อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQn5AharAByxtC3JN42g7ehQB84fPpz7fxPWUFggfTcYaDPEijY1bGm6Dv6p1gZGcz4&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg








    บุพภาคปฏิปทา (ข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้น)
    ************

    บทว่า ฉธาตุโร อยํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้นแก่กุลบุตร แต่ทรงปรารภเพื่อตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะเท่านั้น ซึ่งมีความว่างเปล่าอย่างยิ่งอันเป็นปทัฎฐานแห่งพระอรหัต แต่เบื้องต้น.

    จริงอยู่ บุพภาคปฏิปทาของผู้ใดยังไม่บริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกบุพภาคปฏิปทานี้ คือศีลสังวร ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ การประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น สัทธรรม ๗ ฌาน ๔ แก่ผู้นั้นก่อนเทียว.

    แต่บุพภาคปฏิปทานั้นของผู้ใดบริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ตรัสบุพภาคปฏิปทานั้น แต่จักตรัสบอกวิปัสสนานั้นแล ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตแก่ผู้นั้น. ก็บุพภาคปฏิปทาของกุลบุตรบริสุทธิ์แล้ว.

    จริงอย่างนั้น กุลบุตรนั้นอ่านพระสาส์นแล้วขึ้นปราสาทอันประเสริฐนั้นเทียว ยังอานาปานจตุตถฌานให้เกิดขึ้นแล้ว จึงเดินทางไปตลอด ๑๙๒ โยชน์ ยังกิจในยานให้สำเร็จ. แม้สามเณรศีลของกุลบุตรนั้นก็บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสบุพภาคปฏิปทา แต่ทรงปรารภเพื่อจะตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะอันมีความว่างเปล่าอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตเท่านั้นแก่กุลบุตรนั้น.
    ................
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาธาตุวิภังคสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
    และศึกษาเพิ่มเติมใน ธาตุวิภังคสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=40

    หมายเหตุ บุพภาคปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้น ได้แก่ (๑) ศีลสังวร (๒) ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (๓) ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ (๔) การประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น (๕) สัทธรรม ๗ และ (๖) ฌาน ๔
    บุพภาคปฏิปทาของผู้ใดบริสุทธิ์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ตรัสบุพภาคปฏิปทาอีก แต่จักตรัสบอกวิปัสสนาซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตแก่ผู้นั้น

    c_oc=AQkldlBHUiCbJtCTfMQn8a5TiF6IEFF5UiChuCE1dVry03k_zglydBW17mrqByCeHVM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ข้อปฏิบัติไม่ผิด
    *********************
    [๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติไม่ผิด และเธอชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ

    ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. คุ้มครองทวารในอินทรีย์
    ๒. รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
    ๓. ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ

    ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความทุกข์ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นอย่างนี้แล

    ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
    พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า “เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา” ภิกษุชื่อว่า รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างนี้แล

    ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวาซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นในมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างนี้แล

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติไม่ผิด และเธอชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
    ............
    อปัณณกสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด
    อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=60

    บทว่า ชาคริยํ อนุยุตฺโต ความว่า เป็นผู้แบ่งกลางคืนกลางวันออกเป็น ๖ ส่วน แล้วประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นใน ๕ ส่วน. อธิบายว่า ขะมักเขม้นในการตื่นอยู่นั่นเอง.
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอปัณณกสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=455

    c_oc=AQne3IYa4bzMUJ05TyOkxZ2JaPPCVS3iAUeI9t6dzXq9iu1gyW_F4aLws0vykKCvPFA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQkjdfwe_RfXI-vxDZhpF592CxOq10vUOQPjQO6cg1L6BwenW2O7cWlIhYerQFJPev4&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อชฺฌุเปกฺขนตา = ความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ
    ************
    ธรรม ๑๑ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ

