สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
    เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด

    ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด

    ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ

    ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆะบุรุษใน โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้



    ใครกันบ้างล่ะที่ตั้งใจทำตู้พระไตรปิฏกจมน้ำ ทำไมจึงไม่ขัดขวางเขา ทั้งๆที่มีความสามารถ อุปมาบุุคลหนึ่งเดินผ่านบุุคคลผู้เป็นโมฆะบุรุษหนึ่ง โดยที่รู้ว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลพาล กำลังทำลายข้าวของเครื่องใช้แม้พระธรรมคัมภีร์ในธรณีสงฆ์ให้เสียหายมลายสิ้น ยืนหัวเราะยิ้มอย่างสบายใจ แล้วเชียร์โมฆะบุรุษว่า" ท่านผู้ประเสริฐใน ๓ โลก ท่านจงทำอย่างนั้นเถิด ท่านจงทำอย่างนั้นเถิด เราเห็นดีด้วย แล้วก็เดินจากไป
    ท่านจะให้เราทำตามเขาไม่ใช่ฐานะ จงไปตามหาบุคคลที่ท่านต้องการให้ทำแบบนั้นที่อื่นเถิดที่นี่ไม่มี

    ไม่เพียงแต่จะเป็นการรักษาพระไตรปิฏกเพียงเท่านั้น แต่ยังคุ้มครองเหล่าพุทธบริษัทที่ยังใฝ่ศึกษาและพิจารณาไม่ให้ตกไปในที่ชั่วนั้นอีกด้วย

    ส่วนจะมีกี่คนที่พ้นบ่วงแล้ว ตั้งใจเล่าเรียนศึกษาพิจารณาด้วยตนเอง นั่นก็บุญของเขา



    เก็บไฟของท่านเอาไว้เถิดมาร

    ไฟของท่านน่ะเป็นสิ่งที่มีฤทธิ์น้อยไม่อาจเปรียบมหาเตโชธาตุของเราดอก



    "ดูกรพราหมณ์ ไฟ ๓ กองนี้ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ๓ กองเป็นไฉน

    คือ ไฟคืออาหุไนยบุคคล ๑

    ไฟคือคหบดี ๑

    ไฟคือทักขิไณยบุคคล ๑


    ดูกรพราหมณ์ ก็ไฟคืออาหุไนยบุคคลเป็นไฉน ดูกรพราหมณ์ คนในโลกนี้ คือมารดาหรือบิดา เรียกว่าไฟคืออาหุไนยบุคคล ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะบุคคลเกิดมาแต่มารดาบิดานี้ ฉะนั้น ไฟคืออาหุไนยบุคคล จึงควรสักการะ เคารพนับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ (บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ คือ ทำให้ท่านเหล่านั้นมีความสุข ด้วยวิธีที่ถูกต้อง)


    ก็ไฟคือคหบดีเป็นไฉน คนในโลกนี้คือ บุตร ภรรยา ทาส หรือคนใช้ นี้เรียกว่าไฟคือคหบดี ฉะนั้น ไฟคือคหบดีจึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ


    ก็ไฟคือทักขิไณยบุคคลเป็นไฉน สมณพราหมณ์ในโลกนี้ งดเว้นจากความมัวเมาประมาทตั้งอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกฝนจิตใจให้สงบ ดับร้อนได้เป็นเอก นี้เรียกว่าไฟคือทักขิไณยบุคคล ฉะนั้น ไฟคือทักขิไณยบุคคลนี้ จึงควรสักการะ เคารพนับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ


    ดูกรพราหมณ์ ไฟ ๓ กองนี้แลควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ส่วนไฟที่เกิดแต่ไม้ พึงก่อให้โพลงขึ้น พึงเพ่งดู พึงดับ พึงเก็บไว้ตามกาลที่สมควร ฯ"


    บอกตามตรง ธรรมสากัจฉา ปรับอธรรมวาที นี่เป็นเพียงแค่เริ่มต้น ออกเดริฟ์ เล็กๆน้อยๆเท่านั้น ! ของจริงยังไม่ได้เริ่มเลย เมื่อเราออกบวช และดำรงด้วยปาฎิหาริย์ ๓ ในครานั้นอย่าว่าแต่สำนักนี้เลย เหล่าโพธิสัตว์สหชาติธรรมที่ได้บรรลุธรรม ในครานั้น กิจต่อไปก็คือการล้างธรณีสงฆ์ ดำรงสกุล ต่อต้านป้องกันภัยที่ ๕

    อย่าไปคิดว่ามีเพียงเท่านี้ ท่านประเมินผิดแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 66.jpg
      66.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.2 KB
      เปิดดู:
      95
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 สิงหาคม 2016
  2. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    แค่ออเดิร์ฟก็รู้สึกบันเทิงใจทุกครั้งทุกคราว
    ถ้าได้รับเสริฟของจริงจะอิ่มหนำสำราญใจ
    ขนาดไหน ไม่อาจประมาณเลยครับท่านจ่า
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จากกระทู้ http://palungjit.org/threads/พร่องใ...็จผลใดๆ-แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้.548335/page-7


      sornsill
    วันที่สมัคร: Jan 2010
    ข้อความ: 116
    ได้ให้อนุโมทนา: 70
    ได้รับอนุโมทนา 612 ครั้ง ใน 94 โพส
    พลังการให้คะแนน: 124

    permalink
    ผมว่าท่านจ่ายักษ์จะไปในแนวทางฝ่ายมหายาน ซึ่งอาจจะเป็นจริตที่ชอบแบบนั้นก็ปล่อยท่านไปเถอะครับ ถ้าท่านจ่ายักษ์ชอบไปตามแนวทางนั้น ก็คงแล้วแต่จริตท่านจ่ายักษ์ แต่เห็นด้วยกับหลายๆกระทู้ว่าท่านจ่ายักษ์ตอบออกนอกจักวาล น่าเสียดายที่ยังติดอยู่



    จ่ายักษ์
    สักวันท่านจะเห็นจักรวาลที่ข้าพเจ้าเอ่ยถึงตอนนั้นเอง แม้จะไม่อยากเห็นก็ตาม ตอนนี้เรามีสติปัญญาสามารถอธิบายได้เพียงเท่านี้

    เราเห็นแค่ทางไปพระนิพพานเพียงเท่านั้น

    หรือว่าท่านเห็นพระนิพพาน? ถ้าอย่างนั้น ท่านว่าพระนิพพาน อยู่นอกหรืออยู่ในจักรวาล?

    แล้วพระพุทธเจ้าท่านตอบว่าพระนิพพานอยู่ที่ไหน? จักรวาลไหน? แกลแลคซี่ในสหโลกธาตุใด

    คิดดูดีๆ

    คิดก่อนจะพิจารณาเรา เพราะเราตอบตรงมาก เราไม่เคยเลี่ยงตอบ รู้ก็ว่ารู้ รู้ดีด้วย ไม่รู้ก็คือไม่รู้ ไม่ตอบ



    sornsill
    ผมเองคงไม่เห็นจักวาลของท่านหรอกครับ และไม่อยากเห็น ผมแค่รู้ใบไม้ในกำมือเดียวที่พุทธองค์สอนก็พอครับ รู้แค่กายสังขารของตัวผมเองก็พอครับ แค่พิจารณาเรืาองสังขารกายของผมเองยังไม่จบเลยครับ ผมก็จะพิจารณาไปอย่างนี้เรื่อยๆ ก็อนุโมทนากับท่านจ่ายักษ์นะครับ ที่จะรู้เรื่องจักวาลในอนาคตกาล ผมจะไม่ตอบทานอีกแล้วนะครับ จะไปพิจารณาสังขารตัวเองก่อน เอวัง...สาธุในธรรม



    จ่ายักษ์
    เมื่อไม่เห็นแล้วไม่อยากจะเห็นจักรวาลของเรา แล้วท่านรู้ได้อย่างไร? ว่าเราตอบออกนอกจักรวาล!

    พิจารณา เห็นหรือยัง? อย่าพลาดพันตนเอง! ผมรู้ว่าท่านจะตอบประโยคผม แบบนี้ เพราะเดาทางออก จึงเพิ่มลงไปคำพูดน่ะ ขอโทษด้วย

    ชัดเจนนะ อย่าด่วนสรุป เดี๋ยวจะเข้าใจผิด อะไรที่เราไม่เคยเห็นแต่มีจริงอยู่มีอีกมาก มันต้องอยู่ในเหตุและผล เสียดาย ถ้าเหตุผลของเรา ทำให้ท่านไม่รู้และเข้าใจ เราสุดอธิบายขยายความ คนโกหกปลิ้นปล้อนน่ะพูดความจริงไม่ได้หรอก คนที่เชื่อคนแบบนั้น ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ โปรดพิจารณา

    สำหรับเราขอยกคตินี้ ดีชั่วอย่าคาดหวัง ความจริงเผยก็รู้เอง เราไม่อยากให้ท่านอธิษฐานผิด ท้าทายคนผิด จะเสียใจอีกนานแสนนาน ถ้าเป็นความจริง ท่านต้องปล่อยวาง จะจริงก็มีทางอยู่แล้วเป็นที่พึ่ง พึ่งพิจารณาเพียงเท่านั้น จะเท็จก็กรรมของผู้พูดผู้กระทำผิด นี่จึงถูก ถ้าเรายืนยันด้วยการฆ่าตัวตาย เพื่อบูชาธรรม แม้เพียงนั้นท่านก็ไม่เชื่อเราหรอก ปริพาชกพบพระพุทธเจ้ายังไม่ได้อะไร แถมยังสั่นหัวใส่ แล้วจะให้เราคาดหวัง จะเอาอะไรกับท่าน ทำอะไรกับท่านได้ เราสุดปัญญา


    15-04-2015, 10:09 PM

    จ่ายักษ์
    สมาชิก
     
    วันที่สมัคร: Aug 2014
    สถานที่: สหโลกธาตุ
    ข้อความ: 1,489
    ได้ให้อนุโมทนา: 5,464
    ได้รับอนุโมทนา 1,964 ครั้ง ใน 1,202 โพส
    Infractions: 0/1 (300)
    พลังการให้คะแนน: 272

    permalink
    น่าน ....คุยเรื่องอานิสงค์แห่งศีล ไปเกี่ยวกับกาลเวลาและการฟังธรรมเสียแล้ว กินอานิสงค์เข้าไปแล้วยังมิรู้ตัว อีก! ท่านเอยรู้รสชาติอานิสงค์หรือยัง ว่ามี ท่านตอบไม่ได้ก็แทนที่จะบอกกันดีๆ ว่ากุศลบุญจากการฯลฯที่สั่งสมไว้ในอดีตชาติ เราอาศัยในชาตินี้ด้วยได้ไหม? แล้วเขาสำเร็จได้อย่างไร? ทว่า ศีลไม่เคยมี มรรค ๘ ทางสายกลางก็ไม่เคยรู้ แล้วพระโสดาได้มายังไง นึกเอาเองรึ โอ้พระพุทธศาสนา มิสิ้นเหมือนดังท่านว่าแล้วรึ ไม่มีอดีตหรือจะมีอนาคต

    ไข้ขึ้นไหม?ครับ รู้สึกตัวหรือเปล่า? แกล้งหลอกถาม ลองภูมิผมหรือเปล่าน่ะ เรื่องนี้จบตั้งแต่ [BUDDHA]ท่านสอนพราหมณ์แล้วครับ เกิดมาผมเชื่อเลย ท่านไม่เคยพิจารณาแก่น พระพุทธศาสนา ตีโจทย์ไม่แตก ผมคิดว่า ท่านแกล้งผม หลอกดูภูมิผมสหายธรรม ท่านว่า สาวกภูมิ นั้นถูกดีแล้ว ท่านแน่ใจหรือ ว่าท่านไม่ใช่ คนอื่นก็ด้วย และถ้าเรื่องที่ผมเล่าเป็นความจริง ก็มีแต่พวกท่านนี่แหละที่จะหายสงสัย ทำไมคนทั้งโลกจึงไม่รู้ อย่าคิดว่าตัวเองจะไม่เห็น รอเวลาเถอะครับ จุติธรรมเมื่อไหร่ จุติธรรมในท่านด้วย พวกท่านจะรักโคตรภูสงฆ์อย่างผมในตอนนี้ มากที่สุด สุดกัลยาณมิตรเลยก็ว่าได้ ว่าไปขนาดยอมตายแทนนู่น เรามีศัตรูร่วมกัน คือกิเลส แล้ว ยังเหลือ พวกนั้น ที่กำลังจะมา พูดละคิดถึงเอเลี่ยนเลยล่ะ
    รูปขนาดเล็ก
     
    Share
    sianns likes this.
    Last edited by จ่ายักษ์; 18-04-2015 at 02:33 PM.


    รู้นานแล้ว แต่แสดงไปตามอนุปุพพิกถา พูดถึงแต่ไม่กล่าวแสดง เพื่อทดสอบและร่อนกรวดร่อนทรายหาเอาทองเสมอกัน

    การอยากให้ บางทีก็เหมือนจับเขาไปโยนลงไปในมหาสมุทร ถ้าเขาไม่พร้อมจะรับรู้รับฟัง ก็เหมือนกับบุคคลที่ว่ายน้ำคลองเก่ง แต่เหนื่อยน้ำทะเล แม้แต่เราเองก็เหมือนกัน ไม่ได้สมบูรณ์พร้อมไปทุกๆด้านทุกๆเรื่อง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2016
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สรุป อัศจรรย์แท้ วีดีโอ อยู่มานาน เกิดกระแสอะไร? ขึ้นหรือ จึงมีการลบวีดีโอการแสดงรายการชื่อของ บทสวดมนต์ที่ทางสำนักวัดนาป่าพง กล่าวหาว่าเป็นคำแต่งใหม่ เป็นเดรัจฉานวิชา

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น    คำว่า เจดีย์  หมายถึง  ควรบูชา ควรสักการะด้วยจิตที่อ่อนโยนนอบน้อม    ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา แสดงเจดีย์ไว้ ๓ อย่าง คือ    ปริโภคเจดีย์(สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้สอย     มี บาตร จีวร เป็นต้น      รวมถึงต้นโพธิ์  ซึ่งเป็นต้นไม้เป็นที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ด้วย)  อุทเทสิกเจดีย์ หรือ อุทิสสิกเจดีย์ (พระพุทธรูป   ที่ผู้มีศรัทธาสร้างขึ้นเพื่อคารพสักการะบูชาน้อมระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)  และ   ธาตุกเจดีย์ (พระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)      

    ดังข้อความจากอรรถกถา นิธิกัณฑสูตร ดังนี้      พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ ๓๑๓

      ในคาถานั้น ชื่อว่า เจติยะเพราะควรก่อ  ท่านอธิบายว่า ควรบูชาชื่อว่า เจติยะ  เพราะวิจิตรแล้ว.   
    เจดีย์นั้นมี  ๓  อย่าง   คือ   บริโภคเจดีย์   อุทิสสกเจดีย์   ธาตุกเจดีย์.

