะเหตุดังนี้นั่นแหละ จุนทะ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นใด อัน
    เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุมรวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ ในธรรมเหล่านั้นโดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงเป็นไปตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนานพรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรจุนทะ ก็ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น อันเราแสดงแล้วด้วยความรู้ยิ่งเป็นไฉน ที่บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุมรวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ โดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาวตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไป
    เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    คืออะไรบ้าง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ดูกรจุนทะ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล อันเราแสดงแล้วด้วยความรู้ยิ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุม
    รวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ โดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่
    ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    ดูกรจุนทะ ก็บริษัทเหล่านั้นแล พึงพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานกันไม่วิวาทกัน ศึกษาเถิด สพรหมจารีสงฆ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า อาวุโส ท่านผู้มีอายุนี้แล ถือเอาอรรถนั่นแหละผิด และยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายผิด ดังนี้ เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้หรือพยัญชนะเหล่านั้นของอรรถนี้เหล่าไหนจะสมควรกว่ากัน อรรถนี้หรืออรรถนั่นของพยัญชนะเหล่านี้ อย่างไหน
    จะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้แหละของอรรถนี้สมควรกว่า และอรรถนี้แหละของพยัญชนะเหล่านี้สมควรกว่า สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอไม่พึงยินดี ไม่พึงรุกราน ครั้นแล้วสพรหมจารี
    นั้นแหละ อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรองอรรถนั้นและพยัญชนะเหล่านั้น ฯ

    ดูกรจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า ท่านผู้มีอายุนี้แลถือเอาอรรถเท่านั้นผิด ยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายชอบ ดังนี้ เธอทั้งหลายไม่พึง
    ยินดี ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส อรรถนี้หรืออรรถนั่นของพยัญชนะเหล่านี้อย่างไหนจะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส อรรถนี้แหละของ
    พยัญชนะเหล่านี้สมควรกว่า สพรหมจารีนั้น อันพวกเธอไม่พึงยกย่อง ไม่พึงรุกราน ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นแหละ อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรองอรรถนั้น ฯ

    ดูกรจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า ท่านผู้มีอายุนี้แลถือเอาอรรถเท่านั้นชอบ ยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายผิด ดังนี้ พวกเธอทั้งหลาย
    ไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้เทียว หรือว่าพยัญชนะเหล่านั้นของอรรถนี้เหล่าไหนจะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พยัญชนะ
    เหล่านี้แหละ ของอรรถนี้แล สมควรกว่า สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอไม่พึงยกย่อง ไม่พึงรุกราน ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นแหละ อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดีเพื่อไตร่ตรองพยัญชนะเหล่านั้นนั่นเทียว ฯ

    ดูกรจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า ท่านผู้มีอายุนี้แลถือเอาอรรถนั่นแหละชอบ ยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายก็ชอบ ดังนี้ เธอทั้งหลาย
    พึงชื่นชม พึงอนุโมทนาภาษิตของสพรหมจารีนั้นว่า ดีแล้ว สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส เป็นลาภของเราทั้งหลาย อาวุโส พวกเราได้ดีแล้วที่จักระลึกถึงท่านผู้มีอายุ ผู้เป็นสพรหมจารีเช่นท่าน ผู้เข้าถึงอรรถ ผู้เข้า
    ถึงพยัญชนะอย่างนี้ ดังนี้ ฯ

    IMG_5505.jpeg IMG_5183.jpeg
     
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    “สร้างเหตุและปัจจัย”

    คำถาม ฌาน อภิญญา สมาธิระดับสุญญตธรรม

    ข้าพเจ้าขออนุญาตถาม! ซึ่งเป็นคำถามที่เหล่าปฎิสัมภิทาเข้าใจอยู่แล้ว!

    แต่ข้าพเจ้าจักถาม ว่า บทธรรม เหล่าใดก็ตาม ที่ปรากฎแก่เหล่าเทพนิกายใดนิกายหนึ่งนั้น! บทธรรมเหล่านั้น ทำไมจึงต้องติดตามเทพนิกายเหล่านั้นๆไป

    เทพนิกายเหล่านั้นบรรลุธรรมอันใด? จึงได้เข้าถึงพระสัทธรรม?

    โสตานุคตสูตร ว่าด้วยอานิสงส์การฟังธรรม ๔ ประการ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคล พึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็น ธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อการทำกาละ ย่อมเขาถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยทิฏฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกาย หมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ใน ภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล ฟังได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลอง หรือไม่ใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๒แห่งธรรมทั้งหลาย ที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคล พึงหวังได้

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... บทแห่งธรรม ทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อม แสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติ พรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่า สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาด ต่อเสียงสังข์เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิอันบุคคลพึงหวังได้

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... บทแห่ง ธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุ ผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตร ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิด ทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ใน กาลก่อน เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ๆ สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สหายของคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่งสหาย คนหนึ่ง พึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราละลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลันดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ นี้ แห่งธรรมทั้งหลายที่ ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิอันบุคคล พึงหวังได้

    จบ โสตานุคตสูตรที่ ๑

    IMG_5927.jpeg
     
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    ข้าพเจ้าขออนุญาตถาม

    ด้วยความสามารถใน ฌาน อภิญญา สมาธิ ตามแบบพระพุทธเจ้า ที่ท่านพึงมีในปัจจุบันและในอนาคตโดยสามารถ

    ท่านใด?สามารถกล่าวกถาธรรมในเรื่อง อักษรและพยัญชนะอันแท้จริงของพระสัทธรรมเจ้าในที่นี้ได้บ้างครับ?

    “ท่านบรรลุธรรมได้อย่างไร? โดยไม่ได้ทิพยจักษุ ธรรมจักษุ ญานจักษุ

    แล้วท่านจะเห็นธรรมได้อย่างไร? ธรรมที่ระดับพระโพธิสัตว์พระอริยะบุคคลเห็นแจ้งแล้ว ระบุตายตัวคือ ได้ดวงตาเห็นธรรม อันใครไม่สามารถหลอกให้หลงได้อีกซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนซึ่งพระปริยัติสัทธรรมในพระพุทธศาสนา

    1.ใครเคยเห็นอักษร“ พระมหาปกรณ์” โดยสกานิรุตติบ้างครับ!

    2. วิสัชนาขึ้นไปอีก อรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ใครเคยเห็นบ้างครับ!

    3.วิสัชนาขึ้นไปอีก อรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา ใครเคยเห็นบ้างครับ!

    4.วิสัชนาขึ้นไปอีก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงยกพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นไว้ในภาษามาคธีเท่านั้น. (#ก่อนหน้าคือสุทธิมาคธี)ยกเว้นไว้ในกาลอื่นที่ทรงไปโปรด ยังเหล่าเวไนยสัตว์ ในสถานะภาพ ภาษาอื่นๆ ในสหโลกธาตุต่างๆ

    5.วิสัชนายิ่งขึ้นไปอีก การจะได้พบกับพระมหาปกรณ์ อุปมาก็ยากเหมือนในยุคปัจจุบันที่จะทำความเข้าใจในพระมหาปุริลักษณะ 32 และอนุพยัญชนะทั้ง 80 ว่าทรงมีพระวรกายพระพักตร์จริงๆอย่างไร?นั่นล่ะครับ

    ถ้าเห็นจริงๆ ช่วยกรุณาอธิบายให้ทราบด้วยครับ!

    ถือว่าเล่าเรื่อง! นิทานให้กันฟัง!

    หรืออยากจะอธิบาย ผิดถูกไม่ว่ากันนะครับ!

    ถือว่า ธรรมสากัจฉาแลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ

    ยิ่งได้ท่านที่เรียนภาษาบาลี ไวยากรณ์ แปลพระไตรปิฎกได้เองมายิ่งดีครับ!

    #ข้าพเจ้าขอเริ่มก่อนเลยโดยพิศดารดังนี้ ในทัสสนะของข้าพเจ้า พิจารณาดูให้ดีๆ อ่านให้เข้าใจนะครับ ค่อยๆพิจารณา ไม่ใช่ฟุ้งฯอัตโนมัตินะขอรับ {อันตราย}

    ในเรื่องนี้ ต่อให้เป็นนักวิชาการระดับสูงของโลกในด้านพระพุทธศาสนา แต่ไม่ได้ไม่มีในปฎิสัมภิทาจะไม่มีทางได้เข้าใจ

    ถ้าหากว่ามีใครสัก กล่าวว่า ภาษาบาลีไม่ใช่ภาษา

    มี "พระมหาปกรณ์" อยู่ครับ แต่ ต้องพิจารณาขอบเขต ๒๕๐+ ๓๐๐=๙๐๐ โยชน์ มัชฌิมประเทศที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมาจุติ และภาษาอื่นที่ทรงเสด็จไปทรงโปรดด้วย จึงจำเป็นต้องถ่ายทอดลงมาเป็นสุทธมาคธี-มาคธี พระมหาปกรณ์นั้น ถ้าเห็นสภาพการเปลี่ยนแปลงก็จะเข้าใจครับ และในกาลอื่นๆที่ทรงเสด็จไปโปรด ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะก็ทรงถ่ายทอดลงมาเป็นภาษาอื่นๆเมื่อทรงเสด็จไปโปรดสัตว์ในโลกธาตุที่มีภาษาอื่นอีกด้วยครับ ถ้าเขากล่าวว่า" ไม่ใช่ภาษา" แล้วเขาไม่รู้จัก "ปฎิสัมภิทา มัคโค" วิศิษฐปาฐะ หรือการเปลี่ยนแปลงของพยัญชนะปฎิรูป คือการเปลี่ยนแปลงของภาษาธรรม ที่แม้แต่จะถามด้วยใจก็สามารถตอบด้วยวาจา ถามด้วยความรู้สึกเช่นนั้นเป็นภาษาใด

    ขอให้สหายบัณฑิตผู้เจริญของข้าพเจ้าพิจารณาดูให้ดีนะครับ สิ่งที่ผมกล่าวเป็นทั้ง ปริยัติ ปฎิบัติและปฎิเวธ ของ ผู้เสขะภูมิอยู่ ฉนั้นเมื่อเขาไม่รู้จักการเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่รู้จักปฎิสัมภิทาญาน หากเขาใช้คำพูดแบบนั้น เขากล่าวไม่ถูกต้องครับ และถ้าเขารู้จัก พระมหาปกรณ์อันละเอียด ที่มีอัตลักษณ์ ที่ไม่หยั่งลงสู่ความตรึกนี้ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นภาษาที่เราท่านสามารถเข้าใจทั้ง รูป พยัญชนะ สำเนียง ของอรรถ ในทันที ที่แม้จะไม่เคยได้รู้ได้เรียนมาก่อนเลย โดยในนามปฎิสัมภิทา เขาถือทิฏฐินั้นได้ ฉนั้นการที่จะเอา ภาษาบาลีหรือพยัญชนะเหล่าใดก็ตาม มาตรวจสอบกับแท่นพิมพ์ ถ้าแท่นพิมพ์หรือแม่แบบ นั้นแปลงสภาพให้ เป็น อักษรนั้นๆ ก็เห็นควรอยู่ ที่จะเป็นหรือเรียกว่า บาลี แต่ถ้าแม่แบบไม่เปลี่ยนให้ หรือเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นๆ ท่านก็จะคิดจะรู้ทันทีว่า เห็นที่จะไม่ใช่ ภาษานี้โดยตรง เพราะฉนั้น การที่จะเอา ภาษาใดๆก็ตามมาตรวจสอบกับแท่นพิมพ์ว่า เป็นภาษาที่ตรงกันหรือไม่ ไม่ใช่ฐานะที่จะกระทำได้หรือระบุได้ตายตัว

    ผมจึงใช้คำว่า ไม่ใช่ พระพุทธวจนะตรงๆจาก พระสัทธรรม แต่เป็นภาษาที่ทรงโปรดนำมาแสดงไว้ ตามความเหมาะสมของเชื้อชาติประเทศราชและท้องถิ่นนั้นๆครับ ก็เพื่อจะให้ชนส่วนใหญ่ได้ล่วงรู้โดยง่าย ถ้านำลงมาแสดงไว้ด้วยภาษาอื่นๆก็จะต้องตีความแล้วตีความเล่า เพราะยิ่งด้วยผู้มีปฎิสัมภิทาแล้ว เห็นประโยคเดียว ออกเป็นร้อยนัยพันนัยเลยที่เดียวตามกระแสสกานิรุตติ และเพ่งจิตด้วยวิมุตติญานทัสสนะตามธรรมที่เสวยวิมุตติสุขนั้นๆ ภาษาใจ ภาษาธรรมชาติ ที่เป็น "สัจธรรมมหาปกรณ์" ผมไม่สามารถจะทำให้ท่านได้รูเห็นได้ ท่านต้องเห็นเอง ขอให้เจริญในปฎิสัมภิทาเถิดครับ ด้วยสติปัญญาของบัณฑิต ผู้สั่งสมสุตตะอย่างท่านทั้งหลาย โดยเฉพาะท่านที่ได้อ่านในตอนนี้เมื่อใดที่ท่านได้เข้าสู่ทิพย์ภูมิของพระอริยะ ในปฎิสัมภิทา

    ท่านจะทราบเลยว่า ขนาดที่มีธรรมละเอียดที่จะทรงสามารถแสดงได้ขนาดนี้เพื่อให้สัตว์โลกได้เข้าใจถึงสภาวะธรรม แต่กลมลสันดานของสัตว์โลกที่ไม่ได้สั่งสมสุตตะมาก่อนไม่เหมาะที่จะตรัสรู้และเข้าใจธรรมอันประเสริฐนี้ จนทรงท้อพระทัยที่จะทรงตรัสสอน จึงแสดงเพื่อเป็นพลวปัจจัยเป็นอันมาก จึงทรงกล่าวธรรมแม้บทเดียวโดยที่เขาเข้าใจก็เป็นสุขแก่สัมปราภพของสัตว์นั้นอย่างยาวนานจวบจนพระนิพพาน และโดยเฉพาะฐานะที่ท่านทำอยู่ในการปกป้องรักษาพระไตรปิฏกด้วยความบริสุทธิ์ใจเหล่าใดก็ตามในกาลนี้ก็ตามกาลอดีตที่แล้วมาจนถึงกาลอนาคตก็ตาม พวกท่านทั้งหลายเหล่านั้นฯ ย่อมได้บรรลุสู่ ปฎิสัมภิทาญาน อย่างแน่นอนครับ พระอรหันต์๔หมวด มีคุณความสามารถที่แตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ วันนั้นเมื่อท่านได้เห็น พระมหาปกรณ์ จาก พระสัทธรรม พระธรรมราชา แล้ว ท่านจะเข้าใจ อรรถพยัญชนะที่ข้าพเจ้าแสดงไว้แล้วนี้ สาธุธรรมครับ

    #อ้างอิง

    นานาสาระเกี่ยวกับพุทธศาสนา
    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวเถรวาท
    ทำไมเถรวาทยึดถือภาษาบาลีเป็นภาษาคัมภีร์
    ภาษาบาลีซึ่งพุทธศาสนานิกายเถรวาท ใช้รองรับพุทธพจน์อยู่นั้น มติของนักปราชญ์ทั้งตะวันตก ตะวันออก เห็นขัดแย้งกันไปหมดบ้างว่า เป็นภาษาของชาวโกศลพูด เพราะพระผู้มีพระภาคเป็นชาวแคว้นโกศล ในธรรมเจติยสูตร พระเจ้าปเสนทิกราบทูลพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล เพราะฉะนั้นพระองค์จะต้องใช้ภาษาชาติภูมิของพระองค์ ในการประกาศพระศาสนา 1 แต่บางท่านก็เห็นว่า ภาษาบาลีเป็นภาษาอวันตีแต่โบราณ เพราะพระมหินทร์เป็นชาวเวทิสาคีรีในอวันตี นำเอาภาษาบาลีไปลังกา 2. บางมติก็ว่า เป็นภาษาอินเดียภาคใต้ 3. แต่มติส่วนใหญ่ยืนยันว่า เป็นภาษามคธโบราณที่เรียกว่า “มคธี” จัดอยู่ในสกุลภาษาปรากฤต เมื่อสรุปมติต่างๆ เหล่านี้ เราได้สาระที่น่าเชื่อถืออยู่ข้อหนึ่งคือ ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นเป็นภาษามคธอย่างแน่แท้ คำว่า “บาลี” นอกจากจะหมายถึงภาษาอันมีระเบียบแบบแผน คำนี้ยังเลือนมาจากคำว่า “ปาฏลิ” ซึ่งหมายถึงเมืองปาฏลีบุตรนั่นเอง เพราะฉะนั้นภาษาบาลีก็คือ ภาษาปาฏลีบุตร อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธต่อจากกรุงราชคฤห์ แต่เหตุไร ภาษาบาลีจึงสูญไปจากอินเดีย นั่นก็เพราะแคว้นมคธเสื่อมอำนาจลง ภาษาอื่นได้ไหลเขามาแทนที่ ภาษาดั้งเดิมค่อยๆสลายตัวเอง โดยราษฎรหันไปนิยมพูดภาษาผู้มาปกครอง ความจริงพระศาสดามิได้ผูกขาดภาษาใดภาษาหนึ่งในการแสดงธรรม พระองค์ทรงตรัสภาษาท้องถิ่นต่างๆของอินเดียได้ ทรงแสดงธรรมด้วยหลายภาษาทรงอนุญาตให้เรียนพุทธพจน์ด้วยภาษาท้องถิ่นได้ ครั้งหนึ่งมีภิกษุพี่น้องสกุลพราหมณ์ ทูลขอพุทธานุญาต ยกพุทธพจน์ขึ้นสู่ภาษาเดียวเช่นกับภาษาในพระเวท ทรงติเตียน แต่เหตุไฉนปฐมสังคายนาจึงใช้แต่ภาษาบาลีภาษาเดียวขึ้นสู่สังคีติเล่า เหตุผลมีดังนี้คือ
    1. การประชุมสังคายนา ต้องการความสามัคคี ความเป็นระเบียบ ถ้าปล่อยให้ผู้ประชุม ต่างรูปต่างใช้ภาษาท้องถิ่นของตนๆ ที่ประชุมก็ไม่เป็นอันประชุม ไม่เป็นระเบียบ
    2. ภาษาบาลีเป็นภาษาชาวมคธ การประชุมก็ทำกันในมคธ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองต้องเลือกภาษานี้
    3. พระอรหันต์ผู้เข้าประชุม เข้าใจว่าส่วนใหญ่เป็นชาวมคธ หรือชาวเมืองอื่นที่ขึ้นอยู่กับมคธ
    4. มคธในครั้งนั้น เป็นมหาอำนาจชั้นหนึ่งในอินเดีย มีเมืองขึ้นเช่น โกศล วัชชี กาสี จัมปา ภาษามคธจึงเป็นภาษาที่มีอิทธิพล
    อย่างไรก็ตามคณะสงฆ์อื่นๆ ที่ใช้ภาษาท้องถิ่น ไม่ใช้ภาษามคธรองรับพุทธพจน์มีมากกว่ามาก