    ความทำวัตถุให้สละสลวย ๑
    ความปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ๑
    ความฉลาดในนิมิต ๑
    ความยกจิตในสมัย ๑
    ความข่มจิตในสมัย ๑
    ความทำจิตให้ร่าเริงในสมัย ๑
    ความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัย ๑
    หลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ๑
    คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ๑
    พิจารณาวิโมกข์ ๑
    น้อมจิตไปในสมาธินั้น ๑.
    ....ฯลฯ...
    ชื่อว่า ความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัย ได้แก่ ในสมัยใด จิตอาศัยความปฏิบัติชอบ เป็นจิตไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่มีอัสสาทะ เป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ดำเนินไปสู่วิถีแห่งสมถะ. ในสมัยนั้น เธอไม่ต้องขวนขวายในการยก การข่มและการทำให้มันร่าเริง ดุจสารถีเมื่อม้าทั้งหลายวิ่งไปเรียบร้อย ก็ไม่ขวนขวายฉะนั้น นี้เรียกว่าความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัย.
    ………….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอาหารสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=522

    ดูเพิ่มใน อาหารสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=123

    #ดูจิต #เพ่งดูจิต #สมาธิ #สมาธิสัมโพชฌงค์

    c_oc=AQl5rbqx4utvMfbKO-yuWFh1x8KpwLS9fBgC30FYBg_0wP9CJmfGdFBybNGuUjCqDHo&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ความไม่ประมาท
    *************
    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
    [๒๑] ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งอมตะ
    ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
    คนผู้ไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย
    คนผู้ประมาทจึงเหมือนคนตายแล้ว
    [๒๒] บัณฑิตทราบความต่างกัน
    ระหว่างความไม่ประมาทกับความประมาทนั้น
    แล้วตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
    ย่อมบันเทิงใจในความไม่ประมาท
    ยินดีในทางปฏิบัติของพระอริยะทั้งหลาย
    [๒๓] บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์เหล่านั้น เพ่งพินิจ
    มีความเพียรต่อเนื่อง มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
    ย่อมบรรลุนิพพานอันเป็นสภาวะยอดเยี่ยม ปลอดจากโยคะ
    ………………
    สามาวตีวัตถุ อัปปมาทวรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=11
    สามาวตีวัตถุ(บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=328

    สองบทว่า เต ฌายิโน ความว่า บัณฑิตผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น เป็นผู้มีความเพ่งด้วยฌานทั้งสองอย่าง คือ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน กล่าวคือ สมาบัติ ๘ และด้วยลักขณูปนิชฌาน กล่าวคือ วิปัสสนา มรรค และผล.
    (สมาบัติ ๘ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน รวมเรียกว่า รูปสมาบัติ ๔, อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รวมเรียกว่า อรูปสมาบัติ ๔.)

    บทว่า สาตติกา ความว่า เป็นผู้มีความเพียร ซึ่งเป็นไปทางกายและทางจิต เป็นไปแล้วติดต่อ จำเดิมแต่กาลเป็นที่ออกบวชจนถึงการบรรลุพระอรหัต.

    บาทพระคาถาว่า นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา ความว่า ผู้ประกอบด้วยความเพียรเห็นปานนี้ว่า
    “ผลนั้นใด อันบุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่บรรลุผลนั้น แล้วหยุดความเพียรเสีย จักไม่มี.” (เช่นนี้) ชื่อว่าบากบั่นมั่น ชื่อว่าเป็นไปแล้วเป็นนิตย์ เหตุไม่ท้อถอยในระหว่าง.
    ……..
    ข้อความบางตอนใน เรื่องพระนางสามาวดี อัปปมาทวรรควรรณนา ขุททกนิกาย อรรถกถาธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=1
    #ความไม่ประมาท

    c_oc=AQmXvqODY-ngUaHpcVytqPsrCTaNlQqcDQNbFsWMBV5Luml5HBRhVzvtEqWMMXQ7RxQ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=e67453933ba9f0290b19fff896372d4b.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    -aqkxp4oa_a4u47lwecnvt7kaz4s6183nwpkb7nsgvjgxsereoink0wvebkwbq1ldkdy-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=ccfb84cecca33f3b4c8960f2bee66d6a.jpg

