ขอแนวทางปฏิบัติหน่อยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ziinblog, 18 เมษายน 2024.

  1. ziinblog

    ziinblog สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +2
    อยากทราบว่าเราทำอานาปานสติ ถึงจุดนึงแล้ว ความรู้สึก ทางกาย และ ลมหายใจ เบาบางมากแล้ว แล้วควรเพิ่มสติหรือการเพ่งที่ลมหายใจ หรือ ทิ้งสติที่เพ่งลมหายใจ แล้วมา ภาวนาในใจครับ
    รบกวนนะครับ หรือใครมี อานาปานสติ ที่เกี่ยวข้องรบกวน ขออ่านหน่อยครับ .
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,189
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,104
    ค่าพลัง:
    +70,433
    ฝึกเพื่อเจริญสติ-สัมปชัญญะ

    คล้ายเลี้ยงเด็กที่ค่อยเจริญเติบโต

    ไปใส่เจตนาเร่งไม่ได้
    อย่าไปวิตกกังวลนึกคิดด้วยสมอง ตามที่เคยรู้ว่า อันนี้ เป็นวิตกวิจาร ปิติ สุข

    เมื่อเพียรทำบ่อย ใส่เจตนาพอดีๆ เมื่อองค์บริกรรม( ในที่นี้คือลมหายใจ ) มีสภาพใดๆก็ตาม สติสัมปชัญญะ ก็รู้ตามแล้วย้อนมารู้ทั่วพร้อมในใจ

    จนลมเบา สงบ เห็นกาย เห็นจิตสงบ

    สติสัมปชัญญะที่หล่อเลี้ยงมาดี จะรู้ตามไปถึงสภาวะที่เป็นความสุขภายใน จะมีแสงสีอะไรหรือไม่ก็ตาม ใจจะทิ้งความสนใจในความเคลื่อนไหวของลมหายใจไปเอง ไม่เป็นไปตามความคิดหยาบๆจากสมอง อยู่กับความสุขภายในที่ตื่นรู้
    แต่ละเอียด สงบ เย็น ตั้งมั่นภายในมากขึ้น


    น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง จนชิน

    แล้วศักยภาพภายใน ที่เดินมาถูกทาง จะค่อยๆเจริญออกมาในกิริยาภายนอก ชีวิตภายนอก


    ----------------

    ถ้าทำไปนานๆ แล้วอาการโดยรวมในชีวิตประจำวันรู้สึกเบลอๆ หลงลืม แสดงว่า บังคับจิตมากเกิน ใส่เจตนาความอยากมากเกิน

    สติสัมปชัญญะที่เจริญมาดี จะละเอียดและว่องไวมากขึ้น

    -----------------

    ส่วนการจะกลับไปยึดคำภาวนาใหม่ เมื่อจิตสงบ เบาบาง จางคลายกับความคิดอันเป็นนิวรณ์ หรือ เบาบางจางคลายจากอาการเวทนาทางกายแล้ว
    จิตก็จะหยาบลงมา แต่ก็จะอยู่ในกรรมฐานอื่นควบเข้ามา เช่น อนุสสติ10
     
  3. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    อานาปานุสติ คือการมีสติอยู่กับลมหายใจ คำภาวนามีหรือไม่มีก็ได้ แต่สติต้องอยู่กับลมหายใจตลอดเวลาครับ
    ถ้าสติหลุดจากลมหายใจ ก็กลับไปอยู๋กับลมหายใจใหม่
    พอจิตสงบจนเข้าเขตุของอุปจารสมาธิไปแล้ว นิมิตของลมหายใจจะปรากฏขึ้น เป็นตัวบอกให้รู้ว่ามาถูกทางแล้ว
    นิมิตของอานาปานุสตินี้จะไม่เหมือนนิมิตของกรรมฐานตัวอื่น ขึ้นอยู่กับจุดตกกระทบของลมหายใจที่เราไปเฝ้าดูอยู่ ว่าอยู่ที่จุดไหน

    ที่อุปจารสมาธิ นิมิตจะมีอาการไหวไปมาเล็กน้อย พอเข้าฌานไปแล้วภาพนิมิตจะนิ่งสนิท พอถึงฌานสี่นิมิตจะมีประกายระยิบระยับออกมาคล้ายมีคนเอากากเพชรมาโรยรอบๆนิมิตแล้วเปิดไฟส่อง

    นิมิตอื่นเช่น เห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นคนตายมาหา เห็นอดีต เห็นอนาคต เห็นแล้วก็วางลงไม่ต้องไปสนใจ

    ถ้าทิ้งลมหายใจไปแล้วเอาสติไปอยู๋กับคำภาวนา ก็ไม่ผิดหลักการฝึกสมาธิ แต่จะไม่ได้นิมิตของลมหายใจ เพราะสติไม่ได้อยู่กับลมหายใจแล้ว วิธีการทำสมาธิไม่ใช่อานาปานุสติแล้ว

    เมื่อเข้าอุปจารสมาธิจะไม่มีนิมิตของลมหายใจ แต่จะมีคำภาวนาปรากฏขึ้นมาเองในใจ ภาวนาเองแบบอัตโนมัติไปเรื่อยๆ เป็นตัวบอกให้รู้ว่าจิตเป็นสมาธิแล้ว แต่ไม่ใช่สมาธิจากอานาปานุสติ
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,189
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,104
    ค่าพลัง:
    +70,433
  5. ziinblog

    ziinblog สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณสำหรับขอมูลมากครับศึกษาเป็นแนวทางปฏิบัติ
     
  6. Jerusale

    Jerusale เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2005
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +172
    ในส่วนตัวนะครับ เอาจริงๆก็ให้เรารู้ถึงลมหายใจไปครับ มันจะค่อยๆเบาบาง เราจะรู้ตลอดจนลมหายใจหายไป ตอนที่ลมหายใจมันหายไปช่วงแรกๆ อาการมันจะเหมือนกับ การปิดสวิท แป๊ก! อะไรทำนองนี้ คิดอยู่ว่าทำไมลบหายใจมันไม่มีหายใจไม่ออก แต่ ที่จริงแล้วเราหายใจอยู่ครับแต่มันบางเบามาก ครับ อย่าไปตกใจ ถ้าเราจับลมหายใจไม่ได้ ก็ไม่เป็นไรครับ ให้เราใช้จิตของเรานี่หละรับรู้การหายใจไป เราแค่ประคับประคองอารมไว้อย่าไปตื่นตกใจอะไรทำให้ชินครับ บ่อยๆเดี๋ยวก็ชำนาญ ไม่ต้องไปสนใจว่าเราจะไปฌานไหนอะไรอาการอะไรออกมา เห็นอะไร อย่าไปสงสัยใส่ใจมัน ให้เราประคองไปเรื่อยๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...