ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    การคลายล็อคเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ-ช่วยภาคท่องเที่ยวโดยเร็ว : ปัจจุบันเราเห็นกระแสทั่วโลกที่เร่งการคลายล็อคเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ แต่ผมเกรงว่าสำหรับหลายประเทศในโลกนั้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันยังสูงมาก

    ดังนั้นการคลายล็อคจึงมีความเสี่ยงว่าจะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด หากดูตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกจะเห็นว่าตัวเลขยังไม่ลดลง กล่าวคือมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกวันละประมาณ 80,000 คน ตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย. ถึงวันที่ 18 พ.ค. ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดในขณะที่เขียนบทความนี้

    อย่างไรก็ดี จำนวนผู้ที่เสียชีวิตทั่วโลกเป็นรายวันมีแนวโน้มลดลงจากประมาณ 7,000 รายต่อวันในเดือนเม.ย.มาอยู่ที่ 4,500 รายต่อวันในกลางเดือนพ.ค. ซึ่งอาจตีความได้ว่าระบบสาธารณสุขของโลกโดยรวมสามารถควบคุมและรักษาพยาบาลผู้ที่ติดเชื้อได้ดียิ่งขึ้น ทำให้มีความมั่นใจมากขึ้นและเป็นแรงผลักดันให้คลายล็อคเพื่อฟื้นเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศในโลก

    ผมเห็นว่าในขณะที่หลายประเทศยังมีปัจจัยเสี่ยงอยู่มาก แต่ก็มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเปิดเศรษฐกิจ เช่น สหรัฐและอังกฤษ ในกรณีของอังกฤษนั้นมีประชากรประมาณ 68 ล้านคนเท่ากับประเทศไทย แต่มีผู้ติดเชื้อมากถึง 250,000 คนและมีผู้เสียชีวิต 35,000 คน สัดส่วนผู้เสียชีวิตต่อจำนวนผู้ติดเชื้อจึงสูงถึง 14% แปลว่าระบบสาธารณสุขน่าจะทำการรักษาพยาบาลได้ไม่ดีเลยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมดเพียง 3,033 คนและมีผู้เสียชีวิต 56 คน คิดเป็นเพียง 1.8% ขอย้ำนะครับว่าอังกฤษกับไทยมีประชากรเท่าๆ กัน แต่ที่อังกฤษมีผู้ติดเชื้อมากกว่าไทยกว่า 80 เท่าและมีผู้เสียชีวิตมากกว่าไทยประมาณ 625 เท่า

    อังกฤษเป็นหนึ่งในหลายประเทศในยุโรปที่กำลังคลายล็อคทางเศรษฐกิจทั้งๆ ที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันยังลดลงไม่มาก กล่าวคือจากประมาณ 4,500 รายต่อวันในเดือนเม.ย. มาเป็น 3,500 รายในเดือนพ.ค. จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันของอังกฤษมากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมของไทยจนถึงปัจจุบัน

    แต่สิ่งที่ทำให้อังกฤษมีความมั่นใจว่าควรจะคลายล็อคและฟื้นเศรษฐกิจน่าจะมาจากจำนวนผู้เสียชีวิตที่เฉลี่ยสูงเกือบ 1,000 คนต่อวันในเดือนเม.ย. ลดลงมาอย่างมากในเดือนพ.ค.ที่ประมาณ 300-400 คนต่อวันและตัวเลขล่าสุดมีผู้เสียชีวิต “เพียง” 170 คนในวันที่ 17 พ.ค.และ 160 คนในวันที่ 18 พ.ค.

    ที่ผมยกตัวเลขมามากมายนี้ก็เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าตัวเลขของประเทศไทยนั้นดีกว่าตัวเลขของประเทศอังกฤษอย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้ในทุกมิติ ดังนั้นประเทศไทยจึงน่าจะอยู่ในสภาวะที่สามารถคลายล็อคทางเศรษฐกิจได้อย่างเร่งรีบ ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะว่าชะล่าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของการมีการระบาดรอบใหม่ แต่เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละ3-4 คนนั้น ทำให้มีความมั่นใจอย่างมากว่า แม้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเพิ่มขึ้นไปกว่านี้อีก 10 เท่าตัวคือ 30-40 คนต่อวัน ระบบสาธารณสุขของไทยที่ปัจจุบันมีศักยภาพในการจัดการกับสถานการณ์ กล่าวคือไทยสามารถทดสอบ(testing) ผู้ติดเชื้อวันละ 20,000 รายในกว่า 100 ห้องทดลองทั่วประเทศ มีอสม.ที่สอดส่องดูแล (tracing) โดยเฉพาะในต่างจังหวัดมากกว่า 1 ล้านคน มีเตียงที่เตรียมเอาไว้รองรับผู้ป่วยเป็น COVID-19 15,000 เตียงและมีห้อง ICU ที่เตรียมเอาไว้สำหรับ COVID-19 ประมาณ 2,000 ห้อง ในขณะที่ปัจจุบันเรามีจำนวนผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลไม่ถึง 120 คน

    มีการกล่าวว่าเราควร “ตั้งการ์ดเอาไว้” แต่หากยกแขนตั้งการ์ด มือก็จะไม่สามารถทำประโยชน์อะไรได้และการ “ขู่” ว่าหากจำนวนผู้ติดเชื้อปรับตัวเพิ่มขึ้นก็จะล็อคเศรษฐกิจกลับไปเหมือนในเดือนเม.ย. ผมของมองต่างมุมว่าหากจะ “ขู่” และ “ไล่จับผิด” ผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างเข้มงวดเกินจำเป็นแล้ว การคลายล็อคก็จะเป็นไปในบรรยากาศที่ประชาชนถูกกดดันและขาดความมั่นใจ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจทุกคนจะรู้ดีว่าหากขาดความมั่นใจและขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังให้เกิดความมั่นใจจากภาครัฐแล้ว การขับเคลื่อนและการฟื้นฟูเศรษฐกิจในสภาวะปัจจุบันนั้นมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จน้อยมากเพราะปัจจุบันประชาชนทั่วไปนั้นยังเกรงกลัว COVID-19 อย่างมากเป็นเกณฑ์อยู่แล้ว

    ประเทศไทยนั้นก่อน COVID-19 พึ่งพากำลังซื้อจากต่างประเทศอย่างมากเพราะการส่งออกสินค้าและบริการ(การท่องเที่ยว) สูงถึง 68% ของจีดีพี การบริโภคในประเทศนั้นมีสัดส่วนเพียง 50% ของจีดีพี ที่สำคัญคือไทยน่าจะพึ่งพากำลังจากต่างประเทศได้ยาก เพราะเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงมากกว่าไทยมากว่าการคลายล็อคจะทำให้มีการระบาดของ COVID-19 รอบ 2 นอกจากนั้นการที่สหรัฐอาจทำสงครามทางการค้ากับจีนก็จะเป็นปัจจัยที่กดดันให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นไปอย่างเชื่องช้า

    ประเด็นคือการฟื้นเศรษฐกิจของไทยนั้นน่าจะต้องพึ่งพากำลังซื้อภายในประเทศและการเปิดการท่องเที่ยวกับประเทศในเอเชียที่สามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19เป็นหลัก ประเทศในเอเชียที่สามารถควบคุมการะบาดของ COVID-19 ได้แล้วคือจีน (และฮ่องกงกับไต้หวัน) ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์และเวียดนาม ทั้งนี้เพราะภาคการท่องเที่ยวของไทยนั้นก่อนหน้านี้เป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและปัจจุบันกำลังได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด

    กล่าวคือในปี 2019 (ก่อน COVID-19) ไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 40 ล้านคน แต่ปีนี้ในไตรมาส 1 มีนักท่องเที่ยวเพียง 7 ล้านคนและครึ่งหลังของปีนี้หากคลายล็อคอย่างเชื่องช้าก็อาจมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพียง 3-4 ล้านคน แปลว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงจาก 40 ล้านคนเหลือเพียง 10 ล้านคนและในปี 2021 ก็น่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยประมาณ 15 ล้านคน แปลว่าอุปสงค์ก็จะต่ำกว่าอุปทานอย่างมาก

    ประเทศไทยจะต้องลดขนาดของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวลงไปและต้อง “แปรรูป+ปรับโครงสร้าง”เพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างมาก แต่ก็ควรเร่งเปิดให้นักท่องเที่ยวจากเอเชียเข้ามาในโอกาสแรกเพื่อลดความเสียหายให้น้อยที่สุดและช่วยจุนเจือผู้ประกอบการให้ทันท่วงทีที่สุด ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีแผนหรือแนวนโยบายที่ชัดเจนว่าจะจัดสรรทรัพยากรส่วนเกินในภาคการท่องเที่ยวไปสู่ภาคเศรษฐกิจใด

    เศรษฐศาสตร์ + สุขภาพ โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเศรษฐกิจ

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    https://www.bangkokbiznews.com/blog...utm_medium=internal_referral&utm_campaign=ceo

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ผลกระทบของ COVID-19 ในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์ : บทความนี้กลั่นกรองเนื้อหาจาก บทความ aBRIDGEd ฉบับเต็มเรื่อง “COVID-19 จากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 1 และ ตอนที่2” เผยแพร่ใน website ของ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
    เมื่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 กระจายไปทั่วโลกและส่งผลกระทบต่อสังคมในหลายมิติ ทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ การจ้างงาน และความไม่แน่นอนในอนาคต นักเศรษฐศาสตร์จึงต่างนำความถนัดของตนเองมาช่วยเสนอมุมมองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 โดยงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านหลัก ๆ ได้แก่

    (1) การพัฒนาแบบจำลองเพื่อพยากรณ์การแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19
    (2) การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19
    (3) การพยากรณ์ผลกระทบของการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 ต่อระบบเศรษฐกิจ
    (4) การเสนอนโยบายต่อรัฐบาล
    1. การพัฒนาแบบจำลองเพื่อพยากรณ์การแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19

    งานวิจัยกลุ่มนี้เริ่มจากแบบจำลองพื้นฐานของสาขาวิชาระบาดวิทยาที่ชื่อว่า SIR แบบจำลองนี้แบ่งประชากรออกเป็น 3 กลุ่มคือ
    1. กลุ่มผู้เสี่ยงติดเชื้อ (Susceptibl) 2. กลุ่มผู้ติดเชื้อ (Infectious) และ 3. กลุ่มผู้ป่วยที่รักษาหาย (recovered) และใช้สมการเชิงอนุพันธ์ (differential equations) เพื่ออธิบายการแพร่กระจายของโรคระบาดจากกลุ่มผู้ติดเชื้อไปยังกลุ่มผู้เสี่ยงติดเชื้อ ตัวเลขที่สำคัญในแบบจำลองคือค่า R0 ที่ชี้ว่าผู้ติดเชื้อหนึ่งคนจะแพร่เชื้อให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่อีกกี่คน นักระบาดวิทยาสรุปว่าตัวเลขนี้ต้องมีค่าน้อยกว่า 1 จึงจะทำให้โรคระบาดหยุดลงได้

    นักเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วยพัฒนาแบบจำลอง SIR ด้วยการเสริมการตัดสินใจของมนุษย์เข้าไป และเสนอว่าค่า R0 อาจไม่ใช่ค่าคงที่และขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกหลาย ๆ อย่าง เช่น Suwanprasert (2020) เสนอว่าประชาชนตอบสนองต่อจำนวนผู้ติดเชื้อในสังคมและความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตของตนเอง

    ดังนั้นกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อสูง จะยินดีกักตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงลง ในขณะที่กลุ่มวัยกลางคนหลีกเลี่ยงสถานที่สาธารณะน้อยกว่าผู้สูงอายุเพราะพวกเขามีความเสี่ยงเสียชีวิตน้อยกว่า ส่วน Keppo et al. (2020) แนะนำว่าพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงสถานที่สาธารณะไม่ได้ขึ้นอยู่แต่เพียงจำนวนผู้ติดเชื้อในสังคม แต่ยังขึ้นกับพฤติกรรมของประชากรคนอื่น ๆ ด้วย แนวคิดมาจากว่า แม้ในสังคมจะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก แต่หากทุกคนกักตัวเองอยู่ในบ้านแล้ว การที่เราออกนอกบ้านจะปลอดภัยเพราะไม่มีโอกาสติดเชื้อจากใคร ภายใต้แนวคิดนี้ ค่า R0 จึงขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อพฤติกรรมของประชากรคนอื่น ๆ เช่นกัน

    2. การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19

    งานวิจัยกลุ่มนี้จะมุ่งความสนใจไปที่ข้อมูลใหม่ล่าสุดเพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ในระดับเศรษฐกิจมหภาค ข้อมูลที่ใช้มักเป็นสาขาการเงินซึ่งมีแหล่งข้อมูลรายวัน โดย Yilmazkuday (2020) พบว่า ตลาดหุ้น S&P500 ในสหรัฐตอบสนองทางลบต่อจำนวนผู้เสียชีวิตในโลกเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ Baker et al. (2020) พบว่าความผันผวนของตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกาที่เกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 สูงกว่าความผันผวนที่เกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดต่าง ๆ ในอดีต

    ในระดับบริษัท งานวิจัยพบว่าบริษัทต่าง ๆ ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าจากการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 ยกตัวอย่างเช่น งานของ Hassan et al. (2020) ที่พบว่าบริษัทขนาดใหญ่ทั่วโลกต่างแสดงความกังวลเรื่องความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส โดยเฉพาะผลของการบริโภคที่ลดลงของผู้บริโภค และความไม่แน่นอนในอนาคต ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการรายย่อยในสหรัฐอเมริกาต่างผจญปัญหาขาดสภาพคล่อง เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อยมักมีเงินสดไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายรายเดือน และผู้ประกอบการกว่า 40% อาจจะต้องปิดบริษัทลง (Bartik et al. 2020)

    ในส่วนของประชาชน นักเศรษฐศาสตร์พบว่าผลกระทบจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลายมิติ เช่น เพศ อาชีพการงานและระดับทรัพย์สิน ในส่วนของประเทศไทยเอง Lekfuangfu et al. (2020) ประมาณการณ์ว่า แรงงานเพศชายได้รับผลกระทบมากกว่าแรงงานเพศหญิงเพราะแรงงานผู้ชายส่วนมากทำงานในอาชีพที่ต้องใช้เครื่องจักรและไม่สามารถทำงานจากที่บ้านได้ ส่วนกลุ่มแรงงานอายุ 46 ปีขึ้นไปมีโอกาสเผชิญความลำบากในการปรับตัวใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อทำงานจากที่บ้าน นอกจากนี้ แรงงานกลุ่มรายได้ไม่เกิน 12,000 บาท ต่อเดือน กว่า 1.6 ล้านคน ได้รับผลประทบมากที่สุดจากมาตรการล็อกดาวน์ (ตารางที่ 1)

    เมื่อคำนึงถึงมิติทางสังคม Alon et al. (2020) พบว่าแรงงานผู้หญิงได้รับผลกระทบในรูปแบบของภาระหน้าที่ในการดูแลลูกมากกว่าผู้ชาย สาเหตุมาจากความคาดหวังทางสังคมที่ผู้หญิงมักเป็นฝ่ายต้องรับผิดชอบงานบ้านและการดูแลลูก ดังนั้นเมื่อลูก ๆ ไม่สามารถไปโรงเรียนและสมาชิกในครอบครัวอยู่บ้านมากขึ้น ผู้หญิงจึงรับภาระส่วนนี้มากขึ้น

    ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถหยุดทำงานและอยู่บ้านได้ Kaplan et al. (2020) ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มแรงงานที่มีรายได้น้อยเสียรายได้จากการทำงานน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มแรงงานที่มีรายได้สูง แต่ว่ากลุ่มแรงงานที่มีรายได้น้อยมักมีเงินออมที่น้อยกว่า ดังนั้นพวกเขาจึงเผชิญความลำบากในการใช้ชีวิตในช่วงที่ไม่มีรายได้


    3. การพยากรณ์ผลกระทบของการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 ต่อระบบเศรษฐกิจ

    การประเมินค่าผลกระทบของโรคระบาดยังทำได้ยากเนื่องจากไม่มีข้อมูลในลักษณะเดียวกันมาก่อน นักเศรษฐศาสตร์จึงพยายามพยากรณ์ผลกระทบของ COVID-19 ผ่านสองวิธี คือ การอนุมานผลกระทบโดยใช้ข้อมูลโรคระบาดอื่น ๆ ในอดีต และ การสร้างแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ที่ผสมผสานรูปแบบของโรคระบาด

    ในกลุ่มแรกนั้นมักใช้ข้อมูลจากไข้หวัดสเปนที่แพร่ระบาดในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1918-1920 โดย Barro et al. (2020) คาดการณ์ว่าระบบเศรษฐกิจของโลกน่าจะหดตัวลงราว 6% Correia et al. (2020) ประมาณการว่าการจ้างงานในกลุ่มอุตสาหกรรมจะลดลง 23% และ การผลิตของภาคอุตสาหกรรมจะลดลงราว 18%

    ส่วนงานวิจัยในกลุ่มที่สองจะเลือกสร้างแบบจำลองเพื่อศึกษาช่องทางการส่งผ่านของผลกระทบจากโรคระบาด โดยเพิ่มรายละเอียดในแบบจำลองให้สอดคล้องกับรูปแบบการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 จากการประมาณค่าแบบจำลองเหล่านี้ Kaplan et al. (2020) เสนอว่าหากรัฐบาลไม่ใช้นโยบายล็อกดาวน์ รายได้ของแรงงานที่ทำงานที่บ้านไม่ได้และทำงานที่ต้องพบปะผู้คน น่าจะลดลงสูงสุดเมื่อเทียบกับแรงงานกลุ่มอื่นที่ประมาณ 27% อย่างไรก็ดี Eichenbaum et al. (2020) ยังมองโลกในแง่ดีว่า ผลกระทบต่อตลาดแรงงานไม่ส่งผลระยะยาว เพราะแรงงานที่ว่างงานพร้อมจะกลับมาทำงานทันทีที่โรคระบาดหยุด

    4. การเสนอนโยบายต่อรัฐบาล

    แม้ว่าการล็อกดาวน์ส่งผลต่อเศรษฐกิจ จากข้อมูลในอดีต Correia et al. (2020) พบว่า เมืองในสหรัฐอเมริกาที่มีมาตรการสาธารณสุขเข้มงวดมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ไวกว่า แสดงว่า “เจ็บแต่จบ” น่าจะดีกว่าการปล่อยให้ยืดเยื้อ ในการปลดล็อก Alvarez et al. (2020) มีมุมมองว่านโยบายควรค่อย ๆ ปลดล็อกประชากรทีละส่วนตามช่วงเวลาที่ผ่านไป ในขณะที่ Acemoglu et al. (2020) และ Oswald and Powdthavee (2020) เสนอนโยบายสอดคล้องกันว่า การปลดล็อกดาวน์ควรเรียงลำดับประชากรตามความเสี่ยง โดย Acemoglu et al. (2020) เสนอให้ปลดล็อกกลุ่มอายุน้อยก่อน ในขณะที่ Oswald and Powdthavee (2020) ระบุเพิ่มเติมว่าควรเป็นกลุ่มอายุน้อยที่ไม่อาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ เพื่อลดความเสี่ยงในการนำเชื้อไวรัสไปติดผู้สูงอายุที่บ้าน

    อย่างไรก็ดี งานวิจัยส่วนมากให้บทสรุปที่ตรงกันว่า การล็อกดาวน์และการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อชะลอการแพร่ระบาดในช่วงแรกเป็นนโยบายที่เหมาะสม และวิธีการเปลี่ยนผ่าน จะเป็นหัวข้อที่ท้าทายว่าจะต้องใช้นโยบายอย่างใดเพื่อลดการแพร่ระบาดในรอบที่ 2

    โดย วิศรุต สุวรรณประเสริฐ Wisarut.Suwanprasert@mtsu.edu Middle Tennessee State University

    Source: ThaiPublica
    https://thaipublica.org/2020/05/pie...zhKqdN-yTa7fx2J0MnD4bARpkPhTf8zA7Ug6LBre8XwFI

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สัมพันธ์'สหรัฐ-จีน' บนเดิมพันเลือกตั้งปธน. : ความสัมพันธ์ของจีนและสหรัฐกลับมาอยู่ในความสนใจของสื่อกระแสหลักอีกครั้ง หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เปรยกับผู้สื่อข่าวของฟ็อกซ์ บิสสิเนส เน็ตเวิร์ค เมื่อเร็วๆ นี้ว่า "ผมไม่อยากคุยกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงในช่วงนี้ เพราะไม่อยากให้ความสัมพันธ์ของเราขาดสะบั้นลง อย่าให้ผมต้องคุยกับ ประธานาธิบดีสีตอนนี้เลย ไม่อย่างนั้น คงได้มีการตัดความสัมพันธ์กันแน่"

    คำพูดของประธานาธิบดีสหรัฐสะท้อนถึงความรู้สึกลึกๆ ที่เต็มไปด้วยความหงุดหงิดใจ โดยเฉพาะในเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจ ที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่(โควิด-19) ซึ่งทรัมป์ปักใจเชื่อว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่หลุดออกมาจากห้องทดลอง แห่งหนึ่งในเมืองอู่ฮั่นของจีน และจีน ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบอย่างเพียงพอในการป้องกัน จนทำให้ไวรัสแพร่ระบาดไปทั่วโลก

    สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเดินหน้านโยบายขายฝันที่ทรัมป์ได้รับปากกับ ชาวอเมริกันไว้ว่า เขาจะทำให้สหรัฐกลับมา ยิ่งใหญ่อีกครั้ง หากเขาได้นั่งเก้าอี้ผู้นำสมัยที่ 2 ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือนพ.ย.ปีนี้

