อาการของภวังค์และการเกิดนิมิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย radius, 21 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. radius

    radius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +194
    ขอถามผู้รู้ค่ะว่าจำเป็นมั้ยที่ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องเกิดนิมิต เช่น อาการปิติน้ำตาไหล ตัวลอย ตัวพอง ฯลฯ เพราะว่าที่ปฏิบัติอยู่ทุกวันโดยการนั่งสมาธิและเดินจงกรมไม่เห็นมีอาการเหล่านี้เลย และอีกอย่างคือเวลานั่งสมาธิก็จะท่องพุทโธก็จะคอยตามรู้คำพร้อมกับลมหายใจเข้าออกไปด้วยแต่บางเวลาพอคิดฟุ้งออกไปก็จะดึงเข้ามาอยู่ที่คำบริกรรมและลมหายใจต่อก็จะเป็นเช่นนี้แต่ว่าบางวันก็จะมีอาการเหมือนกับคำบริกรรมและลมหายใจมันหายไปมันเหมือนอาการจิตดิ่งลงหรือยังไงก็อธิบายไม่ค่อยถูกมันเป็นเบาๆ มืดๆ แต่ว่าไปมันก็ยังมีความรู้สึกตัวอยู่ (อาการเหล่านี้มันแค่แวบเดียวเท่านั้น) เคยถามกับเพื่อนๆเขาบอกว่าเป็นอาการตกภวังค์ ไม่ทราบว่าใช่หรือเปล่าค่ะ ช่วยอธิบายอาการของภวังค์ด้วยค่ะอนุโมทนาในทุกๆ คำตอบค่ะ ขอให้เจริญในธรรม
     
  2. penney

    penney เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,137

    ต้องออกตัวก่อนนะคะว่าเราไม่ใช่ผู้รู้ แต่ขอเอาความรู้ที่เคยศึกษามาตอบแล้วกันค่ะ
    เรื่องของปิติ ไม่จำเป็นที่ทุกคนจะได้เจอนะคะ แต่ที่จะเจอปิติครบทุกตัว จะต้องเป็นพุทธภูมิค่ะ เพราะเขาจะต้องเป็นครูมาสอนพวกเราดังนั้นจึงต้องรู้ให้หมดรู้ลึกรู้จริงค่ะ <O:p
    เมื่อจิตเราเริ่มเข้าสู่อุปจารสมาธิ อุปจารสมาธิคือสมาธิเฉียดฌาน จะเริ่มมีอาการของปิติเกิดขึ้น ดังที่บอกไปนะคะว่าไม่จำเป็นว่าเราจะต้องเจอทุกตัว แต่หากเราเข้าสมาธิแล้วจิตเรานั้นละเอียดเลยระดับนี้ไป เราก็จะไม่พบกับปิติเลยก็ได้ค่ะ<O:p</O:p
    ปิติมีอะไรบ้าง<O:p
    ปีติ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจนี้มีถึง ๕ ประการ คือ
    ก. ขุทฺทกาปีติ ปลาบปลื้มใจ เล็กน้อย พอรู้สึกขนลุก
    ข. ขณิกาปีติ ปลาบปลื้มใจ ชั่วขณะ เกิดขึ้นบ่อยๆ
    ค. โอกฺกนฺติกาปีติ ปลาบปลื้มใจ ถึงกับตัวโยกตัวโคลง<O:p</O:p

    ง. อุพฺเพงฺคาปีติ ปลาบปลื้มใจ จนตัวลอย
    จ. ผรณาปีติ ปลาบปลื้มใจ จนอิ่มอาบซาบซ่านไปทั่วทั้งกายและใจ<O:p</O:p
    เมื่อเรารู้องค์ของฌานแต่ละขั้นจะมีอาการดังนี้นะคะ คุณลองพิจารณาดูนะคะ<O:p</O:p
    ฌานที่ 1 จะมี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคคตา<O:p</O:p
    ฌานที่ 2 จะมี ปิติ สุข เอกกัคคตา (วิตก วิจาร หาย)<O:p</O:p
    ฌานที่ 3 จะมี สุข เอกกัคคตา (ปิติหาย
    ฌานที่ 4 จะมี เอกกัคคตา (สุขหาย )
    <O:p</O:p
    วิตก คือ กำหนดที่อารมณ์ได้ ( คือการกำหนดพุทโธๆ )
    วิจารณ์ คือ รู้สึกต่ออารมณ์ได้ (คือรู้ถึงลมหายใจเข้าออก)
    ปิติ คือ ความพอใจ ปราโมทย์ที่บังคับได้
    สุข คือ สิ่งที่ตามมาเพราะปิติ
    เอกัคคตา คือ การรวมยอดอยู่ที่นั้น

    คุณลองอ่านรายละเอียดเรื่องฌานในนี้ต่อนะคะ
    http://www.geocities.com/SouthBeach/Terrace/4587/1page57-63.htm
    เผอิญเจอมาเราคิดว่ามันดีมากเลยค่ะ อาจจะตอบคำถามเรื่องของภวังค์ได้
    หรือรอให้ผู้รู้จริงๆมาตอบดีกว่าค่ะ<O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2008
  3. เจตนา

    เจตนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2007
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +464
    เอาไงดีละครับ
    ทีแรกผมก็อยากจะรู้นะครับว่า ทำไมเราไม่เห็นนมิตเวลานั่งสมาธิซักที
    คือ เวลาที่ผมนั่งสมาธิ ผมก็จะชอบฟังเทศไปด้วย

    ก็ได้ฟังจากคำเทศเกี่ยวกับเรื่องสมาธิมาบ้างเหมือนกันนะครับ

    บางท่านก็ว่าคนที่เห็นนิมิต เป็นคนจิตอ่อนไหวมาก
    หรือจะเห็นนิมิต ก็สมาธิขั้นสูง

    หลวงปู่เณรคำ ว่า คนที่เห็นนิมิตมากๆ อาจ จะบรรลุ นิพพาน ทีหลัง ก็ได้ คนไม่เห็นนิมิตเรยก็มี

    หลวงพ่อทูล วัดป่าบ้านค้อ ว่า นิมิต เป็นการหลอกล่อของกิเลสเท่านั้น

    สรุปว่า ทำมากๆๆเข้าไว้ เหตุมาก ผลก็มาก

    กิเลสมันจะบอกอยู่เสมอว่า เมื่อไรจะถึงขึ้นนั้น เมื่อไรจะถึงขั้นนี้ เมื่อไรนิมิตจะมา

    ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะครับ ผมมีความรู้น้อย
    และอีกอย่างผมก็ไม่เคนเห็นนิมิตเหมือนกันครับผม ผมก็เรยไม่รู้ว่านิมิตเป็นอย่างไร อิอิ

    อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ เจริญในธรรม
     
  4. lmagine

    lmagine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +359
    จากที่ได้ปฏิบัติมาบ้าง ภวังค์จะคล้ายๆตอนใกล้หลับ รู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง
    บางทีเหมือนตกจากที่สูง สะดุ้งออกจากสมาธิ
    บางทีก็ยังมีสติอยู่จิตก็จะคอยเรียก ยังตื่นอยู่ยังรู้ตัวอยู่ แต่สุดท้ายก็ไปเสร็จความง่วงเหงาหาวนอนทุกทีครับ - -"

