เรื่องเด่น นั่งสมาธิหาความสงบ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 8 ตุลาคม 2017.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    meditate-2105143_960_720.jpg

    พระใหม่ : หลวงปู่ครับ ผมจะเลิกทำสมาธิ
    หลวงปู่ : ทำไม
    พระใหม่ : ก็ผมคิดว่าผมบุญน้อย นั่งสมาธิมาเป็นพรรษาแล้ว มันยังไม่สงบเลย ผมคงหมดบุญแล้วครับ
    หลวงปู่ : หึ หึ หึ เออดีๆ ผมจะนิมนต์พระไว้รอ
    พระใหม่ : นิมนต์พระทำไม ครับผม
    หลวงปู่ : ไว้สวดคุณน่ะสิ คุณว่าคุณหมดบุญแล้ว
    พระใหม่ : ยังครับผมหลวงปู่ ผมยังไม่ตาย ผมหมายถึงว่า ผมนั่งสมาธิ นั่งเท่าไหร่เท่าไหร่ ก็ไม่สงบ
    หลวงปู่ : เออ... ถ้ามันสงบแล้วก็ไม่ต้องนั่ง เรานั่งหาความสงบ ถ้าจิตมันเป็นสมาธิแล้วเราจะนั่งทำไม เรานั่งให้มันเป็นสมาธิ ไปยังไม่ถึง มันก็ไม่เจอ ถ้าไม่เจอต้องพยายามต่อไป

    คนทำสมาธิอย่าโง่ มัวแต่หาสงบอย่างเดียว สังเกตปัญญาที่มันเกิดขึ้น ขณะมันยังไม่เป็นสมาธิด้วย เหมือนคนไปหาเห็ด เดินเข้าป่า ไม่ยอมเก็บเห็ด หาว่ามันดอกน้อย ดอกนั้นก็น้อย ดอกนี้ก็น้อย เดินหาดอกใหญ่ รอเจอดอกใหญ่ค่อยเก็บ เดินจนหมดป่าก็ไม่เจอดอกใหญ่ สุดท้ายเลยล้มเลิกเพราะไม่ได้เห็ด ทำสมาธิก็เหมือนกัน มัวแต่หาความสงบจนลืมปัญญาที่เกิดตามทางที่จะไปสู่ความสงบ พิจารณาจนเกิดปัญญา มันเกิดความสุขใจสุขกายจนสงบ ดีกว่าไปสงบแบบโง่ สงบเป็นก้อนหินจะได้ประโยชน์อะไร สงบแบบมีปัญญาดีกว่าสงบแบบโง่ๆ นะ ไปๆ ทำต่อให้มันล้มเหลวมันยังมีค่ากว่าล้มเลิก ถ้าล้มเลิกอย่าไปเที่ยวบอกใครว่าเป็นศิษย์ผมเด้อ.

    “ส ง บ แ บ บ มี ปั ญ ญ า
    ดี ก ว่ า ส ง บ แ บ บ โ ง่ๆ นะ
    ไ ปๆ ท ำ ต่ อ ใ ห้ มั น ล้ ม เ ห ล ว
    มั น ยั ง มี ค่ า ก ว่ า ล้ ม เ ลิ ก ”.


    โอวาทธรรมคำสอน พระญาณวิสาลเถร
    (หา สุภโร) เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว)


    คัดลอกจาก หนังสือ ตามรอยหลวงปู่ภูกุ้มข้าว (ฉบับปฐมบท) หน้า ๕๖-๕๗

    Credit : เจย์ ธัญฑ์มรรฆศ์ วัดป่า


    https://www.facebook.com/แก็งค์ลูกห...งพระ-สร้างวัด-วิหารทาน-อื่นๆ-547623881947157/
     
  2. กายสงบ ใจสบาย

    กายสงบ ใจสบาย พระคาถาเงินล้าน ศักดิ์สิทธิ์จริง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +18
    เวลาที่พระท่านสอนลูกศิษย์เป็นรายบุคคล จำเป็นจะต้องใช้อุบายธรรมต่าง ๆ กัน เพื่อทำให้คนที่ได้ฟังในเวลานั้นเกิดความสนใจ เกิดกำลังใจที่จะปฏิบัติธรรมได้มากขึ้น

    แต่ธรรมะข้อเดียวกันนี้ บางคนฟังแล้วอาจจะมีความสงสัยในบางเรื่อง เหตุเพราะท่านไม่ได้สอนเจาะจงที่คนนั้น แต่ท่านสอนอีกคน โดยเจาะจงเป็นรายบุคคลไปนั่นเอง