    ภาษาบาลี โดยคำว่า "บาลี" มาจากคำว่า "ปาลี" ซึ่งวิเคราะห์มาจาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัยๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มีรูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจนํ ปาเลตีติ ปาลี แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดยอรรถว่า "ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ"

    ชื่อเรียกภาษานี้ คือ ปาลิ (อักษรโรมัน : Pāli) นั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงเรื่อยมาโดยไม่มีข้อสรุป สำหรับชาวพุทธโดยทั่วไปเชื่อว่า ภาษาบาลีมีกำเนิดจากแคว้นมคธ ในชมพูทวีป และเรียกว่าภาษามคธ หรือภาษามาคธี หรือมาคธิกโวหาร ซึ่ง "มาคธิกโวหาร" พระพุทธโฆสาจารย์พระอรรถกถาจารย์นามอุโฆษมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 10 อธิบายว่าเป็น "สกานิรุตติ" คือภาษาที่พระพุทธเจ้าตรัส
    นักภาษาศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย นักวิชาการชาวเยอรมันสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นนักสันสกฤตคือศาสตราจารย์ไมเคิล วิตเซลแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ถือว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย และเป็นคนละภาษากับภาษาจารึกของ พระเจ้าอโศกมหาราช
    ภาษาบาลีมีพัฒนาการที่ยาวนาน มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (เถรวาท) เป็นจำนวนมาก วิลเฮล์ม ไกเกอร์ (Wilhem Geiger) นักปราชญ์บาลีชาวเยอรมัน ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ Pali Literatur und Sprache โดยวางทฤษฎีที่คนไทยรู้จักกันดีว่าภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นสามารถแบ่งวิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค ตามรูปลักษณะของภาษาที่ใช้ดังนี้:
    ยุคคาถา หรือยุคร้อยกรอง มีลักษณะการใช้คำที่ยังเกี่ยวพันกับภาษาไวทิกะซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พระเวทอยู่มาก
    ยุคร้อยแก้ว มีรูปแบบที่เป็นภาษาอินโดอารยันสมัยกลาง แตกต่างจากสันสกฤตแบบพระเวทอย่างเด่นชัด ภาษาในพระไตรปิฎกเขียนในยุคนี้
    ยุคร้อยกรองระยะหลัง เป็นช่วงเวลาหลังพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ย่อย เช่น มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค เป็นต้น

    ยุคร้อยกรองประดิษฐ์ เป็นการผสมผสาน ระหว่างภาษายุคเก่า และแบบใหม่ กล่าวคือคนแต่งสร้างคำบาลีใหม่ ๆ ขึ้นใช้เพราะให้ดูสวยงาม
    บางทีก็เป็นคำสมาสยาว ๆ ซึ่งไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแต่งขึ้นหลังจากที่มีการเขียนคัมภีร์แพร่หลายแล้ว
    ปัจจุบันมีการศึกษาภาษาบาลีอย่างกว้างขวางในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และอินเดีย แม้กระทั่งในอังกฤษ ก็มีผู้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาได้พากันจัดตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ขึ้นในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2424 เพื่อศึกษาภาษาบาลีและวรรณคดีภาษาบาลี รวมถึงการแปลและเผยแพร่ ปัจจุบันนั้น สมาคมบาลีปกรณ์ดังกล่าวนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตำบลเฮดดิงตัน ในเมืองอ๊อกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร คำว่า"บาลี" เองนั้นแปลว่าเส้นหรือหนังสือ และชื่อของภาษานี้น่ามาจากคำว่า ปาฬี (Pāḷi) อย่างไรก็ตาม ชื่อภาษานี้มีความขัดแย้งกันในการเรียก ไม่ว่าจะเป็นสระอะหรือสระอา และเสียง “ล” หรือ “ฬ” ภาษาบาลีเป็นภาษาเขียนของกลุ่มภาษาปรากฤต ซึ่งเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในศรีลังกาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 5 ภาษาบาลีจัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลาง แตกต่างจากภาษาสันสกฤตไม่มากนัก ภาษาบาลีไม่ได้สืบทอดโดยตรงจากภาษาสันสกฤตพระเวทในฤคเวท แต่อาจะพัฒนามาจากภาษาลูกหลานภาษาใดภาษาหนึ่ง

    คาดว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลเช่นเดียวกับภาษามคธโบราณหรืออาจจะสืบทอดมาจากภาษานี้ เอกสารในศาสนาพุทธเถรวาทเรียกภาษาบาลีว่าภาษามคธ ซึ่งอาจจะเป็นความพยายามของชาวพุทธที่จะโยงตนเองให้ใกล้ชิดกับราชวงศ์เมาริยะ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอนที่มคธ แต่ก็มีสังเวชนียสถาน 4 แห่งที่อยู่นอกมคธ จึงเป็นไปได้ที่จะใช้ภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางหลายสำเนียงในการสอน ซึ่งอาจจะเป็นภาษาที่เข้าใจกันได้ ไม่มีภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางใดๆมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาบาลี แต่มีลักษณะบางประการที่ใกล้เคียงกับจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชที่คิร์นาร์ทางตะวันตกของอินเดีย และหถิคุมผะทางตะวันออก
    นักวิชาการเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาลูกผสม ซึ่งแสดงลักษณะของภาษาปรากฤตหลายสำเนียง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 2 และได้ผ่านกระบวนการทำให้เป็นภาษาสันสกฤต พระธรรมคำสอนทั้งหมดของพระพุทธศาสนาถูกแปลเป็นภาษาบาลีเพื่อเก็บรักษาไว้ และในศรีลังกายังมีการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อเก็บรักษาในรูปภาษาท้องถิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีได้เกิดขึ้นที่อินเดียในฐานะภาษาทางการเขียนและศาสนา ภาษาบาลีได้แพร่ไปถึงศรีลังกาในพุทธศตวรรษที่ 9-10 และยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน

    อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังค์
    วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ บัดนี้ พึงทราบปฏิสัมภิทาวิภังค์ในลำดับแห่งสิกขาบทวิภังค์นั้นต่อไป.
    คำว่า ๔ เป็นคำกำหนดจำนวน.
    คำว่า ปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ปัญญาอันแตกฉาน.
    อธิบายว่า ก็เพราะข้างหน้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นต้น แปลว่า ญาณ (ปัญญา) ในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่เป็นการแตกฉานของใครๆ เลย นอกจากเป็นการแตกฉานของญาณ (ปัญญา) เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงสงเคราะห์เนื้อความนี้ว่า การแตกฉานของญาณ ๔ นี้ลงในบทว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ดังนี้.
    ปฏิสัมภิทาในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา. อธิบายว่า ญาณ (ปัญญา) อันถึงความรู้แตกฉานในอรรถ เพื่อสามารถทำการวิเคราะห์ (แยกแยะ) อรรถชนิดต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้.
    จริงอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรม เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ธรรมชาติต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในการกล่าวซึ่งนิรุตติธรรม เพื่อสามารถกระทำวิเคราะห์นิรุตติ (คือภาษาชนิดต่างๆ) ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในปฏิภาณ (คือไหวพริบในการโต้ตอบได้ฉับพลันทันที) เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ปฏิภาณชนิดต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงปฏิสัมภิทาทั้งหลายตามที่ทรงตั้งไว้ จึงตรัสคำว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นอาทิ (แปลว่า ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา).
    อธิบายคำว่าอัตถะ บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อตฺถ เมื่อว่าโดยสังเขป ได้แก่ ผลของเหตุ (ผลอันเกิดแต่เหตุ).
    จริงอยู่ ผลของเหตุนั้น พึงเป็นของสงบ (คือปราศจากกิเลส) พึงถึงพึงบรรลุได้ด้วยสามารถแห่งเหตุฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อัตถะ.
    เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้คือ
    ๑. สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
    ๒. พระนิพพาน
    ๓. อรรถแห่งภาษิต
    ๔. วิบาก
    ๕. กิริยา.
    เมื่อพิจารณาอรรถนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในอรรถนั้นๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา.
    อธิบายคำว่าธัมมะ คำว่า ธมฺม เมื่อว่าโดยสังเขปแล้ว ได้แก่ ปัจจัย.
    จริงอยู่ เพราะปัจจัยนั้นย่อมจัดแจง ย่อมให้ธรรมนั้นๆ เป็นไปด้วย ให้ถึงด้วย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ธัมมะ แต่เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว
    บัณฑิตพึงทราบว่า ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ
    ๑. เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันยังผลให้เกิดขึ้น
    ๒. อริยมรรค
    ๓. ภาษิต (วาจาที่กล่าวแล้ว)
    ๔. กุศล
    ๕. อกุศล.
    เมื่อพิจารณาธรรมนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรมนั้น ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา.
    อธิบายคำว่าธัมมนิรุตติ (ภาษาของสภาวะ) พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า ญาณในการกล่าวซึ่งธัมมนิรุตติ ดังนี้.
    สภาวนิรุตติ (ภาษาอันเป็นสภาวะ) อันใด ย่อมเป็นไปในอรรถด้วย ในธรรมด้วย เมื่อพิจารณากระทำศัพท์ (เสียง) อันเป็นสภาวนิรุตตินั้นในเพราะการกล่าวอันนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในคำพูดอันเป็นสภาวนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา.
    นิรุตติปฏิสัมภิทานี้เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่ามีเสียงเป็นอารมณ์ หาชื่อว่ามีบัญญัติเป็นอารมณ์ไม่.
    ถามว่า เพราะเหตุไร?
    ตอบว่า เพราะฟังเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่.
    จริงอยู่ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เมื่อมีผู้กล่าวว่า ผสฺโส ดังนี้ ย่อมทราบว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ หรือว่าเมื่อผู้อื่นกล่าวว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ดังนี้ ก็ย่อมรู้ว่า นี้ไม่ใช่สภาวนิรุตติ ดังนี้.
    แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้นั่นแหละ.
    ถามว่า ก็ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมรู้ หรือย่อมไม่รู้ซึ่งเสียงแห่งพยัญชนะที่เป็นนาม อาขยาตและอุปสรรคอื่นๆ
    ตอบว่า ในกาลใดฟังเสียงเฉพาะหน้า ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่ ในกาลนั้นจักรู้ได้แม้ซึ่งคำนั้นแต่ต้น ดังนี้. แต่ว่า ข้อนี้มีผู้คัดค้านว่า นี้ไม่ใช่กิจของปฏิสัมภิทา ดังนี้แล้วได้ยกเอาเรื่องพระเถระมากล่าวว่า
    ได้ยินว่า พระเถระชื่อว่าติสสทัตตะ ถือเอาสลากอันเป็นวิการแห่งทองที่โพธิมณฑลแล้วปวารณา (คือหมายความว่าเปิดโอกาส หรืออนุญาตให้ภิกษุขอฟังภาษาต่างๆ ตามที่ต้องการ) แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยคำว่า ในบรรดาภาษา ๑๘ อย่าง ข้าพเจ้าจักกล่าวด้วยภาษาไหน ดังนี้ ก็คำปวารณานั้น พระเถระท่านตั้งอยู่ในการศึกษาจึงได้ปวารณา มิใช่ตั้งอยู่ในปฏิสัมภิทาแล้วกล่าวปวารณา.
    ด้วยว่า พระเถระนั้น ท่านให้บุคคลบอกแล้วๆ ท่านก็เรียนเอาภาษานั้นๆ เพราะความที่ท่านมีปัญญามาก ถัดจากนั้นมาท่านจึงปวารณาอย่างนี้ เพราะตั้งอยู่แล้วในการศึกษาเล่าเรียน.
    ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตวโลก ก็แลครั้นท่านกล่าวแล้ว จึงกล่าวคำในที่นี้ต่อไปอีกว่า ธรรมดาว่า สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมเรียนภาษา ดังนี้. จริงอยู่ มารดาและบิดาให้ลูกน้อยนอนที่เตียงหรือที่ตั้งในเวลาที่ลูกยังเป็นทารก แล้วพูดซึ่งกิจนั้นๆ เด็กทั้งหลายย่อมกำหนดภาษาของมารดาหรือของบิดาว่า คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว เมื่อกาลผ่านไปๆ พวกเด็กย่อมรู้ภาษาแม้ทั้งหมด. มารดาเป็นชาวทมิฬ บิดาเป็นชาวอันธกะ เด็กที่เกิดแต่ชนทั้งสองนั้น ถ้าเขาฟังถ้อยคำของมารดาก่อน เขาจักพูดภาษาทมิฬก่อน ถ้าฟังถ้อยคำของบิดาก่อน เขาจักพูดภาษาชาวอันธกะก่อน. แต่เมื่อไม่ได้ฟังถ้อยคำของชนแม้ทั้งสอง ก็จักกล่าว (พูด) ภาษาของชนชาวมคธ. ทารกแม้ใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่นชื่อว่ากล่าวอยู่ไม่มีในป่าใหญ่นั้น ทารกแม้นั้น เมื่อจะยังวาจาให้ตั้งขึ้นตามธรรมดาของตน ก็จักกล่าวภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.
    ภาษาของชนชาวมคธเท่านั้นหนาแน่นแล้ว (มากมาย) ในที่ทั้งปวง คือ
    ๑. ในนิรยะ (นรก)
    ๒. ในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน
    ๓. ในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต)
    ๔. ในมนุษยโลก
    ๕. ในเทวโลก
    ในภาษาของสัตว์ทั้งหลาย ภาษา ๑๘ อย่างนอกจากภาษาของชนชาวมคธ มีภาษาของคนป่า ของชาวอันธกะ ของชาวโยนก ของทมิฬตามที่กล่าวแล้วเป็นต้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ภาษาของชนชาวมคธกล่าวคือเป็นโวหารของพรหม เป็นโวหารของพระอริยะตามความเป็นจริง ภาษานี้ภาษาเดียวเท่านั้นไม่เปลี่ยนแปลง. แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรงยกพระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นด้วยภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.
    ถามว่า เพราะเหตุไร?
    ตอบว่า ก็เพราะเพื่อจะนำมาซึ่งอรรถ (ประโยชน์) ได้โดยง่าย.
    จริงอยู่ การเข้าถึงคลองกระแสแห่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผน ด้วยภาษาแห่งชนชาวมคธย่อมเป็นการมาอย่างพิสดารแก่ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. คือว่า เมื่อกระแสแห่งพระพุทธพจน์นั้นสักว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสืบต่อแล้วนั่นแหละ อรรถย่อมมาปรากฏนับโดยร้อยนัยพันนัย. ก็การที่บุคคลท่องแล้วๆ เรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่นมีอยู่ แต่ชื่อว่าการบรรลุปฏิสัมภิทาของปุถุชน เพราะเรียนเอาพุทธพจน์นั้นแม้มาก ย่อมไม่มี. พระอริยสาวกผู้ไม่บรรลุปฏิสัมภิทาหามีไม่.
    คำว่า ญาเณสุ ญาณํ (แปลว่า ความรู้ในญาณทั้งหลาย) ได้แก่ เมื่อเธอพิจารณากระทำญาณในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้ว ญาณอันถึงความรู้แตกฉาน ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา ดังนี้.
    อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ เหล่านี้ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ (ภูมิ) ๒ อย่าง และย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ อย่าง.
    ถามว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ ๒ เป็นไฉน?
    ตอบว่า ในฐานะ ๒ คือ เสกขภูมิและอเสกขภูมิ.
    ในฐานะ ๒ นั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระแม้ทั้ง ๘๐ รูปถึงประเภทอเสกขภูมิ คือ ได้แก่ปฏิสัมภิทาของพระสารีบุตรเถระ ของพระมหาโมคคัลลานเถระ ของพระมหากัสสปเถระ ของพระมหากัจจายนเถระ ของพระมหาโกฏฐิตเถระเป็นต้น. ปฏิสัมภิทาของผู้ถึงเสกขภูมิ คือของพระอานันทเถระ ของจิตตคหบดี ของธัมมิกอุบาสก ของอุบาลีคหบดี ของนางขุชชุตตราอุบาสิกาเป็นต้น ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมถึงการแยกออกในภูมิทั้งสองเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
    ถามว่า ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ เป็นไฉน?
    ตอบว่า ด้วยอธิคมะ ด้วยปริยัติ ด้วยสวนะ ด้วยปริปุจฉา ด้วยปุพพโยคะ.
    ในเหตุ ๕ เหล่านั้น พระอรหัต ชื่อว่าอธิคมะ.
    จริงอยู่ เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    พระพุทธพจน์ ชื่อว่าปริยัติ.
    จริงอยู่ เมื่อเรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์อยู่ ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    การฟังพระธรรม ชื่อว่าสวนะ.
    จริงอยู่ เมื่อฟังธรรมอยู่โดยเคารพ ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    อรรถกถา ชื่อว่าปริปุจฉา.
    จริงอยู่ เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งอรรถแห่งพระบาลีอันตนเรียนมาแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    ความเป็นพระโยคาวจรในกาลก่อนคือ ความที่กรรมฐานอันตนบริหารแล้วโดยนัยแห่งการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา (หรณปัจจาหรณวัตร) ในอดีตภพ ชื่อว่าปุพพโยคะ.
    จริงอยู่ เมื่อหยั่งลงสู่ความเพียรมาแล้วในกาลก่อน ปฏิสัมภิทาทั้งหลายก็ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    บรรดาเหตุ ๕ เหล่านั้น พึงทราบปฏิสัมภิทาทั้งหลายของพระติสสเถระผู้เป็นบุตรแห่งกุฎุมภี ชื่อปุนัพพสุได้เป็นธรรมบริสุทธิ์แล้วด้วยการบรรลุพระอรหัต ดังนี้.
    ได้ยินว่า พระติสสเถระนั้นเรียนพระพุทธพจน์ในตัมพปัณณิทวีป (คือในเกาะของชนผู้มีฝ่ามือแดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลังกาทวีป) แล้วไปสู่ฝั่งอื่นเรียนเอาพระพุทธพจน์ในสำนักของพระธัมมรักขิตเถระ ชาวโยนก เสร็จจากการเรียนก็เดินทางมาถึงท่าเป็นที่ขึ้นเรือ เกิดความสงสัยในพระพุทธพจน์บทหนึ่ง จึงเดินทางกลับมาสู่ทางเดิมอีกประมาณ ๑๐๐ โยชน์ เมื่อไปสู่สำนักของอาจารย์ในระหว่างทางได้แก้ปัญหาแก่กุฎุมภีคนหนึ่ง กุฎุมภีผู้นั้นมีความเลื่อมใสได้ถวายผ้ากัมพลมีค่าแสนหนึ่ง พระติสสเถระนั้นนำผ้ามาถวายอาจารย์ อาจารย์ของพระเถระนั้นทำลายผ้าซึ่งมีราคาถึงแสนหนึ่งนั้นด้วยมีด แล้วให้ทำเป็นของใช้ในที่เป็นที่สำหรับนั่ง.
    ถามว่า การที่อาจารย์ทำอย่างนั้น เพื่อประโยชน์อะไร?
    ตอบว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่ชนผู้เกิดมาในภายหลัง.
    ได้ยินว่า อาจารย์นั้นมีปริวิตกว่า ในอนาคตกาล เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายจักสำคัญถึงการปฏิบัติอันตนให้บริบูรณ์แล้ว โดยการพิจารณาถึงมรรคอันพวกเราบรรลุแล้ว (หาใช่มีความกังวลอย่างอื่นไม่). แม้พระติสสเถระก็ตัดความสงสัยได้ในสำนักของอาจารย์ แล้วจึงไป ท่านก้าวลงที่ท่าแห่งเมืองชื่อ ชัมพุโกล ถึงวิหารชื่อว่าวาลิกะในเวลาเป็นที่ปัดกวาดลานพระเจดีย์ ท่านก็ปัดกวาดลานพระเจดีย์. พระเถระทั้งหลายเห็นที่เป็นที่อันพระติสสเถระนั้นปัดกวาดแล้ว จึงคิดว่า ที่นี้เป็นที่ปัดกวาดอันภิกษุผู้มีราคะไปปราศแล้วทำการปัดกวาด แต่เพื่อต้องการทดลอง จึงถามปัญหาต่างๆ พระติสสเถระนั้นก็กล่าวแก้ปัญหาอันภิกษุเหล่านั้นถามแล้วทุกข้อ เพราะความที่ตนเป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลายดังนี้.
    ปฏิสัมภิทาของพระติสสทัตตเถระและของพระนาคเสนเถระ ได้บริสุทธิ์แล้วด้วยปริยัติ. ปฏิสัมภิทาของสามเณร ชื่อสุธรรม ได้บริสุทธิ์แล้วด้วยการฟังธรรมโดยเคารพ.
    ได้ยินว่า สามเณรนั้นเป็นหลานของพระธัมมทินนเถระผู้อยู่ในตฬังครวาสี ในขณะที่ปลงผมเสร็จก็บรรลุพระอรหัต เมื่อท่านกำลังนั่งฟังธรรมในโรงวินิจฉัยธรรมของพระเถระผู้เป็นลุงนั่นแหละ ได้เป็นผู้ชำนาญพระไตรปิฎกแล้ว.
    ปฏิสัมภิทาของพระติสสทัตตเถระผู้กล่าวอรรถ (ปริปุจฉา) ด้วยพระบาลีอันตนเรียนมา ได้เป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว. อนึ่ง พระโยคาวจรในปางก่อนบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร (วัตรคือการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา) แล้วขวนขวายกรรมฐานอันเหมาะสม มีปฏิสัมภิทาอันถึงความบริสุทธิ์แล้ว มิได้สิ้นสุด (มีมากมาย).
    ก็บรรดาเหตุ ๕ เหล่านั้น เหตุ ๓ เหล่านี้ คือ ปริยัติ สวนะ ปริปุจฉา เป็นเหตุ (เครื่องกระทำ) ที่มีกำลัง แก่ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน. ปุพพโยคะ เป็นพลวปัจจัย (ปัจจัยที่มีกำลัง) แก่อธิคม (การบรรลุพระอรหัต).
    ถามว่า ปุพพโยคะเป็นปัจจัยที่มีกำลังแก่ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน หรือไม่?
    ตอบว่า เป็น แต่มิได้เป็นเช่นนั้น เพราะปริยัติคือพระพุทธพจน์ สวนะคือการฟังธรรม ปริปุจฉาคือการสอบถามอรรถธรรมในกาลก่อน จะมีหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อว่าโดยปุพพโยคะแล้ว เว้นจากการพิจารณาสังขารทั้งหลายในกาลก่อนด้วย ในกาลปัจจุบันด้วย ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ชื่อว่าหามีได้ไม่.
    อนึ่ง ปุพพโยคะในกาลก่อน และในกาลปัจจุบันนี้ เมื่อรวมกันเข้ามาสนับสนุนแล้ว ย่อมทำปฏิสัมภิทาให้บริสุทธิ์. วรรณนาสังคหวาระ จบ.๑- ____________________________
    ๑- สังคหวาระ หมายถึงวาระที่กล่าวรวมกัน.