    ?temp_hash=ccfb84cecca33f3b4c8960f2bee66d6a.jpg

    ละกามได้โดยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) โดยการข่มไว้ (๒) โดยการตัดขาด
    *************
    [๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
    ผู้ใดละกามได้ เหมือนคนเดินเลี่ยงหัวงู
    ผู้นั้นมีสติ ล่วงพ้นตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก
    ว่าด้วยการละกามโดยเหตุ ๒ อย่าง
    คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดละกามได้ ได้แก่ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ขวนขวายอย่างใด ผู้ตั้งใจอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด จะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม

    คำว่า ละกามได้ อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม

    คำว่า ละกามได้ ได้แก่ ละกามได้โดยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) โดยการข่มไว้ (๒) โดยการตัดขาด

    บุคคลละกามได้โดยการข่มไว้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลเมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูกเพราะให้ความยินดีเล็กน้อย จึงละกามได้โดยการข่มไว้
    …ฯลฯ...
    เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนกองไฟ เพราะเผาผลาญ จึงละกามได้โดยการข่มไว้

    ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการข่มไว้ ๑๐ จำพวก
    ๑. บุคคลกำลังเจริญพุทธานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๒. บุคคลกำลังเจริญธัมมานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๓. บุคคลกำลังเจริญสังฆานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๔. บุคคลกำลังเจริญสีลานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๕. บุคคลกำลังเจริญจาคานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๖. บุคคลกำลังเจริญเทวตานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๗. บุคคลกำลังเจริญอานาปานัสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๘. บุคคลกำลังเจริญมรณานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๙. บุคคลกำลังเจริญกายคตาสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๑๐. บุคคลกำลังเจริญอุปสมานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้

    ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการข่มไว้ ๘ จำพวก
    ๑. บุคคลกำลังเจริญปฐมฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๒. บุคคลกำลังเจริญทุติยฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๓. บุคคลกำลังเจริญตติยฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๔. บุคคลกำลังเจริญจตุตถฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๕. บุคคลกำลังเจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๖. บุคคลกำลังเจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๗. บุคคลกำลังเจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๘. บุคคลกำลังเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    บุคคลชื่อว่าละกามได้โดยการข่มไว้ เป็นอย่างนี้

    ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการตัดขาด ๔ จำพวก
    บุคคลละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างไร คือ
    ๑. บุคคลกำลังเจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมละกามอันเป็นเหตุไปสู่อบายได้โดยการตัดขาด
    ๒. บุคคลกำลังเจริญสกทาคามิมรรค ย่อมละกามอย่างหยาบได้โดยการตัดขาด
    ๓. บุคคลกำลังเจริญอนาคามิมรรค ย่อมละกามอย่างละเอียดได้โดยการตัดขาด
    ๔. บุคคลกำลังเจริญอรหัตตมรรค ย่อมละกามได้หมดสิ้น ไม่เหลือทุกสิ่งทุกประการ โดยการตัดขาด
    บุคคลชื่อว่าละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ผู้ใดละกามได้
    …….
    ข้อความบางตอนใน กามสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=1
    ……..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากามสุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
    ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
    ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
    …………..
    ข้อความบางตอนใน มหาปทานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=1