    สมาธิที่สงบแบบมีปัญญา คือ

    1. ทำสมาธิจนถึงระดับอุปจารสมาธิขึ้นไป แล้วใช้สมาธิพิจารณาวิปัสสนา ให้มีความเบื่อหน่ายในร่างกาย เบื่อหน่ายในโลก จนจิตปราถนาแต่พระนิพพาน นี้ก็เป็นสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญา

    2. ทำสมาธิจนถึงระดับฌาน 4 ขึ้นไป สามารถที่จะทรงสมาธิได้เป็นเวลานาน ๆ เป็นชั่วโมง เป็นวันได้ตามที่ต้องการ ก็จะสามารถนำกำลังจากสมาธินี้ แล้วนำไปใช้พิจารณาวิปัสสนา ให้มีความเบื่อหน่ายในร่างกาย เบื่อหน่ายในโลก จนจิตปราถนาแต่พระนิพพาน นี้ก็เป็นสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญา

    3. ทำสมาธิจนถึงระดับปฐมฌาน ขึ้นไป ใจมีความต้องการความสงบจากฌานสมาบัติเท่านั้น ซึ่งด้วยกำลังของฌานนี้จะช่วยให้จิตใจสดชื่น ปราศจากกิเลสได้ชั่วคราว จิตมีความสุขสงบเป็นอย่างมาก จิตสดชื่นเบิกบาน ชอบทรงสมาธิในระดับนี้อยู่เสมอ

    นั่งสมาธินิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ๆ เพื่อทรงสมาธิ
    หรือ เดินจงกรมเพื่อทรงสมาธิเป็นเวลานาน ๆ
    หรือ เคลื่อนไหวอิริยาบถทุกอย่างแล้วทรงสมาธิเป็นเวลานาน ๆ

    เพื่อที่จะได้ใช้กำลังสมาธิเป็นทางไปสู่ความเป็นพรหมเมื่อตายจากโลกไปแล้ว และยังเป็นปัจจัยให้มีกำลังในการตัดกิเลสให้เข้าถึงพระนิพพานได้ในอนาคต นี้ก็เป็นสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญาเช่นกัน

    สรุป การทำสมาธิ ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น ประโยชน์ทั้งปัจจุบันและอนาคต
     
  3. นายธนาคาร

    นายธนาคาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2017
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +111
    สาธุครับ
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,041
    เล่าให้ฟังอย่างนี้นะครับ
    ๑.สมาธิระดับอุปจารสมาธิและปฐมฌาน
    ถ้าจะพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญาทางธรรม
    ต้องรู้จักการวางอารมย์เรื่องที่จะพิจารณา
    ระหว่างวันไว้ก่อนนะครับ ไม่งั้นจะยังเป็นตัวจิต
    ที่ยกตัวเองขึ้นพิจารณาได้อยู่ครับ
    เป็นเหตุให้ ไม่ได้ผลครับ หรือจะกลายเป็นวิปัสสนึกได้ครับ
    และกำลังระดับนี้ พอลืมตาจิตจะยังฟูอยู่
    ต้องประมาณเข้าไปอีก ๓ ถึง ๔ ครั้งในเรื่องเดิม
    จะสามารถตัดถึงขั้นละเอียดได้เช่นเดียวกับ
    ในกำลังระดับสูงครับ

    ๒.ถ้าสมาธิในระดับกำลังฌาน ๔ นะครับ
    ย้ำว่า ถ้าเข้าถึงได้ในครั้งแรก ไม่มีทางที่ใครจะ
    สามารถควบคุมจิตตัวเองให้อยู่ในกายได้ครับ
    เพราะจิตนิสัยปกติมันจะชอบท่องเที่ยวออกนอกเป็นประจำ
    แรกๆจะอยู่บริเวณที่ตัวเองนั่งไม่ไกลนั่นหละครับ
    ต้องมาเจริญสติในระหว่างวัน และสะสมกำลังสมาธิเพิ่มขึ้น
    เพื่อมาควบคุมตัวจิต ไม่ให้มันออกไปเปรี้ยวข้างนอกให้ได้ก่อน
    จนกระทั่ง สามารถเข้าสู่ระดับฌาน ๔ ได้ในครั้งที่
    ๓ หรือ ๔ นะครับ พูดได้ว่า จิตกับกายแยกกันเด็ดขาด
    ชั่วคราว และตัวจิตก็อยู่นิ่งๆในกายในตัวเองด้วยนะครับ