    บัดนี้ เพื่อจำแนกปฏิสัมภิทาทั้งหลายโดยนัยแห่งการแสดงประเภทแห่งการสงเคราะห์ อรรถและธรรมทั้ง ๕ วาระเหล่าใดเหล่าหนึ่งในสังคหวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มปเภทวาระ (คือวาระที่มีชนิดต่างกัน) โดยนัยเป็นต้นว่า จตสฺโส (แปลว่า ปฏิสัมภิทา ๔) ดังนี้อีก. วาระนั้นมี ๕ อย่างด้วยสามารถแห่งสัจจวาระ เหตุวาระ ธัมมวาระ ปัจจยาการวาระ ปริยัตติวาระ.
    ในวาระเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัจจวาระไว้ก็เพื่อแสดงถึงความที่พระนิพพานเป็นธรรมที่บรรลุได้ด้วยปัจจัยแห่งทุกข์ซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น ว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงถึงความที่อริยมรรคอันนำมาซึ่งพระนิพพานอันเป็นเหตุ อันยังผลให้เกิดขึ้นว่าเป็นธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา).
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเหตุวาระ๒- ไว้ก็เพื่อแสดงถึงความที่เหตุทั้งหลายอันยังผลให้เกิดอันใดอันหนึ่งว่าเป็นธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงถึงความที่ผลของเหตุว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา). ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกธัมมปฏิสัมภิทาขึ้นชี้แจงก่อน โดยไม่เป็นไปตามระเบียบอันว่าด้วยลำดับแห่งเหตุและผลที่ทรงตั้งไว้.
    ____________________________
    ๒- เหตุวาระ ปฏิสัมภิทา ๔ คือ อัตถ ...ธัมม ... นิรุตติ ... ปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระผู้มีพระภาคเจ้าอธิบายธัมมะ (เหตุ) ก่อนอัตถะ.

    อนึ่ง ธรรมเหล่าใดอันต่างด้วยรูปและอรูปธรรม (ขันธ์ ๕) อันเกิดขึ้นแล้วมีแล้วจากเหตุนั้นๆ เพื่อแสดงซึ่งความที่ธรรมเหล่านั้นว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงซึ่งความที่เหตุอันเกิดขึ้นแห่งรูปและอรูปธรรมนั้นๆ ว่าเป็นธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสธัมมวาระไว้.
    ก็เพื่อแสดงซึ่งธรรมมีชราและมรณะเป็นต้นว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา)

    IMG_4663.jpeg IMG_4667.jpeg IMG_4666.jpeg IMG_4665.jpeg IMG_4664.jpeg IMG_4660.jpeg IMG_4668.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2024
  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    #พุทธวจนะที่แท้จริงมาจากปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น

    “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก
    รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก
    ละเอียดเป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง
    ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้
    เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้ ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เราจะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”

    {O} ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต {O}
    ๑) มังสจักษุ ๑) ทิพยจักษุ ๒) ปัญญาจักษุ ๔) พุทธจักษุ ๕) สมันตจักษุ

    จักษุมี ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑.

    ฝ่ายมังสจักษุ มี ๒ อย่าง คือ สสัมภารจักษุ ๑, ปสาทจักษุ ๑.
    ก้อนเนื้ออันใดตั้งอยู่ที่เบ้าตา พร้อมด้วยหนังหุ้มลูกตาภายนอกทั้ง ๒ ข้าง เบื้องต่ำกำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา เบื้องบนกำหนดด้วยกระดูกคิ้ว ผูกด้วยเส้นเอ็นอันออกจากท่ามกลางเบ้าตาโยงติดไปถึงสมองศีรษะ วิจิตรด้วยมณฑลแห่งตาดำล้อมรอบด้วยตาขาว ก้อนเนื้อนี้ชื่อว่าสสัมภารจักษุ.

    ส่วนความใสอันใดเกี่ยวในสสัมภารจักษุนี้ เนื่องในสสัมภารจักษุนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ มีอยู่, ความใสนี้ ชื่อว่าปสาทจักษุ.

    ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปสาทจักษุ นี้. ปสาทจักษุนี้นั้น โดยประมาณก็สักเท่าศีรษะเล็นอาศัยธาตุทั้ง ๔ อาบเยื่อตาทั้ง ๗ ชั้น ดุจน้ำมันที่ราดลงที่ปุยนุ่น ๗ ชั้น อาบปุยนุ่นทุกชั้นอยู่ฉะนั้น ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถีมีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง เป็นที่เกิดขึ้นแห่งสรีรสัณฐาน ที่อยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแววตาดำที่แวดล้อมด้วยมณฑลตาขาว แห่งสสัมภารจักษุนั้น.

    ในจักษุทั้ง ๒ นั้น ปัญญาจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ๑, สมันตจักษุ ๑, ญาณจักษุ ๑, ทิพยจักษุ ๑, ธรรมจักษุ ๑.
    คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดูสัตวโลก ได้เห็นแล้วแลด้วยพุทธจักษุ๑- ดังนี้ ชื่อว่าพุทธจักษุ.

    คำนี้ว่า สัพพัญญุตญาณ เรียกว่าสมันตจักษุ๒- ดังนี้ ชื่อว่าสมันตจักษุ.

    คำนี้ว่า ดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว๓- ดังนี้ ชื่อว่าญาณจักษุ.

    คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ เราได้เห็นแล้วแล ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ๔- ดังนี้ ชื่อว่าทิพยจักษุ.

    มรรคญาณเบื้องต่ำ ๓ นี้มาในคำว่า ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ไม่มีมลทิน เกิดขึ้นแล้ว๕- ดังนี้ ชื่อว่าธรรมจักษุ.

    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"

    " พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม "

    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา, ให้ สำเร็จผลวิเศษในการปฏิบัติ, ห้ามอกุศลอันเป็นปฏิปักษ์, เป็นรตนากร บ่อเกิดแห่งญาณอันประเสริฐของพระโยคาวจร, เป็นเหตุอันวิเศษในการเยื้องกรายธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย, เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ของผู้กลัวภัยในสังสารวัฏ, มีประโยชน์ในการยังความชุ่มชื่นให้เกิดเพราะเห็นอุบายในการออกจากทุกข์นั้น, และมีประโยชน์ในการทำลายอกุศลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อนิสสรณธรรม๔ นั้น

    และมีประโยชน์ให้เกิดความยินดีในหทัยแก่กัลยาณชน โดยการเปิดเผยอรรถแห่งบทพระสูตรมีเนื้อความอันลึกซึ้งมิใช่น้อย อันท่านพระสารีบุตรผู้ธรรมเสนาบดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ธรรมราชาภาษิตแล้ว เมื่อประทีปดวงใหญ่กล่าวคือพระสัทธรรม รุ่งเรืองแล้วด้วยแสงประทีปดวงใหญ่คือพระสัพพัญญุตญาณที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วโดยไม่ขัดข้อง ส่องสว่างกระจ่างไปทั่วทุกสถาน มีพระทัยสนิทเสน่หา ประกอบไปด้วยพระมหากรุณาแผ่กว้างไปในปวงชน เพื่อกำจัดความมืดมนอนธการกล่าวคือกิเลส ด้วยพระมหากรุณาในเวไนยชน ด้วยการยกพระสัทธรรมนั้นขึ้นอธิบายให้กระจ่างแจ้งแก่ปวงชน ด้วยความเสน่หา ปรารถนาความรุ่งเรืองแห่งพระสัทธรรมไปตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระพรรษา ผู้มีเจตจำนงค้ำจุนโลกตามเยี่ยงอย่างพระศาสดา อันท่านพระอานันทเถระสดับภาษิตนั้นแล้วยกขึ้นรวบรวมไว้ในคราวทำปฐมมหาสังคีติ ตามที่ได้สดับมาแล้วนั่นแล.

    เทสนาประเภทต่างๆ ย่อมให้เกิดประเภทแห่งปฏิสัมภิทาญาณ แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายผู้สดับฟัง และเป็นปัจจัยแก่การแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณแก่ปุถุชนต่อไปในอนาคต

    คุณสมบัติ ๕ พระโพธิสัตว์พระอริยะบุคคลขั้นพื้นฐานตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป มีปรากฎทุกท่าน

    สากัจฉสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ
    จบสูตรที่ ๕

    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
    อุ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
    พระพุทธเจ้าข้า?
    พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาอีกนัยหนึ่ง

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    ภิกขุนีโอวาทวรรค ที่ ๘ จบ

    นิรุตฺติปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในภาษา คือ บัญญัติแห่งอัตถปฏิสัมภิทา และธัมมปฏิสัมภิทา ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ หมายความว่า รู้จักใช้ถ้อยคำในภาษานั้น ๆ อันเป็นบัญญัติที่เรียกกันว่า โวหาร ในการอธิบายขยายความแห่งอัตถปฏิสัมภิทา และธัมมปฏิสัมภิทา ให้ผู้สดับตรับฟังรู้และเข้าใจได้แจ่มแจ้งลึกซึ้งโดยถ้วนถี่เช่นนี้ เป็นต้น

    อรรถกถา เจือด้วย วิมุตติญานทัสสนะจากนิรุตติญานทัสสนะของพระอรหันตสาวกที่เพ่งวิมุตติ และ เจือด้วย วิมุตติญานทัสสนะ พระอริยะสาวกจนถึงพระอรหันตสาวกผู้ทรงปฎิสัมภิทาญาน นี่เป็นภูมิที่พระเสขะต้องรู้ว่า ปัญญาธรรมนี้ ไม่สามารถจะแสดงได้เทียบเท่าผู้ต้องวิมุตติญานทัสสนะของพระอริยะและพระอเสขะได้เลย

    ไล่ตั้งแต่ เสกขปฎิสัมภิทา จนถึง อเสกขปฎิสัมภิทา

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานขั้นสูงสุด รู้แม้คำสอนของศาสนาอื่น ทั้งคติที่ไป จนทรงบัญญัติ ทิฏฐิ ๖๒ ในพรหมชาลสูตร พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมของศาสนาพุทธ ส่วนองค์คุณประโยชน์ของ พิชัยสงครามนี้ มีแต่บัณฑิตที่พึงรู้ ท่านใดปรารถนาจะทราบ พึงพิจารณาลำดับญานที่ทรงบรรลุตรัสรู้พร้อม ปฎิสัมภิทาญาน องค์กำเนิดพระสัทธรรม เป็นหนึ่งในนั้น ด้วยเหตุนี้ การทำสังคายนาจึงต้องพึ่งพระผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานเป็นหลัก

    ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
    นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดจำนนโดยพยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี
    นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนักพูด ๔ จำพวกนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔
    พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ
    นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔

    ฉนั้นผู้ได้บรรลุปฎิสัมภิทาญานจึงเป็นเลิศสุดในการ ปุจฉาและวิสัชนากถาต่างๆทั้งแนวนอกและแนวใน ไม่ว่าจะเป็น ว่าโดยเรื่อง พระสัทธรรม หรือ อสัทธรรม ก็ตาม

    ด้วยเหตุนี้จึงทรงได้รับการขนานพระนามว่าเป็น"ศาสดาเอกของโลก"

    ปฏิจฉันนสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ มาตุคาม ปิดบังเอาไว้จึงจะงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม ๑ มนต์ของพราหมณ์ ปิดบังเข้าไว้จึงรุ่งเรือง เปิดเผยไม่รุ่งเรือง ๑มิจฉาทิฐิ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่าง
    นี้แล ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ดวงจันทร์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑ ดวงอาทิตย์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ฯ

    สัญญาสูตร
    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
    ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่า
    เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
    ประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ
    โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

    ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสนัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
    สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

    ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น
    อารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุ
    ได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ
    โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญา
    อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

    ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผมเหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของ
    พระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๗

    สัญญาสูตร นี่เป็นปฎิสัมภิทามรรค อันทำให้เห็นและรู้ว่า บทธรรมพระสาวกผู้บรรลุปฎิสัมภิทาเสมอกันกับพระพุทธเจ้าทรงแสดงหรือไม่ทรงแสดงก็ตาม มีอยู่ แต่ถึงอย่างไร การแจกแจงขยายธรรมของพระพุทธเจ้าท่านก็ทรงละเอียดกว่า ถึง๒ ระดับ

    หากจะให้ทรงแสดง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงเสมอกันได้

    ผู้ปฎิสัมภิทามี ๑๖ ระดับความสามารถ

    บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา ๑๖ ประการนี้ เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ คือ ผู้หนึ่งถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน
    ผู้หนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒คือ ผู้หนึ่งเป็นพหูสูต ผู้หนึ่งไม่เป็นพหูสูต ผู้เป็นพหูสูตเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งวิเศษกว่าผู้ไม่เป็นพหูสูต และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ แม้ผู้เป็นพหูสูตก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมากด้วยเทศนา ผู้หนึ่งไม่มากด้วยเทศนา ผู้มากด้วยเทศนา เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มากด้วยเทศนา และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทาผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ และผู้มากด้วยเทศนาก็
    มี ๒ คือ ผู้หนึ่งอาศัยครู ผู้หนึ่งไม่อาศัยครู ผู้อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งวิเศษกว่าผู้ไม่อาศัยครู และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูต
    มี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ และผู้อาศัยครูก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีวิหารธรรมมากผู้หนึ่งไม่มีวิหารธรรมมาก ผู้มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีวิหารธรรมมาก และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ และผู้มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีความพิจารณามาก ผู้หนึ่งไม่มีความพิจารณามาก ผู้มีความพิจารณามากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีความพิจารณามาก และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลบรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ และผู้มีความพิจารณามากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งเป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้หนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้เป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งไม่บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้บรรลุถึงสาวกบารมีเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่บรรลุถึงสาวกบารมี และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้บรรลุถึงสาวกบารมีและมีญาณแตกฉาน เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลก พร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้