         บรรดาเจดีย์ทั้ง  ๓ นั้น  โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า  บริโภคเจดีย์     พระพุทธปฎิมา   ชื่อว่า  อุทิสสกเจดีย์   พระสถูปที่มีห้องบรรลุพระธาตุ  ชื่อว่า   ธาตุกเจดีย์.์ 


     อุทิสสกเจดีย์        เป็นเดรัจฉานวิชา สำหรับ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และสาวกวัดนาป่าพง

    งั้นเอาวีดีโอตัวนี้ต่อครับ จะลบไหมครับ

    คึกฤทธิ์สอนสาวก รูปหล่อ รูปปั้นเป็นเดรัจฉานวิชา

    เรื่องรูปปั้น รูปหล่อ เป็นเดรัจฉานวิชา


    https://youtu.be/LRqITEuCu1A?list=PLdiN41LWNrukGBgBmoZgaoPbjxk57qRZ6


    อย่าคิดว่าไม่มีใคร โหลดไว้นะครับ ลบไปก็เท่านั้น ! หนังสือเดรัจฉานวิชาก็แจก จะหนีกรรมที่ตนก่อไว้หรือครับ ทำได้เท่านี้หรือครับ


    รวมเดรัจฉานวิชา สำนักวัดนาป่าพง โดย คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และสาวกแห่งสำนักวัดนาป่าพงนำเสนอแจกจ่าย
    ที่มาที่ไปของประเพณีผิด อันเกิดจากคำแต่งใหม่ 117
    40. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป 118
    41. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การฟังเทศน์มหาชาติ 122
    พระสัมมาสัมพุทธะ นามว่าเมตเตยยะ โดยพุทธวจน 122
    พระสัมมาสัมพุทธะ นามว่าเมตเตยยะ โดยคำแต่งใหม่ 123
    42. ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับการกรวดน้ำอุทิศบุญ 126
    43. ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับการทำน้ำมนต์ 128
    44. ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับอานิสงส์ของการสวดมนต์ 130
    45. บทสวดมนต์ยอดนิยม เป็นคำแต่งใหม่ 133
    บทสวดสัพพมังคลคาถา เป็นคำแต่งใหม่ 133
    บทสวดพาหุง (พุทธชัยมังคลคาถา) เป็นคำแต่งใหม่ 134
    คาถาชินบัญชร เป็นคำแต่งใหม่ 135
    บทสวดอภยปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 137
    บทสวดอาฏานาฏิยปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 138
    บทสวดโพชฌงคปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 139
    บทสวดชัยปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 140
    บทสวดอุทิศบุญกุศล (ปัตติทานคาถา) เป็นคำแต่งใหม่ 141


    http://download.watnapahpong.org/data/static_media/12_buddhavacana_tiracchanvijja-20141029.pdf


    ดูอยู่ล่ะสิ ดังไหม?ล่ะ ดังแล้วเดี๋ยวก็ดับ พวกที่ถือหางข้าง เตรียมตัวโกยเผ่นอ้าว ได้แล้ว


    **********************************************************************************

    อย่าลืมเรื่องนี่ด้วย เถรคาถา คาถาของพระอรหันต์ คึกฤทธิ์ และสาวก จะแก้หรือไม่แก้ ไปปรึกษากันให้ดีๆ จะสบถโกรธแค้นอะไรกันขนาดนั้น ทำกรรมกันไว้เอง

    นอกจากลัทธิศาสนาของเดียร์ถีย์ปริพาชกที่ต่อต้านไม่ยินดีในคำภาษิตของพระอรหันต์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังมีสำนักอื่นใดใครกัน?ที่ต่อต้านสั่งสอนให้ ไม่ยินดีครวญใคร่ รับฟังในคำภาษิตของพระอรหันต์

    ใครจะมีภูมิญานหยั่งรู้หรือไม่ว่า? ตนเองก็เคยได้เป็นญาติมิตรศิษย์สหายกัลยาณมิตรของพระสาวกที่เป็นอรหันตสาวกทั้งหลายเหล่านี้ มาเป็นอเนกอนันตชาติแล้ว และได้สร้างบุญกุศลร่วมกันมามากนับต่อนับที่เกี่ยวพันเกี่ยวเนื่องกันมาโดยตลอดในกาลนั้น

    และที่สำคัญ กำลังของพระอรหันตสาวก นั้นเป็นแรงจิตอธิษฐานที่มีอานุภาพมาก ที่ได้พิจารณาธรรมไว้ตามกาลตามเหตุ เพื่ออนุเคราะห์แก่ญาติมิตรสหายในกาลล่วงไปข้างหน้านับต่อนับ ด้วยแรงจิตอธิษฐานนั้น เป็นพลานิสงส์อันเป็นพลวปัจจัยที่จะชี้นำแนะแนวให้สัตว์เกิดดำรงสติปัญญาในธรรม ให้เจริญขึ้นได้ตามจริตธรรมที่ได้บันทึกจารึกไว้ ให้ผู้มีอุปนิสัยใจคอคล้ายคลึงกันตามจริตกรรมมัฎฐาน และเป็นตัวอย่างในการพิจารณาธรรม โดยสามารถนำเข้าสู่ความเจริญในพระสัทธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าต่อไป

    สำนักใดใครกัน?ดูหมิ่นดูแคลนคำของพระอรหันต์สาวกและเหล่าพุทธบริษัทที่เจริญดีแล้วในพระพุทธศาสนาจักห่างไกลมรรคผลที่สมควรมีควรได้จะประสบทุกข์อันมิใช่น้อยอย่างยาวนานในสังสารวัฎ




    เถรคาถา คาถาของพระอรหันต์
    https://youtu.be/HJd1HUlLUqI?list=PL...YY9Unyjcvi0olB
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2016
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    {O}องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระบรมมหาศาสดา{O}

    ทรงตรัสสอนเหล่าเวไนยสัตว์เอาไว้ว่า

    จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
    องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต


    พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
    เมื่อเล็งเห็นประโยชน์สูงสุด พึงสละทั้งอวัยวะ และชีวิต เพื่อรักษาธรรมไว้



    ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
    นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดจำนนโดยพยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี
    นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนักพูด ๔ จำพวกนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔ พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔



    (f)

    คนเราทุกๆคนเกิดมาต้องตาย ชีวิตนี้ถวายอุทิศเป็นพุทธบูชาให้แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แด่พระสัทธรรม แด่พระสงฆ์ผู้อยู่ในสารคุณ ในพระพุทธศาสนา

    ไม่ต้องหวังดีขนาดที่จะต้องมาเป็นห่วงเป็นใย หรือกลัวใครที่จะมาอาฆาตถึงขนาดขู่ฆ่าขู่ทำร้าย ทำลายชีวิตเราและครอบครัวหรอก เกิดมาชาตินี้ตายครั้งเดียว ตายก็ได้บุญอานิสงส์

    คงเข้าใจนะ




    สำหรับพวกหวังดีประสงค์ร้าย

    เตือนล่วงหน้าแจ้งวันที่เวลาด้วย อย่ามาทำเป็นมีญานหยั่งรู้ ไอ้พวกตระหนี่ธรรม ๕ ประทุษร้ายสกุล อย่าเอามาเปรียบว่าเป็นพวกเดียวกันหรือมีสถานะเสมอกัน อย่าช้า มาให้ไวๆ มาไม่ถูกเดี๋ยวให้พิกัดที่อยู่ ๗๗๖๘๘๙ รีบๆมา แสดงธรรมยุทธ์พ่ายแพ้ขู่ฆ่าเอาชีวิต สาปแช่งตั้งแต่เริ่มบทสนทนา ไม่ใช่คนโง่ที่จะมองเจตนาไม่ออก เอาให้มันแน่ๆ



    ไอ้พวกเห่าใบตองแห้ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2016
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,636
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    . .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เรื่องตำราโบราณ จารึกศิลา
    มีเรื่องนี้
    เรื่องพุทธานุญาตให้เรียนอรรถกถาต่างๆ ปรากฎขึ้นในสมัย ร.๔

    ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ตามหลักฐานที่มี สำนักวัดนาป่าพงของคึกฤทธิ์และสาวกที่ดูหมิ่นอรรถกถา ถึงคราววิบัติซวยครั้งมโหฬาร

    พระพุทธานุญาตใหเรียนปกขคณนา
    มีเรื่องในบาลีอุโบสถขันธมหาวัควินัยวา พระสงฆืเดินเขาไปบิณฑบาตในบาน มนุษยทั้งหลายถามวาวันนี้เปนดิถีเทาไหรของปกษ พะสงฆตอบวา เราทั้งหลายไมรูเลย ชาวบานจึงนินทายกโทษวาภิกษุทั้งหลายเหลานี้ แตสักวานับปกษไมรูจะรูอะไรที่ดีไปกวานี้เลา ความนั้นทราบถึงพระพุทธเจา พระองคจึงทรงอนุญาตใหเลาเรียนการนับปกษ พระสงฆทั้งปวงสงสัยว่าจะใหใครเรียนการนับปกษเอาความกราบทูลถาม พระองคจึงตรัสอนุญาตวาให ภิกษุทั้งหลายทั้งปวง หมดดวยกันทั้งนั้นเรียนนับปกษ ฯ


    ตําราปกขคณนา
    ดวยดูนิทานนี้ก็เห็นความชัด วาครั้งพุทธกาลนั้น การที่จะเรียนสูตรเปนตําราสําหรับนับปกษใหถูกนั้นมีสูตรนั้นไมไดนับ ดวยเดือนดวยปแลขึ้นแลแรม ใหนับแตตามลําดับปกษเหมือนอยางวา ตํารานั้นจะไมสูงายนักเชนถือกันในเมืองนี้ชาวบานจึงตองถามพระสงฆไมถามกันเอง แลครั้งนั้นพระสงฆยังไมไดเรียนจึงตอบวาไมรู แลวิธีนั้นไมสูยากนักเขาจึงนินทา วาแตสักวาปกขคณนาก็ยังไมรู แลการนั้นก็ไมสูยากนัก จนถึงมาเปนกังวลกีดขวางแกทางสมถวิปสสนา พระพุทธเจาจึงทรงอนุญาตใหเรียนคือตองเลาตองบนตองจำ วิธีอยางธรรมเนียมใชปเดือนในแผนดินสยามนี้ งายนักไปใครๆ ก็รู ไมตองถึงเลาบนจํา ก็การเรียนวิชาโหรทําปฏิทินทายสุริยคาห จันทรคาห ยากนักไปตองคูณตองหารตองเปนกังวลมากในศาสนาจึงติเตียนวาเปนติรฉานวิชา

    ก็วิธีปกขคณนามาเชนวา เปนของไมยากนักแลเปนที่จะใหรูวันอุโบสถ แลวันธรรมสวนะ เมื่อเขาถามจะไดบอกแกเขาใหถูกตอง ไมตองไดความสบประมาทนินทาดวย ไมเปนกังวลกีดขวางแกการเลาเรียนพระพุทธศาสนานัก พระองคจึงโปรดใหเรียน แลอรรถกถาตางๆ วาสั่งสอนอุกฤษฏในทางคตะปจจาคตวัตร พระสงฆถือเจริญกรรมฐานทั้งไปทั้งมา อธิษฐานการไมพูดไมเจรจา อมน้ําเขาไปเพื่อบิณฑบาตแลว ก็ยังมีบังคับไววาเมื่อชาวบานเขาถามวา วันนี้ดิถีเทาไร ก็ใหถือน้ําเสียบอกแกเขาก็ที่ทานวาดังนี้เพราะเคารพแกการที่วาในบาลีอุโบสถขันธ ฯ


    .ตํารานับปกขของเกาสูญกลายเปนบอกฤดู
    ก็เรื่องนิทานปกขคณนามาสอบสวนกันเมื่อเวลาลงประชุมทําอุโบสถดังนับภิกษุนั้น เพราะพระองคอนุญาตใหเรียนดวยกันทุกรูปทั้งหมด แตกําหนดปกขคณนาดังวานี้ สาบสูญไปเสียนานแลว จึงกลายเปนบอกฤดูที่เรียกวา อุตุกขานํ นั้นขึ้นแตในอรรถกถา แลอุตุกขานํนั้น ก็ไมมีในบาลีอุโบสถขันธ ดังหนึ่งกวาด แลตามประทีป แลปูอาสน แลตั้งน้ําใชน้ําฉัน แลน้ําฉันทปาริสุทธิ แลนับภิกษุ แลใหโอวาทนางภิกษุณี ที่มีในบาลีชัดๆ นั้นเลย แลการที่ชาวบานเขาจะถาม เขาก็ไมไดถามวาฤดูนี้ฤดูอะไร จะหนาวฤารอน ฝนฤาแลง เขาก็เห็นอยูเองไมตองถาม อนึ่ง ในฤดูนั้นจะลงโบสถกี่ครั้ง ไดลงแลวกี่ครั้ง ยังกี่ครั้ง มิใชธุระปะปงของเขา เขาจะถามทําไม การที่ทําอยูก็สักวาทําไป ไมสมไมรวมกับนิทานที่มาในบาลี ผูจะเรียนจะศึกษาใหชอบกับเหตุผล จงคิดดูจงดีเถิด ฯ

    สมุดไทยดําเรื่อง “ตําราปกขคณนา”ฉบับนี้เปนตําราการคํานวณปฏิทินทางจันทรคติที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๔ ทรงคิดคนและนิพนธขึ้น ปกขคณนา คือการนับปกษ๒ หรือนับวันในรอบครึ่งเดือนของขางขึ้นขางแรม ซึ่งเปนวิธีการนับปกษที่มีความแมนยําสูงมาก เนื่องจากปฏิทินจันทรคติฆราวาส หรือปฏิทินจันทรคติราชการมักจะมีความคลาดเคลื่อนไดภายในป มวาจะกําหนดอยางไรก็ตาม การกําหนดนั้นทําไดอยางมากคือ คลาดเคลื่อนนอยที่สุดภายในปดังนั้นพระองคจึงมีพระบรมราชานุญาตใหนําการคํานวณปกขคณนานั้นไปใชทําปฏิทินพระทุกป แทนที่ปฏิทินฆราวาสความรูเรื่อง “ปกขคณนา” นี้มีนักปราชญผูรูไดศึกษาและไดแตงไวหลายทานดวยกันดังนี้๓

    ๑. พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ผูทรงริเริ่มศึกษาคนควาจนทําใหเกิดมีตําราปกขคณนานี้ขึ้นมาในประเทศไทยเปนครั้งแรก และทรงนําเอาปฏิทินทางจันทรคติมาใชในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเปนพระองคแรก
    ๒. พระมหาสมณเจา กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ ทรงเชี่ยวชาญตําราและปฏิทินทางจันทรคติ โดยเฉพาะปกขคณนา งานของทานเปนที่นับถือและใชกันอยางกวางขวาง
    ๓. พระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงนิพนธเรื่องปกขคณนา และความรูเกี่ยวกับประวัติความเปนมาตลอดจนการใชปฏิทินทางจันทรคติ
    ๔. พระยาบริรักษเวชชการ (บริรักษ ติตติรานนท) ขอเขียนของทานใหความรูเกี่ยวกับการคํานวณอธิกมาสอธิกวาร และวิธีใช โดยเปนการประยุกตหลักการหลายแบบเขาดวยกัน
    ๕. นายฉิ่ง แรงเพชร ไดเขียนคําอธิบายเกี่ยวกับปกขคณนาที่นารู พรอมตัวอยางปกขคณนาสําเร็จ ซึ่งเปนสวนหนึ่งของปฏิทินปูมปกขคณนาของมหามกุฏราชวิทยาลัย ปพ.ศ. ๒๔๗๙
    ๖. พระราชภัทราจารย (ลอย สิริคุตฺโต ป.ธ. ๖) วัดโสมนัสวิหาร ไดใหความรูเรื่อวปกขคณนาดวยคําอธิบายแบบงายๆ

    ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ตามหลักฐานที่มี สำนักวัดนาป่าพงของคึกฤทธิ์และสาวกที่ดูหมิ่นอรรถกถา ถึงคราววิบัติซวยครั้งมโหฬาร


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=4595&Z=4728

    หน้าที่สวดปาติโมกข์
    [๑๗๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระนครราชคฤห์ตามพระพุทธาภิรมย์
    แล้ว เสด็จจาริกโดยมรรคาอันจะไปเมืองโจทนาวัตถุ เสด็จจาริกโดยลำดับ ลุถึงเมืองโจทนา
    วัตถุแล้ว. ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง มีภิกษุอยู่ด้วยกันมากรูป. บรรดาภิกษุเหล่านั้น
    พระเถระเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด. ท่านไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธี
    สวดปาติโมกข์ จึงภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แล้วว่า ปาติโมกข์
    เป็นหน้าที่ของพระเถระ ก็พระเถระของพวกเรารูปนี้เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้อุโบสถ หรือ
    วิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์หรือวิธีสวดปาติโมกข์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้ว
    กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใดเป็นผู้ฉลาด สามารถ เราอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่ของภิกษุ
    รูปนั้น.

