ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย na_krub, 12 ตุลาคม 2017.

  1. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    668D60A8-5D2E-421E-85D2-A17538AC8ED4.jpeg

    ความตายนี้ไม่น่ากลัวเลย เพราะมันตายแค่กายสังขาร แต่จิตนี้ยังคงอยู่ ดังนั้นถ้าโยมกลัวตายเมื่อไหร่ เจ้ากรรมนายเวรก็ดี โรคภัยไข้เจ็บก็ดีมันจะเข้ามารุมเร้า เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ถ้าโยมไม่กลัวตาย ถ้าไม่กลัวตาย..ต้องทำยังไง ให้โยมระลึกถึงความตาย เมื่อระลึกถึงความตายเสียแล้วโยมตั้งจิตอธิษฐานบุญกุศลให้แผ่เมตตาให้กับพญายมราชให้เค้าอย่างนี้ ก็เรียกว่าจะเป็นมิตรเป็นญาติกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่เชื่อโยมก็ลองทำดู อย่าเพิ่งเชื่อ ไปทำดูก่อน

    ให้ระลึกถึงความตาย ความตายมันจะมีกับเราอีกไม่นานไม่ช้า เรานี้แลก็ต้องตายไปป่าช้าไปเผา ในร่างกายสังขารก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอะไรนัก ให้เราอธิษฐานดวงจิตไปอย่างนี้ เมื่อเสร็จแล้วตั้งจิตอย่างนี้แล้วคลายจากความกลัวสะดุ้งผวาเสียแล้ว ก็ให้ตั้งจิตอธิษฐานให้กับพญายมราชเค้าซะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าเรายิ่งกลัวอะไร..สิ่งนั้นยิ่งมายิ่งเจอ ยิ่งเกลียดอะไรก็ยิ่งมา นั้นอย่าไปกลัวไปเกลียดอะไร ให้ระลึกอยู่บ่อยๆ นั้นทำไมคนที่เรายิ่งเกลียดแล้วทำไมต้องเจอ..เพราะอะไร ก็โยมไปเกลียดเลยยิ่งเจอ งั้นจะทำยังไง โยมต้องแผ่เมตตาให้เค้าอยู่บ่อยๆ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ละเกลียดให้มากๆ นั่นแหล่ะเดี๋ยวเค้าก็จะไปที่อื่น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าคนต่างเกลียดกันเมื่อไหร่..มันไม่มีทาง มันเป็นแรงดึงดูดที่จะพยาบาทกันซักวัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นถ้าโยมเกลียดใครขอให้โยมแผ่เมตตาจิตให้มากๆ การแผ่เมตตาจิตให้มากๆมันเป็นอย่างไร ให้กับคนที่เราไม่ชอบ เราก็อย่าเพิ่มเชื้อ อย่าไปตีด้วยวาจา อย่าไปตีด้วยสายตา ถ้าเราแผ่เมตตาแล้วเราต้องเป็นมิตรทั้งวาจาทั้งสายตา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมตตาเราก็ต้องเมตตาให้จริง คือทำดีกับเค้า เมื่อเค้าเป็นมิตรแล้วนั่นแล เห็นมั้ยจ๊ะ มันก็จะเลิกเกลียดกันไปเอง ถ้าเราทำดีกับเค้าแล้วเค้าไม่ดีกับเรา ก็เรียกว่าเป็นกรรมของเค้าเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราไม่คิดเกลียดใคร..เราก็ไม่ทุกข์ใจ ใครที่คิดเกลียดเราเค้าก็ทุกข์ใจ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เค้าทุกข์แต่ตัวเค้าเองนั่นแลที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวเค้าทุกข์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่มันเป็นอย่างนั้นต่างหาก

    การที่เราอนุเคราะห์ส่งแผ่บุญเมตตา อโหสิกรรมให้เค้านี้แล้ว นี่เรียกว่าเราพยายามช่วยเค้าทางอ้อม เป็นการเจริญเมตตาธรรมอย่างหนึ่ง เข้าใจมั้ยจ๊ะ และเป็นการตัดเวรอย่างหนึ่ง เราพยายามตัด แต่ถ้าเค้าไม่คิดจะช่วยตัวเองแล้วนั่นแล เค้านั่นแหล่ะคือสาเหตุที่ทำให้ตัวเองทุกข์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นกรรมของใครก็ไม่มีใครสามารถรับกรรมให้กันได้ แต่ถ้าต่างคนต่างมีพยาบาทต่อกัน สักวันมันก็ต้องเกิดเวรขึ้นสักวัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ อ้าว..ก็ต่างคนต่างมีเชื้อ มันก็ดึงดูดหากัน ใช่มั้ยจ๊ะ ถ้าอีกคนพยาบาท อีกคนพยายามละพยาบาท มันก็จะถอยห่างกันโดยธรรมชาติของมัน เข้าใจอย่างนี้มั้ยจ๊ะ เค้าเรียกว่าแรงกรรม

    แต่ถ้าคนนี้มันมีแรงกรรม แต่ถ้าคนนี้มันต้องการออกจากกรรม เห็นมั้ยจ๊ะ มันจะต้านกันทันที แต่ถ้าต่างคนต่างที่จะพยาบาทกันมันยิ่งเข้ามา สักวันหนึ่งมันจะมีชนวนหรือมีมือที่สามเข้ามายุว่าไอ้นี่ว่ามึงอย่างนั้น ไอ้นั่นว่ามึงอย่างนี้ เดี๋ยวก็เจอกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วการที่เราละพยาบาทเสียได้นี่เรียกว่าเป็นการตัดเวร เข้าใจมั้ยจ๊ะ คำว่าเวรนี่คืออุปสรรคอย่างหนึ่ง เรานั่งสมาธิไปถ้าเรามีเวรอาฆาตพยาบาทกับใครเดี๋ยวมันก็มีเข้ามาในจิตเรา ทำให้จิตเรามันขุ่นมัว มีโทสะ เกิดความเร่าร้อนจิต ทำให้จิตเกิดอกุศลแล้วทีนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เค้าถึงบอกว่าก่อนที่เราจะนั่งสมาธิเจริญภาวนาจิต ให้เราตั้งจิตอธิษฐานแผ่เมตตาให้กับคนที่เราชอบหน้าไม่ชอบหน้า นี่เค้าเรียกว่า"การแผ่เมตตาไม่มีประมาณ" คำว่า"ไม่มีประมาณ"คือไม่เลือกหน้า ไม่เลือกชนชั้นวรรณะชอบหรือไม่ชอบ จึงเรียกเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งคือไม่เจาะจง เข้าใจมั้ยจ๊ะ จึงมีอานิสงส์มากอย่างหนึ่ง นี่เรียกว่าเป็นการแผ่เมตตาเปิดบุญ

    นั้นขอให้โยมอย่าได้เห็นว่ามันเป็นบุญเล็กน้อย สิ่งใดก็ตามที่ทำให้เราละอาฆาตพยาบาทได้นี่แล นี่เค้าเรียกว่าเชื้อไฟอกุศล มันเป็นรากเหง้า ถ้าโยมตัดรากเหง้ามันนี้ได้เมื่อไหร่ชีวิตโยมจะมีแต่ความสุขความเจริญ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าศัตรูกลับกลายเป็นมิตรได้..แสดงว่าโยมไม่ธรรมดา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าศัตรูกลับกลายเป็นมิตรได้นี่เรียกว่าบารมีโยมไม่ธรรมดา แสดงว่าโยมมีเมตตาบารมีมาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นถ้าเราคิดจะเกลียดใครแสดงว่าโยมกำลังสร้างเวรให้ตัวเองแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะถ้าโยมเกลียดใครซักคนหนึ่ง..มันไม่ได้เกลียดเฉพาะไอ้คนปัจจุบันในภพในชาติ แต่ไอ้คำว่าเกลียดนี่ ไอ้ที่โยมเกลียดยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้เกิดก็มี เดี๋ยวมันจะเข้ามาหาหมดเลยทีนี้ เพราะแรงความพยาบาท เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถึงได้บอกว่ามีเรื่องราวมากมายที่เข้ามา เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ขณะที่จิตโยมแผ่เมตตาออกไป แผ่กุศลอโหสิกรรมให้กับคนที่เราอาฆาตพยาบาทไม่ชอบหน้าก็ดี..ไอ้พวกนั้นได้ไปเกิดหมด เห็นมั้ยจ๊ะ กลายเป็นอุปสรรคมันถูกตัดออกไป แล้วก็ให้เค้ามาโมทนาสาธุกับบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ละอาฆาตพยาบาทนี้

    ขอบุญกุศลนี้จงสำเร็จประโยชน์กับดวงจิตดวงวิญญาณที่มีความอาฆาตพยาบาทกับข้าพเจ้า ขอให้เค้าพ้นทุกข์พ้นภัย พ้นจากทุกข์ ขอให้เค้าสุขยิ่งๆขึ้นไป จงอาศัยอำนาจแห่งพระรัตนตรัยนี้ให้พ้นทุกข์พ้นภัยไป อย่างนี้เค้าเรียกเป็นการตัดอุปสรรคทั้งทางโลกและทางธรรม แบบนี้โยมจะไม่มีศัตรูที่ถาวร เข้าใจมั้ยจ๊ะ คือจะไม่มีใครผูกใจเจ็บกับโยม ไปไหนก็จะมีแต่คนเมตตา..นี่คืออานิสงส์ของการแผ่เมตตาจิต เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  2. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    3FD86DD4-819F-4640-A3B7-BA3E8A29CB5C.jpeg

    ขึ้นชื่อว่าศรัทธา เมื่อเราศรัทธาสิ่งใดสิ่งนั้นก็ให้ผลได้ อย่างน้อยก็เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เมื่อเรามีจิตจดจ่อเชื่อมั่นในสิ่งใด สิ่งนั้นมันก็เกิดปาฏิหาริย์ได้ ถ้าเราไม่ศรัทธาต่อสิ่งใดที่จะเข้าถึงความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่าไม่มีจิตที่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว จะทำให้จิตรวมตัวเป็นหนึ่ง หรือธาตุทั้ง ๔ รวมตัวเป็นหนึ่ง อิทธิปาฏิหาริย์ก็บังเกิดได้ยาก

    นั้นสิ่งทั้งหลายก็เป็นสิ่งที่ว่าเป็นสิ่งสมมุติให้เรานั้นข้ามสิ่งสมมุติ ถ้าสิ่งนั้นมันมีบารมีจริงมันก็ทำให้เราเข้าถึงความสงบ มีกำลังใจมีบารมีได้ เพื่อจะเชื่อมต่อกับสิ่งที่ครูบาอาจารย์เค้าบอก เมื่อเราศรัทธาในครูบาอาจารย์ว่าสิ่งนั้นมันสามารถเชื่อมต่อเข้าถึงได้ แสดงว่าสิ่งนั้นก็เป็นยานพาหนะอย่างหนึ่ง

    ก็เหมือนสมาธิเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อให้จิตเราเข้าถึงความสงบ เมื่อเราถึงแล้วสิ่งนั้นเราต้องใช้อีกหรือไม่ ก็จะใช้ต่อเมื่อเรานั้นจิตมันเริ่มฟุ้งซ่าน..ต้องอาศัยภาวนา เช่นว่าภาวนาพุทโธเพื่อให้เกิดกำลังสมาธิ นั้นถ้าเราไม่มีองค์ภาวนาจะเข้าถึงสมาธิก็ไม่ได้ เมื่อไม่มีสมาธิจะเข้าถึงจิตที่ตั้งมั่นก็ไม่ได้ เมื่อไม่มีศีลที่จะทำให้เกิดขึ้น..ให้เกิดสมาธิมันก็ยาก

    นั้นคนที่ภาวนาไม่ขึ้นเป็นเพราะอะไร คำว่าภาวนาไม่ขึ้นคือเรียกบุคคลผู้นั้นศีลนั้นบกพร่องอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถเจริญภาวนาหรือทำสมาธิได้เลย ก็เหตุเพราะว่าเรานั้นไปเบียดเบียนหรือล่วงเกินปรามาสในศีล คือศีลมันชำรุด จนไม่สามารถทรงอารมณ์ให้จิตมันสงบได้แม้ช่วงขณะจิตเดียวเลย ก็จะมีขันธมารหรือเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงก็ดีมาล่วงเกิน มาเบียดเบียน มาขัดขวางอยู่ตลอดเวลา มันจึงจำเป็นต้องให้มีการภาวนาและเจริญทาน คือการสละ คือการให้ คือการขอขมากรรม ขออโหสิกรรมอย่างนี้..

    ดังนั้นเรานั้นไม่สามารถทำให้ศีลเกิดได้ตลอดเวลา แต่เราสามารถทำให้มันเกิดได้ คือให้มันมีได้ นั่นคือให้มีสติให้รู้ว่าการที่จะมีศีลได้ต้องทำอย่างไร คือเราต้องมีความสำรวมกายวาจาใจ อะไรที่ว่าคำว่าสำรวม..ก็คือการระวัง อะไรที่จะทำให้เรามีความระวัง..ก็คือต้องมีตัวสติ ไม่เผอเรอ แล้วอะไรเรียกว่าตัวสติ การที่เราภาวนาอยู่นี้ต้องมีสติมั้ยจ๊ะ ต้องมีสติกำกับหรือไม่ (ลูกศิษย์ : มีครับ) นั้นเค้าว่าองค์ภาวนานี้แลดีที่สุด แม้พระองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็ต้องภาวนา

    จะภาวนาดูลมอานาปานสติก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ให้จิตเรามีสติ ดึงรู้อยู่ เรียกว่าเป็นเครื่องรู้ ไอ้ตัวรู้คือตัวสติตัวระลึกได้ เมื่อเราระลึกได้ว่าเราทำอะไรอยู่ในขณะนั้น..สิ่งนั้นเรียกว่าตัวสติ ว่าสิ่งนั้นที่เราทำว่ามันดีหรือไม่ดี เป็นคุณหรือเป็นบาป ให้โทษหรือผลอย่างไร..

    ดังนั้นแล้วผู้ที่เจริญสมาธิภาวนาก็ดี ต้องมีตัวสติเป็นตัวนำ แต่บางคนที่จะเข้าถึงตัวสติ เข้าถึงศีล เข้าถึงสมาธิ เข้าถึงองค์ภาวนาได้ บุคคลผู้นั้นทั้งหลายจะสร้างบารมีแม้จะเล็กจะใหญ่..ก็ต้องมีความศรัทธา หากไม่มีศรัทธาแม้ตัวเดียวย่อมทำอะไรให้เกิดขึ้นมาไม่ได้เป็นรูปธรรม แม้นามธรรมก็เข้าถึงไม่ได้ คือยังไม่เข้าถึงจิตตัวเอง คนที่ยังไม่รู้จิตตัวเองจะไปรู้อย่างนู้นอย่างนี้ไม่ได้

    ดังนั้นการฝึกจิตนี้แลจึงนำประโยชน์มาให้อย่างมหาศาล เมื่อเรารู้จิตตัวเองแล้วเราย่อมรู้จิตของผู้อื่น เมื่อรู้เท่าทันสภาวะจิตของตัวเอง ย่อมรู้สภาวะจิตของคนอื่นเช่นเดียวกัน จิตของตัวเราเป็นอย่างไร จิตของเรามีอะไรหล่อเลี้ยงถามมันดู คือมีความโลภ มีความโกรธ มีความหลง นี่แลที่จิตเรานั้นมันทุกข์ร้อนอยู่ตลอดเวลา ก็เพราะ ๓ ตัวนี้ ที่มันคอยแห่คอยหามเราอยู่ตลอดเวลา และนำพาให้เราไปเกิดดีบ้างไม่ดีบ้าง เกิดทุกข์บ้างสุขบ้างเหล่านี้

    เมื่อเรารู้ ๓ ตัวนี้ได้ คือมารู้โทษรู้คุณมัน เมื่อเรารู้เท่าทันมันแล้ว ความเร่าร้อนของจิตนั้นมันก็จะเบาบางลง ตัวรู้ตัวนี้แลเค้าเรียกว่ารู้แห่งภพแห่งชาติ เพราะไอ้ ๓ ตัวนี้ไฟกิเลส ๓ กองนี้แลคือเผาไหม้ให้เกิดให้ตายมาไม่รู้เท่าไหร่แล้ว นั้นฉันเคยบอกว่าท่านสมเด็จฯเคยบอกสอนว่าไปสวรรค์ มาบัดนี้ท่านพอมีบารมีบ้างท่านก็เลยจะบอกว่าจะพาไปนิพพาน

    นิพพานไม่ใช่ว่าเป็นที่ว่าง แต่นิพพานคือเมืองๆหนึ่ง และจะเกิดนิพพานได้มันต้องเกิดจากการบำเพ็ญเพียรจากการเป็นมนุษย์ จะเป็นอรหันต์ พระอริยะเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดี ต้องมาบำเพ็ญที่กายมนุษย์นี้ ในภพภูมินี้ที่มีกายหยาบ มีอาการ ๓๒ ที่สามารถฝึกจิตได้

