เรื่องเด่น “ฟ้าหญิงพัชรกิติยาภาฯ” ทรงสวมพระกำไลหัวนะโม ของขลังเก่าแก่กว่า 700 ปี

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 7 พฤษภาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประชาชนต่างแชร์ภาพของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ทรงสวมพระกำไลที่ข้อพระหัตถ์ขวาเป็น “หัวนะโม” ของขลังสมัยโบราณที่มีความเก่าแก่กว่า 700 ปี ซึ่งผู้ใช้เฟซบุ๊ก Chayasamon Sapsukbaworn ได้เล่าความเป็นมาของของขลังชิ้นนี้ว่า

    e0b88de0b8b4e0b887e0b89ee0b8b1e0b88ae0b8a3e0b881e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a2e0b8b2e0b8a0e0b8b2e0b8af.jpg

    “หัวนะโม” เป็นเม็ดเงิน หรือโลหะ ซึ่งเป็นของขลัง ที่สร้างในสมัยโบราณ ใช้หว่านตามรั้วมุมกำแพงเมืองเพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ในยุคปัจุบัน มักนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพื่อป้องกันและเสริมศิริมงคล กล่าวกันว่า สมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกษัตรย์ ผู้ทรงสถาปนา อาณาจักรนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อประมาณ 700 ปีก่อน และทรงเป็นพระเชษฐาของพระเจ้าจันทรภานุ หรือ องค์จตุคามรามเทพ พระองค์ทรงให้สร้าง หัวนะโม ไว้ด้วยพิธีกรรมอันสูงส่งของพราหมณ์ โดยอัญเชิญเทพเจ้าทั้งสามคือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม มาสถิตในหัวนะโม เป็นอักขระแทนองค์เทพเจ้า ทั้งสามโลก เพื่อเอาไปฝังหว่านรอบๆ เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันโรคห่าระบาด (อหิวาตกโรค) ปรากฏว่าโรคห่าได้หายไปจากอณาจักรนครศรีธรรมราชจนสิ้น

    b88de0b8b4e0b887e0b89ee0b8b1e0b88ae0b8a3e0b881e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a2e0b8b2e0b8a0e0b8b2e0b8af-1.jpg

    ปัจจุบัน หัวนะโม ถือเป็นเครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมงคลชื้นเอกของนครศรีธรรมราช พุทธคุณครอบจักรวาล เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด ปลอดภัยแก่ผู้ที่อาราธนาบูชาติดตัว เล่ากันว่า ในครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ก็ได้เกิดโรคห่าระบาดขึ้นในเมืองนครศรีธรรมราชอีกครั้ง พระองค์จึงรับสั่งให้สร้าง หัวนะโม ขึ้นแล้วประจุผงพระพุทธคุณอันวิเศษ ที่สำเร็จขึ้นจากพระอาจารย์ผู้มีกฤตยาคมสูงลงในหัวนะโมนั้น โปรดเกล้าฯ ให้นำหัวนะโมไปหว่านโปรยลงรอบเมืองนครฯ ให้ทั่วหมดสิ้น จากนั้นภายในไม่ช้าโรคห่าหรือโรคอหิวาตกโรคก็สงบลง

    b88de0b8b4e0b887e0b89ee0b8b1e0b88ae0b8a3e0b881e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a2e0b8b2e0b8a0e0b8b2e0b8af-2.jpg

    อักขระ “นะโม” เป็นอักษรปารวะของอินเดียโบราณ ตามหลักฐานทางโบราณคดีก่อนสมัยพระศรีธรรมโศกราช (ราชวงศ์ปัทมวงศ์) คือก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 เม็ดโลหะที่เรียกกันว่า “หัวนะโม” อยู่ในฐานะเงินตรา ใช้แลกเปลี่ยนแทนสินค้าในอาณาจักรต่อมาสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช (พุทธศตวรรษที่ 18) เปลี่ยนฐานะเป็น “เครื่องรางของขลัง” ประกอบพิธีตามคัมภีร์ไสยเวทหรืออาถรรพเวท เพื่อป้องกันภยันตรายทั้งปวงในราชอาณาจักร อักขระนะโม จึงเป็นอักขระศักดิ์สิทธิ์แห่งอาณาจักรทะเลใต้

    นะโม อาจหมายถึง “ความนอบน้อม” หรืออาจหมายถึง “หัวใจ” ของคาถาพุทธศาสนาที่ว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส”




    ที่มา Chayasamon Sapsukbaworn

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.springnews.co.th/palace/489092
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 พฤษภาคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...