    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงได้ปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุถึงเวสารัชชญาณ ทรงพละ ๑๐ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ฯลฯ บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฐิด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหาพระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคตรัสบอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค ความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ฉะนี้แล ฯ
    จบมหาปัญญากถา

    เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ

    ๑. ได้ฟังธรรม และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีได้แสดงธรรมไว้

    ๒. ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมา และเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมที่ตนแสดง

    ๓. ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมา และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมที่ตนสาธยาย

    ๔. ได้ตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ตรึกตรองใคร่ครวญ

    ๕. ได้เล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งที่เล่าเรียนมา

    (๑) วิมุตตายตนะ (แดนแห่งวิมุตติ)

    เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน

    พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ

    เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑

    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร

    เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้นที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒

    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร

    เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิด
    ปราโมทย์... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓

    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูปก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ

    เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔

    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา

    เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕

    ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล

    (๒) สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง

    ๑. อนิจจสัญญา (สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง)

    ๒. อนิจเจทุกขสัญญา (สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง)

    ๓. ทุกเขอนัตตสัญญา (สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์)

    ๔. ปหานสัญญา (สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าควรละเสีย)

    ๕. วิราคสัญญา (สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความคลายเสียซึ่งความกำหนัด)

    #ศึกษาธรรมในพระพุทธศาสนา แต่ไม่เอาวิมุตติ ๕ ไม่ค้นหาทางได้มาแห่งวิมุตติ แอบอ้างว่าบรรลุ แต่ก็ไม่รู้วิมุตติ ไม่รู้นิรุตติกถาญานทัสสนะที่เข้าถึง และไม่สามารถนำมาแสดงได้ว่าถึงบทธรรมใด อุทานธรรมใด ที่ใด เวลาใด ทำอะไร อิริยาบถใด และจะไม่มีทางลืมตลอดชีวิต ซึ่งเหตุการณ์นั้น ฯ ล(พระพุทธเจ้าแสดงแก่พระอุบาลี)การตรวจอุตริมนุษยธรรม! (เข้าฌานไปตรวจสอบกันได้) ก็ชื่อว่า ไม่ใช่แนวทางการปฏิบัติและศึกษา ซึ่ง พระสัทธรรม ๓

    อันมี พระปริยัติสัทธรรม พระปฎิบัติสัทธรรม พระปฎิเวธสัทธรรม

    เป็นความหลงผิดเพียง มิจฉาวิมุตติเท่านั้น ย่อมไม่ใช่ พระเสขะ หรือ พระอเสขะ หรือ พุทธบริษัท ๔ ในพระพุทธศาสนานี้

    IMG_5856.jpeg IMG_5858.jpeg IMG_5864.jpeg IMG_5854.jpeg IMG_5865.jpeg IMG_5866.jpeg IMG_5867.jpeg
     
  5. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    #องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวตักเตือน

    ดูกรจุนทะ ศาสดาผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ และธรรมอันพระศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่นำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ว่าสาวกทั้งหลายของศาสดานั้น เป็นผู้ไม่รู้แจ้งอรรถในพระสัทธรรมและพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นปาพจน์อันศาสดาของ สาวกเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทอันรวบรวมไว้พร้อมแล้วทำให้มีปาฏิหาริย์พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดีแก่สาวกเหล่านั้น

    ครั้นต่อมา ความอันตรธานย่อมมีแก่ศาสดาของสาวกเหล่านั้น ดูกรจุนทะ ศาสดาเห็นปานนี้แล เป็นผู้ทำกาละแล้ว ย่อมเป็นเหตุเดือดร้อนในภายหลังแก่สาวกทั้งหลาย

    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าศาสดาผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะได้เกิดแล้วในโลก และธรรมเล่าก็เป็นธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้วเป็นธรรมที่นำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรม ที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ว่าเราทั้งหลายไม่ได้เป็นผู้รู้แจ้งอรรถในพระสัทธรรม และพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง ไม่ได้เป็นปาพจน์อันเราทั้งหลายทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทอันรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มีปาฏิหาริย์พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี

    ครั้นต่อมา ความอันตรธานย่อมมีแก่ศาสดาของเราทั้งหลาย ดูกรจุนทะ ศาสดาเห็นปานนี้แล ทำกาละแล้วย่อมเป็นเหตุเดือดร้อนในภายหลังแก่สาวกทั้งหลาย ฯ

    ดูกรจุนทะ อนึ่ง พระศาสดาผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ และธรรมเล่าก็เป็นธรรมอันพระศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้วเป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ และสาวกทั้งหลายของศาสดานั้นเป็นผู้รู้แจ้งอรรถในสัทธรรม และพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นปาพจน์อันศาสดานั้นทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทอันรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มีปาฏิหาริย์ พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี แก่สาวกเหล่านั้น

    ครั้นต่อมา ความอันตรธานย่อมมีแก่ศาสดาของสาวกเหล่านั้น ดูกรจุนทะ ศาสดาเห็นปานนี้แล ทำกาละแล้ว ย่อมไม่เป็นเหตุเดือดร้อนในภายหลังแก่สาวกทั้งหลาย

    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้ศาสดาผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะก็เกิดขึ้นแล้วในโลก และธรรมเล่าก็เป็นธรรมอันพระศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้
    ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับเป็นธรรมอันท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ และเราทั้งหลายก็ได้เป็นผู้รู้แจ้งอรรถในสัทธรรม ทั้งพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง ก็เป็นปาพจน์อันเราทั้งหลายทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทอันรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มีปาฏิหาริย์ พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี

    ครั้นต่อมา ความอันตรธานย่อมมีแก่ศาสดา ดูกรจุนทะ ศาสดาเห็นปานนี้แล ทำกาละแล้ว ย่อมไม่เป็นเหตุเดือดร้อนในภายหลังแก่สาวกทั้งหลาย ฯ

    IMG_5928.jpeg
     
  6. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    ศึกษาปฎิสัมภิทา เห็นตัวอักษร พระมหาปกรณ์ ด้วยธรรมจักษุได้เมื่อไหร่ ก็ถึงวิมุตติ ๕ ตามลำดับ

    เหล่าปฎิสัมภิทาญานสามารถอัญเชิญองค์พระสัทธรรมได้

    อยากจะไปพระนิพพาน แต่ไม่ถึงวิมุตติ ๕ แม้พระอเสขะผู้ไม่มีไม่ได้ปฎิสัมภิทาญาน ทุกๆรูปยังต้องพิจารณาตามจิตที่วิมุตติ กองวิมุตติเหมือนกัน เพื่อเข้าถึงองค์พระสัทธรรม ในสุญญตาธรรม

    วิมุตติสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ เป็นไฉน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . .
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง- ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . .
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญ ธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจ ธรรมย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔. . .

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้ สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า #สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมใน ธรรมนั้น #ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ เกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุ ธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.
    จบวิมุตติสูตรที่ ๖
    IMG_5930.jpeg
     
  7. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    #เอาตัวให้รอด

    ขอกราบนมัสการพระอรหันต์สาวกเจ้า

    ผู้เล็งเห็นภัยในอนาคต ประกาศนิรุตติญานทัสสนะ ผ่านกาลเวลา เผื่อรักษาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

    เพื่อที่จะรักษารอยพระพุทธบาทอันจารึกหรือจำลองมาซึ่งอานิสงส์ผลบุญแก่พุทธบริษัทและผู้มีจิตศรัทธาแต่หนหลังตามมาในกาลต่อไป

    #เหล่าโมฆะบุรุษอลัชชีเหล่าใดล่วงเกินจาบจ้วงรอยพระพุทธบาท เพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ก็จงเป็นไปตามกรรมที่ได้กระทำไว้นั้นเถิด

    ปทสัญญกเถราปทาน
    ประวัติในอดีตชาติของพระปทสัญญกเถระ
    พระปทสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่าข้าพเจ้าได้เห็นรอยพระบาทที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าติสสะผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงประทับไว้แล้วจึงเป็นผู้มีจิตร่าเริงเบิกบาน ทำจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาท

    ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไปข้าพเจ้าได้ความทรงจำในรอยพระบาทในครั้งนั้นจึงไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่งความทรงจำในรอยพระบาท

    ในกัปที่ ๗ นับจากกัปนี้ไปได้เป็นกษัตริย์ผู้จักรพรรดิพระนามว่าสุเมธะสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก

    คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้วคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล้วได้ทราบว่า ท่านพระปทสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
    ปทสัญญกเถราปทานจบ

    นี้เป็นอานิสงค์ ในการจดจำ ซึ่งรอยพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า

    ———————————

    โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
    ประวัติในอดีตชาติของพระโกรัณฑปุปผิยเถระ
    พระโกรัณฑปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่าข้าพเจ้าได้เห็นรอยพระบาท
    ซึ่งประดับด้วยเครื่องประดับคือจักรที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสีผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทรงเหยียบไว้
    จึงเดินตามรอยพระบาทไปข้าพเจ้าได้เห็นต้นหงอนไก่ มีดอกบานจึงนำไปบูชาพร้อมทั้งราก มีจิตร่าเริงเบิกบานจึงได้ไหว้รอยพระบาทที่ล้ำเลิศ

    ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไปข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
    จึงไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

    ในกัปที่ ๕๗ นับจากกัปนี้ไปข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่งพระนามว่าวีตมละสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก

    คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้วคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล้วได้ทราบว่า ท่านพระโกรัณฑปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
    โกรัณฑปุปผิยเถราปทานจบ

    นี้เป็นอานิสงค์ ในการถวายเครื่องสักการะ บูชา ด้วยดอกไม้ ( ดอกหงอนไก่ )

    —————————————
    สโกสกโกรัณฑทายกเถราปทาน
    ประวัติในอดีตชาติของพระสโกสกโกรัณฑทายกเถระ
    พระสโกสกโกรัณฑทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่าข้าพเจ้าได้พบรอยพระบาทที่พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกทรงเหยียบไว้จึงห่มหนังสัตว์เฉวียงบ่าได้ไหว้รอยพระบาทที่ประเสริฐแล้ว

    เห็นต้นหงอนไก่งอกขึ้นอยู่บนแผ่นดินมีดอกบานสะพรั่งจึงเด็ดถือมาพร้อมทั้งก้านได้บูชารอยพระบาทที่วิจิตรด้วยลายจักร

    ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไปข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
    จึงไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
    คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้วคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล้วได้ทราบว่า ท่านพระสโกสกโกรัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
    สโกสกโกรัณฑทายกเถราปทานจบ

    IMG_5931.jpeg
     
  8. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    #ความเดือดร้อนไม่มีในผู้มีจิตใจสงบสำรวมระวัง! แต่ผู้โจทผิดย่อมเดือดร้อนทั้งปัจจุบันและสัมปรายภพหน้า

    อวชฺเช วชฺชมติโน
    วชฺเช อวชฺชทสฺสิโน
    มิจฺฉาทิฏฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคตึ ฯ

    วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา
    อวชฺชญฺจ อวชฺชโต
    สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ ฯ

    สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้
    มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ”

    สัตว์ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมมีโทษ
    รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ
    ย่อมไปสู่สุคติ.

    โจทนาสูตร
    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายในก่อนแล้วจึงโจทผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ธรรมว่า เราจักกล่าวโดย
    กาลควร จักไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร ๑
    จักกล่าวด้วยเรื่องจริง จักไม่กล่าวด้วยเรื่องไม่จริง ๑
    จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ ๑
    จักกล่าวด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
    จักเป็นผู้มีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้เพ่งโทษกล่าว ๑
    ดูกรอาวุโสภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ภายในก่อนแล้วจึง
    โจทผู้อื่น ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ถูกผู้อื่นโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องไม่จริง
    ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วย
    เมตตาจิต ก็โกรธ ฯ

    ดูกรอาวุโส ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ
    ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาล
    ควร ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลควร ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่าน
    จึงควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำอ่อนหวาน ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่โจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน

    ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะว่า ภิกษุแม้รูปอื่นไม่พึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องไม่จริง ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ก็โกรธ

    ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ก็โกรธ ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบก็โกรธ

    ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยเพ่งโทษก็โกรธ ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ คือ

    ท่านถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบ
    ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจท
    ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ดูกรอาวุโสทั้งหลายความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ นี้ ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทโดยเป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ

    ท่านโจทโดยกาลควร ไม่โจทโดยกาลไม่ควรท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่โจทด้วยคำหยาบ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยเมตตาจิต ไม่โจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อนภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะว่าภิกษุแม้รูปอื่นพึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องจริง ฯ
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อันบุคคลผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือความจริง และความไม่โกรธ ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (ถ้า) ผู้อื่นพึงโจท (เรา) ด้วยธรรม ๕ ประการ
    คือ พึงโจทโดยกาลควรหรือโดยกาลไม่ควร ๑
    ด้วยเรื่องจริงหรือด้วยเรื่องไม่จริง ๑
    ด้วยคำอ่อนหวานหรือด้วยคำหยาบ ๑
    ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือ
    ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
    ด้วยเมตตาจิตหรือด้วยเพ่งโทษ ๑
    แม้เราก็พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริงและความไม่โกรธ ถ้าเราพึงทราบว่าธรรมนั้นมีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่า มีอยู่ ว่าธรรมนั้นมีอยู่พร้อมในเรา ถ้าเราพึงทราบว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่า
    ไม่มีอยู่ ว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่พร้อมในเรา ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เรื่องก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แต่ว่า

    โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับโดยเคารพ ฯ

    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มิใช่ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด
    มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่งเหลาะแหละ ปากกล้า พูดพล่าม ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เพ่งถึงความเป็นสมณะ

    ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิดทอดธุระในวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีสติเลอะเลือน ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มีจิตมั่นคง มีจิตฟุ้งซ่าน มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย คนเหล่านั้น
    เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่รับโดยเคารพ

    ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่เหลาะแหละ
    ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
    รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร เพ่งถึงความเป็นสมณะ

    มีความเคารพกล้าในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน
    ทอดธุระในการล่วงละเมิดเป็นหัวหน้าในวิเวก
    ปรารภความเพียร อบรมตน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะมีจิตมั่นคง มีจิตเป็นหนึ่ง มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย กุลบุตรเหล่านั้นเมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ย่อมรับโดยเคารพ ฯ

    พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย จงยกไว้ (ยกเว้น) ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย

    ดูกรสารีบุตร เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ ด้วยหวังว่าเราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรมเธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล สารีบุตร ฯ
    จบสูตรที่ ๗

    พระอัครสาวกพาภิกษุ ๕๐๐ กลับ
    สมัยนั้น พระเทวทัตอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม แล้วนั่งแสดงธรรมอยู่ เธอได้เห็นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ มาแต่ไกล จึงเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เห็นไหม ธรรมเรากล่าวดีแล้ว พระสารีบุตรโมคคัลลานะอัครสาวกของพระสมณโคดม พากันมาสู่สำนักเรา ต้องชอบใจธรรม
    ของเรา เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ ได้กล่าวกะพระเทวทัตว่า ท่านเทวทัต ท่านอย่าไว้วางใจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแก่ความปรารถนาลามก พระเทวทัตกล่าวว่าอย่าเลย คุณ ท่านทั้งสองมาดี เพราะชอบใจธรรมของเรา

    ลำดับนั้น ท่านพระเทวทัตนิมนต์ท่านพระสารีบุตรด้วยอาสนะกึ่งหนึ่งว่ามาเถิด ท่านสารีบุตร นิมนต์นั่งบนอาสนะนี้ ท่านพระสารีบุตรห้ามว่า อย่าเลยท่าน
    แล้วถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระเทวทัตแสดงธรรมกถาให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง หลายราตรี แล้วเชื้อเชิญท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะท่าน เราเมื่อยหลังจักเอน ท่านพระสารีบุตรรับคำพระเทวทัตแล้ว ลำดับนั้น พระเทวทัตปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วจำวัตรโดยข้างเบื้องขวาเธอเหน็ดเหนื่อยหมดสติสัมปชัญญะ ครู่เดียวเท่านั้น ก็หลับไป ฯ

    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอน พร่ำสอน ภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ขณะเมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ด้วยอนุศาสนีเจือด้วยอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอันท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ ด้วยอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ดวงตาเห็นธรรมที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ท่านทั้งหลาย เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้ใดชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา

    ครั้งนั้น พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ พาภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นเข้าไปทางพระเวฬุวัน
    ครั้งนั้น พระโกกาลิกะปลุกพระเทวทัตให้ลุกขึ้นด้วยคำว่าท่านเทวทัต ลุกขึ้นเถิด พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะพาภิกษุเหล่านั้นไปแล้ว เราบอกท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าไว้วางใจพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความปรารถนาลามก ถึงอำนาจความปรารถนาลามกครั้งนั้น โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต ในที่นั้นเอง ฯ

    ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย พึงอุปสมบทใหม่

    พ. อย่าเลย สารีบุตร เธออย่าพอใจการอุปสมบทใหม่ของพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายเลย ดูกรสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายแสดงอาบัติถุลลัจจัย ก็เทวทัตปฏิบัติแก่เธออย่างไร
    ส. พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วได้รับสั่งกะข้าพระพุทธเจ้าว่า ดูกรสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งแก่เธอ เราเมื่อยหลัง ดังนี้ ฉันใด พระเทวทัต ก็ได้ปฏิบัติฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่อยู่ในราวป่า ช้างทั้งหลายอาศัยสระนั้นอยู่และพวกมันพากันลงสระนั้น เอางวงถอนเหง้าและรากบัวล้างให้สะอาดจนไม่มีตมแล้วเคี้ยวกลืนกินเหง้าและรากบัวนั้น เหง้าและรากบัวนั้น ย่อมบำรุงวรรณะและกำลังของช้างเหล่านั้น และช้างเหล่านั้นก็ไม่เข้าถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตายมีข้อนั้นเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนลูกช้างตัวเล็กๆ เอาอย่างช้างใหญ่เหล่านั้นและพากันลงสระนั้น เอางวงถอนเหง้าและรากบัวแล้วไม่ล้างให้สะอาดเคี้ยวกลืนกินทั้งที่มีตม เหง้าและรากบัวนั้น ย่อมไม่บำรุงวรรณะและกำลังของลูกช้างเหล่านั้นและพวกมันย่อมเข้าถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตเลียนแบบเราจักตายอย่างคนกำพร้า อย่างนั้นเหมือนกัน ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประพันธคาถา ว่าดังนี้
    เมื่อช้างใหญ่คุมฝูง ขุดดิน กินเหง้าบัวอยู่ในสระใหญ่ ลูกช้างกินเหง้าบัวทั้งที่มีตมแล้วตาย ฉันใด เทวทัตเลียนแบบเราแล้ว จักตายอย่างคนกำพร้า ฉันนั้น ฯ

    IMG_5919.jpeg
     
  9. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27


    #พระเครื่ององค์แรกที่หลุดหายจากคอตอน 5ขวบ 2529
    #หลวงปู่แหวน
    #จากนั้นมาก็หลุดทุกองค์
    #คุณสมบัติพุทธภูมิ

    IMG_6401.jpeg

    ลงเขาถึงตีนเขาเดินป่าเข้าเมืองเมื่อไหร่ก็จะได้รู้กัน!