    ผมเลยปฏิบัติไม่ถึงไหน

    นิมิตที่ผมเจอส่วนมากจะมาตอนหลับครับ ตรงกับชีวิตจริงบ้างไม่ตรงกับชีวิตจริงบ้าง (เพราะบางทีภาวนาพุทโธไปก็ห่วงเรื่องทางโลกไป)
    ถ้าจะให้ดีต้องทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างแล้วภาวนาไปครับ จิตจะใสเอง แล้วถ้าจะมีนิมิตมาให้เห็น ก็เป็นเรื่องของนิมิตครับ ไม่เกี่ยวกับเรา ^^

    แต่นิมิตตอนนั่งสมาธิยังไม่เคยเกิดครับ เพราะเห็นแก่นอนทุกที

    -------------------
    ส่วนเรื่องนิมิตเคยมีคนในบอร์ดนี้หละครับ(ผมจำชื่อไม่ได้จริงๆขอโทษด้วยครับ)
    แยกให้ฟังระหว่างนิมิต กับ จินตนาการที่สร้างขึ้นมาเอง

    เมื่อเกิดนิมิต จิตเราจะรู้สึกรู้จริงๆ เช่น เห็นแสงสว่างก็รู้สึกสว่างจริงๆ เหมือนแสงส่องตาจริงๆ

    หรือถ้านิมิตเห็นรถวิ่งผ่านหน้าก็จะเห็นไฟหน้ารถสว่างวาบ อาจจะมีตกใจบ้างเล็กน้อย

    ถ้าจินตนาการที่สร้างขึ้นเอง ก็จะรู้ว่ารถวิ่งผ่าน เปิดไฟหน้าแค่นั้น ไม่ได้รู้สึกว่ารถวิ่งจริงๆไฟสว่างเข้าตาจริงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2008
  5. penney

    penney เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ขอเพิ่มเติมนิดนึงนะคะ
    จะแนะนำว่าก่อนนั่งสมาธิ ควรหายใจ เข้าออกแรงๆ
    ประมาณ 2-3 ทีเพื่อไล่ลมหยาบออกไปค่ะ

    จะได้ไม่ตกจากฌาน
    อาการพลัดตกจากฌานก็คือระหว่างที่นั่งสมาธิอยู่เหมือนตกจากที่สูงอ่าค่ะ


    อันนี้เป็นเทคนิคที่หลวงปู่ปานท่านได้แนะนำหลวงพ่อฤาษี
     
  6. joezaaaa

    joezaaaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +1,124
    ก่องนั่ง ลองสวดอันนี้ก่องจิ (ม่ะรู้มีอ่าป่าว ถ้ามีก้อขภัยด้วย)
    คำบูชาพระรัตนตรัย
    โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สวากขาโต เยนะ ภะคะวาตา ธัมโม สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อภิปูชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะ นิพพุโตปิ ปัจฉิมมาชะนะตานุกัมปะมานะสา อิเมสักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ

    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
    สวาขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

    คำขอขมาพระรัตนตรัย
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

    คำสมาทานพระกรรมฐาน
    (หลวงพ่อนำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส
    (ว่าพร้อมกัน 3 ครั้ง) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจจะชามิ
    ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอมอบกายถวายชีวิตแด่องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขออารธนาบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆกันมา มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และพระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุงเป็นที่สุด
    ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่สภาวะ พระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปีติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 ขอพระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปีติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 จงมาบังเกิดปรากฎ ในกายทวาร ในวจีทวาร ในมโนทวาร ของข้าพระพุทธเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่สภาวะเเห่งเมฆจิต สามารถกำหนดจิต รู้ภาวะการณ์ต่างๆ ทั้งเหตุ ผล อดีต อนาคต และปัจจุบัน ได้ทุกขณะจิตที่ปรารถนาจะรู้ เมื่อรู้แล้ว ขอให้เห็นภาถนั้นได้ชัดเจนเเจ่มใสและพยากรณ์ได้ตามความเป็นจริงทุกๆประการ เหตุใดที่จะพึงบังเกิดแกข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้รู้เหตุนั้นได้โดยมิต้องกำหนดจิตแม้แต่ประการใด ณ กาลบัดเดี๊ยวนี้เถิด
    เมื่อ หายใจเข้าภาวนาว่า นะมะ หายใจออกภาวนาว่า พะธะ
     
  7. phil

    phil เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +436
    :555: ของเราจะคล้ายๆคุณ imagine เลยอ่ะ นิ่งซักพักเหมือนตกในภวังค์ แล้วมารู้ตัวอีกทีหลับแล้ว ฮา.. รวดเร็วมาก พอเริ่มจะสวดใกล้จบหมดทุกบทละ เอาเลย หาวๆๆๆ น้ำตาเล็ดน้ำตาร่วง ขนาดพึ่งอาบน้ำมา สดชื่น พอเริ่มนั่งสมาธิแป๊ปเดียว คอหักเลย เป็นประจำ คนอื่นชอบมีปัญหานั่งแล้วคิดโน่นคิดนี่ ไม่นิ่งซะที แต่เราจิตว่างและสงบมากๆ สงบจนนั่งหลับประจำ (n)
    ตอนหลังก็เลยนอนสมาธิเลยง่วงจะได้นอนไปเลย ก็มีโชคดีบางครั้งที่ก็ได้พบได้เห็นอะไรแปลกๆเวลานิ่งมากๆและไม่หลับ มีครั้งนึงนอนในห้องปิดไฟมืดหมดก็นอนแล้วภาวนาไปด้วย ซักพัก เอ้ย!..อะไรนี่ทำไมห้องมืดเราถึงเห็นมือจับตู้เสื้อผ้า.. เป็นคล้ายๆที่จับใสๆแล้วตรงปลาย 2 ด้านมีสีทอง.. ชัดมาก เราก็ เฮ้ย..ฝันไปหรือเปล่า แต่มันมีความรู้สึกว่าครึ่งหลับครึ่งตื่น จะลืมตาดูว่าใครมาเปิดไฟหรือเปล่าแต่ ตาก็หนักมากลืมไม่ขึ้น
    ซักพักก็เหมือนมีผู้ชายคนนึงเค้าพาไปดูอดีต..ถามเราว่าอดีตตอนเด็กๆ ลำบากอย่างนี้หรือเปล่า เราก็บอกว่าใช่ เหมือนเค้าพาเราไปดู ตั้งแต่เราเด็กๆจนค่อยๆโต พาเราไปดูอนาคตของเรา มันเหมือนลอยๆเหาะ ล่องลอยไปเรื่อยเป็นระดับๆ ว่าเป็นอย่างไร หลังจากนั้นด้วยความอยากรู้อีก...เราก็เลยถามเค้าว่าเราตายแล้วเราจะตกนรกมั้ย..เค้าก็บอก... เสร็จแล้วหลังจากนั้นก็มารู้ตัวอีกทีตอนเช้า