    ล่าสุด วุฒิสภาสหรัฐ ได้ผ่านร่างกฎหมายที่อาจนำไปสู่การควบคุมจำกัดบริษัทจีนที่ต้องการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ โดยเพิ่มข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการตรวจสอบบริษัทเหล่านั้น

    ร่างกฎหมายที่เสนอโดยจอห์น เคนเนดี้ วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกันกำหนดให้บริษัทต่างชาติที่ต้องการจดทะเบียนในตลาดหุ้น ในสหรัฐต้องรับรองให้ได้ว่าไม่ได้ถูกควบคุม หรือบริหารโดยรัฐบาลต่างชาติ และ หากผู้ตรวจสอบของสหรัฐ ไม่สามารถ ตรวจสอบบัญชีของบริษัทเหล่านั้นได้เป็นเวลา สามปีติดต่อกัน บริษัทดังกล่าวจะถูกห้ามซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์

    อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายใหม่นี้ จะมีผลบังคับกับบริษัทต่างชาติทุกแห่ง ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐ แต่ก็ถูกมองว่าพุ่งเป้าไปที่บริษัทจีน และเป็นความพยายามของรัฐสภาอเมริกันที่ต้องการจำกัด การลงทุนของจีนในสหรัฐ

    คนทั่วโลกต่างรู้ดีว่า ความสัมพันธ์ของ สหรัฐและจีนไม่ได้อยู่ในสถานะของมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร โดยเมื่อครั้งที่สี จิ้นผิง เดินทาง เยือนสหรัฐในเดือนเม.ย. ปี 2560 ทรัมป์ เปิดรีสอร์ทมาร์-อะ-ลาโก ในเมืองปาล์มบีช รัฐฟลอริดา เพื่อต้อนรับสี จิ้นผิง อย่างสมเกียรติ แต่สิ่งที่ทุกคนคาดไม่ถึงคือ ในระหว่างการเยือน สหรัฐของสี จิ้นผิงนั้น ทรัมป์ได้แสดงแสนยานุภาพโชว์แขกต่างแดน ด้วยการสั่งยิงขีปนาวุธโทมาฮอว์คกว่า 50 ลูกถล่มใส่ซีเรีย พร้อมข้ออ้างว่า สหรัฐมีข้อมูลชัดเจนว่า ผู้นำซีเรียได้ใช้อาวุธเคมีร้ายแรงโจมตีกลุ่มกบฏ ในจ.อิดลิบ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย ซึ่งส่งผลให้ประชาชนในซีเรียเสียชีวิตจำนวนมาก

    เหตุการณ์ครั้งนั้น ถูกเหล่านักวิจารณ์ทั่วโลกแสดงความไม่พอใจทรัมป์อย่างรุนแรง ขณะผู้เชี่ยวชาญบางคนถึงขนาด ตั้งข้อสังเกตว่า ทรัมป์ สั่งยิงขีปนาวุธถล่มซีเรีย เพื่อต้องการข่มขวัญสี จิ้นผิงทางอ้อม และอาจหวังผลถึงขั้นกดดันให้จีนไม่กล้าต่อกรกับสหรัฐในเรื่องการค้า

    กระทั่งเมื่อไวรัสโคโรนา เริ่มระบาดในช่วงปลายปี 2562 โดยมีต้นตอมาจากเมืองอู่ฮั่นของจีน และกินเวลายืดเยื้อ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับจนถึงขณะนี้ มีผู้ติดเชื้อไปแล้วถึง 5,085,504 รายทั่วโลก และเสียชีวิต 323,188 ราย ขณะที่สหรัฐ มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุดในโลกถึง 1.591.991 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสูงสุดในโลกที่ 94,994 ราย ซึ่งตัวเลขความเสียหายที่เกิดขึ้น กับชีวิตประชาชน และความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 ทำให้คะแนนนิยมของทรัมป์หล่นวูบ และ ยิ่งใกล้ช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ด้วยแล้ว ทรัมป์ยิ่งต้องเร่งหาทางกู้คืน ความนิยมให้กลับคืนมา และหนึ่งในทางเลือก ดังกล่าว คือการหาผู้ที่จะต้องรับผิดชอบ ในเรื่องนี้

    ส่วนจีน มียอดติดเชื้อ 82,967 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 4,634 ราย

    เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและจีน เริ่มส่อเค้าว่าจะปีนเกลียว ชื่อของหัวเว่ย บริษัท เทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน ก็ถูกกล่าวถึงอีกครั้งในช่วงกลางเดือนพ.ค.ที่ผ่านมานี้ เมื่อ"หู สีจิน" บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์โกลบอล ไทมส์ของรัฐบาลจีน ระบุว่า จีนเตรียมตอบโต้บริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐ หากสหรัฐยังคงใช้มาตรการกีดกันหัวเว่ย โดยจีนจะทำการสอบสวนบริษัทสหรัฐ ซึ่งรวมถึงควอลคอมม์, ซิสโก ซิสเต็มส์ และแอ๊ปเปิ้ล

    "เท่าที่ผมรู้ หากสหรัฐยังคงสกัด ไม่ให้หัวเว่ยเข้าซื้อสินค้าด้านเทคโนโลยี ของสหรัฐ จีนก็จะสอบสวนบริษัทควอลคอมม์, ซิสโก และแอ๊ปเปิ้ล" หู กล่าว

    ต่อมาเมื่อวันที่ 15 พ.ค.กระทรวงพาณิชย์สหรัฐประกาศกฎเกณฑ์ใหม่ ที่มีเป้าหมายที่จะสกัดกั้นการส่งมอบ เซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกให้กับบริษัทหัวเว่ย และเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อหัวเว่ยซึ่งถูกขึ้นบัญชีดำอยู่แล้วเนื่องจากเป็นภัยคุกคามต่อ ความมั่นคงของสหรัฐ

    กระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุว่า กฎเกณฑ์ใหม่จะจำกัดขีดความสามารถของหัวเว่ยในการใช้เทคโนโลยี และซอฟต์แวร์ของสหรัฐ เพื่อการออกแบบ และผลิต เซมิคอนดักเตอร์ของหัวเว่ยในต่างประเทศ นอกจากนี้ บริษัทต่างชาติที่ใช้อุปกรณ์ผลิตชิป ของสหรัฐจะต้องขอใบอนุญาตจากสหรัฐ ก่อนที่จะทำการส่งมอบอุปกรณ์ดังกล่าวให้กับหัวเว่ย

    คณะทำงานของทรัมป์มองว่า หัวเว่ย ซึ่งเป็นผู้นำเครือข่ายสื่อสารไร้สาย 5จี เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐ โดยเชื่อว่าอุปกรณ์ของหัวเว่ยอาจถูกใช้เพื่อทำการจารกรรมข้อมูลทางไซเบอร์

    ขณะนี้ทั่วโลกกำลังจับตาว่าจะเกิดสงครามการค้าครั้งที่ 2 หรือไม่ เพราะที่ผ่านมา สงครามการค้าระลอกสองเริ่มส่งสัญญาณให้เห็นบ้างแล้ว หลังจากสหรัฐขู่เก็บภาษีสินค้าจีน ขณะที่จีนประกาศความพร้อมตอบโต้ทันทีหากสหรัฐลงมือ ซึ่งกระแสความวิตกกังวลในเรื่องนี้ ได้ปกคลุมบรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นทั่วโลกในขณะนี้

    "ทรัมป์"รับปากกับชาวอเมริกันไว้ว่าจะทำให้สหรัฐ กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหากได้นั่งเก้าอี้ผู้นำสมัยที่ 2 ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือน พ.ย.ปีนี้

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/881722

    เพิ่มเติม
    - U.S.-China tensions will likely get worse ahead of November election, experts say : https://www.cnbc.com/2020/05/21/us-...e-ahead-of-november-election-experts-say.html

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    May 25, 2020 ชาวแอฟริกาใต้ 8 ล้านคนเตรียมกลับทำงาน หลังรัฐบาลประกาศผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง 8 มิ.ย.63
    .
    รัฐบาลแอฟริกาใต้ ประกาศผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง และเปิดภาคเศรษฐกิจ อนุญาตให้ธุรกิจการค้ากลับมาเปิดทำการได้อีกครั้งมีผลตั้งแต่ 8 มิถุนายนเป็นต้นไป ส่งผลให้ประชาชนกว่า 8 ล้านคนสามารถกลับมาทำงานได้ นอกจากนี้ ในวันที่ 1 มิถุนายน กระทรวงสาธารณสุข แอฟริกาใต้ จะประกาศลดระดับการตื่นตัวภาวะโรคระบาดลง 1 ขั้น ทั้งนี้ ประเทศแอฟริกาใต้ ประกาศมาตรการปิดเมืองตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคมเป็นต้นมา ทั้งนี้ วันที่ 25 พฤษภาคม แอฟริกาใต้มีผู้ติดโรคโควิด-19 สะสมที่ 22,583 ราย อยู่อันดับที่ 31 ของโลก จำนวนผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 429 ราย
    .
    #แอฟริกาใต้ #รัฐบาล #ผ่อนคลาย #มาตรการปิดเมือง #Misterban

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    #ม๊อบฮ่องกงมาตามนัด
    #เปิดม่านความขัดแย้งประเด็นกฏหมายความมั่นคงใหม่ของจีน

    วันนี้ 24 พฤษภาคม ชาวม๊อบฮ่องกงส่งสัญญาณรวมพลนัดประท้วงกันที่ย่านการค้า Causeway Bay นับพัน เพื่อแสดงความไม่พอใจกับร่างกฏหมายความมั่นคงฉบับใหม่ ที่ทางรัฐบาลจีนจะใช้ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงด้วย

    โดยชาวม๊อบได้ส่งข่าวสารผ่านทางโซเชียล เพื่อนัดพบกันตามจุดต่างๆในย่านการค้า ตั้งแต่หน้าหน้า Sogo ที่ Causeway Bay ตั้งแต่ช่วงบ่าย และแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านร่างกฏหมายใหม่ของจีน และปลดปล่อยฮ่องกง

    กลยุทธของชาวม๊อบคราวนี้ ไม่ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มมวลชนขนาดใหญ่แบบหลายครั้งที่ผ่านมา แต่กระจายไปปิดถนนตามจุดต่างๆ เช่น ถนน เฮนเนสซี่ ถนน ยีวู่ และถนน เฟลมมิ่ง โดยมีการเว้นระยะห่างกัน และสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ Covid-19 และใช้กลยุทธ์แฟล๊ชม๊อบ เคลื่อนที่เร็วเหมือนแมวจับหนู

    แต่ทั้งนี้ ก็ผิดกฏมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอยู่ดีที่กำหนดว่าห้ามรวมกลุ่มทำกิจกรรมเกิน 8 คน