    และถ้าถึงจุดนี้ จิตมันจะไปเองได้ ๒ แบบ
    ซึ่งทั้ง ๒ แบบนี้ เราจะไม่สามารถบังคับมันได้ด้วยครับ
    ขึ้นอยู่กับเนื้องหาเดิมแท้ของแต่ละดวงจิต
    คือไปแบบที่
    ๑.วิ่งซ้อนเข้าไปเรื่อยๆ ระเบิดตูมตามไปเรื่อย
    ผลที่ได้คือ ในเวลาปกติ คุณจะมีความสามารถ
    อะไรก็ตามที่จิตเคยสะสมมา มันจะขึ้นมาให้ใช้งาน
    ได้ในเวลาลืมตาปกติครับ(ย้ำว่าใช้งานได้ในเวลาปกติ)
    ๒.วิ่งภายในกายตัวเอง ไปดูอวัยวะต่างๆ จนกระทั่งเกิด
    การระเบิดเสียงดังกึกก้องกัมปนาทครับ
    ตรงนี้จะได้ผลตรงตัด กิเลสได้ถึงละเอียด
    ในเรื่องการยึดมันถือมั่นตัวตนครับ

    สมาธิคือสภาวะหนึ่ง แรกๆเรากำหนดเวลาเพื่อเป็นแนวทางเดิน
    ให้จิตมันคุ้นเคย แต่พอซักพัก มันเข้าได้แล้วก็คือเข้าได้
    ให้ทิ้งเรื่องเวลาไปเลย แล้ว ให้รู้จักการวางอารมย์

    ถามว่า วางอารมย์อะไร ก็ตัวกิเลสต่างๆที่เรารู้ได้
    จากการที่เราเจริญสติในระหว่างวันนั้นหละครับ
    ระลึกแล้วให้ลืมไป พอถึงสภาวะอุปจารสมาธิขึ้นไป
    มันจะผุดขึ้นมาให้เราพิจารณาเองครับ
    ไม่งั้นจะยังเป็นสัญญาความจำได้และทำให้หลุด
    จากสภาวะตรงนั้น หากไม่รู้จักการวางอารมย์
    เรื่องที่จะพิจารณาก่อนครับ

    ส่วนสมาธิที่แท้จริง คือสมาธิที่เกิดจากการปล่อยวาง
    การไปยึดเกาะสิ่งๆต่างๆเข้ามา
    และไม่ใช่ สมาธิที่ใช้ความชำนาญในการข่ม เข้าถึง
    ต่างๆเพื่อให้เกิดสภาวะสมาธินั้นๆนะครับ......


    ส่วนถ้าใครไปถึงฌาน ๔ ได้แล้วสร้างภาพ
    และทิ้งภาพได้ และสร้างภาพขึ้นมาได้อีกและทิ้งอีก
    (ทำไมต้องทำ เพื่อให้มีกำลังเพียงพอที่จะไปต่ออรูปฌาน)
    จิตจะมีกำลังพอเข้าสู่อรูปฌาน
    (ไม่ใช่อรูปแบบนอนๆอยู่ แล้วเหมือนไปอยู่ในอวกาศ
    หรืออรูปแบบเงียบๆ ที่ไม่ต้องฝึก หรือ คล้ายฝันก็เข้าได้
    หรือแบบอรูปฌานแบบไม่ขึ้นรูปมาก่อนนะครับ
    สภาวะนี้ต้องระวัง เพราะหลงตัวเองว่าบรรลุมาหลายคนแล้ว)
    จิตมันจะอยู่ในอรูป ๑ ๒ และ ๓ ได้ของมันเอง
    เพราะกำลังมันเท่ากัน แต่ก็ต้อง วางอารมย์ไว้ก่อน
    ด้วยนะครับ ไม่งั้น มันจะคิดอะไรไม่ได้เลย
    (ต่างกับอุปจารสมาธินะครับ อุปจารสมาธิ ถ้าไม่วางอารมย์
    จะคิดได้แต่จะกลายเป็นสัญญา แต่อรูปฌาน ถ้าไม่วาง
    อารมย์ไว้ก่อน จะไม่มีอะไรผุดและจะคิดอะไรไม่ได้เลย
    เล่าไว้เป็นหลักสังเกตุนะครับ)
    ส่วนอรูปขั้นสุดท้าย ฝึกเอาไม่ได้
    ได้มาจากการทิ้ง พวกที่ทำมาก่อนหน้านั้นทั้งหมดครับ....

    ปล.กำลังสำหรับการเดินปัญญาระหว่างวัน
    ระดับปฐมฌานก็เหลือๆแล้วครับ ถ้าทำได้จริง
    เพราะในระดับกำลังสูง จิตจะไปได้ทางด้านพิเศษต่างๆแทน
    ซึ่งอาจจะทำให้หลงตัวเองได้อย่างคาดไม่ถึง
    ถ้าไม่มาเดินปัญญาต่อครับ

     

แชร์หน้านี้

Loading...