เรื่องเด่น พรหมวิหาร ๔ ลงนรกไม่เป็น

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย อกาลิโก!, 28 พฤศจิกายน 2017.

  1. อกาลิโก!

    อกาลิโก! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    609
    กระทู้เรื่องเด่น:
    531
    ค่าพลัง:
    +3,731

    235-5-%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95-jpg.jpg

    พรหมวิหาร ๔ ลงนรกไม่เป็น

    โอวาทหลวงพ่อฯ เล่ม 4 หน้า 9

    พรหมวิหาร ๔ นี่ ถ้ายืนลงในจิตของใคร คนนั้นลงนรกไม่เป็น ลงไม่ได้แน่นอน เขาไม่ให้ลงถ้าลงไปเขาขับขึ้นมา
    ลงไม่ได้ไม่มีสิทธิ์ คือว่าอารมณ์ ของเราให้ทราบอยู่ให้มี เมตตาจิตเราจะไม่เป็นศัตรูกับใครเลยในโลกทั้งคน
    และสัตว์ เราจะเป็นมิตรที่ดีของเขา แต่ว่าเขาจะเป็นศัตรูกับเราน่ะเป็นเรื่องของเขา เราหวังดีแต่เขาหวังร้าย
    อย่างนี้เราต้องใช้ อุเบกขา วางเฉยไว้ถ้าเราพูดกับเขา เขาโกรธ เราก็หยุดพูดเราใช้ อุเบกขา ตัวท้าย แต่ว่าเราไม่ได้
    โกรธ กรุณา ความสงสาร จิตคิดไว้เสมอว่าใครเขาทุกข์ยากลำบาก ถ้าไม่เกินวิสัยของเราที่จะช่วยได้ เราพร้อมที่จะช่วย
    ถ้าเราช่วยได้ด้วยทรัพย์สิน เราจะ ให้ทรัพย์สิน ทรัพย์สินไม่มี
    เราจะให้กำลังกาย กำลังกายให้ไม่ได้ เราให้ด้วยปัญญา
    แต่ทั้งนี้ถ้าเขารับความช่วยเหลือจากเรา ถ้าเราให้การช่วยเหลือกับเขาเขาโกรธเรา เราต้องวางเฉยเราไม่โกรธตอบ
    เราไม่ช่วยเพราะช่วยไม่ได้ ต่อมามุทิตา
    เราไม่มีจิตคิดอิจฉาริษยาใครใครได้ดี เรายินดีด้วย
    ถ้าอารมณ์ ๔ ประเภทนี้ทรงตัวอยู่จริง ๆ ศีลก็บริสุทธิ์ศีลก็ไม่บกพร่องเลย ถ้าเราจะทำสมาธิ สมาธิก็ทรงตัว อารมณ์แจ่มใส
    ไม่มีมัวหมอง ถ้าสมาธิไม่มัวหมอง ปัญญาคือ วิปัสสนาก็เกิด
    เท่านี้เอง



    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  2. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
  3. Norawon

    Norawon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2018
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +208
    สาธุครับ
     
  4. yinyhang

    yinyhang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    การบริหารจิต.jpg
    การบริหารจิต
    พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการ กระทำทุกอย่าง จะต้องมีการพิจารณา คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน การฝึกจิตหรือการบริหารจิต จึงเป็นการกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา
    การบริหารจิต หมายถึง การฝึกฝนอบรมจิตให้เจริญและประณีตยิ่งขึ้น มีความปลอดโปร่ง มีความหนักแน่นมั่นคง โดยเริ่มจากการฝึกฝนจิตให้เกิดสติและฝึกสมาธิให้เกิดขึ้นในจิต
    ในการที่จะให้จิตมีสติได้นั้น ผู้ฝึกต้องมีวิธีการดังนี้คือ การตั้งใจให้มีสติปสัมปชัญญะอยู่เสมอ การคบกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคง การไม่คบคนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านปั่นป่วนและการมีใจน้อมไปในการมีสติคืออยากจะมีสติมั่นคง กล่าวคือ

    1. การตั้งใจให้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ คือ ผู้ฝึกจะต้องตั้งใจกำหนดรู้สึกตัวอยู่ทุกขณะไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องใคร่ครวญทำช้าๆ อย่ารวดเร็วเกินไป เช่น ในขณะเดิน ยืน นั่ง นอน จะต้องพยายามให้ตัวสติระลึกอยู่ตลอดเวลาทุกๆ อิริยาบถ และมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่เสมอ เมื่อตั้งใจปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวก็จะทำให้ผู้นั้นมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์

    2. การคบกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคง คือ พยายามเข้าสมาคมกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคงด้วยการทำ การพุด และการแสดงออกอื่นๆ ยกตัวอย่าง เช่น การเข้าไปพบปะสนทนากับพระสงฆ์ผู้ฝึกสมาธิมาดีแล้ว โดยพิจารณาจากการพูดและการกระทำ ท่านจะอยู่ในลักษณะสำรวมระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เราผู้เข้าร่วมสมาคมด้วยเกิดการตั้งสติและมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวสำรวมระมัดระวังตัวเช่นเดียวกับท่าน

    3. การไม่คบคนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านปั่นป่วย คือ คนใดที่มีสติฟั่นเฟือน หลงๆ ลืมๆ ซึ่งมีการกระทำการพูดผิดๆ ถูกๆ อยู่ตลอดนั้น เราไม่ควรจะไปคบด้วย เพราะการสมาคมกับคนประเภทนี้บ่อยๆ เข้าบางทีจะทำให้เราติดโรคสติฟั่นเฟือนได้ เว้นได้แต่เข้าไปคบด้วยความสงสาร เพื่อจะแนะนำเขาในบางครั้งบางคราวเท่านั้น

    4. การมีใจน้อมไปในการมีสติ คืออยากเป็นคนมีสติมั่นคง โดยตัวเราเองต้องพยายามขวนขวายปลุกใจให้เห็นคุณค่าในการมีสติสัมปชัญญะแล้วปฏิบัติธรรมเพื่อนำจิตของตนให้เป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิในขั้นต้น แม้เพียงขณิกสมาธิอันเป็นสมาธิชั่วขณะที่เกิดขึ้นกับคนทั่วๆ ไปในการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน เท่านี้ก็จะทำให้เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะดีขึ้นอย่างแน่นอน

    นอกจากนี้แล้วพระพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงวิธีการฝึกสติให้สมบูรณ์ไว้ในสติปัฏฐาน ๔ อย่าง
    กล่าวคือ การดำรงสติไว้ที่ฐานมี 4 อย่าง ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม และกำหนดพิจารณาฐานทั้ง เหล่านั้น เช่น กายานุปัสสนา ตั้งสติกำหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์ เวทนานุปัสสนา ตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนาเป็นอารมณ์ จิตตานุปัสสนา ตั้งสติกำหนดพิจารณาจิตเป็นอารมณ์ และธัมมานุปัสสนา ตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรมเป็นอารมณ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...