    ดังนั้นแล้วจึงบอกว่าเมืองนิพพานไม่ใช่เมืองที่เป็นที่ว่าง ถ้าว่างแล้วไม่ใช่ว่านิพพาน แต่เมืองนิพพานเป็นเมืองที่ว่าเป็นความสุขเย็น ไม่ทุกข์ไม่ร้อน ว่างคือว่างจากกิเลสตัณหาอุปาทานที่ร้อยรัด..นั่นเรียกว่าว่าง แต่ไม่ใช่ว่างโดยที่ไม่มีอะไร ฉันไม่เข้าใจหรือก็ไม่รู้ว่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านไหนบอกว่านิพพานแปลว่าความว่าง

    แต่ที่ฉันเห็นที่สัมผัสได้นิพพานไม่ได้ว่าว่าง แต่ที่ว่างคือว่างจากกิเลสตัณหาอุปาทาน ดับสูญ..นิพพานก็ไม่ได้แปลว่าดับสูญ แต่ที่ดับสูญคือดับกิเลสตัณหาให้มันสูญ ไม่ให้มันเกิดภพเกิดชาติเกิดเชื้อขึ้นมาอีก เหมือนที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านดับสูญ ดับแต่กิเลสแต่จิตท่านยังอยู่ แสดงว่าจิตมีวันตายมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ :ไม่มีค่ะ) นี่แหล่ะ งั้นเมื่อไม่มีวันตายจิตไหนที่เป็นอมตะแล้วก็ไปอยู่ที่เดียวกัน ฉันรู้มาอย่างนั้น ฉันเห็นมาอย่างนั้น..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  3. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    915F625F-6344-46ED-A482-BE644D063F61.jpeg

    โลกธรรม ๘ นี้ไม่มีอะไรตั้งอยู่คงทนได้นาน เมื่อหวังความเด่นความดังลาภสักการะทั้งหลาย..สักวันต้องมีความเสื่อม เหมือนร่างกายสังขารนี้ เมื่อเราเคยหนุ่มสาว มาบัดนี้ก็ให้พิจารณาดู..มันมีความเสื่อม ความเสื่อมมันเป็นอย่างไร เคยมีแรงมากก็เหลือแรงน้อย เข้าใจมั้ยจ๊ะ เคยกินได้มากก็กินได้น้อย นั่นเรียกว่ามันมีความเสื่อมเป็นธรรมดา

    อะไรบ้างที่ไม่เสื่อม ความไม่อยากได้เป็นนั่นเป็นนี่นั่นแล..จะไม่เสื่อม ความอยากพ้นทุกข์นั่นแล..จะไม่เสื่อม เพราะความอยากนั่นแลทำให้เกิด..ย่อมนำไปเพื่อความเสื่อมทั้งหลาย แต่ถ้าใครไม่ปรารถนาอยากที่จะเกิด..จะไม่มีวันเสื่อมตลอดกาล ตลอดกัปป์ อนันตกัปป์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ถ้าผู้ใดอยากจะมีการเกิดอีกมันก็มีความเสื่อม ในโลกนี้จึงหาความจริงอะไรไม่ได้ ถ้าตัวเองนั้นยังไม่เข้าถึงความจริงของสัจธรรมว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บเป็นธรรมดา มีความพลัดพรากเป็นธรรมดา มีความเสื่อมเป็นธรรมดา นี่แหล่ะเรียกว่าสัจธรรม ถ้าใครเข้าถึงตรงนี้แล้วย่อมพ้นแห่งความเสื่อมได้ เมื่อได้มาพิจารณาบ่อยๆ

    นั้นการประพฤติปฏิบัติในธรรมมันย่อมเป็นธรรมดา เมื่อเราเดินไปมากเข้า ปฏิบัติไปมากเข้า บางครั้งเราอาจจะอ่อนล้าอ่อนแรง แต่อย่าได้หมดศรัทธา เข้าใจมั้ยจ๊ะ คราใดที่โยมหมดศรัทธาให้ทำอย่างไร ให้ดูพระอริยสงฆ์เป็นตัวอย่าง ให้ดูพระองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเป็นตัวอย่าง กว่าท่านจะบรรลุธรรมว่าลำบากเพียงใด ใช่มั้ยจ๊ะ

    ถ้าคนต้องการความเจริญก้าวหน้าในทางธรรม การอยู่ การกิน การนอน..สำคัญ จำไว้นะจ๊ะ นอนให้พอประมาณ สถานที่นอนก็สำคัญ ต้องเป็นที่สัปปายะ ไม่ติดอยู่ในความสบาย การบริโภคการกินก็เช่นเดียวกัน อะไรที่กินพอประมาณนั่นแลเค้าเรียกความพอดี หรือเรียกอีกทางว่าทางสายกลาง เพราะทางสายกลางเค้าเรียกว่าเป็นความพอดี เมื่อมันมีความพอดีแล้วมันก็เกิดธรรมขึ้นมา เกิดความสมดุลขึ้นมา

    นั้นจะหาความก้าวหน้าในทางธรรมแล้ว หรือทางเดินแห่งมรรคแล้ว การนอน การกิน การอยู่นั่นแหล่ะสำคัญ บ่งบอกได้เลยว่าผู้นั้นมีความก้าวหน้าในทางธรรมเพียงใด แล้วเมื่อมีธรรมชั้นสูงแล้วมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำตัวให้ต่ำมากเท่านั้น การทำตัวต่ำเป็นอย่างไร ไม่ใช่ทำตัวให้ไร้ค่า แต่การทำตัวต่ำเรียกว่าการเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ต่ำศักดิ์กว่า เสมอกว่า สูงศักดิ์กว่าก็ดี จะเป็นผู้ถ่อมเนื้อถ่อมตน นี่เรียกเป็นผู้มีธรรม จะไม่อวดรู้อวดอ้าง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ทำตัวให้เป็นคนธรรมดา เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วจะเข้าใจในชีวิตมากยิ่งขึ้น อย่าทำตัวให้เป็นคนที่เหนือธรรมดา ถ้าทำตัวให้เป็นคนที่เหนือธรรมดาเมื่อไหร่ ปัญหามันก็จะเกิดขึ้นเมื่อนั้น เราอยู่ให้เป็นคนธรรมดา..อยู่ได้นาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะคนที่เหนือธรรมดาเมื่อไหร่ส่วนมากจะมีภาระเข้ามาเกี่ยวข้อง

    มีภาระเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นอย่างไร มีชื่อเสียงเข้ามาเกี่ยวข้อง มียศเข้ามาเกี่ยวข้อง มีสรรเสริญเข้ามาเกี่ยวข้อง มีลาภเข้ามาเกี่ยวข้อง มีคนชอบเข้ามา มีคนไม่ชอบ เหล่านี้แลย่อมนำมาสู่ความเสื่อมวิบัติได้ในภายหลัง แต่ถ้าเป็นคนธรรมดา จะมียศ มีลาภ สุขสรรเสริญอย่างไร มันเสมอตัวมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เสมอตัวค่ะ) เราจะไม่เดือดร้อนเลย เพราะเราไม่ได้ปรารถนาสิ่งนั้น

    คนปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นต่างหากเรียกว่าเดือดร้อน ถ้าเราไม่ได้ปรารถนาสิ่งใดเราจะเดือดร้อนมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่เดือดร้อน) ถูกต้อง..นั่นเรียกว่าคนธรรมดา อย่าเห่อเหิมให้มันมากเกินในอำนาจวาสนาบารมีของเรา ถ้าเรามีใจที่เป็นธรรมเสียแล้ว นั่นแหล่ะจ้ะเราจะอยู่ในทางเดินแห่งมรรค คือความพอดีสันโดษมักน้อย

    เมื่อเรามักน้อยแล้ว แม้กรรมที่จะเกิดขึ้นมันจะเป็นเพียงผลกระทบเล็กน้อยที่เรารับได้ เพราะเราเรียกว่าเราชิน ใช่มั้ยจ๊ะ กินอยู่อย่างนี้ก็อยู่ได้แล้ว ไม่มีกินอีกซักหน่อยก็ยังไม่เป็นไร ใช่มั้ยจ๊ะ แต่ถ้าเรากินดีอยู่ดีแล้วเราไม่มีกิน เดือดร้อนมั้ยจ๊ะ มันเริ่มไม่ชินนั้นเอง ฌานเริ่มเสื่อม ดังนั้นขอให้เข้าใจอย่างนี้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  4. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    70E5008A-8026-4303-8C1C-3926FBE2D9A0.jpeg

    อันว่านิพพานแท้ที่จริงแล้วก็ไม่ได้อยู่ที่ไหน ขอให้โยมพิจารณาตามสิ่งที่ได้ยิน เมื่อเราสำรวมความสงบด้วยกาย วาจา ใจตั้งมั่นดีแล้ว ก็กำหนดสมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจอานาปานสติเข้าออก จนรู้ว่าลมนั้นสงบแล้ว..สงบที่ใดในกายก็วางลมนั้น ณ ที่แห่งนั้น เมื่อเราวางแล้วเห็นว่าสงบดีแล้ว สิ่งอื่นใดทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเสียงอันใดก็ขอให้รู้ได้ยินแล้วก็วางเฉย

    นั้นก็เรียกว่าเราต้องดับอารมณ์ในขันธ์ ๕ คือไม่สนใจ คือวางอุเบกขาให้มันเกิดขึ้น นั้นก็เรียกว่าอันดับแรกเราต้องวิตกในอารมณ์ก่อน วิตกอารมณ์ก็คือลมหายใจของเรานี้แล เมื่อเราวิตกแล้วกำหนดลมเข้าออก ล้างลมเสียออกจากปอดแล้ว เมื่อลมมันสงบนิ่งในขณะนี้ ก็เอาความสงบนิ่งของลมนี้แลดูอยู่ที่กาย

    การดูอยู่ที่กายดูอย่างไร ดูที่กายคือดูความรู้สึกของกายของใจเรานี้ เมื่อมันสงบแล้วให้เราวางเฉยในความสงบนั้น ให้นิ่งสงบ จิตนั้นไม่ส่งออกไปภายนอก หยุดความคิดปรุงแต่งในอดีต หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าคืออนาคต รู้เฉพาะในปัจจุบันของจิต กำหนดจิตอยู่ในกาย เมื่อรู้กายแล้วก็รู้ว่าเราอาศัยกายอยู่

    แล้วว่าการจะไปนิพพาน การดับอารมณ์ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขารล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย ดังนั้นลองพิจารณาดูง่ายๆ ตั้งแต่เราเกิดมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีอะไรที่เป็นสุขเป็นเรื่องเป็นราวที่มีแก่นสารหรือไม่ ความทุกข์อะไรที่บีบคั้นเรา ความน่าละอายสิ่งใดที่ทำให้เรานั้นขาดจากความเป็นมนุษย์ ขาดจากศีลจากธรรม ให้ระลึกรู้ว่าสิ่งที่เราทำมาอะไรนั้นมันมีแก่นสารหรือไม่

    พิจารณาดูซิว่าเราเสวยสุขหรือทุกข์มากกว่ากัน เมื่อเห็นว่าสิ่งที่เราผ่านมาพิจารณาแล้วไม่มีสาระแก่นสารอันใดเลย อย่างนี้แล้วเราก็จะละออกจากกาย การละออกจากกายก็คือการดับรูป การดับรูปคืออะไร ก็เรียกว่าเมื่อจิตเราเพ่งรู้อยู่ในกายอยู่ในความสงบ ก็เห็นความสงบนั้นอารมณ์นั้นเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป ก็กำหนดรู้ในอารมณ์นั้น ให้เท่าทันในอารมณ์นั้นแล้ววางเฉย เรียกว่าวางเฉยอยู่ในกาย คือไม่ต้องสนใจกายแต่รู้อยู่ในกาย

    เมื่อรู้อยู่ในกายแล้วก็ทำความรู้นั้นให้แจ้งด้วยปัญญา เอาปัญญานั้นไปพิจารณาอะไร พิจารณาความเสื่อมของสังขาร ความตายที่จะเกิดขึ้น ความไม่แน่นอน สิ่งทั้งหลายนั้นเป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตาคือความว่าง เมื่อจิตที่ว่างจากความคิดนี้แลเค้าเรียกว่า"นิพพานชั่วขณะ"

    แต่ว่าจิตที่เราจะว่างจากความคิดมันเป็นอย่างไร มันต้องว่างจากอารมณ์ที่เราไปยึดมั่นถือมั่นของกาย ของสังขาร การจะถอนอุปาทานจากขันธ์นี้เราต้องเพ่งโทษในกายเสียก่อน เห็นว่ากายนี้เป็นที่รังของโรค อัตภาพนี้มันมีสุขน้อยมันมีทุกข์มาก ไม่ช้าไม่นานกายสังขารนี้ก็ต้องแตกสลายไป เพราะว่ามันประกอบขึ้นมาด้วยดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศธาตุ จิตวิญญาณธาตุ

    เมื่อมันมีแต่ธาตุ มันมีแต่เกิดขึ้นมาปรุงแต่งอย่างนี้ เมื่อถึงเวลาของธาตุกายสังขารที่จะแตกดับออกไปแยกออกจากกัน ก็หามีประโยชน์อันใดไม่ เหมือนท่อนไม้ท่อนฟืนอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็แสดงว่ากายสังขารนี้มันไม่ใช่ของเรา สิ่งไหนที่เราบังคับบัญชามันไม่ได้สิ่งนั้นไม่ควรยึด เพราะเมื่อยึดแล้วมันก็จะเป็นทุกข์

    เมื่อกายสังขารมันไม่ใช่ของเรา แต่ทำไมเรียกว่าเป็นเรา ที่ว่าเรียกเป็นเรา เป็นกู เป็นมึง เพราะเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ตอนนี้เราไม่อยากเป็นมัน เราไม่อยากเป็นเรา แต่เราต้องอยากรู้เราว่าสิ่งที่เราอาศัยอยู่นี้ แท้ที่จริงแล้วมันคืออะไร เมื่อเราเห็นตามความเป็นจริงได้ว่ากายสังขารนี้เป็นเพียงกายชั่วคราว ที่เราได้มาอาศัยจุติให้สร้างบุญสร้างกุศลสร้างบารมี ดังนั้นเราจะเอากายสังขารนี้ได้ใช้ประโยชน์เป็นครั้งสุดท้าย

    เมื่อเห็นว่ากายสังขารนี้มันมีแต่ทุกข์ มีความตายรออยู่เบื้องหน้า ก็ให้เพ่งโทษในกายจนถึงที่สุด ของที่สุดของอารมณ์เป็นอย่างไร อารมณ์เหล่าใดก็ตามที่เราเจริญแล้ว เราระลึกแล้วนั้นทำให้เราเกิดการสละ เกิดการปลงสังเวชเสียได้อย่างนี้ ด้วยการถอดถอนจากอุปาทานจากขันธ์ของจิตที่ยึดมั่นถือมั่นอย่างนี้ได้ นั่นแลไม่นาน..นิโรธมันก็บังเกิด

    นิโรธก็คือการเห็นอารมณ์เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป เห็นสภาวะความไม่เที่ยงของอารมณ์ของจิต อย่างนี้แล้วก็เรียกว่านิโรธมันก็บังเกิด ผลจากเห็นอย่างนี้ของจิตที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็นสภาวะความไม่เที่ยงอยู่บ่อยๆ ก็เรียกว่ามรรคมันก็บังเกิด เมื่อมันเป็นอย่างนี้แม้จิตเราเองก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    ก็เมื่อเหลือแต่จิตแล้วตอนนี้ถ้าหากว่ากายมันดับไปเมื่อพิจารณาไปแล้ว ก็เอาอารมณ์ของจิตนั้นแล ที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปนั้นแลมาพิจารณา จนว่าอารมณ์ทั้งหลายนั้นมันดับลงไปไม่เหลือ ไม่นานสมาธิมันก็บังเกิด เมื่อสมาธิบังเกิด ฌานมันก็บังเกิด วิปัสสนาญาณมันก็บังเกิด เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นก็เพราะว่าอวิชชาคือความไม่รู้

    เมื่อเราไปพิจารณากำหนดรู้ในกายเสียได้ว่า กายนี้ที่แท้จริงแล้วมันเป็นของชั่วคราว อัตภาพนี้มันมีแต่ทุกข์ที่ว่าอาศัยอยู่ เมื่อเราเห็นโทษภัยในกายสังขารนี้ว่า ไม่ช้าไม่นานกายสังขารนี้ก็ต้องดับสลายไปเหมือนกับทุกๆคน ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงใดมากน้อยเพียงใด ก็ต้องตายหมดเท่านั้น อย่างนี้แล้วชื่อว่าความเป็นจริงได้บังเกิดขึ้น ได้ประจักษ์ขึ้นกับในจิต

    เมื่อเห็นอย่างนี้ได้เราก็จะวางกายนี้ คือไม่สนกาย ไม่ไปยึดกาย แต่จะอาศัยกายนี้ประคองจิตจนว่าจิตนั้นมันรู้แจ้งแล้ว จิตมันสงบแล้ว ก็จะวางธาตุขันธ์นี้ไว้ตามฐานะของมันอย่างนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เรียกว่าเรากำหนดอยู่ในกาย นี้แลจิตคือความรู้สึกไปกำหนดอยู่ในกาย จิตนั้นกับกายได้แยกกันอยู่แล้ว เพราะว่าจิตนั้นได้กำหนดรู้ว่านี่คือกายแต่ไม่ได้ยึดกาย แม้อารมณ์จะเกิดขึ้นในเวทนาของกายก็สักแต่ว่าเป็นเวทนา เป็นความรู้สึก..เราก็วาง นี่แลเค้าเรียกว่าอุเบกขามันก็บังเกิด