    IMG_5606.jpeg IMG_5538.jpeg
    IMG_6360.jpeg

    #เหตุปัจจัยแห่งเนกขัมบารมี

    ควาญช้างรังแกช้างตกมัน! ผลกรรม ผลกระทบ เรื่อง กามคุณ ๕ มิใช่น้อยๆ

    #ฝืนธรรมชาติ

    #โดนเหมือนกันหมด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2024
  10. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    #คุรุมาร

    เหนือกว่าคุรุกูรูอื่นๆทั้งสิ้น

    #โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์!

    เพื่อฉุดช่วยสรรพสัตว์

    #ฝ่ายอสัทธรรม ระดับพญามาร
    #ฝ่ายอวิชชามาร ปัญญามาร

    #แขนงอื่นๆยังมีอีก

    #ถือเป็นการแจ้งเตือน!ในสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น

    #ถือสัจจะคือความเป็นจริง

    #เมื่อรู้ก็ต้องรู้ให้จริงเห็นให้ชัด ทำปรากฎให้ได้ แล้วจึงวิสัชนา

    สัทธรรมปฎิรูปคือกบฏ
    อสัทธรรมคือพวกล่าอาณานิคม

    มารสอนได้แค่สัทธรรมปฎิรูป ไม่สามารถสอนพระสัทธรรมได้ ผู้ที่หลงก็หลงสัทธรรมปฎิรูป เมื่อเป็นทองปลอมก็ไม่สามารถชี้สภาวะได้ เพราะไม่ใช่ฐานะแห่งมาร มารที่ยิ่งใหญ่บารมีเป็นเลิศก็จะสอนอสัทธรรมที่มีอานุภาพตรงกันข้ามคืออวิชชาซึ่งแตกต่างจะวิชชา เมื่อปฎิบัติธรรมด้วยกายวาจาใจ ทุกอย่างก็ไม่เป็นตัวตน เพราะกลายเป็นธรรมขันธ์ เป็นธรรมกาย เพื่อจักเจริญเข้าสู่ทิพย์ภูมิแห่งการหลุดพ้นปล่อยวางความรู้อันสูงสุด

    ปัญญัติสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบัญญัติซึ่งสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพ (ใหญ่) อสุรินทราหูเป็นเลิศบรรดาบุคคลผู้บริโภคกาม พระเจ้ามันธาตุราชเป็นเลิศ บรรดาผู้ใหญ่ยิ่ง มารผู้มีบาปเป็นเลิศ

    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันโลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลกทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ
    บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพ (ใหญ่) อสุรินทราหูเป็นเลิศ

    บรรดาบุคคลผู้บริโภคกาม พระเจ้ามันธาตุราชเป็นเลิศ

    บรรดาผู้ใหญ่ยิ่ง มารเป็นเลิศ

    พระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ อันโลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลก ทั้งเทวดาและมนุษย์ ทั่วภูมิเป็นที่อยู่ของสัตว์ ทั้งเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องต่ำ ฯ
    จบสูตรที่ ๕

    #ดวงตาเห็นอวิชชา
    #ตามาร

    #นิทานเรื่องเล่าแขนงหนึ่งแบบ เบียวๆ (จูนิเบียว)
    #ในอดีต จขกท.เคยเข้าถึงสภาวะวิเศษมารต่อหน้าธารกำนัลนับ100 คือเหล่าบุคคลจากสถานพินิจ 17-45ปี บุคคลต้องโทษคดีต่างๆ จาก 3 จชต. ซึ่งไม่มีใครควบคุมได้ ส่งใครไปควบคุม ก็โดนทำร้ายร่างกายหมด ภาระหน้าที่ตกเป็นของ จขกท.(ถาม ผอ.อาชีวะ หนองแคดูได้)

    ตัดมาเรื่องลี้แต่ไม่ลับเพียงบริกรรมมนต์ตามลัทธิความเชื่อนั้นๆ ตัวอักขระในคัมภีร์นั้นๆ สีดำได้ล่องลอยออกมาแล้วอ่านออกเสียงเอง ประกอบกับปาฎิหาริย์มาร อิทธิฤทธิ์มาร ความหวั่นไหวสั่นสะเทือน แม้มารจักษุก็บังเกิด ทะลวงทะลุดวงดาว ผู้ที่อยู่ใกล้สุด ผู้ควบคุมจากสถานพินิจยะลา ซึ่งช๊อกตายไปแล้ว!

    #ใครสงสัยไปถามผู้นำศาสนาสถานแถวนั่นดูว่า ปี53 เคสมีคนถูกฟ้าผ่าเข้ามาสวดทำพิธีช่วยชีวิตไหม?

    มะ: ครูเซี่ยงครับ นี่มันเกิดอะไรขึ้น! ผมไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อนเลย ตั่วสั่นผวาเข้ามากอดจับ จขกท.ขณะนั่งบริกรรมอยู่

    #ปรารถนาจะทำการอันใด ก็สามารถทำลายล้างบุคคลหรือสถานที่ได้ตามประสงค์ด้วยการเข้าควบคุมธาตุ ๔

    ด้วยความชำนาญทางจิต

    ก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์พินาศหวั่นไหว เป็นที่อัศจรรย์ ในการควบคุม ดินฟ้าอากาศแม้สายฟ้าพิโรธ ที่อาคารที่พักสวนส้ม หนองแค สระบุรี ปี53 เมฆสีดำทมึน พายุก่อตัวขึ้นเหมือนในหนังจอมมารปีศาจพ่อมดแม่มด

    ความหวาดหวั่นน่าสะพรึงกลัวในอิทธิฤทธิ์ที่ตนเข้าถึงได้บังเกิดขึ้น เกิดความเมตตา กรุณา ขึ้นมาทันทีว่า หากเป็นผู้อื่นเข้าถึง ภายใต้อำนาจนี้ สรรพสัตว์ทั้งหลายฯ จะอยู่ได้อย่างไร

    และนี่คือการปรากฏการณ์ ที่ทำให้เกิดมหากุศลจิต ขึ้นมาเพื่อต่อต้านมหาอกุศลจิตของตนเอง

    ถาม:หาก จขกท.ไม่ออกจากอสัทธรรม ไม่ละทิ้งอวิชชา ท่านผู้เจริญในยุคปัจจุบันจะเอาปัญญาอะไรมาสู้

    #เหล่าปฎิสัมภิทามีความสามารถแบบนี้!ด้วยกันทั้งนั้น!

    ด้วยเหตุนี้ผู้หวังความเจริญใน ฌาน อภิญญา ฯ ระดับสูง ควรเรียนและศึกษาในปฎิสัมภิทาญาน

    #คุรุกูรูระดับธรรมดา
    ในสมัยพุทธกาลมีสมณพราหมณ์เจ้าลัทธิต่างๆ จำนวนมาก แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของมหาชนมีอยู่ 6 ท่าน คือ ปูรณกัสสปะ มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะสัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถนาฏบุตร เจ้าลัทธิเหล่านี้ แม้แต่พระราชามหากษัตริย์ เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าปเสนทิโกศล ก็ยังหาโอกาสไปสนทนาสอบถามปัญหาทางปรัชญาด้วยครูแต่ละท่านมีบริษัทบริวารคนละหลายร้อย และทั้ง 6 ท่านนี้ต่างก็กล่าวว่าตนเป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ แต่ถึงกระนั้นเมื่อถูกถามปัญหายากๆ และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ครูทั้ง 6 ท่านก็ยังแสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏอยู่สำหรับประวัติและคำสอนของครูทั้ง 6 มีดังต่อไปนี้

    1. ปูรณกัสสปะ
    พระพุทธโฆษาจารย์กล่าวว่า ปูรณกัสสปะเกิดในวรรณะพราหมณ์ วัยเด็กได้เป็นคนรับใช้ในตระกูลหนึ่งซึ่งมีคนรับใช้อยู่ 99 คน รวมปูรณกัสสปะอีกคนหนึ่งเป็น 100 คน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เขาได้ชื่อว่า ปูรโณ เพราะทำให้ทา ในเรือนครบ 100 คน วันหนึ่งเขาหนีออกจากเรือน ระหว่างทางพวกโจรชิงเอาผ้าของเขาไป เขาเดินเข้าไปในบ้านตำบลหนึ่งทั้งๆ ที่เปลือยกาย พวกมนุษย์เห็นเขาแล้วคิดว่าสมณะนี้เป็นพระอรหันต์ ผู้มักน้อย ผู้ที่จะเสมอเหมือนกับสมณะนี้ไม่มี จึงนำของหวานและของคาวเข้าไปสักการะ ปูรณกัสสปะคิดว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะเราไม่นุ่งผ้า ตั้งแต่นั้นมาแม้ได้ผ้ามาก็ไม่นุ่ง เขาถือเอาการไม่นุ่งผ้านั่นแหละเป็นบรรพชา ต่อมามีกุลบุตรมาเป็นศิษย์จำนวนมาก
    ลัทธิของปูรณกัสสปะจัดอยู่ในประเภท "อกิริยวาทะ" หมายถึง ลัทธิที่ถือว่าทำแล้วไม่เป็นอันทำ ดังที่ครูปูรณกั ปะกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่า บุคคลทำบาปเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นทำบาป เบียดเบียนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ทำชู้กับภริยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป การทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีบาปมาถึงเขาแม้การทำบุญก็เหมือนกัน การให้ทาน การฝึกอินทรีย์ การสำรวมศีล การกล่าวคำสัตย์ การทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีบุญมาถึงเขา คำ สอนในลัทธินี้จึงต่างกับหลักกฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา

    2. มักขลิโคสาล
    มักขลิโคสาลเป็นบุตรพราหมณ์ชื่อ มักขลิ มารดาชื่อ ภัททา อาศัยอยู่หมู่บ้านสาลวันใกล้เมืองสาวัตถี พระพุทธโฆษาจารย์กล่าวว่า คำว่า โคสาละ แปลว่าผู้เกิดในโรงโค วัยเด็กเป็นคนรับใช้ในตระกูลหนึ่ง วันหนึ่งเขาถือหม้อน้ำมันเดินไปบนพื้นดินที่มีโคลน นายบอกว่า อย่าลื่นนะพ่อ เขาลื่นล้มลงด้วยความเผอเรอแล้ววิ่งหนีไปเพราะกลัวนาย แต่นายวิ่งไปจับชายผ้าไว้ทันเขาจึง ลัดผ้าทิ้งแล้วหนีไป ขณะเดินเข้าไปในบ้านตำบลหนึ่งทั้งๆ ที่เปลือยกาย พวกมนุษย์เห็นเขาแล้วก็มีจิตศรัทธาเช่นเดียวกับกรณีของท่านปูรณกัสสปะ ภายหลังมักขลิโคสาลจึงตั้งลัทธิขึ้นและมีลูกศิษย์จำนวนมากเช่นกัน
    ลัทธินี้ไม่ยอมรับอาหารที่เขาเจาะจงถวาย ไม่รับอาหารขณะมีสุนัขอยู่ข้างๆ หรือแมลงวันตอมอยู่ เพราะถือว่าเป็นการแย่งความสุขของผู้อื่น ไม่รับประทานปลา เนื้อ ไม่ดื่มสุราและของมึนเมา ไม่สะสมข้าวปลาอาหารยามข้าวยากหมากแพง
    ลัทธิของมักขลิโคสาลจัดอยู่ในประเภท "นัตถิกวาทะ" คือ ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยดังที่ครูมักขลิโคสาลกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่า ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลายสัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้หาปัจจัยมิได้ย่อมเศร้าหมอง ย่อมไม่มีเหตุย่อมไม่มีปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลายสัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้หาปัจจัยมิได้ย่อมบริสุทธิ์ ไม่มีการกระทำของตนเองไม่มีการกระทำของผู้อื่นสัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวงชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย เร่ร่อนท่องเที่ยวไป แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ความสมหวังว่าเราจักอบรมกรรมที่ยังไม่อำนวยผลให้
    อำนวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อำนวยผลแล้วจักทำให้สุดสิ้นด้วยศีล ด้วยพรตด้วยตบะหรือด้วยพรหมจรรย์นี้ไม่มีในที่นั้นสุขทุกข์ทำให้สิ้นสุดได้เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนานย่อมไม่มีในสงสารด้วยอาการอย่างนี้เลย ไม่มีความเสื่อมความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นเลื่อนลงพาลและบัณฑิต เร่ร่อน ท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดทุกข์ได้เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไปย่อมคลี่ขยายไปเอง แนวคำสอนนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่าไร้ประโยชน์ที่สุดในบรรดาลัทธิทั้งหลายลัทธินี้สืบต่อกันมาไม่นานก็ขาดหายไป

    3. อชิตเกสกัมพล
    อชิตเกสกัมพลเป็นผู้มีชื่อเสียงก่อนพุทธกาลเล็กน้อย คำว่า เกสกัมพล แปลว่า ผู้มีผ้านุ่งผ้าห่มที่ทำด้วยผม เป็นผ้าที่หยาบและน่าเกลียด มีแนวความคิดหนักไปในวัตถุนิยมยิ่งกว่าลัทธิใด มีแนวคิดรุนแรงคัดค้านคำสอนทุกลัทธิรวมทั้งพระพุทธศาสนาด้วย
    ลัทธิของอชิตเกสกัมพลจัดอยู่ในประเภท "อุจเฉทวาทะ" คือ ลัทธิที่ถือว่าตายแล้วขาดสูญดังที่ครูอชิตเกสกัมพลกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่น รวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดา บิดาไม่มีคุณสัตว์ผู้เกิดแบบโอปปาติกะไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติชอบซึ่งกระทำโลกนี้และโลกอื่นให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้ง 4 เมื่อตาย ธาตุดินก็จะไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็จะไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟก็จะไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็จะไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลาย
    จะหามเขาไปยังป่าช้า กลายเป็นกระดูกมีสีดุจสีนกพิราบสิ่งที่ได้จากการเซ่น รวงคือขี้เถ้าเท่านั้นทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของคนบางพวกพูดว่ามีผล ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะเมื่อกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้น ตายแล้วเป็นอันดับสนิทไม่มีการเกิดอีก

    4. ปกุธกัจจายนะ
    เล่ากันว่าปกุธกัจจายนะเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในวัยเด็กมีความสนใจทางศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อโตขึ้นจึงออกบวชแสวงหาโมกขธรรม เมื่อคิดว่าตนบรรลุธรรมแล้ว ก็ตั้งตัวเป็นอาจารย์สั่งสอนประชาชน
    ปกุธกัจจายนะเป็นผู้ห้ามน้ำเย็น แม้จะถ่ายอุจจาระก็ไม่ใช้น้ำเย็นล้างเขาใช้เฉพาะน้ำร้อนหรือน้ำข้าวเท่านั้น การเดินผ่านแม่น้ำหรือเดินลุยแอ่งน้ำบนถนนถือว่าศีลขาด เมื่อศีลขาดเขาจะก่อทรายทำเป็นสถูปแล้วอธิษฐานศีล จากนั้นจึงค่อยเดินต่อไป
    ลัทธิของปกุธกัจจายนะจัดอยู่ในประเภท "นัตถิกวาทะ" หมายถึง ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเช่นเดียวกับลัทธิของมักขลิโคสาล ดังที่ปกุธกัจจายนะกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่าสภาวะ 7 กอง คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลมสุข ทุกข์ และชีวะ สภาวะเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครเนรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขาตั้งมั่นดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดีผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทำให้เข้าใจความก็ดีไม่มีในสภาวะ 7 กองนั้น บุคคลจะเอาศา ตราอย่างคม
    ตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใครๆ ปลงชีวิตใครๆ เป็นแต่ศาสตราสอดเข้าไปตามช่องแห่ง สภาวะ 7 กองเหล่านี้เท่านั้น คำสอนของปกุธกัจจายนะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัสตทิฏฐิ คือ เห็นว่าโลกเที่ยงซึ่งเป็นคำสอนที่ตรงข้ามกับ "อุจเฉทวาทะ" คือ ลัทธิที่ถือว่าตายแล้วขาดสูญของอชิตเก กัมพล และตรงข้ามกับคำสอนในพระพุทธศาสนาด้วย

    5. สัญชัยเวลัฏฐบุตร
    สัญชัยเวลัฏฐบุตรเป็นคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระมหาโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเมื่อครั้งยังเป็นอุปติสะและโกลิตมานพก็เคยศึกษาอยู่กับท่านซึ่งเป็นเจ้าลัทธิของพวกปริพาชก ตั้งสำนักเผยแพร่อยู่ที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ชาวมคธเป็นจำนวนมากต่างนับถือในเจ้าลัทธินี้ แต่เมื่ออุปติสะและโกลิตมานพพร้อมบริวารจำนวนมากออกจากสำนักไปขอบวชกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสัญชัยเวลัฏฐบุตรจึงกระอักเลือดจนถึงแก่มรณกรรม
    ลัทธิของสัญชัยเวลัฏฐบุตรจัดอยู่ในประเภท "อมราวิกเขปวาทะ" คือ เป็นลัทธิที่หลบเลี่ยงไม่แน่นอน ดังที่สัญชัยเวลัฏฐบุตรกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่าถ้ามหาบพิตรตรัสถามอาตมภาพว่า โลกอื่นมีอยู่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้ามหาบพิตรตรัสถามอาตมภาพว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่หรือถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ก็มิใช่อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายเกิดอีกหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า เกิดอีก ก็จะพึงทูลตอบว่าเกิดอีก ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่...
    พระเจ้าอชาตศัตรูทรงดำริว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านี้สัญชัยเวลัฏฐบุตรนี้โง่กว่าเขาทั้งหมด งมงายกว่าเขาทั้งหมด เพราะแนวคำสอนกลับกลอก เอาแน่นอนไม่ได้ไม่สามารถบัญญัติอะไรตายตัวได้ เพราะกลัวผิดบ้าง ไม่รู้บ้าง พูดซัดส่ายเหมือนปลาไหลในกรตังคสูตร กล่าวประณามว่า เป็นลัทธิคนตาบอด ไม่สามารถนำตนและผู้อื่นให้เข้าถึงความจริงได้ มีปัญญาทราม โง่เขลาไม่กล้าตัดสินใจใดๆ ได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากไม่รู้จริงอย่างถ่องแท้