    บทว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ความว่า ขันติคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง.
    บทว่า ตีติกฺขา เป็นไวพจน์ของขันตินั้นแหละ.
    อธิบายว่า อธิวาสนขันติ กล่าวคือ ความอดกลั้นเป็นตบะอย่างสูงสุด.
    บทว่า นิพฺพานํ ปรมํ ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่งโดยอาการทั้งปวง.
    บทว่า น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี ความว่า ผู้ใดเข้าไปทำร้ายรบกวน และเบียดเบียนผู้อื่น เพราะเว้นจากอธิวาสนขันติ ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต. ก็บาทที่ ๔ เป็นไวพจน์ของบทนั้นนั่นเอง.
    บทว่า น สมโณ โหติ เป็นไวพจน์ของบทนี้ว่า น หิ ปพฺพชิโต.
    บทว่า ปรํ วิเหฐยนฺโต เป็นไวพจน์ของบทนี้ว่า ปรูปฆาตี.
    อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปรูปฆาตี คือ ทำลายศีล. เพราะศีล ท่านกล่าวว่า ปรํ โดยอรรถว่าสูงสุด
    อธิบายว่า ก็ผู้ใดเป็นสมณะเบียดเบียนสัตว์อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเข้าไปทำร้ายผู้อื่น คือทำศีลของตนให้พินาศ ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต.
    อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเข้าไปทำร้ายผู้อื่น เพราะไม่มีอธิวาสนขันติ ฆ่าสัตว์อื่นโดยที่สุดแม้เหลือบและยุง ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต. เพราะเหตุไร. เพราะยังเว้นมลทินไม่ได้. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า เพราะเว้นมลทินของตนได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าบรรพชิต ดังนี้ นี้คือลักษณะของบรรพชิต.
    แม้ผู้ใด ไม่ทำร้าย ไม่ฆ่า แต่เบียดเบียนด้วยอาชญาเป็นต้น ผู้นั้นยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ. เพราะเหตุไร. เพราะไม่สงบจากการเบียดเบียน. ดังที่ท่านกล่าวว่า ผู้ที่เรียกว่าสมณะ เพราะบาปสงบ ดังนี้ นี้คือลักษณะของสมณะ. ………….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถามหาปทานสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=1&p=3
    #มาฆบูชา

    c_oc=AQmF63QN8xZR_ZxS25JCqRukaFpCkVGNM5MpUPCZ7EedfONnMlG24BBBFftXVrcNNoI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    การไม่ทำบาปทั้งปวง
    การทำกุศลให้ถึงพร้อม
    การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
    นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    .............
    ข้อความบางตอนใน มหาปทานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=1

    พึงทราบในคาถาที่สอง.
    บทว่า สพฺพปาปสฺส ได้แก่ อกุศลทุกชนิด.
    บทว่า อกรณํ คือ ไม่ให้เกิดขึ้น.
    บทว่า กุสลสฺส ได้แก่ กุศลอันมีในภูมิ ๔.
    บทว่า อุปสมฺปทา คือ ได้เฉพาะ.
    บทว่า สจิตฺตปริโยทปนํ คือ ยังจิตของตนให้สว่าง. ก็บทนั้นย่อมมีได้โดยความเป็นพระอรหันต์ ด้วยประการดังนี้ บรรพชิตควรละบาปทั้งปวงด้วยศีลสังวร ยังกุศลให้ถึงพร้อมด้วยสมถะและวิปัสสนาทั้งหลาย ยังจิตให้ผ่องแผ้วด้วยอรหัตผล นี้เป็นคำสอน คือเป็นโอวาท คือเป็นคำตักเตือนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
    ………….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถามหาปทานสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=1&p=3
    #มาฆบูชา

    c_oc=AQlZ1G-m84hLwidFd7AnFG2mTl9sHqZda2cKlG1aEK8Kp3idWyPH_gNfkKEsAjaP9rA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    เข้าใจผิดว่าต้องเข้าใจธรรมก่อนแล้วจึงบวช
    ...................
    ...ซึ่งกระแสพระดำริจะให้บวชแต่คฤหัสถ์ที่เป็นอริยบุคคล ปุถุชนจะทรงห้าม จะเป็นการถูกต้องด้วยพระพุทธฎีกานั้นหามิได้ ขอบพิตรจงเข้าพระทัยด้วยประการฉะนี้
    ……….