    เมื่อจิตมันถอนอุปาทานแห่งขันธ์ ก็เรียกว่ายกจิตขึ้นมา เมื่อจิตมันมีกำลังก็ยกจิตขึ้นมาไว้กลางหน้าผาก ในขณะนี้ถ้าเมื่อเรายกขึ้นมาได้ ก็จะเห็นว่าร่างกายก็ดี ความรู้สึกก็ดีมีความเสียววาบเสียวซ่านไปทั้งส่วนสรรพางค์กายนี้แล ก็ให้เราประคองจิต วางจิต คือวางเฉยของจิตนี้เพ่งรู้อยู่ที่กลางหน้าผาก ทำความรู้สึกให้มันสงบนิ่ง ประคองจิตไว้

    ถ้าเมื่อประคองแล้วมันยังไม่นิ่งก็ให้กลับมากำหนดลมเข้าไปใหม่ แล้วก็วางจิตที่มันสงบนี้อยู่ในกาย เมื่อสงบ..จิตมันตั้งมั่นก็ยกขึ้นไปใหม่ ทำอยู่อย่างนี้ เรียกว่ามีวิตกอยู่ในกาย วิตกในอารมณ์ วิจารละอารมณ์ดับแล้ว เมื่ออารมณ์มันสงบก็ยกขึ้นไปใหม่ ทำอยู่อย่างนี้

    เมื่อผู้ใดเรายกขึ้นไปได้สำรวมจิตไว้ที่กลางหน้าผากได้ ขอให้ประคองจิตอยู่อย่างนี้ให้นิ่ง เพราะโดยธรรมชาติของจิตของทวารของจิต..ตัวปัญญาตัวญาณมันจะเกิดตัวรู้ทางนี้ ถ้าจิตที่ตั้งมั่นสงบนิ่งมากมันจะระงับทุกอย่าง แม้ความหนาวเหน็บความหนาวเย็นสิ่งใด เสียงอันใดก็ตาม จิตมันจะมีความละเอียดมากขึ้นมากขึ้นมากขึ้น

    เมื่อจิตมีความละเอียดมากขึ้นมากขึ้น แม้เสียงอันใดก็ตามที่เราได้ยิน มันก็จะเบาบางลงจนเสียงนั้นดับไป นิ่งไปสงบไป ทีนี้แล้วจิตเราก็จะมีแต่ความสงบ อาศัยสมาธินี้แล อาศัยฌานที่เราจดจ่อเพ่งรู้อยู่เป็นอารมณ์ เป็นเอกัคคตา จิตและลมหายใจเป็นหนึ่งแล้ว ก็เรียกว่าจิตมันสงบระงับ

    คำว่า"ระงับ"ก็คือนิโรธมันบังเกิด เห็นอารมณ์เหล่าใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปมันก็วาง เห็นจิตอะไรที่มันเข้าไปกระทบผัสสะก็รู้แล้วก็วางอยู่อย่างนี้ รู้แล้ววาง เห็นแล้ววาง ผัสสะมากระทบก็วาง นี้แลเรียกว่าจิตไม่เข้าไปยึดไม่เข้าไปปรุงแต่ง จิตที่ไม่เข้าไปยึดไม่เข้าไปปรุงแต่งนี้แล เค้าเรียกว่าจิตที่ว่างจากความคิด ว่างจากอุปาทานแห่งขันธ์ ว่างจากชรา ว่างจากมรณาอย่างนี้..
    ถ้าโยมมุ่งมันอยากจะรู้ว่าสภาวะนิพพานที่โยมปรารถนา..ก็ขอให้โยมพิจารณาตามดู

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  5. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    012DFCE0-CD89-4B1B-9EEB-423059038899.jpeg

    หลวงปู่ : แม่ชีนี้ง่วงมากมั้ยจ๊ะ ลองย้อนกลับไปดูว่าวันๆหนึ่งเราทำอะไรบ้าง ตอนที่เรามีกำลังจิตกำลังกายที่มีกำลัง จิตในขณะนั้นเสวยอารมณ์ใด ถึงได้มีความปิติและสุขด้วยความพอใจหรือใคร่ในสิ่งนั้นที่เราทำ แล้วในขณะนี้เล่าที่เราจะมาเจริญความเพียร รู้สึกว่าทำไมกายสังขารเรานี้อ่อนล้า เป็นเพราะอะไรเล่าจ๊ะ..

    แม่ชี : บางทีสังขารก็อ่อนล้าเจ้าค่ะ
    หลวงปู่ : แล้วเอาสังขารไปทำอะไรจ๊ะ

    แม่ชี : บางทีก็ทำงานเจ้าค่ะ
    หลวงปู่ : แล้วตอนที่ทำไม่ได้ภาวนาเหรอจ๊ะ
    แม่ชี : ภาวนาเจ้าค่ะ

    หลวงปู่ : ตลอดมั้ยจ๊ะ
    แม่ชี : ไม่ตลอดเจ้าค่ะ บางทีก็จิตออกข้างนอกเจ้าค่ะ

    หลวงปู่ : จิตโยมส่งออกไปมากเท่าไหร่ มากเท่าไหร่ก็นั่นแหล่ะ กำลังแรงม้าโยมก็ไปมากเท่านั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะงั้นวันหนึ่งที่โยมมาเนี่ยะ โยมมีอารมณ์ที่มากระทบจิตมากมาย เป็นทั้งดีและไม่ดี เป็นทั้งเรื่องเก่าเรื่องใหม่ แล้วก็เรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้นเค้าเรียกว่าอุปาทาน

    ลองมาครุ่นคิดพิจารณาวิตกวิจารดูซิ ถ้าเรื่องเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นในจิตในภวังค์ของเราแล้ว มันจะมีปิติสุขอย่างเดียว เข้าใจมั้ยจ๊ะ มนุษย์นั้นเรียกว่ามีความกังวล จิตใจมันรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้หดหู่เศร้าหมองเพราะอะไร เพราะเรามีความกังวล นั้นการสวดมนต์ก็ดีในขณะนั้นของจิต เราจะลืมเรื่องต่างๆไปที่ไม่ดี ใช่มั้ยจ๊ะ แต่ถ้าเราไม่มีความตั้งมั่นในการสวดมนต์ ปล่อยให้อารมณ์เหล่านั้นมันเข้ามาสิงสู่ มาครุ่นคิดอยู่ในขณะนั้น มันก็ยิ่งเติมตัวบั่นทอนในการเจริญกุศลคุณงามความดี

    นั้นเมื่อโยมจะมาเจริญคุณงามความดีหรือกรรมฐาน วันๆหนึ่งโยมไม่รู้เท่าทันในอารมณ์ในสติ ส่งจิตออกไปแต่ภายนอกแล้วนี่แล..มันก็เรียกว่าเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เหตุที่จิตนั้นส่งออกไปภายนอกนั้นแลเรียกว่าทุกข์ เมื่อรู้ว่าทุกข์แต่ไม่ได้กำหนดรู้ว่าทุกข์นั้นที่เราส่งจิตออกไปนั้นไม่ได้ดับลง ไม่ได้ละลง อารมณ์เหล่านั้นวิญญาณเหล่านั้นก็ติดตามมา

    พอมันติดตามมาแล้ว พอเราจะมาเจริญคุณงามความดีเจริญกุศลมันก็เจริญได้ยาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดวงจิตวิญญาณของมนุษย์ถ้ามีอารมณ์พวกนี้มาสิงสู่อยู่แล้ว ยากยิ่งนักจะทำอะไรแล้วประกอบคุณงามความดีจะสำเร็จ ย่อมมีแต่อุปสรรคเหนื่อยล้าท้อแท้ เหมือนรถเหมือนเรือทั้งหลายทั้งปวง โยมไปคนเดียวมันก็ไปได้ไว มีหลายๆคนมันก็หนักมั้ยจ๊ะ (แม่ชี : หนักค่ะ)

    นั้นโยมขาดการภาวนา ขาดการแผ่เมตตาจิตอุทิศบุญกุศล เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันจึงตามมาสิงขี่คออยู่อย่างนี้ พอมันมาสิงสู่ที่คอมันก็สิงสู่อยู่ในจิตในใจ คือตัวยึดอุปาทานในขันธ์เกิดขึ้นมา พออุปาทานขันธ์เกิดขึ้นมา..เมื่อจะเจริญคุณงามความดี เจริญความเพียรก็เจริญได้ยาก เพราะอะไรจ๊ะ อ้าว..อินทรีย์มันอ่อนล้าแล้ว

    ถ้าโยมปล่อยอารมณ์เหล่านั้น สละละอารมณ์ลงไปบ้าง ให้เหลืออารมณ์เดียว กายสังขารมันก็เบา แล้วถ้าแบบนี้ไม่มีครูบาอาจารย์คอยมาบอกคอยสอนแล้ว โยมแก้อาการเหล่านี้ได้ยังไงล่ะจ๊ะ ถ้าเราไม่พิจารณาเท่าทันในอารมณ์

    ฉันบอกแล้วไม่ว่าโยมจะไปเสวยอารมณ์มาในทางโลกอะไรก็ตาม จะคิดดีคิดชั่ว กระทำชั่ว ประพฤติชั่วอย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาที่โยมจะต้องมาเจริญพระกรรมฐาน ประพฤติปฏิบัติในพรหมจรรย์แล้ว ขอให้สลัดตัดอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงออกไปเสียให้หมดเสียก่อน อย่าได้ไปคิดถึงไปวิงวอนในความพอใจในความใคร่ในความสุข เลิกคิดออกไปเสีย

    ว่าวันนี้ตลอดทั้งราตรีเราจะเจริญความเพียร ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา อุทิศกายสังขารที่มีลมหายใจอยู่นี้ เพื่อตอบแทนคุณบิดามารดา ผู้มีพระคุณทั้งปวง และแผ่นดินวิญญาณบรรพบุรุษทั้งหลาย จงมาเป็นศิริเป็นมงคลให้กับข้าพเจ้า เราไม่ได้มีการอธิษฐานจิต กำลังน่ะถ้าเราไม่ให้กับตัวเอง โยมจะไปขอพรอะไรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นก็ไร้ประโยชน์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะสถิตในจิตวิญญาณของบุคคลที่จิตนั้นไม่มีสติไม่ได้ โยมต้องมีกำลังของตัวเองเป็นต้นทุนเสียก่อน เมื่อต้นทุนเราอ่อนล้าเราถึงต้องไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใดได้ ไม่อย่างนั้นแล้วสิ่งที่โยมไปขอ ไปกระทำ มันก็เรียกว่าติดหนี้ในบุญกุศล

    แล้วเมื่อโยมมีบุญกุศล..แต่โยมไม่ส่งบุญกุศล ไม่อุทิศบุญ ไม่แผ่บุญ แบบนี้แล้วเค้าก็มารอรับอยู่อย่างนี้ เพราะเรียกว่าโยมไม่รู้หน้าที่อะไรเลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  6. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    277F44A3-2D1F-496B-820B-35D1D26A8D48.jpeg

    อุปกิเลสก็คือเครื่องเศร้าหมอง อารมณ์ที่ทำให้จิตเรานั้นเศร้าหมอง เมื่อจิตเราไปเพ่งโทษดูผู้อื่นเค้า ไปดูจริตจริยาวัตรของผู้อื่นมากๆเข้า จิตเราก็เศร้าหมอง อุปกิเลสมันก็บังเกิดขึ้น แต่ถ้าเราย้อนมาดูเพ่งโทษตัวเอง พิจารณาตัวเราเองได้ จนจิตเราสงบถึงความดีได้ อย่างนี้อุปกิเลสคือความเศร้าหมองทั้งหลายมันก็ดับ อย่างนี้แลเรียกว่าเราได้เจริญบุญเจริญกุศล

    นั้นการไปเพ่งโทษไปพิจารณาผู้อื่น..ว่าจะให้ผู้อื่นนั้นต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว มันไม่ใช่กิจธุระอะไรของเรา กิจธุระของเราก็คือการเพ่งโทษตักเตือนตน พิจารณาตนในความชั่วของตน เพราะว่าวิบากกรรมของมนุษย์นั้น มันก็มีของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว ดังนั้นว่าความสุขความดีให้เราทำให้มากๆ เมื่อเราทำความดีครั้งใด สิ่งกรรมใดที่ล่วงมาแล้วก็ขอให้วางไว้ อย่าได้มาใส่ใจมัน

    เพราะเหตุนี้เล่าสติของเราจึงไม่เท่าทันอุปกิเลสของความเศร้าหมองที่มาครอบคลุมจิต ดังนั้นถ้าเราฝึกจิตอยู่ตลอดทั้งวัน โอกาสที่เรานั้นจะทำผิดนั้นก็มีน้อย นั้นอันว่าศีลนี้เราไม่ได้รักษาได้ตลอดเวลาได้ แต่เวลาไหนเล่าที่อารมณ์นั้นเราขุ่นหมอง เวลานั้นเหตุแห่งธรรมมันก็บังเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดรู้ในอารมณ์นั้น หาใช่ว่าต้องมาเจริญกรรมฐานไม่ เมื่อรู้เหตุแล้วก็กำหนดรู้ เมื่อตัวรู้มันบังเกิดนั้นแล ก็เอาปัญญาไปพิจารณาอารมณ์นั้น

    ก็เหมือนจิตที่ไม่มีกายสังขารแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะประพฤติปฏิบัติธรรมไม่ได้ ก็เอาอารมณ์ของจิตนั้นแลพิจารณาอารมณ์นั้น จนจิตนั้น..ให้จิตมันเข้าถึงความสงบระงับ จนสมาธิมันบังเกิด ปัญญามันบังเกิด ญาณมันบังเกิด มันก็จะพิจารณาดับละอารมณ์นั้นได้

    ดังนั้นอุปกิเลสทั้งหลายหรือความเศร้าหมอง ลองไปพิจารณาดูซิว่าอุปกิเลส ๑๖ อย่างมันเป็นอย่างไร นั้นการที่เราไปเพ่งโทษผู้อื่นมันหามีประโยชน์อย่างใดเลย จักไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ก็ควรหันมาเพ่งโทษในตัวของเราเองดีกว่า อย่าไปเพ่งโทษหรือพิจารณาว่าเราดีกว่าใคร ใครดีกว่าเรา สิ่งเหล่านี้เรียกว่าทำให้จิตเรานั้นเศร้าหมองทั้งนั้น

    ดังนั้นใครจะเป็นอย่างไร จะชั่วจะดีอย่างไรแล้ว ก็เป็นเรื่องวิบากกรรมของเค้า การที่เราเอาจิตนั้นไปเกี่ยวข้องไปผูกพันด้วยแล้ว เท่ากับว่าเรานั้นไปรับกรรมเค้ามา ดังนั้นกรรมทั้งหลายก็ไม่สามารถจะจบลงกันได้ มันก็จะเกิดเวรเกิดพยาบาท จากการเป็นมิตรก็จะกลายเป็นศัตรูอย่างนี้

    ดังนั้นแล้วถ้าเราไม่คิดเพ่งโทษใครเลย เราก็จะไม่มีศัตรูเลย แต่เมื่อใดเราไปเพ่งโทษคิดเอาชนะผู้ใด เมื่อนั้นเรียกว่าเรานั้นมีศัตรูแล้ว แต่ศัตรูที่แท้จริงก็หาใช่ว่าบุคคลที่เรานั้นที่เราจะไปอาฆาตพยาบาทไม่ แต่ศัตรูที่แท้จริงก็คือตัวของเราเอง ที่เรานั้นไม่สามารถเอาชนะอารมณ์แห่งความไม่พอใจแห่งโทสะได้ มันนำมาสู่การพยาบาทของจิต อย่างนี้แลเค้าเรียกว่าเครื่องเศร้าหมอง

    เมื่อจิตเราเศร้าหมองเสียแล้ว การจะไปทำคุณงามความดีให้เกิดขึ้นกับจิตนั้น..มันก็ทำได้ยาก อารมณ์เหล่านี้เมื่อมันเกิดขึ้นกับใคร เท่ากับว่าบุคคลผู้นั้นเลี้ยงอสรพิษไว้ บ้านเรือนนั้นรกสกปรก นั่นเรียกว่าจิตนั้นมันเศร้าหมอง ดังนั้นขอให้ทำความสะอาดจิตให้ดี เมื่อเราจะภาวนาเมื่อเราเจริญสมาธิ เราเห็นจิตแล้ว อารมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ยังมีอกุศลจิต เป็นมูลเหตุให้จิตเรานั้นเกิดอุปกิเลสเป็นความเศร้าหมองจิตเสียแล้วนั้น..ขอให้เราตั้งจิตเสียใหม่

    ความตั้งใจใหม่นี้ไม่ได้ไปบอกให้คนอื่นเค้าตั้งใจใหม่ ให้แก้ตัว แต่เราต่างหากที่ควรตั้งใจ ควรบอกคอยเตือนตัวเองสอนตัวเอง ว่าเราอย่าไปคิดไปตำหนิผู้อื่นเค้าเลย เพราะว่ากรรมของคนอื่นเค้าเป็นแบบนั้น ถ้าเค้ามีสติกำลังพอเค้าคงควบคุมกรรมเค้าได้เฉกเช่นเดียวกับเรา ก็ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้เช่นเดียวกัน