    ทางการฮ่องกง ก็เตรียมตำรวจ พร้อมแก๊ซน้ำตา และปืนฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อสลายฝูงชน และมีการปะทะกันในบางจุด จนถึงช่วงเย็นวันนี้ ได้จับกุมชาวม๊อบไปแล้วถึง 120 คน

    ถึงแม้การชุมนุมอาจจะไม่ได้ดูหนาแน่น เพราะมีเรื่อง Covid-19 อีกทั้งร่างกฏหมายฉบับใหม่ของจีนยังไม่มีรายละเอียดออกมา แต่ก็เป็นการเริ่มต้นชุมนุมกันใหม่ครั้งแรก หลังจากหยุดยาวเพราะมาตรการปิดเมือง

    นักวิเคราะห์ก็คาดการณ์ว่า กฏหมายความมั่นคงฉบับใหม่ ไม่น่าจะใช่ข่าวดีของชาวฮ่องกง เพียงแค่มีข่าวเรื่องร่างกฏหมายฉบับใหม่จากทางแผ่นดินใหญ่ หุ้นในตลาดฮ่องกงก็ร่วงทันทีถึง 5.6% และนักลงทุนชาวฮ่องกงมีความหวั่นเกรงว่า อาจส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศถอนทุนออกจากฮ่องกง ไปลงทุนที่อื่น

    รวมถึงความขัดแย้งทางการเมืองในสภาฮ่องกง ความไม่สงบจากการชุมนุม ที่น่าจะมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีกครั้ง อาจส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมของฮ่องกงฟื้นยาก หรืออาจไม่ฟื้นเลยอีกหลายปีก็เป็นได้

    แหล่งข้อมูล
    https://www.theguardian.com/world/2...-impose-hong-kong-security-laws-without-delay

    https://www.scmp.com/news/hong-kong...-opposition-activist-arrested-hundreds-gather

    https://www.straitstimes.com/asia/e...s-on-heels-of-proposed-national-security-laws

    https://edition.cnn.com/2020/05/24/asia/hong-kong-protest-national-security-law-intl-hnk/index.html

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    #แผ่นดินไหวนิวซีแลนด์
    #นายกหญิงสายสตองออกสื่อต่อได้ไม่หวั่นไหว

    ช่วงเช้าของวันนี้ จันทร์ที่ 25 พฤษภาคม ในช่วงเวลา 7.53 น. เกิดแผ่นดินไหวแรงสั่นสะเทือนขนาด 5.8 แมกนิจูด ที่บริเวณด้านตะวันตกของประเทศ ใกล้ๆกับเมืองเวลลิงตัน ที่เป็นเมืองหลวงของประเทศ

    มีชาวนิวซีแลนด์มากกว่า 37,000 คนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนนี้ แม้แผ่นดินไหวรุนแรงจะกินเวลาเพียงช่วงสั้นๆ ไม่ถึง1 นาที แต่ก็มี aftershock ตามมาอีกกว่า 45 ครั้งตลอดช่วงเช้าของวันนี้

    ในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว นายกรัฐมตรีหญิงคนดังของนิวซีแลนด์ จาซินดา อาร์เดิร์น กำลังออกรายการข่าวสดภาคเช้า Newshub พอดี ระหว่างที่กำลังสัมภาษณ์สดผ่าน Video Conference โดยผู้สื่อข่าว ไรอัน บริดจ์ ก็เกิดแผ่นดินไหวขึ้น จนทั้งผู้สื่อข่าว และนายกหญิง รู้สึกได้

    ผู้สื่อข่าวไรอัน ก็ถามด้วยความเป็นห่วงว่า ท่านนายกฯไหวไหม จะออกรายการต่อได้หรือเปล่า ซึ่งนายกฯ สวยสตรองแห่งนิวซีแลนด์ก็ตอบด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า "สบายมากค่ะ ทางนี้หยุดแล้ว เชิญคุณต่อได้เลย"

    ช่วงที่เกิดแผ่นดินไหว กลางรายการสด



    สร้างความฮือฮาให้ชาวนิวซีแลนด์ทีเดียว และพากันชื่นชมในความสตรองของนายกฯหญิงท่านนี้กันอย่างมาก

    เพราะตั้งแต่นายกฯหญิง จาซินด้า อาร์เดิร์น เข้ามารับตำแหน่งไม่กี่ปี เธอผ่านเหตุการณ์มาแล้วหลายอย่าง ตั้งแต่ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด กราดยิง ก่อการร้าย หรือแม้แต่ การระบาดระดับโลกอย่าง Covid-19 เธอก็สามารถรับมือได้เป็นอย่างดี แถมผ่านมาได้อย่างสวยๆด้วย จนต้องมอบฉายา สวยสตรอง ให้เลยจริงๆจ้า

    แหล่งข้อมูล

    https://www.nzherald.co.nz/nz/news/article.cfm?c_id=1&objectid=12334416

    https://www.nzherald.co.nz/nz/news/article.cfm?c_id=1&objectid=12334420

    https://www.newshub.co.nz/home/poli...nment-incompetence-defends-clark-twyford.html

    https://news.sky.com/story/new-zeal...hquake-hits-during-live-tv-interview-11994161

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    #ประสบการณ์สยองของ2ผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินตกในปากีสถาน
    #คนเหนือดวง

    จากอุบัติเหตุสะเทือนขวัญ และเป็นฝันร้ายของผู้โดยสาร เมื่อเครื่องบิน ของสายการบิน Pakistan International Airline เที่ยวบิน PK-8303 บินจากเมืองลาฮอร์ ไปลงที่การาจี เกิดอุบัติเหตุตกที่ย่านชุมชนในเขต Model Colony เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ผู้โดยสาร 91 คน กับลูกเรืออีก 7 คน เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

    และเนื่องจากเครื่องบินมาตกในเขตชุมชนเมือง ที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เลยทำให้ชาวบ้านในชุมชนบาดเจ็บอีกถึง 11 คน

    สภาพเครื่องบินพังยับ ไฟลุกท่วม กว่าจะควบคุมเพลิงได้ ก็เหลือเพียงซากเครื่องบินไหม้ดำ และศพผู้โดยสารที่จำนวนมากยังไม่สามารถพิสูจน์อัตตาลักษณ์ได้

    แต่เป็นเรื่องเหลือเชื่อว่า มีผู้โดยสารรอดตายออกมาได้ 2 คน

    ผู้รอดชีวิตคนแรก คือ นายมูฮัมหมัด ซูแบร์ อายุ 24 หลังจากที่เขาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล และอาการปลอดภัยดีแล้ว ได้เล่าประสบการณ์เฉียดตายของเขาให้ฟังว่า ตัวเขาได้นั่ง 8F ตอนที่เครื่องบินกำลังจะถึงสนามบินนานาชาติจินนาห์ ในการาจี ที่เป็นจุดหมายปลายทาง เขาได้ยินกัปตันประกาศจะเอาเครื่องลงจอด ให้เตรียมรัดเข็มขัด เขาก็ปฏิบัติตาม

    แต่เครื่องไม่ได้ร่อนลงจอด กลับไต่ระดับขึ้นไปใหม่ แล้วกัปตันก็ประกาศว่าจะลงจอดอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่สำเร็จ สักพักเขารู้สึกว่าเครื่องบินกระตุก และสั่นประมาณ 3 ครั้ง ก่อนกระแทกลงอย่างรุนแรง

    ตัวเขาวูบไปช่วงหนึ่ง ตื่นขึ้นมาได้ยินแต่เสียงกรีดร้อง ทั้งเสียงเด็ก เสียงผู้ใหญ่ รอบตัวมีแต่ควันไฟ และมืดไปหมด แต่เขาสังเกตเห็นแสงไฟฉุกเฉินบริเวณทางเดิน จึงรีบปลดเข็มขัดนิรภัย วิ่งตามแสงไฟ แล้วพุ่งตัวออกจากเครื่องบินทางหน้าต่างที่แตก โดยไม่รู้ด้วยว่ามันสูงจากพื้นดินเท่าไหร่ แต่ก็โชคดีว่าทำให้เขารอดมาได้

    ผู้รอดชีวิตคนที่ 2 คือนาย ซาฟาร์ มาซุด เขาเป็นถึง CEO ของธนาคาร Bank of Punjab กำลังเดินทางกลับมาเยี่ยมครอบครัว แม้ว่าตัวเขาจะหมดสติไปตั้งแต่ตอนเครื่องตก แต่นายซาฟาร์ มาซุด อาจเรียกได้ว่าเหนือดวงจริงๆ เพราะบังเอิญที่นั่งของเขากระเด็นหลุดออกมาจากนอกตัวเครื่อง เลยทำให้เขารอดตายอย่างปาฏิหารย์

    ข้อมูลจากหอบังคับการบิน เปิดเผยว่านักบินได้ติดต่อมาว่า เครื่องยนต์ขัดข้อง ต้องการลงจอดด่วน แต่สุดท้ายแล้วไม่สามารถพาเครื่องมาถึงสนามบินได้ จนเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงตามข่าว

    แต่ทั้งนี้ ประสบการณ์บางส่วนของผู้รอดชีวิต ก็ช่วยเตือนใจให้เรารู้ว่า ไม่ควรมองข้ามความปลอดภัย โดยเฉพาะช่วงที่มีการสาธิตวิธีการหลบหนีจากเครื่องบิน ตอนมีภัย เพราะมันอาจช่วยเราในช่วงเสี้ยววินาทีชีวิตก็เป็นได้นะคะ

    แหล่งข้อมูล

    https://www.theguardian.com/world/2...-karachi-plane-crash-tell-of-unlikely-escapes

    https://m.hindustantimes.com/world-...er-survivor/story-oKF1YVCQShEy1UMOgrDaLL.html

    https://en.m.wikipedia.org/wiki/Pakistan_International_Airlines_Flight_8303

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    #เที่ยวญี่ปุ่น แจแปนแอลป์ ทาเทยามะ คุโรเบะ อัลไพน์ รูท ในวันที่ไร้ผู้คน

    ถ่ายโดยใช้โดรน (ดูวีดีโอในลิงค์ด้านล่าง)

    ภาพแรก: ยูคิโนะโอทานิ
    - กำแพงหิมะสูงสุด 13 เมตร
    - นักข่าวเขียนว่า ไม่มีผู้คน เงียบจนได้ยินเสียงนกร้องและเสียงน้ำของน้ำแข็งที่ละลาย

    เส้นทางนี้จะเปิดให้เข้าไปได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.
    จำกัดคนเข้าและให้มองจากในรถบัสอย่างเดียว

    อ่านข่าวจากนสพ. ญี่ปุ่นสำนักหนึ่งบอกว่า เดือนหน้าวีซ่ายังไม่น่าปล่อยค่ะ น่าจะเดือนกรกฎาคมไป โดยน่าจะเริ่มจากนักวิจัย/นักธุรกิจก่อน (แต่ข่าวทางการยังไม่ออกนะคะ)

    ดูภาพวีดีโอได้ที่นี่ >>
    https://lin.ee/VJLcKM4m?utm_source=line&utm_medium=share&utm_campaign=none