    ข้อความบางตอนใน หีนายาวัตตนปัญหา ที่ ๑๐ มิลินทปัญหา
    http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=154
    c_oc=AQl283ZFjYSFNUzBFiJ7maXO-ZLctVg688LkVxSdwBq2DIzfdr8rV1oCO39T40NL1E0&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [๓๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “พราหมณ์ ศีลนั้นเป็นอย่างไร ปัญญานั้นเป็นอย่างไร”

    พราหมณ์โสณทัณฑะทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้พวกข้าพระองค์มีความรู้เพียงเท่านี้ ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดขยายความให้ชัดเจนด้วย”

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักบอก” เขาทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตรมาใส่ไว้ในที่นี้) ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่
    บรรลุทุติยฌานอยู่ บรรลุตติยฌานอยู่ บรรลุจตุตถฌานอยู่ ฯลฯ น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ ฯลฯ นี้เป็นปัญญาของภิกษุนั้น ฯลฯ รู้ชัดว่า‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
    นี้เป็นปัญญาของภิกษุนั้น พราหมณ์ ปัญญานั้นเป็นอย่างนี้แล”
    ...............
    ข้อความบางตอนใน โสณทัณฑสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=4

    หมายเหตุ ข้อความในสามัญญผลสูตร เริ่มตั้งแต่ ข้อ [๑๙๐] ถึงข้อ [๒๔๘]
    ดูรายละเอียดตามนี้ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=2

    #ศีล #สมาธิ #ปัญญา

    c_oc=AQnU40AC34XlTC5OZBRE_5A8y_ag420cH352CwICEmQPEb3QZ6JbzRzrXl9SnLK6cHI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQmq8ssM9S675iLu1xag6zAMJtSv2pzQEz9LCshquiNf2jJ3smtCB9B9qcmsrrbrRr4&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    บุคคลมีความเป็นอยู่ด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
    ********
    [๗๓] เทวดาทูลถามว่า
    อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐของบุรุษในโลกนี้
    อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
    อะไรเล่าเป็นรสที่ดีกว่ารสทั้งหลาย
    บุคคลมีความเป็นอยู่อย่างไร นักปราชญ์ทั้งหลาย
    จึงกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐของบุรุษในโลกนี้
    ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
    สัจจะเท่านั้นเป็นรสที่ดีกว่ารสทั้งหลาย
    บุคคลมีความเป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลาย
    จึงกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ
    …………
    วิตตสูตร ว่าด้วยทรัพย์เครื่องปลื้มใจ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=73

    พึงทราบวินิจฉัยในวิตตสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

    บทว่า สทฺธีธ วิตฺตํ แปลว่า ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจในโลกนี้. อธิบายว่า คนมีศรัทธาย่อมได้เครื่องปลื้มใจทั้งหลายแม้มีแก้วมุกดาเป็นต้น บุคคลถึงซึ่งกุลสัมปทา (คือการถึงพร้อมด้วยสกุล) ๓ กามสวรรค์ ๖ พรหมโลก ๙ แล้วในที่สุดย่อมได้แม้การเห็นอมตมหานิพพาน เพราะเหตุนั้น ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐยิ่งกว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันมีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น.

    บทว่า ธมฺโม ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐.

    บทว่า สุขมาวหาติ แปลว่า นำความสุขมาให้ คือว่าย่อมนำซึ่งอาสวะออกไปจากผู้มีสัพพอาสวะ ให้มีความสุข ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง.

    บทว่า สาธุตรํ แปลว่า รสดียิ่งกว่า คือว่า สัจจะ (ความจริง) เท่านั้นเป็นรสดีกว่ารสทั้งปวงอันมีรสเค็มและรสเปรี้ยวเป็นต้น. อธิบายว่า บุคคลตั้งอยู่ในสัจจะ ย่อมยังแม้แม่น้ำอันไหลเชี่ยวให้ไหลกลับได้ ย่อมนำพิษร้ายออกได้ ย่อมห้ามแม้ไฟ ย่อมยังฝนให้ตกก็ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สัจจะนั้นเป็นรสดี ยิ่งกว่ารสทั้งปวง ดังนี้.