    เราก็ไม่รู้นะว่าเป็นนิมิตหรือฝัน อนาคตยังไม่เกิดขึ้น...อาจจะจริง...อาจไม่จริงก็ได้

    เหมือนเรื่องแสงในการนั่งสมาธิอีก เมื่อก่อนเรานั่งสมาธิเราก็สงสัยเรื่องแสง
    ว่าสีไหนเป็นจิตปรุงแต่ง อันไหนเป็นจริง ถามคนที่รู้เค้าก็บอกว่าต้องปฏิบัติเอง
    แล้วจะรู้ เค้าบอกไม่ได้ (เค้ากลัวว่าเราจะเอาคำพูดเค้ามาพูดแล้วหลอกว่าตัวเองเห็นเอง)
    ตอนนั้นนอนสมาธิอีก เราฝันจริงๆว่าหลวงปู่ทวดมาในนิมิต หลวงปู่มาสอนการนั่งสมาธิ เราเห็นหลวงปู่เหมือนฉันท์หมากด้วย (หลวงปู่เหมือนเคี้ยวๆอะไร)หลวงปู่บอกประมาณว่า แสงที่เราเห็น อันนี้จริง..อันนี้ไม่จริง แล้วหลวงปู่บอกว่าให้ขยันปฏิบัติแต่เราก็หลับประจำ จนไม่ค่อยมีการพัฒนาเลย:'(
     
  8. shesun

    shesun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +1,327
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย กล่าวว่าอาการตกภวังค์คืออาการเคลิ้มๆใกล้หลับ ( ถ้าไม่มีสติก็จะหลับไปเลย)...
    คุณแม่สิริ กรินชัย เคยบอกว่าท่านกำหนดสติละเอียดจึงไม่เคยเห็นนิมิต...
    ตัวดิฉันเองมีอาการวูบบ่อยๆ...บางครั้งตกใจ(ตื่น)...เคยได้ยินอาจารย์สอนกัมมัฏฐานบางคนเรียกอาการอย่างนี้ว่า สมาธิยิ่งเกิน...สติตามไม่ทัน ทางแก้คือเพิ่มสติ ความรู้ตัวทั่วพร้อม ...พระอาจารย์ปราโมทย์ ปราโมชโชท่านให้ดูจิต ตามดู ตามรู้โดยไม่ปรุงแต่ง เผลอก็รู้ว่าเผลอ...ในที่สุดจะเห็นว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง...
    เรื่องลมหายใจละเอียดจนแทบไม่หายใจ ไม่ใช่เรื่องแปลก...เคยเจอมาแล้วเหมือนกัน..ไม่ต้องรีบตะกายออกมาหายใจนะ มันไม่ตายหรอก...อีกเรื่อง ระวังมารหลอก ทุกวันนี้ยังเจ็บใจที่เสียรู้มาร...ถ้าเราทำสมาธิได้ดีมากๆแล้ว จะมีจิตอีกจิตหนึ่งมาบอกว่า เลิกเถอะ ดึกแล้ว วันหลังค่อยนั่งใหม่ก็ได้ อย่าหลงเชื่อเป็นอันขาด เพราะเราอาจพลาดโอกาสทอง...เล่าสู่กันฟังเฉยๆนะ เราก็ยังไม่ก้าวหน้าอะไรหลังจากเสียรู้มารครั้งนั้น...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2008
  9. ดาราจักร

    ดาราจักร ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,707
    ค่าพลัง:
    +10,092
    จากชายนิรนาม และคุณเฉลิมศักดิ์
    *************************

    ภวังค์

    คำคำนี้ ไม่อยู่ในรูปพระพุทธวจนะ ...จึงไม่มี ข้อมูลให้พิจารณาว่า ตามพุทธปัญญาแล้ว ทรงหมายถึง จิต หรือ มโน หรือวิญญาณ แบบไหน ฯลฯ

    ภวังค์ เกิดจากคำ ๒ คำ คำว่า ภวะ หรือ ภพ (แปลว่า ภาวะที่กำลังมี ที่กำลังเป็น ไปตามอำนาจของอวิชชา ฯลฯ ......ตามที่ตรัสปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ)
    กับคำว่า องค์ .....(องค์แปลว่าอะไรดูพจนานุกรม ฯ นะครับ)

    ...แปลไทยว่า องค์แห่งภพ (หมายถึงอะไรละ)

    ...แปลไทยเป็นไทยว่า ...หมายถึง นามธรรมที่ชื่อ จิตก็ดี หรือ มโนก็ดี หรือวิญญาณก็ดี ที่เป็นองค์แห่งภพ(ภาวะ) นั้นๆ ...

    ตรัสว่า ภพ มี ๓ (ไม่ตรัสภูมิ ๓๑ ในพระสูตรไหน) คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ

    ภวังค์ จึงเนื่องกับ .........จิตในองค์แห่งกามภพ / องค์แห่งรูปภพ / องค์แห่งอรูปภพ
    ตัวอย่างเช่น
    โยคีนอกพระพุทธศาสนา เข้าสมาธิแบบหินทับหญ้า ...กำหนดที่จิต (ธรรมชาติรู้เวทนา ๓) ...ก็จะกำหนดได้ว่า จิตขณะแห่งกามภพ เมื่อไม่ทำหน้าที่ในสภาวะกามภพด้วยอำนาจของฌาน ...จิตแห่งกามภพ ต้องละจากสภาวะนั้น(จึงจะเคลื่อนสู่) ไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง (คือรูปภพ หรือรูปฌานทั้ง ๔)
    .........แปลว่า จิตในสภาวะขณะแห่งกามภพ ได้ละภวังค์ (คือองค์แห่งกามภพ) ยกขึ้นสู่รูปภพ

    ภวังค์ ...มีความหมายดังกล่าวแล้ว ก็ได้ครับ


    ...แต่เพื่อให้ "อภิ แปลว่า เกิน - หรือเฟ้อ -หรือ ฯลฯ" ...ก็ต้องอธิบายตามที่ อภิธัมมัตถสังคหะ (ไม่อยู่ในรูปพระพุทธวจนะ)เสนอเรื่อง จิตปรมัตถ์ หรือ ตามที่วิสุทธิมัคค์เสนอวิญญาณกิจ ๑๔ ภวังค์ ได้แก่ จิต ๑๙ อะไรนั่น

    โปรดพิจารณา ที่พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) เสนอไว้ในรู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป้นชาวพุทธที่แท้ หน้า ๙๖
     
  10. ดาราจักร

    ดาราจักร ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,707
    ค่าพลัง:
    +10,092
    ขอเสริมอีกนิดนึก เรื่องของจิต จากพระธรรม
    **************************************

