เรื่องเด่น พระราชปริยัติกวี เปิด ‘เคล็ดลับการปราบกิเลส’

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 28 มีนาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,591
    พระราชปริยัติกวี ศ.ดร. (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มีตำแหน่งและมีหน้าที่รับผิดชอบในหลายภาคส่วน

    เพราะนอกจากจะเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม. และเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวงแล้ว ยังดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อีกด้วย

    โครงการ “เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ” จัดโดย บริษัท ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศไทย ได้นิมนต์อธิการบดี มจร.ท่านนี้ มาบรรยายในหัวข้อ “เคล็ดลับการปราบกิเลส” ซึ่งท่านได้เกริ่นให้ฟังว่า การได้รับรู้เกี่ยวกับหลักพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นการบรรยายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวข้องกับทานศีลภาวนาตามหลักพระพุทธศาสนา จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจถือว่าเป็นบุญเป็นกุศล ซึ่งมีความจำเป็นมากในสังคมปัจจุบันที่จะต้องสร้างบุญบารมีอยู่เนืองๆ

    จะเห็นว่าความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ความร่มเย็นเป็นสุขในการใช้ชีวิตครอบครัว ในหน้าที่การงาน มีส่วนประกอบอย่างน้อย 3ส่วน ส่วนที่ 1 คือความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาการหรือด้านวิชาชีพ ส่วนที่ 2 เป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว ส่วนที่3 สำคัญอย่างยิ่ง คือบุญบารมี ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น

    b88ae0b89be0b8a3e0b8b4e0b8a2e0b8b1e0b895e0b8b4e0b881e0b8a7e0b8b5-e0b980e0b89be0b8b4e0b894-e0b980.jpg

    ในทางพระพุทธศาสนาสิ่งที่เกื้อหนุนให้ประสบความสำเร็จ ใช้คำว่าบุญวาสนาบารมี สิ่งที่เป็นปัญหา เป็นอุปสรรคคอยขัดขวางความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข เรียกว่า “มาร” ในภาษาบาลีแปลว่าทำให้ตาย หรือขัดขวาง แบ่งเป็น 5 อย่างคือ 1. กิเลสมาร หรือกิเลสของตัวเอง มารคือกิเลส 2. ขันธมาร มารคือ ขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นมารเรื่องสุขภาพ เป็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินชีวิต 3. อภิสังขารมาร หมายถึงว่าความคิดของตัวเอง คิดผิด ตัดสินใจผิด 4. เทวบุตรมาร คือคน ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย ลูกน้อง เพื่อร่วมงาน เพื่อนบ้าน มาคอยขัดขวาง เป็นอุปสรรค หรือเพื่อนร่วมงานไม่เป็นกัลยาณมิตร ไม่ส่งเสริม 5. มัจจุมาร คือความตาย

    ในส่วนของ “กิเลสมาร” หลักๆ คือมีโลภะ โทสะ โมหะ ขณะที่ “นิวรณ์” แปลว่าขัดขวาง ไม่ให้บรรลุถึงคุณงามความดี เป็นกิเลสที่ชัดเจน

    “เรื่องกิเลสนี้ไม่ว่าใครก็มีด้วยกันทั้งนั้น มากเท่าๆ กัน มีเท่ากัน แต่บางคนดูเหมือนน้อย บางคนดูเหมือนมากก็ขึ้นอยู่กับวิธีการบริหารจัดการตัวเองว่าจะปล่อยให้ส่วนที่ดีแสดงฐานะและบทบาทอย่างไร และปล่อยให้ส่วนที่ไม่ดีแสดงฐานะและบทบาทอย่างไร จะเห็นว่าบางคนปรากฎกิเลสออกมามาก บางคนปรากฎออกมาน้อยขึ้นอยู่กับกาลเทศะ ขึ้นอยู่กับวิธีการบริหารจัดการจิตของเรา และขึ้นอยู่กับการอบรมบ่มเกลาตัวเราเองด้วย”

    “นิวรณ์” นั้น เป็นเครื่องกีดกั้นขัดขวางความดีงามของจิตมี ๕ อย่างคือ 1. กามฉันทะ พอใจในกามในรูป เสียง กลิ่นรส สิ่งสัมผัส ทำให้ใจไม่นิ่งไม่มีสมาธิ 2. พยาบาท ขุ่นเคืองเคียดแค้น อาฆาต หงุดหงิด 3. ถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอน 4. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญและ 5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

