เมื่อลูกมีปัญหา อย่าโทษตนเอง

ในห้อง 'ทุกข์และปัญหาชีวิต' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 16 มกราคม 2008.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    เมื่อลูกมีปัญหา อย่าโทษตนเอง




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับพ่อแม่ โดยเฉพาะการเลี้ยงดูเด็กที่มีปัญหาความบกพร่องทางการเรียนรู้ เพราะพ่อแม่จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจ การดูแลที่ถูกวิธี และการเอาใจใส่ด้วยพลังใจที่เข้มแข็งในการเลี้ยงดู ควบคู่ไปกับการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของลูกรักให้เติบโตขึ้น และความหวังของพ่อแม่ที่ต้องการได้เห็นลูกรักดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างปกติสุข

    ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พ.ญ.วัณเพ็ญ บุญประกอบ หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ปัญหาบุคลิกภาพ ปัญหาด้านปัญญา อารมณ์ หรือโรค ล้วนเป็นปัญหาที่ควรได้รับการดูแลหรืออยู่ในความดูแลของแพทย์ ซึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กคือยารักษาและการพูดคุย

    ส่วนเรื่องสำคัญสำหรับพ่อแม่คือการเข้าใจในการดูแลเด็ก และจำเป็นต้องติดต่อกับแพทย์ที่ดูแลเด็กให้สม่ำเสมอ

    เพราะแพทย์จะเป็นผู้ทดสอบและวินิจฉัยเพื่อทราบว่าเด็กเป็นอะไร จะดำเนินวิธีการช่วยเหลืออย่างไรต่อไป แม้เด็กจะมีปัญหาเชาวน์ปัญญาบ้าง และ/หรือมีปัญหาการเรียนบกพร่องก็ตาม การช่วยเหลือจะมุ่งที่การเรียนอย่างเดียวไม่ได้ แต่จำเป็นต้องช่วยรักษาสภาพจิตใจ อารมณ์ และการปรับตัว รวมถึงการพัฒนาให้เด็กเจริญไปในทิศทางที่เขามีศักยภาพให้เต็มที่
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    การที่เด็กช่วยตนเองไม่ค่อยได้ คิดเลขไม่เป็น วิชาหลักเรียนไม่ได้ การเรียนอ่อนแม้พ่อแม่พยา ยามช่วยเหลือแต่ก็ไม่ดีขึ้น เมื่อมีอะไรมากระทบจิตใจก็จะส่งผลให้เด็กเครียดง่าย โมโหหงุดหงิดง่าย หรือหลบหนีซ่อนตัว ไม่ชอบสังคม ไม่มีเพื่อนฝูง ขาดความมั่นใจ และกินยาก มีพฤติ กรรมการกินซ้ำๆ หรืออาจมีพฤติกรรมอื่นอีก

    ในเด็กบางรายแม้เข้าสู่วัยรุ่นแล้วแต่อาจยังมีอาการซุกซนเหมือนเด็กๆ หรือมีพฤติกรรมปฏิเสธการไปโรงเรียน โดยเฉพาะชั้นมัธยมฯ ขึ้นไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องกลัวเวลาจากพ่อแม่ หรือกลัวโรงเรียนที่พอจะแก้ปัญหาได้ง่ายๆ

    แต่ลักษณะต่างๆ เหล่านี้แสดงถึงการที่เด็กยังไม่รู้จักวิธีจัดการกับอารมณ์และปัญหาให้ตนเองดีพอ หากไม่ได้รับการรักษาและดูแลด้วยวิธีการที่ถูกต้องจากแพทย์ตั้งแต่ต้น เมื่อเด็กเติบโตจึงเห็นปัญหาอารมณ์พฤติกรรมเด่นชัดและอาจมีแนวโน้มจะเป็นปัญหามากขึ้น

    สิ่งสำคัญสำหรับพ่อแม่ในการดูแลลูกที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ คือการไม่โทษตนเอง หรือรู้สึกผิดในการที่ลูกเป็นเช่นนี้