    6. นิครนถนาฏบุตร
    นิครนถนาฏบุตร หรือศาสดามหาวีระ เกิดที่กุณฑคาม เมืองไวสาลี แคว้นวัชชีของพวกเจ้าลิจฉวี มหาวีระเป็นศิษย์ของท่านปาร์ศวา ซึ่งเป็นศาสดาองค์ที่ 23 ในศาสนาเชนผู้มีอายุห่างจากท่านมหาวีระถึง 250 ปี ท่านมหาวีระเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ได้สั่งสอนอยู่ 30 ปี จึงมรณภาพ ภายหลังเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นสาวกของนิครนถนาฏบุตรจำนวนมากได้เปลี่ยนมาเป็นพุทธสาวก
    ลัทธิของนิครนถนาฏบุตรปัจจุบันเรียกว่า ศาสนาเชน ลัทธินี้จัดอยู่ในประเภท "อัตตกิลมถานุโยค" คือ เป็นลัทธิที่ถือว่าการทรมานตนเองเป็นการเผากิเลส เป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่เรียกว่า โมกษะ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ ศาสนาเชนสอนว่า แก้ว 3 ดวง คือ มีความเห็นชอบ มีความรู้ชอบ มีความประพฤติชอบ จะนำไปสู่โมกษะได้ พระเจ้าเป็นเรื่องเหลวไหล พระเจ้าไม่สามารถบันดาลทุกข์สุขให้ใครได้ ทุกข์สุขเป็นผลมาจากกรรม การอ้อนวอนเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ไม่มีสาระ
    นักบวชเชนต้องรักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด คือ เว้นจากการฆ่าสิ่งที่มีชีวิตรวมทั้งพืชด้วยเว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้นจากการประพฤติผิดในกามและไม่ยินดีในกามวัตถุส่วนศาสนิกชนเชนต้องรักษาศีล 12 อย่างเคร่งครัดคือ เว้นจากการทำลายสิ่งที่มีชีวิต เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี เว้นจากอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความชั่ว เช่น การเที่ยวเตร่ รู้จักประมาณในการใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภค เว้นจากทางที่ก่อให้เกิดอาชญาให้ร้าย ไม่ออกพ้นเขตไม่ว่าทิศใดทิศหนึ่งยามบำเพ็ญพรต บำเพ็ญพรตทุกเทศกาล อยู่จำอุโบสถศีล ให้ทานแก่พระ และต้อนรับแขกผู้มาเยือน
    เชนนับเป็นศาสนาที่ถือหลักการไม่เบียดเบียนหรืออหิงสาอย่างเอกอุ เป็นศาสนาที่มีแนวคิดใกล้เคียงกันกับพระพุทธศาสนา แม้แต่การสร้างพระพุทธรูป ถ้าดูอย่างผิวเผินก็ไม่เห็นความแตกต่างกันมากนัก ยกเว้นจะเปลือยกายและมีดอกจันทน์ที่หน้าอกเท่านั้น ปัจจุบันมีเชนศาสนิกชนประมาณ 6 ล้านคนทั่วอินเดีย โดยมากจะมีฐานะดี เพราะเป็นพ่อค้าเสียส่วนใหญ่เนื่องจากทำการเกษตรไม่ได้จะเป็นการผิดศีล เพราะเชนถือว่าพืชก็มีชีวิต การเกี่ยวข้าวตัดหญ้าเป็นบาปทั้งสิ้น ต่อมาหลังพุทธปรินิพพาน 240 ปี ศาสนาเชนก็แตกออกเป็น 2 นิกาย คือ นิกายทิฆัมพร ซึ่งเป็นนิกายดั้งเดิมที่เคร่งครัดไม่นุ่งห่มผ้า และนิกายเสวตัมพร จะนุ่งขาวห่มขาวไว้ผมยาว แต่งตัวสะอาด และคบหากับผู้คนมากกว่านิกายเดิมที่เน้นการปลีกตัวอยู่ต่างหาก

    สุภัททะ ปัจฉิมสิกขิสาวก (สาวกผู้ทันเห็นองค์สุดท้าย) ของพระพุทธเจ้า เรียกสั้นๆ ว่า ปัจฉิมสาวก
    เดิมเป็นพราหมณ์ตระกูลใหญ่ ต่อมาออกบวชเป็นปริพาชก อยู่ในเมืองกุสินารา ในวันที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน สุภัททปริพาชกได้ยินข่าวแล้ว คิดว่าตนมีข้อสงสัยอยู่อย่างหนึ่ง อยากจะขอให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อแก้ข้อสงสัยนั้นเสียก่อนที่จะปรินิพพาน จึงเดินทางไปยังสาลวัน ตรงไปหาพระอานนท์ แจ้งความประสงค์ขอเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระอานนท์ได้ห้ามไว้ เพราะเกรงว่าพระองค์เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้ว จะเป็นการรบกวนให้ทรงลำบาก สุภัททปริพาชกก็คะยั้นคะยอจะขอเข้าเฝ้าให้ได้
    พระอานนท์ก็ยืนกรานห้ามอยู่ถึง ๓ วาระ จนพระผู้มีพระภาคทรงได้ยินเสียงโต้ตอบกันนั้น จึงตรัสสั่งพระอานนท์ว่า สุภัททะมุ่งหาความรู้ มิใช่ประสงค์จะเบียดเบียนพระองค์ ขอให้ปล่อยให้เขาเข้าเฝ้าเถิด สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้าแล้ว ทูลถามว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย คือ เหล่าครูทั้ง ๖ นั้น ล้วนได้ตรัสรู้จริงทั้งหมดตามที่ตนปฏิญญา หรือได้ตรัสรู้เพียงบางท่านหรือไม่มีใครตรัสรู้จริงเลย
    พระพุทธเจ้าทรงห้ามเสียและตรัสว่าจะทรงแสดงธรรม คือ หลักการหรือหลักความจริงให้ฟัง แล้วตรัสว่า
    อริยมรรคมีองค์ ๘ หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด สมณะ (คืออริยบุคคลทั้ง ๔) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น
    อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยใด สมณะก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น
    อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะทั้ง ๔ จึงมีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะ
    และตรัสสรุปว่า
    ถ้าภิกษุทั้งหลายเป็นอยู่โดยชอบ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
    เมื่อจบพระธรรมเทศนา สุภัททปริพาชกเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท
    พระพุทธเจ้าตรัสสั่งพระอานนท์ให้บวชสุภัททะในสำนักของพระองค์ โดยประทานพุทธานุญาตพิเศษให้ยกเว้นไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส
    ท่านสุภัททะบวชแล้วไม่นาน (อรรถกถาว่าในวันนั้นเอง) ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
    นับเป็นพุทธปัจฉิมสักขิสาวก

    กากสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    บทว่า ธํสี ได้แก่ ผู้กำจัดคุณ ไม่เอื้อถึงคุณของใครๆ แม้เขาเอามือจับก็กำจัดเสีย ยังถ่ายอุจจาระรดบนศีรษะ.
    บทว่า ปคพฺโภ ได้แก่ ประกอบด้วยความคะนอง ไร้ยางอาย.
    ตัณหาความอยาก ท่านเรียกว่าตินติณะ ในบทว่า ตินฺติโณ ประกอบด้วยความอยากนั้น หรือมากด้วยความน่ารังเกียจ.
    บทว่า ลุทฺโท แปลว่า หยาบช้า.
    บทว่า อการุณิโก แปลว่า ไร้กรุณา.
    บทว่า ทุพฺพโล ได้แก่ ไม่มีกำลังมีแรงน้อย.
    บทว่า โอรวิตา ได้แก่ บินไปร้องไป.
    บทว่า เนจยิโก ได้แก่ ทำการสะสม.

    จบอรรถกถากากสูตรที่ ๗

    สัทธรรมาสัทธรรมสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัทธรรมและอสัทธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัทธรรมเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เราเรียกว่าอสัทธรรม

    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สัทธรรมเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เราเรียกว่าสัทธรรม ฯ
    จบสูตรที่ ๓

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้ ๗ประการเป็นไฉน คือ อสัตบุรุษเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ไม่มีโอตตัปปะ ๑ ไม่มีสุตะ (ไม่สดับฟังพระธรรม) ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ มีสติหลงลืม ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๗ ประการนี้ ๗ ประการนี้เป็นไฉน คือสัตบุรุษเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ เป็นพหูสูต ๑ปรารภความเพียร ๑ มีสติ ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัทธรรม ๗ ประการนี้แล.

    รูปธรรมสมบัติในพระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งเดียว และได้ผลอันเป็นรสเดียว ไม่มีคำว่า จะสามารถถ่ายทอดมาได้ด้วยคุณสมบัติอื่นและนั่นย่อมเป็นรสอื่นได้

    เมื่อผู้ทำการถ่ายทอดด้วยกิเลสและตัณหา ย่อมเป็น ธรรมปลอม เป็นวลีปลอม สัตว์ที่เนื่องด้วยเห็นชอบตามอสัทธรรมอันเป็นปฏิรูปนั้นก็มีผลแห่งเศษกรรมนั่นด้วย

    #ผนวก

    อัพเดทข้อมูลไว้พิจารณา สภาวะ รู้แจ้ง อสัทธรรม หรือ อวิชชา นี้ เป็นคุณสมบัติหนึ่ง ของปฎิสัมภิทาญานเช่นเดียวกัน

    ฟุโดเมียวโอ (不動明王)
    .
    ฟุโดเมียวโอของญี่ปุ่นในยุคแรกๆเป็นผู้รับใช้พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ เป็นยักษ์ที่มีลักษณะป่าเถื่อน ใช้แต่พละกำลัง คล้ายๆกับอจละเลย แต่ในตอนหลังทางญี่ปุ่นได้มีการเปลี่ยนบทบาทให้ฟุโดเมียวโอใหม่ เป็นผู้ปราบมารและมีแต่ความเมตตา รูปลักษณ์ก็ดูเป็นมนุษย์มากขึ้น

    นอกจากนี้ความแตกต่างของฟุโดเมียวโอกับอจละคือ ฟุโดเมียวโอจะมีส่วนผสมของขั้วทั้งสองอย่างอยู่ในตัวครับ เช่น รูปลักษณ์ที่ดูดุร้าย มีเขี้ยว มีดวงตาที่น่ากลัว พร้อมรัศมีเปลวเพลิง แสดงออกให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง ความกระด้าง หมายถึงอวิชชา แต่ในทางตรงกันข้ามนั้นฟุโดเมียวโอก็มีร่างกายที่เป็นแบบมนุษย์ และมีความอ่อนโยนมีเมตตา หมายถึงการรู้แจ้ง ซึ่งอวิชชาและการรู้แจ้งนั้นเป็นขั้วตรงกันข้ามเลยในความเชื่อศาสนาพุทธ


    #เกือบไปแล้วเหมือนกัน เล็กๆมิต้าไม่ ใหญ่ๆมิต้าทำ! ตามเพลง! จขกท.ในอดีตสามารถถือทิฐิเป็นประเภทกินมนุษย์ด้วยกันได้เป็นอสูรได้

    #เผ่ามนุษย์กินคนอื่นใดก็มี แต่ความรู้แนวโน้มความเชื่อยังมีฐานะธรรมที่แตกต่าง



    IMG_5849.jpeg

     
  11. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    #ผู้ฝึกฌาน #อภิญญา #ควรรู้

    #ท่านอย่าได้หลงผิดคิดว่า #อิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์มีแต่ในพระพุทธศาสนา

    #เหตุไม่ทรงจะตอบ เพราะเล็งเห็นภัยฯ นาลันทาล่มสลายก็เพราะเหตุนี้ #ตัดไฟแต่ต้นลม

    #คุรุมาร

    เหนือกว่าคุรุกูรูอื่นๆทั้งสิ้น ที่เป็นเพียงแค่ #เบ๊พยามาร!

    #ขั้นสูงสุด จัดระเบียบ เนรมิต จนถึง ฆ่าล้างบาง ฆ่าล้างโลก

    #สุทธิมาร ทำบาปบ้างทำบุญบ้าง ก่อนกวนพระพุทธศาสนา เก็บงำความรู้ความเข้าใจความเห็นถูก จนได้พุทธพยากรณ์

    #BASIC<มาร>อำนาจพื้นฐานและในที่ลี้ลับ
    #ระดับเข้าควบคุม
    มาร (บาลี: มาร; มาจากรากศัพท์ มรฺ แปลว่า "ตาย" มารจึงแปลว่า "ผู้ทำให้ตาย") มารมี 5 จำพวก ได้แก่
    1.กิเลสมาร
    2.ขันธมาร
    3.อภิสังขารมาร
    4.เทวปุตตมาร
    5.มัจจุมาร
    ส่วนเทวปุตตมารหมายถึง เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญในพระพุทธศาสนาใช้หมายถึง สิ่งใด ๆ ที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุ ผลสำเร็จอันดีงาม

    #โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์!

    #เพื่อฉุดช่วยสรรพสัตว์

    #ฝ่ายอสัทธรรม ระดับพญามาร
    #ฝ่ายอวิชชามาร ปัญญามาร

    มารสิงกายพรหม
    มารสิงพระโมคคัลลานะ
    มารทำอันตรายต่อพระปัจเจกพุทธ

    #แขนงอื่นๆยังมีอีก

    #ถือเป็นการแจ้งเตือน!ในสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็นและเพิ่มเติมสิ่งที่เคยรู้เคยเห็นแล้ว ทั้งตำนานความเชื่อฯลฯ

    #ถือสัจจะคือความเป็นจริง

    #เมื่อรู้ก็ต้องรู้ให้จริงเห็นให้ชัด ทำปรากฎให้ได้ แล้วจึงวิสัชนา

    #เถียงกันไปมายกพระสูตรเกทับเอาธรรมฆ่าธรรม ปริยัติงูพิษ

    #นี่เป็นเพียงอารัมภบท น้ำจิ้ม

    สัทธรรมปฎิรูปคือกบฏ
    อสัทธรรมคือพวกล่าอาณานิคม

    #มารครอบโมฆะบุรุษอลัชชี
    มารสอนได้แค่สัทธรรมปฎิรูป ไม่สามารถสอนพระสัทธรรมได้ ผู้ที่หลงก็หลงสัทธรรมปฎิรูป เมื่อเป็นทองปลอมก็ไม่สามารถชี้สภาวะได้ เพราะไม่ใช่ฐานะแห่งมาร มารที่ยิ่งใหญ่บารมีเป็นเลิศก็จะสอนอสัทธรรมที่มีอานุภาพตรงกันข้ามคืออวิชชาซึ่งแตกต่างจะวิชชา เมื่อปฎิบัติธรรมด้วยกายวาจาใจ ทุกอย่างก็ไม่เป็นตัวตน เพราะกลายเป็นธรรมขันธ์ เป็นธรรมกาย เพื่อจักเจริญเข้าสู่ทิพย์ภูมิแห่งการหลุดพ้นปล่อยวางความรู้อันสูงสุด

    #ปัญญัติสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบัญญัติซึ่งสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพ (ใหญ่) อสุรินทราหูเป็นเลิศ
    บรรดาบุคคลผู้บริโภคกาม พระเจ้ามันธาตุราชเป็นเลิศ บรรดาผู้ใหญ่ยิ่ง มารผู้มีบาปเป็นเลิศ

    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันโลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลกทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ
    บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพ (ใหญ่) อสุรินทราหูเป็นเลิศ

    บรรดาบุคคลผู้บริโภคกาม พระเจ้ามันธาตุราชเป็นเลิศ

    บรรดาผู้ใหญ่ยิ่ง มารเป็นเลิศ

    พระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ อันโลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลก ทั้งเทวดาและมนุษย์ ทั่วภูมิเป็นที่อยู่ของสัตว์ ทั้งเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องต่ำ ฯ
    จบสูตรที่ ๕

    #ดวงตาเห็นอวิชชา
    #ตามาร
    #ก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่เนปาลประมาณ1ปี

    #นิทานเรื่องเล่าแขนงหนึ่งแบบ เบียวๆ (จูนิเบียว)
    #ในอดีต จขกท.เคยเข้าถึงสภาวะวิเศษมารต่อหน้าธารกำนัลนับ100 คือเหล่าบุคคลจากสถานพินิจ 17-45ปี บุคคลต้องโทษคดีต่างๆ จาก 3 จชต. ซึ่งไม่มีใครควบคุมได้ ส่งใครไปควบคุม ก็โดนทำร้ายร่างกายหมด ภาระหน้าที่ตกเป็นของ จขกท.(ถาม ผอ.อาชีวะ หนองแคดูได้)

    ตัดมาเรื่องลี้แต่ไม่ลับเพียงบริกรรมมนต์ตามลัทธิความเชื่อนั้นๆ ตัวอักขระในคัมภีร์นั้นๆ สีดำได้ล่องลอยออกมาแล้วอ่านออกเสียงเอง ประกอบกับปาฎิหาริย์มาร อิทธิฤทธิ์มาร ความหวั่นไหวสั่นสะเทือน แม้มารจักษุก็บังเกิด ทะลวงทะลุดวงดาว ผู้ที่อยู่ใกล้สุด ผู้ควบคุมจากสถานพินิจยะลา ซึ่งช๊อกตายไปแล้ว!

    #จากนั้นก็สั่งให้ฟ้าผ่าลงมาใส่พวกดื้อด้านขัดใจ

    #ใครสงสัยไปถามผู้นำศาสนาสถานแถวนั่นดูว่า ปี53 เคสมีคนถูกฟ้าผ่าเข้ามาสวดทำพิธีช่วยชีวิตไหม?