    พระราชปริยัติกวีอธิบายถึงวิธีปราบกิเลสว่า นิวรณ์มี 2 หลักคือ หลักของคนทำมาหากิน กับหลักของพระเจ้าพระสงฆ์ ซึ่งส่วนมากจะเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่คนทำมาหากินเริ่มด้วยทาน ศีลภาวนา ถ้าพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    8ae0b89be0b8a3e0b8b4e0b8a2e0b8b1e0b895e0b8b4e0b881e0b8a7e0b8b5-e0b980e0b89be0b8b4e0b894-e0b980-1.jpg

    “การให้ทานทั้งส่วนที่เป็นสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภคอยู่เนืองๆ ตามฐานะตามกำลัง อย่าให้ทานเกินกำลัง แต่หลักคือให้อยู่เนืองๆ เพราะการให้ทานเป็นพิธีการกำจัดความยึดมั่นถือมั่น ความตระหนี่ของเราให้มีระดับปานกลาง โดยเฉพาะสำคัญอย่างยิ่งคือธรรมทาน ทั้งในรูปแบบของการเป็นกัลยาณมิตร ให้คำแนะนำ ให้คำตักเตือน ให้กำลังใจ ให้ความปรารถนาดี และให้วิชา ฯลฯ ถือเป็นธรรมทานที่ยิ่งใหญ่”

    พระราชปริยัติกวีย้ำว่า ในการปฏิบัติทาน ศีล ภาวนา ในส่วนของศีลต้องให้ครบทั้ง 4 ด้าน ด้านที่ 1 ศีลเป็นข้อๆ แสดงถึงความเป็นคนดีในทางศาสนา ด้านที่ศีล 2 ศีลเป็นเรื่องของการจัดระเบียบตัวเอง ด้านกาย วาจา ด้านที่ 3 ศีลที่เป็นการจัดระเบียบเวลาในการประกอบอาชีพ และดำเนินชีวิตทั่วๆ ไป และด้านที่ 4 ศีล คือการจัดระเบียบการใช้สอยทรัพย์สินเครื่องอุปโภค บริโภคที่ตัวเองหามาได้ในความสุจริต ยุติธรรม ฉะนั้นอย่าไปมุ่งด้านศีลเป็นข้อๆ อย่างเดียว เพราะศีลอีก 3 ด้านที่เหลือแสดงถึงความเป็นคนดีของครอบครัวและสังคม

    สำหรับการรักษาศีล 5 ครบบ้างไม่ครบบ้าง เอาแต่พอประมาณเพราะบางอาชีพก็ไม่สามารถทำได้ครบทั้ง 5 ข้อ อย่างไรก็ตามควรหาโอกาสรักษาอุโบสถศีลหรือ ศีล 8 บ้าง แต่หลักๆ ศีล 5 ต้องให้ได้พอประมาณ จะทำให้มีสมาธิ และสมาธิจะไปช่วยกำจัดนิวรณ์ 5 ทั้งหลาย ซึ่งเทคนิควิธีการสร้างสมาธิอย่างง่ายๆ คือใช้วิธีธรรมชาติ เริ่มด้วยบุญ การทำคุณงามความดี

    “อีกอย่างคือสวดมนต์ ใครชอบบทไหนก็สวดบทนั้น ต้องมีคาถาศักดิ์สิทธิ์ประจำตัว เมื่อจิตเป็นสมาธิก็จะเป็นตัวไปกำจัดนิวรณ์ 5คือกิเลสที่เป็นอุปสรรคขัดขวางความสำเร็จ จึงขอให้ญาติโยมได้มาบำเพ็ญทานศีลภาวนาเพื่อสร้างจิตสมาธิกำจัดนิวรณ์ 5”

    ทั้งหมดนี้เป็นคำแนะนำจากพระราชปริยัติกวีเกี่ยวกับแนวทางในการปราบกิเลส ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะปฏิบัติได้มากน้อยแค่ไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือ การรักษาศีล 5

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/831056
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...