    #กิ๊ฟจังนั่งเล่า #ข่าวญี่ปุ่น #ท่องเที่ยว

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เรื่องวัดที่หายไปกับโครงการหม้อไฟอาเซียน
    .
    วัดบ้านลาดท่าแร่ เมืองปากอู แขวงหลวงพระบาง จมอยู่ใต้น้ำ หลังจากสร้างเขื่อนไฟฟ้าน้ำอู 1 เสร็จ

    หนึ่งในผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโคงการเขื่อนในลาว



     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ตื่นเต้น
    .
    ทีมนักโบราณคดี สำนักงานศิลปากรที่ 1 ราชบุรี สำรวจพบถ้ำภาพเขียนสีแห่งใหม่ คาดอายุ 2,000-3,000 ปีที่ถ้ำดิน บ้านพุน้อย ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ส่วนใหญ่เป็นภาพคน กำลังล่าสัตว์ มีภาพเขียนเลียงผาค่อนข้างชัดเจน #ThaiPBSnews
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สหรัฐขู่ออสเตรเลีย “อาจยุติแบ่งปันข่าวกรอง” หลังรัฐวิกตอเรียลงนามความร่วมมือกับจีน
    .
    ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เตือนว่า วอชิงตันอาจตัดสิทธิ์จากการแบ่งปันข่าวกรองที่สำคัญกับออสเตรเลีย หากรัฐวิกตอเรียของออสเตรเลียเข้าร่วมโครงการ “หนึ่งเข็มขัดเศรษฐกิจ หนึ่งเส้นทาง” ของจีน ซึ่งส่งผลต่อการสื่อสารโทรคมนาคม

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เมื่อครั้ง จอร์จ ดับเบิลยู. บุช หาเสียงสมัยที่ 2 นั้น หนึ่งในแคมเปญของเขาคือ
    "หากไม่เลือกเขาแล้ว ใครจะรับมือพวกจากอีรัก(ที่อเมริกาไปบุก)ได้"
    มาวันนี้ยุคทรัมป์.......

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    อิตาลีกับแท็กข้อมืออิเล็กทรอนิกส์ในการชมหอศิลป์
    .
    อิตาลีใช้“แท็กข้อมืออิเล็กทรอนิกส์” #Fidelitas เพื่อนักท่องเที่ยวและผู้ที่จะเข้าชมหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์ต่างๆใช้ โดย Tag ข้อมือนี้จะเตือนเมื่อเกิดการเข้าใกล้เกินระยะปลอดภัยด้วยแสงและการสั่นเพื่อให้ไม่กวนการรับชมงานศิลป์
    โดยแท็กข้อมือนี้ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการระบาดของโควิด19 ในการเปิดเพื่อให้คนเข้าชมหอศิลป์ได้อีกครั้ง
    อย่างไรก็ดีแท็กนี้ต้องใช้ร่วมกับหน้ากากอนามัย

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    หรือเยอรมันจะเหมือนเกาหลี?
    .
    พบผู้ติดเชื้อโควิด19จำนวนกว่า 100 คน ที่เกี่ยวโยงกับโบสถ์แห่งหนึ่งใน แฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี
    เรื่องนี้กำลังถูกจับตามองในเยอรมันว่าจะเป็นแบบเกาหลีหรือไม่ที่เพียงคุณป้าหนึ่งคนจากโบสถ์ทำให้เกิดคนป่วยต่อเนื่องกันเป็นพันคน
    ยังไม่มีการเปิดเผยชื่อโบสถ์และกำลังมีการตรวจสอบเรื่องนี้ และได้ตรวจผู้เกี่ยวข้องกับโบสถ์

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    อี-คอมเมิร์ซ ปี 63 แตะ 2.2 แสนล้าน โควิด-19 ดันสินค้าสุขภาพโต
    .
    คาดการณ์ปี 2563 มูลค่า อี-คอมเมิร์ซ ไทยโตแตะ 2.2 แสนล้าน วิกฤติโควิด-19 ดันยอดซื้อสินค้าสุขภาพ และความงามพุ่ง จากคนแห่ซื้อหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ สวนทางสินค้าแฟชั่น รถ และอุปกรณ์มือถือยอดซื้อวูบ

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ทำไมของที่เยอรมันถึงลดราคาได้แบบถล่มทลาย?

    โควิดเริ่มซา ร้านค้าเริ่มเปิด บทความนี้จึงต้องมา!!

    เคยมั้ยครับเวลาที่เรามาเดินซื้อของเยอรมันในช่วงหมดฤดูกาล หรือในช่วงจัดงานโปรโมชั่น แล้วป้ายราคาของสินค้าจะดึงดูดเราเป็นพิเศษ เรียกได้ว่าสินค้าบางอย่างแต่เดิมก็ราคาไม่ได้สูงมาก แต่เงินในกระเป๋ามันต้องกระเด็นออกไปด้วยคำว่า 50-80% !!!!!!

    เสียหายกันมาเท่าไหร่แล้วกับคำว่าลดราคาในเยอรมัน? สำหรับพ่อบ้านนี่เรียกได้ว่าเจ็บบ่อยๆ เพราะต้องกลายเป็นคนเดินลากตระกร้าและหิ้วของ(ฮ่าๆ)

    เลยทำให้พ่อบ้านรู้สึกสงสัยว่า เอ๊ะ!!! พี่แกเล่นลดราคาแบบนี้มันจะไม่เจ๊งเหรอ? แล้วเค้าบริหารยังไง? น่าสนใจมั้ยหล่ะ? พ่อบ้านก็เลยไปสอบถามเพื่อนคนนึงที่ทำงานอยู่ในธุรกิจค้าปลีกชื่อดังของเยอรมันแล้วได้ความว่า

    “ใช่”เราลดจริง และหลายครั้งเราลดจนเราขาดทุนด้วย!!! แล้วเราไม่เคยขึ้นราคาสินค้าไปก่อนแล้วทำราคาลดลงมาให้ดูเหมือนลดเยอะๆ แต่เราลดจากราคาขายปลีกจริงๆ

    "เพราะด้วยสาเหตุ 3 สาเหตุหลักๆ"

    1. ต้นทุนการเก็บสินค้า

    ใช่แล้วต้นทุนในการเก็บสินค้าของเยอรมันนั้นถือว่าสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนของคน ต้นทุนด้านการดูแลสินค้า ต้นทุนในการเช่าพื้นที่ จึงทำให้การเก็บสินค้าข้ามฤดูกาลเช่นเสื้อหนาวขายไม่หมดแล้วเก็บไว้ขายอีกปีนี่เรียกได้เลยว่า ไม่คุ้ม!!! และไม่ใช่แค่ในการเก็บสินค้าเท่านั้นถ้าเรามามองถึงระบบ Logistic ของเยอรมันนั้น จะรูปแบบรับสินค้าปุ๊บแล้วออกไปเลย เรียกได้ว่าลดการ Stock สินค้าให้น้อยที่สุดเพราะค่าแรงของคน ค่าดำเนินการ ค่าที่ดินในการเก็บสินค้าของประเทศนี้มันแพง ดังนั้นการนำสินค้าออกไปขายซึ่งหลายครั้งต่ำกว่าต้นทุนกลับกลายเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการนำสินค้าที่ยังขายไม่ออก มาเก็บเพราะถ้าอีกปีคุณยังขายไม่ได้นอกจากสินค้าจะเสื่อมคุณภาพแล้ว มันจะไม่คุ้มทุน!!!!!

    2. ค่าทิ้งขยะ

    ใช่แล้วสำหรับประเทศนี้การจำกัดสินค้าในปริมาณมาก ไม่ใช่แค่บริษัท แค่ประชาชนโดยทั่วไปนี่แหล่ะถ้าคุณต้องการทิ้งขยะในปริมาณมากๆ แล้วนอกจากรอบการทิ้งประจำปี คุณจะต้องเสียค่าทิ้งขยะในราคาที่สูงมาก จนกลายเป็นต้นทุนอีกหนึ่งตัวที่ผู้ประกอบการต้องนำมาคิดเป็นต้นทุนในการดำเนินการ ดังนั้นนอกจากต้นทุนสินค้าที่แพงแล้ว ถ้าคุณคิดจะทิ้งก็ต้องจ่ายเงินอีกต่างหาก!!!

    "เข้าตำราเก็บไว้ก็ไม่ได้ จะทิ้งก็แพง โละไปเลยดีกว่า"

    3. สินค้าออกใหม่บ่อย

    ใช่แล้วเยอรมนีเป็นประเทศที่เรียกได้ว่ามีสินค้าออกใหม่ค่อนข้างบ่อย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ IT เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เสื้อผ้า รองเท้า บางครั้งสินค้ารุ่นปัจจุบันเพิ่งวางขายอยู่สินค้ารุ่นใหม่ก็กำลังเดินทางมาแล้ว จนเรียกได้ว่าเป็นประเทศเป้าหมายแรกๆ ในการทำกำไรจากสินค้ายี่ห้อต่างๆจากทั่วโลก เป็นที่รู้กันว่าเมื่อสินค้ารุ่นใหม่มา สินค้ารุ่นเก่าก็ต้องจัดโปรโมชั่นไปตามระเบียบนะจ๊ะ!!!

    ดังนั้นรูปแบบในการบริหารสินค้าของเยอรมันนั้นจะไม่ค่อยนิยมสั่งสินค้ามาขายแบบเผื่อในปริมาณมากๆ หากแต่จะใช้การวิเคราะห์ปริมาณของการขายที่เป็นระบบ เพื่อลดต้นทุนในการบริหารจัดการให้มากที่สุด และได้มีการตั้งระยะเวลาไปแล้วเรียบร้อยว่าก่อนจะหมดเทศกาลราคาสินค้าจะค่อยๆ ลดลงแบบมีนัยสำคัญตามระยะเวลาตั้งแต่ 30% 50% 60% จนบางครั้งไปถึง 80%!!!! จนเรียกได้ว่าสินค้าบางอย่างต่ำกว่าทุนที่รับมาอีกด้วยซ้ำ!!!

    ซึ่งพ่อบ้านคิดว่าเป็นวิธีคิดแบบนึงที่เป็นประโยชน์มากเลยนะครับกับการที่คำนึงถึงคลังสินค้า และการทิ้งขยะซึ่งทำให้เห็นถึงศักยภาพในการบริหารต้นทุนของธุรกิจในเยอรมัน จึงทำให้พ่อบ้านไม่แปลกใจเลยว่าถ้าเราเทียบราคาสินค้ากับค่าแรงของที่นี่แล้วเรียกได้ว่าค่อนข้างสมเหตุสมผล อื้มน่าสนใจ!!!!

    แล้วคุณคิดว่าประเด็นอื่นอีกมั้ยครับ?
    ลองมาคุยกันนะครับ?