    แสดงว่าทุกคนนั้นก็มีโมหะ มีโทสะ มีราคะไม่ต่างกัน ต่างกันตรงที่ว่าเมื่อโทสะ เมื่อโมหะ เมื่อราคะเกิดแล้ว เราจะเท่าทันมันมากน้อยแค่ไหนต่างหาก นี่แลเรียกว่า"อริยชน"

    ดังนั้นแล้วเมื่อจิตเราก้าวล่วงอารมณ์เหล่านี้มาได้แล้ว จิตเราจะเข้าสู่ความเมตตาของจิต ดังนั้นความรักความใคร่ทั้งหลายชื่อว่าสมุทัย เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ แต่ว่าเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขานี้แล..เค้าเรียกว่าตัวนิโรธ หรือเส้นทางแห่งมรรค ดังนั้นผู้ใดยังตกอยู่ในวังวนแห่งความรักความใคร่ ความผูกพันใดๆก็ตาม ล้วนแล้วยังไม่สามารถพ้นจากความทุกข์น้อยใจไปได้

    ดังนั้นก็เพราะเหตุอันใดเล่า ก็เพราะวิบากกรรมทั้งหลายแห่งสัญญาแห่งความผูกพันต่างๆ ที่เรายังละวางไม่ได้ ดังนั้นเมื่อคราใดเรามีโอกาสได้มาประพฤติปฏิบัติธรรม ก็ขอให้เราเพ่งโทษอาการเหล่านี้ของอารมณ์เหล่านี้ให้มาก จนเห็นอารมณ์ทั้งหลายนั้นเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..แล้วดับไปแห่งความทุกข์เวทนา หาที่สุดไม่ได้แห่งความสุข

    นั่นแลจึงเห็นว่าการเพ่งโทษในกายจึงบังเกิดขึ้น ทำให้เกิดความละความเบื่อหน่าย ให้เกิดความสลดสังเวชของอารมณ์ทั้งหลาย อย่างนี้เราก็จะเข้าถึงความสงบ เมื่อนั้น..ความสงบนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้ว นั่นเรียกว่าบุญกุศลมันก็บังเกิด ให้เราตั้งจิตแผ่เมตตาจิตออกไป ให้กับสรรพสัตว์ดวงจิตวิญญาณ บุคคลที่เราเคยอาฆาตพยาบาทด้วยทางกาย วาจา ไม่ว่าทางใดทางหนึ่งก็ดี ให้จิตเรานั้นมันปลงมันวางมันสละ ทำลายอุปกิเลสของความเศร้าหมองของมันให้หมดไป จิตเรานั้นมันก็เกษม

    เมื่อจิตเรานั้นพ้นจากอุปกิเลสเสียได้ เหมือนน้ำนั้นเราแกว่งน้ำให้มันใส ย่อมเห็นตามความเป็นจริงภายเบื้องล่างของแผ่นน้ำนั้น ก็จะได้หยิบยกมาพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คราใดจิตที่เราขุ่นมัวมันก็เป็นธรรมดา เห็นอะไรมันก็เห็นไม่ชัด เหมือนเห็นกงจักรเป็นดอกบัว ดังนั้นแลคราใดที่เรามีสติ..เราก็เพ่งโทษให้มากๆ เพื่อเอาสตินี้ไปต่อกลอน..เมื่ออุปกิเลสของจิตนั้นมันเกิดความเศร้าหมอง อำนาจแห่งฌานและขันติแห่งธรรมนี้แล จะเป็นตัวสอนคอยบอกคอยเตือน ให้ยกจิตไม่ให้มันทรุดไม่ให้มันต่ำไปมากกว่านี้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  7. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    เตือนตน

    เมื่อความอยากลดลง ความดีก็จะเพิ่มขึ้น

    ทำความดี อย่าหลงในความดี แต่ให้รู้ว่าดี

    การปฏิบัติในกุศลอย่าได้สงสัย เพราะความสงสัยครู อาจารย์ท่านได้ผ่านไปแล้ว

    ความดีจงให้ ให้หมด หมดแล้วทำขึ้นมาใหม่ ทำแล้วก็ให้ ให้แล้วก็ทำ อย่ากลัวสิ่งที่ให้หมดไปจากการทำ

    อยู่กับความสงบ หลีกหนีจากความวุ่นวาย เพื่อเตรียมอยู่กับความวุ่นวาย ด้วยความสงบ

    ฝืนทำความดีในสิ่งที่ยาก ดีกว่าปล่อยความชั่วให้มันเกิดขึ้นในสิ่งที่ง่าย ความดีไม่ว่าจะยากหรือง่ายก็ต้องทำ

    เมื่อเจอความทุกข์อย่าได้ท้อ เพราะสิ่งที่รออยู่คือของแท้

    ที่พึ่งที่ดีที่สุดของการมีชีวิตอยู่คือ พึ่งตนและพึ่งธรรม

    พระรัตนตรัย(พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์)เป็นหนึ่งเดียว คือความหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร
     
  8. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    9A59E583-A7CB-4CA4-B744-0EFF3EEE867F.jpeg

    เราเกิดมาผู้เดียวต้องไปผู้เดียว เพราะว่ากรรมของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่สามารถไปแบกภาระรับกรรมกันได้ กรรมผู้ใดใครทำขึ้นมาอย่างใดก็ต้องได้รับเสวยกรรมนั้น หาใช่ว่ากรรมผู้นั้นเราจะต้องเสวยแทนผู้อื่นเค้า ดังนั้นแล้วเมื่อเรามีจุดมุ่งหมายที่จะไป แต่ในขณะที่เรามีกายสังขาร มีสัญญา มีวิบากรรม มีบุพกรรม เกิดมามีบิดามารดาก็ดี มีผู้มีคุณก็ดี มีแผ่นดินก็ดี มีบรรพชนก็ดี ที่เรานั้นยังต้องอาศัยกายสังขารแห่งธาตุขันธ์นี้ ต้องประกอบกิจตอบแทนบุญคุณเหล่านี้

    ก็อาศัยการเจริญพระกรรมฐานภาวนาจิตนี้แล เมื่อจนจิตสงบเข้าตั้งมั่นแล้วในฌานก็ดี ให้เรานั้นทำจิตให้ตั้งมั่นสงบแล้วอธิษฐานจิตแผ่เมตตาออกไป..เรียกการอุทิศบุญกุศล ที่เรามีกายสังขาร มีลมหายใจ มีธาตุขันธ์ได้มาประพฤติปฏิบัติสร้างบุญสร้างกุศลบารมี ก็เหตุเพราะเรามีบิดามารดาให้ร่างกายสังขาร ให้ลมหายใจ มีบรรพบุรุษให้แผ่นดินที่เราอยู่นี้ เป็นการตอบแทนเท่าที่เราตอบแทน และเป็นการตอบแทนที่สูงค่าที่มนุษย์นั้นทำได้ยาก เพราะมันต้องลงทุนด้วยจิตด้วยใจ

    การที่เราลงทุนด้วยจิตด้วยใจ เค้าเรียกว่าเป็นการลงทุนกุศลนั้นจากภายใน เมื่อมันลงทุนอย่างนี้มันจึงมีอานิสงส์มาก ดังนั้นถ้าผู้ใดหวังปรารถนาพระนิพพาน ตอนนี้ในขณะที่เรามีกายสังขารอยู่ทางโลก ก็ขอให้โยมนั้นละจากของโลกๆ อย่างน้อยต้องตัดโลกธรรม ๘ ให้ได้

    โลกธรรม ๘ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใด โลกใด สังคมใด สำนักใด ที่นั่นเมื่อยังติดอยู่ในโลกอยู่..ก็ไม่พ้นสรรเสริญ นินทาว่าร้าย เมื่อเราข้ามสิ่งนี้ไปได้ อุปสรรคมันก็ไม่มีอีกต่อไป ดังนั้นแล้วขอให้เราถอนอุปาทานแห่งขันธ์ ถอนความยึดมั่น การถือดีอวดดีจักไม่มีในตัวเราอีก

    ดังนั้นอันว่าธรรมธาตุที่แท้จริงก็มีอยู่ในกายเรานี้ นิพพานก็ต้องดับอยู่ในกายนี้ คือดับที่ใจนั้นที่มีความอยาก มีอารมณ์ทั้งหลาย อารมณ์เหล่านี้แลคือวิญญาณ เมื่อวิญญาณมันไม่ดับมันก็ต้องมีการเกิดอยู่ร่ำไปเป็นวัฏฏะ ดังนั้นเมื่อเราจะตัดวงจรแห่งการเวียนว่ายตายเกิด เราต้องตัดที่ใจของตัวเรา เมื่อเราไม่มีเชื้อในการเกิดแห่งความอยาก อุปาทานแห่งขันธ์ที่จะจุติที่จะเกิดภพเกิดภูมิมันก็หมดชาติ

    เมื่อไม่มีชาติให้เสวยแล้ว นี่แหล่ะทางสายที่เอก ที่ว่าโยมนั้นจะไม่ต้องเกิดอีก และไม่มีการตายเกิดขึ้นอีก หรือเรียกว่าเป็นชาติสุดท้าย ถ้าใครจะปรารถนาอย่างนั้น สิ่งการใดที่เรามี..แม้ว่ากายก็ดี ทรัพย์ก็ดีให้โยมสละเสีย เพราะสิ่งที่โยมมีนั้นแลมันทำให้โยมนั้นยึดแล้วไม่สามารถปล่อยวางได้ เช่นการฝังกลบพระแม่ธรณี เรียกเป็นการตอบแทนแผ่นดิน ตอบแทนบิดามารดา
    หรือเรียกว่าไม่ว่าจะทำอะไรในการใด หากทำไปแล้วในกุศลผลบุญในการสร้างบารมี เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและแผ่นดินแล้ว หากว่าทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์..ขอให้เราสละอย่างนี้ ดังนั้นแล้วถ้าเราต้องการนิพพาน โยมต้องสร้างทานบารมีให้มันถึง

    "ทานบารมี"คืออะไร คือการอบรมบ่มจิตให้รู้จักการสละ รู้จักการให้ เรียกว่าการไม่ยึดมั่นถือมั่น อย่างนี้เรียกว่าทานอันสูงสุด และอีกหนึ่งทานก็คืออภัยทาน การจะตัดวิบากวงจรแห่งกรรม ที่เรานั้นเคยไปเบียดเบียนมีอาฆาตพยาบาทกับใคร หรือใครจะมาอาฆาตพยาบาทกับเรา แต่เราไม่สร้างเวรสร้างพยาบาทตอบ เราก็จะมีจิตอันเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่เมตตาให้เขา

    ไม่พยาบาทตอบ มีแต่เมตตาจิตให้เขาไปอย่างนี้ คือไม่ถือสาหาความแล้วอย่างนี้แล้ว ก็เรียกเป็นการตัดวงจรแห่งกรรมอย่างนี้ เมื่อมันไม่มีอุปสรรคอย่างนี้แล้ว ที่เหลือก็คือขันธมารของเราอย่างเดียว ก็คือเวทนา คือทุกข์ในกาย นั่นแลที่เราจะต้องข้ามมันไป

    เมื่อเราข้ามนิวรณ์แห่งความง่วง แห่งเวทนา แห่งความหดหู่ใจ ความลังเลสงสัยทั้งหลาย หากเรามีจิตตั้งมั่นในกระแสพระนิพพาน อย่างน้อยมันต้องกำเนิดเกิดขึ้นก่อน..คือพระโสดาบัน อารมณ์ของพระโสดาบันเรามีจิตตั้งมั่นมุ่งมั่นต่อพระรัตนตรัย ไม่สงสัยสิ่งใดในครูบาอาจารย์ ในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ท่านแล้ว มีศีลตั้งมั่นบริสุทธิ์อย่างนี้ พระกระแสพระนิพพานมันก็บังเกิดขึ้น

    เมื่อมันมีพื้นฐานอย่างนี้ เค้าเรียกว่ามีต้นทุน เมื่อโยมไปปฏิบัติไป..ปฏิบัติไป มันก็จะละออกจากเรือนไปได้ เพราะว่าต่อไปไม่ว่าเรือนใครก็ต้องมีความหายนะเกิดขึ้น มีความวิปโยคคือความพลัดพราก เค้าเรียกว่าเรือนมันกำลังจะไฟไหม้ ดังนั้นเมื่อเรารู้ตัวก่อน ถอนออกมาก่อน อย่างนี้แลก็เรียกว่าเป็นผู้มีปัญญา เรียกว่ามีญาณเห็นล่วงหน้า คำว่าเรือนจะไฟไหม้ เค้าเรียกว่าการมีคู่มีครองเรือนอย่างนี้

    ดังนั้นถ้าผู้ใดปรารถนาที่จะไม่กลับมาเกิดอีก หรือยังไม่เข้าถึงในสภาวะนิพพานที่แท้จริง อย่างน้อยจิตโยมนั้นก็ยังเป็นเทพเทวดา เมื่อพระศรีอาริยเมตไตรยมาอุบัติเกิดขึ้น ก็อาจจะได้ฟังธรรมท่านแล้วบรรลุธรรม เข้าพระนิพพานไปได้ง่ายอย่างนี้แล

    ดังนั้นถ้าโยมปรารถนาอย่างจริงจัง ขอให้โยมพิจารณาก่อนนอน ก่อนตื่นนอน ทุกขณะจิตเมื่อโยมระลึกได้ คือการปลงสังขาร ปลงสังเวชในกาย ละสักกายทิฏฐิ ละอัตตาตัวตน มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ว่าสัตว์ เด็ก ผู้ใหญ่ชรา และต่อพระรัตนตรัย..คือการสวดมนต์ภาวนาจิต

    การสวดมนต์ไม่ได้ให้อ้อนวอนขอสิ่งใด แต่การสวดมนต์นั้นแลคือการภาวนาจิต อบรมบ่มจิต ขับไล่สิ่งอัปมงคล ขับไล่สิ่งที่ไม่ดี ขับไล่นิวรณ์ ขับไล่อำนาจของคุณลมคุณไสย ที่เราตกเป็นทาสมันมาเนิ่นนานดังนี้แล

    ดังนั้นถ้าโยมตั้งมั่นมีความเพียรปรารถนา มุ่งตรงต่อพระรัตนตรัยแล้ว ก็จงสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนานี้ คือฝังกลบพระแม่ธรณี เช่นว่าเรามาอุทิศกายสังขารเจริญภาวนาจิต เจริญปัญญา เมื่อจิตสงบตั้งมั่นก็อธิษฐานบารมีต่อแม่พระธรณีให้มาเป็นทิพย์พยาน ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ในทาน ศีล ภาวนา ที่ข้าพเจ้าได้อบรมบ่มจิตนี้ ขอสำเร็จประโยชน์แก่ดวงจิตวิญญาณทั้งหลาย ทุกสรรพสิ่งดวงวิญญาณ ทุกดวงจิตในภพน้อยใหญ่ทั้งหลาย ขอให้ได้มารับโมทนาในบุญกุศล

    อดีตแห่งเจ้ากรรมนายเวรทางใดทางหนึ่งที่เราเคยล่วงเกินกระทำมา ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมในกรรมนั้น หากผู้ใดที่ยังมีบุพกรรม มีบุญวาสนาที่จะมาพึงได้รับบุญกุศลจากข้าพเจ้า ก็ขอน้อมบุญกุศลนี้สำเร็จประโยชน์ในดวงจิตวิญญาณทั้งหลาย ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยจงนำแสงสว่าง ให้ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายที่ยังตกทุกข์อยู่ในภัยในวัฏฏสงสารนี้ จงได้รับบุญกุศลนำทางให้พ้นจากภัยนี้ตราบเข้าสู่พระนิพพาน อย่างนี้..เมื่อโยมอธิษฐานได้แบบนี้อยู่บ่อยๆ เค้าเรียกว่าเป็นการตัดวิบากกรรมอย่างหนึ่ง ตัดอุปสรรคอย่างนี้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  9. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    กฎแห่งกรรม

    เป็นความเชื่อของส่วนบุคคล ด้วยจากประสบการณ์ที่ผ่านมาในการใช้ชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน บางคนเชื่อ บางคนไม่เชื่อ

    มีผลย่อมมีเหตุ พระพุทธศาสนาสอนให้ใช้ปัญญาในการพิจารณาสิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล เมื่อกระทำสิ่งใดย่อมได้รับผลของการกระทำ(วิบาก)สิ่งนั้น นั่นก็คือทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ทำให้มีความสุขย่อมได้รับความสุข ทำให้มีความทุกข์ย่อมได้รับความทุกข์ ทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่น

    บางคนเชื่อก็ได้ บางคนไม่เชื่อก็ได้
    บางคนเชื่อก็ได้
    หมายถึงว่า คนที่เชื่อแล้วปฏิบัติตามในเรื่องของศีล สมาธิ และปัญญา โดยเห็นว่าทำแล้วน่าจะมีประโยชน์ต่อตนเองและไม่ได้ให้โทษกับบุคคลอื่น ก็ทำไปเรื่อยๆ สิ่งทีได้รับอาจจะคาดหวังเอาไว้หรือไม่ได้คาดหวังเอาไว้ ถ้ากฎแห่งกรรมนั้นมีจริงก็ได้รับผลประโยชน์ของการกระทำไปเต็มๆ แต่ถ้ากฎแห่งกรรมนั้นไม่มีจริง ก็ไม่ได้มีโทษกับทั้งตนเองและผู้อื่น
    ผลประโยชน์มีแต่ได้กับเสมอตัว
    ผลของโทษไม่มี