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700 border=0><TBODY><TR><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]อเหตุกกิริยาจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นสักแต่ว่ากระทำหน้าที่ของตนเท่านั้น ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป และไม่ใช่จิตที่เป็นผลของบุญหรือผลของบาป คือ เป็นจิตที่ไม่ใช่เหตุและไม่ใช่ผล[/FONT] </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=55> [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]อเหตุกกิริยาจิต มี ๓ ดวง คือ [/FONT]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=*>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="98%" border=0><TBODY><TR><TD width="5%">[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]๑.[/FONT]</TD><TD width="95%" height=50>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ปัญจทวาราวัชชนจิต [/FONT]</TD></TR><TR><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC] [/FONT]</TD><TD bgColor=#f6f6f6>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]เป็นจิตที่ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ ที่มากระทบทางทวารทั้ง ๕ ว่าเป็นอารมณ์ทางทวารไหน[/FONT][FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC] และเป็นปัจจัยให้จิตดวงต่อไป รับอารมณ์ทางทวารนั้นๆ เปรียบเหมือนนายทวาร ที่รักษาประตูพระราชวัง ที่คอยเปิดประตู ให้แขกผ่านตามฐานะของบุคคล ไม่ได้ติดตามไปทำหน้าที่อย่างอื่น[/FONT]</TD></TR><TR><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]๒.[/FONT]</TD><TD height=50>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]มโนทวาราวัชชนจิต [/FONT]</TD></TR><TR><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC] [/FONT]</TD><TD bgColor=#f6f6f6>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]หมายถึงจิตที่พิจารณาอารมณ์ทางมโนทวาร และทำหน้าที่ตัดสิน ปัญจารมณ์คืออารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทางทวารทั้งห้า (โวฏฐัพพนจิต)[/FONT]</TD></TR><TR><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]๓.[/FONT]</TD><TD height=50>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]หสิตุปปาทจิต [/FONT]</TD></TR><TR><TD height=*>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC] [/FONT]</TD><TD bgColor=#f6f6f6>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]คือจิตที่ทำให้เกิดการยิ้มของพระอรหันต์ เกิดขึ้นพร้อมด้วยความดีใจ[/FONT][FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC] จิตดวงนี้เกิดขึ้น เมื่อเวลาที่พระอรหันต์ พิจารณาเห็นกรรมของบุคคล ที่กำลังได้รับความทุกข์ แล้วย้อนกลับมาพิจารณา ตัวท่านเองว่า ท่านได้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงแล้ว จึงทำให้เกิดโสมนัส และเกิดการยิ้มขึ้น การยิ้มด้วยอาการเช่นนี้ เกิดได้ด้วย หสิตุปปาทจิต[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD height=108> [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]การหัวเราะและการยิ้มโดยทั่วไป เกิดจากจิตหลายประเภท บุคคลที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ย่อมหัวเราะหรือยิ้ม ด้วยโลภมูลจิตที่เป็นโสมนัส หรือมหากุศลจิตที่เป็นโสมนัส พระอรหันต์ท่านไม่มีกิเลสแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะทำให้ท่านหัวเราะ อย่างมากก็เพียงแค่ยิ้มเท่านั้น ขณะที่พระอรหันต์ยิ้มนั้น ท่านอาจยิ้มด้วย มหากิริยาจิตที่เป็นโสมนัส หรือหสิตุปปาทจิต ซึ่งเป็นอเหตุกกิริยาจิตก็ได้[/FONT]</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=55>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]การยิ้มและการหัวเราะ[/FONT]</TD></TR><TR><TD> [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]การยิ้มและการหัวเราะ ย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลาย ในลักษณะที่แตกต่างกัน ในคัมภีร์อลังการ ท่านจำแนกไว้เป็น ๖ อย่าง คือ[/FONT]</TD></TR><TR><TD>
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=right width="5%">[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]๑.[/FONT]</TD><TD vAlign=top width="15%">[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]สิตะ [/FONT]</TD><TD vAlign=top width="80%">[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ยิ้มอยู่บนใบหน้า ไม่เห็นไรฟัน เป็นพระอาการยิ้มแย้มของพระพุทธเจ้า[/FONT]</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]๒.[/FONT]</TD><TD vAlign=top>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]หสิตะ [/FONT]</TD><TD vAlign=top>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]การยิ้มพอเห็นไรฟัน เป็นการยิ้มของพระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน และปุถุชน แต่การยิ้มชนิดนี้ นอกจากพระอรหันต์แล้ว ก็เป็นการยิ้ม ที่ประกอบด้วยเหตุบุญ หรือเหตุบาปเสมอ[/FONT]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]๓.[/FONT]</TD><TD vAlign=top>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]วิหสิตะ [/FONT]</TD><TD vAlign=top>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]หัวเราะมีเสียงเบาๆ เกิดจากจิตของปุถุชนและพระอริยบุคคล ๓ พวก คือพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี[/FONT]</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]๔.[/FONT]</TD><TD vAlign=top>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]อติหสิตะ [/FONT]</TD><TD vAlign=top>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]การหัวเราะมีเสียงดังมาก ซึ่งมีในปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทาคามี[/FONT]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]๕.[/FONT]</TD><TD vAlign=top>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]อปหสิตะ [/FONT]</TD><TD vAlign=top>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]การหัวเราะจนไหวโยกทั้งกาย เป็นการหัวเราะเฉพาะปุถุชน เท่านั้น[/FONT]</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]๖.