    ทรงให้ส่งภิกษุไปศึกษาปาติโมกข์

    [๑๗๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่ด้วยกัน
    มากรูป ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด. พวกเธอไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์
    หรือวิธีสวดปาติโมกข์. พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระว่า ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ ขอรับ.
    ท่านตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้. ภิกษุทั้งหลายจึงอาราธนาพระเถระ
    รูปที่ ๒ ว่า ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ ขอรับ. แม้ท่านก็ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
    เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้. ภิกษุทั้งหลายจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ ๓ ว่า ขอพระเถระจงสวด
    ปาติโมกข์ ขอรับ. แม้ท่านก็ตอบ อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้. ภิกษุ
    เหล่านั้นได้อาราธนาจนถึงพระสังฆนวกะ โดยวิธีนี้แหละว่า ขอคุณจงสวดปาติโมกข์. แม้เธอก็
    ตอบอย่างนี้ว่า ผมสวดปาติโมกข์ไม่ได้ ขอรับ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

    พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวัน
    อุโบสถ ภิกษุในศาสนานี้อยู่ด้วยกันมาก ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด. พวกเธอไม่รู้อุโบสถ
    หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์. พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระว่า
    ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ ขอรับ. ท่านตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์
    ไม่ได้. พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ ๒ ว่า ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ ขอรับ. แม้ท่าน
    ก็ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้. พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ ๓
    ว่า ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ ขอรับ. แม้ท่านก็ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวด
    ปาติโมกข์ไม่ได้. พวกเธอได้อาราธนาจนถึงพระสังฆนวกะ โดยวิธีนี้แหละว่า ขอคุณจงสวด
    ปาติโมกข์. แม้เธอรูปนั้นก็ตอบอย่างนี้ว่า ผมสวดปาติโมกข์ไม่ได้ ขอรับ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียง พอจะกลับมา
    ทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า ดูกรอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดยพิสดารมา.

    ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า จะพึงส่งภิกษุรูปไหนหนอไป แล้วกราบทูล
    เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
    อนุญาตให้ภิกษุผู้เถระบัญชาภิกษุผู้นวกะไป.

    ภิกษุนวกะทั้งหลายอันพระเถระบัญชาแล้วไม่ยอมไป. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น
    แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธ
    อันพระเถระบัญชาแล้วจะไม่ยอมไปไม่ได้ รูปใดไม่ยอมไป ต้องอาบัติทุกกฏ.


    พระพุทธานุญาตให้เรียนปักขคณนา

    [๑๗๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เมืองโจทนาวัตถุตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว
    เสด็จกลับมายังพระนครราชคฤห์อีก. ก็โดยสมัยนั้นแล ชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายที่กำลังเที่ยว
    บิณฑบาตว่า ดิถีที่เท่าไรแห่งปักษ์ เจ้าข้า? ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวก
    อาตมาไม่รู้เลย. ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า แม้เพียงนับปักษ์ พระสมณะเชื้อสาย
    พระศากยบุตรเหล่านี้ก็ยังไม่รู้ ไฉนจะรู้คุณความดีอะไรอย่างอื่นเล่า. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
    เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราอนุญาตให้เรียนปักขคณนา.


    ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงเรียนปักขคณนา
    แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทุกๆ รูปเรียนปักขคณนา.

    ก็โดยสมัยนั้นแล ชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายที่กำลังเที่ยวบิณฑบาตว่า ภิกษุมีจำนวน
    เท่าไร เจ้าข้า? ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกอาตมาไม่รู้เลย. ชาวบ้าน
    จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า แม้พวกกันเอง พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้
    ก็ยังไม่รู้ ไฉนจักรู้ความดีอะไรอย่างอื่นเล่า. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
    พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุ.

    ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า เมื่อไรหนอเราพึงนับภิกษุ แล้วกราบทูล
    เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เราอนุญาตให้นับ
    ภิกษุด้วยเรียกชื่อหรือให้จับสลากในวันอุโบสถ.

    พระพุทธานุญาตให้บอกวันอุโบสถ

    [๑๗๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่าวันนี้เป็นวันอุโบสถ ไปบิณฑบาต
    ณ หมู่บ้านที่ไกล. พวกเธอมาถึงเมื่อกำลังสวดปาติโมกข์ก็มี มาถึงเมื่อสวดจบแล้วก็มี. ภิกษุทั้ง
    หลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ.

    ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงบอก แล้วกราบทูล
    เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราอนุญาตให้ภิกษุเถระบอกแต่เช้าตรู่.

    สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่ง เวลาเช้าตรู่ระลึกไม่ได้. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น
    แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
    อนุญาตให้บอก แม้ในเวลาภัตตกาล. แม้ในเวลาภัตตกาล พระเถระนั้นก็ระลึกไม่ได้. ภิกษุทั้งหลาย
    จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกในกาลที่ตนระลึกได้.

    บุพพกรณ์และบุพพกิจในโรงอุโบสถ

    [๑๗๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง โรงอุโบสถรก. พวกพระอาคันตุกะ
    พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่กวาดโรงอุโบสถเล่า. ภิกษุทั้งหลาย
    กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เราอนุญาตให้กวาดโรงอุโบสถ.

    ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงกวาดโรงอุโบสถ แล้ว
    จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถระบัญชาภิกษุนวกะ.

    ภิกษุนวกะทั้งหลายอันพระเถระบัญชาแล้วไม่ยอมกวาด. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น
    แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธ
    อันพระเถระบัญชาแล้ว จะไม่กวาดไม่ได้ รูปใดไม่กวาด ต้องอาบัติทุกกฏ.

    สมัยต่อมา ในโรงอุโบสถ ไม่มีใครปูอาสนะไว้. ภิกษุทั้งหลายนั่งที่พื้นดิน. ทั้งตัว
    ทั้งจีวร เปื้อนฝุ่น. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัส
    อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูอาสนะในโรงอุโบสถ.

    ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอ พึงปูอาสนะในโรงอุโบสถ
    แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระบัญชาภิกษุนวกะ.

    ภิกษุนวกะทั้งหลายอันพระเถระบัญชาแล้วไม่ปูอาสนะ. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น
    แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธ
    อันพระเถระบัญชาแล้ว จะไม่ปูอาสนะไม่ได้ รูปใดไม่ปู ต้องอาบัติทุกกฏ.

    สมัยต่อมา ในโรงอุโบสถ ไม่ได้ตามประทีปไว้. เวลาค่ำคืนภิกษุทั้งหลายเหยียบกาย
    กันบ้าง เหยียบจีวรกันบ้าง แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาต
    แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามประทีปในโรงอุโบสถ.

    ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงตามประทีปในโรงอุโบสถ
    แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระบัญชาภิกษุนวกะ.

    ภิกษุนวกะทั้งหลาย อันพระเถระบัญชาแล้วไม่ยอมตามประทีป. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล
    เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ไม่อาพาธอันพระเถระบัญชาแล้ว จะไม่ตามประทีปไม่ได้ รูปใดไม่ตามประทีป ต้องอาบัติทุกกฏ.
    จะไปไหนต้องอาปุจฉาก่อน


    [๑๘๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปด้วยกันเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไปสู่ทิศ ไม่อำลา
    พระอุปัชฌาย์ อาจารย์. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค
    รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้หลายรูปด้วยกันเป็นผู้เขลา
    ไม่ฉลาด ไปสู่ทิศ ไม่อำลาพระอุปัชฌาย์ อาจารย์. พวกเธออันพระอุปัชฌาย์ อาจารย์พึงถามว่า
    ท่านทั้งหลายจักไปไหน? จักไปกับใคร? ถ้าพวกเธอเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด พูดอ้างถึงภิกษุ
    เหล่าอื่นที่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดด้วยกัน พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ ไม่พึงอนุญาต ถ้าอนุญาต
    ต้องอาบัติทุกกฏ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด อันพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ ไม่อนุญาต
    ถ้ายังขืนไป ต้องอาบัติทุกกฏ.


    พึงสงเคราะห์พระพหูสูต
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้อยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งมากรูปด้วยกัน ล้วนเป็น
    ผู้เขลา ไม่ฉลาด. พวกเธอไม่รู้อุโบสถหรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์.
    ภิกษุรูปอื่นมาในอาวาสนั้น เป็นผู้คงแก่เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
    เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีความละอาย รังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    เหล่านั้นพึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ปราศรัย บำรุงเธอด้วยจุณดิน ไม้ชำระฟัน น้ำบ้วนปาก
    ถ้าไม่สงเคราะห์ อนุเคราะห์ ปราศรัย บำรุงด้วยจุณดิน ไม้ชำระฟัน น้ำบ้วนปาก ต้องอาบัติ
    ทุกกฏ.

    ทรงให้ส่งพระไปเรียนปาติโมกข์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ ภิกษุในศาสดานี้อยู่ด้วยกัน
    มากรูป ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด. พวกเธอไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์
    หรือวิธีสวดปาติโมกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียง
    พอจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า ดูกรอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อ หรือโดย
    พิสดารมา. ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นทุกๆ รูปพึงพากัน
    ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุรู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์ ถ้าไม่พา
    กันไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

    ทรงอนุญาตให้จำพรรษาในอาวาสที่มีผู้สวดปาติโมกข์ได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ อยู่จำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่งมากรูปด้วยกัน
    ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด. พวกเธอไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธี
    สวดปาติโมกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียง พอจะ
    จะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า ดูกรอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดยพิสดาร
    มา. ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปชั่วระยะกาล ๗ วัน
    ด้วยสั่งว่า ดูกรอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดยพิสดารมา. ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้น
    อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสนั้น ถ้าขืนอยู่ ต้อง
    อาบัติทุกกฏ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2016
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ สมัยเดียวกันกับประเทศลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ๙ สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ไม่น้อยกว่า ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้

    พระพุทธศาสนา สมัยทวาราวดี
    ผืนแผ่นดินจุดแรกของอาณาจักรสุวรรณภูมิ หรือที่เรียกกันว่า "แหลมทอง" ซึ่งท่าน พระโสณะกับพระอุตตระได้เดินทางจากชมพูทวีปเข้ามาประดิษฐานนั้น จดหมายเหตุของหลวงจีนเหี้ยนจัง เรียกว่า "ทวาราวดี" สันนิษฐานว่าได้แก่ที่จังหวัดนครปฐม เพราะมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ ศิลารูปพระธรรมจักร เป็นต้น ปรากฏว่าเป็นหลักฐานประจักษ์พยานอยู่ พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในครั้งนี้ เป็นแบบเถรวาทดั้งเดิม พุทธศาสนิกชนได้มีความศรัทธาเลื่อมใสบวชเป็นพระภิกษุจำนวนมาก และได้สร้างสถูปเจดีย์ไว้สักการะบูชา เรียกว่า สถูปรูปฟองน้ำ เหมือนสถูปสาญจีในอินเดีย ที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างขึ้น ศิลปะในยุคนี้เรียกว่า ศิลปะแบบทวาราวดี

    พระพุทธศาสนา สมัยอาณาจักรอ้ายลาว
    พระพุทธศาสนาในยุคนี้เป็นแบบมหายาน ในสมัยที่ขุนนางเม้ากษัตริย์ไทย ก่อนที่จะอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยปัจจุบัน ครองราชย์อยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว ได้รับเอาพระพุทธศาสนามหายานผ่านมาทางประเทศจีน โดยการนำของพระสมณทูตชาวอินเดียมาเผยแผ่ ในคราวที่พระเจ้ากนิษกะมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๔ ของฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร พระสมณทูตได้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอเซียกลาง พระเจ้ามิ่งตี่ กษัตริย์จีนทรงรับพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในจีน และได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรอ้ายลาว คณะทูตได้นำเอาพระพุทธศาสนามาด้วย ทำให้หัวเมืองไทยทั้ง ๗๗ มีราษฎร ๕๑,๘๙๐ ครอบครัว หันมานับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นครั้งแรก

    พระพุทธศาสนา สมัยศรีวิชัย พ.ศ. ๑๓๐๐
    อาณาจักรศรีวิชัยในเกาะสุมาตราเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ได้แผ่อำนาจเข้ามาถึงจัดหวัดสุราษฎร์ธานี กษัตริย์ศรีวิชัยทรงนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน พระพุทธศาสนาแบบมหายานจึงได้แผ่เข้ามาสู่ภาคใต้ของไทย ดังหลักฐานที่ปรากฏคือเจดีย์พระบรมธาตุไชยา พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และรูปหล่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

    พระพุทธศาสนา สมัยลพบุรี พ.ศ. ๑๕๕๐
    ในสมัยกษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมันเรืองอำนาจนั้น ได้แผ่อาณาเขตขยายออกมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ในราว พ.ศ. ๑๕๔๐ และได้ตั้งราชธานีเป็นที่อำนวยการปกครองเมืองต่าง ๆ ในดินแดนดังกล่าวขึ้นหลายแห่ง เช่น
    เมืองลพบุรี ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวาราวดี ส่วนข้างใต้
    เมืองสุโทัย ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวาราวดีส่วนข้างเหนือ
    เมืองศรีเทพ ปกครองหัวเมืองที่อยู่ตามลุ่มแม่น้ำป่าสัก
    เมืองพิมาย ปกครองเมืองที่อยู่ในที่ราบสูงต้อนข้างเหนือ
    เมืองต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นนี้เมืองลพบุรีหรือละโว้ ถือว่าเป็นเมืองสำคัญที่สุด กษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมัน ทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมต่อมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ฝ่ายมหายานในสมัยนี้ผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนในอาณาเขตต่าง ๆ ดังกล่าว จึงได้รับพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิมด้วย กับแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ด้วย ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนา ๒ แบบ และมีพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน และภาษาสันสกฤตอันเป็นภาษาหลักของศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็ได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในด้านภาษาและวรรณคดีไทยตั้งแต่บัดนั้นมา สำหรับศาสนสถานที่เป็นที่ประจักษ์พยานให้ได้ศึกษาถึงความเป็นมาแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยครั้งนั้น คือพระปรางค์สามยอดที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทหินเขาพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยนั้นก็เป็นแบบขอม ถือเป็นศิลปะอยู่ในกลุ่ม ศิลปสมัยลพบุรี

    พระพุทธศาสนา สมัยเถรวาทแบบพุกาม
    ในสมัยที่พระเจ้าอนุรุทธมหาราช กษัตริย์พุกามเรืองอำนาจ ทรงรวบรวมเอาพม่ากับรามัญเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง จนถึงลพบุรี และทวาราวดี พระเจ้าอนุรุทธทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทรงส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ส่วนชนชาติไทย หลังจากอาณาจักรอ้ายลาวสลายตัว ก็ได้มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้า ถึงประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๙ ขุนท้าวกวาโอรสขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้า ได้สถาปนาอาณาจักรโยนกเชียงแสนในสุวรรณภูมิ หลังจากนั้นคนไทยก็กระจัดกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน เมื่อกษัตริย์พุกาม (กัมพูชา) เรืองอำนาจ คนไทยที่อยู่ในเขตอำนาจของขอม ก็ได้รับทั้งศาสนาและวัฒนธรรมของเขมรไว้ด้วย ส่วนทางล้านนาก็ได้รับอิทธิพลจากขอมเช่นเดียวกัน คือเมื่ออาณาจักรพุกามของกษัตริย์พม่าเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้ ดังเห็นว่ามีปูชนียสถานแบบพม่าหลายแห่ง และเจดีย์ที่มีฉัตรอยู่บนยอด และฉัตรที่ ๔ มุมของเจดีย์ ก็ได้รับอิทธิพลมาจากพุกามแบบพม่า

    พระพุทธศาสนา สมัยสุโขทัย
    หลังจากอาณาจักรพุกามและกัมพูชาเสื่อมอำนาจลง คนไทยจึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นเอง ๒ อาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรล้านนา อยู่ทางภาคเหนือของไทย และอาณาจักรสุโขทัย มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดสุโขทัยปัจจุบัน เมื่อพ่อขุนรามคำแหงเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงสดับกิตติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกา จึงทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช ซึ่งเป็นพระเถระชาวลังกาที่มาเผยแผ่อยู่ที่นครศรีธรรมราช มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ได้เข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ถึง ๒ ครั้ง คือครั้งที่ ๑ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ครั้งที่ ๒ ในสมัยพระเจ้าลิไท พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก กษัตริย์ทุกพระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรม มีความสงบร่มเย็น ประชาชนเป็นอยู่โดยผาสุก ศิลปะสมัยสุโขทัยได้รับการกล่าวขานว่างดงามมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีลักษณะงดงาม ไม่มีศิลปะสมัยใดเหมือน

    พระพุทธศาสนา สมัยอยุธยา
    พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลของพราหมณ์เข้ามามาก พิธีกรรมต่าง ๆ ได้ปะปนพิธีของพราหมณ์ เน้นความขลังความศักดิ์สิทธิ์ และอิทธิปาฏิหาริย์ มีเรื่องไสยศาสตร์เข้ามาปะปนอยู่มาก ประชาชนมุ่งเรื่องการบุญการกุศล สร้างวัดวาอาราม สร้างปูชนียวัตถุ บำรุงศาสนาเป็นส่วนมาก ในสมัยอยุธยาต้องประสบกับภาวะสงครามกับพม่า จนเกิดภาวะวิกฤตทางศาสนาหลายครั้ง ประวัติศาสตร์อยุธยาแบ่งเป็น