    บางคนไม่เชื่อก็ได้ หมายถึงว่า คนที่ไม่เชื่อแล้วไม่ปฏิบัติตามในเรื่องของศีล สมาธิ และปัญญา โดยเห็นว่าทำแล้วไม่น่าจะมีประโยชน์ต่อตนเอง ทำแล้วเสียเวลาไปเปล่าๆ และเห็นว่าไม่น่าจะได้ประโยชน์อะไรจากบุคคลอื่นด้วย ไม่ทำเสียดีกว่า สู้เอาเวลาไปอยู่กับโลกธรรม๘หรืออกุศลกรรมเสียดีกว่า ถ้ากฎแห่งกรรมนั้นมีจริงย่อมได้รับโทษของการกระทำนั้นไปเต็มๆ แต่ถ้ากฎแห่งกรรมนั้นไม่มีจริง ก็ไม่ได้เสียหายอะไรกับทั้งตนเองและผู้อื่น
    ผลประโยชน์ที่ได้รับไม่มี
    ผลของโทษที่ได้รับมี

    วิบากของกรรมขึ้นอยู่กับกาลเวลา แต่มีการให้ผลแน่นอน เปรียบเสมือนปลูกไม้ผล ถ้าดูแลดีย่อมได้รับผลดี ถ้าดูแลครึ่งๆกลางๆก็ได้รับผลครึ่งๆกลางๆ ถ้าไม่ดูแลเลยผลเสียอย่างมากก็คือไม่ได้ผลเลย ปัจจัยคือเวลาเป็นตัวกำหนด

    สิ่งที่พระรัตนตรัยสอน คือ "ละความชั่วทั้งหลายทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตใจให้ผ่องใส" สอนให้รู้ทุกข์ เห็นทุกข์ แต่ไม่ได้ให้ทุกข์ และไม่ให้ยึดติดอยู่กับความสุข

    ความท้าทายที่สูงที่สุดของการเกิดมามีชีวิตภพชาติปัจจุบันที่เรียกว่าคน คือ การไม่วนเกิดวนดับในการมีชีวิตในวัฎฎะวนนี้อีกต่อไป "สิ่งที่ยังไม่รู้ ใช่ว่าจะไม่มี สิ่งที่รู้ ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไปหรือผิดเสมอไป"

    คำสอนของพระรัตนตรัย จะทราบผลได้ก็ต่อเมื่อมีความศรัทธาต่อพระรัตนตรัยเป็นหนึ่งเดียว ลงมือปฏิบัติและต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

    ขออนุโมทนาบุญกับญาติธรรมทั้งหลาย ที่ปฏบัติเพื่อให้ถึงซึ่งความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร ด้วยจิตบูชาต่อพระรัตนตรัยตลอดกาลนานเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  10. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    71B347F9-2F35-4BAD-99C2-2BFB539AF9C3.jpeg

    อย่างที่ฉันบอกเมื่อโยมเจริญศีล สมาธิ ปัญญาให้สมบูรณ์แล้ว โยมไม่ต้องกลัวว่าโยมจะหลุดพ้นจากกิเลสได้หรือไม่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนเรานั่งแล้ววันนี้จะได้สงบมั้ย สมาธิจะเกิดมั้ย ไอ้ความวิตกกังวลนั่นแลคือตัวอุปสรรค คือตัวมารแล้ว

    นั่งก็ภาวนาดูจิตก็ดูไป ถ้าดูจิตไม่ได้ก็ดูกายไป เมื่อดูกายแล้วก็สลับปรับเปลี่ยนไปพิจารณากายบ้าง เช่นพิจารณาอะไรบ้างที่ฉันบอก..ธรรมสังเวชให้เกิดขึ้น ธรรมที่เป็นกุศล ธรรมที่เป็นอกุศล..ก็อย่าได้ไปรังเกียจมัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราจะได้รู้ว่าอารมณ์เราเป็นอย่างไร เมื่อเราระลึกถึงแล้วอารมณ์เหล่านั้น

    ขณะที่จิตเรากำลังเพ่งเกิดฌานอยู่ แม้จะเป็นกามคุณก็ดี มันก็จะสอนให้โยมนั้นได้รู้ถึงอารมณ์ของจิต เข้าใจมั้ยจ๊ะ ในขณะที่เราเจริญฌานอยู่..แม้กามคุณเกิดขึ้น แม้เราจะมีความพอใจ แต่เราจะไม่มีความอยาก แสดงว่าในขณะนั้นเรามีศีลมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : มีค่ะ) กามคุณทำให้เรามีความพอใจเป็นธรรมดาเมื่อเรานึกถึง ทำให้มีอารมณ์..เกิดเวทนามั้ยจ๊ะ เกิดความรู้สึก แต่เราจะไม่อยาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะว่าฌานมันไปข่มไว้

    ทำไมถึงบอกว่าเมื่อเราออกจากฌานแล้ว ไอ้ความอยากอันนี้ ความครองเรือน ความอยากได้ในระหว่างเพศมยังมีอยู่..ก็เป็นธรรมดา เพราะเรายังไม่ได้ละและตัดมันออกไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราแค่ไปข่มไปดูมัน แต่ถ้าเราไปเพ่งโทษมันเมื่อไหร่แล้วละอารมณ์ในรูป เวทนา สัญญา หรือละอารมณ์ในขันธ์ ๕ จนเห็นว่าขันธ์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นทุกข์นั้น เห็นสภาวะความไม่เที่ยง เห็นความเบื่อหน่าย แล้วโยมปลงได้นั่นแล อารมณ์เหล่านี้มันจะเหลือน้อย..จนหมดไป

    นั้นอารมณ์ที่โยมเกิดขึ้นในระหว่างที่โยมเจริญสมาธิ เจริญฌานอยู่ แม้จะมีอารมณ์ราคะเข้ามามันเป็นของธรรมดา เข้าใจมั้ยจ๊ะ แม้โยมจะมีความรู้สึก..แต่โยมจะไม่อยาก ขณะนั้นแลโยมควรพิจารณาให้เป็นธรรม ให้เกิดธรรมสังเวชซะ ที่เราไปพอใจเป็นเพราะอะไร พอใจในรูปเพราะรูปมันสวย รูปมันงามหรือ?

    ก็ลองพิจารณาดูซิว่า ถ้าหนังไม่มีปกปิดนั้น คือมายาที่ฉาบไว้ให้เราหลงมันเป็นยังไง ลองพิจารณาเล่นๆ อย่าไปจริงจัง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ขนาดโยมนอนหลับ สังขารมีความเวทนาอนาถามั้ยจ๊ะ มันยังมีการกรน บางคนก็น้ำลายไหล เห็นมั้ยจ๊ะ นี่ขนาดมันหลับแล้ว มันยังดูอนาถาน่าสมเพชขนาดนี้ ในกายโยมว่ามันมีดีมั้ยจ๊ะ มีดี..ตอนที่เราพอใจมัน ตอนไม่พอใจไม่ดีเลย

    นั้นตอนที่โยมพอใจโยมจงพิจารณาให้มาก ว่าเราไปพอใจอะไรมัน แล้วค่อยๆละลงไป นั่นแลเรียกว่าวิปัสสนา สมถวิปัสสนา เอาความสงบนั้นแลไปละ เอาฌานเป็นเบื้องบาทของวิปัสสนา แล้วญาณโยมจะเกิดขึ้นเกิดขึ้นเกิดขึ้น ถ้าญาณโยมมีกำลังมาก..มันก็ตัดขาดได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นอย่าลืมว่ากรรมที่เราทำอะไรมาด้านใดด้านหนึ่งก็มีมาก เวทนาเหล่านั้นมันก็มีมากให้ผลมาก เมื่อมันมีกำลังมาก..ถ้าโยมยังทำไม่มากละไม่มาก มันจะตัดกันได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้) นั่นเป็นของธรรมดา นั้นฉันถึงบอกว่าให้โยมเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ทำพละทั้ง ๕ ให้เกิด

    ถ้าโยมพิจารณาพละทั้ง ๕ คืออินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มันเป็นอย่างไร คือมีอะไร มีศรัทธาให้มาก มีอะไรให้มากอีก (ลูกศิษย์ : มีความเพียร) มีวิริยะความเพียร (ลูกศิษย์ : มีสติ สมาธิ) โยมก็ต้องมีศีล สติและปัญญา ถ้าอย่างนี้ให้โยมมีตัณหาราคะมากเพียงใดโยมก็บรรลุธรรมได้

    มีหนึ่งในสตรีโสเภณีในพุทธกาล มีความหลงอัตตาตัวตนว่างามแล้ว พอใจในความงามในรูปในรส ไม่ว่าสตรีหรือบุรุษชายใดที่เห็นแล้ว ต้องเหลียวมองจ้องตาต้องเคลิบเคลิ้มหลงใหล แต่เมื่อไปหลงใหลพระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน ที่ไม่มีแม้แต่แววตาที่จะอาลัยหรือความพอใจเลยแม้แต่เสี้ยวหนึ่งของจิต หญิงนั้นก็รู้สึกสะท้านสะเทิ้นไปว่าตัวเองนั้นหมดค่าที่จะทำให้บุรุษนั้นหมายปอง มีอารมณ์เคลิบเคลิ้ม เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อสมณะได้บอกว่า "ไม่มีอะไรเลยที่เราจะพอใจ" อ้าว..เพราะว่าท่านเห็นเป็นของอะไรหมดแล้ว (ลูกศิษย์ : เป็นของมูตรของเน่า) เป็นของมูตรของเน่า เมื่อท่านผู้เจริญแล้ว อัครสาวกหรือสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้ตรัสเป็นธรรมให้เห็น ก็เกิดธรรมสังเวชเกิดขึ้น เห็นตามความเป็นจริง เห็นมั้ยจ๊ะ เมื่อเค้ามีศรัทธาขึ้นมาเมื่อไหร่ เค้าก็จะมีความเชื่อในสิ่งนั้น เมื่อพิจารณาตาม..ปัญญาเก่า บารมีเก่า ญาณเก่าเค้าก็บังเกิดได้

    ฉันถึงบอกว่าไอ้สิ่งที่โยมพอใจในความสุข ถ้ามันสุขจริงไฉนโยมต้องแสวงหาอีก..ถ้ามันจริงแล้ว แต่ที่มันไม่จริงคืออะไร มันเป็นของมายา ของไม่จริงเราต้องแสวงหาอยู่ตลอด คือมันไม่เที่ยงนั่นเอง พอมันพร่องเราต้องเติมมั้ยจ๊ะ พอมันขาดเราต้องหา นี่แหล่ะเค้าเรียกว่าตัณหา จิตมนุษย์มันจึงไม่เคยพร่องเลย พร่องแล้วเติม ขาดแล้วหา ใช่มั้ยจ๊ะ..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  11. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    2593F837-2273-4B17-A7DC-099AF033BE6C.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่เจ้าคะ มีญาติธรรมเค้าถามหนูมาว่า เค้ารักษาศีล คือไม่ดื่มสุรา แต่ถ้าเกิดว่าเค้าเอาสุราไปให้เพื่อน หรือว่าเอาน้ำเมาไปให้เพื่อนดื่มเนี่ยะ..ผิดศีลหรือเปล่าคะ

    หลวงปู่ : ก็ต้องดูว่าเพื่อนชอบหรือเปล่า ถ้าเพื่อนชอบไม่ผิดศีล ถ้าเค้าไม่ชอบไปยัดเยียด อันนั้นเรียกว่าไปทำโทษให้เกิดกับมิตร เข้าใจมั้ยจ๊ะ อ้าว..ถ้าเค้าชอบอยู่แล้ว เค้าเรียกเป็นของขวัญ ถ้าเค้าไม่ชอบแล้วเราไปให้เขานั่นแลมันจะเป็นโทษ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าเราจะชั่วแล้วก็อย่าไปให้คนอื่นเค้าชั่ว

    มันอยู่ที่เจตนา เจตนาโยมเป็นอย่างไร กรรมก็เป็นอย่างนั้น รู้จักเจตนาแห่งกรรมมั้ยจ๊ะ อ้าว..ถ้ารู้ว่าคนนี้เค้าชอบแบบนี้ โยมเอาไปให้เค้าโยมผิดหรือเปล่าจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : แต่ว่าถ้าเรายังไม่กินเลยเพราะว่ามันเป็นโทษ แล้วคนอื่นเค้ากินแล้วมันก็เป็นโทษหรือเปล่าคะ

    หลวงปู่ : คนที่ไม่รู้โทษรู้คุณ แม้เราไม่ให้เค้า เค้าก็ไม่สามารถเลิกจากสิ่งนั้นได้หรอกจ้ะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่สิ่งที่โยมถามมาฉันก็บอกให้ฟังแล้ว ว่าการเอาสิ่งของที่เป็นโทษไปให้กับบุคคลที่เค้าชอบ ถ้าเค้ายังชอบอยู่ เค้าไม่รู้โทษ..เค้าเรียกว่าเป็นของขวัญเค้าจะขอบใจเป็นอย่างงามว่าเค้าไม่ต้องซื้อเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ถ้าเป็นผู้ที่รักเพื่อนจริง รู้ว่าเป็นโทษแล้วดันจะไปให้ทำไม ใช่หรือเปล่าจ๊ะ อ้าว..มันอยู่ที่เจตนา ของไม่ดีดันไปให้..ของดีมีตั้งมาก ฉันถึงได้บอกว่ามันอยู่ที่เจตนาแห่งการกระทำ แต่ของชอบใครเอามาให้เป็นของฟรี มีหรือจ๊ะว่าใครจะปฏิเสธ เค้าก็ต้องขอบใจอย่างงาม

    แต่มันรู้ว่าเป็นของเป็นโทษเราจะไปให้เค้าทำไม กรรมมันเกิดจากที่ตัวเราแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ ฉันไม่ได้บอกว่าอันนั้นดีอันนั้นไม่ดี โยมต้องไปพิจารณาเอาว่าอะไรมันสมควรและไม่สมควร..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  12. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    F9C0036D-1ED1-45B6-AC49-3EB9DA54FCF8.jpeg

    สมาธินั้นที่มันจะเป็นสมาธิที่ตั้งมั่น ก็หาจำเป็นต้องนั่งกันนานๆไม่ แต่สติต่างหากที่จะต้องทรงให้ได้นานๆ เพราะสมาธิมันเกิดขึ้นแล้ว มันตั้งอยู่แล้วมันก็ไม่เที่ยง แต่สมาธินั้นคือใจที่ตั้งมั่น เราจะตั้งมั่นอยู่ตลอดได้อย่างไร ก็ต้องอาศัยฐานของศีลแห่งทานแห่งการภาวนาอย่างนี้แล

    ดังนั้นการที่อาศัยความสงบ ศีลก็ดี..มาเจริญสมาธิมาเจริญสติ ก็เพื่อให้เรานั้นละวางความไม่สงบ ความวุ่นวายจากทางโลก ความที่จิตนั้นมีอารมณ์มากระทบมากมาย ทำให้จิตเรานั้นมีความฟุ้งซ่าน เราก็ต้องรู้จักมาปล่อยวาง มาเจริญภาวนาจิต มาล้างของเสียออกจากจิต ที่ถูกคุณลมคุณไสยด้วยกายวาจาที่กระทบโดยหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจเหล่านี้ ทำให้จิตเรานั้นเกิดอกุศลมูลก็ดี เกิดโทสะ โมหะก็ดีเหล่านี้

    เมื่อเรามาเจริญภาวนาจิต ให้เราอธิษฐานจิตล้างสิ่งเหล่านี้ออกไปเสียให้หมด แล้วแผ่เมตตา ให้อโหสิกรรม ให้อภัยทานไปเสีย การให้อย่างนี้ชื่อว่าให้ธรรมทาน คือจะไม่มีเวรมีภัยพยาบาทกับใคร แม้กระทั่งจิตของตัวเราเองก็เหมือนกัน บางทีก็คิดดี คิดปรามาสคนอื่นเค้าอย่างนี้

    ให้เรานั้นตั้งใจเสียใหม่ อย่าไปสนใจในสิ่งที่ล่วงมาแล้ว เมื่อเรายังมีลมหายใจอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันถือว่าเรายังมีโอกาส อะไรที่เราพลาดมาแล้วเป็นอดีตไปแล้ว ไม่สามารถแก้ไขมันได้ แต่ให้แก้ไขในปัจจุบันอยู่บ่อยๆ เมื่อเรารู้เท่าทันในปัจจุบันอยู่บ่อยๆ ความไม่ดีมันก็เหลือน้อยและเท่าทันมันได้

    เมื่อเราทรงความดีอย่างนี้ได้ตลอดเวลา ความไม่ดีมันเกิดขึ้นเราก็จะรู้เท่าทันและละมันลงไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ ฝึกอย่างนี้อยู่บ่อยๆ แม้เราไม่เข้าสมาธิ ไม่หลับตา แต่เมื่อเราฝึกสมาธิแล้วสมาธิจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเมื่อเรานั้นใจมันสงบ อ้าว..แล้วเมื่อเราไปอยู่ที่ไม่สงบเล่า?