[/FONT]</TD><TD vAlign=top>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]อุปหสิตะ [/FONT]</TD><TD vAlign=top>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]การหัวเราะจนน้ำตาไหล เป็นการหัวเราะของปุถุชน เท่านั้น[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]หสิตุปปาทจิตนี้ เป็นจิตที่ทำให้เกิดการยิ้มโดยไม่ยึดมั่นในอารมณ์ ซึ่งต่างจากจิตที่ทำให้เกิดการหัวเราะทั่วๆ ไป[/FONT]</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD height=56> [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]เพื่อให้เข้าใจการทำงานของอเหตุกจิต จึงขอยกวิถีจิต ที่เกิดขึ้นทางตา เพื่อรับรูปารมณ์ (จักขุทวารวิถี) มาอธิบายพอเป็นสังเขปดังนี้ :-[/FONT]</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffff border=2><TBODY><TR><TD>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="98%" border=0><TBODY><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=middle width="6%">[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC][/FONT]</TD><TD vAlign=top align=middle width="5%">[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]=[/FONT]</TD><TD width="89%">[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ภวังคจิต คือจิตที่ทำหน้าที่รักษาขันธ์ ๕ ในชาติปัจจุบันไว้ ไม่ให้แตกทำลายไป จนกว่าจะสิ้นอายุ จากชาตินี้[/FONT]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ตี[/FONT]</TD><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]=[/FONT]</TD><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]อตีตภวังค์ คือ ภวังคจิตที่ผ่านไปในระหว่างที่รูปารมณ์เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ปรากฏทางตา[/FONT]</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC][/FONT]</TD><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]=[/FONT]</TD><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ภวังคจลนะ คือ ภวังค์ที่หวั่นไหวด้วยอำนาจของรูปารมณ์ที่มาปรากฏทางตา[/FONT]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC][/FONT]</TD><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]=[/FONT]</TD><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ภวังคุปัจเฉทะ คือ ตัดกระแสภวังค์ เช่น บุคคลที่ตื่นจากหลับ หรือเปลี่ยนอารมณ์ใหม่[/FONT]</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC][/FONT]</TD><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]=[/FONT]</TD><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ปัญจทวาราวัชชนจิต ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ใหม่ที่กำลังปรากฏทางตา[/FONT]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]จัก[/FONT]</TD><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]=[/FONT]</TD><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]จักขุวิญญาณจิต คือ จิตที่เห็นรูปารมณ์ที่กำลังปรากฏอยู่ทางตา (ได้แก่จักขุวิญญาณจิต ที่เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง และเป็นอกุศลวิบากอีก ๑ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง) [/FONT]</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]สํ[/FONT]</TD><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]=[/FONT]</TD><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]สัมปฏิจฉนจิต ทำหน้าที่รับรูปารมณ์ที่กำลังปรากฏ (ได้แก่สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง)[/FONT]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC][/FONT]</TD><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]=[/FONT]</TD><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]สันตีรณจิต ทำหน้าที่ไต่สวนรูปารมณ์ที่กำลังปรากฏ (ได้แก่สันตีรณจิต ๓ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง)[/FONT]</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=middle height=46>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC][/FONT]</TD><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]=[/FONT]</TD><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]โวฏฐัพพนะ ทำหน้าที่ตัดสินรูปารมณ์ที่กำลังปรากฏว่าดีหรือไม่ดี ซึ่งจะมีผลต่อจิต
    ที่จะเกิดมารับอารมณ์ดวงถัดไป จิตที่ทำหน้าที่นี้ก็คือ มโนทวาราวัชชนจิต
    [/FONT]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC][/FONT]</TD><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]=[/FONT]</TD><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ชวนะ ทำหน้าที่เสพอารมณ์ คือ สำเร็จกิจเป็นอกุศล กุศล หรือกิริยา (สำหรับพระอรหันต์) ในที่นี้ก็คือ หสิตุปปาทจิต[/FONT]</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC][/FONT]</TD><TD vAlign=top align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]=[/FONT]</TD><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ตทารัมมณะ คือรับรูปารมณ์ต่อจากชวนะ ๒ ขณะ เป็นช่วงสุดท้ายของวิถีจิตนี้ จิตที่ทำหน้าที่นี้ก็คือ สันตีรณจิต ๓ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง[/FONT]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle> </TD><TD vAlign=top align=middle> </TD><TD align=middle>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC](จะอธิบายโดยละเอียดอีกครั้งในเรื่องของวิถีจิต)[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]อเหตุกจิต[/FONT][FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC] จะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า ผลของกรรมนั้นมีจริง นอกจากเป็นผลให้สัตว์ ต้องไปเกิดในทุคติภูมิ (อบายภูมิ ๔) หรือสุคติภูมิ (มนุษยภูมิ และ เทวภูมิ) ในปฏิสนธิกาลแล้ว ในปวัตติกาล คือภายหลังการเกิดแล้ว ยังทำให้ประสบกับอารมณ์ ทั้งที่ดีและไม่ดี สลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ตามแต่โอกาส ในการส่งผลของอดีตกรรม และปัจจุบันกรรมจะมาถึง[/FONT] [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]บางครั้งก็เห็นไม่ดี ได้ยินไม่ดี ได้กลิ่นไม่ดี รู้รสไม่ดี สัมผัสถูกต้องไม่ดี ถูกนินทาว่าร้าย ถูกใส่ความ ฯลฯ เมื่อประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้ อย่าเพิ่งไปหลงโกรธผู้อื่นเป็นอันขาด เพราะการประสบกับอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่ดี) เหล่านี้ ล้วนเป็น ผลของอกุศลกรรม ที่เราเป็นผู้สร้างไว้เอง ในอดีตและปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม) ทั้งสิ้น หาใช่เป็นการกระทำของใครอื่นไม่ และเมื่อใด ที่เราได้เห็นสิ่งที่สวยงาม ได้ยินเสียงที่ไพเราะ หรือเรื่องราวที่ดีๆ ได้กลิ่นหอมๆ ได้ลิ้มรสที่อร่อย และได้รับความสุขกายสบายใจ เหล่านี้ ล้วนเป็นผลของกุศลกรรม ที่เราได้กระทำไว้แล้วในอดีต และปัจจุบัน ทั้งสิ้นเช่นกัน [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    เรื่องของภวังคจิตนี้ผมอ่านเจอจากคำสอนของหลวงปู่เทสก์ เห็นว่าดีมากเลยครับ เลยนำเนื้อหามาให้ทุกท่านได้ลองอ่านดูครับ:-