    อยุธยาตอนแรก (พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑)
    ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบร่มเย็น ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงผนวชเป็นเวลา ๘ เดือน เมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๘ และทรงให้พระราชโอรสกับพระราชนัดดาผนวชเป็นสามเณรด้วย สันนิษฐานว่าเป็นการเริ่มต้นของประเพณีการบวชเรียนของเจ้านายและข้าราชการ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการรจนาหนังสือมหาชาติคำหลวง ใน พ.ศ. ๒๐๒๕

    สมัยอยุธยาตอนที่สอง ( พ.ศ. ๒๐๓๔ - ๒๑๗๓)
    สมัยนี้ได้มีความนิยมในการสร้างวัดขึ้น ทั้งกษัตริย์และประชาชนทั่วไป นิยมสร้างวัดประจำตระกูล ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้พบพระพุทธบาทสระบุรี ทรงให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาทไว้ และโปรดให้ชุมชนราชบัณฑิตแต่งกาพย์มหาชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐ และโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกด้วย

    สมัยอยุธยาตอนที่สาม (พ.ศ. ๒๑๗๓ - ๒๓๑๐)
    พระมหากษัตริย์ที่มีพระนามยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้ ได้แก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงมีบทบาทอย่างมากทั้งต่อฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สมัยนี้พวกฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกับไทย และได้พยายามเผยแผ่ศาสนา และทูลขอให้พระนารายณ์เข้ารีต แต่พระองค์ทรงมั่นคงในพระพุทธศาสนา ทรงนำพาประเทศชาติรอดพ้นจากการเป็นเมืองของฝรั่งเศสได้ เพราะมีพระราชศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง

    สมัยอยุธยาตอนที่สี่ (พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๑๐)
    พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีบทบาทมากในยุคนี้ ได้แก่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเสวยราช เมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๕ การบวชเรียนกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงยุคหลัง ถึงกับกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นขุนนาง มียศถาบรรดาศักดิ์ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการบวชเรียนมาเท่านั้น จึงจะทรงแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ให้ ในสมัยนี้ได้ส่งพระภิกษุเถระชาวไทยไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศลังกาตามคำทูลขอของกษัตริย์ลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ จนทำให้พุทธศาสนากลับเจริญรุ่งเรืองในลังกาอีกครั้ง จนถึงปัจจุบัน และเกิดนิกายของคณะสงฆ์ไทยขึ้นในลังกา ชื่อว่า นิกายสยามวงศ์ นิกายนี้ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน

    พระพุทธศาสนา สมัยกรุงธนบุรี
    ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาถูกพม่ายกทัพเข้าตีจนบ้านเมืองแตกยับเยิน พม่าได้ทำลายบ้านเมืองเสียหายย่อยยับ เก็บเอาทรัพย์สินไป กวาดต้อนประชาชนแม้กระทั่งพระสงฆ์ไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก วัดวาอารามถูกเผาทำลาย ครั้นต่อมาพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำในการกอบกู้อิสระภาพ สามารถกอบกู้เอกราชจากพม่าได้ ทรงตั้งราชธานีใหม่ คือเมืองธนบุรี ทรงครองราชและปกครองแผ่นดินสืบมา ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและสร้างวัดเพิ่มเติมอีกมาก ทรงรับภาระบำรุงพระพุทธศาสนารวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกจากหัวเมือง มาคัดเลือกจัดเป็นฉบับหลวง แต่ไม่ยังทันเสร็จบริบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน ต่อมา พ.ศ. ๒๓๒๒ กองทัพไทยได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์มายังประเทศไทย ภายหลังพระองค์ถูกสำเร็จโทษเป็นอันสิ้นสุดสมัยกรุงธนบุรี

    พระพุทธศาสนา สมัยรัตนโกสินทร์
    รัชกาลที่ ๑ (๒๓๒๕ - ๒๓๕๒)
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ต่อจากพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงย้ายเมืองจากธนบุรี มาตั้งราชธานีใหม่ เรียกชื่อว่า "กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์" ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆเช่นสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสระเกศ และวัดพระเชตุพน ฯ เป็นต้น ทรงโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๙ และถือเป็นครั้งที่ ๒ ในประเทศไทย ณ วัดมหาธาตุ ได้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย ทรงจัดให้มีการสอบพระปริยัติธรรมทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนาพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒

    รัชกาลที่ ๒ (๒๓๕๒- ๒๓๖๗)
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ เป็นทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณ ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชถึง ๓ พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราช( สุก ) สมเด็จพระสังฆราช( มี ) และสมเด็จพระสังฆราช ( สุก ญาณสังวร)
    ในปี พ.ศ. ๒๓๕๗ ทรงจัดส่งสมณทูต ๘ รูป ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา ได้จัดให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๐ ซึ่งแต่เดิมก็เคยปฏิบัติถือกันมาเมื่อครั้งกรุงสุโขทัย แต่ได้ขาดตอนไปตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จึงได้มีการฟื้นฟูวันวิสาขบูชาใหม่ ได้โปรดให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการสอบไล่ปริยัติธรรมขึ้นใหม่ ได้ขยายหลักสูตร ๓ ชั้น คือ เปรียญตรี -โท - เอก เป็น ๙ ชั้น คือชั้นประโยค ๑ - ๙

    รัชกาลที่ ๓ (๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงเพิ่มจำนวนขึ้นไว้อีกหลายฉบับครบถ้วนกว่ารัชกาลก่อน ๆ โปรดให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา และวัดเฉลิมพระเกียรติ ได้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ได้เกิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ

    รัชกาลที่ ๔ (๒๓๙๔ -๒๔๑๑)
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เมื่อทรงเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎได้ผนวช ๒๗ พรรษาแล้วได้ลาสิกขาขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๒๓๙๔ ด้านการพระศาสนา ทรงพระราชศรัทธาสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด เช่นวัดปทุมวนาราม วัดโสมนัสวิหาร วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และวัดราชบพิตร เป็นต้น ตลอดจนบูรณะวัดต่าง ๆ อีกมาก โปรดให้มีพระราชพิธี "มาฆบูชา" ขึ้นเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงทุกวันนี้

    รัชกาลที่ ๕ (๒๔๑๑ - ๒๔๕๓)
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ทรงยกเลิกระบบทาสในเมืองไทยได้สำเร็จ ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น คือวัดวัดราชบพิตร วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางนิมิตร วัดจุฑาทิศราชธรรมสภา และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ทรงบูรณะวัดมหาธาตุ และวัดอื่น ๆ อีก ทรงนิพนธ์วรรณกรรมทางพุทธศาสนาจำนวนมาก โปรดใหั้มีการเริ่มต้นการศึกษาแบบสมัยใหม่ในประเทศไทย โดยให้พระสงฆ์รับภาระช่วยการศึกษาของชาติ ครั้น พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก ณ วัดมหรรณพาราม ถึงปี พ.ศ. ๒๔๑๔ โปรดให้จัดการศึกษาแก่ประชาชนในหัวเมือง โดยจัดตั้งโรงเรียนในหัวเมืองขึ้น
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกรมธรรมการเป็นกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน) โปรดให้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทย จบละ ๓๙ เล่ม จำนวน ๑,๐๐๐ จบ พ.ศ. ๒๔๓๒ โปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิตบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร จากในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกมาเป็นบาลีวิทยาลัย ชื่อมหาธาตุวิทยาลัย ที่วัดมหาธาตุ และต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้ประกาศเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูงของพระภิกษุสามเณร
    ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจัดตั้ง "มหามกุฏราชวิทยาลัย" ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุตินิกาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิดในปีเดียวกัน

    รัชกาลที่ ๖ (๒๔๕๓- ๒๔๖๘)
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระปรีชาปราดเปรื่องในความรู้ทางพระศาสนามาก ทรงนิพนธ์หนังสือแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เป็นต้น ถึงกับทรงอบรมสั่งสอนอบรมข้าราชการด้วยพระองค์เอง ทรงโปรดให้ใช้ พุทธศักราช (พ.ศ.) แทน ร.ศ. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ให้เปลี่ยนกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเปลี่ยนวิธีการสอบบาลีสนามหลวงจากปากเปล่ามาเป็นข้อเขียน เป็นครั้งแรก
    พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงเริ่มการศึกษาพระปริยัติธรรมใหม่ขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง เรียกว่า "นักธรรม" โดยมีการสอบครั้งแรกเมื่อ เดือนตุลาคม ๒๔๕๔ ตอนแรกเรียกว่า "องค์ของสามเณรรู้ธรรม"
    พ.ศ. ๒๔๖๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ โปรดให้พิมพ์คัมภีร์อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกและอรรถกถาชาดก และคัมภีร์อื่น ๆ เช่นวิสุทธิมรรค มิลินทปัญหา เป็นต้น

    รัชกาลที่ ๗ (๒๔๖๘ - ๒๔๗๗)
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๓ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นการสังคายนาครั้งที่ ๓ ในเมืองไทย แล้วทรงจัดให้พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ชุดละ ๔๕ เล่ม จำนวน ๑,๕๐๐ ชุด และพระราชทานแก่ประเทศต่าง ๆ ประมาณ ๕๐๐ ชุด โปรดให้ย้ายกรมธรรมการกลับเข้ามารวมกับกระทรวงศึกษาธิการ และเปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการอย่างเดิม โดยมีพระราชดำริว่า "การศึกษาไม่ควรแยกออกจากวัด" ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๑ กระทรวงธรรมการประกาศเพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษาสำหรับนักเรียน ได้เปิดให้ฆราวาสเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม โดยจัดหลักสูตรใหม่ เรียกว่า "ธรรมศึกษา" ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ของไทย เมื่อคณะราษฎร์ได้ทำการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๘

    รัชกาลที่ ๘ (๒๔๗๗ - ๒๔๘๙)
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่อยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชเป็นรัชกาลที่ ๘ ในขณะพระพระชนมายุ เพียง ๙ พรรษาเท่านั้น และยังกำลังทรงศึกษาอยู่ในต่างประเทศ จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
    ในด้านการศาสนาได้มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
    ๑. พระไตรปิฎก แปลโดยอรรถ พิมพ์เป็นเล่มสมุด ๘๐ เล่ม เรียกว่าพระไตรปิฎกภาษาไทย แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ และได้ทำต่อจนเสร็จเมื่องานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐
    ๒. พระไตรปิฎก แปลโดยสำนวนเทศนา พิมพ์ใบลาน แบ่งเป็น ๑๒๕๐ กัณฑ์ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวง เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒
    พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ และกรมธรรมการเปลี่ยนเป็น กรมการศาสนา และในปีเดียวกัน รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการปกครองแบบใหม่
    พ.ศ. ๒๔๘๘ มหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ชื่อ "สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย" เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม
    พ.ศ. ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ถูกลอบปลงพระชนม์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราช เป็นรัชกาลที่ ๙ รัชกาลปัจจุบัน

    สมัยรัชกาลที่ ๙ (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ สืบมา)
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นราชกาลที่ ๙ สืบต่อมา ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงเป็นศาสนูปถัมภก ทรงให้การอุปถัมภ์แก่ทุกศาสนา และทรงปกครองบ้านเมืองโดยสงบร่มเย็น ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในรัชสมัยรัชกาลปัจจุบัน ได้มีการส่งเสริมพุทธศาสนาด้านต่าง ๆ มากมาย ดังนี้
    - ด้านการศึกษา ประชาชนได้สนใจศึกษาพุทธศาสนามากขึ้นตามลำดับ ได้มีการจัดตั้งสมาคม มูลนิธิทางพุทธศาสนาเพื่อการศึกษามากมาย มีการจัดตั้งชมรมพุทธศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ พ.ศ. ๒๔๙๐ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยฝ่ายพระพุทธศาสนาขึ้น เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๔๙๐ และเปิดการศึกษาเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๐ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนการศึกษาของพระสงฆ์ได้มีการยกระดับมาตรฐานการศึกษา เช่นยกระดับมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง คือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้เปิดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และมีนโยบายจะเปิดระดับปริญญาเอกในอนาคต ได้มีการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยสากลทั่วไป และได้ออกกฏหมาย พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง โดยรัฐสภาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ มีชื่อว่า "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ "มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย" ปัจจุบันนี้ได้มีวิทยาเขตต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง เช่น เชียงใหม่ พะเยา แพร่ ลำพูน นครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา หนองคาย นครปฐม นครศรีธรรมราช เป็นต้น ส่วนการศึกษาด้านอื่น ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญ ระดับประถมปลาย และ ม.๑ ถึง ม.๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเปิดการสอนพุทธศาสนาแก่เด็กและเยาวชน จนได้แพร่ขยายไปทั่วประเทศ
    - ด้านการเผยแผ่ ได้มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทั้งในและต่างประเทศ ในประเทศไทยได้มีองค์กรเผยแผ่ธรรมในแต่ละจังหวัด โดยได้จัดตั้งพุทธสมาคมประจำจังหวัดขึ้น ส่วนพระสงฆ์ได้มีบทบาทในการเผยแผ่มากขึ้น โดยใช้สื่อของรัฐ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเอาวิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาภาคบังคับแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตั้งแต่ ม. ๑ ถึง ม. ๖ พระสงฆ์จึงได้มีบทบาทในการเข้าไปสอนในโรงเรียนต่าง ๆ มีการประยุกต์การเผยแผ่ธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการบรรยาย ปาฐกถา และเขียนหนังสืออธิบายพุทธธรรมมากขึ้น ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่นมีพระเถระนักปราชญ์ชาวไทยในยุคนี้ ได้แก่ ท่านพุทธทาสภิกขุ และพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นต้น ในต่างประเทศได้มีการสร้างวัดไทยในต่างประเทศหลายวัด เช่นวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นวัดไทยแห่งแรกในต่างประเทศ ต่อจากนั้นได้มีการสร้างวัดไทยในประเทศตะวันตก คือวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิด เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ นับเป็นวัดไทยวัดแรกในประเทศตะวันตก ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้มีการสร้างวัดแห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอเนีย ชื่อว่า วัดไทยลอสแองเจลิส ปัจจุบันมีวัดไทยในสหรัฐอเมริกา ประมาณ ๑๕ วัด นอกจากนั้นได้มีองค์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทย ได้จัดให้มีการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศขึ้นประจำทุกปี เพื่อส่งไปเผยแผ่พุทธศาสนาในต่างประเทศ โดยเฉพาะทางตะวันตก ปัจจุบันนี้ชาวตะวันตกได้หันมาสนใจพุทธศาสนากันมาก ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้มีการจัดตั้งสำนักงานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกขึ้น ณ ประเทศไทย ( พ.ส.ล. ) เพื่อเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธทั่วโลก
    - ด้านพิธีกรรม ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เป็นพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ ให้เป็นพิธีของรัฐบาล เรียกว่า "รัฐพิธี" โดยให้กรม กระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้จัด จัดให้มีงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาช่วงวันวิสาขบูชาของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จแทนพระองค์ในพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนาเช่นวันวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา ณ พุทธมณฑล ซึ่งสร้างขึ้น เมื่อคราว ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
    - ด้านวรรณกรรม ได้มีวรรณกรรมทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นมากมาย มีปราชญ์ทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นหลายรูป จึงได้เกิดวรรณกรรมทั้งประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองมากมายหลายเล่ม เช่นพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ของท่านพุทธทาสภิกขุ หนังสือ พุทธธรรม ของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นต้น
     
  10. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    สาธุครับ คุณจ่ายักษ์

    เห็นด้วยกับคุณนะ ครับ

    ผมแสดงความเห็นเล็กๆเท่าที่เข้าใจนะครับ

    เอาเฉพาะการกำเนิดศาสนาในสุวรรณภูมินะครับ

    เมื่อพระพุทธองค์ ไว้ศาสนาห้าพันปี
    ท่านย่อมมรู้ความเป็นไป ของศาสนาท่านเป็นอย่างดี
    ด้วยพระโพธิญาณ ทรงหยั่งทราบเหตุการณ์ต่างๆ
    ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

    ท่านทรงเตรียมไว้หลายอย่างเพื่อให้ศาสนาอายุห้าพันปี

    เท่าที่มุนษย์ทราบ
    เช่น หลวงพ่อมหากัปสปมหาเถระเจ้า
    นำพระธาตุ(ชิ้นเนื้อหน้าอก)มาเก็ปไว้ที่นครพนพ
    (พระธาตุส่วนเกิดจากหลวงพ่อกัปสปะเถระเดินทาง
    มาเผาพระศพ ก่อนเผ่าศพ ท่านไปยืนที่ฝ่าเท้า
    แล้วอธิฐาน ว่า พระธาตุส่วนส่วนให้ จะไปทำงาน
    ศาสนายุคหลังกึ่งพุทธกาล)

    2การมาของพระเถระที่พระเจ้าอโศกส่งมาถิ่นนี้
    (อันนี้ทราบกันดี มีหลักฐานปรากฏ)
    พระเถระพยากรณ์ สุวรรณภูมิศาสนาครบห้าพันปี

    ส่วนที่เทวดาทราบ

    พระพุทธเจ้าทำนายจะมีธรรมราชโพธิญาณ
    (อยู่ในความดูแลพระโพธิสัตว์ใหญ่สองท่าน)
    กำเนิดในกึ่งพุทธกาลจะมาทำหน้าที่ซ่อมเรือ
    (เกี่ยวกับบารมี30ทัศ)

    2 พระศรีอริยเมตไตรมาช่วยศาสนาของพระศาสดา
    เนื่องจากต้องซ่อมเรือขึ้นมาใหม่
    ต้องอาศัยบารมี30ทัศ ส่วนพระศรีเตรียมไว้ให้
    (เพราะท่านเป็นนิยตโพธิสัตว์นานมาก)
    ท่านทราบความเป็นของศาสนาพระพุทธโคดมอย่างดี

    มาตอนนี้ก็ถึงกลางศาสนาแล้ว
    ทุกอย่างที่พระศาสดาเตรียมไว้ ก็ ทำงาน..
    เมื่อเหตุพร้อม ผลก็ตามมาเอง

    จบไปเรื่องศาสนาห้าพันปี...
     