    #พ่อบ้านเยอรมัน #เยอรมัน #เยอรมนี #Germany #German
    #Warehouse #Promotion #Angebot #retail

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Bank of Thailand Scholarship Students

    PSX_20200525_175126.jpg

    (May 25) “วิรไท” เตือนวิกฤตหลังโควิด โจทย์ใหญ่โยก “คน-ทุน” สร้างศก.ใหม่: “ผู้ว่าแบงก์ชาติ” ส่งสัญญาณเตือนเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ห่วงปัญหา “หนี้ครัวเรือน-หนี้ธุรกิจ” เกินกำลังดันหนี้เสียพุ่งมหาศาล เร่งประสานแบงก์พาณิชย์ลุยปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมหาแนวร่วมจัดระเบียบธุรกิจใหม่ เผยโจทย์ใหญ่ประเทศต้องปรับองคาพยพ “แรงงาน-เงินทุน” สร้างธุรกิจเซ็กเตอร์ใหม่ที่เป็นอนาคตของประเทศ รับมือโลกหลังโควิด “คนตกงาน-กิจการปิดตัว” เพิ่มขึ้น ยอมรับแบงก์ชาติต้องทำเมนูเครื่องมือใหม่ ๆ มาดูแลปัญหาแบบ “นอกกรอบ” เผยเทรนด์ดอกเบี้ยต่ำติดดินไปอีกนาน ส่งผล “เศรษฐกิจจริง” กับ “ตลาดเงิน” แยกตัวกัน ตลาดเสี่ยงเจอความผันผวนรุนแรงมากขึ้น

    วิกฤตนี้อีกนาน

    นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ประชาชาติธุรกิจ” หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เพิ่งจะมีมติลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ลงมาอยู่ที่ 0.50% ว่า วิกฤตครั้งนี้ไม่ใช่วิกฤตเศรษฐกิจ แต่เป็นวิกฤตที่เกิดจากด้านสาธารณสุข และมีผลกว้างไกลมากไปทั้งโลก และถึงแม้จะควบคุมสถานการณ์โควิดในประเทศได้ดี แต่ประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจแบบเปิด ค้าขายทั่วโลก พึ่งพาสัดส่วนการท่องเที่ยวที่สูงมาก ขณะที่สถานการณ์การระบาดทั่วโลกยังมีแนวโน้มที่ควบคุมไม่ได้ กนง.จึงมองว่าจะมีผลกระทบกลับมาที่ระบบเศรษฐกิจไทยที่จะต้องใช้เวลาอีกสักระยะ

    สำหรับเรื่อง “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” เป็นตัวเสริมลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ทั้งภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจทั้งเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งลดต้นทุนให้กับรัฐบาล ซึ่งไม่เคยกู้เงินได้ถูกได้เท่านี้ในประวัติศาสตร์ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 2 ปี 0.6%

    “สถานการณ์วิกฤตแบบนี้พระเอกคือนโยบายการคลัง เพราะคนขาดรายได้ วิธีการคือจะต้องเข้าไปเยียวยาทางด้านเพิ่มรายได้ ซึ่งรัฐบาลก็ค่อนข้างมูฟเร็ว ซึ่งมีหลายมาตรการ และเป็นขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ สอดคล้องกับปัญหาที่เผชิญ ซึ่งมาตรการทางคลังสามารถทำเฉพาะกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น การเยียวยาแก้ปัญหาการเงิน แก้ปัญหาดูแลคนตกงาน ส่วนตัวอยากเห็นการใช้งบประมาณในการจ้างงานระดับ “ล้านตำแหน่ง” เพราะวิกฤตครั้งนี้มีคนตกงานจำนวนมาก โดยเฉพาะการจ้างงานตามภูมิสังคมต่างจังหวัด เช่น การจ้างอาสามัครดูแลผู้สูงอายุประจำหมู่บ้านทั่วประเทศ ซึ่งมี 7 หมื่นหมู่บ้าน อย่างน้อยก็ 7 หมื่นตำแหน่ง หรือจ้างงานเด็กจบใหม่มาทำเรื่องระบบบัญชี ระบบการเงินของกองทุนหมู่บ้าน แม้แต่เรื่องทำฐานข้อมูลเกษตร และฐานข้อมูลระดับท้องถิ่น ซึ่งประเทศไทยยังขาดมาก”

    ธุรกิจช็อก “ขาดสภาพคล่อง”

    ขณะที่มาตรการทางด้านการเงินและสถาบันการเงิน (financial policy) ก็เป็นมาตรการสำคัญ เช่น เรื่องการพักชำระหนี้ เลื่อนการชำระหนี้ เพราะวิกฤตแบบนี้ทำให้รายได้หายไปเลย การเลื่อนชำระหนี้และส่งเสริมให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้เป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่ง ธปท.แก้เกณฑ์เยอะมาก เพื่อที่จะทำให้ธนาคารสามารถเข้าไปปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้เร็วขึ้น ซึ่งถ้าเป็นสถานการณ์ปกติทำไม่ได้และไม่ควรทำ

    “ครั้งนี้เป็นวิกฤตนอกกรอบจริง ๆ เพราะปกติคงไม่มีธนาคารกลางประเทศไหนออกมาบอกให้ประชาชนไม่ต้องชำระหนี้ ให้ยืดการชำระหนี้ แต่เพราะวิกฤตครั้งนี้ทำให้เกิดขาดสภาพคล่องทันที”

    ตัวเลขล่าสุดประชาชนที่ได้รับการพักและเลื่อนการชำระหนี้อยู่ที่ 6.1 ล้านล้านบาท หรือ 13.8 ล้านคน แต่ถ้าคนที่ยังมีความสามารถในการจ่ายก็ต้องจ่ายแบบเดิม ไม่ควรจะมีวัฒนธรรมจงใจผิดนัดชำระหนี้ (moral hazard) เพราะแบงก์มีรายจ่ายที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากเงิน แต่คนที่จ่ายไม่ได้ แบงก์ก็ต้องเร่งปรับโครงสร้างหนี้ผู้ว่าการ ธปท.อธิบายว่า ภาพใหญ่ของมาตรการเวลานี้คือการแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่อง ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ Mutual Fund Liquidity Facility (MFLF) เสริมสภาพคล่องให้กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือกองทุน BSF สร้างเสถียรภาพตลาดหุ้นกู้ และซอฟต์โลนเพื่อเติมสภาพคล่องให้ธุรกิจ

    บี้แบงก์เร่งปล่อยซอฟต์โลน

    สำหรับซอฟต์โลน ธปท. 5 แสนล้านบาท เป้าหมายคือช่วยคนที่ขาดสภาพคล่อง และจำเป็นต้องได้สภาพคล่องเพิ่มเมื่อสภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว ซึ่งผ่านไป 1 เดือนอนุมัติไป 5 หมื่นล้านบาท ก็ถือว่าการทำงานของแบงก์พาณิชย์ช้าเกินไป เพราะธุรกิจกำลังมีปัญหาต้องการสภาพคล่อง ตอนนี้ต้องส่งสัญญาณให้แบงก์เร่งปล่อยซอฟต์โลน เพราะลูกหนี้เอสเอ็มอีส่วนใหญ่จะมีหลักประกัน

    อยู่แล้ว ดังนั้นการปล่อยเพิ่มควรจะต้องทำ ตอนนี้ก็ขอให้ทุกแบงก์ทำ product program formula เป็นสูตรที่ชัดเจน ให้มีกระบวนการอนุมัติโดยเร็ว รวมทั้งให้มีการสื่อสารไปยังพนักงานสาขาทั่วประเทศที่ชัดเจน เพราะเราได้รับเรื่องร้องเรียนเยอะมาก เช่น ไปขอซอฟต์โลนที่สาขา เจ้าหน้าที่บอกว่าหมดแล้ว

    “ไม่ได้บอกว่าจะต้องปล่อยให้หมด 5 แสนล้านใน 1 เดือน แต่ตอนนี้ช้าไป ผมไม่แฮปปี้ ซึ่งบางแบงก์ที่มีสภาพคล่องของตัวเองอยู่มาก ก็ให้ลูกหนี้ไปใช้สภาพคล่องของตัวเอง แต่ลูกหนี้ต้องจ่าย 4% มันไม่ถูกต้อง เพราะซอฟต์โลนแบงก์ชาติดอกเบี้ย 2% ซึ่งเราอยากช่วยลูกหนี้ อย่างไรก็ตามในสภาวะแบบนี้ ความยากคือจะต้องบาลานซ์ 3 อย่างคือ

    1.ช่วยลูกหนี้ให้ได้สภาพคล่อง เพื่อก้าวข้ามความยากลำบากโดยเฉพาะลูกหนี้ที่มีศักยภาพ

    2.ต้องไม่ทำให้สถาบันการเงินมีปัญหาในระยะยาว เพราะถ้าสถาบันการเงินมีปัญหาจะเกิดปัญหาวิกฤตในสถาบันการเงิน ทำให้ยิ่งมาซ้ำเติม การฟื้นตัวจะยิ่งยาก

    และ 3.ต้องดูภาระการคลังรัฐบาล เพราะรัฐบาลมาช่วยค้ำประกันสินเชื่อชดเชยความเสียหาย ถ้าเป็นหนี้เสียขึ้นมา จึงเป็นความยากของทุก ๆ ประเทศ เป็นความยากของกระทรวงการคลัง ความยากของแบงก์ชาติ เป็นความยากของผู้ทำนโยบายในภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง

    “วันนี้เราได้อานิสงส์มากจากการที่เราทำให้สถาบันการเงินไทยเข้มแข็ง ต้องชื่นชมผู้บริหารแบงก์ชาติรุ่นก่อน ๆ ที่ยึดหลักเกณฑ์ กฎกติกาเข้มแข็ง ให้แบงก์ตั้งสำรองเยอะ ให้แบงก์มีกองเงินทุนเยอะ ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีสถานการณ์โควิด ทำให้วันนี้แบงก์สามารถมาช่วยเลื่อนการชำระหนี้ได้ ถ้าแบงก์ไม่เข้มแข็งทำไม่ได้”

    จัดระเบียบธุรกิจ ปท.ใหม่

    อย่างไรก็ตามเพราะความไม่แน่นอนสูงว่าโควิดจะไปยังไงต่อ ก็ต้องยอมรับว่า เป็นความยากในบางอุตสาหกรรม เช่น โรงแรม คงต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าจะมีนักท่องเที่ยวกลับมาปีละ 40 ล้านคน เพราะการเดินทางข้ามประเทศไม่เหมือนเดิม ขณะที่คาพาซิตี้ธุรกิจโรงแรมล้นเกิน แบงก์จึงต้องมีนโยบายชัดเจนว่าโรงแรมลักษณะไหนที่มีโอกาสทางธุรกิจ แบงก์รับความเสี่ยงได้ และควรจะให้สินเชื่อเพิ่ม โรงแรมบางประเภทอาจจะต้องไปสู่การปรับโครงสร้างหนี้มากกว่าให้สินเชื่อเพิ่ม เพราะบางอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนโดยสิ้นเชิง

    “โลกหลังโควิดจะไม่เหมือนเดิม เรื่องการปรับตัวให้ทันกับโลกหลังโควิดเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะโยงกับ credit risk การสร้างความมั่นใจให้สถาบันการเงินที่จะปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติม”