    บทว่า ปญฺญาชีวี ชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ แปลว่า คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ. ความว่า บุคคลใดเป็นอยู่ด้วยปัญญา เป็นคฤหัสถ์ย่อมดำรงอยู่ในศีล ๕ เริ่มตั้งสลากภัตเป็นต้น จึงชื่อว่าเป็นอยู่ด้วยปัญญา หรือว่าเป็นบรรพชิต เมื่อปัจจัยเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม ก็ย่อมพิจารณาสิ่งที่มีอยู่นี้แล้วจึงบริโภค ถือเอากรรมฐาน เริ่มตั้งวิปัสสนา ชื่อว่าเป็นอยู่ด้วยปัญญา เพราะสามารถบรรลุอริยผลได้ ด้วยเหตุนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า บุคคลผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญานั้น มีชีวิตเป็นอยู่อันประเสริฐ ดังนี้แล.
    ..............
    อรรถกถาวิตตสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=202
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQkrtWIIz4FyBMCyTtUHydwZ8w019BMcMJ2Y0WJ0W5PcRmDeySVBmodADb6dhf1a8gc&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ?temp_hash=333980c7c485ca2c735013fb3132a073.jpg




    อตินิปาตะ..ความดูหมิ่นตนเองว่าเป็นคนเลว

    การดูถูกตนเอง ว่าคงทำไม่ได้ ความสามารถไม่ถึง หรืออื่นๆนั้น พระศาสดา ทรงตรัสว่า เป็น หนึ่งใน มานะ 6 คือ อตินิปาตะ ต้องละให้ได้

    [๓๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำ

    ให้แจ้งซึ่งอรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ มานะ ความถือตัว ๑ โอมานะ ความสำคัญ

    ว่าเลวกว่าเขา ๑ อติมานะ ความเย่อหยิ่ง ๑อธิมานะ ความเข้าใจผิด ๑ ถัมภะความหัวดื้อ ๑

    อตินิปาตะความดูหมิ่นตนเองว่าเป็นคนเลว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ

    นี้แลย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหันตฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง

    อรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความถือตัว ๑ ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา ๑ ความ

    เย่อหยิ่ง ๑ ความเข้าใจผิด ๑ ความหัวดื้อ ๑ ความดูหมิ่นตัวเองว่าเป็นคนเลว ๑ ดูกรภิกษุ

    ทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒

    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

    ข้อที่ ๓๔๗ หน้าที่ ๓๘๒-๓๘๓


    เพราะฉนั้นการที่จะบรรลุซึ่งธรรมนั้น การได้เป็นซึ่งอริยะบุคคลนั้น จึงสามารถเป็นได้ทุกท่าน ถ้าเราปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQkVDBCHbLrZJr1piV7Rox1VhEoch2y_UA778K1H5AXC7UpF5os3OkWpr5KfXhXvQHY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อริยสมาธิขันธ์ที่ท่านพระโคดมตรัสสรรเสริญและทรงให้ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่เป็นอย่างไร
    ************
    [๔๕๔] อริยสมาธิขันธ์ที่ท่านพระโคดมตรัสสรรเสริญและทรงให้ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่เป็นอย่างไร ท่านอานนท์”

    ท่านพระอานนท์ตอบว่า “มาณพ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความสำรวมอินทรีย์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมเสวยสุขที่ไม่ระคนกับกิเลสในภายใน มาณพ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างนี้แล

    [๔๕๕] มาณพ ภิกษุชื่อว่าประกอบด้วยสติสัมปชัญญะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิบาตรและจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว
    การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง มาณพ ภิกษุชื่อว่าประกอบด้วยสติสัมปชัญญะเป็นอย่างนี้แล

    [๔๕๖] มาณพ ภิกษุชื่อว่าผู้สันโดษเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป ณ ที่ใดๆ ก็ไปได้ทันทีเหมือนนกบินไป ณ ที่ใดๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ มาณพ ภิกษุชื่อว่าผู้สันโดษ
    เป็นอย่างนี้แล

    [๔๕๗] ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร อริยสติสัมปชัญญะ และอริยสันโดษอย่างนี้แล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า

    [๔๕๘] เธอละอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
    อุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา…

    [๔๖๔] มาณพ ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนยังละไม่ได้ เหมือนหนี้ โรค เรือนจำ ความเป็นทาส และทางไกลกันดาร

    [๔๖๕] มาณพ ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้ว เหมือนความไม่มีหนี้ ความไม่มีโรค การพ้นโทษจากเรือนจำ ความเป็นไทแก่ตัวเอง และภูมิสถานอันสงบร่มเย็น