  11. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ส่วนวัดป่านาพงค์

    ผมทราบเหตุของมัน...

    ไม่ขอกล่าวถึง

    เกมส์กำลังทำงานอยู่ มันจะประจักษ์อีกไม่นาน

    ส่วนของพระไตรปิกฏ
    พระพุทธองค์ทราบดีถึงเหตุที่จะเกิดในศาสนาของท่าน
    ท่านก็เตรียมตัวบุคคลไว้แล้ว
    พระวินัยธร กับ พระธรรมถึก ภิกษุ1000รูป
    จะมาชำระพระไตรปิฏก
    ตอนนี้เป็นเด็กอยู่(เขียนได้แค่นี้)
    จบ (มีข้อมูลเท่านี้) ถูกผิดอย่างไร พิจรณาเอาเอง

    ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2016
  12. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ความเห็นส่วนตัวนะครับ

    ผมว่าน่าจะปล่อยท่านไปก่อนน่าจะเหมาะกว่า
    เขาจะมาจากศาสนาไหนก็ช่าง
    ก็เขาบวชเป็นพระอยู่ เรื่องสันดารคนนั้นแก้ยาก
    เขาจะบิดเบือนไปขนาดไหนก็ตาม..

    ก็มีบุคคลมาทำความสะอาดเองครับ...
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จากใจศิษย์สำนักวัดนาป่าพง
    "การที่จะให้ใครช่วยงานธรรม จะเป็นพระ หรือฆราวาส ถ้ารู้ธรรมของพระองค์อย่างคล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดอย่างดีด้วยความเห็นแล้ว..จะเป็นใครก็ได้ เพราะธรรมะจะฆราวาส หรือภิกษุ ธรรมะของพระองค์ก็ความหมายเดียวกันไม่เป็นอื่น เพราะผู้ที่จะทำได้ ปัญญาต้องมีอย่างมากเช่นกัน"

    *** ต่อไปเป็นความเห็นจากเพื่อนสมาชิก***

    ลดคำแต่งใหม่เหลือแต่คำตถาคตหรอ ไม่ทราบว่าผู้ที่เอ่ยหรือเขียนไว้บนคำโฆษณานั้นเขาไปอยู่ในสมัยพุทธกาลได้ยินได้ฟังคำพูดจากปากของพระพุทธเจ้าท่านทุกคำเลยหรอ ถึงได้กล้ามาบอกว่าเหลือแต่คำตถาคตอะครับ ผมว่าคิดเองเออเองทั้งนั้น

    อย่างน้อยพระพุทธเจ้าท่านก็ไม่เคยเอาธรรมะคำสอนมาเป็นสิ่งของซื้อขาย ลด 70% กันแบบนี้หรอกครับ แม้กระทั่งวันที่จะปรินิพพานท่านยังให้โอวาทแก่สุภัทปริพาชกไปปฏิบัติ และให้บวชจนได้บรรลุอรหันต์ในไม่นาน พระพุทธเจ้าท่านทำงานโปรดเหล่าสัตว์จนถึงวาระสุดท้ายโดยไม่เคยต้องการเงินทองหรือสิ่งใดตอบแทน

    ใครก็ตามที่กำลังเอาธรรมะมาบิดเบือน อวดอ้าง เกทับ เพียงเพื่อแสวงหาเงินทองเข้ากระเป๋าตัวเอง กรรมอันหนักได้เกิดขึ้นแก่คุณแล้ว


    โต้ตอบจากศิษย์วัดนา

    บักPiagk3 สาวกวัดนาป่าพง ที่มาเผยแผ่คำคึกบอก************ท่านตีความหมายผิดแล้ว ของคำว่าลด70% มันไม่ใช่ในทางการค้า แต่ความหมายของผู้โปรโมทหนังสือ คือ 70 % ของของเนื้อหา ในพระไตรปิฎกที่เป็นอรรถกถาที่ถูกแต่งใหม่โดยสาวกที่แทรกอยู่ ถูกตัดออกไปต่างหาก

    ข้อสังเกตุ
    70 เปอร์เซนต์ในเนื้อหา พระไตรปิฏกบาลีสยามรัฐ ถูกตัดออกไปหมด เหลือ 30 เปอร์เป็นคำตถาคต แล้วที่บอกว่าลอกมาทั้งหมดตรงๆ ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรดี จะแถไปไหนก็พันคอตนเองหมด

    เดี่ยวมีแถตัดจากเล่มอื่น แล้วมันจะไปเกี่ยวกับเล่มอื่นฉบับอื่นหรือสำนักอื่นได้อย่างไร? ในเมื่อบอกว่าลอกมาจากบาลีสยามรัฐเท่านั้น

    ในเมื่อตัดที่มีมาในสยามรัฐออก ไป70 เปอร์เซนต์ตามโพย ก็แปลว่า บาลีสยามรัฐก็มีคำปลอมไม่แตกต่าง พระไตรปิฏกฉบับอื่น เพราะฉนั้น ก็ไม่สามารถเอามาการันตีได้ ว่า พระไตรปิฏกสยามรัฐเป็นต้นแบบที่ถูกต้องที่สุด ขนาดสยามรัฐที่เป็นแบบมันยังตัดออก 70 เปอร์เซนต์แล้วมันจะเหลืออะไร? กดโปรแกรมคลิกง่ายๆ ค้นหา84000 พันพระธรรมขันธ์ กดคลิ๊กเดียว หายไปหมดเลย ทั้ง 84000ฯจริงๆ ตามนี้แล คึกเอย



    สรุป เอาบาลีสยามรัฐมาเป็นต้นแบบ ได้ยังไง ทั้งๆที่เมิงก็ตัดออก70เปอร์เซนต์ จะแตกต่างจากพระไตรปิฏกสำนักอื่นแค่ไหนกัน และที่อ้างว่าของสำนักอื่นๆล้วนเอาต้นแบบมาจากสยามรัฐทั้งนั้น แต่สำนักวัดนาป่าพงไม่เอาตาม แต่จงใจตัดทอนต้นแบบเองเลย ไอ้ที่ตัดออกนี่ ไปเอาต้นแบบมาจากสำนักไหนอีกวะ ฮ่าๆ ฉบับสวนโมกข์เหรอ เห็นว่าไปตัดของสวนโมกข์จนเขาด่าเอาอีก งั้นปิฏกต้นแบบของไอ้คึกเนี่ย มันมาจากโลกธาตุไหนกัน ไอ้คึกเอ๊ย ตายน้ำตื้นจริงๆ

    อกตัญญูแม้บาลีสยามรัฐที่ลอกมา ระยำเถร ไหลเถร งมเถร

    [ame]https://youtu.be/dWcDsWE4Aus[/ame]

    จบสิ้นสำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกสร้างพุทธวจนปลอม

    จบเนาะ

    สวัสดี จบบริบูรณ์ ผู้ร้ายตายทั้งเป็น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    (kiss)เดือน ตุลาคม ถัดไปหลังจากนี้คงต้องย้ายไปออกราชการสนามที่กองร้อยครับ ไปอยู่แถวป่าภูเขา เพราะมีการเคลื่อนย้ายสับเปลี่ยนกำลัง ด้วยสัญญานหรือ การใช้ internet คงจะไม่มีและยากแก่การมาร่วมสนทนาต่างๆ หาโอกาสโม้ยาก

    “ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ    ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ  
     เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ    น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารีฯ” 


    “ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมบุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้  นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ” 


    ภารกิจทางโลกบีบคั้น ทางธรรมไปปฎิบัติเอาในป่า จะได้มีเวลาพิจารณาในส่วนตน การจับต้องอาวุธสำหรับผมแล้ว เป็นเรื่องจำใจจริงๆ ที่จะต้องคอยไประแวดระวังคอยวุ่นวายกับการที่จะเที่ยวคอยป้องกันการทำร้ายหรือจะต้องไปทำร้ายเบียดเบียนสัตว์ให้ถึงแก่ชีวิตอีก รอเวลาปลดพันธนาการให้หลุดพ้น เพื่อเดินเข้าสู่เส้นทางที่แท้จริง สวัสดีครับ




    ขอให้ท่านทั้งหลายฯ เจริญในพระสัทธรรม ยิ่งๆขึ้นไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก
    รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก
    ละเอียดเป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง
    ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้
    เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
    หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้
    ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา
    ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา
    จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”


    {O} ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต {O}
    ๑) มังสจักษุ ๑) ทิพยจักษุ ๒) ปัญญาจักษุ ๔) พุทธจักษุ ๕) สมันตจักษุ

    จักษุมี ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑.

    ฝ่ายมังสจักษุ มี ๒ อย่าง คือ สสัมภารจักษุ ๑, ปสาทจักษุ ๑.
    ก้อนเนื้ออันใดตั้งอยู่ที่เบ้าตา พร้อมด้วยหนังหุ้มลูกตาภายนอกทั้ง ๒ ข้าง เบื้องต่ำกำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา เบื้องบนกำหนดด้วยกระดูกคิ้ว ผูกด้วยเส้นเอ็นอันออกจากท่ามกลางเบ้าตาโยงติดไปถึงสมองศีรษะ วิจิตรด้วยมณฑลแห่งตาดำล้อมรอบด้วยตาขาว ก้อนเนื้อนี้ชื่อว่าสสัมภารจักษุ.

    ส่วนความใสอันใดเกี่ยวในสสัมภารจักษุนี้ เนื่องในสสัมภารจักษุนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ มีอยู่, ความใสนี้ ชื่อว่าปสาทจักษุ.

    ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปสาทจักษุ นี้. ปสาทจักษุนี้นั้น โดยประมาณก็สักเท่าศีรษะเล็นอาศัยธาตุทั้ง ๔ อาบเยื่อตาทั้ง ๗ ชั้น ดุจน้ำมันที่ราดลงที่ปุยนุ่น ๗ ชั้น อาบปุยนุ่นทุกชั้นอยู่ฉะนั้น ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถีมีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง เป็นที่เกิดขึ้นแห่งสรีรสัณฐาน ที่อยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแววตาดำที่แวดล้อมด้วยมณฑลตาขาว แห่งสสัมภารจักษุนั้น.


    ในจักษุทั้ง ๒ นั้น ปัญญาจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ๑, สมันตจักษุ ๑, ญาณจักษุ ๑, ทิพยจักษุ ๑, ธรรมจักษุ ๑.
    คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดูสัตวโลก ได้เห็นแล้วแลด้วยพุทธจักษุ๑- ดังนี้ ชื่อว่าพุทธจักษุ.

    คำนี้ว่า สัพพัญญุตญาณ เรียกว่าสมันตจักษุ๒- ดังนี้ ชื่อว่าสมันตจักษุ.

    คำนี้ว่า ดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว๓- ดังนี้ ชื่อว่าญาณจักษุ.

    คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ เราได้เห็นแล้วแล ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ๔- ดังนี้ ชื่อว่าทิพยจักษุ.

    มรรคญาณเบื้องต่ำ ๓ นี้มาในคำว่า ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ไม่มีมลทิน เกิดขึ้นแล้ว๕- ดังนี้ ชื่อว่าธรรมจักษุ.


    ท่านผู้ต้องการเห็นธรรมจะต้องอาศัยจักษุด้วยประการนี้เท่านั้น หากท่านสามารถเห็นด้วยความสามารถเหล่าอื่น หากมีผู้หวังผู้พิจารณาตาม ก็จงพิจารณาตามไปจนสุดปัญญานั้นๆ หากมีผู้ไม่เห็นตามท่านก็ถือว่า ไม่ใช่และไม่ตรงกับอัชฌาสัยของท่านนั้นๆถือเอาตามนี้ อธิกรณ์ก็ให้หมดจบผ่าน


    ปฏิสัมภิทามรรค

    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"


    http://84000.org/tipitaka/attha/atth...b=31.0&i=0&p=1

    สากัจฉสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ
    จบสูตรที่ ๕





    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย

    อุ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแลพระพุทธเจ้าข้า?

    พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.


    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.


    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาอีกนัยหนึ่ง

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    ภิกขุนีโอวาทวรรค ที่ ๘ จบ


    อรรกถา เจือด้วย วิมุตติญานทัสสนะของพระอรหันตสาวกที่เพ่งวิมุตติ และ เจือด้วย วิมุตติญานทัสสนะ พระอริยะสาวกจนพระอรหันตสาวกผู้ทรงปฎิสัมภิทาญาน นี่เป็นภูมิที่พระเสขะต้องรู้ว่า ปัญญาธรรมนี้ ไม่สามารถจะแสดงได้เทียบเท่าผู้ต้องวิมุตติญานทัสสนะของพระอริยะและพระอเสขะได้เลย

    ไล่ตั้งแต่ เสกขปฎิสัมภิทา จนถึง อเสกขปฎิสัมภิทา

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานขั้นสูงสุด รู้แม้คำสอนของศาสนาอื่น ทั้งคติที่ไป จนทรงบัญญัติ ทิฏฐิ ๖๒ ในพรหมชาลสูตร พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมของศาสนาพุทธ ส่วนองค์คุณประโยชน์ของ พิชัยสงครามนี้ มีแต่บัณฑิตที่พึงรู้ ท่านใดปรารถนาจะทราบ พึงพิจารณาลำดับญานที่ทรงบรรลุตรัสรู้พร้อม ปฎิสัมภิทาญาน องค์กำเนิดพระสัทธรรม เป็นหนึ่งในนั้น ด้วยเหตุนี้ การทำสังคายนาจึงต้องพึ่งพระผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานเป็นหลัก

    ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
    นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดจำนนโดยพยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี
    นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนักพูด ๔ จำพวกนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔
    พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ
    นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.