    โจทย์ใหญ่ ปท.หลังโควิด-19

    นายวิรไทกล่าวว่า โจทย์ใหญ่ของประเทศไทยขณะนี้ คือทำให้เกิดกระบวนการโลกข้างหน้า หลังโควิดโครงสร้างเศรษฐกิจควรจะให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมไหน หรือภาคเศรษฐกิจไหน และส่งเสริมให้มีการปรับตัวโดยเร็ว รวมทั้งการย้ายทรัพยากรทั้ง “แรงงาน-เงินทุน” จากเซ็กเตอร์หลักในช่วงก่อนโควิด ไปสู่เซ็กเตอร์ใหม่ที่สอดคล้องกับโลกหลังโควิด และที่สำคัญคือกฎเกณฑ์ กติกาของภาครัฐจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายทรัพยากร อย่างเช่นปัจจุบันการขอใบอนุญาตตั้งมหาวิทยาลัยยังมีเกณฑ์ว่า จะต้องมีขนาดพื้นที่เท่าไร ขณะที่ระบบการศึกษาไปสู่โลกดิจิทัลแล้ว ขนาดของพื้นที่จะสำคัญอย่างไร

    “ต้องบอกว่า สาธารณสุขของเราค่อนข้างดี สามารถคอนโทรลโควิด ขณะที่มาตรการเยียวยาของรัฐบาล ของภาคการเงินที่เร่งทำก็ช่วยบรรเทาไปได้ระดับหนึ่ง ช่วงที่ผ่านมาเราช่วยกันดับไฟ แต่โจทย์ใหญ่ข้างหน้า คือจะต้องมาช่วยกันคิดว่าโลกหลังโควิดจะต้องให้น้ำหนักกับเรื่องอะไร และจะช่วยปรับองคาพยพโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจให้ทันกับโลกหลังโควิดอย่างไร ซึ่งเป็น agenda ใหญ่ในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า”

    ขณะที่ในภาคการเงินก็ต้องมาคิดเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ ทรัพยากรต่าง ๆ ที่ลงทุนไป การฟื้นฟูกิจการ กระบวนการต่าง ๆ จะเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้สามารถย้ายทรัพยากรไปสู่เซ็กเตอร์ที่สอดคล้องกับโลกหลังโควิด

    ดอกเบี้ยต่ำติดดินไปอีกนาน

    ขณะที่ภาพของโลกการเงินหลังโควิด-19 นายวิรไทกล่าวว่า ภาพใหญ่ของระบบการเงินโลก อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับที่ต่ำต่อเนื่องไปนาน ก่อนหน้านี้คาดหวังว่าดอกเบี้ยค่อย ๆ ปรับขึ้นสู่ระดับปกติมากขึ้น แต่ตอนนี้นโยบายทุกประเทศที่จะช่วยให้ก้าวผ่านไปได้คือ “การอัดฉีดสภาพคล่อง” ทำให้อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำไปอีกนาน

    “ผลจากที่ดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน และสภาพคล่องในระบบมีจำนวนมากสิ่งที่จะเผชิญมากขึ้นคือความผันผวนของตลาดการเงินจะสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะเวลาที่สภาพคล่องทางการเงินเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณธุรกรรมภาคเศรษฐกิจจริงน้อยลง สภาพคล่องจะเคลื่อนย้ายได้เร็วและแรง เช่น เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนจะเห็นได้ชัดว่า ธุรกรรมจริงการส่งออกลด การนำเข้าลด เศรษฐกิจจริงลด การท่องเที่ยวลด นี่คือธุรกรรมเกี่ยวข้องเงินตราที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจจริง แต่ขณะเดียวกันปริมาณเงินในโลกมันเยอะ และเคลื่อนย้ายเร็วมากขึ้น จึงทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีโอกาสที่จะผันผวนได้สูงในโลกข้างหน้า”

    รวมทั้งตลาดเงินตลาดทุน ทำไมดาวโจนส์ยังอยู่ 24,000 จุด ทั้งที่เศรษฐกิจสหรัฐจะติดลบมหาศาล เพราะเกิดการแบ่งแยกระหว่างภาคเศรษฐกิจจริงและตลาดการเงิน ซึ่งคาดหวังว่าจะมีการเคลื่อนไหวความผันผวนที่รุนแรง ขึ้น ๆ ลง ๆ ได้แรง

    “ตลาดเงินตลาดทุนหลังโควิดจะยิ่งมีความผันผวนมากขึ้น ซึ่ง ธปท.ก็ต้องดูแลมากขึ้น และต้องมีมาตรการที่มาดูแลแบบนอกกรอบด้วย จะต้องมีเมนูลิสต์เครื่องมือดูแลที่เยอะขึ้น”

    รับมือ “หนี้เสีย” พุ่งหลังโควิด

    ผู้ว่าการแบงก์ชาติกล่าวว่า โจทย์ที่สำคัญอีกอย่างคือ “หนี้” จะเพิ่มมากขึ้น จากเดิมก่อนโควิดก็มีเยอะอยู่แล้ว หนี้ทั้งโลกจะสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีโลก หนี้ครัวเรือน หนี้ภาคธุรกิจ หลังโควิดหนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้นทุกประเทศอย่างมาก เพราะเป็นกลไกเดียวที่จะกระตุ้นทางด้านศรษฐกิจ หนี้เอกชนอาจจะไม่เพิ่มขึ้นเร็ว แต่จะมีหนี้เสียจำนวนมาก

    “วันนี้ประเทศไทยในภาพแมคโครดีกว่าหลายประเทศมาก เพราะเรามีภูมิคุ้มกันภาพใหญ่ค่อนข้างดี หนี้สาธารณะก่อนโควิดอยู่ที่ 43-44% ต่อจีดีพี ถือว่าดีมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศในตลาดเกิดใหม่ ทำให้มีโอกาสที่จะทำนโยบายการคลังได้อีกเยอะ และหนี้ต่างประเทศต่ำมาก โดยหนี้ของรัฐบาลประมาณ 97-98% เป็นหนี้รูปเงินบาท ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง แบงก์มีความเข้มแข็ง อันนี้เป็นกันชนและภูมิคุ้มกันระดับแมคโครของประเทศ”

    แม้ว่าหลังโควิดหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ ไม่คิดว่าอยู่ในระดับที่น่ากังวล สถาบันการเงินได้รับผลกระทบจากเอ็นพีแอลมากินส่วนทุนมากขึ้น แต่อยู่ในวิสัยที่รับได้ ถ้าบริหารจัดการเรื่องโควิดได้ดี และเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยเร็ว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือหนี้ของประชาชน หนี้ครัวเรือน หนี้ภาคธุรกิจ ซึ่งก็วนกลับมาเรื่องของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังนั้นนโยบายของ ธปท.ในเฟสถัดไป

    เมื่อก้าวผ่านเรื่องการจัดการสภาพคล่องเฉพาะหน้าแล้ว จะต้องเน้นเรื่องความร่วมมืกับสถาบันการเงินในเรื่องของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เร็ว แบงก์ต้องเข้าไปช่วยรายย่อยและเอสเอ็มอีมากขึ้น เช่น กรณีรายย่อยบ้านผ่อน 20 ปี ยืดออกไปเป็น 25 ปีได้ก็ลดภาระได้ หนี้บัตรเครดิตก็แปลงเป็นหนี้ระยะยาว ผ่อนต่อเดือนน้อยลง

    พวกนี้อยู่ในวิสัยที่ทำเป็นโปรดักต์โปรแกรม ดังนั้นในเมสเซจของ ธปท. ทุกอันที่ออกมาตรการเรื่องการพักชำระหนี้ เลื่อนการชำระหนี้ เน้นย้ำและคาดหวังว่าธนาคารต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ไม่ใช่ว่าผ่านไป 3 เดือนและกลับมาคิดเงื่อนไขแบบเดิม ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จาก มี.ค. 2563 ธปท.คาดว่าปีนี้จีดีพีจะ -5.3% แต่แนวโน้มเศรษฐกิจหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่ง ธปท.จะรีวิวอีกครั้ง มิ.ย. ขึ้นกับว่าจะมีมาตรการอะไรออกมาอีกหรือเปล่า

    Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    https://www.prachachat.net/finance/news-468494
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ โพสต์ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง โดยการศึกษาครั้งนี้ได้นำหนูแฮมสเตอร์มาเป็นสัตว์ทดลอง ในเรื่องประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัย สามารถช่วยลดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จริง ซึ่งคนไทยมากถึงร้อยละ 95 ให้ความร่วมมือสวมหน้ากากอนามัย

    อ่านต่อ >https://news1live.com/detail/9630000054304
    ............................................

    เมื่อวันที่ 23 พ.ค. เพจ “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC” หรือ นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ เป็นหัวหน้าห้องไอซียู เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงโดยศาสตราจารย์ Yuen Kwok-yung เรื่องประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัย surgical mask ในการลดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยระบุว่า “มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หน้ากากอนามัยสามารถป้องกันและลดการแพร่ระบาดโรคไวรัสโควิด-19 ได้ มีรายงานจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงโดยศาสตราจารย์ Yuen Kwok-yung เรื่องประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัย surgical mask ในการลดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (งานวิจัยนี้รอการตีพิมพ์)

    การศึกษานี้ทำในหนูแฮมสเตอร์ (hamster) เนื่องจากหนูแฮมสเตอร์มีตัวรับเชื้อไวรัสโควิด-19 เหมือนคน โดยนักวิทยาศาสตร์เลี้ยงหนูแฮมสเตอร์ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไว้ในกรงหนึ่ง แยกออกจากหนูแฮมสเตอร์ที่ไม่ติดเชื้อ เลี้ยงไว้ในอีกกรงหนึ่ง ในรายงานไม่ได้บอกถึงระยะห่างระหว่าง 2 กรง การทดลองใช้พัดลมบังคับทิศทางลมให้หนูติดเชื้อเลี้ยงในกรงอยู่ต้นลม หนูไม่ติดเชื้อเลี้ยงในกรงอยู่ท้ายลม โดยทำการศึกษาดังนี้

    1. ไม่มีอะไรกั้นลมพัดจากกรงเลี้ยงหนูที่ติดเชื้อ ไปยังกรงเลี้ยงหนูที่ไม่ติดเชื้อ เหมือนกับกรณีที่คนป่วยและคนทั่วไปอยู่ใกล้กัน ต่างไม่ใส่หน้ากากอนามัย
    2. ปล่อยลมพัดผ่านกรงหนูที่ป่วย แล้วติดตั้งหน้ากากอนามัยก่อนที่ลมจะถึงกรงหนูที่ไม่ป่วย เหมือนกับกรณีที่คนป่วยไม่ใส่หน้ากากอนามัย อยู่ใกล้กับคนทั่วไปที่ใส่หน้ากาก
    3. ติดตั้งหน้ากากอนามัยกั้นลมที่พัดผ่านกรงหนูที่ป่วยทันที ก่อนลมจะไปถึงกรงหนูที่ไม่ป่วย เหมือนกับกรณีที่คนป่วยใส่หน้ากากอนามัยอยู่ใกล้กับคนทั่วไปที่ไม่ใส่หน้ากาก