    โดยธรรมชาติของจิตคนที่ฝึกสติมาฝึกสมาธิมา พอไปอยู่ที่ไม่สงบจิตมันจะบอกว่าที่นี่มันขัดข้อง เมื่อมันขัดข้องจิตมันจะทำงาน คือจิตมันจะไประลึกถึงธรรม เมื่อจิตไประลึกถึงธรรมจิตก็เข้าถึงความสงบโดยธรรมชาติของมัน คือไม่สนใจ วางเฉยต่ออารมณ์ที่มันทำให้จิตขัดข้อง รู้ว่านี่คือสิ่งที่เป็นโทษของพรหมจรรย์ก็ดี เราจะมีจิตที่วางเฉยอุเบกขาได้อย่างนี้

    แม้อยู่ในที่ๆขัดข้อง ผู้ที่เจริญสติเจริญสมาธิที่ดีแล้ว เจริญฌานอยู่บ่อยๆจนชินแล้ว เขาก็สงบอยู่ได้ แม้อยู่ที่ร้อนเขาก็ทำใจให้เย็นได้ อย่างนี้เค้าเรียกว่าอยู่ที่จิตอยู่ที่ใจ อยู่ที่สติตัวเดียว แต่ถ้าเราไม่ฝึกเลยโยมจะรู้ได้มั้ยจ๊ะ จะไปพิจารณาแยกมันได้มั้ยจ๊ะ ของอารมณ์อย่างนี้ที่มากระทบที่ไม่พอใจ เราก็จะไปปรุงแต่งอารมณ์ทำให้เกิดโทสะ โมหะ โลภะเกิดขึ้น มันก็ทำให้เกิดเวรเกิดพยาบาทได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าใจเรามีอภัยทานตลอดอย่างนี้ มันก็เรียกว่าจิตเรานั้นเป็นธรรม เป็นเครื่องอยู่ เป็นวิหาร เป็นที่อยู่เครื่องปลอดภัย ไม่มีเวรมีพยาบาทกับใคร ไม่มีศัตรูที่ถาวร อย่างนี้โยมจะทรงสมาธิเจริญธรรมได้ตลอดทุกสถานที่ ไม่มีกาล ดังนั้นเมื่อเรานั้นได้มีโอกาสมาเจริญสติเจริญปัญญา เราก็ต้องทำให้มาก..เพื่ออะไร เพื่อเมื่อเรานั้นประสบเหตุแห่งทุกข์ แห่งความไม่พอใจ แห่งผัสสะมากระทบ เราก็จะได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่เราฝึกมานี้ มันใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อโสตประสาทเสียงที่มากระทบหูรู้สึกว่าเกิดความไม่พอใจ เกิดความขัดข้องใจแล้ว ดูซิว่าสติเราจะเท่าทันแล้วจิตเราจะเป็นยังไง อาการของจิตมันจะขุ่นมัวเพียงใด เราจะทรงสมาธิ ทรงธรรม ทรงความเมตตา ทรงขันติ ทรงอุเบกขา มันจะเกิดขึ้นหรือไม่ที่เราฝึกมา..

    สิ่งเหล่านี้แลจะเป็นตัวชี้วัดได้ว่า สิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติมานี้ ที่ครูบาอาจารย์เค้าสอนสั่งมา ที่เรามีความเพียร มีศรัทธา มีวิริยะต่อการประพฤติปฏิบัตินี้ เราเข้าถึงพระรัตนตรัยแค่ไหน ถ้าเราเข้าถึงจิตเราจะมีแต่ความสงบและเยือกเย็น เพราะว่าคนที่มีศีล..แม้จะอยู่ที่ท่ามกลางความร้อนก็ยังเย็นได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ที่เราร้อนเพราะเราส่งจิตออกไป เมื่อส่งจิตออกไปแล้วไอ้โทสะ โมหะ ตัวราคะนั้นมันก็เผาไหม้เราไปอีกทีนี้ มันก็ทำให้เรานั้นไม่สามารถครองสติได้อยู่

    ดังนั้นโลกที่มันร้อน โลกที่มันวุ่นวาย จริงๆโลกไม่ได้วุ่นวาย จริงๆโลกก็ไม่ได้ร้อน ที่ร้อนก็คือเรา เมื่อรู้ว่ามันร้อนเราก็ไปอยู่ที่มันร่มสิจ๊ะ เมื่อใจมันร้อนก็ให้กำหนดรู้เหตุที่มันร้อนเพราะอะไร พอเรารู้เหตุแล้วมันก็ดับของมันได้โดยธรรมชาติของจิต โดยสภาวะของธรรมนั้น นี่ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา และเป็นผู้ว่าแม้เราจะอยู่ในโลกนี้ เราก็สามารถใช้ปัญญานี้ที่จะพ้นทุกข์ได้

    แต่ถ้าเราอยู่ในนรกอเวจี ไม่มีขณะจิตใดเลยแห่งอารมณ์ที่มันจะสงบให้เกิดความร่มเย็นได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะไม่มีที่ไหนเลยที่เราจะไปหลบซ่อนได้ เพราะจะมีแต่นายนิริยบาลที่จะคอยคุมคุ้มกันดูแลเราตลอดเวลา ให้เราต้องเสวยทุกข์อยู่ตลอด

    แต่ในขณะที่เราอยู่บนโลกมนุษย์มีกายสังขาร เราะจะประพฤติปฏิบัติธรรมก็ดี เราจะทำตอนไหนก็ได้ เมื่อมันมีทุกข์เกิดขึ้นมา เราก็สามารถกำหนดรู้ได้ว่าทุกข์นั้นมันเกิดขึ้นจากที่ใด เมื่อมันมีความร้อนที่มันแผดเผา เกิดความไม่สบายใจ เราก็ยังหาที่หลบร่มได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่เรียกว่าเป็นผู้มีบุญอยู่

    ดังนั้นถ้าโยมไปอยู่ในนรกแล้ว..มันยากยิ่งนัก เมื่อเราเป็นมนุษย์แล้ว ควรเอากายสังขารอันประเสริฐนี้..กายจึงเรียกว่าเป็นของวิเศษนัก ยิ่งเรามีอาการครบ ๓๒ แล้ว อย่าไปได้คิดว่าเรามีอายุ นาม วัยแก่ชราหรือวัยใด การจะเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมไม่มีเวลาหรือวัย..ขอให้มีใจ เพราะถ้าโยมมีวัยมากแค่ไหน คุณวุฒิมากแค่ไหน แต่โยมขาดจากใจที่ศรัทธา..มันก็ไม่มีประโยชน์

    แต่ถ้ายังเยาว์วัยแล้วมีใจที่ศรัทธาและสนใจในพระพุทธศาสนาแล้ว นี่แลเรียกว่าเป็นผู้มีบุญมาเกิด นั้นบุญเราเกิดตอนไหน ถ้าบั้นปลายชีวิตเราแล้วยังไม่เข้าถึงความศรัทธา ยังไม่เข้าถึงในความเชื่อ ยังไม่มีที่ไปของบุญกุศล ที่จะนำทางเป็นแสงสว่างแล้วละก็..ให้โยมนั้นรีบทำเสีย

    นั่นก็คือทานถ้ายังให้น้อยอยู่..ก็ให้มันมากๆ ทานสละทรัพย์ไม่มี..ก็ให้สละแรง สละละอารมณ์ที่เป็นข้าศึกแห่งใจ แห่งโทสะ โมหะ แห่งความคิดจิตริษยาทั้งหลาย นี่เค้าเรียกเป็นทานอย่างหนึ่ง ถ้ายังทำไม่ได้ก็ให้รีบทำ ค่อยๆทำ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ค่อยๆทำลงไป..

    ศีลถ้ายังไม่รักษาก็รักษาเสียบ้าง คือการสำรวมกาย วาจา ใจ อย่างน้อยขอให้ได้ศีล ๕ แต่ถ้าเป็นการประพฤติปฏิบัติในธรรม ในการเจริญความเพียร..ศีล ๘ แห่งพรหมจรรย์นี้มันจะช่วยได้มาก เช่นจากการบริโภคในการกินในการหลับนอน ในการเพลิดเพลินในการหลับนอนอย่างนี้ มันก็ช่วยในการประพฤติปฏิบัติพรหมจรรย์ได้มากนั่นเอง

    ดังนั้นขอให้โยมนั้นไตร่ตรองดู เพราะว่าความตายนี้ไม่ได้เลือกวัยเด็ก หนุ่มสาว หรือชรา โลงศพไม่ได้มีไว้ใส่หนุ่มสาวหรือชรา แต่โลงมีไว้สำหรับใส่คนตายแล้ว นั้นผู้ที่ประมาทแล้วก็เหมือนผู้ที่ตายแล้ว ดังนั้นในขณะนี้เราได้ตายอะไรมามากมายก็ดี ในขณะนี้ขอตื่นรู้ในชั่วขณะข้ามคืนหนึ่งก็ยังดี อะไรที่ผ่านมาแล้วมันยังไม่ดี ขอให้ลืมมันไป ตั้งใจเริ่มมันใหม่ เอาวันนี้ให้มันดี

    อย่าได้ไปคาดหวัง แต่ทำให้มันดี อย่าไปคาดว่าวันนี้เราต้องนั่งสมาธิให้ได้เหมือนวันนั้น อย่าไปทำไปคิดอย่างนั้น ถ้าคาดหวังเมื่อไหร่ความผิดหวังมันก็จะบังเกิด เพราะนั่นเราส่งจิตออกไปแล้ว เราไปคาดหวัง

    การคาดหวังนี้เราไปกำหนดอนาคตแล้ว ทั้งๆในปัจจุบันนี้เรายังไม่ได้กำหนด นี่เค้าเรียกว่าจิตนั้นได้เผลอเรอไปแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ ให้กลับมาที่กาย ที่ลมหายใจ ที่องค์ภาวนา..อยู่อย่างนี้ เท่ากับว่ายังอยู่ในกระแสแห่งพระรัตนตรัย ถ้าพลัดพรากจากสิ่งเหล่านี้ไปแล้ว จิตมันจะหลุดไปในอดีต ไปในอนาคต เค้าเรียกว่าจิตมันฟุ้งนั่นเอง..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  13. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    E9AC9821-B367-4891-A0A5-DAD81E024F4B.jpeg

    ยังไงฉันก็ขอยืนยันไว้ การสาธยายมนต์นั้นสามารถให้เข้าถึงธรรม เข้าถึงอรหัตผลได้อย่างแน่นอน เพราะหนึ่งเมื่อโยมสวดสาธยายมนต์แล้วจิตในขณะนั้นเป็นกุศล ไม่มีเวรอาฆาตพยาบาทต่อใคร จิตในขณะนั้นเกิดสมาธิใจตั้งมั่นจดจ่อในพระคาถาบทสวด จิตเกษม เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ย่อมทำให้เกิดปัญญาจิตตั้งมั่น ย่อมทำให้เกิดความเพียร ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งสยองพองขนก็ดีย่อมจักไม่มี ยังเป็นทานเสียงบารมีแผ่ไกลถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ตกทุกข์ได้ยากอยู่ ทำให้จิต ให้เรานั้นเกิดปิติสุข และเกิดความเชื่อความศรัทธา ได้แน่นแฟ้นต่อพระรัตนตรัย แล้วยังเป็นมนต์ขลัง ทำให้ดินน้ำไฟลมของเรานั้นเกิดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ

    ฉันจึงบอกว่าการสาธยายมนต์นั้นจึงวิเศษนัก บางคนเค้าบอกว่าการสาธยายมนต์นั้นเสียเวลามาก แต่แท้ที่จริงแล้วมีอานิสงส์มีประโยชน์มาก ทำให้เลือดลมก็ดี สติตั้งมั่น หูตาไม่ฝ้าฟาง ใช่มั้ยจ๊ะ นี่แหล่ะ..หูก็ไม่ตึง เดี๋ยวต้องมีเหตุหลักฐานอีกทำไมหูไม่ตึง ก็สวดแล้วเราได้ยินทุกวัน หูมันก้อง หูไม่อื้อ ถ้าคนอื้อบ่อยๆแล้วต่อไปมันก็จะตึง ใช่มั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นการสาธยายมนต์สวดตอนไหนถึงจะขลัง ใช่มั้ยจ๊ะ ตอนเช้าตรู่..ก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้นก็ดี ก่อนตะวันจะตกดินก็ดี นั่นแหล่ะจ้ะขลังที่สุด และทุกๆครั้งถ้าเราจะภาวนาก็ได้ แต่ถ้าเราจะสวดให้เป็นพิธีเอาตามที่ฉันว่านี้..ขลังสุดแล้ว ดังนั้นการสาธยายมนต์นั้นจึงมีอานิสงส์ มีคุณประโยชน์อย่างมหันต์ อย่างใหญ่หลวงก็ว่าได้ ทำให้สุขภาพโยมนั้นดี มีสติที่ว่องไว เกิดฌานในตัว

    ถ้าโยมเข้าใจในอักขระคาถาหรือภาษาที่โยมได้สาธยายมนต์ไปแล้ว โยมจะเกิดปัญญา เมื่อโยมเกิดปัญญาโยมก็จะเกิดความเชื่อ ความศรัทธาโยมก็จะมีมาก เมื่อนั้นศีลของโยมนั้นก็จะมั่นคง มั่นคงอย่างไรเล่า มั่นคงตรงที่ว่าโยมนั้นก็จะไม่กล้าทำความชั่วนั้นเอง เหตุเพราะว่าเมื่อทำไปแล้วกลัวศีลบกพร่องด่างพร้อย เพราะโยมมีความกลัว เรียกว่าโยมมีความละอายต่อบาป มีหิริความเกรงกลัว มีโอตัปปะความละอายนั้นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั่นก็เรียกว่ามีเทวดามารักษา เพราะในขณะที่เราสาธยายมนต์ไปนั้น เทพพรหมทั้งหลายก็มาห้อมล้อม มาฟังชุมนุม เค้าเรียกมาฟังธรรม อันตรายใดๆนั้นก็เข้ามากล้ำกรายได้ยาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ ยิ่งสวดในเรือนเคหะสถานหรือที่ๆใด ย่อมทำให้เกิดมงคล เกิดมีความเย็น ทำให้เกิดเจริญรุ่งเรืองในที่ตรงนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ ทรัพย์ที่ใต้ดินก็ดี ที่เราอยู่อาศัยก็ดีจะผุดขึ้นมา จะแปรทรัพย์ เรียกว่าทำให้เกิดโชควาสนามาหนุนดวงขึ้นมาเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นเรียกว่าเล่นแร่แปรธาตุนั้นเอง

    คำว่าเล่นแร่แล้วแปรเป็นธาตุนี้ ธาตุนี้มันจะแปรเป็นอะไรเล่าจ๊ะ ก็อยู่ที่จิตเราอธิษฐานออกไป จะขลังหรือไม่ขลังก็อยู่ที่ใจของเราตั้งมั่นแค่ไหน สวดเล่นๆก็ได้เล่นๆ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่มนต์นั้นเมื่อสวดเล่นๆแล้วจะเกิดโทษได้นะจ๊ะ หนึ่งจะวิปริตได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ สองสติจะไม่สมประกอบ สามทำให้ความจำเสื่อม อ้าว..ทำไมเป็นเช่นนั้น ก็สมาธิมันมีคุณแล้วก็มีโทษได้เหมือนกัน

    ถ้าโยมสวดๆไปจิตไปคิดเรื่องอื่น ส่งออกไปภายนอก อ้าวที่สวดมาลืมหายไปไหน อ้าวลืมซะแล้ว ความจำทำไมจึงได้สั้นแบบนี้ล่ะจ๊ะ ก็มันลืมนี่จ๊ะ ไม่เห็นต้องยากอะไรเลย นี่แหล่ะ แต่ที่โยมสาธยายมนต์บทยาวๆเรียกว่าธัมมจักกัปวัตนสูตรนั้นก็ดี จะทำให้เทวดานั้นเค้าถึงธรรมได้ อย่างน้อยทำให้โยมนั้นได้เปล่งวาจาออกมา จิตจดจ่อ ทำให้จิตนั้นอยู่ในฌานได้นาน ทำให้เกิดกำลัง

    ดังนั้นสวดมนต์ต้องให้ดังพอสมควร เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมสวดกระออมกระแอมน่ะ เดี๋ยวเรียบร้อย เพราะมันกระออมกระแอม เค้าเรียกคนไม่สบาย ปอดมันไม่ขยาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ คราวนี้หนังตามันก็จะตก หนังตาตกเพราะท้องมันตึงน่ะจ้ะ

    ดังนั้นรู้แล้วจะมาสาธยายมนต์ก็บริโภคให้มันพอพิธีหน่อย อย่าสวาปามให้มากเกินไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ แสดงว่าไม่รู้กาลไม่รู้เวลา นี่เค้าเรียกความอยากไงจ๊ะ เรียกว่าไม่มีการประมาณในการบริโภค เพราะแม้เราสาธยายมนต์ไป มนต์มันก็บังเกิดกับเรา เพราะในขณะนั้นจิตเรานั้นไม่เป็นอกุศลกับใคร ไม่มีเวรพยาบาทกับใคร ไม่อิจฉาริษยาใคร นั้นเรียกว่าเป็นบุญกิริยาอย่างหนึ่ง เป็นทานแห่งเสียง เพราะเราเสียสละเวลามาสวดมนต์ สาธยายมนต์ให้เกิดความร่มเย็น