    เนื่องจากสังคมในปัจจุบัน มีพ่อแม่เป็นจำนวนมากที่จำเป็นต้องทำงาน ทำให้ไม่ค่อยได้ดูแลลูกรักได้อย่างเต็มที่ และอาจแบ่งหน้าที่ให้คุณปู่คุณย่าคอยดูแลลูกให้ แต่ในการที่พ่อแม่แสดงความเพียรพยายามในการทดแทน ส่งเสีย เลี้ยงดู นับว่าเป็นการไว้ใจ ไม่ทอดทิ้ง รวมถึงการพยายามดูแลสอนหนังสือ ซึ่งพ่อแม่อาจสังเกตว่าลูกเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้หรือไม่ สามารถดูได้จากผลการเรียนของลูกที่ไม่ดีขึ้น ทั้งๆ ที่พ่อแม่ได้ช่วยเหลือ เอาใจใส่
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    โดยในขั้นแรกไม่ควรมองว่าเด็กขี้เกียจ ไม่ตั้งใจ ไม่สนใจเรียน หรือซุกซน ดื้อดึง แต่ควรมองว่า มีปัญหาอะไรหรือไม่ที่ทำให้ลูกเป็นเช่นนั้น และรีบปรึกษาหารือ หรือพาไปพบแพทย์ให้ทำการรักษา

    ถ้าเด็กเป็นเด็กเชาวน์ปัญญาด้อย หรือมีปัญหาสมองบกพร่องในการเรียนรู้ พ่อแม่อาจช่วยเด็กหรือทดแทนในด้านอื่น เช่น ส่งเสริมด้านที่เด็กถนัด ด้านหัตถการ ฝึกหัดงานบ้าน งานช่าง งานฝีมือ ดนตรี กีฬา และอื่นๆ เพื่อที่เด็กจะสามารถดำเนินชีวิตไปได้ตามศักยภาพที่มี และพ่อแม่จะได้เบาใจขึ้น เนื่องจากการเคี่ยวเข็ญ และทุ่มเทกับการเรียนอย่างเดียวย่อมทำให้เด็กรู้สึกเครียด และอาจเกิดปัญหาอารมณ์ พฤติกรรมตามมา

    เมื่อเข้าสู่การรักษาแล้วพ่อแม่ควรพาลูกไปพบจิตแพทย์ที่ได้ติดต่อกันไว้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง หรือรีบปรึกษาแพทย์เมื่อพบว่าเด็กอาจมีปัญหา เพราะเด็กที่ไม่มีทักษะทางสังคม มีพฤติกรรมซ้ำๆ การเรียนไม่ดี ไม่ค่อยเข้าใจในการเรียนรู้ หรือขาดทักษะในการดำเนินชีวิตตามปกตินั้น ย่อมมีโรคบางอย่างอยู่แล้วก็ได้ รวมถึงการมีอารมณ์ซึมเศร้าที่จะเป็นเรื่องตามมาภายหลัง เมื่อเด็กไม่สามารถจัดการกับตนเอง หรือภาวะแวดล้อมได้ และมีสิ่งกดดันจากภายนอกที่เกินความสามารถของเขา ซึ่งการรักษาลูกน้อยที่ดีคือการทำตามคำแนะนำ และหากมีข้อสงสัยให้รีบปรึกษาหารือแพทย์ผู้รักษาโดยตรง

    มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจ และเรียนรู้วิธีการปฏิบัติต่อเขาอย่างถูกวิธี เพื่อการมีพัฒนาการที่ดีของเด็กที่จะนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ราบรื่นในสังคม รวมถึงการมีสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

    ดังนั้น กำลังใจของพ่อแม่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะบรรเทาและเยียวยาปัญหาของเด็กได้สำเร็จ โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ เพื่อลูกจะได้มีพฤติกรรมที่มั่นคง มีสุขภาพจิตที่ดีและเป็นเด็กดีตามที่คุณพ่อคุณแม่คาดหวังไว้ต่อไป

    สนใจข้อมูลการเลี้ยงดูลูกหรือปรึกษาพฤติกรรมเด็ก ติดต่อได้ที่ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร. 0-2412-0738, 0-2412-9834 www.thaichildrights.org

    [FONT=Tahoma,]หน้า 31[/FONT]

    http://matichon.co.th/khaosod/view_...ionid=TURNeE5BPT0=&day=TWpBd09DMHdNUzB4Tmc9PQ==
     
  2. dad_tintin

    dad_tintin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +93
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ได้ไปใช้กับเจ้าตัวเล็กของผม
     

แชร์หน้านี้

Loading...