    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔

    ฉนั้นผู้ได้บรรลุปฎิสัมภิทาญานจึงเป็นเลิศสุดในการ ปุจฉาและวิสัชนากถาต่างๆทั้งแนวนอกและแนวใน ไม่ว่าจะเป็น ว่าโดยเรื่อง พระสัทธรรม หรือ อสัทธรรม ก็ตาม

    ด้วยเหตุนี้จึงทรงได้รับการขนานพระนามว่าเป็น"ศาสดาเอกของโลก"

    สัญญาสูตร นี่เป็นปฎิสัมภิทามรรค อันทำให้เห็นและรู้ว่า บทธรรมเสมอกันกับพระพุทธเจ้าทรงแสดงหรือไม่ทรงแสดงก็ตาม มีอยู่ แต่ถึงอย่างไร การแจกแจงขยายธรรมของพระพุทธเจ้าท่านก็ทรงละเอียดกว่า หากจะให้ทรงแสดง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงเสมอกันได้ อันนี้เรากล่าวถึงญานทัสสนะ ไม่ใช่ บทธรรมโดยตรง




    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะเท่านั้น{O}

    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน" อันข้อนี้ก็รวมไปถึงพระอรหันตสาวกผู้เป็นพระอเสกขผู้เพ่งตามวิมุตติธรรมในข้อนั้นๆไว้ด้วย ตลอดจนไปถึงอริยะบุคคลผู้เป็นเสกขภูมิจนถึงอเสกขภูมิ เป็นต้น

    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยพระประสงค์ ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน (ทรงพระมหากรุณาโปรดแสดงอนุปุพพิกถาตามลำดับเป็นกรณีพิเศษ,และด้วยอธิษฐานไว้เพื่อผู้ต้องบุพกรรม ณ ที่แห่งหนนั้นๆตามพระทศพลญาน ข้อนี้ก็สามารถพิจารณาเข้าสู่สิ่งที่ท่านทั้งหลายฯ ต่างปุจฉา-วิสัชนากันได้ เฉกเช่นเดียวกับที่ทรงอธิษฐานแก่พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ไว้ในภายภาคนั้นก่อนจะธาตุอันตรธาน คือ ธาตุอันตรธาน ถ้าท่านใดต้องบุพกรรมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนไปถึงเหล่าพระอรหันต์ผู้มีข่ายญานอธิษฐานเอาไว้ให้ธรรมทายาท อันมี บิดามารดาของท่านญาติมิตรศิษย์สหายกลับชาติมาเกิดใหม่ ข้อนี้ท่านพึงเห็นได้ด้วยข่ายพระญาน และข่ายญานนั้นๆ

    ธาตุอันตรธานเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ พระบรมธาตุนิพพาน “ และคำว่านิพพานนั้นมี ๓ ประการ คือ
    ๑. กิเลสนิพพาน คือการตรัสรู้ที่โคนต้นศรีมหาโพธิ์
    ๒. ขันธนิพพาน คือการดับเบญจขันธ์ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา
    ๓. ธาตุนิพพาน คือพระบรมสารีริกธาตุสูญสิ้นไปจากโลก ซึ่งจักเกิดขึ้นในอนาคต

    การนิพพานแห่งพระบรมสารีริกธาตุแห่งพระบรมศาสดาที่ประดิษฐานอยู่ในที่ต่างๆ เมื่อไม่มีผู้สักการะบูชาพระบรมธาตุก็จะเสด็จไปยังถิ่นประเทศที่มีคนเคารพสักการบูชา จวบจนวาระสุดท้ายมาถึง ทั่วทุกถิ่นประเทศหาผู้สักการบูชาไม่มีเลย พระบรมธาตุทั้งหลายจากโลกมนุษย์ เทวโลกและนาคพิภพ จะเสด็จมาสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์สถานที่ตรัสรู้ทั้งหมด แล้วรวมกันเป็นรูปของพระพุทธองค์ ทรงประดิษฐ์สถาน ณ โคนต้นศรีมหาโพธิ์นั้น ประหนึ่งว่าพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ จะทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ในที่นั้น แต่ในครั้งนี้มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายจะมิมีผู้ใดได้เห็นพระองค์เลย

    ฝ่ายเทพยดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล จะพากันมาประชุม ณ ที่นั้น ต่างก็กรรแสงโศกาอาดูรเหมือนเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ลำดับนั้น เตโชธาตุก็เกิดขึ้นที่พระสรีรธาตุเผาผลาญพระบรมธาตุจนหมดสิ้นหาเศษมิได้ เข้าถึงซึ่งความสูญหายไปจากโลก ได้ชื่อว่า “พระบรมธาตุนิพพาน”

    อายุกาลแห่งพระพุทธศาสนาก็สิ้นสุดลง ในบัดนั้น
    เมื่อพระบรมธาตุนิพพานแล้ว เหล่าเทพยดาพากันทำสักการบูชาแล้ว ทำประทักษิณสิ้น ๓ รอบเสร็จสิ้นต่างก็พากันกลับสู่วิมานของตนๆ ในเทวโลก

    ส่วนข้อที่จะไม่มีมนุษย์ได้ฟังธรรมและได้พบเห็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกในครานั้นก็ต้องรอดูหรือพึงรู้พึงทราบกันตามภพภูมิของสัตว์ในยุคนั้น อาจจะมีโอกาสเป็นเราหรือท่านผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ในนี้ ถ้าระบุไว้อย่างนั้นจริงๆก็ขอให้ท่านทั้งหลายฯ ผู้เจริญในพระสัทธรรม ที่ยังไม่เข้าสู่พระนิพพาน เป็นเทพเทวดาและเหล่าพรหมนั้นเทอญฯ

    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว จนเข้าสู่หนทางปฎิบัติแห่งการบรรลุตามอัชฌาสัยของท่านสุขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ตามลำดับ ซึ่งท่านเหล่านี้สามารถที่จะเพ่งพิจารณาตามจิตที่ต้องวิมุุตติของท่านได้ตามกาล ส่วนจะได้มากได้น้อยซึ่งวิมุตติญานทัสสนะกถา ท่านจะแสดงหรือไม่ ก็ขอยกเอาไว้ตามอัชฌาสัยของท่านเหล่านั้นฯ

    แต่ก็มิใช่ว่าท่านจะละทิ้งหวังเพียงแค่สุขส่วนตนโดยเฉพาะพระอรหันตสาวกผู้เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา

    กำลังของพระอรหันตสาวก นั้นเป็นแรงจิตอธิษฐานที่มีอานุภาพมาก ที่ได้พิจารณาธรรมไว้ตามกาลตามเหตุ เพื่ออนุเคราะห์แก่ญาติมิตรสหายในกาลล่วงไปข้างหน้านับต่อนับ ด้วยแรงจิตอธิษฐานนั้น เป็นพลานิสงส์อันเป็นพลวปัจจัยที่จะชี้นำแนะแนวให้สัตว์เกิดดำรงสติปัญญาในธรรม ให้เจริญขึ้นได้ตามจริตธรรมที่ได้บันทึกจารึกไว้ ให้ผู้มีอุปนิสัยใจคอคล้ายคลึงกันตามจริตกรรมมัฎฐาน และเป็นตัวอย่างในการพิจารณาธรรม โดยสามารถนำเข้าสู่ความเจริญในพระสัทธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าต่อไป


    เป็นระบบธรรมสมบัติ ตามเจตจำนงค์และความปรารถนาตามที่ได้อธิษฐานจิตเอาไว้มีหน้าที่สืบเนื่องรับต่อไป ตามพระบารมีกำลังแห่งสาวกญานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ตามพุทธสมัย

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์
    ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ปรินิพพานไปด้วยหรือ?


    ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรมิได้พาศีลขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ฯลฯ มิได้พาวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ก็แต่ว่าท่านพระสารีบุตรเป็นผู้กล่าวแสดงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ไม่เกียจคร้านในการแสดงธรรม อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายมาตามระลึกถึง โอชะแห่งธรรม ธรรมสมบัติ และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้น ของท่านพระสารีบุตร.

    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" อันเป็นนามที่แท้จริงของพระศาสนา เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล


    ปริยัติอันตรธาน ยังไงก็หายแน่นอน และต่อให้หายไป ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ด้วยปฎิสัมภิทาญาน ที่เหลือขึ้นอยู่กับว่า ท่านใด มีบุญบารมีทรงจำได้มากหรือน้อย นี่คือความแตกต่างของ ระดับการทรงจำ ปฎิสัมภิทาญานแตกต่างกันอย่างเดียวคือ การทรงจำได้มาก หรือ น้อย เพียงเท่านั้น รอผู้นั้นที่ยิ่งกว่าเรา สหายธรรมในที่นี้ก็มีสิทธิ์ ขอเพียงมีความนอบน้อมเคารพ รักพระไตรปิฏก ในอนาคตท่านย่อมได้ ปฎิสัมภิทาญาน อย่างไม่ต้องสงสัย เห็นแล้วก็จะรู้เอง ว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นธรรม คือ ทรงเห็นอะไร? หากจะไม่ศึกษาอะไรเลยจะหวังพึ่งแต่ทัสสนะญานเพียงอย่างเดียว ก็ไม่ใช่อัชฌาสัยของท่านที่บรรลุปฎิสัมภิทาญานในเสกขภูมิ ญานทัสสนะวิสุทธิในท่านเสกขภูมิจะสามารถหลอมรวม เหตุแห่งการเกิดดับและการเริ่มต้นต่างๆ ได้อย่างสุดวิเศษ เมื่อถึงเวลา บทธรรมเหล่านั้นจะปรากฎเองอย่างที่ทรงตรัสรู้เห็น นั่นแหละ ! พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม มีรูปแบบเดียวกันกับ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ทรงตรัสรู้เห็นพร้อมกันซึ่งอันเดียวกับธรรมนั้น และทรงตรัสรู้ธรรมเสมอกัน ส่วนพระอรหันสาวกผู้บรรลุปฎิสัมภิทา หรืออริยะสาวกผู้ได้ ปฎิสัมภิทาญาน ก็จักเจริญตามภูมิธรรมซึ่งก็คือ เสกขภูมิไปจนอเสกขภูมิ ส่วนพระอรหันตสาวกผู้เป็นพระอเสขะที่มิได้บรรลุปฎิสัมภิทาญาน ท่านก็สามารถเห็นธรรมและตรัสรู้ธรรมได้โดยการ พิจารณาตามจิตที่ต้องวิมุตติญานทัสสนะ เรียกว่าอาศัยการเสวยวิมุตติธรรมนั้นแลฯ ความสุขในพระพุทธศาสนา เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยมยิ่ง นี่ล่ะจึงทรงตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"

    มหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ เป็นธรรมกายของพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ เป็นสุดยอดแห่งอินทรียธาตุที่จะสามารถรับรู้ ซ้องเสพ เกี่ยวข้อง ละทิ้ง ล่วงรู้ อายตนะมารทั้งหลายฯ ไม่มีอินทรียธาตุของผู้ใดที่มีอายตนะที่สมบูรณ์ไปยิ่งกว่าพระองค์ จึงทรงรู้ชัดรู้แจ้งที่สุดแห่งอายตนะและธรรมารมณืทั้งหลายฯ

    กัสสกสูตรที่ ๙
    สาวัตถีนิทาน ฯ
    ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน และภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่ ฯ

    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับเพื่อการกำบังตาเถิด ฯ

    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปจึงนิรมิตเพศเป็นชาวนาแบกไถใหญ่ถือปะฏักมีด้ามยาว มีผมยาวรุงรังปกหน้าปกหลัง นุ่งผ้าเนื้อหยาบ มีเท้าทั้งสองเปื้อนโคลน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมณะท่านได้เห็นโคทั้งหลายบ้างไหม ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านจะต้องการอะไรด้วยโคทั้งหลายเล่า ฯ

    มารกราบทูลว่า
    ข้าแต่พระสมณะ จักษุเป็นของเราแท้ รูปก็เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแก่จักษุสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น
    ข้าแต่สมณะ โสตเป็นของเรา เสียงเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น
    ข้าแต่สมณะ จมูกเป็นของเรากลิ่นเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ ลิ้นเป็นของเรา รสเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น
    ข้าแต่สมณะ กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กาย
    สัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น
    ข้าแต่สมณะ ใจเป็นของเราธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของเราท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมารผู้มีบาป

    จักษุเป็นของท่าน
    รูปเป็นของท่าน
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุสัมผัสก็เป็นของท่านแท้

    ดูกรมารผู้มีบาป แต่ในที่ใด ไม่มีจักษุ ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุ
    สัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน

    โสตเป็นของท่าน
    เสียงเป็นของท่าน
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัสก็เป็นของท่าน

    แต่ในที่ใด ไม่มีโสต ไม่มีเสียง ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน

    จมูกเป็นของท่าน
    กลิ่นเป็นของท่าน
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    ลิ้นเป็นของท่าน
    รสเป็นของท่าน
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    กายเป็นของท่าน
    โผฏฐัพพะเป็นของท่าน
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กายสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    ใจเป็นของท่าน
    ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของท่าน

    แต่ในที่ใด ไม่มีใจ ไม่มีธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน ฯ

    มารกราบทูลว่า
    ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า นี้ของเรา และกล่าวว่า นี้เป็นเราถ้าใจของท่านมีอยู่ในสิ่งนั้น ข้าแต่สมณะ ท่านก็จะไม่พ้นเราไปได้ ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา ดูกรมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา ฯ

    ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา
    พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ



    วิมุตติ คือ การหลุดพ้นจากกิเลสเป็นระดับชั้นไป มี ๕ ระดับ คือ

    ตทังควิมุตติ หลุดพ้นชั่วคราว

    วิกขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นด้วยการสะกดไว้ ระงับอำนาจกิเลสไว้ด้วยอำนาจของกำลังฌาน เมื่ออยู่ในฌาน ได้แก่ วิมุตติของผู้ได้ฌาน๘

    สมุจเฉทวิมุตติ หลุดพ้นอย่างเด็ดขาด หลุดพ้นด้วยอำนาจอริยมรรคตัดขาดจากกิเลสผู้บรรลุโสดาปัตติมรรค, อรหัตตมรรค

    ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ หลุดพ้นอย่างสงบ พ้นกิเลสต่อจากอรหัตตมรรคถึงอรหัตตผล ไม่ต้องพยายามกำจัดกิเลสอีกเพราะกิเลสระงับไม่เกิดอีกแล้วในขณะผลนั้นๆ

    นิสสรณวิมุตติ หลุดพ้นด้วยออกไป หลุดพ้นกิเลสอย่างยั่งยืน ได้แก่วิมุตติคือนิพพาน


    กุญแจไขประตูพระนิพพาน ย่อมเป็นของคู่กันกับประตูพระนิพพาน

    ตราบใดที่มีพระนิพพาน กุญแจที่ไขเข้าสู่ประตูก็จะมีอยู่เสมอๆ



    สุภัททะ !
    ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคมีองค์แปด
    สมณะที่หนึ่ง (พระโสดาบัน) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น;
    แม้สมณะที่สอง (พระสกทาคามี) ก็หาไม่ได้;
    แม้สมณะที่สาม (พระอนาคามี) ก็หาไม่ได้;
    แม้สมณะที่สี่ (พระอรหันต์) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น.
    สุภัททะ !
    ในธรรมวินัยนี้แล มีอริยมรรคมีองค์แปด
    สมณะที่หนึ่ง (พระโสดาบัน) ก็หาได้ในธรรมวินัยนี้;
    แม้สมณะที่สอง (พระสกทาคามี) ก็หาได้;
    แม้สมณะที่สาม (พระอนาคามี) ก็หาได้;
    แม้สมณะที่สี่ (พระอรหันต์) ก็หาได้ในธรรมวินัยนี้.
    สุภัททะ !
    ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้จะพึงอยู่โดยชอบไซร้
    โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย แล.
    มหา. ที. ๑๐/๑๗๕/๑๓๘.



    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกลพบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือหรือสะพานสำหรับข้าม เพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้น ไม่พึงมี บุรุษนั้นพึงดำริอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่แล ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือหรือสะพานสำหรับข้าม เพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้น ย่อมไม่มี ถ้ากระไร เราพึงรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี.

    ทีนี้แล บุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ อาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโดยความสวัสดี บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งได้แล้ว พึงดำริ อย่างนี้ว่า แพนี้มีอุปการะแก่เรามากแล เราอาศัยแพนี้พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า ข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี ถ้ากระไร เรายก แพนี้ขึ้นบนศีรษะ หรือแบกที่บ่า แล้วพึงหลีกไปตามความปรารถนา.

    ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ในแพนั้นบ้างหรือหนอ?

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นชื่อว่าทำไม่ถูก พระเจ้าข้า?

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษนั้นกระทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ในแพนั้น? ในข้อนี้

    บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งแล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า แพนี้มีอุปการะแก่เรามากแล เราอาศัยแพนี้
    พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า จึงข้ามถึงฝั่งได้ โดยสวัสดี ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นวางบนบกหรือให้ลอยอยู่ในน้ำแล้ว พึงหลีกไปตามความปรารถนา.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ในแพนั้น แม้ฉันใด.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมมีอุปมาด้วยแพ เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือ ฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมมีอุปมาด้วยแพที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า.