    มะ: ครูเซี่ยงครับ นี่มันเกิดอะไรขึ้น! ผมไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อนเลย ตั่วสั่นผวาเข้ามากอดจับ จขกท.ขณะนั่งบริกรรมอยู่ ในขณะที่คนทั้งหลายแตกตื่น

    #ปรารถนาจะทำการอันใด ก็สามารถทำลายล้างบุคคลหรือสถานที่ได้ตามประสงค์ด้วยการเข้าควบคุมธาตุ ๔

    ด้วยความชำนาญทางจิต

    ก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์พินาศหวั่นไหว เป็นที่อัศจรรย์ ในการควบคุม ดินฟ้าอากาศแม้สายฟ้าพิโรธ ที่อาคารที่พักสวนส้ม หนองแค สระบุรี ปี53 เมฆสีดำทมึน พายุก่อตัวขึ้นเหมือนในหนังจอมมารปีศาจพ่อมดแม่มด

    ความหวาดหวั่นน่าสะพรึงกลัวในอิทธิฤทธิ์ที่ตนเข้าถึงได้บังเกิดขึ้น เกิดความเมตตา กรุณา ขึ้นมาทันทีว่า หากเป็นผู้อื่นเข้าถึง ภายใต้อำนาจนี้ สรรพสัตว์ทั้งหลายฯ จะอยู่ได้อย่างไร

    และนี่คือการปรากฏการณ์ ที่ทำให้เกิดมหากุศลจิต ขึ้นมาเพื่อต่อต้านมหาอกุศลจิตของตนเอง

    #หวังว่าพวกเหล่าอสัทธรรมทั้งหลายฯจะไม่เข้าถึงสภาวะและรู้ตัวว่าทำอะไรได้บ้างกับอำนาจเหล่านั้น

    ถาม:หาก จขกท.ไม่ออกจากอสัทธรรม ไม่ละทิ้งอวิชชา ท่านผู้เจริญในยุคปัจจุบันจะเอาปัญญาอะไรมาสู้

    #เหล่าปฎิสัมภิทามีความสามารถแบบนี้!ด้วยกันทั้งนั้น!

    ด้วยเหตุนี้ผู้หวังความเจริญใน ฌาน อภิญญา ฯ ระดับสูง ควรเรียนและศึกษาในด้านปฎิสัมภิทาญาน

    #คุรุกูรูระดับธรรมดา
    ในสมัยพุทธกาลมีสมณพราหมณ์เจ้าลัทธิต่างๆ จำนวนมาก แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของมหาชนมีอยู่ 6 ท่าน คือ ปูรณกัสสปะ มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะสัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถนาฏบุตร เจ้าลัทธิเหล่านี้ แม้แต่พระราชามหากษัตริย์ เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าปเสนทิโกศล ก็ยังหาโอกาสไปสนทนาสอบถามปัญหาทางปรัชญาด้วยครูแต่ละท่านมีบริษัทบริวารคนละหลายร้อย และทั้ง 6 ท่านนี้ต่างก็กล่าวว่าตนเป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ แต่ถึงกระนั้นเมื่อถูกถามปัญหายากๆ และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ครูทั้ง 6 ท่านก็ยังแสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏอยู่สำหรับประวัติและคำสอนของครูทั้ง 6 มีดังต่อไปนี้

    1. ปูรณกัสสปะ
    พระพุทธโฆษาจารย์กล่าวว่า ปูรณกัสสปะเกิดในวรรณะพราหมณ์ วัยเด็กได้เป็นคนรับใช้ในตระกูลหนึ่งซึ่งมีคนรับใช้อยู่ 99 คน รวมปูรณกัสสปะอีกคนหนึ่งเป็น 100 คน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เขาได้ชื่อว่า ปูรโณ เพราะทำให้ทา ในเรือนครบ 100 คน วันหนึ่งเขาหนีออกจากเรือน ระหว่างทางพวกโจรชิงเอาผ้าของเขาไป เขาเดินเข้าไปในบ้านตำบลหนึ่งทั้งๆ ที่เปลือยกาย พวกมนุษย์เห็นเขาแล้วคิดว่าสมณะนี้เป็นพระอรหันต์ ผู้มักน้อย ผู้ที่จะเสมอเหมือนกับสมณะนี้ไม่มี จึงนำของหวานและของคาวเข้าไปสักการะ ปูรณกัสสปะคิดว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะเราไม่นุ่งผ้า ตั้งแต่นั้นมาแม้ได้ผ้ามาก็ไม่นุ่ง เขาถือเอาการไม่นุ่งผ้านั่นแหละเป็นบรรพชา ต่อมามีกุลบุตรมาเป็นศิษย์จำนวนมาก
    ลัทธิของปูรณกัสสปะจัดอยู่ในประเภท "อกิริยวาทะ" หมายถึง ลัทธิที่ถือว่าทำแล้วไม่เป็นอันทำ ดังที่ครูปูรณกั ปะกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่า บุคคลทำบาปเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นทำบาป เบียดเบียนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ทำชู้กับภริยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป การทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีบาปมาถึงเขาแม้การทำบุญก็เหมือนกัน การให้ทาน การฝึกอินทรีย์ การสำรวมศีล การกล่าวคำสัตย์ การทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีบุญมาถึงเขา คำ สอนในลัทธินี้จึงต่างกับหลักกฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา

    2. มักขลิโคสาล
    มักขลิโคสาลเป็นบุตรพราหมณ์ชื่อ มักขลิ มารดาชื่อ ภัททา อาศัยอยู่หมู่บ้านสาลวันใกล้เมืองสาวัตถี พระพุทธโฆษาจารย์กล่าวว่า คำว่า โคสาละ แปลว่าผู้เกิดในโรงโค วัยเด็กเป็นคนรับใช้ในตระกูลหนึ่ง วันหนึ่งเขาถือหม้อน้ำมันเดินไปบนพื้นดินที่มีโคลน นายบอกว่า อย่าลื่นนะพ่อ เขาลื่นล้มลงด้วยความเผอเรอแล้ววิ่งหนีไปเพราะกลัวนาย แต่นายวิ่งไปจับชายผ้าไว้ทันเขาจึง ลัดผ้าทิ้งแล้วหนีไป ขณะเดินเข้าไปในบ้านตำบลหนึ่งทั้งๆ ที่เปลือยกาย พวกมนุษย์เห็นเขาแล้วก็มีจิตศรัทธาเช่นเดียวกับกรณีของท่านปูรณกัสสปะ ภายหลังมักขลิโคสาลจึงตั้งลัทธิขึ้นและมีลูกศิษย์จำนวนมากเช่นกัน
    ลัทธินี้ไม่ยอมรับอาหารที่เขาเจาะจงถวาย ไม่รับอาหารขณะมีสุนัขอยู่ข้างๆ หรือแมลงวันตอมอยู่ เพราะถือว่าเป็นการแย่งความสุขของผู้อื่น ไม่รับประทานปลา เนื้อ ไม่ดื่มสุราและของมึนเมา ไม่สะสมข้าวปลาอาหารยามข้าวยากหมากแพง
    ลัทธิของมักขลิโคสาลจัดอยู่ในประเภท "นัตถิกวาทะ" คือ ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยดังที่ครูมักขลิโคสาลกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่า ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลายสัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้หาปัจจัยมิได้ย่อมเศร้าหมอง ย่อมไม่มีเหตุย่อมไม่มีปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลายสัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้หาปัจจัยมิได้ย่อมบริสุทธิ์ ไม่มีการกระทำของตนเองไม่มีการกระทำของผู้อื่นสัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวงชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย เร่ร่อนท่องเที่ยวไป แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ความสมหวังว่าเราจักอบรมกรรมที่ยังไม่อำนวยผลให้
    อำนวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อำนวยผลแล้วจักทำให้สุดสิ้นด้วยศีล ด้วยพรตด้วยตบะหรือด้วยพรหมจรรย์นี้ไม่มีในที่นั้นสุขทุกข์ทำให้สิ้นสุดได้เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนานย่อมไม่มีในสงสารด้วยอาการอย่างนี้เลย ไม่มีความเสื่อมความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นเลื่อนลงพาลและบัณฑิต เร่ร่อน ท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดทุกข์ได้เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไปย่อมคลี่ขยายไปเอง แนวคำสอนนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่าไร้ประโยชน์ที่สุดในบรรดาลัทธิทั้งหลายลัทธินี้สืบต่อกันมาไม่นานก็ขาดหายไป

    3. อชิตเกสกัมพล
    อชิตเกสกัมพลเป็นผู้มีชื่อเสียงก่อนพุทธกาลเล็กน้อย คำว่า เกสกัมพล แปลว่า ผู้มีผ้านุ่งผ้าห่มที่ทำด้วยผม เป็นผ้าที่หยาบและน่าเกลียด มีแนวความคิดหนักไปในวัตถุนิยมยิ่งกว่าลัทธิใด มีแนวคิดรุนแรงคัดค้านคำสอนทุกลัทธิรวมทั้งพระพุทธศาสนาด้วย
    ลัทธิของอชิตเกสกัมพลจัดอยู่ในประเภท "อุจเฉทวาทะ" คือ ลัทธิที่ถือว่าตายแล้วขาดสูญดังที่ครูอชิตเกสกัมพลกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่น รวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดา บิดาไม่มีคุณสัตว์ผู้เกิดแบบโอปปาติกะไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติชอบซึ่งกระทำโลกนี้และโลกอื่นให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้ง 4 เมื่อตาย ธาตุดินก็จะไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็จะไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟก็จะไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็จะไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลาย
    จะหามเขาไปยังป่าช้า กลายเป็นกระดูกมีสีดุจสีนกพิราบสิ่งที่ได้จากการเซ่น รวงคือขี้เถ้าเท่านั้นทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของคนบางพวกพูดว่ามีผล ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะเมื่อกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้น ตายแล้วเป็นอันดับสนิทไม่มีการเกิดอีก

    4. ปกุธกัจจายนะ
    เล่ากันว่าปกุธกัจจายนะเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในวัยเด็กมีความสนใจทางศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อโตขึ้นจึงออกบวชแสวงหาโมกขธรรม เมื่อคิดว่าตนบรรลุธรรมแล้ว ก็ตั้งตัวเป็นอาจารย์สั่งสอนประชาชน
    ปกุธกัจจายนะเป็นผู้ห้ามน้ำเย็น แม้จะถ่ายอุจจาระก็ไม่ใช้น้ำเย็นล้างเขาใช้เฉพาะน้ำร้อนหรือน้ำข้าวเท่านั้น การเดินผ่านแม่น้ำหรือเดินลุยแอ่งน้ำบนถนนถือว่าศีลขาด เมื่อศีลขาดเขาจะก่อทรายทำเป็นสถูปแล้วอธิษฐานศีล จากนั้นจึงค่อยเดินต่อไป
    ลัทธิของปกุธกัจจายนะจัดอยู่ในประเภท "นัตถิกวาทะ" หมายถึง ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเช่นเดียวกับลัทธิของมักขลิโคสาล ดังที่ปกุธกัจจายนะกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่าสภาวะ 7 กอง คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลมสุข ทุกข์ และชีวะ สภาวะเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครเนรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขาตั้งมั่นดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดีผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทำให้เข้าใจความก็ดีไม่มีในสภาวะ 7 กองนั้น บุคคลจะเอาศา ตราอย่างคม
    ตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใครๆ ปลงชีวิตใครๆ เป็นแต่ศาสตราสอดเข้าไปตามช่องแห่ง สภาวะ 7 กองเหล่านี้เท่านั้น คำสอนของปกุธกัจจายนะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัสตทิฏฐิ คือ เห็นว่าโลกเที่ยงซึ่งเป็นคำสอนที่ตรงข้ามกับ "อุจเฉทวาทะ" คือ ลัทธิที่ถือว่าตายแล้วขาดสูญของอชิตเก กัมพล และตรงข้ามกับคำสอนในพระพุทธศาสนาด้วย

    5. สัญชัยเวลัฏฐบุตร
    สัญชัยเวลัฏฐบุตรเป็นคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระมหาโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเมื่อครั้งยังเป็นอุปติสะและโกลิตมานพก็เคยศึกษาอยู่กับท่านซึ่งเป็นเจ้าลัทธิของพวกปริพาชก ตั้งสำนักเผยแพร่อยู่ที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ชาวมคธเป็นจำนวนมากต่างนับถือในเจ้าลัทธินี้ แต่เมื่ออุปติสะและโกลิตมานพพร้อมบริวารจำนวนมากออกจากสำนักไปขอบวชกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสัญชัยเวลัฏฐบุตรจึงกระอักเลือดจนถึงแก่มรณกรรม
    ลัทธิของสัญชัยเวลัฏฐบุตรจัดอยู่ในประเภท "อมราวิกเขปวาทะ" คือ เป็นลัทธิที่หลบเลี่ยงไม่แน่นอน ดังที่สัญชัยเวลัฏฐบุตรกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่าถ้ามหาบพิตรตรัสถามอาตมภาพว่า โลกอื่นมีอยู่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้ามหาบพิตรตรัสถามอาตมภาพว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่หรือถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ก็มิใช่อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายเกิดอีกหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า เกิดอีก ก็จะพึงทูลตอบว่าเกิดอีก ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่...
    พระเจ้าอชาตศัตรูทรงดำริว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านี้สัญชัยเวลัฏฐบุตรนี้โง่กว่าเขาทั้งหมด งมงายกว่าเขาทั้งหมด เพราะแนวคำสอนกลับกลอก เอาแน่นอนไม่ได้ไม่สามารถบัญญัติอะไรตายตัวได้ เพราะกลัวผิดบ้าง ไม่รู้บ้าง พูดซัดส่ายเหมือนปลาไหลในกรตังคสูตร กล่าวประณามว่า เป็นลัทธิคนตาบอด ไม่สามารถนำตนและผู้อื่นให้เข้าถึงความจริงได้ มีปัญญาทราม โง่เขลาไม่กล้าตัดสินใจใดๆ ได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากไม่รู้จริงอย่างถ่องแท้

    6. นิครนถนาฏบุตร
    นิครนถนาฏบุตร หรือศาสดามหาวีระ เกิดที่กุณฑคาม เมืองไวสาลี แคว้นวัชชีของพวกเจ้าลิจฉวี มหาวีระเป็นศิษย์ของท่านปาร์ศวา ซึ่งเป็นศาสดาองค์ที่ 23 ในศาสนาเชนผู้มีอายุห่างจากท่านมหาวีระถึง 250 ปี ท่านมหาวีระเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ได้สั่งสอนอยู่ 30 ปี จึงมรณภาพ ภายหลังเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นสาวกของนิครนถนาฏบุตรจำนวนมากได้เปลี่ยนมาเป็นพุทธสาวก
    ลัทธิของนิครนถนาฏบุตรปัจจุบันเรียกว่า ศาสนาเชน ลัทธินี้จัดอยู่ในประเภท "อัตตกิลมถานุโยค" คือ เป็นลัทธิที่ถือว่าการทรมานตนเองเป็นการเผากิเลส เป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่เรียกว่า โมกษะ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ ศาสนาเชนสอนว่า แก้ว 3 ดวง คือ มีความเห็นชอบ มีความรู้ชอบ มีความประพฤติชอบ จะนำไปสู่โมกษะได้ พระเจ้าเป็นเรื่องเหลวไหล พระเจ้าไม่สามารถบันดาลทุกข์สุขให้ใครได้ ทุกข์สุขเป็นผลมาจากกรรม การอ้อนวอนเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ไม่มีสาระ
    นักบวชเชนต้องรักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด คือ เว้นจากการฆ่าสิ่งที่มีชีวิตรวมทั้งพืชด้วยเว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้นจากการประพฤติผิดในกามและไม่ยินดีในกามวัตถุส่วนศาสนิกชนเชนต้องรักษาศีล 12 อย่างเคร่งครัดคือ เว้นจากการทำลายสิ่งที่มีชีวิต เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี เว้นจากอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความชั่ว เช่น การเที่ยวเตร่ รู้จักประมาณในการใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภค เว้นจากทางที่ก่อให้เกิดอาชญาให้ร้าย ไม่ออกพ้นเขตไม่ว่าทิศใดทิศหนึ่งยามบำเพ็ญพรต บำเพ็ญพรตทุกเทศกาล อยู่จำอุโบสถศีล ให้ทานแก่พระ และต้อนรับแขกผู้มาเยือน
    เชนนับเป็นศาสนาที่ถือหลักการไม่เบียดเบียนหรืออหิงสาอย่างเอกอุ เป็นศาสนาที่มีแนวคิดใกล้เคียงกันกับพระพุทธศาสนา แม้แต่การสร้างพระพุทธรูป ถ้าดูอย่างผิวเผินก็ไม่เห็นความแตกต่างกันมากนัก ยกเว้นจะเปลือยกายและมีดอกจันทน์ที่หน้าอกเท่านั้น ปัจจุบันมีเชนศาสนิกชนประมาณ 6 ล้านคนทั่วอินเดีย โดยมากจะมีฐานะดี เพราะเป็นพ่อค้าเสียส่วนใหญ่เนื่องจากทำการเกษตรไม่ได้จะเป็นการผิดศีล เพราะเชนถือว่าพืชก็มีชีวิต การเกี่ยวข้าวตัดหญ้าเป็นบาปทั้งสิ้น ต่อมาหลังพุทธปรินิพพาน 240 ปี ศาสนาเชนก็แตกออกเป็น 2 นิกาย คือ นิกายทิฆัมพร ซึ่งเป็นนิกายดั้งเดิมที่เคร่งครัดไม่นุ่งห่มผ้า และนิกายเสวตัมพร จะนุ่งขาวห่มขาวไว้ผมยาว แต่งตัวสะอาด และคบหากับผู้คนมากกว่านิกายเดิมที่เน้นการปลีกตัวอยู่ต่างหาก

    สุภัททะ ปัจฉิมสิกขิสาวก (สาวกผู้ทันเห็นองค์สุดท้าย) ของพระพุทธเจ้า เรียกสั้นๆ ว่า ปัจฉิมสาวก
    เดิมเป็นพราหมณ์ตระกูลใหญ่ ต่อมาออกบวชเป็นปริพาชก อยู่ในเมืองกุสินารา ในวันที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน สุภัททปริพาชกได้ยินข่าวแล้ว คิดว่าตนมีข้อสงสัยอยู่อย่างหนึ่ง อยากจะขอให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อแก้ข้อสงสัยนั้นเสียก่อนที่จะปรินิพพาน จึงเดินทางไปยังสาลวัน ตรงไปหาพระอานนท์ แจ้งความประสงค์ขอเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระอานนท์ได้ห้ามไว้ เพราะเกรงว่าพระองค์เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้ว จะเป็นการรบกวนให้ทรงลำบาก สุภัททปริพาชกก็คะยั้นคะยอจะขอเข้าเฝ้าให้ได้
    พระอานนท์ก็ยืนกรานห้ามอยู่ถึง ๓ วาระ จนพระผู้มีพระภาคทรงได้ยินเสียงโต้ตอบกันนั้น จึงตรัสสั่งพระอานนท์ว่า สุภัททะมุ่งหาความรู้ มิใช่ประสงค์จะเบียดเบียนพระองค์ ขอให้ปล่อยให้เขาเข้าเฝ้าเถิด สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้าแล้ว ทูลถามว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย คือ เหล่าครูทั้ง ๖ นั้น ล้วนได้ตรัสรู้จริงทั้งหมดตามที่ตนปฏิญญา หรือได้ตรัสรู้เพียงบางท่านหรือไม่มีใครตรัสรู้จริงเลย
    พระพุทธเจ้าทรงห้ามเสียและตรัสว่าจะทรงแสดงธรรม คือ หลักการหรือหลักความจริงให้ฟัง แล้วตรัสว่า
    อริยมรรคมีองค์ ๘ หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด สมณะ (คืออริยบุคคลทั้ง ๔) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น
    อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยใด สมณะก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น
    อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะทั้ง ๔ จึงมีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะ
    และตรัสสรุปว่า
    ถ้าภิกษุทั้งหลายเป็นอยู่โดยชอบ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
    เมื่อจบพระธรรมเทศนา สุภัททปริพาชกเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท
    พระพุทธเจ้าตรัสสั่งพระอานนท์ให้บวชสุภัททะในสำนักของพระองค์ โดยประทานพุทธานุญาตพิเศษให้ยกเว้นไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส
    ท่านสุภัททะบวชแล้วไม่นาน (อรรถกถาว่าในวันนั้นเอง) ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
    นับเป็นพุทธปัจฉิมสักขิสาวก

    กากสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    บทว่า ธํสี ได้แก่ ผู้กำจัดคุณ ไม่เอื้อถึงคุณของใครๆ แม้เขาเอามือจับก็กำจัดเสีย ยังถ่ายอุจจาระรดบนศีรษะ.
    บทว่า ปคพฺโภ ได้แก่ ประกอบด้วยความคะนอง ไร้ยางอาย.
    ตัณหาความอยาก ท่านเรียกว่าตินติณะ ในบทว่า ตินฺติโณ ประกอบด้วยความอยากนั้น หรือมากด้วยความน่ารังเกียจ.
    บทว่า ลุทฺโท แปลว่า หยาบช้า.
    บทว่า อการุณิโก แปลว่า ไร้กรุณา.
    บทว่า ทุพฺพโล ได้แก่ ไม่มีกำลังมีแรงน้อย.
    บทว่า โอรวิตา ได้แก่ บินไปร้องไป.
    บทว่า เนจยิโก ได้แก่ ทำการสะสม.