    สมถะ สมถะเมื่อแยกออกไปแล้ว มี ๒ ประเภทคือ สมถะทำความสงบเฉยๆ ๑ สมถะที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๑
    สมถะทำความสงบเฉยๆ นั้น จะกำหนดพระกรรมฐานหรือไม่ก็ตาม แล้วทำจิตให้สงบอยู่เฉยๆ ไม่เข้าถึงองค์ฌาน อย่างนี้เรียกว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ย่อมมีแก่ชนทั่วไปในบางกรณี ไม่จำกัดมีได้เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น
    ส่วนสมถะที่ประกอบไปด้วยองค์ฌานนั้น มีได้แต่เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น เมื่อถึงซึ่งความสงบครบด้วยองค์ฌานแล้ว เรียกว่า ฌานุเปกขา ฌานุเปกขานี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๒ ประเภท คือฌานุเปกขาที่ปรารภรูปเป็นอารมณ์ เอารูปเป็นนิมิต เรียกว่ารูปฌาน ๑ อรูปฌาน ปรารภนามนามเป็นอารมณ์ เอานามเป็นนิมิต ๑ แต่ละประเภทท่านจำแนกออกไว้เป็นประเภทละ ๔ รวมเรียกว่ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ จึงเป็นสมาบัติ ๘
    ฌานนี้มีลักษณะอาการให้เพ่งเฉพาะในอารมณ์เดียว จะเป็นรูปหรือนามก็ตาม เพื่อน้อมจิตให้สงบปราศจากกังวลแล้วเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ มีความสุขเป็นที่นิยมแลปรารถนา เมื่อสมประสงค์แล้วก็ไม่ต้องใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ในสังขารทั้งหลายมีกายเป็นต้น ดังแสดงมาแล้วนั้นก็ดี หรือจะพิจารณาใช้แต่พอเป็นวิถีทางเดินเข้าไปเท่านั้น เมื่อถึงองค์ฌานแล้วย่อมมีลักษณะแลรสชาติ สุข เอกัคคตา และเอกัคคตา อุเบกขา เสมอเหมือนกันหมด ฉะนั้น ฌานนี้จึงเป็นของฝึกหัดได้ง่าย จะในพุทธกาลหรือนอกพุทธกาลก็ตาม ผู้ฝึกหัดฌานนี้ย่อมมีอยู่เสมอ แต่ในพุทธศาสนา ผู้ฝึกหัดฌานได้ช่ำชองแล้ว มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองฌานอยู่ เนื่องด้วยอุบายของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นเครื่องส่องสว่างให้ จึงไม่หลงในฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นฌานของท่านเลยเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่านผู้ขีณาสพ เรียกว่า โลกุตรฌาน ส่วนฌานที่ไม่มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครอง เรียกว่า โลกิยฌาน เสื่อมได้ และเป็นไปเพื่อก่อภพก่อชาติอีก ต่อไปนี้จะได้แสดงฌานเป็นลำดับไป
    รูปฌาน ๔ เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งอยู่ มีกายคตาเป็นต้น จนปรากฏพระกรรมฐานนั้นชัดแจ่มแจ้งกว่าอนุมานทิฏฐิ ซึ่งได้กำหนดเพ่งมาแต่เบื้องต้นนั้น ด้วยอำนาจของจิตที่เปลี่ยนจากสภาพเดิม อันระคนด้วยอารมณ์หลายอย่าง และเป็นของหยาบด้วย แล้วเข้าถึงซึ่งความผ่องใสในภายในอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว เรียกง่ายๆ ว่า ขันธ์ทั้งห้าเข้าไปรวมอยู่ภายในเป็นก้อนเดียวกัน ฉะนั้น ความชัดอันนั้นจึงเป็นของแจ้งชัดกว่าความแจ้งชัดที่เห็นด้วยขันธ์ ๕ ภายนอก พร้อมกันนั้น จิตจะมีอาการวูบวาบรวมลงไป คล้ายกับจะเผลอสติแล้วลืมตัว บางทีก็เผลอสติแล้วลืมตัวเอาจริงๆ แล้วเข้าไปนิ่งเฉยอยู่คนเดียว ถ้าหากผู้สติดีหมั่นเป็นบ่อยๆ จนชำนาญแล้ว ถึงจะมีลักษณะอาการอย่างนั้นก็ตามรู้ตามเห็นอยู่ทุกระยะ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า "จิตเข้าสู่ภวังค์" เป็นอย่างนั้นอยู่ขณะจิตหนึ่งเท่านั้น แล้วลักษณะอย่างนั้นหายไป ความรู้อยู่หรือจะส่งไปตามอาการต่างๆ ของอารมณ์ก็ตามเรื่อง บางทีจะแสดงภาพให้ปรากฏในที่นั้นด้วยอำนาจของสังขารขันธ์ภายใน ให้ปรากฏเห็นเป็นต่างๆ เช่น มันปรุงอยากจะให้กายนี้เป็นของเน่าเปื่อยปฏิกูล หรือสวยงามประการใดๆ ภาพก็จะปรากฏขึ้นมาในที่นั้นโดยไม่รู้ตัว ดังนี้เป็นต้น แล้วขันธ์ทั้งสี่มีเวทนาขันธ์เป็นอาทิก็เข้ารับทำหน้าที่ตามสมควรแก่ภาวะของตนๆ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต บางทีส่งจิตนั้นไปดูสิ่งต่างๆ ที่ตนต้องการแลปรารถนาอยากจะรู้ ก็ได้เห็นตามเป็นจริง บางทีสิ่งเหล่านั้นมาปรากฏขึ้นเฉยๆ ในที่นั้นเอง พร้อมทั้งอรรถแลบาลีก็มีได้ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าใช้ขันธ์ภายในได้
    ยังอีก ขันธ์ภายในจะต้องหลอกลวงขันธ์ภายนอก เช่น บางคนซึ่งเป็นคนขี้ขลาดมาแล้วแต่ก่อน พอมาอบรมถึงจิตในขณะนี้เข้าแล้ว ภาพที่ตนเคยกลัวมาแล้วแต่ก่อนๆ นั้น ให้ปรากฏขึ้นในที่นั้นเอง สัญญาที่เคยจำไว้แต่ก่อนๆ ที่ว่าเป็นของน่ากลัวนั้นก็ยิ่งทำให้กลัวมากขึ้นจนขวัญหนีดีฝ่อ ด้วยสำคัญว่าเป็นของจริงจังอย่างนี้เรียกว่าสังขารภายในหลอกสังขารภายนอก เพราะธรรมเหล่านี้เป็นสังขตธรรม ด้วยอำนาจอุปาทานนั้นอาจทำผู้เห็นให้เสียสติไปได้ ผู้ฝึกหัดมาถึงขั้นนี้แล้วควรได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ผู้ชำนาญ เมื่อผ่านพ้นในตอนนี้ไปได้แล้ว จะทำหลังมือให้เป็นฝ่ามือได้ดี เรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย มีความมุ่งหมายเป็นส่วนมาก ผู้ที่ยังไม่เคยเป็น แต่เพียงได้ฟังเท่านั้น ตอนปลายนี้ชักให้กลัวเสียแล้วไม่กล้าจะทำต่อไปอีก ความจริงเรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย เมื่อทำถูกทางเข้าแล้วย่อมได้ประสบทุกคนไป แลเป็นกำลังให้เกิดวิริยะได้อย่างดีอีกด้วย ภวังค์ชนิดนี้เป็นภวังค์ที่นำจิตให้ไปสู่ปฏิสนธิเป็นภพชาติ ไม่อาจสามารถจะพิจารณาวิปัสสนาชำระกิเลสละเอียดได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลส
    ฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ท่านแสดงองค์ประกอบไว้เป็นชั้นๆ ดังจะแสดงต่อไปนี้ แต่เมื่อจะย่นย่อใจความเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว ฌานต้องมีภวังค์เป็นเครื่องหมาย ภวังค์นี้ท่านแสดงไว้มี ๓ คือ ภวังคบาต ๑ ภวังคจลนะ ๑ ภวังคุปัจเฉทะ ๑
    ภวังคบาต เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์นั้นมาอาการให้วูบวาบลง ดังแสดงมาแล้วในข้างต้น แต่ว่าเป็นขณะจิตนิดหน่อย บางทีแทบจะจำไม่ได้เลย ถ้าหากผู้เจริญบริกรรมพระกรรมฐานนั้นอยู่ ทำให้ลืมพระกรรมฐานที่เจริญอยู่นั้น แลอารมณ์อื่นๆ ก็ไม่ส่งไปตามขณะจิตหนึ่ง แล้วก็เจริญบริกรรมพระกรรมฐานต่อไปอีกหรือส่งไปตามอารมณ์เดิม
    ภวังคจลนะ เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ว่าเมื่อถึงภวังค์แล้ว เที่ยวหรือซ่านอยู่ในอารมณ์ของภวังค์นั้น ไม่ส่งออกไปนอกจากอารมณ์ของภวังค์นั้น ปฏิภาคนิมิตและนิมิตต่างๆ ความรู้ความเห็นทั้งหลายมีแสงสว่างเป็นต้น เกิดในภวังค์นี้ชัดมาก จิตเที่ยวอยู่ในอารมณ์นี้
    ภวังคุปัจเฉทะ เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์แล้วขาดจากอารมณ์ภายนอกทั้งหมด แม้แต่อารมณ์ภายในของภวังค์ที่เป็นอยู่นั้น ถ้าเป็นทีแรกหรือยังไม่ชำนาญในภวังค์นั้นแล้วก็จะไม่รู้ตัวเลย เมื่อเป็นบ่อยหรือชำนาญในลักษณะของภวังค์นี้แล้วจะมีอาการให้มีสติรู้อยู่ แต่ขาดจากอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด ภวังค์นี้จัดเป็นอัปปนาสมาธิได้ ฉะนั้นอัปปนานี้บางท่านเรียกว่าอัปปนาฌาน บางทีท่านเรียกว่า อัปปนาสมาธิ มีลักษณะผิดแปลกกันนิดหน่อยดังอธิบายมาแล้วนั้น เมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิแล้ว มาอยู่ในอุปจารสมาธิ ไม่ได้เป็นภวังคจลนะ ในตอนนี้พิจารณาวิปัสสนาได้ ถ้าเป็นภวังคจลนะแล้วมีความรู้แลนิมิตเฉยๆ เรียกว่า อภิญญา ภวังค์ทั้งสามดังแสดงมานี้เป็นเครื่องหมายของฌาน