    [๔๖๖] เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้ว ย่อมเกิดความเบิกบานใจ เมื่อเบิกบานใจก็ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับความสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    [๔๖๗] ภิกษุนั้น สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง…

    [๔๖๘] ยังมีอีก มาณพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายในมีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง…

    [๔๖๙] ยังมีอีก มาณพ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขามีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง…

    [๔๗๐] ยังมีอีก มาณพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่เธอมีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง…

    [๔๗๑] มาณพ สมาธิขันธ์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญและทรงให้ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่เป็นอย่างนี้ แต่ในพระธรรมวินัยนี้ยังมีกรณียกิจที่ต้องปฏิบัติยิ่งขึ้นไปกว่าขั้นอริยสมาธินี้อีก”
    ..............
    ข้อความบางตอนใน สุภสูตร ว่าด้วยสุภมาณพ
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=10

    หมายเหตุข้อความเบื้องต้นสรุปความได้ว่า
    อริยสมาธิขันธ์ที่ท่านพระโคดมตรัสสรรเสริญและทรงให้ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่ คือ
    ๑. เป็นภิกษุผู้ประกอบแล้วด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร อริยสติสัมปชัญญะ และอริยสันโดษ
    ๒. พักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด เช่น ป่า เป็นต้น
    ๓. กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จ จึงนั่งขัดสมาธิ
    ๔. ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากนิวรณ์ ๕
    ๕. พิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนยังละไม่ได้ เหมือนหนี้ โรค เรือนจำ ความเป็นทาส และทางไกลกันดาร
    ๖. พิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้ว เหมือนความไม่มีหนี้ ความไม่มีโรค การพ้นโทษจากเรือนจำ ความเป็นไทแก่ตัวเอง และภูมิสถานอันสงบร่มเย็น
    ๗. เมื่อพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้ว ย่อมเกิดความเบิกบานใจ
    ๘. เมื่อเบิกบานใจก็ย่อมเกิดปีติ
    ๙. เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
    ๑๐. เมื่อมีกายสงบ ย่อมได้รับความสุข
    ๑๑. เมื่อมีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น
    ๑๒. เมื่อสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว จึงบรรลุปฐมฌาน
    ๑๓. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
    ๑๔. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
    ๑๕. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน
    #สมาธิขันธ์

    1OklACJHvD2xh2ynX4mv9pnubQK6z43kY8JFs1jpYQWDpRGO30SVIKCyKKYTwNwyLY4rJleI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานอยู่เนืองๆ พึงหวังได้ผล อย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี
    ***********
    [๔๗] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้ตื่นอยู่อย่างมีสติ มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส และควรเป็นผู้เห็นแจ้งสมควรแก่กาลในกุศลธรรมทั้งหลาย ในการประกอบเนืองๆ ซึ่งกัมมัฏฐานนั้น

    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นผู้ตื่น อยู่อย่างมีสติ มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส และเป็นผู้เห็นแจ้งสมควรแก่กาลในกุศลธรรมทั้งหลาย ในการประกอบกัมมัฏฐานนั้นอยู่ พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี”

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

    เธอทั้งหลายที่หลับอยู่ จงรีบตื่น
    ที่ตื่นอยู่ จงฟังคำของเรานี้
    ความเป็นผู้ตื่นจากความหลับเป็นคุณประเสริฐ
    เพราะภัย ย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่
    ผู้ที่ตื่นอยู่ มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น
    เบิกบาน ผ่องใส พิจารณาธรรมโดยชอบตามกาลที่เหมาะสม
    มีสมาธิเป็นธรรมผุดขึ้น พึงกำจัดความมืดได้
    เพราะฉะนั้นแล ภิกษุควรประพฤติธรรมเป็นเหตุให้ตื่น
    มีความเพียร มีปัญญารักษาตน มีปกติได้ฌาน
    ตัดสังโยชน์ในชาติและชราได้แล้ว
    ก็จะบรรลุสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในอัตภาพนี้แน่นอน

    แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
    ...................
    ชาคริยสูตร ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=162

    บทว่า ชาคโร ได้แก่ เป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น คือปราศจากความหลับ ประกอบความเพียร ขวนขวายในการมนสิการกรรมฐานตลอดคืนและวัน.

    สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
    ภิกษุในศาสนานี้ชำระจิตจากอาวรณียธรรม (ธรรมเครื่องกั้น) ด้วยการนั่งจงกรมตลอดวัน ชำระจิตจากอาวรณียธรรม ด้วยการนั่งจงกรมตลอดปฐมยามของราตรี สำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามของราตรี มีสติสัมปชัญญะด้วยการทับเท้าด้วยเท้า มนสิการถึงอุฏฐานสัญญา (ความสำคัญในการลุกขึ้น) แล้วชำระจิตจากอาวรณียธรรม ด้วยการลุกขึ้นนั่งจงกรมตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดราตรีต้นและราตรีปลาย.

    ...ฯลฯ...

    ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการเจริญสมถะและวิปัสสนาของผู้ตื่นอยู่ ด้วยการไม่อยู่ปราศจากสติเป็นต้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ อริยมรรคย่อมปรากฏโดยลำดับ จากนั้นวัฏภัยทั้งหมดย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น.
    ........
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาชาคริยสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=225

    jsbvEY5b0LY6mgaPKfagqc4y-0bBv4jPAEEkMFiJl0atEm0bQXkJ9nWeu-AYcmBhd7QoYa8V&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    Pq0fLtZxRGee9F-rmf4SEA18SfBRUNmXskmRlhY0hvypCDsG4aYcNqMXOsZ7dYwVOQT0hp5J&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    “ อย่าสำคัญตนว่าเก่งกาจสามารถฉลาดรู้กว่าเขาเลย ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเองจนไม่มีวันสร่างซา

    เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์ ถ้าไม่เตรียมทราบเสียแต่บัดนี้ ซึ่งอยู่ในฐานะอันควร อาตมาขออภัยด้วยถ้าพูดหยาบคายไป แต่คำพูดที่สอนคนให้ละชั่ว ทำความดี จัดเป็นหยาบคายอยู่แล้ว

    โลกเราก็จะถึงคราวหมดสิ้นศาสนา
    เพราะไม่มีผู้ยอมรับความจริง การทำบาปหยาบคายมีประจำแทบทุกคน ทั้งให้ผลเป็นทุกข์ ตนยังไม่อาจรู้ได้ และ ตำหนิมันบ้างพอมีทางคิดแก้ไข แต่กลับตำหนิคำสั่งสอนหยาบคาย ก็นับเป็นโรคที่หมดหวัง

    น้อมกราบโอวาทธรรมเหนือเศียรเกล้าพระอาจารย์ใหญ่องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


    txC4Rg0bQL2k7G72rhRm1ZgrMOGz01xTWaep6opUmA71ZQs2p40XkM-wbc1Y-kxr0avw4lcW&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    27IROGx1-CGz00itLt4V6Xcqpk6E8ngEzNcOC7KgF6m-62kkOIAOi9YNPwig49nLwLFWzhTX&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    ธรรม ๒ นี้ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ของเขาย่อมเคียงคู่กันไป
    บุคคลนั้น
    ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ย่อมละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ย่อมเจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ย่อมทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

    ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
    ควรจะตอบว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕’ คือ
    ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
    ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
    ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
    ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
    ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
    ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

    ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
    คือ (๑) อวิชชา (๒) ภวตัณหา
    ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

    ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
    คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา
    ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

    ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
    คือ (๑) วิชชา (๒) วิมุตติ
    ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ............
    ข้อความบางตอนใน สฬายตนวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ ๖ ประการ
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=49
    ...............
    หมายเหตุ ข้อความข้างต้นสรุปได้ว่า
    ธรรมที่ควรกำหนดรู้ = ขันธ์ ๕
    ธรรมที่ควรละ = อวิชชาและภวตัณหา
    ธรรมที่ควรเจริญ = สมถะและวิปัสสนา
    ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง = วิชชาและวิมุตติ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...