    มนต์นั้นเป็นการสรรเสริญคุณบารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณวิเศษแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เรียกว่าเป็นมหาบุรุษเอกที่ชี้ทางให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ลุ่มหลงมัวเมานั้นได้ตื่นรู้ ดังนั้นจึงมีคุณมาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นที่ฉันให้โยมนั้นสาธยายมนต์แปลขึ้นมา เรียกว่าทำวัตรเช้า เป็นการเข้าเฝ้าองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน เมื่อเรามีจิตที่มุ่งตรงอ่อนน้อมต่อที่เราจะไปสาธยายมนต์นั้น นั่นแหล่ะจ้ะคือทานแห่งเสียงที่มีอานุภาพมาก ทำให้โยมนั้นในขณะนั้นจิตโยมว่าง ปล่อยวางทุกสรรพสิ่ง โยมก็ลับปัญญาด้วยพระอักขระคาถาความหมายเข้าไป มันทำให้โยมนั้นเชื่อ เกิดปิติสุขมากยิ่งขึ้น จะได้เข้าถึงพุทโธนั้นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  14. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    4B18D723-4CB2-4907-9B9A-1390931659C5.jpeg
     
  15. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    "พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ"


    พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันสูงสุดของพุทธศาสนิกชน

    ตราบใดที่ยังไม่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด ย่อมหาที่สิ้นสุดของความหลุดพ้นไม่ได้ ย่อมหาที่พึ่งอื่นไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

    ประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการได้เห็น ได้ยิน ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส สอนให้ตนเองรู้ว่า ทุกสิ่งอย่างมันไม่มีอะไรแน่นอนเลยจริงๆ สำหรับการเกิดมามีชีวิตในภพปัจจุบัน ตั้งแต่ตอนเกิดมาเป็นเด็ก อยากรู้อะไรมากมายและอยากโตเป็นเหมือนผู้ใหญ่ เพื่อที่จะได้ทำอะไรต่ออะไรได้อีกมากมายเพราะคิดว่าน่าจะมีความสุข แต่เมื่อถึงวัยกลางคนสิ่งที่อยากทำในตอนเป็นเด็กมันก็ทำหมดแล้ว แต่ทำไมความสุขทางใจมันยังไม่นิ่ง ยังมีสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ถ้าย้อนกลับลงไปในวัยเด็กจะพบว่าช่วงความเป็นวัยเด็กยังจะมีความสุขมากกว่าอีก ทั้งที่ไม่ต้องมีสิ่งของทางโลกมากมายเหมือนปัจจุบัน และสิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือ กายสังขาร ตั้งแต่เป็นเด็กจนถึงปัจจุบัน และเห็นในอนาตตจากคนรอบข้าง กายสังขารนี้ไม่เที่ยงหนอ ใจก็ไม่เที่ยงหนอ

    นี่หรือคือความต้องการของตนเอง เกิดมาเพื่หาความสุขอย่างเดียวหรืออย่างไร จุดเปลี่ยนของผู้ที่หันมาสนใจในเรื่องของพระพุทธศาสนามีหลากหลาย ส่วนมากคือจะเห็นความทุกข์ก่อน แล้วหันมาพึ่งความเงียบ ความสงบ เพื่อทบทวนเรื่องราวต่างๆ ก่อนจะตัดสินใจทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ชีวิตนี้ดีขึ้น

    ผู้ที่ตัดสินใจเลือกเดินทางหาความสงบ เป็นผู้ที่มีของเก่าติดตัวมาอย่างแน่นอน จากประสบการณ์ของตนเองในภพปัจจุบัน เพราะจากสังคมที่เห็นในปัจจุบันมันเป็นเรื่องยากถึงมากที่สุดที่คนธรรมดาจะสามารถหาความสงบที่แท้จริงพบ เพราะเป็นสังคมแห่งการแข่งขันในการใช้ชีวิต ส่วนมากจะติดอยู่ในโลกธรรม เพราะยังแสวงหาความสุขอยู่ร่ำไป

    ตนเองนั้นโชคดีมากมายที่สิ่งต่างๆ ยังให้โอกาสได้กลับมาแก้ตัวตั้งแต่ก่อนถึงวัยกลางคน สิ่งที่เป็น"ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ"นั้น ยากต่อการอธิบายให้บุคคลอื่นเข้าใจได้จริงๆ คำสอนของพระรัตนตรัยนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้จริงแน่นอนไม่มีข้อสงสัยใดๆ ถึงตนเองจะยังไม่เข้าใจถึงในสภาวะนั้นได้ แค่ในปัจจุบันเพียงแค่เศษเสี้ยวของในสภาวะนั้นก็ทำให้รู้ได้ว่า ของจริง ของจริง ของจริง

    การนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุดนั้น ก็อาจจะมีความหวั่นไหวบ้างเมื่อยังต้องใช้ชีวิตปัจจุบันอยู่กับความเป็นบุคคลธรรมดา เพราะความสงบในสังคมในปัจจุบันนั้นหายาก แต่ครู อาจารย์ก็สอนวิธีเอาไว้แล้ว จงภาวนาไปเรื่อยๆ อย่าสนใจ ทำไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลามันก็จะบอกให้รู้เอง มันยากนะ แต่ก็เป็นความท้าทายดี "บุคคลที่อาศัยอยู่ในสังคมที่วุ่นวาย แต่ภายในไม่ได้วุ่นวายอะะไรเลย" ย่อมเป็นความท้าทายมากมายสำหรับตน

    สุดท้าย
    พระรัตนตรัยไม่ได้ให้โลกธรรม แต่ให้โลกุตรธรรมที่เป็นของแท้
    เทพ เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ได้ให้โลกุตรธรรม แต่ย่อมพึ่งได้ในโลกธรรม แต่ก็ไม่เที่ยงเสมอไป

    สิ่งที่ได้จากพระรัตนตรัยคือ "ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ" สาธุ สาธุ สาธุ
     
  16. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    ADE09020-7F69-489E-A835-C505038B29B7.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่คะ คำว่าธรรมทุกธรรมรวมลงมาที่จิตนี่ความหมายคือ..คือหมายความว่ายังไงคะ

    หลวงปู่ : โยมไม่สงบเรื่องใดบ้างล่ะจ๊ะ เคยมั้ยจ๊ะ ความไม่สงบของจิต ความไม่สงบของอารมณ์ ความไม่สงบของกาย ความไม่สงบของความคิดทั้งหลาย ล้วนแล้วเกิดจากเหตุทั้งนั้น

    เมื่อเหตุมันเกิดขึ้นผลจึงตามมา เหตุไม่ดีผลก็ไม่ดี แม้เหตุมันจะดี..มันก็ยังมีผลอยู่ดี คำว่ามีเหตุย่อมมีผลตามมา จึงเรียกว่ามีสัญญาความจำอย่างนั้นไม่จบสิ้น การไม่มีเหตุต่างหากย่อมไม่มีผล ย่อมไม่เป็นภาระ ย่อมไม่เป็นกังวล สรุปแล้วเค้าเรียกว่ารวมให้มาสู่ความสงบที่จิตดวงเดียว

    ไม่ว่าโยมจะรู้อะไรมาในตำรับตำราครูบาอาจารย์ มีสิบครูบาอาจารย์ก็มีสิบแบบ ถ้าอาจารย์นั้นไม่ได้รู้มาอย่างเดียวกัน แต่ถ้าไม่ว่าจะตัวรู้แค่ไหนอย่างไรก็ตาม..สักแต่ว่ารู้ทุกสรรพสิ่ง แม้รู้ทุกอย่างก็ต้องวางทุกตำรา รวมมาแล้วอยู่ที่จิตดวงเดียวคือความสงบ ถ้าโยมรู้มาทั้งหมดแต่ก็หาความสงบไม่ได้ อันนั้นเค้าเรียกว่าติดรู้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อมันติดรู้ยึดรู้อยู่มันก็เรียกว่ายังไม่รู้จริง เพราะไอ้ตัวรู้มันยังไม่ได้รู้ด้วยปัญญา มันเป็นความจำที่เรารู้มาได้ยินมา ดังนั้นถ้าเรามีปัญญาแล้ว ปราศจากความจำยึดมั่นถือมั่นในสัญญาเมื่อไหร่ รู้เห็นตามความเป็นจริง เราจะเกิดธรรมของตัวเราเอง เมื่อธรรมที่เกิดขึ้นในตัวเราเองได้ ธรรมนั้นย่อมพิจารณาให้เห็น..เรียกว่าไม่ได้ด้วยจดจำ ด้วยไม่ใช่ด้วยความจำที่เราไปท่องจำมา ด้วยว่าไปฟังใครมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นความจำกับตัวปัญญามันจะไม่เหมือนกัน จงจำไว้ในความคิดก็ดี ถ้าไม่มีตัวความคิดก็จะไม่มีการเกิดพิจารณาได้ แต่ถ้ายังไม่ดับความคิด..ตัวปัญญามันก็เกิดไม่ได้เหมือนกัน

    นั้นต้องรู้ว่าเราคิดอะไร เมื่อรู้ความคิดแล้วให้วางความคิด เมื่อเราวางความคิดได้..จิตจะเข้าสู่ความสงบ เมื่อจิตเข้าสู่ความสงบเมื่อไหร่ ตัวปัญญามันจะบังเกิดขึ้นเมื่อนั้น..ในสิ่งที่เรานั้นสงสัยอยากรู้ ถ้าเราอยากรู้อยู่ ยังคิดอยู่..ตัวปัญญาหรือตัวรู้ที่แท้จริงมันจะเกิดขึ้นไม่ได้

    ดังนั้นสิ่งที่โยมรู้มาจำมาก็ดี สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเมื่อเรามาเจริญสมาธิภาวนาจิต เราต้องทิ้งทุกอย่าง เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่สิ่งที่โยมทิ้งไป มันไม่ใช่บอกว่าสิ่งที่เราจำมาเรียนมามันจะไม่เกิดประโยชน์ แต่สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ได้เราต้องวางสิ่งนั้นก่อน เช่นตำรา..เราต้องวางก่อน ถ้าเราถืออยู่แบกอยู่เราจะอ่านตำรับตำราได้หรือไม่ เราก็แบกเราก็อ่านไม่ได้

    เมื่อเราวางตำราเราก็จะอ่านด้วยมีสติด้วยมีสมาธิ และจะเข้าใจในตำรา นั้นขอให้วางทุกอย่าง เมื่อเราวางทุกอย่างแล้ว สิ่งที่เราวางนั่นแลมันจะมาเป็นครูมาสอนเราอีกที แต่ถ้าเราวางไม่ได้ เราก็จะยึดถือตัวตน เรียกว่าเป็นผู้รู้ธรรม ผู้รู้ธรรมย่อมอวดรู้ แต่ผู้มีธรรมย่อมเอาธรรมนั้นแลที่จะแก้ไขตน สั่งสอนตน..นี่เรียกว่าผู้มีธรรม แต่พวกรู้ธรรมส่วนมากจะอวดรู้ อวดดี ถือดีอย่างนี้ นี่เป็นพวกรู้ธรรมทั้งนั้น..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  17. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    B98AB7BA-0CD8-4E5C-BE2A-2AB325A44E3B.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่เจ้าคะ ในขณะที่เราเจริญกรรมฐานหรือเจริญภาวนาเนี่ยะ แล้วเราจะแผ่เมตตา การที่เราอ้างถึงคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์เนี้ยะค่ะ จะทำให้เราแผ่เมตตาหรืออุทิศบุญกุศลนั้นได้ดีกว่าเราไม่อ้างถึงคุณพระรัตนตรัยหรือเปล่าคะ ผู้รับที่เราแผ่ไปถึงเค้าจะได้รับได้ดีกว่าที่เราไม่ได้อ้างถึงคุณพระศรีรัตนตรัยหรือเปล่าเจ้าคะ

    หลวงปู่ : มันมีอยู่ ๒ อย่าง ถ้าจิตโยมตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรมแล้ว..โยมก็ต้องอ้างในกุศลผลบุญของโยม แต่ผลบุญของโยมนั้นถ้าจิตโยมยังไม่ตั้งมั่น โยมก็ต้องอ้างคุณพระรัตนตรัยขึ้นมา ทีนี้โยมจิตใจตั้งมั่นแล้วก็หาความจำเป็นไม่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ อยู่ที่ว่าสภาวะจิตโยมนั้นเกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นสภาวะอารมณ์แบบใด

    ถ้าบารมีเราเต็มแล้วเราก็ไม่ต้องอาศัย แต่ถ้าบารมีเรายังไม่ถึงเราก็ต้องอาศัย เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าเราทำอยู่เป็นนิตย์แล้ว เรียกอาศัยอยู่ตลอดเวลา เค้าเรียกว่ามีความเคยชินก็หาว่าเป็นอะไรไม่

    อยากให้โยมเข้าใจอย่างหนึ่งว่า เมื่อจิตเรามีความตั้งมั่นในพระรัตนตรัยนั้นแล ในกุศลในศีลนั้นแล เค้าเรียกพระรัตนตรัยได้บังเกิด นั้นการสำรวมกายวาจาใจ..พระรัตนตรัยก็บังเกิด ณ ที่แห่งนั้น แต่การกล่าวอ้างนั่นเพื่อให้เราระลึกถึง ให้จิตใจมันมีกำลังมากยิ่งขึ้นอีก เข้าใจมั้ยจ๊ะ จิตมันก็จะเรียกว่าตั้งมั่น มีกำลังส่งตรง เค้าเรียกว่าส่งไปได้ไกล

    ลูกศิษย์ : แล้วเราจะรู้ได้ยังไงล่ะคะว่าบารมีเราเต็มแล้ว
    หลวงปู่ : ไม่ยากหรอกจ้ะ โยมมีความเชื่อมั่นในศีลแค่ไหนเล่าจ๊ะ เชื่อในพระพุทธมากแค่ไหน ในพระธรรม ในพระสงฆ์ โยมมีความสงสัยในธรรมมากแค่ไหน ถ้าโยมสิ้นสงสัยแล้ว บารมีโยมก็เต็ม เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะโยมจะไม่รั้งรออะไรอีกต่อไป จะไม่มีข้อแม้ คนที่ยังมีข้อแม้อยู่นั่นเค้าเรียกว่ายังมีความสงสัย ยังไม่แน่นอน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่เมื่อคนสิ้นสงสัยทุกอย่างแล้ว มีกระแสพระนิพพานเป็นที่หมายแล้ว มีความตายเป็นที่ตั้งแล้ว จะเอากายสังขารที่มีลมหายใจอยู่นี้ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา จะมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอย่างเดียวนี้แล เค้าเรียกว่าบารมีมันเต็ม เต็มมันก็อยู่ไม่ได้แล้ว ใช่มั้ยจ๊ะ จะมีจิตที่แน่วแน่ เดินตามครูบาอาจารย์อย่างเดียว..นี่เค้าเรียกมันเต็ม

    ถ้าคนไม่เต็มนี่เค้าเรียกว่าอย่างตรงกันข้ามนั่นแหล่ะจ้ะ คนเต็มกับคนไม่เต็มน่ะ..แล้วก็เกิน ไอ้ไม่เต็มนี่เค้าเรียกว่าในอดีต เต็มนี่คือเต็มในปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้มันเต็ม ถ้าเกินเป็นอนาคตคือจิตมันฟุ้ง มันชอบคิดปรุงแต่ง..ไปโน่นแล้ว นั่งภาวนาพุทโธ อ้าว..พุทโธหายไป เกินนี่ทำยังไง เกินจะแก้ยังไง (ลูกศิษย์ : กลับมาอยู่ที่ลมหายใจอีกครั้งนึง) เกินเราก็ต้องเจริญสติกลับมาสิจ๊ะ สติโยมหลุดไปแล้วนอกโลกแล้ว โยมก็ต้องกลับมาก่อน ให้รู้ว่าในขณะนี้เราอยู่ในโลกมนุษย์อยู่

    ไอ้พวกเกินนี่ชอบระลึกชาติ ชอบมีฤทธิ์มีเดชอยากระลึกชาติ มันต้องดึงจิตเข้ามาปัจจุบัน อยู่ในภพภูมิของการเกิดเป็นมนุษย์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่มันจะทำให้เต็มได้ในภพปัจจุบัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไอ้พวกเกินๆนี่พวกหลงอดีตหรือไปอยู่ในอนาคต ที่ไม่เต็มก็เพราะไปยึดติดอยู่ในอดีต..ไม่เต็ม ไอ้พวกเกินก็..นี่ชอบไปยึดถือในอนาคต ตรงข้ามในปัจจุบันแล้วมันจะเต็มได้ยังไงจ๊ะ ทำให้มันเต็ม
    ให้รู้ว่าเราบ้าอย่างไร ดูในปัจจุบันในอารมณ์ที่มันเกิดขึ้น ความบ้ามันคืออะไร ความบ้าคือความไม่สงบของจิตเวลาที่มันฟุ้ง เค้าเรียกว่าบ้าคลั่งเหมือนอารมณ์น่ะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่เค้าเรียกว่าความบ้า