    ที่มา:
    http://www.geocities.com/Tokyo/Gulf/4126/tesk0002.html
     
  12. นิมิตรธัญญา

    นิมิตรธัญญา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +199
    วูบลงไปสู่อารมณ์ธรรมดาๆ สบายๆ (ภวังคบาต ที่คุณ witบอกนะแหละ)
    พอเกิดสงสัย ก็ออกมาสู่อารมณ์ปกติก่อนที่จะภาวนา

    สงสัย อยากรู้ไปก็เท่านั้น เป็นนิวรณ์อุปสรรคในการทำสมาธิ มันเกิดอะไรขึ้นมา ก็เฉยๆไปซะ ช่างมัน แค่รู้ แค่เห็น

    มั่นในลมและภาวนา

    อย่าอยากรู้ อย่าอยากเห็น อย่าอยากเป็น

    อย่าไปกะไปเกร็ง ว่ามันต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

    รู้ลมและภาวนา ทำพอกลางๆสบายๆ ไม่หย่อนไป ไม่เพ่งเกินไป

    ถึงเวลามันก็ได้เองแหละ ไอ้ปิติ สุข เอกัคตา
     
  13. อยาก เวียนว่าย

    อยาก เวียนว่าย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +17
    ผมเองก็ไม่ใช่ผู้รู้ เพราะตัวเองก็ยังผลุบๆโผล่ๆอยู่ ยังมืดมากกว่าสว่าง
    แต่คิดซะว่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติกัน ในฐานะเพื่อน
    สหธรรมิกก็แล้วกันนะครับ ผิดพลาดประการใดก็อโหสิกรรมให้ผมด้วยครับ

    จาก..."อาการเหมือนกับคำบริกรรมและลมหายใจมันหายไป"
    -อันนี้ผมว่ายังอยู่ในช่วงภวังค์นอกสุด ถ้ามันจะหายก็ช่างมันไม่ต้องไปกังวลครับ

    "มันเหมือนอาการจิตดิ่งลงหรือยังไงก็อธิบายไม่ค่อยถูกมันเป็นเบาๆ มืดๆ"
    -นั่นล่ะน่าจะใช่ภวังค์ จะมีความรู้สึกเคลิ้มๆกึ่งรู้ตัวกึ่งไม่รู้ตัวแต่อาจเพราะสติ
    รู้ตัวแรงไปเลยตื่นตอนอยู่กลางอุโมงค์พอดี หรือไม่ก็ยังไม่หลุดออกไปสู่อีกฟาก
    หนึ่งเลยยังรู้สึกมืดๆ

    "แต่ว่าไปมันก็ยังมีความรู้สึกตัวอยู่ (อาการเหล่านี้มันแค่แวบเดียวเท่านั้น)"
    -ครับรู้สึกตัว แต่ก็เพราะมันรู้สึกตัวแรงไปน่ะครับ เลยหลุด ไม่เป็นไรลองใหม่


    -ลองนึกภาพภวังค์ เป็นเหมือนวังน้ำวนเล็กๆที่จะดูดตัวคุณ การทำสมาธิ
    ก็เหมือนตัวคุณลอยไปพร้อมกับทุ่น ทุ่นเปรียบได้กับบริกรรมหรือนิมิต
    การกอดทุ่นไว้ก็คือสติ ถ้าตอนถูกดูดคุณปล่อยทุ่นหลุดมือ คุณจมลงใต้น้ำไปเลย
    ก็คือคุณหลับ แต่ถ้าสติคุณแรงเกินไปก็เหมือนการที่คุณตีเท้าหนีออกมาคุณก็ตื่น
    ก็อดด้วยกันทั้ง2วิธี
    แต่ถ้าตอนโดนมันดูด คุณไม่ปล่อยมือจากทุ่น ไม่ทุรนทุราย ปล่อยใจสบายๆ
    ไหลไปกะมัน พอมันดูดคุณจนถึงที่สุดแล้วมันจะคลายตัว ทุ่นที่คุณกอดไว้ก็
    จะพาคุณลอยขึ้นมาพบแสงสว่าง .......แค่นี้ก่อนละกันครับ

    ขอให้โชคดีนะครับ
     
  14. อยาก เวียนว่าย

    อยาก เวียนว่าย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +17
    ขอแลกเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับภวังค์กะปิติ ต่ออีกซักยกนะครับ


    ปิติ-ไม่จำเป็นต้องมีทุกคน และแต่ละคนก็ไม่จำเป็นต้องมีทุกครั้ง
    และแต่ละครั้งก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเหมือนกัน ส่วนใหญ่พวกมือใหม่
    ปิติจะแรง พอคุ้นแล้วมันจะเบามาก

    ภวังค์-ตามพจนานุกรมว่าไงผมก็ไม่รู้ แต่ตามความเข้าใจของผม
    ภวังค์เป็นจุดเชื่อมต่อของสภาวะจิต ระหว่างหยาบกับละเอียด
    หรือละเอียดกับละเอียดกว่า(ภวังค์มีหลายระดับ)ประสาทรับรู้จะค่อยๆ
    ลดการทำงานลงทีละระดับ ตามระยะชั้นความละเอียดที่เราเจาะเข้าไป
    ภวังค์ที่พวกเราทั่วไปทุกคนแม้จะไม่ได้ทำสมาธิ ได้เจอกันอยู่ทุกวัน
    ก็คือการข้ามจากตื่นสู่หลับและหลับสู่ตื่น ตรงข้อต่อน่ะแหละคือภวังค์

    ภวังค์ของการหลับกับภวังค์ของสมาธิมีความแตกต่างกันตรงที่
    ภวังค์ของการหลับ เราไม่ได้เอาสติตามกำกับ พอหลับแล้วจิตก็จะท่อง
    เที่ยวไปตามหน่วยความจำต่างๆ(สัญญา)ตามอัตโนมัตเรียกว่า ฝัน