    ผลการศึกษาหลังจาก 1 สัปดาห์พบว่า
    ในกรณีที่ 1 หนูแฮมสเตอร์ ในกรงที่ก่อนหน้านี้ไม่ป่วย ติดเชื้อไวรัสโควิด 10 ใน 15 ตัว (66%)
    ในกรณีที่ 2 หนูแฮมสเตอร์ ในกรงที่ก่อนหน้านี้ไม่ป่วย ติดเชื้อไวรัสโควิด 4 ใน 12 ตัว (33%)
    ในกรณีที่ 3 หนูแฮมสเตอร์ ในกรงที่ก่อนหน้านี้ไม่ป่วย ติดเชื้อไวรัสโควิด 2 ใน 12 ตัว (16.7%)
    ข้อมูลนี้หมายความว่า ถ้าทั้งคนป่วยอยู่ใกล้กับคนทั่วไป ต่างไม่ใส่หน้ากากอนามัย โอกาสติดเชื้อคนทั่วไปสูงถึงร้อยละ 66

    หากคนป่วยไม่ใส่หน้ากากอยู่ใกล้กับคนทั่วไปที่ใส่หน้ากาก ลดการติดเชื้อคนทั่วไปได้ร้อยละ 50
    ถ้าคนป่วยใส่หน้ากากอนามัย จะลดการติดเชื้อคนทั่วไปที่อยู่ใกล้และไม่ใส่หน้ากากได้ถึงร้อยละ 75

    อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ไม่ได้ใช้หน้ากากอนามัยกั้นลมหลังผ่านกรงหนูที่ป่วยและใช้หน้ากากกั้นลมก่อนถึงกรงหนูที่ไม่ป่วย เหมือนกรณีที่ทุกคนใส่หน้ากากอนามัย ไม่ว่าป่วยหรือไม่ เรารู้ว่าถ้าในกรณีทุกคนใส่หน้ากาก จะลดการติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 75 แน่นอน แต่มากกว่าเท่าไหร่ยังตอบไม่ได้ การศึกษานี้ยืนยันประโยชน์ของการใส่หน้ากากอนามัยในการลดการติดเชื้อไวรัสโควิดได้

    การศึกษานี้ใช้หน้ากากผ่าตัด surgical mask หน้ากากสีเขียว หรือ สีฟ้า ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่ใช่หน้ากากผ้า การใส่หน้ากากผ้าคงมีประโยชน์ อาจจะไม่ดีเท่าหน้ากากผ่าตัด

    การสวมหน้ากากอนามัยไม่ว่าหน้ากากผ้า หน้ากากสีเขียวสีฟ้าในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้คนทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย เพื่อเป็นการป้องกันและการลดการระบาดของเชื้อไวรัสไม่ให้ขยายวงกว้างขึ้น เมื่อจะต้องเดินทางออกนอกบ้านไปในที่ต่างๆ ที่มีคนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นในห้างสรรพสินค้า รถไฟฟ้า รถขนส่งสาธารณะ หรือที่ที่มีผู้คนแออัด นอกจากจะเป็นการปกป้องผู้สวมใส่หน้ากากอนามัยให้ปลอดภัยแล้ว หากผู้สวมใส่หน้ากากอนามัยป่วยก็จะไม่แพร่เชื้อออกไปสู่คนอื่นด้วย

    ซึ่งคนไทยมากถึงร้อยละ 95 ให้ความร่วมมือสวมหน้ากากอนามัย น่าภูมิใจไทยเป็นที่หนึ่งในประเทศอาเซียน ทั้งการสวมใส่หน้ากากอนามัยและการล้างมือ (ดูรูป) ทำให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ขอให้คนไทยทุกคนร่วมมือสวมใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือกันต่อไป”
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    วันนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิด-19 ในช่วงนี้เริ่มเห็นผลกระทบที่ชัดเจนในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยว และรถยนต์ที่มีการหดตัวมาก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาคเกษตรมีการขยายตัวได้ดี ยังมีการเติบโตของยอดขาย และการส่งออก แม้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 จะไม่ดี แต่ต้องมองว่าในระยะต่อไปจะฟื้นเศรษฐกิจอย่างไร ก็มองไปที่ภาคเกษตรต้องทำให้เข้มแข็ง
    .
    ส่วนภาคการท่องเที่ยว เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นก็ค่อย ๆ ผ่อนปรนให้มีการท่องเที่ยวภายในประเทศได้ในจังหวัดที่มีความพร้อม เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินหน้าได้มากขึ้น โดยได้สั่งการไปยังสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน (สทบ.) ทำเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดต่าง ๆ ที่มีความพร้อม และธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
    .
    โดยเน้นเรื่องการสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก และร้านค้าชุมชน สำหรับเงิน 400,000 ล้านบาท ที่จะใส่ลงไปในเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อาจไม่สามารถทดแทนเม็ดเงินที่หายไปจากภาคการท่องเที่ยว แต่เมื่อรวมกับเม็ดเงินเยียวยาที่ได้ทยอยจ่ายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบเดือนละ 5,000 บาท ซึ่งจะจ่ายลงไปประมาณ 400,000 ล้านบาท ถือว่าช่วยพยุงเศรษฐกิจในปีนี้ได้ในระดับหนึ่ง และรักษาความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ และสุขภาพ
    .
    อีกทังวันนี้ เวลา 09.30 น. นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้แถลงกรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในด้านต่าง ๆ ตามกรอบวงเงิน 400,000 ล้านบาท จาก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 1 ล้านล้านบาท
    .
    ซึ่งได้กันเงินไว้สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในวงเงิน 400,000 ล้านบาท เพื่อชี้แจงข้อมูลในเรื่องระยะเวลาทำงาน และการคัดเลือกโครงการต่างๆ ที่จะเปิดให้หน่วยงานราชการไปจัดทำโครงการ และยื่นข้อเสนอมาให้กลั่นกรองก่อนจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในช่วงต้นเดือน มิ.ย. โดยกำหนดว่าเงินกู้จะเริ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจภายในเดือน ก.ค. หรือช่วงไตรมาส 3 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องไปถึงงบประมาณรายจ่ายปี 2564-2565

    -------------------------------
    แหล่งข่าว

    https://www.thairath.co.th/news/business/1852586
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,980
    ค่าพลัง:
    +97,149
    มีรายงานมาจากสำนักข่าวซินหัวว่า นายหวังอี้ มนตรีแห่งรัฐ และ รมว.ต่างประเทศของจีน ได้แถลงข่าวนอกรอบการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติประจำปี โดยระบุว่า ประเทศจีนจะเดินหน้าฟื้นฟูชาติอย่างที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้มากยิ่งกว่าที่เคย หลังจากการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในครั้งนี้
    .
    นอกจากนี้ จีนยังพร้อมทำงานร่วมกับองค์กรทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ ในการหาแหล่งต้นตอของเชื้อไวรัสโควิด -19 โดยดำเนินการแบบมืออาชีพ และการสืบสวนจะต้องเป็นอิสระจากการแทรกแซงทางการเมืองโดยย้ำด้วยว่า "ประวัติศาสตร์ควรถูกเขียนขึ้นด้วยข้อเท็จจริง และความจริง รวมถึงไม่ควรถูกชี้นำอย่างผิดๆ หรือเจือปนด้วยความเท็จ"
    .
    ไม่เพียงเท่านั้น นายหวังอี้ ยังระบุถึงประเด็นที่ สหรัฐฯ โจมตีจีนในเรื่องนี้ด้วยว่า โควิด-19 เป็นศัตรูร่วมกันของจีน และสหรัฐฯ และประชาชนของทั้ง 2 ประเทศล้วนมีความหวังเดียวกันคือการสนับสนุน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราควรแบ่งปันประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคระบาด และเรียนรู้จากกันและกัน เพื่อส่งเสริมการรับมือกับโรคระบาด
    .
    โดยหวังอี้ ยังกล่าวกับผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมว่า สหรัฐฯ กำลังแพร่ไวรัสการเมืองเพื่อโจมตีจีน และสร้างภาพว่าจีนเป็นผู้ร้าย ซึ่งเราทราบดีว่าบุคคลทางการเมืองบางคนในสหรัฐฯ เร่งรีบที่จะป้ายสีไวรัส และทำให้เรื่องต้นกำเนิดไวรัสเป็นประเด็นการเมือง จนทำให้ภาพลักษณ์ของจีนต้องแปดเปื้อน และและหยุดการผลักให้ทั้ง 2 ประเทศ ตกอยู่ในภาวะสงครามเย็นครั้งใหม่ เพราะนี่เป็นสิ่งที่อันตราย และจะเป็นภยันตรายต่อสันติภาพของโลก
    .
    วอชิงตันโพสต์รายงานว่า หวังอี้ ได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่งของการแถลงข่าวว่า ขอให้สหรัฐฯ เลิกฝันลมๆ แล้งๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงจีน เพราะจีนไม่มีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงสหรัฐฯ หรือแทนที่สหรัฐฯ พร้อมกับเตือนว่าอย่าล้ำเส้นในกรณีไต้หวัน หลังจากที่ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐแหกธรรมเนียมทางการทูต ด้วยการแสดงความยินดีกับการรับตำแหน่งสมัยที่ 2 ของไช่อิงเหวิน ผู้นำไต้หวัน
    .
    นายหวังอี้ ย้ำว่าในส่วนของฮ่องกงนั้น กฎหมายความมั่นคงของฮ่องกงจะต้องมีการปรับใช้โดยไม่มีการรีรอแม้แต่น้อย ความรุนแรง และการก่อการร้ายยังคงทวีความรุนแรง และกองกำลังต่างชาติยังคงแทรกแซงกิจการของฮ่องกงอย่างหนักหน่วง และผิดกฎหมาย
    .
    ส่วนกลุ่มอิทธิพลการเมืองบางกลุ่มของสหรัฐฯ ที่นายหวังอี้กล่าวถึง วอชิงตันโพสต์คาดว่า น่าจะหมายถึงบทบาทของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่มักวิพากษ์วิจารณ์จีนอยู่บ่อยครั้ง

    -------------------------------
    แหล่งข่าว
    https://www.timesnownews.com/intern...s-source-says-chinese-foreign-minister/596320

    https://www.usnews.com/news/world/a...tion-lose-from-confrontation-chinese-diplomat

    https://www.irishtimes.com/news/wor...-to-stop-spreading-lies-about-virus-1.4261170

    https://www.thansettakij.com/conten...m_medium=internal_referral&utm_campaign=world
    https://www.posttoday.com/world/624303
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCDeS2riffyohV9FW2QEWjHQ

     

แชร์หน้านี้

Loading...