    สำหรับเราล่องแพยังไม่เข้าถึงฝั่งจะให้ทิ้งแพที่อาศัยคงจะเป็นไปไม่ได้ แล้วแพนี้ก็แพวิเศษด้วยที่สามารถใช้ข้ามฝั่งมหานทีแห่งนี้ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่มีสิ่งอื่นหรือวิธีอื่น




    แม้ได้ขึ้นชื่อหรือถูกโพทะนาติเตียนว่าแย่หรือไม่ดีที่สุดในสายพุทธ
    แต่หากจะมองในข้อดีในการที่เกิดสังฆเภทต้องแตกออกในปัจจุบันก็เป็นไปในลักษณะ องคาพยพ ที่ต้องอาศัยตามกาล ในท้ายที่สุด สุดสังฆเภทนิกายนั้นก็ยังมีส่วนปกป้องคุ้มกัน นิกายแท้ ให้ยังคงอยู่ได้จนถึงปัจจุบันตามกาล นี่เป็นไปตามกลไกอุปนิสัยอันเป็นพลวปัจจัย ที่สั่งสมมาของเหล่าหมู่สัตว์ทั้งหลายฯ ในการจะให้เขาเดินเข้าสู่ทางตรงยังนิกายอันเที่ยงแท้ ตั้งแต่แรกพบนั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะทำกันได้ง่ายๆ เรียกได้ว่าจนถึงแทบไม่มีโดยทีเดียว อันเป็นสุดปัญญาที่จะอุปมารู้เห็นได้ เพราะฉนั้นตามความเป็นจริง ต้องสั่งสมกันมานานนักแลฯ จึงจะเข้าสู่หนทางแห่งการตรัสรู้ได้

    พิจารณา
    "เลวที่สุดของเราก็ยังประเสริฐกว่า"


    ขอโอกาสไว้ ณ ที่นี้ และคงไม่มีโอกาสมาร่วมเสวนาบ่อยๆอย่างที่เคย เราวิสัชนาเผื่อไว้ใน ผู้เห็นธรรมในข้อที่ ๒ ข้อที่ท่านทั้งหลายฯต่าง ธรรมสากัจฉา จาก ปุจฉาและวิสัชนา จนไปถึงซึ่งการเสวนาและอเสวนาผู้สกวาทีและผู้ปรวาที เผื่อให้สิ่งที่ถูกปิดไว้ได้เปิดออกเพื่อคลายความกังวลและสงสัยตามกาล

    เดือน ตุลาคม ถัดไปหลังจากนี้คงต้องย้ายไปออกราชการสนามอยู่แถวป่าภูเขา เพราะมีการเคลื่อนย้ายสับเปลี่ยนกำลัง ด้วยสัญญานหรือ การใช้ internet คงจะไม่ง่ายจนถึงไม่มีและยากแก่การมาร่วมสนทนาต่างๆ ร่ำลาไว้ตรงนี้จนกว่าจะได้มีโอกาสมาเสวนากันใหม่ ตามกาลและสถานที่และโอกาสอื่นๆต่อไป

    “ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
    เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารีฯ”


    “ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมบุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ”

    ถนอมสุขภาพและรักษาใจขอให้ท่านทั้งหลายฯจงเจริญในพระสัทธรรมอันยิ่งขึ้นไป ศัตรูของเราท่านทั้งหลายฯ ไม่ใช่เหล่าเวไนยสัตว์อย่างเราหรือท่านทั้งหลายฯ ในธรรมวินัยนี้ไม่เป็นข้าศึกในโลกฯ แต่ก็มีในโลกฯที่เห็นเราเป็นข้าศึก ขอท่านทั้งหลายฯจงเดินตามอัชฌาสัยที่ท่านทั้งหลายฯได้สั่งสมพลวปัจจัยอันมีบุญบารมีอันดีตามธรรมสมบัติอันพึมีพึงได้ตามกาลมาแล้วนั้นเทอญฯ


    ขอจงอโหสิกรรมอดโทษแก่ข้าพเจ้าในทุกกรณี ข้าพเจ้าก็ขออโหสิกรรมอดโทษแก่ท่านทั้งหลายฯเฉกเช่นเดียวกัน


    กระทู้ร่ำลา
    http://palungjit.org/threads/พบพระพ...ที่เข้ามาแนะนำอะไรไม่ต้องเข้ามานะครับ.569133/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    《新少林寺》主题曲 《悟》 刘德华 无量心 生福报 无极限
    wú liàng xīn shēng fúbào wú jíxiàn
    อู๋ เลี่ยง ซิน เซิง ฝูเป้า อู๋ จี๋เสี้ยน
    ดำรงในพรหมวิหาร ผลบุญสนองไพศาลไร้ขอบเขต
    无极限 生息息 爱相连
    wú jíxiàn shēngxī xī ài xiānglián
    อู๋ จี๋เสี้ยน เซิงซี ซี อ้าย เซียงเหลียน
    การเกิดดับอันไม่สิ้นสุดต่างผูกโยงไว้ด้วยความรัก
    为何君视而不见 规矩定方圆
    wèi hé jūn shì’ér bú jiàn guījù dìng fāngyuán
    เว่ย เหอ จวิน ซื่อ เอ่อร์ ปู๋ เจี้ยน กุย จวี้ ติ้ง ฟาง เอวี๋ยน
    เหตุใดท่านเห็นแล้วจึงมองข้าม ว่าล้วนเป็นกฏเกณฑ์นี้กำหนดโลก
    悟性 悟觉 悟空 心甘情愿
    wù xìng wù jiào wùkōng xīn gān qíngyuàn
    อู้ ซิ่ง อู้ เจี้ยว อู้ คง ซิน กัน ฉิง เอวี้ยน
    รู้ ตื่น เบิกบาน ด้วยความยินยอมพร้อมใจ
    放下 颠倒梦想 放下云烟
    fàng xià diān dǎo mèngxiǎng fàng xià yúnyān
    ฟ่าง เซี่ยะ เตียน เต่า เมิ่ง เสี่ยง ฟ่าง เวี่ยะ อวิ๋นแยน
    ละอุปาทาน ละหมอกควันอันลวงตา
    放下 空欲色 放下悬念
    fàng xià kōng yù sè fàng xià xuán niàn
    ฟ่าง เซี่ยะ คง อวี้ เซ่อ ฟ่าง เซี่ยะ เสวียน เนี่ยน
    ละตัณหาในรูปธาตุอรูปธาตุ ละความห่วง
    多一物 却添了 太多危险
    duō yí wù què tiān le tài duō wēi xiǎn
    ตัว อี๋ อู้ เชวี่ย เทียน เลอ ไท้ ตัว เวย เสี่ยน
    เพิ่มหนึ่งสิ่ง กลับพอกพูนซึ่งภยันตราย
    少一物 贪嗔痴 会少一点
    shǎo yí wù tān chēn chī huì shǎo yì diǎn
    ส่าว อี๋ อู้ ทาน เฉิน ชือ ฮุ่ย ส่าว อี้ เตี่ยน
    ลดหนึ่งสิ่ง โลภ โกรธ หลง ลดลงตาม
    若是缘 再苦味也是甜
    ruòshì yuán zài kǔ wèi yě shì tián
    ยั่วซื่อ เอวี๋ยน จ้าย ขู่ เว่ย เย่ ซื่อ เถียน
    หากมีวาสนา แม้ขื่นขมยังคงหอมหวาน
    若无缘 藏爱 在心田
    ruò wú yuán cáng ài zài xīn tián
    ยั่ว อู๋ เอวี๋ยน ฉาง อ้าย จ้าย ซิน เถียน
    หากไร้วาสนา เพียงเก็บความรักเอาไว้ในดวงใจ
    尘世 藕断还丝连 回首一瞬间
    chén shì ǒu duàn hái sī lián huíshǒu yí shùn jiān
    เฉิน ซื่อ โอ่ว ต้วน ไห ซือ เหลียน หุย โส่ว อี๋ ซุ่น เจียน
    เรื่องทางโลก แม้ตัดบัวยังเหลือใย สามารถหวนกลับชั่วพริบตา
    种颗善因 陪你走好每一天
    zhòng kē shànyīn péi nǐ zǒu hǎo měi yì tiān
    จ้ง เคอ ซ่านอิน เผย หนี โจ่ว ห่าว เหม่ย อี้ เทียน
    ปลูกสร้างความดี เป็นเพื่อนเคียงข้างเธอไปในทุกวัน
    唯有 心无挂碍 成就大愿
    wéiyǒu xīn wú guà’ài chéngjiù dà yuàn
    เหวย โหย่ว ซิน อู๋ กว้า อ้าย เฉิง จิ้ว ต้า เอวี้ยน
    มีเพียง ใจพ้นความกังวล ปนิธานบรรลุ
    唯有 心无故 妙不可言
    wéiyǒu xīn wú gù miào bù kě yán
    เหวย โหย่ว ซิน อู๋ กู้ เมี่ยว ปู้ เข่อ แหยน
    มีเพียง ใจไร้เหตุปัจจัย จึงงดงามเกินเอ่ย
    算天算地 算尽了 从前
    suàn tiān suàn dì suàn jìn liao cóng qián
    ซ่วน เทียน ซ่วน ตี้ ซ่วน จิ้น เหลียว ฉง เฉียน
    ทำนายชะตาฟ้าดิน ทำนายสิ้นถึงอดีต
    算不出 生死 会在哪一天
    suàn bù chū shēng sǐ huì zài nǎ yì tiān
    ซ่วน ปู้ ชู เซิง สื่อ ฮุ่ย จ้าย หน่า อี้ เทียน
    มิอาจทำนาย วัน เกิด-ดับ จะมาถึงในวันใด
    勿生恨 点化虚空的眼
    wù shēng hèn diǎn huà xu kū kōng de yǎn
    อู้ เซิง เฮิ่น เตี่ยน ฮว่า ซวี คู คง เตอ แหย่น
    ไร้ความโกรธ แววตาฉายแววว่างเปล่า
    勿生怨 欢喜 不遥远
    wù shēng yuàn huān xǐ bù yáo yuǎn
    อู้ เซิง เอวี้ยน ฮวาน สี่ ปู้ เหยา เอวี่ยน
    ไร้ความแค้น ความสุขอยู่ไม่ไกล
    缠绕 欲望的思念 善恶一瞬间
    chán rào yù wàng de sī niàn shàn’è yí shùn jiān
    ฉาน เย่า อวี่ ว่าง เตอ ซือ เนี่ยน ซ่าน เอ้อ อี๋ ซุ่น เจียน
    พันธนาการความคิดปรารถนา ดี-เลวห่างกันเพียงพลิกฝ่ามือ
    心怀忏悔 陪你走好每一天
    xīnhuái chànhuǐ péi nǐ zǒu hǎo měi yì tiān
    ซินไฮว๋ ช่าน หุ่ย เผ่ย หนี โจ่ว หาว เหม่ย อี้ เทียน
    ใจขออโหสิกรรม เป็นเพื่อนเคียงข้างเธอไปในทุกวัน
    再牢的谎言 却逃不过天眼
    zài láo de huǎngyán què táo bú guò tiān yǎn
    จ้าย เหลา เตอ ฮว่าง แหยน เชวี่ย เถา ปู๋ กั้ว เทียน แหย่น
    ต่อให้คำมดเท็จหนักแน่นเพียงใด ล้วนหนีไม่พ้นเนตรสวรรค์
    明日之前 心流离更远
    míng rì zhī qián xīn liú lí gèng yuǎn
    หมิง ยื่อ จือ เฉียน วิน หลิว หลี เกิ้ง เอวี่ยน
    ก่อนถึงวันพรุ่งนี้ ดวงใจจากจรไปยิ่งไกล
    浮云霎那间 障眼 人心渐离间
    fúyún shà nà jiān zhàng yǎn rén xīn jiān lí jiàn
    ฝู อวิ๋น ซ่า น่า เจียน จ้าง แหย่น เหยิน ซิน เจียน หลี เจี้ยน
    เมฆหมอกบดบังตา ใจคนแตกแยก
    集苦连连 不断的出现
    jí kǔ lián lián bú duàn de chū xiàn
    จี๋ ขู่ เหลียน เหลียน ปู๋ ต้วน เตอ ชู เสี้ยน
    ความทุกข์ระทมก่อเกิดไม่หยุดหย่อน
    无量心 生福报 无极限
    wú liàng xīn shēng fúbào wú jí xiàn
    อู๋ เหลียง ซิน เซิง ฝู เป้า อู๋ จี๋ เสี้ยน
    ดำรงในพรหมวิหาร ผลบุญสนองไพศาลไร้ขอบเขต
    无极限 生息息 爱相连
    wú jíxiàn shēngxī xī ài xiānglián
    อู๋ จี๋เสี้ยน เซิงซี ซี อ้าย เซียงเหลียน
    การเกิดดับอันไม่สิ้นสุดต่างผูกโยงไว้ด้วยความรัก
    凡人却视而不见 规矩定方圆
    fán rén què shì’ér bú jiàn guījù dìng fāngyuán
    ฝาน เหยิน เชวี่ย ซื่อ เอ๋อร์ ปู๋ เจี้ยน กุยจวี้ ติ้ง ฟาง เอวี๋ยน
    ปุถุชนต่างมองข้าม ว่าล้วนเป็นกฏเกณฑ์นี้กำหนดโลก
    悟性 悟觉 悟空 心甘情愿
    wù xìng wù jiào wùkōng xīn gān qíngyuàn
    อู้ ซิ่ง อู้ เจี้ยว อู้ คง ซิน กัน ฉิง เอวี่ยน
    รู้ ตื่น เบิกบาน ด้วยความยินยอมพร้อมใจ
    简简单单 陪你走好每一天
    Jiǎnjiǎn dāndān péi nǐ zǒu hǎo měi yì tiān
    เจี๋ยน เจี่ยน ตานตาน เผย หนี โจ่ว หาว เหม่ย อี้ เทียน
    ผ่านชีวิตอย่างเรียบง่าย เป็นเพื่อนเคียงข้างเธอไปในทุกวัน

    [ame]https://youtu.be/rEbJxJpuEkk[/ame]