    แต่ภวังค์ของสมาธิ สติจะคอยประคองเบาๆจนเราหลุดออกสู่อีกฟากหนึ่ง
    เน้นว่าต้องเบาจริงๆ เพราะถ้าสติและสัมปชัญญะแรงก็จะกลับไปสู่การตื่น
    และถ้าสติอ่อนมากจนขาดหายไปเลย ก็จะเป็บการหลับ ดังนั้น
    เมื่อยังมีสติตามกำหนดให้จิตเกิด-ดับกับสัญญาเดิมๆซ้ำๆ(นิมิต)
    ตอนนี้จิตจะละเอียดมากขึ้น นิมิตที่กำหนดก็จะแจ่มชัดสว่างขึ้นมา
    พอหลุดมาถึงตรงนี้ สติกับสัมปชัญญะจะกลับแรงขึ้นมานิดนึง
    (นิดนึงจริงๆถ้าแรงมากก็จะหลุดอีกน่ะแหละ)พอให้เราแน่ใจว่า
    เราไม่ได้หลับ ไม่ได้ฝัน ถ้าไม่เชื่อลองลืมตาทันที ถ้าเป็นนิมิตจากสมาธิ
    พอลืมตาขึ้นมานิมิตนั้นจะไม่หายแว้บไปทันที แต่จะค่อยๆจางหายไป
    -(อันนี้ผมก็ไม่อยากแนะนำนะ ทางที่ดีอย่าลองจะดีกว่า)
    และทุกๆข้อต่อขององค์ฌานจะมีภวังค์อย่างนี้ขั้นอยู่ทุกชั้นแต่มีความ
    ละเอียดปราณีตแตกต่างกัน การรับรู้ช่วงภวังค์ของแต่ละคนมีความยาว
    นานไม่เท่ากัน แต่ที่เหมือนกันคือยิ่งเข้าไปลึกมากเท่าไหร่ ประสาทการ
    รับรู้โลกภายนอกก็จะลดน้อยไปตามลำดับ สติและสัมปชัญญะจะเบา
    ลงไปเรื่อยๆแต่จะละเอียดขึ้น จนถึงขั้นตัดการรับรู้ไปเลย

    การตื่นนอนกับการออกจากสมาธิ
    การตื่นนอนเราจะจำช่วงเวลาที่เราหลับหรือฝันได้บ้างไม่ได้บ้างเพราะสติ
    จะมีเป็นช่วงๆ ช่วงไหนสติแรงฝันจะชัดก็จำได้ ช่วงไหนสติหายก็จำไม่ได้
    แต่การออกจากสมาธิ(ที่เป็นสมาธิ)เราจะจำได้เกือบทั้งหมด
    ว่าอะไรเป็นอะไร พบอะไรเจออะไร
     
  15. ดาราจักร

    ดาราจักร ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,707
    ค่าพลัง:
    +10,092
    ธรรมอันเกิดจากเหตุ พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้รู้ถึงเหตุนั้น

    ใครสงสัยธรรมอะไร ถ้าลองปฏิบัติแล้วยังสงสัยอยู่

    ก็ไม่สามารถทำให้ผลการปฏิบัติก้าวหน้าไปได้

    ก็ลองค้นหาตำตอบ จากพระไตรปิฎกเป็นพื้นไปก่อน

    แล้วทำกำลังใจให้สบาย แล้วเพียรลงมือปฏิบัติไปจนกว่าจะเห็นจริงตามนั้นครับ

    เพราะคงไม่ใช่ทุกคนที่สามารถปฏิบัติแล้วขึ้นไป ทูลถามได้โดยตรง

    และไม่ใช่ทุกคนที่ปฏิบัติแล้วจะได้ผลเร็ว และไม่ติดอะไร

    อนุโมทนาครับ
     
  16. เด็กโชว์พาว

    เด็กโชว์พาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,082
    ค่าพลัง:
    +470
    ส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่ให้หลงกันอ่ะครับเท่าที่อ่าน ผมก็ไม่ได้หลงนะแต่เวลาผมตกภวังค์ในสมาธิแล้วเห็นนิมิตน่ะมันตรงมากๆเลย ถ้าตกภวังค์แล้วเห็นนิมิตเมื่อไหร่ผมจะพยายามจำให้ได้เพราะผมถือว่ามันเป็นลางบอกเหตุหรือเป็นกุญแจอะไรสักอย่างครับแต่มักจะลืมจำได้แต่บางภาพที่ติดตาเท่านั้น แต่นิมิตในสมาธิผมเห็นไม่บ่อยหรอกนานๆครั้ง แต่เวลาเกิดก็จะพยายามจำอ่ะ ผมว่ามันตรงนะ
     
  17. นักปราชญ์

    นักปราชญ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +4
    รบกวนถามว่า อาการขณะที่นั่งเกิดความรู้สึกเหมือนอยู่ใจกลางพายุ คือได้ยินเสียงลมที่พัดแรงมาก และขนลุก ตัวชา ขยับไม่ได้ และเห็นนิมิตเป็นสีแดงเคลื่อนไหวกระเพื่อมคล้ายกับแรงลม พอแผ่เมตตากระแสแห่งลมและนิมิตที่เห็นก็ยิ่งเคลื่อนไหวเร็วขึ้น หมายความว่าอย่างไร ขอความเมตตาจากผู้ที่มีประสบการณ์และผู้รู้ช่วยแนะนำด้วย ขอขอบคุณ
     
  18. iofeast

    iofeast เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    4,174
    ค่าพลัง:
    +7,815

    ที่ว่าลมหายใจเหมือนจะหาย ในความเป็นจริงพอจิตนิ่งเริ่มเป็นสมาธิแล้ว ลมหายใจจะละเอียดขึ้นๆๆจนแทบจะไม่รู้สึกจ๊ะ คำบริกรรมก็เหมือนกัน พอจิตเป็นสมาธิในระดับหนึ่งแล้ว คำบริกรรมก็จะหายไปเองจ๊ะ อาการที่ว่ามานั้นไม่ใช่อาการของจิตตกภวังค์จ๊ะ ที่เล่ามาก็ใกล้แล้ว ใกล้จะมีอาการตัวลอย ตัวพอง ฯลฯ เป็นต้นจ๊ะ ถึงจุดนั้นแล้วจะรู้เองว่าอาการที่เขาว่ากันน่ะ เป็นอย่างไรจ๊ะ ขอให้โชคดีนะจ๊ะ
     
  19. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    อาการที่นั่งเหม่อลอย ลืมตาแป๋ว..ดูครูบรรยาย แต่ไม่รู้เรื่องที่ครูบรรยาย ขาดสติรับรู้ ไม่มีความคิดใด ๆ บางครั้งเรียกชื่อก็ไม่รู้ตัว พอโดนเรียกชื่อดัง ๆ สดุ้ง......ตื่น

    การตกภวังค์ในสมาธิ คือ ขาดสติกำกับในการรู้ลมหายใจที่ เข้า-ออก นั่งบื้อเป็นสมาธิหัวตอ ไม่รู้สึกนึกคิด อะไรเลย ผลคือ จำไม่ได้ ไม่รู้ตัวเหมือนนั่งหลับ.
     
  20. prapass

    prapass Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +72
    ภวังค์................หลับไง
     

แชร์หน้านี้

Loading...