    จบอรรถกถากากสูตรที่ ๗

    สัทธรรมาสัทธรรมสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัทธรรมและอสัทธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัทธรรมเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เราเรียกว่าอสัทธรรม

    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สัทธรรมเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เราเรียกว่าสัทธรรม ฯ
    จบสูตรที่ ๓

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้ ๗ประการเป็นไฉน คือ อสัตบุรุษเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ไม่มีโอตตัปปะ ๑ ไม่มีสุตะ (ไม่สดับฟังพระธรรม) ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ มีสติหลงลืม ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๗ ประการนี้ ๗ ประการนี้เป็นไฉน คือสัตบุรุษเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ เป็นพหูสูต ๑ปรารภความเพียร ๑ มีสติ ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัทธรรม ๗ ประการนี้แล.

    รูปธรรมสมบัติในพระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งเดียว และได้ผลอันเป็นรสเดียว ไม่มีคำว่า จะสามารถถ่ายทอดมาได้ด้วยคุณสมบัติอื่นและนั่นย่อมเป็นรสอื่นได้

    เมื่อผู้ทำการถ่ายทอดด้วยกิเลสและตัณหา ย่อมเป็น ธรรมปลอม เป็นวลีปลอม สัตว์ที่เนื่องด้วยเห็นชอบตามอสัทธรรมอันเป็นปฏิรูปนั้นก็มีผลแห่งเศษกรรมนั่นด้วย

    #ผนวก

    อัพเดทข้อมูลไว้พิจารณา สภาวะ รู้แจ้ง อสัทธรรม หรือ อวิชชา นี้ เป็นคุณสมบัติหนึ่ง ของปฎิสัมภิทาญานเช่นเดียวกัน

    ฟุโดเมียวโอ (不動明王)
    .
    ฟุโดเมียวโอของญี่ปุ่นในยุคแรกๆเป็นผู้รับใช้พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ เป็นยักษ์ที่มีลักษณะป่าเถื่อน ใช้แต่พละกำลัง คล้ายๆกับอจละเลย แต่ในตอนหลังทางญี่ปุ่นได้มีการเปลี่ยนบทบาทให้ฟุโดเมียวโอใหม่ เป็นผู้ปราบมารและมีแต่ความเมตตา รูปลักษณ์ก็ดูเป็นมนุษย์มากขึ้น

    นอกจากนี้ความแตกต่างของฟุโดเมียวโอกับอจละคือ ฟุโดเมียวโอจะมีส่วนผสมของขั้วทั้งสองอย่างอยู่ในตัวครับ เช่น รูปลักษณ์ที่ดูดุร้าย มีเขี้ยว มีดวงตาที่น่ากลัว พร้อมรัศมีเปลวเพลิง แสดงออกให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง ความกระด้าง หมายถึงอวิชชา แต่ในทางตรงกันข้ามนั้นฟุโดเมียวโอก็มีร่างกายที่เป็นแบบมนุษย์ และมีความอ่อนโยนมีเมตตา หมายถึงการรู้แจ้ง ซึ่งอวิชชาและการรู้แจ้งนั้นเป็นขั้วตรงกันข้ามเลยในความเชื่อศาสนาพุทธ

    #เกือบไปแล้วเหมือนกัน เล็กๆมิต้าไม่ ใหญ่ๆมิต้าทำ! ตามเพลง! จขกท.ในอดีตสามารถถือทิฐิเป็นประเภทฆ่าโจรแล้วกินมนุษย์ด้วยกันได้เป็นอสูรได้

    #เผ่ามนุษย์กินคนอื่นใดก็มี แต่ความรู้แนวโน้มความเชื่อยังมีฐานะธรรมที่แตกต่าง
     
  12. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    บันทึกไว้เป็นหลักฐาน

    #สุญญตาธรรม วิหารธรรม สมาธินิมิต สุญญตธรรมฯ

    #การดูแลหล่อเลี้ยงฌานโดยไม่ขาดจากฌาน
    #ได้รับความคุ้มครองในดวงสุญญตาธรรม
    #คล้ายเสมือนพระอรหันต์เข้านิโรธแต่กิจอันเจริญนี้ #จะมุ่งหน้าไม่เป็นอันตรายแก่ผู้เข้าถึงการตรัสรู้สัจจะ

    #ปฐมสังคายนา #ทุติยสังคายนา #ตติยสังคายนา

    พระสังคาหกทั้งหลายฯ ก็ได้ปฎิบัติดังเช่นนี้

    #ในอนาคตเมื่อท่านเลือกเดินทางในเหล่าปฎิสัมภิทาญาณ

    เมื่อเข้าฌานขั้นสุญญตธรรม สมาธินิมิต วิหารธรรม สามารถควบคุมร่างแยกอันเป็นกายทิพย์และกายเนื้อในเวลาเดียวกันทั้ง2ร่าง สามารถค้างร่างทิพย์ไว้ลงมาที่ร่างกายเนื้อ และร่างกายเนื้อสามารถออกจากอิริยาบทธรรมนั้นๆ วกออกมาเก็บหลักฐานพยานเพื่อประกอบการพิจารณา ต่อหน้าสาธุชนธารกำนัลได้ แต่สาธุชนเหล่าอื่นยกเว้นตนเองจะไม่รู้ไม่ได้ยินไม่เห็นอะไรด้วยนอกจาก ร่างเนื้อที่ไปไต่ถามและสอบสวนในสิ่งที่รู้เห็น กำชับให้ผู้รับฟัง เก็บสิ่งที่ได้รู้ได้ยินได้ฟัง อันประมวลรวบรวมมาจากกายเนื้อกายทิพย์ยังสิ่งที่ปรากฎ หลังจากนั้นก็สามารถ วกกับไปยังอิริยาบถเดิม และเข้าไปสู่กายทิพย์ดังเดิมจนกว่าจะจบกิจนั้นๆในเบื้องหน้าองค์พระสัทธรรม

    #เสียงหรือสิ่งรบกวนใดๆทั้ง อายนะ๑๒ จะถูกตัดเหมือน
    ฝนโบกขรพรรษ ปรารถนาจะได้ยินก็ได้ยิน! ไม่ปรารถนาจะได้ยินก็จะไม่พึงได้ยิน ,ปรารถนาจะเปียกก็พึงเปียกฝน ไม่ปรารถนาจะเปียกฝนก็จะไม่เปียกดังนี้

    กระแสธรรมของการเข้าถึงเหล่านี้จะส่งผลดีแก่โลกธาตุชมพูทวีปนี้และอื่นๆมหาทวีปอื่นๆด้วย

    #จากประสบการณ์ ผู้ไม่รู้ไม่เห็นไม่ควรแก้อรรถพยัญชนะที่ข้าพเจ้าได้น้อมนำมาแสดงไว้โดยพิศดาร

    #พยานรู้เห็นในการไต่ถามกำชับ 4-70 รูป ยังมีชีวิตอยู่

    #ปกป้องพระสัทธรรมปกป้องพระไตรปิฎก ท่านก็คือเหล่าธรรมบุตรผู้ที่เที่ยงจะบรรลุปฎิสัมภิทาญานในวันหน้า
    #ปกป้องตามสมควรแก่ธรรมที่มีปรากฏตามกาลในตน
    #คราใดที่ท่านปกป้องท่านก็ได้เดินเส้นทางเดียวกันกับเหล่าปฎิสัมภิทาผู้อัญเชิญพระไตรปิฎก

    #บันทึกไว้เป็นหลักฐานถึงเวลานั้นที่ท่านเข้าถึงจะเข้าใจเองดังที่ข้าพเจ้าแสดงเอาไว้แล้วนี้

    #พึงสรรเสริญพระรัตนตรัย

    —เสขะปฎิสัมภิทา—

    https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=4714&Z=4845
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5797.jpeg
      IMG_5797.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      191.9 KB
      เปิดดู:
      18
    • IMG_5974.jpeg
      IMG_5974.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      68.7 KB
      เปิดดู:
      15
    • IMG_5969.png
      IMG_5969.png
      ขนาดไฟล์:
      1 MB
      เปิดดู:
      13
    • IMG_5968.jpeg
      IMG_5968.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      59.5 KB
      เปิดดู:
      12
    • IMG_5976.jpeg
      IMG_5976.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      32.5 KB
      เปิดดู:
      18
    • IMG_5972.jpeg
      IMG_5972.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      176.3 KB
      เปิดดู:
      14
    • IMG_5971.jpeg
      IMG_5971.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      256.7 KB
      เปิดดู:
      13
    • IMG_5970.png
      IMG_5970.png
      ขนาดไฟล์:
      738.4 KB
      เปิดดู:
      12
    • IMG_5967.jpeg
      IMG_5967.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      112.4 KB
      เปิดดู:
      12
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2024
  13. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27


    จะเริ่มเรียนวิสุทธิมรรค

    ท่านพุทธโฆษาจารย์ ถ่ายทอดสิ่งใดไว้ในนิรุตติญานทัสสนะไว้บ้าง
     
  14. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    #วันทิพย์ หากนำไปหารเวลาสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่๑,๒,๓ ก็จะได้เวลาในสุญญตาธรรม สมาธินิมิตโดยปฎิสัมภิทาญาน #ปเทสวิหารญาน

    #ผู้ไม่รู้ไม่เห็นไม่ควรแก้อรรถพยัญชนะ
    #รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
    #เกิดขึ้นกับตนเองเมื่อไหร่จะรู้ได้เองตามอรรถพยัญชนะที่แสดงไว้แล้วนี้

    ปฏิจฉันนสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
    มาตุคาม ปิดบังเอาไว้จึงจะงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม ๑
    มนต์ของพราหมณ์ ปิดบังเข้าไว้จึงรุ่งเรือง เปิดเผยไม่รุ่งเรือง ๑
    มิจฉาทิฐิ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓
    อย่างเป็นไฉน คือ ดวงจันทร์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑
    ดวงอาทิตย์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑

    ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ฯ

    -เสขะปฎิสัมภิทา-

    IMG_6139.jpeg
     
  15. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    เล็กๆน้อยๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5093.jpeg
      IMG_5093.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      118 KB
      เปิดดู:
      16
    • IMG_5096.jpeg
      IMG_5096.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      103.2 KB
      เปิดดู:
      15
    • IMG_5097.jpeg
      IMG_5097.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      143.6 KB
      เปิดดู:
      18
    • IMG_5098.jpeg
      IMG_5098.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      138.8 KB
      เปิดดู:
      15
    • IMG_5100.jpeg
      IMG_5100.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      150.7 KB
      เปิดดู:
      13
    • IMG_5094.jpeg
      IMG_5094.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      168.7 KB
      เปิดดู:
      15
    • IMG_5099.jpeg
      IMG_5099.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      119.2 KB
      เปิดดู:
      15
    • IMG_5101.jpeg
      IMG_5101.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      133.3 KB
      เปิดดู:
      18
    • IMG_5102.jpeg
      IMG_5102.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      169 KB
      เปิดดู:
      12
    • IMG_5095.jpeg
      IMG_5095.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      197.2 KB
      เปิดดู:
      11
  16. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    บันทึก: 25/10/2567
    สถานการณ์ปัจจุบัน กสิณ

    การทำสมาธิเพ่งไปที่ดวงตาในขณะหลับตาโดยมีผ้าปิดตา
    มองเห็นวงกลมในแต่ละชั้นเป็นสีรุ้ง แม้ยังไม่เสถียรมากนักในการกำหนดรูปร่างลักษณะที่ถาวร แต่ก็ให้ความรู้สึกที่ดีที่สามารถทำให้ปรากฏได้ด้วยการเพ่งโดยจักษุวิญญาณ

    #ดีจนรู้สึกกล้าๆกลัวๆ
    #รอเหตุปัจจัยส่งเสริม

    #บางแห่งของพระจันทร์
    IMG_6308.jpeg
     
  17. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27

    #ผู้ตรัสรู้สัจจะมี ๒
    #ปฎิสัมภิทาญาน

    กรรมจัดสรร


    เมื่อสภาวะธรรมรวน ขุยไผ่ในสัทธรรมปฎิรูป ก็สามารถฆ่าสัทธรรมปฎิรูปได้เฉกเช่นเดียวกัน แบบไม่รู้ตัว

    ผลผลิตจากลัทธิแอบอ้างรู้พุทธพจน์ เริ่มฆ่าอาจารย์และกินเนื้อแบบเงียบๆ

    กรรมสนองกรรม

    ทองปลอมในหมู่ทองปลอมยิ่งอวดยิ่งหลงตนเองมากเท่าไหร่

    ยิ่งแยกแยะง่าย!


    #น่าเวทนาสัตว์โลก หลงคารมคมคายดายหญ้าง่ายเสียจริงๆ

    #หลุดรอดตะแกรงร่อนเพียบ!


    #อวดวาทะที่ไม่จริงเมื่อไหร่! เกมส์ทันที อย่าเล่นกับ#สัจจะธรรม



    #ไม่รู้ใครจะสงสารใคร ฐานะหรืออฐานะ
    IMG_6386.jpeg






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2024
  18. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    มหาโคสิงคสาลสูตร
    ว่าด้วย
    ป่างามด้วยภิกษุมีคุณสมบัติเช่นไร
    เหตุการณ์
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน พร้อมด้วยพระสาวกมีชื่อเสียงมากรูป คือ พระสารีบุตร พระมหาโมคัลลานะ พระมหากัสสป พระอนุรุทธ พระเรวตะ พระอานนท์ และพระสาวกอื่นๆ ในเวลาเย็นพระมหากัสสป พระโมคคัลลานะพระอนุรุทธ พระเรวตะ พระอานนท์ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม


    พระสารีบุตรถามพระเถระทั้งหลายว่า ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร และขอให้พระเถระแต่ท่านตอบตามปฏิภาณที่เป็นของตน

    พระอานนท์ตอบว่า

    [ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุผู้เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ]

    [ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้นสดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น ภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย]

    พระเรวตะตอบว่า

    [ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบเนือง ๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่ห่างเหินแล้ว ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร]

    พระอนุรุทธะตอบว่า

    [ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุผู้ตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์]

    #พระมหากัสสปะตอบว่า

    [ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุที่ตนเองเป็นผู้อยู่ในป่า เที่ยวบิณฑบาต ถือผ้าบังสุกุล ถือไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัด เป็นผู้ไม่คลุกคลี เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ในป่า เที่ยวบิณฑบาต ถือผ้าบังสุกุล ถือไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัด เป็นผู้ไม่คลุกคลี เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะด้วย]

    พระโมคคัลลานะตอบว่า

    [ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุ ๒ รูป ในพระศาสนานี้ กล่าวอภิธรรมกถาทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วย และธรรมกถาของทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย]

    พระสารีบุตรตอบว่า

    [ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาใด ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลานั้น]

    พระเถระเหล่านั้นจึงเข้าไปหาพระพุทธเจ้าเพื่อให้ทรงพยากรณ์ เพื่อจะได้จำคำพยากรณ์นั้น เมื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว พระสารีบุตรเล่าเหตุการณ์และคำพยากรณ์ของพระเถระแต่ละรูปให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่าพระเถระแต่ละรูปได้พยากรณ์โดยชอบตามปฏิภาณของตน คำของพระเถระทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย

    แล้วทรงตรัสให้พระเถระฟังคำพยากรณ์ของพระองค์ว่า
    [ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น]


    #ผู้ถึงความเจริญในพระสัทธรรม

    https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=6877&Z=7105

    IMG_6407.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2024
  19. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    IMG_6409.jpeg IMG_6418.jpeg
     
  20. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    IMG_6462.jpeg
    IMG_6465.jpeg

    “พาคนลงนรกเป็นอันมากด้วยสัทธรรมปฎิรูป”

    ไม่เอาปฎิสัมภิทา จะเอาเครื่องแปลภาษาอันประมวลมาด้วยความตรึก!


    #ความโง่เขลาของโมฆะบุรุษอลัชชีลัทธิทำลายปฎิสัมภิทา

    #เล่นกับการตรัสรู้สัจจะ จบเห่ ฉิบหาย ทุกราย!

    #เป็นแมลงมุมที่สางใยพันตนเอง! อย่าได้คิดว่าตัวเองเป็นดักแด้ผีเสื้อปีกสวยๆ หลอกได้แต่พวกโลกสวยในกะลา!

    IMG_6470.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2024

แชร์หน้านี้

Loading...