    อยากจะปล่อยวาง แต่ยังไม่ถึงเวลา


    ๐สรรพสิ่งในโลกล้วนไม่จีรัง แสงธรรมสาดส่องทั่วหล้า
    ทุกข์สุขมีบ้างตามเวลา เสน่หาชวนล้ำสวรรค์ครวญฯ๐
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หลังจากที่ร่วมปั่นหัวป่วน คึกฤทธิ์ มานาน และกล่าวถึงเรื่องปฎิสัมภิทาญานให้ได้เห็นกับตามบ่อยๆ วันนี้ก็ขอเปิดเผยเรื่องที่ใกล้แสนใกล้ แต่มองกันไม่เห็นโดยส่วนมาก สัมผัสเข้าไปแล้วก็ยังไม่รู้ตนเองด้วย ว่ากำลังคิดพิจารณาอยู่กับอะไร? เพราะมัวแต่คิดพิจารณาจนลืมต้นเหตุ ไปเที่ยวกลางเหตุและปลายเหตุกันเสียโดยมาก นี่เป็นไคลแม๊กและเป็นเหตุผล ที่ทุกๆท่านผู้หวังความเจริญในพระสัทธรรมขั้นสูงสุด ทำไมต้องเรียนรู้ ต้องรู้จักให้ได้ ต้องศึกษาต้องพิจารณา ปฎิสัมภิทามรรค หรือ ปฎิสัมภิทาญาน ก็เพราะว่าเหตุใดฤา ผมจะไม่ตระหนี่ธรรมนะครับ ผมขอบอกว่าผมจริงใจ และอยากให้สหธรรมกัลยาณมิตรทุกท่าน ได้เข้าถึงทิพยภูมิของพระอริยะ และได้บรรลุ ปฎิสัมภิทาญาน ไล่ตั้งแต่ พระอริยะบุคคลในเสกขภูมิปฎิสัมภิทาเป็นต้นไป จนไปถึง พระอริยะบุคคลในอเสกขภูมิ ขอจงจดจำเรื่องนี้ให้ดีๆ พิจารณาให้รู้แจ้งจนขึ้นใจ รู้แล้วก็ให้รีบเร่งศึกษา " ปฎิสัมภิทามรรค " เสีย แล้วท่านจะรู้จะเห็นอะไร มากกว่าที่เคยรู้อีกนับไม่ถ้วน ก่อนที่จะเข้าถึงสภาวะ ปฎิสัมภิทาญาน จริงๆ ขอกล่าว ตามประโยคนี้ว่า " พระไตรปิฏกที่ท่านทั้งหลายฯ ได้อ่านและศึกษาพิจารณากันอยู่ในตอนนี้ เบื้องต้นล้วนมาจาก พระอรหันตสาวก ผู้ทรงปฎิสัมภิทาญาน อันเป็นญานแห่งองค์กำเนิดธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น และเมื่อพระอรหันตสาวกผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานสาธยายธรรมแล้วมีผู้ท่องจำโดยมุขปาฐะก็ดี หรือ ได้ตกทอดมาสู่เบื้องหน้าสายตาของเหล่าพุทธบริษัททั้งหลายฯ โดยพระคัมภีร์ใบลานที่จารไว้หรือในรูปแบบหนังสือที่เขียนหรือตีพิมพ์ในปัจจุบันนี้ก็ดี โดยรวมแล้ว ก็ล้วนมาจากพระอรหันตสาวกผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานโดยกระแสนิรุตติญานทัสสนะและเจือด้วยวิมุตติญานทัสสนะโดยทั้งหมดทั้งสิ้น ใจความสำคัญในข้อนี้นั้นคือเรื่องราวสิ่งอันใดหรือ ใจความสำคัญในข้อนี้ก็คือ " อันที่จริงแล้ว ท่านสหธรรมกัลยาณมิตรทั้งหลายในที่นี้ และในอีกหลายๆที่ในโลก ถ้าเขาศึกษาพระไตรปิฏกที่ปรากฎเนื้อความอย่างที่เราท่านได้อ่านและพิจารณากันอยู่ ท่านกำลังเรียนพระสัทธรรมคำสั่งสอนจาก ปฎิสัมภิทาญาน หรือจากผู้บรรลุปฎิสัมภิทา ๔ โดยกระแส นิรุตติญานทัสสนะและเจือด้วยวิมุตติญานทัสสนะ ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น กล่าวตรงๆก็คือ ท่านก็เรียนปริยัติ ในกระแส ปฎิบัติ และ ปฎิเวธ แห่งปฎิสัมภิทามรรคอยู่ แต่ยังไม่รู้ตัวกันนั่นเอง ว่ากำลังอยู่กับสิ่งใด " ขอให้ท่านทั้งหลายฯ ทราบไว้ตรงนี้ และทีนี้ สิ่งที่ มาร๕ กงจักรแปลงเป็นดอกบัว อย่าง คึกฤทธิ์ พลาดที่สุด ซ้ำๆซากๆ โดนสหธรรมิกเหยียบจนจมธรณี ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ในทีนี้ก็คือ " คึกฤทธิ์ มันไม่เอาปฎิสัมภิทามรรค หรือ ปฎิสัมภิทาญาน เพราะมันเข้าใจ และสั่งสอนศิษย์โง่ๆของมันว่า ปฎิสัมภิทามรรค หรือ ปฎิสัมภิทาญาน นั้นเป็นคำที่แต่งใหม่ เป็นเรื่องเป็นพระสูตรที่ท่านพระสารีบุตรแต่งใหม่ ไปให้ความเชื่อถือไม่ได้ นั่นก็หมายความว่า " คึกฤทธิ์มันได้ปฎิเสธพระไตรปิฏกทั้งหมดที่มีและที่มันได้อ่านอยู่ในทุกๆวันนี้ ก็ล้วนสำเร็จมาด้วย พระอรหันตสาวกผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานแสดงไว้ทั้งนั้น ที่น่าสลดสังเวชที่สุดคือ มันไม่รู้จัก ลำดับพระญานที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นก็มี พระญาน คือ ปฎิสัมภิทาญาน องค์กำเนิดพระสัทธรรมอยู่ด้วย ดังที่ได้ทรงตรัสไว้แล้วว่า" จงฟังจงเรียนรู้ จากพระภิกษุ ที่บรรลุสภาวะธรรมที่เพ่งพิจารณาโดยวิมุตติและจากพระภิกษุผู้บรรลุปฎิสัมภิทาญาน เป็นต้น " ทีนี้ทุกท่านคงทราบเรื่องสำคัญเช่นนี้แล้ว สรุปไอ้คึก มันไม่ได้เอาอะไรเลย แม้เพียงสักอย่างเดียว แม้แต่กระพี้มันก็ไม่ได้ เหล่าลูกศิษย์ลูกหาของมัน น่าเวทนา น่าสงสารจริงๆ ตั้งใจเรียน ปฎิสัมภิทามรรค กันนะครับ ขอให้ทุกๆท่านได้บรรลุธรรมในวันข้างหน้า ท่านที่บรรลุแล้วเข้าสู่ทิพยภูมิของพระอริยะแล้วก็ขอให้ท่านเจริญในพระสัทธรรมยิ่งขึ้นไปอีก จาก กัลยาณมิตร

    แปลกประหลาด แม้เป็นจริงก็มองไม่เห็นกัน คงยังไม่ถึงเวลา จึงต้องใช้ปาฎิหาริย์ ๓ ประกอบ

    https://www.facebook.com/พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท-ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม-295115010851468/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2016
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "ปฎิสัมภิทามรรค"
    **ปัญหาแห่งความเป็นใหญ่ที่ผู้ไม่เห็นธรรมจะไม่มีทางได้เข้าใจ (ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์ไม่ได้)**
    ¤》พระสัทธรรมราชา《¤》อันสูงส่งยิ่ง { ¤ } พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม { ¤ } [¤]ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม [¤]

    มีผู้รู้ผู้เห็นอยู่ สัทธรรมปฎิรูปปลอมๆจะมาแทนที่ มีมาแต่กาลไหน

    ศรัทธาที่หยั่งลงในความโง่ของคึกฤทธิ์ตัวเสนียดจัญไรในพระพุทธศาสนา อ้างและสอนว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระสัทธรรมด้วยการคิดเอาเอง บัญญัติธรรมขึ้นมาเอง แล้วทรงเคารพธรรมที่ทรงบัญญัติขึ้นมาเอง พระธรรมเสนาบดีและพระมหาเถระทั้งหลายฯไม่สามารถตรัสรู้คือเห็นธรรมตามพระองค์ได้ ต้องได้ยินได้ฟังจากพระองค์ทรงแสดงเพียงเท่านั้น
    กล่าวหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
    "และเมื่อพระมหาเถระทั้งหลายฯจดจำพระธรรม
    คำสั่งสอนที่พระองค์ทรงตรัสได้ พระองค์
    จึงจะทรงเคารพในสงฆ์"
    กล่าวหาพระมหาเถระว่า"ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ บัญญัติธรรมแต่งใหม่เป็นคำสาวก ไม่มีทางที่จะตรัสรู้ตามโดยชอบในพุทธสมัย"
    แด่ คึกฤทธิ์ผู้หมุนทวนพระธรรมจักรสั่งสอนสัทธรรมปฎิรูปและบรรดาเหล่าสาวกมารวัดนาป่าพงผู้โง่เขลา ผู้ถูกหลอกลวงมาโดยตลอด
    ถ้าพระพุทธทรงตรัสรู้และคิดเอาเอง พระพุทธเจ้าองค์ในพุทธสมัยก่อนๆที่ผ่านพ้นมาที่ทรงเสด็จมาตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นก็ทรงตรัสรู้พระสัทธรรม
    โดยเสมอกันด้วยการคิดเอาเองแล้วบัญญัติจำแนกธรรมสั่งสอนสอนใช่ไหม?
    สรุป เพราะคิดว่าพระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาญาน จึงทรงคิดได้แต่งธรรมเองได้ แสดงธรรมได้เสมอเหมือนกันใช่ไหม?
    พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงตรัสรู้คิดเอาเองเหมือนกันใช่ไหม?
    พระอรหันต์พระอริยะสาวกไม่มีทางได้เห็นธรรมตรัสรู้ธรรมตามได้เองได้ใช่ไหม?
    แล้วจะมี วิมุตติญาน ไปทำไม หรือว่า พระมหาเถระทั้งหลายฯ ไม่มีทางเข้าถึง วิมุตติ ไม่สามารถเพ่งจิตพิจารณาธรรมตามที่วิมุตติ
    ฉนั้นถ้าคิดอย่างที่คึกฤทธิ์คิดและสอนว่า ไม่มีทางที่จะมีผู้ใดจะตรัสรู้ธรรมตามได้ ต้องพึ่งพาจากพระไตรปิฏกที่จารึกในมนุษย์โลกหรือด้วยวิธีมุขปาฐะเพียงเท่านั้น
    พุทธภาษิต
    "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต"
    ในบรรดาปัญญาจักษุที่สามารถเห็นธรรมทั้งหลายฯก็คงไม่จำเป็นต้องมี พุทธจักษุไม่ต้องมี สมันตจักษุไม่ต้องมี ญานจักษุไม่ต้องมี ธรรมจักษุไม่ต้องมี ทิพยจักษุไม่ต้องมี เป็นต้นฯ
    (๐) อญฺญาสิ วต โภ (๐)
    (นี่ก็เป็นการแสดงถึงสิ่งที่ล่วงรู้ได้ยาก๑ ที่เราแสดงเป็นบุคคลแรกของโลกตั้งแต่หลังพุทธปรินิพาน๒๕๕๗ปีที่ผ่านมา ให้คลายสงสัยวุฒิธรรมในเรา ทั้งนี้ก็เพื่อยืนยันในสามัญผลในการปฎิบัติธรรม ที่สามารถตรองตามเห็นตามความเป็นจริงได้โดยพิสดาร และประสงค์แนะแนวชี้นำการปฎิบัติเพื่อเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย)
    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"
    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล
    ผู้มีสติปัญญาย่อมมองเห็นอรรถที่เราแสดงและสามารถวิสัชนาต่อไปอีกได้ อย่างชัดเจน
    พลาดแล้วล่ะ! ไอ้คึกฤทธิ์มึงพาสาวกมารของมึง เอาแต่ใช้มังสังจักษุเบิ่งตาไว้แลดู สัทธรรมปฎิรูป "พุทธวจนปิฏกปลอมๆ"
    ที่มึงสร้างอย่างภูมิใจนั่นไปเสียเถิด ไอ้พวกกระจอก งอกง่อย
    ♡♥♡สำนักวัดนาป่าพง สมชื่อแล้วจริงๆ ไอ้คึกนี่แหละเจ้าสำนัก วัดป่าแท้ๆ ชี้ทางผิด พาคนโง่หลงป่าไปเลย♡♥♡
    เรื่องสุนักขัตตลิจฉวีบุตร
    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าด้านตะวันตกนอกพระนครเขตพระนครเวสาลี. ก็โดยสมัยนั้นแล สุนักขัตตลิจฉวีบุตร เป็นผู้หลีกไปแล้วจากธรรมวินัยนี้ไม่นานสุนักขัตตลิจฉวีบุตรนั้น ได้กล่าววาจาในบริษัท ณ เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า "ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนั้นย่อมดิ่งไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม".
    ------------------------------------------------------------------------
    ดูกร สารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่ตรงนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็น ญาณทัสสนะ อันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวล ด้วยความตรึกที่ไตร่ตรอง ด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจาเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก”
    ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.
    ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก?
    ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.
    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.
    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน ดอกอุบล หรือดอกปทุม หรือดอกบัวบุณฑริกก็ดี เกิดแล้วเจริญแล้วในน้ำ พ้นจากน้ำแล้วดำรงอยู่ได้โดยไม่เปื้อนน้ำ, ฉันใด; ภิกษุ ท.! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วเจริญแล้ว ในโลกครอบงำโลกแล้วอยู่อย่างไม่แปดเปื้อนด้วยโลก.
    ฉนั้น บุคคลทั้งหลายต้องพิจารณา " ทรงตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง" คือเห็นธรรม ด้วยพระองค์เอง พระองค์จึงทรงเป็นผู้มีปฎิสัมภิทาญานเป็นบุคคลแรก
    และก็ยังสอนให้ผู้อื่นได้รู้ตามด้วย
    สมดังที่กล่าวมาใน อาสภิวาจา คือ วาจาหรือคำพูดที่ประกาศถึงความเป็นผู้มีความสามารถสูงสุดในโลก ที่ทรงเปล่งออกมาทันทีที่ประสูติ
    พระองค์ตรัสว่า "เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี" คือทรงรู้ทรงทราบว่าพระองค์ต้องตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐอย่างแน่นอน
    อรรถพยัญชนะที่แสดงไว้นี้เพื่อ "ข่มผู้ที่ควรข่ม"ตามกาล
    สำหรับพวกลิ่วล้อบริวารสาวกมารถ้าไม่ได้อ่านก็ถือว่า กรรมหนักติดจรวด เอวังด้วยล่ะกันฯ

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พิจารณา มารร้ายคึกฤทธิ์กงจักรแปลงเป็นดอกบัวตนนี้ให้ดีๆ

    "ถ้าทุกกับป์ ทุกห้วงพุทธันดรเป็นแบบนี้ ทั้งในอดีตพุทธสมัย และอนาคตพุทธสมัย มีเพียงแต่คำสอนแบบนี้ สั่งให้มีเพียงแต่เดินตามๆ เป็นสาวกๆ รับรองว่าในภายภาคหน้าจะไม่มีพระพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงเสด็จมาตรัสรู้อีกแน่นอน"

    อย่าเสือกว่ากูปรุงแต่งอีกล่ะไอ้คึก กูรู้ว่ามึงเป็นมารเป็นกงจักรแปลงเป็นดอกบัวมาเกิด เป็นโมฆะบุรุษผู้สร้างสัทธรรมปฎิรูป เพื่อมาทำลายมรรคผลและการประดิษฐ์ฐานของพระพุทธศาสนา ตามคำสั่งของ วสวัสตีมารตนใหม่


    ""หายนะที่ซ่อนเร้น""

    ถ้าทุกกับป์ ทุกห้วงพุทธันดรเป็นแบบนี้ เดินตามๆ เป็นสาวกๆ รับรองว่า ไม่มีทางที่พระพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกพุทธเจ้าจะได้ทรงเสด็จมาตรัสรู้อย่างแน่นอน

    คำสอนของคึกฤทธิ์

    อาตมาไม่มีคำพูดของตนเอง เป็นพุทธวจน ล้วนๆ๑
    ถ้าแสดงธรรมผิดพลาดให้ไปเปิดอ่านเอาเอง๒
    ถ้าวิสัชนาพระสูตรผิดพลาด ก็ต้องมีผิดพลาดกันบ้าง ให้ระลึกอยู่เสมอเพราะว่าเราเป็นผู้เดินตามเท่านั้น๓
    พระไตรปิฏกทุกเล่มมีคำปลอมปนมีแต่"พุทธวจนปิฏก"ของอาตมาเท่านั้นที่เป็นคำจริง

    เพราะว่าอาตมาลอกมาจากเล่มที่มีคำปลอมคือ ฉบับสยามรัฐ โดยตัดคำปลอมในพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐออก๗๐% เหลืออีก๓๐%

    ในโลกใบนี้มีอาตมาเท่านั้นที่รู้ว่า พระไตรปิฏกทุกๆฉบับหรือในทุกๆสำนักไม่ว่าจะเป็นเล่มใดก็ตาม อาตมารู้ดีรู้หมด ว่า"มีคำปลอมอยู่เท่าไหร่ มีคำจริงอยู่เท่าไหร่ "ฉนั้น เปลี่ยนให้หมด๔

    นี่ก็เท่ากับว่า " มันได้กำจัดเหล่าพุทธภูมิมีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมดไปด้วย และถ้าเป็นอย่างที่มันพูดมันตีความจริงๆสรุปเลยนะครับ มันต้องการให้มีแต่สาวก หรือ โคตรภูสงฆ์ แม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถเป็นได้ครับ นี่มันจงใจทำลายพระสัทธรรมให้สูญสิ้นในคราเดียว ใครที่หลงเชื่อมัน ทำตามมัน ไม่มีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าในกาลข้างหน้าอย่างแน่นอนครับ เพราะมันสอนให้เดินตามมันและโหนกระแสศรัทธา เที่ยวหลอกคนอื่นว่าต้องเดินตามคำสอนพระพุทธเจ้าเพียงอย่างเดียวเป็นสาวก เป็นอุบาสกอุบาสิกา รัตน๕ที่มันเอามาอ้างเพียงเท่านั้น แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะมันใส่ความคิดผิดๆของมันลงไปล้วนๆ ไม่ใช่เดินตามพระธรรมและพระธรรมวินัย จึงทำลายเหล่าสายพุทธภูมิหรือปัจเจกภูมิจนสิ้น

    พึงระวังข้อนี้ให้ดีๆครับ ฝากเป็นข้อพิจารณา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...