    ถ้าเรานั่งแล้วจิตเราไม่สงบ ทำยังไงก็ไม่สงบ..อย่าไปนั่ง ให้ไปเดินซะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ อันที่สองถ้ายังไม่สงบ..อย่าเพิ่งหลับตา ให้ลืมตาไว้ นั่งทอดพระเนตรไปอยู่เบื้องหน้าไม่ต้องเกินวา ดูไป ทอดอารมณ์ไปก่อน ดูซิมันจะสงบตอนไหน แล้วขณะที่เราทอดอยู่อารมณ์ที่เราหลับไปแล้วอารมณ์นั้นยังไม่ดับ เอาอารมณ์นั่นแหล่ะมาทอด..ทอดยังไง คือเพ่งดูในอารมณ์นั้นแต่ไม่ต้องหลับตา

    เพราะถ้าโยมหลับตาลงไปแล้วทอดไป ทีนี้โยมจะจินตนาการเข้าไปอีก อ๋อ..มันทอดแบบนี้ ทอดอย่างนี้ มันก็จะไปเรื่อยทีนี้ แต่ถ้าโยมลืมตามาอยู่ในสภาวะความเป็นจริง แม้บางทีนำอารมณ์มาวิตกวิจารมาทอดอยู่อย่างนั้นน่ะ..มันจะดับของมันเอง เพราะเมื่อจิตมันตกภวังค์ พอจิตมันตกภวังค์เรากำหนดลมเข้าไปเลยทีนี้ เอาสติเข้าไปในภวังค์นั้น

    แต่ในภวังค์ที่มนุษย์มันชอบเข้าไปเพราะมันขาดสติ แต่ถ้าโยมเอาสติเข้าไปกำหนดรู้ในภวังค์ มันจะมีเรียกว่าเป็นฌาน เจริญฌาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าโยมนั่งแล้วหลับไม่มีสติแต่มันสงบ อันนี้เค้าเรียกว่าทรงฌาน ทรงบ่อยๆทีนี้จะหลับ ประคองจนมากเกินไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ทีนี้โยมต้องใช้วิชานี้ให้เป็นประโยชน์ โยมต้องเพ่งอารมณ์ ถ้าโยมเพ่งอารมณ์แล้วมันจะไม่หลับ มันจะไม่ตกภวังค์ เพราะว่าจิตเรามีการงาน เค้าเรียกว่าระลึกถึงการสิ่งใดแล้ว ให้น้อมจิตเข้าไป..ไตรลักษณญาณเข้าไป เค้าเรียกน้อมจิตเข้าไปสู่การพิจารณา สู่การระลึกแล้วทำให้นั้นเรารู้สึกสลดหดหู่สังเวชใจในการเกิดนั้นแล..เรียกว่ากรรมฐาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าเราไปสัมผัสอารมณ์ใดพิจารณาอารมณ์ใดแล้วไปพึงพอใจ..เค้าเรียกว่ากามคุณ เมื่อเราไประลึกหน้าไม่ชอบหน้าใครโทสะก็บังเกิดขึ้นอีกทีนี้ เค้าเรียกว่าเกิดเวรพยาบาทเกิดขึ้น ในห้วงของจิตนั้นเราต้องทำยังไง..ต้องละอารมณ์นั้นลงไปให้ได้ นี่เค้าเรียกว่าตัดกรรมต้องตัดที่ใจ

    คือใจนี้เป็นตัวคิด..ตัวคิดและระลึกถึงเพราะมีสัญญาเก่า สัญญาเก่าตัวนี้ที่มันยังไม่หมดไป เราไปสัญญาอะไรกับใครไว้ เราไปผูกอะไรไว้ นี่เรียกว่าสัญญา เราต้องไปตัดไปแก้มันออกมา ไปแก้ตอนที่เราเจริญสติ เมื่อเจริญมากๆ เจริญมากๆ สัญญามันจะขึ้นมามาก มันขุดขึ้นมามากเลย จำได้หมด มันขึ้นมาทั้งนั้นไอ้สัญญาพวกนี้..ดับมันออกไปให้หมด แก้มันออกมาที่เราผูกไว้ผูกไว้ ผูกคือที่เราไปยึด..เค้าเรียกว่าผูก

    บางคนไม่ผูกยังมัดด้วย นี่ของกู จะตายแล้วยังของกู..นี่เค้าเรียกว่ามัดด้วย ทำไมถึงเรียกว่ามัด ก็ตอนขณะจิตจะตายมีความอาฆาตแค้นไว้ นั่นเค้าเรียกว่ามัดตราสังข์ไว้ ตรึงจิต เมื่อตรึงจิตทีนี้ไปไหนไม่ได้ วนเวียนเกิดมาก็ตามหาอย่างเดียวเลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ที่นี้กรรมฐานเค้าจึงว่าแก้ที่ต้นเหตุที่สุดแล้ว เราเจริญสติมากๆ เจริญมากสติมีกำลังมาก สติมันเลยหยั่งรู้ในภพ ทำเจริญภพปัจจุบันอยู่บ่อยๆ..มันจะซ้อนภพซ้อนภพซ้อนภพ ทีนี้ภพไม่รู้กี่ภพคืออารมณ์ที่เกิดขึ้นนั่นแหล่ะจ้ะ คือมโนภาพมโนจิตมันเกิดขึ้นมานี่ ให้เรากำหนดรู้แต่อย่าไปปรุงแต่ง

    เมื่อไปรุงแต่งภพมันไม่จบหรอกทีนี้ เราต้องดับภพดับอารมณ์ รู้แล้ววาง รู้แล้ววาง รู้แล้ววาง ถ้าอันไหนคือรู้แล้วยังวางไม่ได้ แสดงว่าเหตุมันกำลังจะเกิดขึ้นในปัจจุบันแห่งภพ ต้องทำอย่างไร..ให้มีสติ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ก็คือแก้ในปัจจุบัน นี่สิ่งเหล่านี้โยมต้องเจริญให้มาก คือการเจริญสติคือตัวรู้ เจริญเพื่อให้มันรู้ ไม่ใช่รู้แล้วไปยึด..นั่นเรียกไม่รู้จริง ไอ้นั่นเค้าเรียกว่าเกิน เกินนี่มันมาจากไหน..มันมาจากขาด ขาดมันมากจากไหน..เค้าเรียกว่าศีลมันบกพร่องไงจ๊ะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  18. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    8772EB1C-3F1A-4E63-A0CD-D7CB27A38974.jpeg

    การเกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นของวิเศษ แม้บิดามารดาเค้าไม่ให้ทรัพย์สินอะไรโยมมา แต่การมีกายเป็นสมบัติอันล้ำเลิศ มีค่าที่สุดเปรียบประมาณมิได้ จึงบอกว่าแม้บิดามารดาไม่เลี้ยงดูเรามาก็ตาม แต่ถ้าเรามีชีวิตอยู่แสดงว่าเค้าทำให้เราเกิด ขอให้โยมจงเจริญกรรมฐานแล้วแผ่เมตตาระลึกถึงค่าน้ำนมผู้ให้ชีวิต..

    ถ้าไม่มีการให้ชีวิตจากท่านมา เราก็ไม่มีโอกาสจะเอากายสังขารนี้มรดกนี้ มาสร้างบารมีอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ อย่าไปคิดน้อยเนื้อต่ำใจ อย่าคิดอวดดีถือดีว่าเราเกิดมาได้แล้ว เราจะไม่ระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา เข้าใจมั้ยจ๊ะ บิดามารดาแม้ไม่เลี้ยงดูเรา แต่เค้าให้กำเนิดก็เป็นคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว ยิ่งไม่เลี้ยงดูเรายิ่งดีจะได้ไม่ต้องเป็นกรรมกันมากนัก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นขอให้โยมระลึกให้มาก การที่เรามาเจริญพระกรรมฐานระลึกถึงบิดามารดาผู้มีคุณทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาทั้งหลาย เพื่อให้เรามีกายสังขารได้มาสร้างประโยชน์สร้างบารมีอันยิ่งใหญ่ ขอตั้งจิตอธิษฐานขออำนาจบารมีพระรัตนตรัยจงอุดหนุนคุ้มครองให้ท่านนั้นอยู่รอดปลอดภัย มีอายุมั่นขวัญยืน ปราศจากโรคภัยทั้งหลาย ขอให้ท่านมีสุขทุกทิวาราตรีอย่างนี้..

    ขอให้ท่านได้รับบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้มาเจริญพระกรรมฐาน ทาน ศีล ภาวนา บุญกุศลจงปกป้องคุ้มครองครอบครัวญาติมิตร ผู้มีคุณทั้งหลายไม่ว่าจะอยู่โลกนี้หรือละโลกนี้ไปแล้วก็ตามที หากดวงจิตวิญญาณผู้ใดพึงจะมีบุญวาสนา พอมีกำลังที่จะรับได้ก็ขอให้มาโมทนา ในดวงจิตวิญญาณอันใดที่เราเคยอาฆาตพยาบาทมาดร้ายด้วยกาย วาจา ใจทั้งหลายที่เป็นอกุศลกรรมอันใดอันหนึ่งก็ดี ในภพชาติใดก็ดี ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด ถ้าอยู่ในวิถีของจิตของธรรมของกรรมแล้วที่จะได้รับมาโมทนามาอโหสิกรรม ก็ขอจงมาได้รับผลบุญกุศลนี้ทุกถ้วนทั่วหน้า เราก็ตั้งจิตอธิษฐานไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    การตั้งจิตอธิษฐานมีกำลังมหาศาลอย่างไร มันมีอานิสงส์กำลังมหาศาลอยู่ว่า ไม่ว่าภูเขาลูกใดกำแพงหนาแค่ไหน ก็ไม่สามารถจะปิดกั้นดวงจิต เข้าใจมั้ยจ๊ะ โยมปิดกั้นความรู้สึกได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้) แสดงว่าความคิดถึงก็ไปได้ ใช่มั้ยจ๊ะ แต่ว่าเค้าจะรับได้หรือเปล่าอีกเรื่องนึง

    มันมีข้อสันนิษฐานและเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้อยู่ว่า ถ้าเราระลึกถึงใคร เค้าบอกว่าแสดงว่าเค้าก็ระลึกถึงเรา เพราะว่ามันเป็นคลื่น เข้าใจมั้ยจ๊ะ อ้าว..โลกนี้น่ะมันมีสนามแม่เหล็กอยู่ เรียกว่าแรงดึงดูด อ้าว..เรามาพูดถึงกฎแรงดึงดูด กฎแห่งโลกจักรวาล แต่กฎของธรรมมีกฎแห่งไตรลักษณ์

    มีอะไรบ้างไตรลักษณ์ มีทุกขัง มีอนิจจัง มีอนัตตา เมื่อจิตโยมว่างแล้ว ไม่มีอัตตาแล้ว ทุกขังก็ดี ความไม่เที่ยงก็ดี มันข้ามสมมุติบัญญัติไป เมื่อโยมไม่ติดอยู่ในสมมุติบัญญัติว่านี่ตัวกูของกูแล้ว การแผ่เมตตาจิตไปนี้..ไม่ว่าสรรพสัตว์ดวงใดที่เคยมีผล มีกรรม มีวาสนากับใครหรือกับเราก็ตาม เค้าจะอยู่ในห้วงกระแสจิตของเรา เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันจึงเรียกว่าโลกวิญญาณ

    แล้วอย่าลืมว่าในกระแสที่เรานั่งอยู่นี้เต็มไปด้วยสรรพวิญญาณทั้งนั้น ใช่มั้ยจ๊ะ มันต้องมีวิญญาณดวงใดดวงหนึ่ง ที่มีบุพกรรมกับเรา ถ้าไม่งั้นเราไม่มาที่แห่งนี้ ถ้าไม่อย่างนั้นเราไม่ต้องไปอยู่ตรงนั้น เราไม่ทำไอ้นั่น เราไม่มาเจอไอ้คนนี้ เพราะไม่มีเหตุบังเอิญ ล้วนผลเกิดจากแรงกรรมทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ฉันถึงบอกว่าผลานิสงส์แห่งกำลังของจิตที่เราจะแผ่เมตตาออกไปนี้มันมีกำลังมหาศาล มหาศาลอย่างไร จิตที่มีจิตตานุภาพที่จิตโยมมีความปรารถนาตั้งมั่นอย่างแรงกล้า ให้สรรพสัตว์ดวงจิตทั้งหลายได้พ้นทุกข์พ้นภัยไป ถ้าจิตโยมมีกำลังขนาดนั้น ด้วยอำนาจแห่งพระรัตนตรัย ดวงจิตที่เค้ายังมีผลบุญผลกรรมเค้าเหลือน้อยแล้ว เมื่อเค้าได้รับไปแล้วเค้าก็หลุดพ้นทันทีได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นขณะที่เรามาสร้างคุณงามความดี โยมอย่าได้ดูถูกผลบุญเพียงเล็กน้อย มันไม่ได้เล็กน้อย มันอาจจะเล็กน้อยสำหรับเรา เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่มันอาจจะสำคัญสำหรับดวงจิตวิญญาณอื่นๆ เข้าใจมั้ยจ๊ะ คนที่เค้าไม่มีกินมาหลายมื้อกับเรามีกินทุกมื้อ แต่เราให้เค้าไปซักมื้อหนึ่ง โยมว่าเค้าจะเห็นความสำคัญขนาดไหน ใช่มั้ยจ๊ะ เพราะเค้าจะรู้ค่าความอดความหิวความอยาก ที่เค้าไม่มีกายจะมาประพฤติปฏิบัติอย่างโยม ขอให้พิจารณาคิดอย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะว่าเรานี้จะทำหรือไม่ทำบุญก็ยังรักษาอยู่ แต่ดวงจิตวิญญาณที่ไม่มีกายสังขารแล้วต้องอยู่อดๆอยากๆ หิวๆโหยๆ รอให้ญาตินั้นได้อุทิศบุญไป วันพระเดี๋ยวนี้ก็ไม่ค่อยไปทำบุญกัน แล้วโยมจะเอาอะไรไปกินล่ะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นอย่ารอให้ใครทำบุญให้เราไป ในขณะที่เรายังมีกายสังขารทำไว้เสียให้มากๆ อย่าให้ไปรอเศษก้นแก้วที่เค้ากรวดน้ำลงไปให้เรา อย่าไปหวังพึ่งลูกหลาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ลูกหลานพึ่งได้ยามตอนเราป่วย ยามตอนเราตาย แต่เมื่อเราตายไปแล้วพึ่งไม่ได้แล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าก็จะไปอยู่กับลูกผัวลูกเมีย อยู่กับสมบัติอย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นตอนที่เรามีสะสมไว้เหมือนเราสะสมทรัพย์ในทางโลก เมื่อเราขัดสนเดือดร้อนเราก็เอามาใช้ได้ เพราะเป็นสิทธิ์ของเรา เราฝากไว้เท่าไหร่เราก็ถอนได้หมดเหมือนฝากธนาคาร บุญกุศลก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราฝากไว้..ถ้าไม่ใช่ของมันมันเอาไปไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะเทวดาเค้าจะรักษาไว้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  19. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    AF85D2D9-8A2C-457A-B2B1-7B47B0003585.jpeg
     
  20. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    ความอดทน

    "ลำบากในปัจจุบัน จะสบายในภายหน้า"

    ขันติเป็นบารมีที่ต้องทำให้ยิ่งยวด กับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนที่เป็นอุบาสกอุบาสิกาในการบำเพ็ญบารมีเพื่อต้องการให้หลุดพ้นจาก"ความทุกข์"

    คำครู อาจารย์ท่านสอน"ทำปัจจุบัน"ให้ดีที่สุด สำหรับญาติธรรมที่อธิษฐานจิตมุ่งสู่การหลุดพ้นเป็นเอกัคคตาในภพปัจจุบัน ต้องได้เจอความทุกข์แบบอุกฤษฎ์หรือแบบสาหัส ขันติบารมีจะต้องมีให้มากด้วยการทำให้มาก อ่านหรือฟังแล้วเข้าใจง่ายแต่การกระทำนั้นมันยากยิ่ง

    การจะรับให้ได้กับความทุกข์นั้น จำเป็นต้องมีที่พึ่ง เราไม่สามารถที่จะสู้ได้โดยลำพัง ถ้าบารมีที่สะสมมานั้นไม่มากพอ ดังนั้นที่พึ่งที่ดีที่สุดคือ"พึ่งตนและพึ่งธรรม" "จงมีตนเป็นที่พึ่งมีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นที่พึ่งมีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเป็นอยู่"

    พระรัตนตรัยล้วนเป็นหนึ่งเดียวคือ"ธรรม" คือ คุณความดี สิ่งที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาคือ ละความชั่วทั้งหลายทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตใจให้ผ่องใส สำหรับผู้ที่มีปัญญาในการพิจารณาก็จะเข้าใจความหมายได้ง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติตามได้โดยไม่มีข้อสงสัย

    ความทุกข์เกิดที่กายและใจ ไม่ได้เกิดจากสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากนี้ ความทุกข์ที่เกิดจากกายของเราไม่สามารถไปบังคับไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ แต่ความทุกข์ของใจนั้นเราสามารถบังคับไม่ให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากกายหรือใจก็ดี ท้ายที่สุดแล้วเราก็ต้องหยุดความทุกข์นั้นให้ได้

     

แชร์หน้านี้

Loading...